แจ้งเตือน

‘ยิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบ’ จริงหรือไม่? มาพิสูจน์กัน!

Finspace
‘ยิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบ’ จริงหรือไม่? มาพิสูจน์กัน!

อ่านมาก็เยอะ ศึกษามาก็มาก เกี่ยวกับเรื่องวางแผนเกษียณ มีแต่คนบอกกันว่า “ยิ่งวางแผนเกษียณเร็วเท่าไร ยิ่งได้เปรียบมากเท่านั้น” แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่ามันได้เปรียบยังไง? วันนี้ FinSpace จึงขอพาเพื่อน ๆ มาพิสูจน์ประโยคที่ว่ายิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบนั้นจะเป็นจริงตามที่เขาว่ากันไหม ลองมาดูไปพร้อมกันได้เลย!

‘ยิ่งวางแผนเกษียณเร็ว ยิ่งได้เปรียบ’ จริงหรือไม่? มาพิสูจน์กัน!

จากตารางเป็นแบบจำลองการนำเงินไปลงทุนเดือนละ 5,000 บาท หรือปีละ 60,000 บาท ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 3%, 5% และ 8% ตามลำดับ โดยไม่มีการถอนเงินออก และจะคำนวณผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น ณ สิ้นปี โดยที่ไม่นับรวมปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เช่น เงินเฟ้อ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าหากเราเริ่มลงทุนเร็ว ก็จะยิ่งเหลือเวลาลงทุนก่อนเกษียณมากกว่าคนที่วางแผนเกษียณช้า โดยระหว่างนี้เรายังสามารถศึกษาและลองผิดลองถูกสั่งสมประสบการณ์ลงทุน ปรับแผนเกษียณให้เข้ากับตัวเองได้ ซึ่งหากเราเริ่มลงทุนช้า ก็จะมีเวลาเหลือลงทุนก่อนเกษียณอีกไม่มาก และอาจจะไม่มีเวลาลองผิดลองถูกมากนัก

ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้นกันอีกสักนิด เช่น ตอนนี้เราอายุ 25 ปี ต้องการเกษียณอายุ 60 ปี แสดงว่าเราเหลือเวลาเก็บเงินลงทุนวางแผนเกษียณอีก 35 ปี ถ้าเรานำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 8% ต่อปี เดือนละ 5,000 บาท หลังเกษียณก็จะมีเงินประมาณ 11.1 ล้านบาท เทียบกับคนที่เริ่มเก็บเงินวางแผนเกษียณอายุ 40 ปี และต้องการเกษียณอายุ 60 ปี ก็จะเหลือเวลาเก็บเงินก่อนเกษียณเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น หากนำเงินไปลงทุนเดือนละ 5,000 บาท ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยปีละ 8% เช่นกัน จะทำให้เขามีเงินเก็บหลังเกษียณเพียง 2.9 ล้านบาท

** บทความนี้ใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้เจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/fast-retirement-planning/

กลยุทธ์การลงทุนหลังธนาคารล้มในปี 2023

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
กลยุทธ์การลงทุนหลังธนาคารล้มในปี 2023

ตลาดการเงินช่วงนี้คงไม่มีเรื่องไหนจะน่ากังวลไปกว่าการปิดตัวของธนาคารหลายแห่งทั้งในฝั่งสหรัฐและยุโรป ไล่ตั้งแต่ Silvergate, Silicon Valley Bank, Signature ไปจนถึงธนาคารเก่าแก่อย่าง Credit Suisse

สิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน ไม่ใช่แค่ติดตามสถานการณ์ให้ทัน แต่ต้องตีความการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์การเงินต่าง ๆ ให้ออก คิดไว้ก่อนว่าอะไรอาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ และเตรียมวางกลยุทธ์ปรับพอร์ตให้พร้อม

เริ่มด้วยการประเมินภาพตลาดในปัจจุบัน

สิ่งที่เห็นคือตลาดเชื่อ 100% แล้วว่าธนาคารกลางต้องลดดอกเบี้ย

จากโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอยที่กลับมาสูงเกิน 50% กดดันให้ยีลด์ระยะสั้นทั่วโลกปรับตัวลง 25-75bps แต่หุ้นโลกกลับปรับตัวลงไม่มาก

สมการการเงินนี้จะสมดุลได้ ต้องเกิดจากการลดดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและพยุงเศรษฐกิจเท่านั้น

แม้การหยุดขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเกิดขึ้นได้ แต่ “ลดดอกเบี้ยเลยหรือไม่” สำหรับผม ต้องวิเคราะห์ว่าการล้มของธนาคารพาณิชย์เหล่านี้ จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจสหรัฐและทั่วโลกอย่างไร ซึ่งมีทั้งเหตุผลสนับสนุนและคัดค้าน

ฝั่งสนับสนุน มองว่าปัญหาของภาคธนาคารมักจบด้วย เศรษฐกิจถดถอย เงินเฟ้อลดลง หรืออย่างน้อยเฟดก็ควรลดดอกเบี้ยชั่วคราว

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือช่วง Great Depression และ Great Financial Crisis ที่มีธนาคารล้ม นำไปสู่เศรษฐกิจถดถอย ตามมาด้วยเงินเฟ้อที่ลดลง ธนาคารกลางในตอนนั้นจึงลดดอกเบี้ยลงได้

อีกหนึ่งตัวอย่างคือช่วงปี 1987 ในวิกฤติ LTCM เฟดก็สามารถลดดอกเบี้ยนโยบาย จากราว 9% ลงเหลือ 3% ในช่วงปี 1994 ก่อนจะขยับดอกเบี้ยขึ้นในปีถัดมาหลังจากปัญหาคลี่คลาย

ส่วนฝั่งคัดค้าน มองว่าปัญหาครั้งนี้ไม่เหมือนในอดีต และจะไม่ส่งผลกับเศรษฐกิจโดยรวมมากอย่างที่ตลาดกังวล

เพราะปัจจุบัน แนวโน้มเศรษฐกิจในหลายประเทศไม่ได้ส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ

เช่นในยุโรปแม้จะมีความกังวลเรื่องวิกฤติพลังงาน แต่เศรษฐกิจกลับขยายตัวได้

ด้านสหรัฐก็ไม่เคยมีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ ที่เฟดต้องลดดอกเบี้ยในช่วงที่เงินเฟ้อสูงกว่า 5% พร้อมกับการว่างงานต่ำกว่า 4% เพราะถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตร้อนแรง

เช่นเดียวกับประเทศจีนที่กำลังจะเปิดการเดินทางเต็มที่ อุปสงค์ของสินค้าพลังงานมีโอกาสกลับเข้าสู่ปรกติ

การลดดอกเบี้ย จึงอาจไม่ใช่นโยบายที่เหมาะสมที่สุด หรือถ้าธนาคารกลางจะหานโยบายรับมือ ก็ควรเป็นนโยบายที่แก้ปัญหาด้านสภาพคล่องและเสถียรภาพเฉพาะจุด

ในมุมมองของผม ผลกระทบของเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกตอนนี้ไม่เหมือนครั้งใดในอดีต ผลลัพธ์ หรือการตอบสนองของธนาคารกลาง จึงอาจแตกต่างจากที่เราเคยพบเจอ

อย่างไรก็ดี สำหรับการลงทุน ปัญหาไม่ใช่ว่าเรื่องไหนจะเกิดขึ้นบ้าง แต่เป็นเมื่อไหร่ เราสามารถวางกลยุทธ์เพื่อรับมือไว้ได้ 3 แบบ

กลยุทธ์แรกคือ Bull Steepening Trade ก่อนเฟดลดดอกเบี้ย

ประกอบด้วยกลุ่มการลงทุนที่คาดว่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่ยีลด์ระยะสั้นปรับตัวลงแต่ยีลด์ระยะยาวยังทรงตัวสูง

กลยุทธ์นี้เป็นการจับจังหวะตลาด เน้นไปที่การถือเงินสด ลดอายุการถือตราสาร และซื้อหุ้นสายวัฏจักร (Cyclical) ขายหุ้นสายตั้งรับ (Defensive) มองว่าในอนาคตดอกเบี้ยจะลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

กลยุทธ์ถัดมาคือ Position for Recession เตรียมรับแรงกระแทก 

เพราะไม่ว่าเงินเฟ้อจะลดหรือไม่ เฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไร ก็อาจไม่สำคัญเท่าการที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องเข้มงวดในการให้สินเชื่อหลังจากนี้

เพราะเมื่อปัญหาเกิดบนภาคการเงินโดยตรง ก็เป็นไปได้มากที่ธนาคารที่ยังเหลือรอดจะต้องพยายามทำธุรกิจให้ดูปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งจะตามมาด้วยการบริโภคที่ชะลอตัว และเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ

ในกรณีนี้ดอลลาร์จะอ่อนค่า สินค้าโภคภัณฑ์สายวัฏจักรจะปรับตัวลงต่อ เงินทุนจะย้ายไปสู่ Safe Haven นอกสหรัฐ และการลงทุนใน Emerging Market จะสร้างผลตอบแทนดีกว่า Developed Market

สุดท้าย กลยุทธ์ระยะยาวคือ Sell the Last Hike, Buy the First Cut

แม้เหตุการณ์ธนาคารล้มอาจนำไปสู่เศรษฐกิจถดถอย แต่ก่อนที่เงินเฟ้อจะลดลงอาจไม่ใช่จังหวะที่ปลอดภัย เช่นในช่วงปี 1970-1980 ครั้งล่าสุดที่เงินเฟ้อสูงเท่าปัจจุบัน ตลาดหุ้นปรับตัวลงต่อในช่วงสามเดือนหลังจากการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย

ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมมองว่าไม่ต้องรีบร้อน รอได้ถึงการลดดอกเบี้ยครั้งแรก

ส่วนธีมลงทุนจะเป็นการย้ายออกจากหุ้นสหรัฐ เปลี่ยนจากหุ้นเติบโต (Growth) ไปเป็นหุ้นมูลค่า (Value) และเปลี่ยนจากหุ้นใหญ่ไปเป็นหุ้นเล็ก

หลังจากนี้ผมเชื่อว่าเรากำลังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ อาจได้เห็นธนาคารล้มอีกบ้าง นโยบายการเงินในรูปแบบใหม่ นักลงทุนจึงควรมีสติ ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงที่ตลาดผันผวน ยิ่งต้องตอบให้ได้ว่าถ้าตลาดปรับตัวขึ้นหรือลงเราจะปรับพอร์ตอย่างไร

จำไว้เสมอว่าการลงทุนไม่ใช่แค่ซื้อ ถือ หรือขาย แต่เป็น ขั้นตอนการบริหารให้พอร์ตลงทุนของเราผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากได้อย่างเหมาะสมครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

Mr.Messenger
ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

นับจากจุดสูงสุดของต้นปี 2023 หุ้นของ Deutsche Bank ต่อไปนี้ขอเรียกว่า DB ปรับตัวลงมาแล้วมากกว่า -30%

เมื่อคืนวันที่ 24 มี.ค. 2566 หุ้น DB ร่วงลงทำจุดต่ำสุดจากวันก่อนหน้า -14.80% แต่ยังมีแรงซื้อกลับบ้างจนราคาปิด -8.53%

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ถ้าจะบอกว่า แรงขายที่เกิดขึ้น เป็นแค่ Aftershock ต่อจาก Credit Suisse แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ก็ดูจะมองโลกในแง่ดีเกินไปสักหน่อย

แต่ถ้าจะบอกว่า DB คือ โดมิโนตัวต่อไป ก็ต้องบอกว่า หากมองจากราคาหุ้นของเขาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเขาก็เหมือนจะมีปัญหามาอยู่ก่อนแล้ว เพราะจากจุดสูงสุดที่ €86.23 ต่อหุ้น ที่ตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน ล่าสุดเมื่อคืนปิดที่ราคา €8.54 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น ติดลบ -90% แสดงว่า ปัญหาของ DB เรื้อรังมายาวนาน คล้ายๆกับ CS เหมือนกัน

และจากบทความที่แล้ว ถ้าคุณได้อ่าน อย่าลืมว่า DB ก็ถือเป็นอีก 1 ใน 9 ธนาคารระดับโลก “Bulge Bracket” เช่นเดียวกัน (อ่านได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/641201b25f981ccddeac0943?fbclid=IwAR3xx0cSDqjCymAg9t_La0zWIDg9DOHvuxWxr5bEIGkHqP5wXqIPDAzrfgU)

Deutsche Bank เป็นธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศเยอรมนี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Frankfurt และมีการเปิดสาขาในหลายประเทศทั่วโลก ธนาคารนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444 (1900) หรือ 123 ปีก่อน

โดย Adelbert Delbrück และหลาย ๆ นักเงินที่มีความรู้ความชำนาญในการเงิน โดยเริ่มต้นธนาคารนี้มีชื่อว่า “Deutsche Bank” เพราะว่าเป็นธนาคารแห่งแรกในเยอรมนีที่มีสมาชิกคือคนเยอรมัน และได้มีการยอมรับว่าเป็นธนาคารแห่งชาติเยอรมนี

หลังจากวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ในปี 2008 ที่เกิดขึ้น DB เป็นหนึ่งในธนาคารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะมีปัญหาในการจัดการด้านการเงินของธุรกิจของตนเอง ซึ่งมีการให้สินเชื่อในปริมาณมาก

โดยเฉพาะในตลาดสินเชื่อที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (subprime loan) ที่เป็นระเบิดลูกสำคัญทำตลาดหุ้นถล่มทลายในช่วงนั้น ทำให้ธนาคารต้องตัดสินใจลดงบการลงทุนในตลาดสินเชื่อดังกล่าวลง

และ DB ก็ต้องเปิดเผยข้อผิดพลาดในด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคารออกมา ซึ่งส่งผลให้ธนาคารต้องจ่ายค่าปรับและค่าสินไหมทดแทนสูงในอดีต และมีผลกระทบต่อค่าหุ้นของธนาคารนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ไปดูกำไรสุทธิของ DB นับตั้งแต่ปี 2008 กัน (ข้อมูลสรุปจาก Statista)

2008 -€3,896 million
2009 €4,958 million
2010 €2,330 million
2011 €4,326 million
2012 €316 million
2013 €681 million
2014 €1,691 million
2015 -€6,772 million
2016 -€1,356 million
2017 -€735 million
2018 €341 million
2019 -€5,265 million
2020 €624 million
2021 €2,510 million
2022 €5,659 million

จะเห็นว่า DB มาเจอขาดทุนหนัก ๆ ก็ปี 2015-2016 ซึ่งช่วงนั้น DB ตกลงร่วมกันกับกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ (US Department of Justice) เพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากคดีเงินฝากของลูกค้า High Net Worth ที่ไปลงทุนใน mortgage-backed securities (MBS) โดยจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงถึง $7,200 million

นักลงทุนทั่วไป รวมถึงผม ได้รู้จัก CoCo Bond ครั้งแรกก็ในปีนั้น เพราะ การที่ DB ถูกปรับหนักขนาดนี้ มันไป trigger ให้นักลงทุนกลัวว่า ธนาคารจะใช้สิทธิแปลงตราสารหนี้ CoCo Bond เป็นหุ้น แต่ก็ผ่านมาได้ ไม่มีการ convert นะครับ

เหตุการณ์นั้น ทำให้ธนาคารต้องปรับตัวด้วยการทำ restructuring plan เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจในอนาคต โดยมีการประหยัดทรัพยากรและลดต้นทุนในหลายด้าน เช่น ลดอัตราการจ้างงาน ลดจำนวนสาขา ลดปริมาณการซื้อพื้นที่ใช้สำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เปลี่ยนแผนกลยุทธ์ในการลงทุน

ซึ่งแผนการในครั้งนั้น ก็นำมาสู่ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และทำให้ในปี 2019 ธนาคารขาดทุนสุทธิ -€5,265 million

เอาเข้าจริง ก็เหมือนว่า DB จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีปัญหาคาราคาซัง เคราะห์ซ้ำกรรมซัดแบบ CS และทำให้ตั้งแต่ปี 2020 จนถึง 2022 ธนาคารกลับมากำไรได้อย่างต่อเนื่อง

แล้วทำไม Deutsche Bank ถึงมาอยู่ใน Spotlight แทน Credit Suisse ในวันนี้?

เพราะ CDS (Credit Default Swap) ของ DB ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนว่านักลงทุนกลัวว่าธนาคารอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเมื่อคืน CDS หุ้นกู้ Subordinated Bond ของ DB พุ่งขึ้นไปถึง 560 จุด หรือ คิดเป็นโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 31% ถึงไม่สูงเท่ากรณีของ CS แต่ก็ใกล้กับตอนเจอโควิด หรือ ตอนจ่ายค่าปรับตอนปี 2016

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

และไม่ใช่ DB ที่นักลงทุนขายหุ้นกันออกมาตอนนี้ แต่หุ้นธนาคารในยุโรปก็โดนเทกันทุกตัว

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

อย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าไปดูฐานะการเงินของ DB ในตอนนี้ และปัญหาของ DB ที่ถูกแก้ไขในทิศทางที่ถูกต้อง นักวิเคราะห์จาก Autonomous Research ก็ยังออกมายืนยันว่า DB ไม่ใช่ the next CS

ถ้าดูที่ LCR หรือ Liquidity Coverage Ratio ตอนนี้ก็อยู่เกิน 100% ถึงแม้จะต่ำกว่า standard ของแบงก์ในยุโรป แต่ก็อยู่สูงกว่าแทบทุกธนาคารที่อยู่ในสหรัฐฯ

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ในฝั่งของเงินสด DB ก็มีเงินสดในงบเยอะกว่าก่อนเกิดวิกฤตปี 2008

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ที่น่าห่วงกว่า อาจจะเป็นเหตุการณ์ Bank Run ที่ยังเกิดอยู่กับธนาคารในสหรัฐฯ โดยล่าสุดตัวเลขเงินฝากในธนาคารสหรัฐฯ ที่เฟดสาขาเซนต์หลุยส์ทำข้อมูลไว้ ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่า ไม่ใช่แค่คนแห่ถอนจากแบงก์เล็กเท่านั้น แต่เริ่มมีการโยกเงินฝากออกจากธนาคารไปกระจายความเสี่ยงยังสินทรัพย์อื่นกัน

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

ซึ่งเขาอาจจะไปหลบความเสี่ยงในทองคำ หลังขึ้นทดสอบ $2,000 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือ แบ่งไปซื้อ Bitcoin เพราะยังอยู่ในระดับต่ำ

ถึงคิวต่อไปในวิกฤตธนาคาร? ขอเชิญพบกับ “Deutsche Bank”

หรือ อาจจะกลับไปซื้อหุ้นเทคในสหรัฐฯ เพราะเราก็เริ่มเห็นความเอาไม่ลงของหุ้นเทคหลายตัว หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.25% และ dotplot ก็ไม่ได้ขยับ terminal rate ไปไกลกว่าที่นักลงทุนในตลาดคาดหวัง ณ ตอนนี้

สรุปคือ ผมมองว่า DB อาการไม่หนักเท่า CS และมีการปรับโครงสร้างองค์กรมาแล้วก่อนหน้านี้

แต่เราก็เห็นกันแล้วว่า อะไรที่เราไม่รู้ อยู่ดี ๆ มันก็โผล่ขึ้นมาได้อีก

ที่สำคัญคือ ธนาคารกลางทั่วโลก ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยกันหมดในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ECB +50bps
Swiss Central Bank +50bps
Fed +25bps
BOE +25bps
Australian Central Bank +25bps
Norway Central Bank +25bps

ทุกธนาคารกลางข้างบน ยังส่งสัญญาณว่า ดอกเบี้ย จำเป็นต้องขึ้นต่อเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ

คุณว่า มันจะมีธนาคารที่ทนไม่ได้กับดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้เเพิ่มขึ้นมาตามหลัง SVB , SB และ CS อีกไหม? น่าคิด….

แหล่งที่มาข้อมูล :-
https://www.statista.com/statistics/266513/net-income-of-deutsche-bank/
https://www.db.com/news/detail/20230202-full-year-results-2022?language_id=1
https://www.cnbc.com/2016/12/22/deutsche-bank-reaches-settlement-with-doj-on-mortgages-case.html
https://www.reuters.com/article/us-deutsche-bank-bonds-idUSKCN11Y1RQ
https://www.theguardian.com/business/2019/jul/24/deutsche-bank-posts-worst-quarterly-loss-in-four-years
https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG

Mr.Messenger รายงาน

สำรวจ 5 หุ้นจีน New Economy ที่น่าสนใจในปี 2023

Park Kathawut
China New Economy

ใครที่ติดตามเรื่องราวของประเทศจีน น่าจะพอทราบว่าในช่วง 2 ปีหลังสุด (2021-2022) เศรษฐกิจจีนเจอมรสุมเข้ามากดดันต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่รัฐบาลใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดในหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจกวดวิชา, ธุรกิจเกม, อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ตลอดจนการดำเนินนโยบาย Zero Covid อย่างเข้มข้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงลึกและนานพอสมควร

อย่างไรก็ตาม ว่ากันว่าปี 2023 นี้ ตลาดหุ้นจีนกำลังเปลี่ยนทิศ พลิกเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยมีสัญญาณทางปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ 

  • China Reopen หรือ การเปิดเมืองของจีน ซึ่งจะตามมาด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และผ่อนคลายนโยบายควบคุมต่าง ๆ
  • การขยายตัวของดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ทั้งภาคการผลิตและบริการ
  • ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อธุรกิจจีนที่พุ่งแตะสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นแนวโน้มผ่อนคลายดีขึ้น หลังรัฐบาลจีนเข้ามาช่วยปรับโครงสร้างหนี้
  • การประกาศเป้าหมาย GDP ปี 2023 โตกว่า 5% ในพิธีการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) สอดคล้องกับมุมมองนักวิเคราะห์จาก UBS ที่ปรับเพิ่มประมาณการ GDP จีน เติบโต 5.4% จากเดิมอยู่ที่ 4.9%

อีกจุดที่หนุนให้ตลาดหุ้นจีนมีเสน่ห์ นั่นคือแม้ทิศทางการเติบโตสูง แต่ Valuation ยังถือว่าดูดีกว่าหลายตลาดทั่วโลก

China New Economy

ภาพแสดงคาดการณ์ค่าเฉลี่ย EPS Growth ปี 2023-2024 เทียบกับ Forward P/E ใน 12 เดือนข้างหน้า | ที่มา: FINNOMENA, Bloomberg ณ วันที่ 1 มีนาคม 2023

New Economy โอกาสเติบโตครั้งใหม่ของจีน

คำถามคือเมื่อเราเห็นโอกาสในจีนขนาดนี้ แล้วหุ้นกลุ่มไหนล่ะที่จะเป็นหมุดหมายของการเติบโตรอบใหม่ ซึ่งต้องบอกว่าสิ่งที่จีนได้เปรียบประเทศ Emerging Market อื่น ๆ ก็คือการวางแผนเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง  

จากที่เคยเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันจีนได้พัฒนากลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มตัว พร้อมขึ้นมาเขย่ามหาอำนาจของโลกทางเทคโนโลยีอย่างสหรัฐอเมริกาได้แบบสนุก 

ประกอบกับการที่รัฐบาลจีนเริ่มผ่อนคลายการจัดระเบียบหุ้นเทคโนโลยี และหันมาค่อย ๆ ประคับประคอง เพื่อสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งไปพร้อมกับการเปิดประเทศ

ดังนั้น การล็อกเป้าไปที่ “หุ้นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)” ในบริษัทที่ขับเคลื่อนสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ จึงเป็นอะไรที่น่าสนใจมากกว่า และควรคว้าโอกาสนี้เอาไว้ เพราะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตเหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน รวมถึงยังสามารถพัฒนาได้แบบไร้ขีดจำกัด

5 หุ้นจีน New Economy อนาคตไกล

หัวใจของบทความนี้จึงอยากจะพาไปทำความรู้จักกับหุ้นในกลุ่ม New Economy ชั้นนำของจีน ที่สอดรับไปกับการเติบโตแห่งอนาคต ลองมาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง และจุดเด่นของแต่ละบริษัทอยู่ตรงไหน 

  1. Tencent 

บริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ามากที่สุดในจีน ด้วยมูลค่า Market Cap. ถึง 429.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล ณ มีนาคม 2023) โดยเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันมากมายที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์และความบันเทิงของผู้คนในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น WeChat, WeTv, JOOX, Shopee และ QQ รวมไปถึงเป็นผู้พัฒนาเกม RoV, PUBG และ Clash of Clan

ความน่าสนใจของ Tencent คือการมีเครือข่ายแอปพลิเคชันจำนวนมาก แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของคนจีนอย่างแยกกันไม่ออก ทั้งโซเชียลมีเดีย ความบันเทิง สั่งอาหาร ซื้อสินค้าออนไลน์ จองตั๋ว ติดตามข่าวสาร เล่นเกม เป็นต้น แถมยังขยายบริการดังกล่าวไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยด้วย

  1. Alibaba

ยักษ์ใหญ่ E-commerce แห่งเมืองจีนที่ประสบความสำเร็จสุดขีด ไม่ว่าจะเป็นตลาดจีนอย่าง Taobao แพลตฟอร์มค้าปลีกแบบ C2C และ Tmall แพลตฟอร์มค้าปลีกแบบ B2C ตลอดจนตลาดต่างประเทศ เช่น Alibaba.com, Aliexpress และ Lazada 

นอกจากนี้ ยังได้เชื่อมต่อระบบนิเวศไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ประกอบด้วย ธุรกิจคลาวด์ (Alibaba Cloud), นวัตกรรมทางการเงิน (Ant Financial), การขนส่งและโลจิสติกส์ (Cainiao Network), แพลต์ฟอร์มการตลาดออนไลน์ (Alimama) ตลอดจนแพลตฟอร์มด้านความบันเทิง (YouKu)

  1. Meituan 

แอปพลิเคชัน Food Delivery ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของชาวจีนที่ครองส่วนแบ่งตลาดในจีนกว่า 60% อีกทั้งยังครอบคุลมไปถึงบริการการเดินทาง, รีวิวร้านอาหาร, แชร์ประสบการณ์ไลฟ์สไตล์, บริการจองโรงแรมที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และผู้ใช้งานสามารถชำระเงินค่าบริการผ่านแอปพลิเคชันได้เลย ทำให้ Meituan โดดเด่นด้วยความเป็น Super App ที่ครบจบในที่เดียว

  1. JD.com

หนึ่งในบริษัท E-commerce ชั้นนำ เจ้าของฉายา Amazon แห่งจีน ด้วยโมเดลธุรกิจที่โดดเด่นในการจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็วภายในวันเดียว จากการลงทุนกับระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะของตัวเอง ขณะเดียวกันยังเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้า และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า

  1. Pinduoduo 

แพลตฟอร์ม E-commerce สำหรับกลุ่มผู้ค้าปลีกรายย่อยที่ต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากในราคาย่อมเยา ซึ่ง Pinduoduo ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการใช้กลยุทธ์ Group Buying โดยการกำหนดราคาสินค้าให้ถูกลง แล้วให้ผู้คนรวบรวมคนที่ต้องการซื้อสินค้าตัวเดียวกันผ่านสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และกดซื้อพร้อมกันทีเดียว เพื่อที่จะได้สินค้าในราคาที่ถูกลงนั่นเอง ส่วนบริษัทก็ได้ขายของในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน

สรุปแล้วจะเห็นว่าหุ้นทั้งหมดนี้ ล้วนแต่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างฐานลูกค้าและรองรับการมาของระบบเศรษฐกิจใหม่ แม้จะมีช่วงที่หยุดชะงักไปบ้างจากนโยบาย Zero COVID และการควบคุมบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีของรัฐบาลจีน แต่เมื่อทุกอย่างส่งสัญญาณผ่อนคลายแบบนี้ เชื่อว่าในระยะยาวหุ้นกลุ่มนี้่จะสร้างโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

China New Economy

MEVT Call : K-CHINA-A(A)

ถ้าอยากลงทุนเพื่อเติบใหญ่ไปกับหุ้นจีน New Economy ทาง FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเข้าลงทุนตาม MEVT Call ไปกับกองทุน K-CHINA-A(A) สอดรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในกรอบระยะเวลา 6-12 เดือน

Macro – ปัจจัยเชิงมหภาค เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากการเปิดประเทศ ปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คลี่คลายลง หลังจากรัฐบาลจีนเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่อง และการคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนี้

Earnings – ปัจจัยด้านกำไร เริ่มเห็นสัญญาณการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น หลังการเปิดประเทศหนุนการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และตลาดยังไม่รับรู้ข่าวดีทั้งหมด เช่น การผ่อนคลายนโยบายกับกลุ่มเทคโนโลยี

Valuation – ปัจจัยด้านมูลค่า อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตและหุ้นโลก แต่มีแนวโน้มถูกปรับ multiple เพิ่มขึ้นหากมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้

Technical – ปัจจัยเชิงเทคนิค นักลงทุนต่างชาติสะสมหุ้นจีนต่อเนื่องตั้งแต่มีแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID พร้อมปัจจัยทาง technical analysis ที่มีแนวโน้มการปรับตัวขึ้นของดัชนี

หุ้นจีนลงทุนได้หรือยัง อ่านมุมมองการลงทุนเพิ่มเติมที่ 

 MEVT Call : รักใครให้ซื้อจีน 

สำหรับ K-CHINA-A(A) เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เน้นลงทุนในบริษัทจีนที่จดทะเบียนในทุกตลาด (All China) ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds – China Fund ด้วยกลยุทธ์ลงทุนแบบ bottom-up stock คัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตเหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม New Economy ที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจจากรัฐบาลจีน

ดูข้อมูลกองทุน K-CHINA-A(A) เพิ่มเติม และซื้อกองทุน 

China New Economy

ภาพแสดงสัดส่วนพอร์ตการลงทุน JPMorgan Funds – China Fund | ที่มา: JPMorgan Fund Fact Sheet ณ วันที่ 31 มกราคม 2023

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT

References

FINNOMENA Weekly Market Insight

J.P. Morgan Asset Management

Bloomberg | China Shakes Up Government, Lashes Out at US: NPC Update

Bloomberg | China Sees ‘Rapid’ Consumer Rebound as UBS Lifts GDP Outlook

Bloomberg | The World’s Greatest Delivery Empire

Companiesmarketcap

Tencent

Alibaba

Meituan 

JD.com

Pinduoduo

News Update: ‘ดอยซ์แบงก์’ หุ้นร่วงแรง -30% จากต้นปี ตลาดกังวลความเสี่ยงใหม่ภาคการเงินยุโรป นักวิเคราะห์เชื่อฐานะ “ยังแข็งแกร่ง” ไม่เหมือน ‘เครดิตสวิส’

THE OPPORTUNITY
‘ดอยซ์แบงก์’ หุ้นร่วงแรง -30% จากต้นปี ตลาดกังวลความเสี่ยงใหม่ภาคการเงินยุโรป นักวิเคราะห์เชื่อฐานะ "ยังแข็งแกร่ง" ไม่เหมือน ‘เครดิตสวิส’

Mr.Messenger เล่าว่า นับจากจุดสูงสุดของต้นปี 2023 หุ้นของ Deutsche Bank หรือ DB ปรับตัวลงมาแล้วมากกว่า -30% โดยถ้าจะบอกว่า แรงขายที่เกิดขึ้น เป็นแค่ Aftershock ต่อจาก Credit Suisse แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ก็ดูจะมองโลกในแง่ดีเกินไปซักหน่อย

แต่ถ้าจะบอกว่า DB คือ โดมิโนตัวต่อไป ก็ต้องบอกว่า หากมองจากราคาหุ้นของเขาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเขาก็เหมือนจะมีปัญหามาอยู่ก่อนแล้ว เพราะจากจุดสูงสุดที่ €86.23 ต่อหุ้น ที่ตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน ล่าสุดเมื่อคืนปิดที่ราคา €8.54 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น ติดลบ -90% แสดงว่า ปัญหาของ DB เรื้อรังมายาวนาน คล้ายๆกับ CS เหมือนกัน

แล้วทำไม Deutsche Bank ถึงมาอยู่ใน Spotlight แทน Credit Suisse ในวันนี้?

เพราะ CDS (Credit Default Swap) ของ DB ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนว่านักลงทุนกลัวว่าธนาคารอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเมื่อคืน CDS หุ้นกู้ Subordinated Bond ของ DB พุ่งขึ้นไปถึง 560 จุด หรือ คิดเป็นโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 31% ถึงไม่สูงเท่ากรณีของ CS แต่ก็ใกล้กับตอนเจอโควิด หรือ ตอนจ่ายค่าปรับตอนปี 2016
และไม่ใช่ DB ที่นักลงทุนขายหุ้นกันออกมาตอนนี้ แต่หุ้นธนาคารในยุโรปก็โดนเทกันทุกตัว

อย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าไปดูฐานะการเงินของ DB ในตอนนี้ และปัญหาของ DB ที่ถูกแก้ไขในทิศทางที่ถูกต้อง นักวิเคราะห์จาก Autonomous Research ก็ยังออกมายืนยันว่า DB ไม่ใช่ the next CS

ถ้าดูที่ LCR หรือ Liquidity Coverage Ratio ตอนนี้ก็อยู่เกิน 100% ถึงแม้จะต่ำกว่า standard ของแบงก์ในยุโรป แต่ก็อยู่สูงกว่าแทบทุกธนาคารที่อยู่ในสหรัฐฯ ในฝั่งของเงินสด DB ก็มีเงินสดในงบเยอะกว่าก่อนเกิดวิกฤตปี 2008

ด้านดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มองว่า ช่วงนี้เป็นช่วงอ่อนไหว ทุกข่าวมีความหมาย และนัยยะ เมื่อมีข่าวออกมาเมื่อวานนี้ว่า DB ต้องการที่จะซื้อหุ้นกู้ (Tier 2 Subordinated Debt) กลับก่อนกำหนด 5 ปี (ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ว่าสามารถทำได้)

ซึ่งปกติแล้ว ข่าวแบบนี้จะสะท้อนว่าแบงค์อยู่ในฐานะดี สามารถลดหนี้ได้ แต่ได้กลับกลายเป็นจุดเริ่มของความผันผวนรอบใหม่ ทำให้ทุกสายตา หันไปจับจ้อง DB ถามว่า มีปัญหาอะไรเปล่า CDS ของหุ้นกู้ของ DB ปรับเพิ่มสูงขึ้น

นำมาซึ่งการเทขายหุ้น ทั้งๆ ที่ช่วงที่เกิดปัญหาในสวิส เงินฝากจำนวนหนึ่งได้ไหลไปที่ DB และ DB ก็เพิ่งประกาศกำไรสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลาร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า

การที่เกิดเช่นนี้ได้ ก็คงเพราะช่วงนี้เป็นช่วงไม่ปกติ เมื่อได้ยินข่าวอะไรที่แปลกออกไป ปัญหาก็สามารถตามมาได้ แม้กระทั่งแบงค์ที่มีฐานะที่ดีพอสมควรเช่น Deutsche Bank ก็สามารถลำบากได้ สะท้อนถึงความอ่อนไหวที่สะสมตัวจาก 1 ปีของ Perfect Storm

จาก 1 ปีของการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางต่างๆที่สร้างแรงกดดันในกับระบบการเงินโลกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ที่มา:  https://www.blockdit.com/posts/641e5452f87dca16e28d1ade 

https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1059732

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA Investment Team
ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด (จำนวนจำกัด)

     Weekly Market Insight ประจำสัปดาห์  27/03/66 – 31/03/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

เมื่อบริษัท Crypto ล้มละลาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? I POCKET MONEY EP68

FINNOMENA CHANNEL
เมื่อบริษัท Crypto ล้มละลาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? I POCKET MONEY EP68

รับชมบน YouTube: https://youtu.be/D6SeCbmQlNs

ปี 2022 เป็นอีกปีที่ขรุขระที่สุดของตลาด Crypto โดยเฉพาะประเด็นที่หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Crypto ไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ต่างก็จ่อคิวยื่นล้มละลายเป็นแถบ ๆ มาลองดูกันว่าเมื่อบริษัท Crypto ล้มละลายจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในคลิปนี้

ตัวอย่างสถานการณ์ธุรกิจ Crypto ล้มละลาย

Future Trade Exchange (FTX)

  • นับว่าช็อกวงการ Crypto อย่างแรงสำหรับแพลตฟอร์มซื้อขาย Crypto ที่เคยประสบความสำเร็จเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่ากิจการสูงถึง 3.2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐและฐานลูกค้ามากกว่า 1 ล้านราย
  • ในช่วงต้นปี 2022 ที่เกิดความปั่นป่วนในตลาด Crypto นั้น FTX เพิ่งจะรับบทอัศวินม้าขาวช่วยเหลือธุรกิจ Crypto ที่ได้รับผลกระทบ
  • แต่แล้วไม่กี่เดือนจากนั้น FTX กลับเป็นชนวนปัญหาใหม่ใหญ่กว่าเดิมเสียเอง  
  • จากการที่ Binance ประกาศล้มดีลควบรวมกิจการเข้ากับ FTX ทำให้เห็นถึงความเคลือบแคลงใจในการบริหารธุรกิจของ FTX ที่ Binance อาจได้พบเห็นในช่วงตรวจสอบกิจการ (Due Diligence)
  • นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตถึงข่าวลือในช่วงก่อนหน้าที่ว่า FTX นำเงินของลูกค้าไปหมุนเวียนในบริษัทเครือเดียวกันอย่าง Alameda Research อาจเป็นความจริง
  • ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าจนเกิดการระดมถอนเงินออกจากแพลตฟอร์มเป็นมูลค่ามากกว่า 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐภายใน 72 ชั่วโมง จน FTX ต้องยื่นล้มละลายในที่สุด 

BlockFi

  • การประกาศยื่นล้มละลายของ FTX นำไปสู่หายนะของธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกันเป็นทอด ๆ ซึ่งรวมถึง BlockFi แพลตฟอร์มกู้ยืม Crypto ชื่อดังที่มี FTX เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่
  • ก่อนนี้ BlockFi ก็เพิ่งได้รับผลกระทบจากการให้กองทุน Crypto Hedge Fund อย่าง Three Arrows Capital (3AC) กู้ยืมเงินแต่แล้วก็ล้มละลายในเวลาต่อมาเช่นกัน 
  • นอกจาก FTX, BlockFi และ Three Arrows Capital ในปีเดียวกันนี้ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ล่มสลายเซ่นวิกฤติความเชื่อมั่นใน Crypto ไม่ว่าจะเป็น Voyager Digital และ Celsius Network
  • เห็นได้ว่าด้วยขนาดของตลาด Crypto ที่นับว่ามีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดการลงทุนอื่น เงินในตลาด Crypto จึงหมุนเวียนในระบบที่มีเจ้าตลาดไม่กี่เจ้า เมื่อเกิดปัญหาในรายหนึ่งขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบถึงรายอื่น ๆ ล้มทับกันเป็นโดมิโนอย่างรวดเร็ว 

สิ่งที่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อธุรกิจ Crypto ล้มละลาย

  • เมื่อธุรกิจ Crypto อยู่ระหว่างการพิจารณาตามกระบวนการศาลล้มละลาย นักลงทุนจะไม่สามารถถอนเงินออกจากระบบได้ เพื่อให้ธุรกิจที่ยื่นล้มละลายนั้นจัดทำแผน 
  • เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงจะดำเนินการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ต่อไป โดยลูกหนี้ที่มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนก็จะได้แก่ลูกหนี้ที่มีหลักประกัน ทำให้กลุ่มลูกหนี้ที่เป็นนักลงทุนส่วนใหญ่จะได้รับชำระหนี้เป็นลำดับท้าย ๆ 
  • นอกจากนี้การชำระหนี้คืนจะมีลักษณะเป็น pro rata เช่น ถ้าบริษัทเป็นหนี้ 100 ดอลล่าร์ แต่มีสินทรัพย์ที่สามารถชำระหนี้คืนได้ 90 ดอลล่าร์ ลูกหนี้แต่ละรายก็จะได้รับชำระหนี้คืนรายละ 90%   
  • นอกจากนี้ด้วยการที่ธุรกิจ Crypto ไม่ได้รับการประกันเงินลงทุนเหมือนอย่างกรณีธุรกิจธนาคารที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ Federal Deposit Insurance Corporation ทำให้นักลงทุนต้องรับความเสี่ยงด้วยตัวเองหากบริษัท Crypto ที่ได้ฝากสินทรัพย์เอาไว้ล้มละลาย 

กรณีธุรกิจ Crypto ล้มละลายในไทย

  • ถึงแม้ในประเทศไทยจะยังไม่มีกรณีที่ธุรกิจ Crypto ยื่นล้มละลาย แต่แนวทางการคุ้มครองผู้ลงทุนก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน นั่นคือการลงทุน Crypto จะไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นเหมือนอย่างที่การฝากเงินในธนาคารจะได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ผู้ลงทุนจึงต้องรับความเสี่ยงด้วยตัวเองเช่นกัน 
  • อย่างไรก็ตามนักลงทุนสามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของธุรกิจ Crypto ที่จดทะเบียนในไทยได้จากการเลือกรับบริการผ่านธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งจะได้รับการควบคุมให้ดำรงเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง การตรวจสอบการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า การป้องกันการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย และมีระบบการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานที่ ก.ล.ต. กำหนด โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตจากแอปฯ SEC Check First 

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

กองทุน UI คืออะไร? รู้จักโอกาสลงทุนเหนือสินทรัพย์ทั่วไป สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ

fruhling

ในภาวะที่สินทรัพย์การลงทุนต่าง ๆ ยังไม่สามารถกลับมาทำผลงานได้ดีเหมือนเคยจากปัจจัยรอบด้านทั้งเงินเฟ้อ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง ทำให้นักลงทุนรู้สึกเหมือนเจออุปสรรคในการเสริมสร้างความมั่งคั่งไม่น้อย 

ข่าวดีคือยังมีสินทรัพย์บางประเภท เช่น สินทรัพย์นอกตลาด (Private Asset) ไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนอื่น ๆ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับสินทรัพย์ทั่วไป ที่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด โดยนักลงทุนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์เหล่านี้ได้ผ่านกองทุนรวม UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) 

กองทุน UI คืออะไร ลงทุนในสินทรัพย์ไหนบ้าง

กองทุน UI หรือ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) เป็นกองทุนสำหรับผู้ลงทุนในกลุ่ม Ultra High Net Worth ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีสินทรัพย์ตามจำนวนขั้นต่ำและมีความรู้หรือประสบการณ์

กองทุน UI คือโอกาสที่หาไม่ได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วไป เพราะหลายกองทุนมักจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต ปริวรรตเงินตรา หุ้นนอกตลาด อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ REITs นอกเหนือจากสินทรัพย์ทั่วไปอย่างหุ้นหรือตราสารหนี้ ทำให้กองทุน UI เป็นทางเลือกที่ดีในการต่อยอดความมั่งคั่งด้วยการกระจายการลงทุนไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่หาไม่ได้จากการลงทุนทั่วไป

ทำความรู้จักสินทรัพย์ทางเลือกโดยละเอียดได้ที่
4 สินทรัพย์ทางเลือกมาแรง อยากแซงตลาดต้องรู้จัก

ทำไมกองทุน UI จึงน่าสนใจ

ข้อดีของการลงทุนในกองทุน UI  เพื่อเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกชนิดต่าง ๆ คือ การได้ผลตอบแทนที่ดีภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า เนื่องจากสินทรัพย์หลายชนิดไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดจึงทำให้ราคาเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ แม้สินทรัพย์บางชนิดจะถูกซื้อขายในตลาด เช่น สกุลเงิน แต่ก็มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์พื้นฐานที่เป็นลบ (ราคาเคลื่อนไหวสวนทางกัน) จึงช่วยลดความเสี่ยงภาพรวมของพอร์ตการลงทุนได้ดีที่สุด

ข้อดีอีกอย่างของกองทุน UI คือ การช่วยกระจายความเสี่ยง หากลองดูตารางจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า สินทรัพย์ทางเลือกเป็นเครื่องมือที่ดีในการกระจายการลงทุนออกจากหุ้นและพันธบัตรเนื่องจากสินทรัพย์ทางเลือกมีความสัมพันธ์ หรือ Correlation กับสินทรัพย์พื้นฐานต่ำ ไปจนถึงเคลื่อนไหวสวนทาง อย่างที่ได้อธิบายถึงสกุลเงินไปแล้วข้างต้น 

ทั้งนี้ Correlation ระหว่างสินทรัพย์สองชนิดจะอยู่ระหว่าง -1 (ขึ้นลงสวนทาง), 0 (ไม่สัมพันธ์กัน) ไปจนถึง 1 (ขึ้นลงเหมือนกัน)

ตารางแสดงผลตอบแทนต่อปีย้อนหลังและ Correlation ต่อสินทรัพย์พื้นฐาน ของกองทุนตัวอย่างที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกแต่ละประเภท
Source: FINNOMENA as of 16/3/2023

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

*กองหลักตัวอย่างอาจหมายถึงกองทุนหลักในต่างประเทศหรือกองทุนอื่นที่บริหารจัดการด้วยผู้จัดการกองทุนรายเดียวกันด้วยกลยุทธ์ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับกองทุนหลักที่เข้าไปลงทุน แต่อาจมีผลการดำเนินการที่ยาวกว่าหรือ share class ต่างกัน โดยพยายามคัดสรรตัวอย่างจากทางเลือกที่ให้ track record ของผลตอบแทนในอดีตที่ยาวที่สุด ผลตอบแทนในสกุลเงินของกองทุนหลักตัวอย่าง และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆของระดับกองทุนในไทย

ใครบ้างที่จะซื้อกองทุน UI ได้

กองทุน UI จะช่วยเปิดประสบการณ์การลงทุนเหนือระดับในสินทรัพย์ทางเลือก โดยจะเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) เท่านั้น โดยในกรณีของบุคคลธรรมดา จะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ คือ

  1. รายได้ไม่น้อยกว่า 6 ล้านบาทต่อปี
  2. เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท 
  3. เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (ในกรณีที่รวมเงินฝาก)
  4. สินทรัพย์สุทธิไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท

และในกรณีของนิติบุคคล จะต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท หรือ มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (บัญชีหลักทรัพย์) หรือ มีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท (บัญชีหลักทรัพย์รวมบัญชีเงินฝาก)

นอกจากจะผ่านเกณฑ์เรื่องฐานะการเงินแล้ว ผู้ที่สนใจจะลงทุนในกองทุน UI จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์มากเพียงพอกับการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก โดยจะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้ คือ

  1. มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในช่วง 2 ปีล่าสุด อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  2. มีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารการเงินและการลงทุน
  3. มีวุฒิการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ หรือ บริหารธุรกิจ (ในสาขาที่เกี่ยวข้อง)
  4. มีการถือครองหลักทรัพย์ประเภทเดียวกับหลักทรัพย์ที่จะลงทุน
  5. มี IC license หรือ IP license
  6. ได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ต่อไปนี้ ได้แก่ CFA, CISA, CAIA และ CFP

ซึ่งหากไม่เข้าตามเกณฑ์ข้อ 1-6 นี้ จะต้องผ่านการบรรยายและแบบทดสอบทุกกองทุนก่อนซื้อตามที่กำหนด จึงจะสามารถลงทุนในกองทุน UI ได้

ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุน UI หลายกองทุนจะเป็นกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือกที่มีความเสี่ยงระดับ 8+ (ความเสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ) เนื่องจากมีการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่มีความเฉพาะเจาะจงที่ต้องอาศัยความเข้าใจในตัวสินทรัพย์จึงมีการกำหนดเกณฑ์ด้านฐานะการเงินไปจนถึงความรู้และประสบการณ์

มีเยอะขนาดนี้ ซื้อกองทุน UI กองไหนดี

ในปัจจุบัน มีกองทุน UI จากบลจ. ต่าง ๆ ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 46 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2023) โดยแต่ละกองก็มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปอย่างที่ได้เล่าถึงไปแล้วข้างต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่สนใจสับสนเนื่องจากมีทางเลือกจำนวนมากและแต่ละทางก็ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจเนื่องจากไม่ได้เป็นสินทรัพย์กระแสหลักที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย

FINNOMENA คือผู้เชี่ยวชาญในการคัดเลือกกองทุน UI ซึ่งปัจจุบันมีเสนอขายอย่างหลากหลายในตลาด และด้วยคำแนะนำจาก FINNOMENA Investment Team ที่คัดเลือกกองทุน UI มาให้เป็นพิเศษ คุณจะไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน เสมือนมีทีมผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ

ลงทุนกองทุน UI ผ่าน FINNOMENA ดีอย่างไร

  • เลือกสรรมาให้เน้น ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ จาก FINNOMENA Investment Team
  • ครบทุกสินทรัพย์นอกกระแส ที่ FINNOMENA ที่เดียว
  • คัดคุณภาพอย่างเป็นกลาง จาก 46 กองทุน UI ในไทย

 

เปิดประสบการณ์ลงทุนใน Private Assets สำหรับ
Ultra-Accredited Investors (UIs)
เอกสิทธิ์แห่งการลงทุนที่หาไม่ได้ในสินทรัพย์ทั่วไป

ลงทะเบียนความสนใจ รับคำแนะนำบริการเฉพาะคุณได้ทันที เพียงกรอกข้อมูลให้ครบที่
https://www.finnomena.com/pick-ui-fund/

พิเศษ! ลงทุนกองทุน UI กับ FINNOMENA ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2566 สามารถแลกรับส่วนลดค่าธรรมเนียม FINT Cashback สูงสุดถึง 20% 

โดย FINT Cashback จะคืนเงินในรูปแบบของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม K-CASH ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ ขายวันนี้ก็สามารถรับเงินเข้าบัญชีวันพรุ่งนี้ได้เลย (T+1) โดยศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่  https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CASH.aspx

 

ศึกษารายละเอียดและแลก FINT Cashback ได้ที่
https://www.finnomena.com/fint/cashback


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 – 24 มี.ค. 66)

premiums
สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 - 24 มี.ค. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 18 – 24 มี.ค. 2566 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดีประจำสัปดาห์ (18 – 24 มี.ค. 66)

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 - 24 มี.ค. 66)

(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 24 มี.ค. 2566)

1. ASP-DIGIBLOC – กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +14.42%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +35.77%

ซื้อกองทุน ASP-DIGIBLOC คลิก

2. SCBBLOC(A) – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Blockchain (ชนิดสะสมมูลค่า)

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +9.23%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +7.17%

ซื้อกองทุน SCBBLOC(A) คลิ

3. TNEXTGEN-A – กองทุนเปิด ทิสโก้ Next Generation Internet ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +8.50%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD):+32.52%

ซื้อกองทุน TNEXTGEN-A คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: ASP-DIGIBLOC, SCBBLOC(A), TNEXTGEN-A, DAOL-CYBER, LHBLOCKCHAIN

หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)

ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิกhttps://finno.me/cheat-sheet-update

10 อันดับกองทุนที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในรอบสัปดาห์บนแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ FINNOMENA (18 – 24 มี.ค. 66)

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (18 - 24 มี.ค. 66)

(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 24 มี.ค. 2566)

1. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.88%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -2.52%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!

ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก

2. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.23%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +10.08%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต

ซื้อกองทุน ONE-UGG-RA คลิก

3. MEGA10-A : กองทุนเปิด MEGA 10 ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.51%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +15.35%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

ซื้อกองทุน MEGA10-A คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : PRINCIPAL VNEQ-A, ONE-UGG-RA, MEGA10-A, K-CASHTMBGQG, UGIS-N, K-CHINA-A(A), B-INNOTECH, K-VIETNAM, SCBS&P500

ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

รู้จัก Bulge Bracket ธนาคารยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลต่อระบบการเงินโลก

Park Kathawut
Bulge Bracket

ธุรกิจธนาคารถือว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยขับเคลื่อนระบบการเงินให้ก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งยังเป็นตัวสะท้อนทิศทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ดังที่เราจะเห็นว่าในหลาย ๆ ครั้ง เมื่อธนาคารเกิดปัญหาหรือมีความเปราะบาง ก็มักจะส่งผลกระทบไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ จนลุกลามเป็นวงกว้าง บางครั้งก็บานปลายกลายเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินระดับโลกได้เลย

บทความนี้ จึงอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ระดับโลกที่ถูกเรียกว่า “Bulge Bracket” ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการเงินโลก ด้วยความแข็งแกร่ง ความเก่าแก่ และความน่าเชื่อถือ ที่สำคัญคือนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ก็มักจะมีจุดเริ่มต้นมาจาก 1 ใน 9 ของธนาคารเหล่านี้ 

Bulge Bracket

ภาพจาก : BankingPrep

1. JPMorgan Chase

ผู้ให้บริการด้านการเงินการธนาคาร การลงทุน และการบริหารทรัพย์สิน ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งโดย John Pierpont Morgan ตั้งแต่ปี 1871 เดิมใช้ชื่อว่า Drexel, Morgan & Co ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น J.P. Morgan & Co. ในปี 1895 และล่าสุดกับชื่อ JPMorgan Chase ในปี 2000 หลังได้ควบรวมกิจการกับธนาคาร Chase Manhattan

2. Bank of America

เป็นอีกหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ซึ่งมีรากฐานเดิมมาจากธนาคารแห่งอิตาลี (Bank of Italy) ที่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะควบรวมกับธนาคารขนาดเล็กหลายแห่งในสหรัฐฯ จนเปลี่ยนชื่อเป็น Bank of America ในที่สุด ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างมาตรฐานการเงินใหม่ให้แก่ประเทศ

3. Citigroup

ธนาคารที่ก่อตั้งโดยกลุ่มพ่อค้าในนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 1812 ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวมาร่วม 200 ปี ปัจจุบันให้บริการกับลูกค้ากว่า 160 ประเทศทั่วโลก

4. Barclays

สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นในเมืองลอนดอนมาตั้งแต่ปี 1690 และยังเป็นธนาคารแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งตู้เอทีเอ็ม ในปี 1967 

5. Goldman Sachs

ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1862 ในนครนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุนและกลุ่มหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

6. Deutsche Bank

สถาบันการเงินรายใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมนีตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

7. Morgan Stanley

ก่อตั้งโดย Henry Sturgis Morgan ซึ่งเป็นหลานชายของ John Pierpont Morgan ที่แยกตัวออกไปเปิด Morgan Stanley ในปี 1935 และได้เติบโตเป็นเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

8. UBS

UBS มาจากคำว่า Union Bank of Switzerland ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 161 ปี และเป็นคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกับ Credit Suisse มาโดยตลอด กระทั่งล่าสุดที่บริษัทได้ปิดดีลซื้อกิจการคู่แข่งได้สำเร็จ ปิดฉากการแข่งขันอย่างยาวนาน

9. Credit Suisse

เคยเป็นธนาคารอันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 167 ปี อย่างไรก็ดี ช่วงหลังประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ตลอดจนเผชิญวิกฤตสภาพคล่องครั้งใหญ่ จนต้องได้รับความช่วยเหลือจากคู่แข่งรายสำคัญอย่าง UBS ด้วยการเข้ามาซื้อกิจการ Credit Suisse ที่มูลค่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อยุติวิกฤตธนาคารล้ม

Bulge Bracket

ทั้งนี้ หากเจาะลึกลงไปในรายละเอียด จะพบว่ารายได้หลักของแต่ละสถาบันทางเงินจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง  แต่โดยรวมแล้วจะมาจาก 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ รายได้จาก Commercial และ Retail Banking ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียม รายได้จาก Asset & Wealth Management คือค่าธรรมเนียมบริหารจัดการทรัพย์สินและเงินทุนของลูกค้า 

และสุดท้าย รายได้จาก Corporate & Investment Banking หรือวาณิชธนกิจ เป็นรายได้ที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าในระดับองค์กร เช่น การนำหุ้นเข้า IPO, การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน, การควบรวมกิจการ (M&A) เป็นต้น ซึ่งงานส่วนนี้มักจะตกเป็นของกลุ่ม Bulge Bracket ด้วยความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง ๆ


Reference

investopedia

bankingprep

MERGERS & INQUISITIONS

Marketwatch

7 ความกังวลแบบนี้ ควรหาตัวช่วยลงทุนแบบไหนดี ?

NM
หลาย ๆ คนรู้ดีว่า การลงทุนนั้นสามารถทำให้มี “อิสรภาพทางเงิน” ได้ เพราะการลงทุนคือการต่อยอดให้เงินทำงานแทนเรา แต่ด้วยความที่ในโลกของการลงทุนนั้นเต็มไปด้วยความผันผวนและความไม่แน่นอน การจะคว้าโอกาสการมีอิสรภาพทางเงินจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีทั้งความรู้ เวลา และความเข้าใจ อีกทั้งยังต้องลับประสบการณ์ให้แหลมคมอีกด้วย
และนั่นทำให้หลาย ๆ คนเกิดความกังวลไม่กล้าก้าวเข้ามาในโลกของการลงทุน หรือลงทุนไปแล้วแต่ไม่รู้จะไปต่อยังไงดี เรามาดูความกังวลที่มักจะเกิดกับนักลงทุนส่วนใหญ่กันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง แล้วจะมีตัวช่วยดี ๆ อะไรที่จะมาขจัดความกลัวเหล่านี้ได้บ้าง ?

7 ความกังวลของนักลงทุนส่วนใหญ่

ความกังวลในการลงทุนเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันคือเครื่องยืนยันว่าเรากำลังก้าวเข้ามาในโลกของการลงทุน เพื่อทำให้ตัวเองมีอิสรภาพทางการเงิน แต่หลาย ๆ ครั้งความกังวลเหล่านั้นอาจฉุดรั้งคุณจากโอกาสการลงทุนครั้งใหม่ ถึงเวลาที่ต้องมีตัวช่วยแล้ว ! ลองมาให้ FINNOMENA คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพ กับ MEVT Call (เมพคอล) กันเถอะ !

MEVT Call (เมพคอล) คืออะไร ?

MEVT Call” คือ คำแนะนำการคว้าโอกาสลงทุนแบบใหม่จาก FINNOMENA ที่จะมาให้คำแนะนำกับนักลงทุน ผ่านรูปแบบกรอบการคิดวิเคราะห์ 4 ด้าน เพื่อเพิ่มคุณภาพการลงทุนให้กับทุกคนในปี 2023 ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า M-E-V-T ได้แก่
  • Macro คือ ปัจจัยเชิงมหภาค เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมบนปัจจัยมหภาคที่สนับสนุนการเติบโต
  • Earnings คือ วิเคราะห์การเติบโตของกำไร แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ เพื่อพิจารณาถึงการรับรู้ของนักวิเคราะห์ต่อแนวโน้มที่ดีหรือแย่ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยการลงทุนในแง่อื่น ๆ เช่น เชิง valuation และ fund flow เป็นต้น
  • Valuation คือ การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีความน่าสนใจมากเพียงใด เพื่อนำไปสู่คำแนะนำเข้าลงทุนในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้
  • Technical คือ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis เพื่อพิจารณาให้รอบด้าน ซึ่งจะช่วยนำไปสู่โอกาสการลงทุนที่ดีกว่า

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

คิดจนหัวหมุน จะเริ่มลงทุนดีไหมนะ ?

NM
คิดจนหัวหมุน จะเริ่มลงทุนดีไหมนะ ? ดูมาก็นาน อ่านมาก็เยอะ แต่ยังไม่แน่ใจว่ามีความจำเป็นต้องลงทุนมั้ย ถ้าอย่างนั้นลองมาถามตัวเองผ่านคำถามเหล่านี้กัน เริ่มเลย !
จากคำถามเหล่านี้ หลายคนคงรู้แล้วว่า การลงทุนนั้นสำคัญ แต่หากใครติดปัญหากลัวติดดอย ขาดทุน จับจังหวะไม่ถูก ไม่รู้จะลงกองไหน หรือไม่มีคนให้คำปรึกษา ความกังวลเหล่านี้ “เมพคอลช่วยคุณได้” ลองมาให้ FINNOMENA คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพ กับ MEVT Call (เมพคอล) กันเถอะ !
เมพคอล” หรือ “MEVT Call” คือ คำแนะนำการคว้าโอกาสลงทุนแบบใหม่จาก FINNOMENA ที่จะมาให้คำแนะนำกับนักลงทุน ผ่านรูปแบบกรอบการคิดวิเคราะห์ 4 ด้าน เพื่อเพิ่มคุณภาพการลงทุนให้กับทุกคนในปี 2023 ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า M-E-V-T ได้แก่
  • Macro คือ ปัจจัยเชิงมหภาค เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมบนปัจจัยมหภาคที่สนับสนุนการเติบโต
  • Earnings คือ วิเคราะห์การเติบโตของกำไร แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ เพื่อพิจารณาถึงการรับรู้ของนักวิเคราะห์ต่อแนวโน้มที่ดีหรือแย่ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยการลงทุนในแง่อื่น ๆ เช่น เชิง valuation และ fund flow เป็นต้น
  • Valuation คือ การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีความน่าสนใจมากเพียงใด เพื่อนำไปสู่คำแนะนำเข้าลงทุนในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้
  • Technical คือ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis เพื่อพิจารณาให้รอบด้าน ซึ่งจะช่วยนำไปสู่โอกาสการลงทุนที่ดีกว่า

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT

มุมมองการลงทุน BottomLiner Optimal Megatrend Opportunities (OMO) มี.ค. 2023: วิกฤตธนาคารไม่น่าห่วง ธนาคารกลางช่วยเหลือได้เร็วและตรงจุด

BottomLiner
มุมมองการลงทุน BottomLiner Optimal Megatrend Opportunities (OMO) มี.ค. 2023: วิกฤตธนาคารไม่น่าห่วง ธนาคารกลางช่วยเหลือได้เร็วและตรงจุด

ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลง จากเรื่อง ปัญหาของธนาคาร (Bank Run) ทำให้นักลงทุนต่างกลัวว่าจะเกิดการล้มกันเป็นลูกโซ่ของธนาคารขนาดเล็กและกลาง

แต่มุมมองของ Bottomliner นั้นวิกฤตธนาคารไม่น่าห่วงเท่าไหร่ เนื่องจาก ธนาคารกลางหลายประเทศรวมถึง FED เข้ามาช่วยเหลือได้เร็วและตรงจุด เช่น การเพิ่มสภาพคล่องให้ธนาคาร รวมถึงรับกระกันบัญชีเงินฝากให้แก่ธนาคารที่ล้มไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาตรงนี้ ทำให้ธนาคารมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะให้ลูกค้าถอนเงินได้ และยังกลับมาเชื่อมั่นในการฝากเงินที่ธนาคารอยู่ 

นอกจากนี้ตัวแทนรัฐบาลทั้งในสหรัฐและยุโรปยังคอยแถลงว่าพร้อมจะเพิ่มความช่วยเหลืออีกถ้าปัญหาบานปลาย

จากปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนั้น ทำให้ FED ไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อได้แล้วแต่จะเปลี่ยนเป็นการที่ค้างสูงไว้นานพอจะเห็นสัญญาณการลดลงของเงินเฟ้อแทน ซึ่งลดความเสี่ยงที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยไปอีกเยอะๆ

ในตอนนี้กลยุทธ์ OMO ของเรายังเลือกลงทุนใน Semiconductor และ Clean Energy ในสหรัฐฯ และจีน เป็นหลัก

เนื่องจากกลุ่ม Semiconductor ที่เพิ่มเข้ามาช่วงสิ้นปี 2022 นั้นได้รับผลดีจากหลายปัจจัย เช่น การเปิดเมืองของจีน กระแสการลงทุนใน AI ที่เข้ามาแรง ทำให้ Demand การใช้งานเริ่มฟื้นขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้กลุ่ม Semiconductor นั้นยืนแข็งเหนือตลาดรวม

นอกจากนี้ในส่วนของกลุ่มรถยนต์ EV นั้นนอกจากได้ผลดีจากการเปิดเมืองของจีนแล้วยังมีราคา Lithium ที่ปรับตัวลดลง เพราะหลายบริษัทหันมาลงทุนและสร้าง Supply Lithium ให้แก่ตัวเอง ทำให้ Supply เริ่มตาม Demand ทันแล้ว ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้ผลิต Battery และ แบรนด์รถยนต์ที่จะมีต้นทุนที่ถูกลงด้วย (บางกองทุนมีการลงทุนในเหมืองค่อนข้างเยอะ เรามองว่าเป็นความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากราคา Lithium ปรับตัวลง พาหุ้นเหมือง Lithium ตกตาม เราจึงเตรียมตัวจะลดน้ำหนักกองทุนที่เข้าข่าย)

ล่าสุดทางจีนยังคงผลักดันอุตสาหกรรม Clean Energy ต่อ โดยการขยายเวลาในการให้ส่วนลด และเครดิตทางภาษี แก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าด้วย แสดงให้เห็นว่า Clean Energy ยังเป็นกลุ่มที่ทั่วโลกยังให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเริ่มฟื้นตัว

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ Optimal Megatrend Opportunities (OMO) by BottomLiner

ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner

Bottomliner

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

 

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

CodeBreaker
Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

What is Hedera?

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

ซึ่ง Hedera อธิบายเทคโนโลยีของตัวเองว่าเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (distributed ledger technology:DLT) รุ่นที่ 3 ต่อจาก Bitcoin และ Ethereum ซึ่ง Hedera ให้คำจำกัดความว่าเป็นเทคโนโลยี DLT รุ่นที่ 1 และ 2 ตามลำดับครับ

Technology

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

HBAR

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

Roadmap

Concerns

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

Hedera: คริปโตเคอร์เรนซี Gen 3

Summary

Further Read:

CodeBreaker

ที่มาบทความ: https://link.medium.com/vjOz3eHjoyb


คำเตือน

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล รวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

Phishing เตือนภัยกลโกงในโลกออนไลน์

TechToro
Phishing เตือนภัยกลโกงในโลกออนไลน์

ในช่วงนี้กระแสโกงเงินในโลกออนไลน์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมัลแวร์ดูดเงิน การเข้าควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล ซึ่งได้สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก วันนี้แอดมินจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งในกลโกงที่พบได้บ่อยที่สุดบนโลกออนไลน์อย่าง “Phishing” (ฟิชชิ่ง)

Phishing คืออะไร?

Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีทางจิตวิทยาร่วมด้วย ทั้งกลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย โดยทั่วไปจะนิยมให้กดที่ ‘ลิงก์’ เพื่อย้ายไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นและทำการกรอกข้อมูล โดยเว็บไซต์นั้นก็จะทำเลียนแบบจนเกือบเหมือนกับฉบับเลย

Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยในการตกปลานั้นต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบถึงการสร้างสถานการณ์โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาติดเบ็ด

ที่มาของคำว่า Phishing

คำว่า “Phishing” เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 1990 เมื่อแฮ็กเกอร์ได้ใช้อีเมลปลอมในการล้วงข้อมูลของเหยื่อที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แฮกเกอร์ในยุคนั้นถูกเรียกว่า “Phreaks” (Freaks+Phone) และได้กลายมาเป็นคำว่า “Phishing” (Fishing+Phone) อย่างทุกวันนี้

ตัวอย่างของ Phishing ที่ต้องระวัง

1. Deceptive Phishing

เป็นวิธีการที่นิยมมากในหมู่อาชญากรออนไลน์ โดยหลักการทำงานคือการแอบอ้างเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ และมักเป็นองค์กรที่เราเคยทำธุรกรรมด้วย จากนั้นจะทำการส่งอีเมล์หรือลิงก์บางอย่างเพื่อให้เหยื่อคลิกเข้าไป 

2. Spear Phishing Attacks

เป็นการโจมตีแบบเจาะจงไปที่บุคคลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง มักจะรวบรวมข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับเหยื่อเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะหลอกลวงบุคคล/องค์กรนั้น ๆ ในบางครั้งอีเมลแบบ Spear Phishing อาจเพิ่มรายละเอียดของผู้ร่วมงานหรือผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ รวมทั้งชื่อเหยื่อเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย

3. Whaling Attacks

Whaling Attacks เป็นการเลือกโจมตีไปที่ผู้บริหารในองค์กร แฮกเกอร์จะทำการหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเหยื่อเพื่อสร้างข้อความที่น่าเชื่อถือ เป็นการหลองลวงที่ต้องอาศัยการหาข้อมูลละเอียด และความแม่นยำของเนื้อหาเพื่อเพิ่มโอกาสในการหลอกลวงได้สำเร็จ!

4. Pharming

Pharming คือการเปลี่ยนเส้นทางเข้าเว็บไซต์ของเราไปยังเว็บไซต์ปลอมที่จะมีลิงก์ให้เรากด เป็นการหลอกให้เหยื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมและดึงเอาข้อมูลหรือแฮ็กเข้าอุปกรณ์ของเหยื่อไป

วิธีจับผิด Phishing

  • ข้อความที่กระตุ้นให้เหยื่อเกิดความกลัว และความจำเป็นในการคลิกข้อความ/ลิงก์
  • ข้อความที่ให้ส่งข้อมูลส่วนตัว เช่น รายละเอียดการเงิน หรือรหัสผ่าน
  • ข้อความที่ถูกเขียนอย่างลวก ๆ และมีการสะกดคำที่ผิด
  • มีการยื่นข้อเสนอที่ “ดีเกินจริง” เช่น “คุณเป็นผู้โชคดี ได้รับรางวัลใหญ่

วิธีป้องกันการถูกโกงในโลกออนไลน์

  1. เปิดเผยข้อมูลในโซเชียลมีเดียเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปแอบอ้างใช้ทำธุรกรรม
  2. ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (password) ในการเข้าใช้บัญชีอีเมลหรือบัญชี Social Network เป็นประจำ
  3. เมื่อได้รับการติดต่อแจ้งให้โอนเงินให้ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนโอนเงิน หรือติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมศุลกากร โทร. 1164 / ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213
  4. ไม่โลภต่อเงินที่ไม่มีที่มา ผลตอบแทนที่สูงเกินจริง หรือดอกเบี้ยต่ำ ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงความเป็นไปได้ในความเป็นจริง
  5. ตรวจหาไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูลการใช้งาน
  6. หากต้องการซื้อสินค้าทางออนไลน์ควรซื้อจากเว็บไซต์บัญชีทางการที่สามารถตรวจสอบได้
  7. ติดตามข่าวสารกลโกงอย่างสม่ำเสมอ
  8. ไม่คลิกเปิดลิงก์ที่ไม่รู้ที่มา หรือไม่มั่นใจว่าผู้ส่งนั้นเชื่อถือได้จริง ๆ 

บทความโดย คุณานันต์ TechToro

News Update: BYD DOLPHIN มาแล้ว EV รุ่นเล็กกะทัดรัด พวงมาลัยขวา เคาะ 7.99 แสนบาท เปิดจองที่แรกในโลก

THE OPPORTUNITY
News Update: BYD DOLPHIN มาแล้ว EV รุ่นเล็กกะทัดรัด พวงมาลัยขวา เคาะ 7.99 แสนบาท เปิดจองที่แรกในโลก

BYD เปิดตัว BYD DOLPHIN รถบนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวา รุ่นเล็กกะทัดรัดที่ทุกคนรอคอย พร้อมเปิดให้จองรุ่น Standard Range ในราคาคาดการณ์จำหน่าย 799,999 บาท ในงานมอเตอร์โชว์

สำหรับหน้าตาของเจ้า BYD DOLPHIN จะใกล้เคียงกับรถยนต์ค่ายคู่แข่งอย่าง ORA Good Cat แต่สั้นและแคบกว่านิดหน่อย โดยมิติตัวถัง ยาว 4,150 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,570 มิลลิเมตร ความยาวฐานล้อ 2,700 มิลลิเมตร

ไทยรัฐออนไลน์ระบุสเปค Dolphin EV ว่า ใช้แพลตฟอร์มไฟฟ้า 100% e-Platform 3.0 เหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ BYD ระยะฐานล้อ 2,700 มิลลิเมตร ห้องโดยสารกว้างขวาง ตัวถังของ Dolphin ออกแบบในสไตล์แฮตช์แบ็ก ไฟหน้า LED มาพร้อม Daytime Running Light มาพร้อม Bucket Seat ทรงสปอร์ต พวงมาลัยมัลติฟังก์ชันแบบ 3 ก้าน มือจับเปิดประตูออกแบบคล้ายครีบของโลมา

โดยDolphin EV ขับเคลื่อนในรูปแบบ FWD (ขับหน้า) ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Permanent Magnet Synchronous ขนาด 130 kW (177 PS) แรงบิดสูงสุด 290 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ลิเธียม BYD Blade Battery ขนาด 44.9 kWh ชาร์จผ่านไฟกระแสสลับ AC, 7 kW จาก 0-100% ใช้เวลา 6 ชั่วโมง 25 นาที ส่วนการชาร์จผ่านไฟ DC, 60 kW ในรูปแบบ Fast Charging ชาร์จจาก 30-80% ใช้เวลา 30 นาที แบตเต็มวิ่งได้ไกล 405 กิโลเมตร

BYD Dolphin ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchonous Motor มอเตอร์วางด้านหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า กำลัง 177 แรงม้า แรงบิด 290 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ BYD Blade Battery (LFP) ความจุ 44.9 kWh มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนประสิทธิภาพสูง ตัวเลขสมรรถนะ อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 7.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทำการต่อการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มไกล 405 กิโลเมตร หักกลบลบหนี้จะมีไฟวิ่งไกล 350 กิโลเมตรแบบสบายๆ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ระบบชาร์จกระแสตรง DC Fast Charging สูงสุด 60 kW ชาร์จไฟจาก 30% จนถึง 80% ภายใน 30 นาที! กินกาแฟหมดแก้วแล้วรออีกหน่อยก็วิ่งได้ถึง 350 กิโลเมตร แบบสบายๆ

สีตัวถังภายนอก มีให้เลือก 5 สี ส่วนภายในห้องโดยสารจะอิงไปตามภายนอก
– สีชมพู Pupu Pink
– สีน้ำเงิน Surf Blue
– สีขาว-ส้ม Honey Orange
– สีขาว-เขียว Sasha Green
– สีขาว-ฟ้า Sparkling Blue

สำหรับใครที่สนใจประชาชาติธุรกิจรายงานว่า ลูกค้าที่ซื้อ BYD DOLPHIN จะได้สิทธิพิเศษ Rêver Care เพื่อดูแลและเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า มูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท ประกอบด้วย ออกรถง่าย ๆ ด้วยเงินเริ่มต้นเพียง 39,999 บาท ประกันภัยชั้น 1 พร้อม พ.ร.บ.ระยะเวลา 1 ปี มั่นใจไปกับการรับประกันคุณภาพตัวรถและแบตเตอรี่นาน 8 ปี หรือ 160,000 กิโลเมตร อุ่นใจด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง นาน 8 ปี บริการบำรุงรักษา ค่าแรง ค่าอะไหล่ นาน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร และอุปกรณ์จำเป็นอย่าง Home Charger พร้อมฟรีค่าติดตั้ง สายต่อพ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้า Vtol สายชาร์จเคลื่อนที่ Portable Charger ค่าจดทะเบียน พรมเข้ารูป กรอบป้ายทะเบียน ฟิล์มหน้าจอ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/auto/evcar/2660075 

https://www.prachachat.net/motoring/news-1239023 

https://www.matichon.co.th/economy/auto/news_3886392

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

SCB Grow Together ปรับพอร์ตเดือนมีนาคม 2023: ตลาดหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวในระยะถัดไป

บลจ.ไทยพาณิชย์

มุมมองการลงทุน

ตลาดหุ้นโลกมีความผันเพิ่มสูงขึ้น เริ่มจากความกังวลต่อการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของ Fed ตามมาด้วย ความปั่นป่วนในกลุ่มธนาคารของสหรัฐฯ และยุโรป มีผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

เบื้องต้นเราประเมินว่า สถานการณ์ไม่น่าจะพัฒนาไปในเชิงที่เลวร้ายมาก เมื่อพิจารณาจากการเข้ามา Take Action ค่อนข้างรวดเร็วของธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น ตลาดหุ้นยังมีโอกาสฟื้นตัวในระยะถัดไป

ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 21 มีนาคม 2023

ภาพแสดงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 21 มีนาคม 2023

การปรับพอร์ต

เรานำ SCBCLEANA ออกจากพอร์ต หลังจาก Underperform ค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา แล้วนำกองทุนใหม่เข้าพอร์ต ได้แก่ (1) กองทุนหุ้น Global Quality Equity หรือ SCBGQUAL(A) เรามองว่า นักลงทุนจะให้น้ำหนักมากขึ้นกับปัจจัยเชิงคุณภาพ ในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นโลกผันผวนเนื่องจากความกังวลต่อระบบการเงิน และ (2) กองทุนหุ้น Asian Emerging Market หรือ SCBAEM ประเมินว่า ปัญหาสภาพคล่องกลุ่ม Banking ในสหรัฐฯ และยุโรป มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นเอเชียน้อยกว่าฝั่ง Developed Market นอกจากนี้ คาดว่า หุ้นเอเชีย ยังได้ผลบวกจาก China Reopening

เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง

👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777

จับจังหวะคว้าโอกาส ด้วยศาสตร์และศิลป์แห่งการลงทุน

Park Kathawut
ศาสตร์และศิลป์แห่งการลงทุน

ความยากของการลงทุนทุกวันนี้ คือการที่สถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยังมีตัวแปรต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่ดีจึงต้องประกอบไปด้วยทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์”

ศาสตร์แห่งการลงทุน คือ ความรู้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค วิธีประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่เหมาะสม ตลอดจนมีกระบวนการตัดสินใจที่ชัดเจนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตสูง ไม่ให้ความรู้สึกกับอารมณ์เข้าครอบงำ เพื่อการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล

ขณะเดียวกันต้องควบคู่กับการมี ศิลปะแห่งการลงทุนด้วย นั่นคือการไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อปัจจัยเปลี่ยนก็ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และเข้าใจธรรมชาติของโลกการลงทุน รู้ว่าจังหวะไหนควรที่จะ “รุก” “คอย” หรือ “ถอย” นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการคาดเดาอารมณ์ของคนในตลาดอีกด้วย

ด้วยโลกของการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง และมีพัฒนาการอยู่เสมอ นักลงทุนที่ดีจึงต้องผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ เพื่อสร้างกรอบกลยุทธ์การลงทุนในการคัดเลือกสินทรัพย์ เพื่อการจับจังหวะตลาดอย่างแม่นยำ และการทำใจเป็นกลางปราศจากอคติ​ ย่อมมองเห็นช่องทางได้กระจ่างกว่า​เป็นธรรมดา

อย่างไรก็ดี บางคนเก่งคัดเลือกสินทรัพย์ แต่ไม่ถนัดจับจังหวะตลาด จึงเหมาะเฉพาะกับกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาว ทำให้อาจจะพลาดโอกาสสร้างผลกำไรในระยะกลาง ส่วนบางคนคาดการณ์แนวโน้มตลาดเก่งมาก แต่ไม่ถนัดคัดเลือกสินทรัพย์ที่ดี จึงหันไปมุ่งเน้นเก็งกำไรระยะสั้นแทน ซึ่งแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูง และไม่สามารถวิเคราะห์การลงทุนได้รอบครอบครบทุกมิติ

MEVT Call ช่วยคัดกองทุนขั้นเทพ ด้วยจังหวะที่ถูกต้อง

FINNOMENA Investment Team มองเห็นถึงข้อจำกัดตรงนี้ของนักลงทุน จึงได้ออกแบบคำแนะนำการลงทุนรูปแบบใหม่ “MEVT Call” ที่มองทั้งเรื่องศาสตร์และศิลป์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยให้คุณคว้าทุกโอกาสการลงทุน และสามารถตัดสินใจได้ถูกที่ถูกเวลา

โดยมีกระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโต ด้วยการวิเคราะห์จุดเข้าซื้อด้วยปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค เพื่อคัดกรองกองทุนรวมที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลา ที่สำคัญคือจะมีการแจ้งเตือนจุดออก (Exit Strategy) เมื่อปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนไป ผ่านกรอบการลงทุน 4 ด้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า M-E-V-T ได้แก่

  • Macro คือ ปัจจัยเชิงมหภาค เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมบนปัจจัยมหภาคที่สนับสนุนการเติบโต
  • Earnings คือ วิเคราะห์การเติบโตของกำไร แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ เพื่อพิจารณาถึงการรับรู้ของนักวิเคราะห์ต่อแนวโน้มที่ดีหรือแย่ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยการลงทุนในแง่อื่น ๆ เช่น เชิง valuation และ fund flow เป็นต้น
  • Valuation คือ การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีความน่าสนใจมากเพียงใด เพื่อนำไปสู่คำแนะนำเข้าลงทุนในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้
  • Technical คือ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis เพื่อพิจารณาให้รอบด้าน ซึ่งจะช่วยนำไปสู่โอกาสการลงทุนที่ดีกว่า

 

ศาสตร์และศิลป์แห่งการลงทุน

สรุปข้อดี MEVT Call ตัวช่วยนี้เหมาะกับใคร ?

1. คนที่ไม่รู้ว่าช่วงนี้ควรจะลงทุนในกองทุนอะไรดี เพราะได้มีการคัดสรรกองทุนคุณภาพมาให้เลือกลงทุน ซึ่งกลั่นกรองโดย Investment Team จาก FINNOMENA ที่มากประสบการณ์ พิจารณาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิค

2. คนที่กำลังกังวลในภาวะตลาด จับจุดเข้าจุดออกไม่ถูก เพียงแค่รอสัญญาณแจ้งเตือน MEVT Call กองทุนเด็ดจาก FINNOMENA พร้อมด้วยคำแนะนำ take profit หรือ stop loss โดยสามารถติดตามผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้ง Facebook, Youtube, Website และ FINNOMENA App

3. คนที่มีเป้าหมายการลงทุนในระยะกลาง 6 – 12 เดือน โดยควรมีเงินเย็นนิ่ง ๆ หรือเงินสดเหลือ ที่ต้องการนำมาลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลกำไรในระยะกลาง

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

หุ้นโลกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

FINNOMENA x Franklin Templeton
หุ้นโลกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

แนวคิดจาก Templeton Global Equity Group ต่อการลงทุนหุ้นคุณค่า (value investing) โดยเราเชื่อว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการขยายการลงทุนไปสู่หุ้นโลก

“มันค่อนข้างตรงไปตรงมาว่า ถ้าคุณต้องการหาผลตอบแทนที่ดี คุณไม่ควรแสวงหาการลงทุนเฉพาะในสหรัฐฯ แต่ควรหาในทุก ๆ ที่ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราทำมาตลอด 40 ปี เรามองหาการลงทุนที่ดีจากทั่วทุกมุมโลก” – Sir John Templeton, 1979

ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (global financial crisis: GFC) ถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

หุ้นโลกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

รูปที่ 1 ผลตอบแทนของหุ้นโลกเมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐฯ ถือว่าต่ำกว่าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (over a generation)

นอกจากนั้น ถ้าพิจารณาการประเมินมูลค่าในแบบต่าง ๆ หุ้นโลกถือว่ามีมูลค่าต่ำกว่า เมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐฯ โดยถือว่าเกือบต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี

หุ้นโลกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

รูปที่ 2 อัตราส่วน Price-to-Earnings, Price-to-Sales และ Price-to-Book ของหุ้นโลกมีระดับต่ำกว่าหุ้นสหรัฐฯ

มีหลายปัจจัยที่เป็นผลให้หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานได้ดีกว่าหุ้นโลกอย่างนัยสำคัญ แต่ปัจจัยหลักมาจากนโยบายการเงิน โดยตั้งแต่วิกฤต GFC วิกฤตหนี้ยุโรปในปี 2011 การถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2013 ความผันผวนอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นในปี 2018 และวิกฤต COVID-19 ในปี 2020 ธนาคารกลางหลายแห่งได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดสภาพคล่อง ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ย และการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยวงเงินไม่จำกัด ซึ่งคล้ายกับการตีเช็คเปล่า (blank check) เข้าสู่ตลาดพันธบัตร

ระดับหนี้ในตลาดโลกพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่เกิดวิกฤต GFC ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ถือเป็นธนาคารที่อัดฉีดสภาพคล่องในระดับสูง และการอัดฉีดในหลายช่วงเวลาทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยหุ้นเติบโตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผู้บริโภค และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) สูงในตลาดสหรัฐฯ เป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก

แต่นั่นเป็นอดีต ปัจจุบันสถานการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม จากที่เคยเป็นบวกต่อการปรับตัวขึ้นของหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ กล่าวถือ ตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับขึ้นสูงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่องในหลายปีก่อนหน้า บทบาทของธนาคารกลางในประเทศตะวันตกเปลี่ยนจากผู้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ เป็นผู้ดึงสภาพคล่องออกจากระบบ การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง เมื่อมาตรการกระตุ้นในช่วง COVID-19 เริ่มหมดอายุ ในขณะเดียวกัน กลุ่มบริษัท และผู้บริโภคก็เริ่มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงเงินทุน จากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น (higher costs of capital) นอกจากนั้น เรายังเห็นฟองสบู่ราคาที่เคยเกิดขึ้นในหลากหลายสินทรัพย์เริ่มหายไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ cryptocurrencies จนถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทเทคโนโลยีที่ยังไม่มีผลกำไร

ประธาน FED นายเจอโรม พาวเวลล์ ให้ความสำคัญกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นลำดับแรก โดยในการแถลงข่าวในเดือนพฤศจิกายน 2022 กล่าวว่า FED ยังต้องดำเนินนโยบายในการสู้กับอัตราเงินเฟ้อต่อไป แม้ว่าความเร็วของการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเริ่มช้าลงในหลายไตรมาสข้างหน้า แต่ถ้อยแถลงของนายพาวเวลล์ สื่อว่าดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ในระดับสูง และการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวน่าจะคงอยู่ต่อไปในอนาคตอันใกล้ โดยรูปด้านล่างแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นบวกต่อหุ้นโลกในส่วนหุ้นคุณค่า เมื่อเทียบกับหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีในวัฏจักรตลาดหุ้นรอบที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่ออัตราคิดลด (discount rates) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้กระแสเงินสดในปัจจุบันของหุ้นคุณค่ามีความสำคัญมากขึ้น เมื่อเทียบกับหุ้นเติบโต ที่ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดในช่วงหลัง ๆ มากกว่า นอกจากนั้น ดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นยังทำให้การพิจารณามูลค่าหุ้นผ่านปัจจัยพื้นฐานมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นคุณค่าด้วย

หุ้นโลกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

รูปที่ 3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงเป็นบวกต่อหุ้นโลกในส่วนหุ้นคุณค่า มากกว่าหุ้นเติบโตในสหรัฐฯ

เรามองว่าในระยะต่อไป บริษัทที่ไม่สามารถหารายได้ได้เพียงพอ เมื่อเทียบกับต้นทุนทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ในภาวะดอกเบี้ยสูงจะถูกกดดัน ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้เราเชื่อว่าการวิเคราะห์หุ้นโดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis) จะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จ ทดแทนแนวการวิเคราะห์แบบชี้นำ (narrative) และการคาดการณ์การเติบโต ซึ่งเป็นแนวคิดของวัฏจักรการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นครั้งก่อนหน้า

ดอลลาร์สหรัฐฯ: จากปัจจัยเชิงลบเป็นปัจจัยเชิงบวก?

นักลงทุนสหรัฐฯ ที่ต้องการซื้อหุ้นโลกจะได้แรงหนุนจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจากที่กล่าวไปแล้วว่าหุ้นโลกนับว่ามีการประเมินมูลค่าที่เกือบต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เกือบแข็งค่าที่สุดในรอบ 20 ปีเช่นกัน อย่างไรก็ดี เราพบว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นสินทรัพย์หนึ่งที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในรอบ 2 ปี เริ่มอ่อนค่าลงมาบ้างแล้ว โดยในช่วงปลายปี 2022 การเก็งกำไรของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในระดับเกือบสูงที่สุด และจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคพบว่าระดับดังกล่าวอยู่ในระดับซื้อมากเกินไป (overbought) นอกจากนี้ มูลค่าของเงินดอลลาร์ต่อดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (REER) ถือว่าสูงเป็นสถิติ เช่นกัน

หุ้นโลกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี

รูปที่ 4 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มอ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา

แล้วอะไรที่จะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง? ปัจจัยพื้นฐาน ความแตกต่างกันของระดับดอกเบี้ยนโยบาย ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ (ที่วัดจากเครื่องชี้ เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ) และดุลบัญชีเดินสะพัด ต่างแสดงให้เห็นว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง แต่เราเริ่มมองว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติจนเกินไป ซึ่งเราเชื่อว่าในระยะยาวน่าจะกลับเข้าสู่ระดับค่าเฉลี่ย โดยเราเริ่มเห็นแนวโน้มอ่อนค่าลงบ้างแล้วในช่วงปลายปี 2022 ถึงต้นปี 2023 และเราเชื่อว่าการอ่อนตัวน่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง

ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ประกอบด้วย

  • การหยุดการขึ้นดอกเบี้ย หรือการกลับทิศของนโยบายที่ส่งผลต่อความคาดหวังอัตราดอกเบี้ยในระยะยาว
  • การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง
  • การระงับข้อพิพาทในยุโรป ซึ่งจะทำให้เงินยูโรแข็งตัวขึ้น และลดความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

เราส่งเสริมให้นักลงทุนใช้ประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งในการซื้อสินทรัพย์ทั่วโลกที่ราคาถูกปรับลงมา โดยเราเชื่อว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการทยอยสะสมมูลค่า ซึ่งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง มักจะมาพร้อมกับผลตอบแทนสินทรัพย์นอกตลาดสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มสูงขึ้น

บทสรุป

มีหลายอย่างที่น่าคิดในช่วงต้นปี 2023 ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงต้นปีเป็นการปรับขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว หรือว่าเป็นเพียงการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคในช่วงตลาดลง (bear market rally) อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวลงเมื่อไร และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นไปถึงระดับใด ตลอดจนข้อพิพาทในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ว่าจะมีแนวทางคลี่คลายหรือไม่ อย่างไร คำตอบของคำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรายังไม่มีคำตอบแน่ชัด แต่เราเชื่อว่าเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นโลกที่ยังมีมูลค่าต่ำกว่า

ข้อสงวนสิทธิ์

  1. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ให้บริการการให้คำแนะนำทั่วไปแก่ FINNOMENA ในการออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocations)
  2. แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
  3. ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ

แหล่งข้อมูล

https://www.franklintempleton.com/articles/blogs/international-equities-poised-for-recovery

ประสบการณ์แบงก์รัน-แบงก์ล้ม

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
ประสบการณ์แบงก์รัน-แบงก์ล้ม

สัปดาห์ก่อนดูเหมือนว่าคนในแวดวงเศรษฐกิจและการลงทุน ต่างก็วุ่นวายสับสนกันทั่วโลก เนื่องจากการล่มสลายของธนาคาร SVB หรือ Silicon Valley Bank ซึ่งเป็นแบงก์ขนาดใหญ่ที่ให้บริการแก่บริษัทสตาร์ทอัพและดิจิทัลในคาลิฟอร์เนีย และอีกหลายแบงก์ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจนี้

นอกจากนั้น ก่อนสิ้นสัปดาห์ แบงก์เครดิตสวิสซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่ “ระดับโลก” ของสวิตเซอร์แลนด์ ก็เริ่มมีปัญหาในเรื่องของทุนที่ไม่เพียงพอ เพราะธนาคารมีผลประกอบการขาดทุนหนักและผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นกองทุนจากประเทศตะวันออกกลางปฎิเสธที่จะเพิ่มทุน ทำให้ราคาหุ้นที่ตกต่ำอยู่แล้ว ตกลงไปอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เพราะคนกลัวว่าแบงก์อาจจะต้องล้มในที่สุด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางของทั้งสหรัฐและสวิตเซอร์แลนด์ดูเหมือนว่าจะรีบเข้าแทรกแซงและช่วยเหลือทันทีจนทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลามรุนแรงต่อเนื่องไปถึงธนาคารอื่นอย่างเป็นระบบ เฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารกลางของสหรัฐได้ประกาศค้ำประกันเงินฝากทั้งหมดของ SVB

ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ฝากเงินทั่วไปว่า เงินฝากของตนเองในแบงก์และแบงก์อื่นจะไม่หายไป ไม่จำเป็นต้องไปถอนเงินออกพร้อม ๆ กันซึ่งจะทำให้เกิด “Bank Run” ซึ่งธนาคารจะมีเงินไม่พอให้ถอนและต้องล้มละลายทันที ส่วนของสวิสเอง แบงก์ชาติก็จัดหาเงินเป็นสภาพคล่องหลายหมื่นล้านเหรียญให้ในกรณีที่มีคนขอถอนเงินจำนวนมาก

นั่นทำให้ผมหวนนึกถึงวันที่ผมยังทำงานอยู่ในฐานะผู้บริหารสถาบันการเงินแห่งหนึ่งของไทย ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่สถาบันการเงินหรือแบงก์ที่รวมถึงบริษัทที่ผมอยู่ด้วย ประสบปัญหาและเกิด “Bank Run” อย่างเป็นระบบ และจบลงด้วยการ “ล้ม” ของสถาบันการเงินกว่า 50 แห่งแทบจะพร้อมกันทันที เหลือเพียง 2-3 แห่งที่รอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

ถึงวันนี้เองก็ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า เหตุการณ์แบงก์รันและแบงก์ล้มที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในสหรัฐและยุโรปนั้นจบลงไปแล้ว ยังมีโอกาสเหมือนกันที่แบงก์จะล้มเหลวต่อไปต่อเนื่องเป็นระบบโดยเฉพาะในยุโรปที่แบงก์เครดิตสวิสมีขนาดใหญ่มากและเป็น “แบงก์หลัก” ที่การแก้ปัญหาอาจจะทำได้ยากกว่า

และผลกระทบรุนแรงกว่า ซึ่งถ้ามันส่งผลต่อเนื่องไปยังแบงก์อื่นก็อาจจะทำให้เกิด “วิกฤติ” ทางการเงินขึ้นได้ปัญหาและผลกระทบที่ตามมาของแบงก์ หรือสถาบันการเงินที่รับเงินฝากหรือกู้เงินจากคนอื่นเพื่อมาปล่อยต่อหรือลงทุนกินส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยหรือต้นทุนกับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยหรือจากการลงทุนในหุ้นหรือตราสารการเงินเช่นพันธบัตรก็คือเกิดความผิดพลาดหรือการฉ้อฉลในการทำงาน เช่น ปล่อยกู้ให้กับบริษัทหรือโครงการที่ไม่คุ้มค่า ลงทุนในทรัพย์สินหรือหุ้นที่มีราคาแพงเกินไปซึ่งในที่สุดก็ตกลงมาทำให้ขาดทุนมหาศาล ทั้งสองอย่างนั้นมักจะเกิดขึ้นในยามที่เกิดความเฟื่องฟูของการลงทุนในกิจการธุรกิจ หรือความเฟื่องฟูของราคาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นรวมถึงที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

ในกรณีของเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็คือ ความเฟื่องฟูของธุรกิจสตาร์ทอัพ ดิจิทัล เหรียญต่าง ๆ เช่น บิตคอยน์ เป็นต้น ซึ่งก็มีแบงก์จำนวนหนึ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยการให้กู้หรือลงทุนจำนวนมากโดย SVB ก็ถือได้ว่าเป็นแบงก์ที่เน้นในกลุ่มสตาร์ทอัพโดยเฉพาะ ให้บริการที่หลากหลายรวมถึงการเป็นผู้รับฝากเงินของบริษัทเหล่านั้นด้วย

ส่วนเครดิตสวิสเองนั้น เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับเฮดจ์ฟันด์ Archegos Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่เล่นหุ้นแบบร้อนแรงใช้มาร์จินและอาจจะมีการใช้ข้อมูลภายในและปั่นหุ้นด้วย ซึ่งทำให้มีผลงานโดดเด่น มีชื่อเสียงและได้เงินจากนักลงทุนมหาศาล แต่สุดท้ายก็พัง กองทุนล่มสลายและเครดิตสวิสสูญเงินไปเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท

ในกรณีของไทยในช่วงก่อนปี 2540 ก็คือความเฟื่องฟูของอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นโรงงานเหล็กและการผลิตอื่น ๆในยามที่ไทยกำลังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่และจะเป็น “เสือ” แห่งเอเชีย และตลาดหุ้นที่กำลังคึกคัก

โดยมี “บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์” ซึ่งทำหน้าที่เหมือนแบงก์แต่มีขนาดเล็กกว่าและกล้าเสี่ยงมากกว่า เข้าไปให้บริการรวมถึงการร่วมลงทุนในความเฟื่องฟูนั้น ซึ่งก็เช่นเคยและเกิดขึ้นเสมอก็คือ ในที่สุด “ฟองสบู่” ก็ “แตก” บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีผลประกอบการขาดทุนอย่างหนัก บริษัทที่ร้อนแรงที่สุดและเป็น “ราชัน” ของวงการคือ “ฟินวัน” ล่มสลายก่อน หลังจากนั้นบริษัทอื่นก็ตามกันมาจนล่มสลายเกือบทั้งหมด

ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้แบงก์ล้มง่ายก็คือ ลักษณะธรรมชาติของกิจการที่มีหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินฝากนั้น มีปริมาณมากกว่าทุนของตนเองหลายเท่า บางทีเป็น 10 เท่า ดังนั้น ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจรุนแรงและกระทบกับแบงก์รุนแรง เช่น ดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นเร็วมาก และทำให้ส่วนต่างรายได้และต้นทุนเปลี่ยนเป็นติดลบ ก็อาจจะทำให้เกิดขาดทุน เช่น 10% ของทรัพย์สิน ก็จะทำให้เงินทุนที่มีเพียง 10% หายไปทั้งหมดได้

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ หนี้สินของธนาคารส่วนใหญ่จะเป็นระยะสั้นและมีเจ้าหนี้จำนวนมากบางทีเป็นล้าน ๆ คนที่ฝากเงิน ในขณะที่ทรัพย์สินที่ปล่อยกู้หรือลงทุนนั้นมักจะเป็นระยะยาวซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ถ้าวันไหนเจ้าหนี้ “ขาดความมั่นใจ” ว่ากิจการของบริษัทหรือธนาคารอาจจะเลวร้ายและล้มละลายในอนาคต  พวกเขาก็จะถอนเงินและไม่ต่ออายุหนี้จำนวนมากที่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งแบงก์ก็จะไม่มีเงินสดพอและก็ต้องล้มละลายทันที และนี่ก็คือ “แบงก์รัน”

ข้อสรุปของธุรกิจแบงก์ก็คือ แบงก์ที่ “ซ่า” หรือ “กล้ามาก” โตเร็วมากและอาจจะกำไรดี แต่ทุนอาจจะ “ไม่ค่อยพอ” อาจจะเพราะโตเร็วเกินไป มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจเปลี่ยน ทำให้ความเชื่อมั่นของคนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะคนฝากเงินหรือเจ้าหนี้หมดไป  ซึ่งจะทำให้พวกเขาเริ่มถอนเงินและก่อให้เกิดแบงก์รัน และสุดท้ายในเวลาอันสั้นมากเป็นแค่หลักไม่กี่วัน  แบงก์ก็ล้มถ้าไม่มีรัฐบาลหรือคนอื่นที่ใหญ่และแข็งแรงพอเข้ามาช่วย

ประสบการณ์ของผมในช่วงที่บริษัทเงินทุนล้มก็คือ บริษัทปล่อยกู้ให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากรวมถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่เช่นโรงงานเหล็ก  โดยที่บริษัทเงินทุนหลายบริษัทร่วมกันปล่อยกู้แบบซินดิเคทโลน แต่แล้วภาคธุรกิจเหล่านั้นก็เกิดปัญหา

ส่วนหนึ่งก็ตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่กำลังถดถอยลง การส่งออกลดลงและสุดท้ายประเทศต้องแก้ปัญหาลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งทำให้หนี้ของบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและไม่สามารถจ่ายคืนหนี้แบงก์ได้ กลายเป็นหนี้เสียซึ่งทำให้แบงก์มีปัญหา

ข่าวนี้ทำให้บริษัทเงินทุนถูกถอนเงินและไม่ต่ออายุเงินหนี้เงินกู้ บริษัทเงินทุนที่อ่อนแอและไม่มีแบงก์เป็นบริษัทแม่หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ “ล้ม”ก่อน บริษัทที่ผมอยู่เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นแบงก์ก็ยังพออยู่ได้แต่อาการ “แบงก์รัน” คือมีผู้ฝากเงินถอนเงินมากกว่าฝากวันละ 3-400 ล้านบาทเกือบทุกวัน

งานปล่อยกู้และให้บริการทางการเงินทุกอย่างหยุดหมด พนักงานเปลี่ยนมาทำเรื่อง “กู้บริษัท” โดยการ “ควบรวม” กับบริษัทที่มีปัญหาอื่น ๆ เพราะไม่มีบริษัทดีหรือใหญ่พอที่จะเข้ามาช่วยควบรวมหรือเพิ่มทุนให้ ว่าที่จริงบริษัทใหญ่ ๆ รวมถึงแบงก์ก็กำลังจะ “ตาย” แนวคิดเรื่องบริษัทที่อ่อนแอมารวมกันเพื่อให้เกิดความแข็งแรงนั้นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วเมื่อมองย้อนกลับไป แต่ในขณะนั้นเราไม่รู้และไม่เข้าใจ

สุดท้ายบริษัทก็ล่มสลาย ในขณะที่แบงก์ส่วนใหญ่ก็รอดเพราะรัฐบาลปล่อยให้ล้มไม่ได้ ประเทศเริ่มต้นใหม่และเจริญเติบโตต่อไปจนถึงวันนี้และไม่ได้มีวิกฤติแบบปี 2540 อีกเลย โดยเฉพาะในภาคของการเงินที่มีการจัดระบบและการบริหารที่เข้มงวด แบงก์มีการสะสมทุนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดจนสูงกว่ามาตรฐานมาก พร้อมกับการทำงานอย่างอนุรักษ์นิยม ซึ่งทำให้ผมเชื่อว่า วิกฤติการเงินจากต่างประเทศรอบนี้ จะไม่มีผลอะไรกับสถาบันการเงินของไทยอย่างแน่นอน

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร