แจ้งเตือน

มาทายกัน หมีทิงชวนออมเงินให้โต ด้วยเทคนิคอะไร ?

FINNOMENA

ตามติดชีวิตหมีทิง ว่าเงินเดือนออกแต่ละครั้ง หมีทิงจะบริหารเงินให้โตได้ด้วยเทคนิคอะไร พร้อมบอกเคล็ดลับการลงทุนแบบเงินต่อเงินในระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ ไปดูกันเลย

หลังจากหมีทิงได้เงินเดือนของเดือนนี้มาแล้ว ให้คิดว่าเป็นเงินก้อน 100% ก่อน แล้วหมีทิงจะแยกเงินออกเป็น 6 ส่วน แบบ “ไม่เท่ากัน” เพื่อเป้าหมายที่ต่างกัน

ทำไมถึงต้องแยก ?
เพราะว่า ถ้าเราไม่แบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายให้ชัดเจน และรวมทุกอย่างเป็นก้อนเดียวกันหมด ดูไม่มีระบบ ทำให้เก็บเงินไม่อยู่ก็เป็นได้ 

6 JARS System

เงินส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 55%

เป็นเงินที่แบ่งออกมาในสัดส่วนที่เยอะที่สุด เพราะต้องใช้ชีวิต แล้วการใช้ชีวิตต้องใช้เงิน และเงินส่วนนี้ไม่ก่อให้รายได้เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรอย่างดี ซึ่งจะใช้ไปกับค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ น้ำมันรถ ค่าโทรศัพท์ และอื่น ๆ

เงินส่วนที่ 2 ออมเพื่อใช้ในอนาคต 10%

ใช้แล้วก็ต้องมีเก็บกันบ้าง เพื่อเป็นเงินออมเอาไปใช้ในอนาคต เช่น เก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ เก็บเพื่อไปเรียนต่อ วางแผนแต่งงาน หรือเก็บไว้เป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน

6 JARS System

เงินส่วนที่ 3 ให้รางวัลตัวเอง 10%

ทำงานมาเหนื่อย ๆ ก็ต้องให้รางวัลกับตัวเองสักหน่อย อย่างเช่น ไปท่องเที่ยว ช้อปปิง ซื้อของที่อยากได้ ไปดูหนัง เติมเกม เข้าร้านอาหารอร่อย ๆ ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องคุมค่าใช้จ่ายให้ไม่เกิน เพราะส่วนอื่น ๆ อาจโดนผลกระทบได้ 

เงินส่วนที่ 4 ลงทุนต่อยอดเพื่อวัยเกษียณ 10%

แบ่งเงินออกมาไปลงทุนในกองทุน หุ้น หรือในสินทรัพย์ ที่สามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้ แต่ก็อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ควรเลือกความเสี่ยงที่พอรับได้ ตามแต่ละเป้าหมาย

6 JARS System

เงินส่วนที่ 5 พัฒนาตัวเอง 10%

เงินที่เอาไปใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดตัวเองให้เก่งขึ้น เพื่อรับโอกาสดี ๆ ที่อาจมีมากขึ้น เช่น การได้เงินเดือนเพิ่ม ซึ่งเป็นช่องทางที่จะสามารถเพิ่มเงินเข้าไปใน 5 ส่วนที่เหลือได้

เงินส่วนที่ 6 แบ่งปันให้ผู้อื่น 5%

ช่วยเหลือสังคมให้น่าอยู่ขึ้น เช่น บริจาคเงินให้กับผู้ด้อยโอกาส หรือมูลนิธิต่าง ๆ  รวมถึงสัตว์ด้วย เช่น น้องหมา น้องแมว เรียกได้ว่าเป็นความสุขทางจิตใจ หรือถ้าคิดว่าส่วนนี้ไม่จำเป็น ก็เอาไปโปะในส่วนอื่น ๆ

เฉลย หมีทิงออมเงินให้โตด้วยเทคนิค  6 JARS System

เป็นวิธีการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่สร้างขึ้นโดย T. Harv Eker ผู้เขียนหนังสือ “Secrets of the Millionaire Mind” ถอดรหัสลับ สมองเงินล้าน และอย่างที่รู้กันระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถจัดสรรรายได้ของตัวเองไปในหลาย ๆ โหล เพื่อจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ สรุปแล้ว ถ้าอยากวางแผนเก็บเงินอย่างเป็นระบบง่าย ๆ ก็ต้องใช้เทคนิค 6 Jars 

ส่วนเรื่องการลงทุนหมีทิงเลือก  Goals Navigator

Goals Navigator

เพราะเป็นนวัตกรรมระดับโลกที่ช่วยออกแบบทุกความสำเร็จในทุกช่วงชีวิต ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคนได้

Goals Navigator คืออะไร ?

นวัตกรรมระดับโลกที่ช่วยออกแบบทุกความสำเร็จในทุกช่วงชีวิต ช่วยวางแผนการลงทุนในทุกช่วงเวลา รองรับทุกสถานการณ์ โดยทาง FINNOMENA และ FRANKLIN TEMPLETON ได้ร่วมมือกันและพัฒนาแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลา มีการคำนวณแผนการลงทุนที่ดีที่สุดและคำนวณปรับเปลี่ยนโมเดลพอร์ตให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะตลาด เพื่อให้นักลงทุนถึงเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจไว้

ทำไมหมีทิงถึงเลือก Goals Navigator เพราะว่า ?

1. Multi-Goal, Multi-Priority ลงทุนแยกตามเป้าหมาย และจัดสรรเงินลงทุนตามความสำคัญ

เนื่องจากในชีวิตของคนเราคงไม่ได้มีแค่เป้าหมายเดียว ไม่ว่าจะเป็น การเก็บเงินเกษียณ เก็บเงินศึกษาให้ลูก เก็บเงินซื้อบ้าน เก็บเงินซื้อรถ หรือเก็บเงินเพื่อเที่ยว โดย Goals Navigator จะแบ่งประเภทของเป้าหมายออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ Need, Want, Wish และ Dream และจัดสรรเงินลงทุนตามลำดับความสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ครบจบในที่เดียว พร้อมทั้งคาดการณ์ผลตอบแทนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

2. Success-Driven Investment มุ่งเน้นความสำเร็จในการลงทุน มากกว่าผลตอบแทนเฉลี่ย

การให้ความสำคัญในการลงทุนที่มีโอกาสสูงสุดในการบรรลุเป้าหมาย มากกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ผันผวนตามสภาวะตลาด ระบบคำนวณและแนะนำการจัดสรรเงินลงทุน ระยะเวลาลงทุน และแผนการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จ ด้วยมุมมองการลงทุนระดับโลก

3. Lifetime Planning Tool ดูแลวางแผนการลงทุนในทุกช่วงเวลา รองรับทุกสถานการณ์

Goals Navigator จะช่วยตรวจสอบแต่ละเป้าหมายว่าเข้าใกล้ถึงความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนเพื่อให้รองรับกับสถานการณ์ทางการเงิน ไลฟสไตล์ และเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

Goals Navigator นวัตกรรมวางแผนลงทุนระดับโลกด้วยความร่วมมือกับ FRANKLIN TEMPLETON ออกแบบทุกความสำเร็จ เพื่อทุกเป้าหมายในชีวิตสำหรับคุณ

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://finno.me/gnavi-web


คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

 

 

 

หุ้น 8 ตัวนี้ ใหญ่กว่าตลาดหลักทรัพย์ไทย รวมกันทั้งตลาด

fruhling

บนพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ณ ตำแหน่งแห่งหนที่แม่น้ำฮัดสันไหลมาบรรจบกับมหาสมุทรแอตแลนติก คือที่ตั้งของมหานครที่ได้ชื่อว่าไม่มีวันหลับใหล จากความคึกคักยามพลบค่ำของ “จตุรัสไทม์สแควร์” ข้ามวันสู่ชีวิตชีวายามเช้าตรู่ของ “เซ็นทรัลพาร์ค” ที่โอบล้อมด้วยตึกสูงตระการตา ไปจนถึงพลังงานอันล้นเหลือจากช่วงสายจรดเย็นของผู้คนใน “มิดทาวน์” ศูนย์กลางธุรกิจอันเป็นที่ตั้งของตึกระฟ้าเอ็มไพร์สเตท

มหานครนิวยอร์กแห่งนี้ ยังเป็นเมืองที่มีพลังเปี่ยมล้นเพราะบนพื้นที่เทียบเท่า 1 ใน 8 ของมหานครเซี่ยงไฮ้ กลับเป็นที่ตั้งของตลาดทุนที่สำคัญทั้ง ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และ NASDAQ ซึ่งบริษัทเจ้าของนวัตกรรมพลิกโลกมากมายที่มีมูลค่ารวมกันแทบประเมินไม่ได้ ต่างก็จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เหล่านี้ทั้งสิ้น

ถามว่าตลาดหลักทรัพย์เหล่านี้ใหญ่แค่ไหน ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ต้องบอกว่าในตลาดนี้มีหุ้นอยู่ถึง 8 ตัวที่ลำพังแค่บริษัทเดียว ก็มีขนาดใหญ่กว่าตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยทั้งตลาด

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ประกอบด้วย 616 บริษัท โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) รวมกันสูงถึง 18.83 ล้านล้านบาทเข้าไปแล้ว อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

ทว่า บริษัททั้ง 8 ที่เรากำลังจะพูดถึงมีขนาดใหญ่กว่านั้น

มัดรวมทั้งตลาดไทย ก็ไม่เท่าหุ้นเหล่านี้ตัวเดียว

1. Apple (ใหญ่เป็น 5 เท่าของ SET)

Apple มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 93.28 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยมีธุรกิจที่เรารู้จักกันดีคือ iPhone ซึ่งหลายคนกำลังใช้อ่านคอนเทนต์นี้ โดยธุรกิจนี้ธุรกิจเดียวเป็นแหล่งรายได้มากกว่า 50% ให้กับบริษัท

แต่ Apple ยังมีรายได้จากธุรกิจอื่น เช่น MacBook, iPad และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ซึ่งถูกจัดเป็นแหล่งรายได้จากคนละธุรกิจกัน แต่ธุรกิจที่ทำรายได้มากเป็นอันดับ 2 ให้กับ Apple ก็คือ การบริการ เช่น โฆษณา, บริการคลาวด์, App Store, AppleCare, Apple Pay และดิจิทัลคอนเทนต์ เป็นต้น

2. Microsoft (ใหญ่เป็น 4 เท่าของ SET)

Microsoft มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 81.04 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกอันดับ 2 ธุรกิจที่เราคุ้นเคยคือระบบปฏิบัติ Microsoft Windows ไปจนถึงซอฟต์แวร์ Microsoft Office 

แต่หากเจาะลึกมากขึ้น Microsoft ยังมีธุรกิจสาย Productivity & Business เช่น Office 365 และ Microsoft Teams สาย Cloud อย่าง Microsoft Azure และสาย More Personal Computing ซึ่งเกี่ยวกับลูกค้าทั่วไปมากขึ้น ทั้งฮาร์ดแวร์อย่างแล็ปท็อป Microsoft Surface และเครื่องเล่น Xbox ไปจนถึงเครื่องมือค้นหา Microsoft Bing, เบราว์เซอร์ Microsoft Edge และเกมในเครือ Xbox

3. Alphabet เจ้าของ Google (ใหญ่เป็น 3 เท่าของ SET)

Alphabet มีมูลค่าตลาด 53.94 ล้านล้านบาท ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกอันดับ 4 ธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันดีคือ Google บริการค้นหาข้อมูลที่เรามักจะเห็นเป็นหน้าแรกเวลาเข้าอินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม Google ยังมีธุรกิจอื่นนอกจาก Search Engine เช่น โฆษณา, ระบบปฏิบัติการ Android, เบราว์เซอร์ Google Chrome, Google Maps, Youtube, ธุรกิจคลาวด์ ไปจนถึงฮาร์ดแวร์อย่างโทรศัพท์ในตระกูล Google Pixel 

นอกจากนี้ Google ยังมีหมวดธุรกิจที่เรียกเท่ ๆ ว่า Other Bets หรือการลงทุนเพื่อเดิมพันเพื่อยุคสมัยใหม่ เช่น Waymo เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ, Calico ธุรกิจสาย Biotech ไปจนถึง Google Ventures ธุรกิจเงินร่วมทุน หรือ Venture Capital

4. Amazon (ใหญ่เป็น 2 เท่าของ SET)

Amazon มูลค่าตลาด 38.76 ล้านล้านบาท ธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันดีคือแพลตฟอร์ม Amazon.com และเครื่องอ่านอีบุ๊ค Kindle แต่ก็ยังมีธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจคลังสินค้า, ธุรกิจขนส่ง, ธุรกิจค้าปลีกทั้งออฟไลน์ (ผ่านหน้าร้านของตัวเอง) และออนไลน์, สตรีมมิง Amazon Prime ไปจนถึง Amazon Web Service (AWS)

5. NVIDIA (ใหญ่เป็น 1.4 เท่าของ SET)

NVIDIA มีมูลค่าตลาด 26.21 ล้านล้านบาท เป็นผู้ผลิต GPU โดยมีธุรกิจหลักคือการ์ดจอสำหรับลูกค้าสายเกมที่สร้างรายได้ให้บริษัทได้เกือบ 50% อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีช่องรายได้อื่น เช่น การขายชิป GPU ให้ Data Center ลูกค้ากลุ่มนักออกแบบกราฟิก ลูกค้ากลุ่มยานยนต์ และการรับทำชิป OEM ให้ระบบอื่น ๆ

6. Berkshire Hathaway (ใหญ่เป็น 1.3 เท่าของ SET)

Berkshire Hathaway มีมูลค่าตลาด 24.44 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนผ่านการถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ หลายประเภทของปรมาจารย์ด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ โดยล่าสุดได้ถือหุ้นของ Apple เอาไว้ถึง 46.4% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด ตามมาด้วย Bank of America 9.1%, American Express 7.7% และ Coca-Cola 7.6%

7. Meta (ใหญ่เป็น 1.2 เท่าของ SET)

Meta มีมูลค่าตลาด 21.87 ล้านล้านบาท ธุรกิจหลักของ Meta Platform คือ Facebook ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณา แต่ที่จริงแล้ว Meta แบ่งธุรกิจของตัวเองออกเป็น 2 ส่วน คือ Family of Apps และ Reality Labs โดยฝั่ง Family of Apps หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะประกอบด้วย Facebook, Instagram, Messenger, WhatsApp และอื่น ๆ โดยธุรกิจในฝั่งนี้จะเป็นรายได้หลัก ๆ ของ Meta ในขณะที่ Reality Labs จะเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ลงทุนใน VR และ AR ทั้งในด้านแพลตฟอร์ม (Horizon Worlds) ฮาร์ดแวร์ และคอนเทนต์

8. Tesla (ใหญ่เป็น 1.1 เท่าของ SET)

Tesla มีมูลค่าตลาด 20.36 ล้านล้านบาท เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าล้วนเบอร์ 1 ของโลกในปัจจุบัน ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 บริษัทยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้การนำของ Elon Musk สามารถส่งมอบรถได้กว่า 422,875 คัน แบ่งเป็นรุ่นราคาย่อมเยา คือ Model 3 และ Model Y รวมกัน 412,180 คัน (เติบโต 39% จากปีก่อน) และรุ่นราคาสูงขึ้นมา คือ 10,695 คัน (ลดลง 27% จากปีก่อน)

มีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่ใหญ่กว่าตลาดหุ้นไทยแต่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั่นก็คือ Saudi Aramco บริษัทน้ำมันที่รัฐบาลซาอุดีอาราเบียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลกด้วยมูลค่าตลาดกว่า 2 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ยังมี TSMC เบอร์หนึ่งในตลาดเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน ที่มีมูลค่าเกือบเท่า SET ทั้งตลาด

สรุปทุกอย่างในภาพเดียว

โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

บ่อยครั้งที่บริษัทขนาดยักษ์มาพร้อมกับ “แบรนด์” ที่ยากจะทำลายลง ถามว่าทำไมแฟน ๆ Apple ถึงต้องเบียดคิวกันซื้อ iPhone ทุกครั้งที่ออกรุ่นใหม่ในราคาเปิดตัวที่สูงขึ้น ถามว่าทำไม Tesla ถึงเป็นชื่อแรกที่คนนึกถึง (และอยากครอบครอง) เมื่อนึกถึงรถยนต์ไฟฟ้า คำตอบของเรื่องนี้อยู่ที่คำว่าแบรนด์ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ในเวลาชั่วพริบตา แต่เป็นสิ่งที่สั่งสมมานับแต่การก่อร่างสร้างตัว ที่สำคัญคือแบรนด์เปรียบได้กับปราการอันยิ่งใหญ่ที่ป้องกันไม่ให้คู่แข่งย่องเข้ามาในปราสาทและหยิบฉวยส่วนแบ่งการตลาดออกไปได้ง่าย ๆ ถ้าถามว่าลงทุนในบริษัทใหญ่มีความได้เปรียบยังไง คำตอบน่าจะเป็นเรื่องนี้

สำหรับใครที่สนใจลงทุนไปกับสุดยอดบริษัทยักษ์ใหญ่ที่โอบล้อมไปด้วยปราการสุดแกร่ง สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน MEGA10-A* กองทุนรวมที่ลงทุนในสุดยอดหุ้นอเมริกาที่จดทะเบียนซื้อขายใน NYSE / NASDAQ  โดยจะคัดเลือกหุ้นที่มีแบรนด์แข็งแกร่งและมี market cap หรือความใหญ่ของหุ้นเป็นอันดับต้น ๆ และที่มีสภาพคล่องสูงสุด10 บริษัทแรก

*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน MEGA10-A มิได้ลงทุนใน 10 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดใน NYSE / NASDAQ จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

MEGA10 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นของ 10 บริษัทแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท
👉 ลงทุนในกองทุน MEGA10 คลิก >>> https://finno.me/mega10-fund

อ้างอิง

https://www.tradingview.com/markets/stocks-usa/market-movers-large-cap/
https://s2.q4cdn.com/470004039/files/doc_financials/2022/q4/_10-K-2022-(As-Filed).pdf
https://abc.xyz/investor/other/additional-financial-information/
https://www.annualreports.com/HostedData/AnnualReports/PDF/NASDAQ_AMZN_2022.pdf
https://d18rn0p25nwr6d.cloudfront.net/CIK-0001326801/5fb5d0ea-c2c7-46f0-a26a-656df1673fac.pdf
https://cleantechnica.com/2023/04/10/teslas-q1-2023-delivery-numbers-are-not-great-under-the-surface/
https://www.nvidia.com/en-us/location-selector/
https://www.investing.com/pro/ideas/warren-buffett

หมายเหตุ: อ้างอิงมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดและอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 เหรียญสหรัฐฯ = 34.574 บาท ณ วันที่ 24 พษภาคม 2566


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (3 – 9 มิ.ย. 66)

premiums
สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (3 - 9 มิ.ย. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 3 – 9 มิ.ย. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (3 – 9 มิ.ย. 66)

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์

1. T-CASH – กองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.90%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.55%

ซื้อกองทุน T-CASH คลิก

2. TISCOSTF – กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรระยะสั้น

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.84%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.25%

ซื้อกองทุน TISCOSTF ลิ

3. KKP MP – กองทุนเปิดเคเคพี มันนี่ โพสิทีฟ

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.75%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.40%

ซื้อกองทุน KKP MP คลิก

4. T-MONEY – กองทุนเปิดธนชาตตลาดเงิน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.72%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.41%

ซื้อกองทุน T-MONEY คลิก

5. BCAP-MONEY – กองทุนเปิดบีแคป มันนี่ มาร์เก็ต 

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.67%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.35%

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: T-CASH, TISCOSTF, KKP MP, T-MONEY, BCAP-MONEY

หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 8 มิ.ย. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมตลาดเงิน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

How to วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชนะ “เงินเฟ้อ”

planet 46
How to วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชนะ “เงินเฟ้อ”

หลายคนวางแผนเกษียณไว้อย่างดี ทำตามแผนเกษียณของตัวเองอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงเวลาเกษียณจริง ๆ กลับไม่พอใช้ เพราะตอนวางแผนเก็บเงินลืมคิดถึง “เงินเฟ้อ” ไปเสียได้

วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูกันว่าทำไมแผนเกษียณของหลาย ๆ คนอาจไม่ประสบความสำเร็จเพราะเงินเฟ้อ พร้อมนำเคล็ดไม่ลับที่จะช่วยให้แผนเกษียณของเราพิชิตเงินเฟ้อได้มาฝากกัน 

อ่านเพิ่มเติม 6 เหตุผล ที่ทำให้แผนเกษียณล้มเหลว!

เปิดสถิติ “เงินเฟ้อไทย” รายไตรมาส

How to วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชนะ “เงินเฟ้อ”

จากภาพข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยด้านบนจะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2565 อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงจากปี 2564 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าในไตรมาส 1 ปี 2566 อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลดลงมาบ้างแล้วแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่วางใจไม่ได้

ภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลให้ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าของเงินลดลง จึงทำให้เราต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการนั่นเอง ดังนั้นเงินที่เตรียมไว้สำหรับเกษียณ ถึงเวลาจริง ๆ อาจไม่พอใช้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในการวางแผนเกษียณเราควรนำอัตราเงินเฟ้อมาคิดรวมด้วย

อ่านเพิ่มเติม ไขข้อสงสัย… “เงินเฟ้อ” คืออะไร? “ภาวะเงินเฟ้อลดลง” แตกต่างกับ “เงินฝืด” อย่างไร?

วิธีคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องการมี ณ วันเกษียณ ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ

How to วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชนะ “เงินเฟ้อ”

ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินที่ต้องการมี ณ วันเกษียณ = 8,400,000 บาท
อายุที่จะเกษียณ = 60 ปี
อายุปัจจุบัน = 30 ปี
อัตราเงินเฟ้อ = เพิ่มขึ้น 3% ต่อปี

ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องการมี ณ วันเกษียณ ที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วจะเท่ากับ 20,389,004.76 บาท

อ่านเพิ่มเติม ​​​​อยากเกษียณแบบสุขใจ ควรเตรียมเงินไว้เท่าไรดี?

เงินเฟ้อส่งผลต่อการวางแผนเกษียณอย่างไร?

How to วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชนะ “เงินเฟ้อ”

จากภาพด้านบนเป็นตารางแสดงตัวอย่างการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนเงินที่ต้องการมี ณ วันเกษียณ ที่ยังไม่ได้ปรับเงินเฟ้อ กับ จำนวนเงินที่ต้องการมี ณ วันเกษียณ ที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้ว โดยตั้งสมมติฐานว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี และมีระยะเวลาลงทุนก่อนเกษียณเหลืออีก 30 ปึ 

จะเห็นได้ว่าหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นปีละ 3% เราต้องเก็บเงินเกษียณเพิ่มขึ้นถึง 142.726% เลยทีเดียว!! เช่น จากเดิมเรามีเป้าหมายเก็บเงินเกษียณอยู่ที่ 10,000,000 บาท แต่หากคำนวณเงินเฟ้อเข้าไปด้วยแล้ว เราต้องเก็บเงินให้ได้ 24,272,624.70 บาท หรือเพิ่มขึ้นอีก 14,272,624.70 บาท …แค่เห็นตัวเลขก็ท้อใจ เพราะเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าหนึ่งแหน่ะ

แต่ช้าก่อน! อย่าเพิ่งถอดใจจากแผนเกษียณของตัวเองไป เพราะวันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ซึ่งจะช่วยให้คุณพิชิตเงินเฟ้อวางแผนเกษียณได้สำเร็จตามตั้งใจ

วางแผนเกษียณพิชิตเงินเฟ้อด้วย Goals Navigator

How to วางแผนเกษียณอย่างไรให้ชนะ “เงินเฟ้อ”

เน้นความสำเร็จมากกว่าผลตอบแทนเฉลี่ย

ในเรื่องการลงทุน หลายครั้งที่เรามักคิดถึงแต่ผลตอบแทนเป็นหลักจนลืมนึกถึงผลสำเร็จไป จนทำให้เป้าหมายการลงทุนอาจไม่สำเร็จดั่งใจหวัง ดังนั้น Goals Navigator จะมาช่วยคุณจัดสรรเงินลงทุนตามความสำคัญของเป้าหมาย ด้วยการลงทุนในแผนที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงเวลา

คำนวณเงินเฟ้อในทุกแผนการลงทุน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าในการวางแผนเกษียณ เราอาจลืมนำศัตรูที่ทำให้แผนเกษียณของเราไม่ประสบความสำเร็จอย่าง “เงินเฟ้อ” มาคำนวณด้วย แต่ปัญหานั้นสามารถแก้ได้ด้วย Goals Navigator เพราะในทุกเป้าหมายการลงทุน Goals Navigator จะนำเงินเฟ้อมาคำนวณด้วย พร้อมปรับความเสี่ยงตามเป้าหมาย ด้วยแผนการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดในทุกสถานการณ์ เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จให้ทุกเป้าหมายชีวิตง่ายกว่าเดิม

ก้าวสู่เป้าหมายอย่างมั่นใจ ดูแลโดยผู้แนะนำการลงทุนส่วนตัว

ไม่ว่าเป้าหมายชีวิตของคุณจะเป็นอย่างไร เราก็พร้อมเข้าใจคุณด้วยผู้แนะนำการลงทุนส่วนตัวมืออาชีพที่จะเข้ามาช่วยดูแลคุณอย่างใกล้ชิด จนกว่าคุณจะประสบความสำเร็จทุกเป้าหมาย

อ่านเพิ่มเติม Goals Navigator คืออะไร? นวัตกรรมวางแผนการลงทุนระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต

ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มวางแผนเกษียณอย่างไร หรืออยากมีตัวช่วยทำให้การวางแผนเกษียณเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ลองให้ “FINNOMENA Goals Navigator™” ช่วยคุณกับนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทาง FINNOMENA และ Franklin Templeton ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/gnavi-web 

— planet 46.

อ้างอิง

https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=12567


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ย้อนรอยวิกฤติประเทศล้มละลาย I POCKET MONEY EP71

FINNOMENA CHANNEL
ย้อนรอยวิกฤติประเทศล้มละลาย I POCKET MONEY EP71

รับชมบน YouTube: https://youtu.be/4svP15MUy3w

ลำพังตัวเราเสี่ยงเจอสภาวะล้มละลายยังว่าน่ากลัวแล้ว แต่หากประเทศเสี่ยงเจอสภาวะล้มละลายคงน่ากลัวยิ่งกว่า และท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ก็มีหลายประเทศที่ออกมายอมรับว่าสุ่มเสี่ยงล้มละลายแล้วจริง ๆ ที่มาของปัญหาเกิดจากอะไร ติดตามในคลิปนี้

กรณีศึกษา: ศรีลังกา

  • สถานการณ์หนึ่งที่ทำให้เกิดกระแสตื่นตัวเกี่ยวกับกรณีประเทศล้มละลายคงหนีไม่พ้นการที่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศศรีลังกาออกมายอมรับว่าประเทศศรีลังกานั้นล้มละลายแล้วโดยสิ้นเชิง
  • ซึ่งถึงแม้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 จะเป็นองค์ประกอบหนึ่ง แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้นหยั่งรากลึกมานานกว่าทศวรรษจากการผูกขาดอำนาจทางการเมืองโดยตระกูล The Rajapaksa รวมถึงการก่อการร้ายในประเทศยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง
  • กระทั่งส่อสัญญาณความอ่อนแอทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2019 ศรีลังกาถูกปรับลดอันดับเครดิตของประเทศ กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศได้น้อยลง ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศก็น้อยลงเช่นกัน
  • ตามมาด้วยการอ่อนค่าเกือบ 80% ของสกุลเงิน Sri Lankan rupee ที่ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง น้ำมัน อาหาร และยารักษาโรคยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
  • กลายเป็นสถานการณ์ที่ยากเกินเยียวยาจนจำเป็นต้องขอระงับการจ่ายหนี้ต่างประเทศในปี 2022 ส่งผลให้ตกอยู่ในสถานะต้องทยอยชดใช้หนี้ถึง 5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปีจนถึงปี 2026 

กรณีศึกษา: เวเนซุเอลา และประเทศอื่น ๆ

  • ไม่แตกต่างกันกับประเทศที่อดีตเคยรวยอย่างเวเนซุเอลา ประเทศซึ่งครองบ่อน้ำมันสำรองในสัดส่วนสูงถึง 18% ของโลก แต่ต่อมาเมื่อราคาน้ำมันร่วงลงอย่างหนัก ประกอบกับปัญหาในการบริหารจัดการประเทศอย่างการคอรัปชั่นก็ทำให้เศรษฐกิจของประเทศถูกสั่นคลอน
  • อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปีในเวเนซุเอลาย้อนหลัง 40 ปีเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 3,000% ต่อปี ประชากรอพยพย้ายประเทศมากกว่า 6 ล้านคน
  • แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่น่ากลัวเท่าข้อเท็จจริงที่ว่ายังมีอีกมากกว่า 10 ประเทศทั่วโลกที่ขณะนี้กำลังเผชิญสภาวะสุ่มเสี่ยงจะล้มละลาย เช่น  เลบานอน Suriname, Argentina ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ระหว่างประเทศ และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงเช่นกัน 

3 สถานการณ์ ที่เป็นสัญญาณเตือนก่อนที่ประเทศหนึ่งจะล้มละลาย

  • อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์จนส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถออกนโยบายใด ๆ ที่เพียงพอจะควบคุมสถานการณ์ได้ ยิ่งหากกระแทกซ้ำกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เกิดขึ้นพร้อมกัน กลายเป็นสภาวะ Stagflation ก็ยิ่งทำให้ภาครัฐออกมาตรการแก้ไขปัญหาได้ยากขึ้น และต้องอาศัยเวลาที่นานขึ้นกว่าจะกอบกู้สถานการณ์ได้ เพราะความพยายามจะลดเงินเฟ้อลง อาจส่งผลให้ปัญหาหนี้สินหรืออัตราการว่างงานยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นได้ 
  • ประเทศประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยทั่วไปภาครัฐจะถูกมองว่าเป็นลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในประเทศ แต่หากภาครัฐกลายเป็นอยู่ในสถานะเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวเสียเอง ก็จะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนตามมา ประเทศจะมีความน่าเชื่อถือลดลง และเศรษฐกิจก็จะยิ่งชะลอตัวหนักขึ้น 
  • สกุลเงินหลักของประเทศถูกลดทอนความเชื่อมั่นลง ทั้งระดับในประเทศและระหว่างประเทศ นักลงทุนต่างชาติจะทยอยถอนเงินลงทุนออกเนื่องจากการถือครองสินทรัพย์ลงทุนในสกุลเงินนั้นมีแต่จะทำให้ขาดทุนมากขึ้น และเมื่อสกุลเงินยิ่งอ่อนค่าก็ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศยิ่งเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นสภาวะที่ยิ่งกลืนไม่เข้าคายไม่ออกมากขึ้นเรื่อย ๆ

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

อัปเดตพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมิถุนายน​ 2023: ตลาดหุ้นยังน่าสนใจ ให้น้ำหนักหุ้นยุโรป-ญี่ปุ่น มากกว่าตลาด

Andrew Stotz
Andrew Port

อัปเดตพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมิถุนายน 2023

ตลาดหุ้นยังน่าสนใจ ให้น้ำหนักหุ้นยุโรป-ญี่ปุ่น มากกว่าตลาด กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

Andrew Stotz

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ต Quantum Global Opportunity ประจำเดือนมิถุนายน 2023: เพิ่มสินทรัพย์เสี่ยง เข้าลงทุนในแร่หายาก

Quantum Wealth
ปรับพอร์ต Quantum Global Opportunity

ปรับพอร์ต QGO

source: Fed Watch tool as of 2/06/2023

หลังจากการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐผ่านพ้นไป และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดี ตลาดก็คลายความกังวลและสินทรัพย์เสี่ยงตอบรับเชิงบวกกันถ้วนหน้า รวมถึงหุ้นเอเชียโดยรวม ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดคงดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนไว้ และรอดูข้อมูลเป็นตัวบอกถึง action ที่จะทำต่อไปในอนาคต จะเห็นได้ว่าในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา Fed Watch tool เหวี่ยงขึ้นลงและพอจบเรื่องเพดานหนี้ เราก็พอคาดการณ์ในระยะสั้นว่า ดอกเบี้ยรอบหน้ามีแนวโน้มจะอยู่ที่ระดับ 5.00-5.25% ต่อเดือน ไม่เปลี่ยนแปลง

ปัจจัยที่จะยังคงอยู่ระยาวคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่สูง ความเสี่ยงภาคธนาคารต่าง ๆ ซึ่งทำให้เงินเฟ้อยังไม่ลงง่าย ๆ และจะอยู่นานกว่าที่คาด ภาวะเครดิตที่ตึงตัว (Credit Crunch) ทำให้ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มเติบโตไม่มาก แต่ราคาสินค้าและบริการจะยังคงตัวในระดับสูงกดดันอำนาจซื้อโดยทั่วไป แม้ว่าการ pause ในระยะสั้นจะเป็นบวกต่อตราสารหนี้ แต่อนาคตก็ยังมีโอกาสขึ้นได้ต่อ ส่วนเรื่องการลดดอกเบี้ยยังคงต้องรอไปอีก 1 ไตรมาสเป็นอย่างน้อย เนื่องจาก Fed อ้างถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง การจ้างงานที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ 

เรามีมุมมอง Slightly Negative ต่อ UGIS-N และเห็นโอกาสในการเพิ่มน้ำหนักสินทรัพย์อื่นมากกว่า จึงปรับลด UGIS-N ลง 5%

ตลาดหุ้นจีนยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง มูลค่าปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี และรัฐบาลจะมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ จึงพอคาดหวังการฟื้นตัวได้จากราคาที่ discount ไปมาก 

เราเพิ่มน้ำหนักในหุ้นจีนจาก 15% เป็น 20% โดยเป็นการย้ายจากกองทุน TMBCOF และ SCBGEARA บางส่วนไปยัง K-CHX ซึ่งทำผลงานได้ดีกว่ากอง Active Fund และเป็นหุ้นใหญ่ 50 ตัวแรกในตลาด A-Shares

ตลาดหุ้นไทย fund flow ไหลออกสะสมกว่า 2 สัปดาห์และยังวิ่งอยู่ในกรอบ ระยะสั้นกลุ่มพลังงานได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวและกลุ่มธนาคารได้รับผลบวกจาก NIM และ Credit Cost ที่ดีขึ้นหากมีการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งยังคงกดดันภาพใหญ่ และต้องรอเม็ดเงินลงทุนระยะยาว เชื่อว่าในระยะ 1-2 เดือนนี้อาจจะยัง sideway อยู่ ด้วยสัดส่วนเดิมที่ 10% เราจะย้ายจากกองทุน TSF-A ไปยัง TRAREEARTH

กองทุน TISCO Rare Earth & Strategic Metal (TRAREEARTH) ลงทุนในแร่หายากและลิเธียม ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ แผงวงจร แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า และอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ และการที่ Elon Musk ไปเยือนจีนเพื่อเจรจาเรื่องโรงงานและการผลิต ในระยะข้างหน้าความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าเมื่อ EV เป็นที่นิยมและในหลายชิ้นส่วนการผลิตจะมีความต้องการแร่หายากที่เพิ่มขึ้นในวงกว้าง ประกอบกับราคาฟื้นตัวจากจุด Low มาประมาณ 10% จึงเป็นโอกาสเข้าลงทุนได้

ปรับพอร์ต QGO

source: Bloomberg as of 4/05/2023

AI ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียลรวมทั้งเกิดความร่วมมือแขนงต่าง ๆ และธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์ AI ได้อย่างเต็มที่จะยังคงเติบโตในฝั่งรายได้อย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่ฝั่งรายจ่ายหลายบริษัทก็ได้มีการปลดพนักงานไปล่วงหน้าแล้ว อย่างไรก็ตามความท้าทายในอนาคตยังคงมี เนื่องจากยังเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องพัฒนากันต่อไป รวมทั้งวางรากฐานการใช้งานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เรายังคง MEGA10-A และ ASP-NGF ไว้ซึ่งมีเงินไหลเข้าต่อเนื่อง และเข้าเพิ่มอีก 5% ใน ASP-DIGIBLOC

QGO Portfolio เราเพิ่มสินทรัพย์เสี่ยงจากเดิม 55% เป็น 65% และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป โดยมีสัดส่วนการลงทุนใหม่ตามคำแนะนำด้านล่างนี้

Rebalancing as of 6 June 2023

Fund Code old new
UGIS-N 20% 15%
TMBCOF 15% 0%
SCBGEARA 15% 10%
ASP-NGF 10% 10%
MEGA10-A 10% 10%
TSF-A 10% 0%
ASP-DIGIBLOC 10% 15%
SCBGOLDH 10% 10%
TRAREEARTH 0 10%
K-CHX 0 20%
Total 100% 100%

ศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.finnomena.com  

ปั้นพอร์ตเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมเฟ้นหาโอกาสในทุกช่วงเวลา Quantum Global Opportunity

👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/quantum-wealth-ws

บทความโดย Quantum Wealth สำหรับพอร์ต Quantum Global Opportunity (QGO) ที่ FINNOMENA เท่านั้น 

ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เวลาของการลงทุน เริ่มวันนี้ดีที่สุด !

FINNOMENA
พลังดอกเบี้ยทบต้น

คำถามยอดฮิตที่ว่า… จะลงทุนอะไรดี? เริ่มเมื่อไหร่? จังหวะไหนดีที่สุด? คือสิ่งที่วนเวียนอยู่ในหัวของหลายคน จนไม่ได้เริ่มลงทุนกันสักที

ทั้งที่ความจริงแล้ว เวลาคือสิ่งมีค่ามากสำหรับการลงทุน เพราะทุกวัน ทุกเดือน ทุกปีที่ผ่านไป หากเราปล่อยเงินไว้เฉย ๆ เงินก้อนนั้นก็จะยังอยู่ที่เดิม ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย

กลับกันหากเริ่มลงทุนตั้งแต่วันนี้ เงินก้อนนั้นก็จะทยอยสะสมเติบโตไปเรื่อย ๆ จนหลายคนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

แต่ถ้าใครยังไม่เชื่อหรือมองไม่เห็นภาพ เราจะพาไปดูความ มหัศจรรย์ของผลตอบแทนทบต้น กันแบบชัด ๆ เพื่อยืนยันว่า 

ยิ่งเริ่มลงทุนเร็ว ยิ่งได้เปรียบ ยิ่งถึงเป้าหมายเร็วกว่า

วิธีที่ดีที่สุดในการลงทุน

พลังดอกเบี้ยทบต้น

การลงทุนที่ดีควรประกอบไปด้วย…

ตั้งเป้าหมายให้ชัด ระบุเงินที่ต้องใช้ กำหนดเวลาที่จะไปถึง

เริ่มลงทุนให้ไว ทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ

เพิ่มเงินลงทุนเรื่อย ๆ ตามรายได้ที่มากขึ้นทุกปี 

คัดสินทรัพย์ที่เหมาะสม จัดสรรเป็นพอร์ต ปรับเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน

แล้วปล่อยให้เงินทำเงินอย่างเต็มที่ ด้วยพลังดอกเบี้ยทบต้น

อย่างเช่นตารางนี้ เป็นตัวอย่างการนำเงินมาลงทุนเดือนละ 10,000 บาท (หรือปีละ 120,000 บาท) ในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 8% ต่อปี โดยไม่ถอนออกมาเลย

จะเห็นชัดเลยว่า ยิ่งเริ่มลงทุนเร็วและลงทุนนานมากเท่าไร เงินก็จะยิ่งทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนี่เป็นเพราะพลังของผลตอบแทนทบต้นนั่นเอง

เวลาที่ดีที่สุดในการลงทุนคือวันนี้

พลังดอกเบี้ยทบต้น

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าเวลาสำหรับการลงทุนนั้นสำคัญมากขนาดไหน จะลองเปรียบเทียบระหว่าง ลงทุนเร็ว vs. ลงทุนช้า โดยออมเงินเดือนละ 10,000 บาทเท่ากัน และได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี

1.) คนที่เริ่มลงทุนเร็ว ตั้งแต่อายุ 25 ปี พอถึงวันเกษียณอายุ จะมีเงินเก็บสูงถึง 22.2 ล้านบาท

2.) คนที่เริ่มลงทุนช้า ตอนอายุ 50 ปี พอถึงวันเกษียณอายุ จะมีเงินเก็บเพียง 1.8 ล้านบาทเท่านั้น

เรียกว่าจำนวนเงินที่ห่างกัน เป็นการตอกย้ำว่าเวลาที่ดีที่สุดในการลงทุนคือวันนี้

สร้างแผนการลงทุนที่ดีที่สุด ด้วย Goals Navigator

พลังดอกเบี้ยทบต้น

ยิ่งสำหรับใครที่มีเป้าหมายของแต่ละช่วงชีวิตอยู่แล้ว การนำเงินไปวางแผนลงทุนเพื่อรองรับเป้าหมายในฝัน ก็จะช่วยให้เป้าหมายสำเร็จได้เร็วขึ้น 

Goals Navigator คือ บริการวางแผนการลงทุนใหม่จาก FINNOMENA ที่นำนวัตกรรมระดับโลก ด้วยความร่วมกับ Franklin Templeton มาช่วยสร้างแผนการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล บนแนวคิด Success-driven investment แห่งเดียวในไทย

เอาเป็นว่า… ถ้าคุณมีเป้าหมายในฝันว่าอยากใช้ชีวิตแบบไหน อยากสร้างครอบครัวยังไง ถ้ามีลูกจะส่งเรียนโรงเรียนอะไร มีสิ่งไหนที่เติมเต็มความหมายของชีวิต หรือถ้าเกษียณแล้วคิดจะไปทำอะไรต่อดี

ลองให้ Goals Navigator ช่วยออกแบบทุกความสำเร็จ ตั้งแต่วางแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับคุณ คอยติดตามใกล้ชิด ช่วยปรับเปลี่ยนแผนให้ทันทุกสถานการณ์ พร้อมดูแลจนถึงเป้าหมาย โดยผู้แนะนำการลงทุนส่วนตัว

“FINNOMENA Goals Navigator™” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

How to วางแผนชีวิตให้ครบครัน ด้วย 4 ประเภทเป้าหมายทางการเงิน

NM

เคยฝันกันมั้ยว่า อยากให้ชีวิตตัวเองเป็นแบบไหน ?

“อยากมีเงินเก็บหลักล้าน

อยากมีบ้านหลังใหญ่

อยากมีเงินใช้ไม่ขาดมือ

อยากถือกระเป๋าเที่ยวรอบโลก”

ซึ่งหลาย ๆ ความฝันเหล่านี้สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ เพียงวางแผนการเงิน แต่เหตุผลที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนไม่ได้วางแผนการเงินอาจจะเป็นเพราะไม่รู้จะวางแผนไปทำไม เพราะทุกวันนี้ก็ใช้เงินเดือนชนเดือนอยู่แล้ว หรือรู้สึกว่ามันยุ่งยาก ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ..

ถ้าอย่างนั้นมาเริ่มต้นวางแผนการเงินแบบง่าย ๆ สำหรับคนที่อยากทำให้ฝันเป็นจริง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนชีวิตและจัดระเบียบการเงินของตัวเองจากตรงไหน ลองเริ่มจาก 2 Step ง่าย ๆ ดังนี้

Step 1 : แยกประเภทเป้าหมายออกเป็น 4 ประเภทตามความสำคัญ

เริ่มต้นวางแผนการเงินง่าย ๆ อย่างการเปลี่ยน Mindset จาก “อยากมี” ให้กลายเป็น “เป้าหมาย” และที่สำคัญต้องแบ่งแยกประเภทของเป้าหมายตามความสำคัญ เพื่อให้แผนการเงินของเรานั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป้าหมายออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Need คือ เป้าหมายที่จำเป็นและสำคัญต่อชีวิต เช่น การเกษียณอายุ การศึกษาลูก เก็บเงินแต่งงาน
  • Want คือ เป้าหมายที่เราต้องการหรืออยากได้ เช่น การมี Passive income เดือนละ 100,000 บาท
  • Wish คือ เป้าหมายที่เราอธิษฐานอยากให้เป็นจริง อาจจะเป็นการให้รางวัลตัวเอง เช่น เที่ยวต่างประเทศประจำปี
  • Dream คือ เป้าหมายที่ใฝ่ฝันถึงแต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เช่น ซื้อรถหรู ซื้อบ้านพักตากอากาศ

ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละคนอาจจะให้คำจำกัดความต่างกันสำหรับแต่ละเป้าหมายก็ได้ เช่น บางคนอาจจะมองว่า การมี Passive income เป็นเพียง Wish หรือการเก็บเงินแต่งงาน เป็นเพียง Want ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร เพียงเราสามารถกำหนดประเภทเป้าหมายของเราได้ก็เพียงพอแล้ว

Step 2 : จับคู่สินทรัพย์ทางการเงินให้เหมาะกับเป้าหมาย

เมื่อเราแบ่งเป้าหมายตามความสำคัญออกเป็น 4 ประเภทเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้นำเป้าหมายแต่ละประเภทมาระบุว่าเป็นเป้าหมายระยะเวลาขนาดไหน โดยเราอาจจะระบุระยะเวลาได้ตามนี้ คือ ระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี, ระยะกลาง 3-7 ปี และระยะยาวมากกว่า 7 ปี ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้จับคู่กับสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมอีกที ดังนี้

1. เป้าหมายสำคัญ

หากเป็นเป้าหมายที่สำคัญ อย่าง Need และ Want อาจจะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง เพื่อให้เป้าหมายมีความเป็นไปได้จริง ๆ แต่ก็ต้องให้สอดคล้องกับระยะเวลาของเป้าหมายนั้น ๆ ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น หากมีเป้าหมายเกษียณอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว มีเวลาลงทุนมาก สินทรัพย์ที่เหมาะสม คือ สินทรัพย์ที่สามารถเสี่ยงได้มากขึ้นแต่ก็ยังมีความมั่นคง เช่น หุ้นพื้นฐานดี, กองทุนหุ้นไทย/หุ้นต่างประเทศ, กองทุน SSF/RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ, กองทุนการออมแห่งชาติ, ประกันบำนาญ, ประกันควบการลงทุน

แต่หากเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีระยะสั้นลงมา เช่น เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน หรือเก็บเงินเรียนต่อ อาจพิจารณาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ปลอดภัยสูง และมีสภาพคล่องที่หยิบดึงมาใช้ได้ง่าย เช่น เงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น

2. เป้าหมายไม่สำคัญ

หากเป็นเป้าหมายที่ไม่สำคัญแต่ถ้ามีก็ดี อย่าง Wish และ Dream อาจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้มากขึ้น เพราะถึงไม่สำเร็จ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสำเร็จก็ดี ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ก็จะต้องมาแยกระยะเวลาอีกเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น หากมีเป้าหมายเก็บเงินไปเที่ยว (Wish) ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะกลาง ที่มีเวลาลงทุนมากขึ้นอีกหน่อย อาจพิจารณาผสมสินทรัพย์เสี่ยงเข้ามาได้บ้าง เช่น กองทุนรวมผสม หรือพอร์ตการลงทุนที่ผสมทั้งตราสารหนี้และหุ้น

แต่ถ้าหากเป็นเป้าหมายซื้อบ้านพักตากอากาศในอนาคต แล้วเราจำแนกเป็นเป้าหมายระยะยาว ก็อาจจะสามารถเพิ่มสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงเข้ามาในพอร์ตได้ เช่น กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นต้น

อย่างที่เห็นไปแล้วว่า ชีวิตคนเราไม่ได้มีแค่เป้าหมายเดียว และนอกจากเป้าหมายของตัวเองแล้ว บางคนอาจจะมีเป้าหมายที่อยากจะทำเพื่อคนที่เรารักรวมอยู่ด้วย ซึ่งบางทีอาจจะเยอะจนไม่รู้ว่าควรแบ่งเงินลงทุนอย่างไร เท่าไร ในสินทรัพย์อะไรดี ทาง FINNOMENA ขอเสนอนวัตกรรมดี ๆ ที่จะช่วยให้แต่ละเป้าหมายชีวิตของเราเป็นเรื่องง่ายขึ้น นั่นคือ Goals Navigator

Goals Navigator คืออะไร ?

Goals Navigator คือ นวัตกรรมระดับโลกที่ช่วยออกแบบทุกความสำเร็จในทุกช่วงชีวิต ช่วยวางแผนการลงทุนในทุกช่วงเวลา รองรับทุกสถานการณ์ โดยทาง FINNOMENA และ FRANKLIN TEMPLETON ได้ร่วมมือกันและพัฒนาแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลา มีการคำนวณแผนการลงทุนที่ดีที่สุดและคำนวณปรับเปลี่ยนโมเดลพอร์ตให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะตลาด เพื่อให้นักลงทุนถึงเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจไว้ 

ตัวอย่างการจัดพอร์ตของ Goals Navigator

แค่เพียงระบุว่าเป้าหมายของเราเป็น Need, Want, Wish, Dream และระบุระยะเวลาที่ต้องการให้เป้าหมายสำเร็จ ระบบก็จะแสดงผลในรูปแบบ Life path โดยจะคิดคำนวณให้อัตโนมัติว่าควรลงทุนในอะไรบ้าง และควรปรับการลงทุนเมื่อไร เพื่อให้สอดคล้องกับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย พร้อมทั้งคาดการณ์ผลตอบแทนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

และนอกจากนี้ ยังจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้แนะนำการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงผ่านการอบรมเพื่อแนะนำการใช้งาน Goals Navigator

“FINNOMENA Goals Navigator™” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน 👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA Investment Team
ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด (จำนวนจำกัด)

     Weekly Market Insight ประจำสัปดาห์  06/06/66 – 09/06/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

JAPAN – Land of Rising Stock Market

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
JAPAN - Land of Rising Stock Market

หุ้นญี่ปุ่นเป็นการลงทุนขวัญใจนักลงทุนไทยมาโดยตลอด และปี 2023 กำลังจะเป็นปีพิเศษที่ดัชนี TOPIX ปรับตัวขึ้นจนมีโอกาสทดสอบระดับสูงสุดตลอดกาล 2884 จุด ที่เคยทำไว้ในปี 1989 หรือกว่า 3 ทศวรรษก่อน จึงมีคำถามมาอย่างต่อเนื่องว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้หุ้นญี่ปุ่นฟื้น พื้นฐานของตลาดแตกต่างจากเดิมมากน้อยแค่ไหน และยังทันหรือไม่ที่จะเข้าลงทุนตอนนี้

ผมจึงชวนนักลงทุนมารู้ให้ทันจุดสูงสุดใหม่ของหุ้นญี่ปุ่นรอบนี้พร้อมกัน

เริ่มด้วยการเปรียบเทียบหุ้นญี่ปุ่นในอดีตกับปัจจุบัน

แม้ตลาดกำลังทำ New High จุดเดียวกัน แต่ความตื่นเต้นและความยิ่งใหญ่ในสมัยก่อนสูงกว่าปัจจุบันมาก

ย้อนกลับไปช่วงจุดสูงสุดในอดีต ครึ่งหนึ่งของขนาดตลาดการเงินทั้งโลกนั้นมาจากญี่ปุ่น เหตุผลที่ทุกคนเข้าลงทุน นอกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตสูงแล้ว ก็มีแรงส่งเพิ่มเติมจาก Plaza Accord ปี 1985 ที่ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า นักลงทุนทั่วโลกจึงแห่นำเงินลงทุนมาพัก

ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นมีขนาดโดยรวมใหญ่กว่าสหรัฐถึงสี่เท่าทั้งที่มีขนาดเพียง 4% เมื่อเทียบกับพื้นที่ของสหรัฐ

ส่วนหุ้นญี่ปุ่นก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ซื้อขายในระดับ Long-term P/E (LT P/E) ราว 100 เท่า ทุกอย่างฟุ้งเฟ้อ ก่อนที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ย บริษัทเริ่มผิดนัดชำระหนี้ และฟองสบู่การเงินแตกในช่วงต้นทศวรรษ 1990

แน่นอนว่าการกลับมาทดสอบจุดสูงสุดของตลาดหุ้นญี่ปุ่นครั้งนี้แตกต่างจากเดิมทุกอย่าง

หนึ่ง ไม่ใช่เงินเยนแข็งแต่เป็นเงินเยนอ่อนที่หนุนตลาด 

ย้อนกลับไป ต.ค. ปี 2022 จะเห็นได้ชัดว่าเงินเยนผันผวนทำสถิติอ่อนค่าที่สุดในรอบ 33 ปี ทะลุ 150เยน/ดอลลาร์ ทิศทางที่ปักหัวลงของเงินเยน เกิดจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น สวนกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดทั่วโลก ชัดที่สุดคือความต่างของดอกเบี้ยนโยบายกับธนาคารกลางสหรัฐที่กำลังทำสถิติห่างที่สุดถึง 525bps

สอง ไม่ใช่นักลงทุนต่างชาติ แต่เป็นคนญี่ปุ่นเองที่กำลังซื้อหุ้น

ตลาดกลับมาได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทางการญี่ปุ่นปรับโครงการลงทุนเพื่อลดภาษีสำหรับชาวญี่ปุ่นหรือ Nippon Individual Saving Account (NISA) ใหม่สำหรับปี 2024

ขนาดการลงทุนจะใหญ่ขึ้นถึง 125% เป็น 3.6 ล้านเยน/คน/ปี เพิ่มการลงทุนในโครงการได้ถึง 18ล้านเยน/คน โครงการดังกล่าวจะเพิ่มกำลังซื้อหุ้น เพื่อการออมสำหรับอนาคต และลดแรงขายระยะสั้นไปพร้อมกัน

สาม นโยบายไม่ใช่ให้บริษัทกู้เงินไปเติบโต แต่เติบโตจากการนำเงินที่มีออกมาใช้หรือคืนให้กับสังคม

ด้วยนโยบายทุนนิยมรูปแบบใหม่ของนายก Kishida (New Form of Capitalism) ที่ต้องการปรับเศรษฐกิจ 5 ประเด็นประกอบด้วย ลดการกระจุกตัวของธุรกิจ เพิ่มการลงทุน สนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ส่งเสริมความหลากหลาย และ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์

ทั้งหมดเป็นรูปธรรมเมื่อตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียน ต้องส่งแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ ต้นทุนทางการเงิน ไปจนถึงมีคำอธิบายธุรกิจที่ชัดเจน และมีงบการเงินเป็นภาษาอังกฤษ บริษัทที่มูลค่าตลาดต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีต้องหาทางแก้ไข ไม่ว่าจะไปลงทุนในธุรกิจใหม่ หรือไม่ก็ต้องจ่ายปันผล

ผมมองว่าทั้งหมดนี้ กำลังเป็นโอกาสและแรงส่งสำคัญที่จะหนุนให้เกิดการลงทุนในอนาคต

เมื่อพื้นฐานสนับสนุน ก็ต้องรู้ทันกันต่อไปว่า New High จะ Higher ได้อย่างไร

สำหรับผม Valuation ต้องสูงขึ้นได้ และต้องมีธีมใหม่ให้ลงทุนด้วย

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมากำไรของ TOPIX เติบโตเฉลี่ย 6.3% ต่อปี ปัจจุบันบนระดับการเติบโตของกำไรที่ราว 5-10% ต่อปี ขณะที่ LT P/E 19 เท่า ตีความได้ว่าหุ้นญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นไม่ใช่กลุ่มเติบโตสูง แต่มีราคาถูกกว่าหุ้นทั่วโลกที่ LT P/E 21 เท่า ถือว่าไม่ได้แพงจนต้องกังวล

ด้านธีมลงทุน ช่วงที่ผ่านมาธีม Tech และ Growth เป็นสองธีมขนาดใหญ่ที่นำตลาด

อนาคตถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทั้งสองกลุ่มมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นได้ต่อ นักลงทุนอาจเลือกหุ้นใน Nikkei 225 หรือกลุ่มเทคโนโลยีโดยตรงก็ได้

แต่ถ้าใครมองว่าตลาดจะเปลี่ยนธีม อาจเน้นไปที่กลุ่มเศรษฐกิจญี่ปุ่นในประเทศ มักเป็นหุ้นขนาดเล็กและธุรกิจ Health Care

นอกจากนั้นก็มีกระแสลงทุนตาม Value Investor คนดังอย่าง Warren Buffett ที่เน้นบริษัทคุณภาพสูงที่ Valuation ถูกซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นมูลค่าและหุ้นปันผลมี LT P/E ต่ำกว่าตลาดเพียง 14-18เท่า

แม้จะใช้เวลาถึงกว่า 33 ปี และไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต แต่ในที่สุดหุ้นญี่ปุ่นก็มีโอกาสทำ New High อีกครั้ง และผมมองว่าครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะ Higher ได้ ไม่ปีนี้ ก็ปีหน้าครับ

JAPAN - Land of Rising Stock Market

ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น Tokyo Stock Price Index (TOPIX)
ที่มา: Bloomberg และ CGS Macro and Wealth Research

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

มุมมองการลงทุน BottomLiner Optimal Megatrend Opportunities มิถุนายน 2023: กองทุน Semiconductor พุ่งแรงตามเทรนด์ AI

BottomLiner
มุมมองการลงทุน BottomLiner มิถุนายน 2023

จัดทำโดย Bottomliner วันที่ 31/05/2023 ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน Semiconductor ที่เราถือเป็นสัดส่วนหลักพุ่งแรงตามเทรนด์ AI

การมาของ ChatGPT และ Google Bard ที่ทำให้ Generative AI สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้หลายบริษัทในหลายอุตสาหกรรมก็นำมาพัฒนาต่อเป็นของตัวเอง เช่น กราฟฟิก, การเงิน, Healthcare, E-commerce และ Autonomous เป็นต้น

ทำให้ชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนา AI อย่าง Semiconductor ที่รวมถึง GPU, Memory และบริษัทที่เกี่ยวกับ Data center มีความต้องการสูงขึ้นอย่างมาก โดยเมื่อดูจากภาพจะเห็นว่าดัชนี S&P 500 ที่นำหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI ออกไป จะเห็นว่าผลตอบแทนต่างกันถึงราว ๆ 9%

Source: Datastrean, SG Cross Asset Research/Equity Strategy as of 11/05/2023

ล่าสุดกองทุน KKP-SEMICON-H ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Semiconductor (SOXX) พุ่งขึ้นกว่า 10% ในอาทิตย์เดียว เนื่องจากหุ้น NVIDIA ประกาศงบออกมา และคาดการณ์รายได้ Data Center โตแรงเกือบ 2 เท่าในไตรมาสหน้า ซึ่งเทรนด์ AI ผลักดันให้ NVIDIA เปลี่ยนจากหุ้นที่ Growth กำลังจะหมดกลายเป็นหุ้นที่เติบโตสูงอีกครั้ง ทำให้ราคาหุ้นเด้งแรงกว่า 28% เพียงอาทิตย์เดียว

เมื่อดูหุ้นที่อยู่ในกองทุน SOXX ถืออยู่นั้นจะมีหุ้นที่ได้ประโยชน์ AI ตรง ๆ เช่น Nvidia, AMD ที่เป็น Top Holding ของกองทุน เพียงแค่ 2 ตัวนี้ก็มีสัดส่วนมากถึง 20% เลย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกองทุน SOXX ถึงขึ้นแรงในอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยผลตอบแทนของกองทุน SOXX +41% ตั้งแต่ต้นปี และ +14.8% 1 ปีย้อนหลัง

Source: ishares.com as of 31/05/2023

ซึ่งตอนแรกกลยุทธ์ OMO ของเราเริ่มซื้อกองทุน Semiconductor เข้ามาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2022 10% เนื่องจากที่จีนเริ่มกลับมาเปิดเมืองและจะมีความต้องการใช้ชิพเพิ่ม หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นอีก เป็นสัดส่วน 22% ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมเนื่องจากสังเกตุเห็นเทรนด์ AI ที่มาแรงในช่วงนั้นอีกเช่นกัน

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐจะยังฟื้นได้ยากในเร็วๆนี้ เพราะ FED ต้องค้างดอกเบี้ยไว้เพื่อกดเงินเฟ้อให้ลงมาต่ออีก แล้วถึงจะสามารถเริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายต่อเศรษฐกิจได้

ฝั่งหุ้นจีน ยังไม่มีวี่แววที่ดีนัก หลังจากที่เปิดเมืองมาตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วแต่รัฐบาลยังไม่มีประกาศงบสนับสนุนที่มากพอ เพราะ ติดปัญหาหนี้รัฐบาลท้องถิ่นที่สูง ทางด้านกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีภาคบริการ เช่น ecommerce, local consumption ยังไม่ฟื้นดีนักเพราะนักลงทุนยังกังวลเรื่องการถูกควบคุมอยู่ (แต่ฝั่ง Hardware ดีขึ้นเพราะรัฐเข้ามากระตุ้นแล้ว)

สรุปมุมมอง Bottomliner

แม้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะฟื้นได้ช้าจากเหตุที่กล่าวมาจากข้างต้น แต่กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเทรนด์ AI นั้นก็ยังมีโอกาสเติบโตต่อได้ในบาง Sector เช่น semiconductor เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องรีบลงทุนเพราะการมี AI ที่ล้ำหน้าจะช่วยให้บริษัทสร้างช่องทางหารายได้อีกเพียบ

Source: Tradingview as of 31/05/2023

ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner

Bottomliner


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

FINNOMENA ยกระดับความแข็งแกร่ง ระดมทุน Series B+ กว่า 5.5 ล้านดอลลาร์ ตอกย้ำการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนชั้นแนวหน้าของไทย

FINNOMENA
FINNOMENA ระดมทุน Series B+

FINNOMENA (ฟินโนมีนา) ประกาศความสำเร็จระดมทุนรอบ Series B+ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย Openspace Ventures, Finnoventure Private Equity Trust และ Gobi Partners มุ่งขยายสินทรัพย์ใหม่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตและความท้าทายของตลาดทุนโลก

นายเจษฏา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA Group เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกจะยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้านในปีนี้ ทาง FINNOMENA ยังคงได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบันเพื่อพัฒนาแพลต์ฟอร์มบริหารเงินลงทุน ทั้งในส่วนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคลที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง และสินทรัพย์ใหม่ ๆ ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นหุ้นกู้ Crowdfunding และ Investment Token 

“ในอีก 5 – 10 ปีข้างหน้า หน้าตาสินทรัพย์ลงทุนในพอร์ตของเราจะไม่เหมือนกับ 10 ปีที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว เรากำลังอยู่ในคลื่นของความเปลี่ยนแปลงของโลกการลงทุน ที่มีสินทรัพย์ชนิดใหม่ ๆ (New Asset Classes) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ FINNOMENA มุ่งหวังว่าจะตอบโจทย์การเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำที่มีสินทรัพย์ใหม่ ๆ ที่นักลงทุนต้องการ โดยใช้จุดแข็งของทีมแนะนำการลงทุน และทีม Content Creation ที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่สิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ให้กับนักลงทุนไทย” นายเจษฎา กล่าว

FINNOMENA สามารถปิดรอบการระดุมทุนรอบใหม่ Series B+ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่า 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีนักลงทุนสถาบันหลัก ได้แก่ 1) OSV Multiply Holdings โดย Openspace Ventures 2) Finnoventure Private Equity Trust โดย Krungsri Finnovate และ 3) Meranti Asean Growth Fund L.P. โดย Gobi Partners

“Openspace Ventures มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุน FINNOMENA ในฐานะ Lead investor ของการระดมทุนรอบ Series B+ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ด้วยความสนใจเรื่องการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นของคนไทย โดยเชื่อว่าการระดมทุนครั้งนี้จะช่วยให้ FINNOMENA ยืนหยัดในการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง ตลอดจนช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนไทย” นาย Matt Windsor Vice President, Openspace Ventures กล่าวเสริม

“ตลอด 5 ปีที่เราเข้าลงทุนใน FINNOMENA บริษัทฯ มีฐานนักลงทุนเติบโตต่อเนื่องจนแตะหลักแสนคน คิดเป็นมากกว่า 5% ของจำนวนนักลงทุนกองทุนในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามั่นใจว่าบริษัทฯ มีศักยภาพขยายฐานนักลงทุนเป็นหลักล้านคนในระยะยาว จากความสนใจเรื่องการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของคนไทย และความตอบโจทย์ของ FINNOMENA ที่มีต่อสังคมนักลงทุนในเรื่องการสื่อสารให้ความรู้ ให้มุมมองการลงทุนต่อนักลงทุนในวงกว้าง รวมถึงนำเสนอบริการใหม่ ๆ อย่าง Goals Navigator ที่ให้บริษัทชั้นนำระดับโลกมาจัดพอร์ตให้กับนักลงทุน” นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต กล่าวทิ้งท้าย


เกี่ยวกับ FINNOMENA

FINNOMENA เป็นแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนชั้นนำของเมืองไทย โดยเป้าหมายหลักขององค์กรคือเพื่อปลดล็อกศักยภาพของนักลงทุนไทย ให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางเงินได้ตามที่คาดหวัง ปัจจุบัน FINNOMENA ดูแลนักลงทุนไทยกว่า 120,000 คน ด้วยเงินลงทุนรวมจากนักลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566) การให้บริการของ FINNOMENA ประกอบด้วย แพลตฟอร์มความรู้และมุมมองการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญที่มียอดเข้าชมถึงกว่า 3 ล้านครั้งต่อเดือน แพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาการลงทุนโดยที่ปรึกษาการลงทุนกว่า 2 พันคน และแพลตฟอร์ม Fund Supermart ของบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด

5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน

Finspace
5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน

“วอร์เรน บัฟเฟตต์” (Warren Buffett) บุคคลที่ได้รับการยอมรับในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาดหุ้น และยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับ 6 โดยมีมูลค่าสินทรัพย์มากกว่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยชื่อเสียงของบัฟเฟตต์จากปรัญชาการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) ทำให้หลายคนยกย่องเขาให้เป็นไอดอลด้านการลงทุนและนำปรัญชาของเขามาประยุกต์ใช้

วันนี้ FinSpace จึงขอมาแนะนำ 5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน จะมีหนังสือเล่มไหนบ้าง? ติดตามไปพร้อมกันได้เลย

5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน

1. The Intelligent Investor

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “Benjamin Graham” ผู้ที่ได้รับสมญานามให้เป็นบิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) โดยหนังสือเล่มนี้ Warren Buffett ชื่นชอบมากจนยกให้เป็นคัมภีร์แห่งการลงทุนเลยทีเดียว

หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยบทเรียนพื้นฐานที่เราต้องรู้เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะเน้นไปที่ความสำคัญของการลงทุนในระยะยาว เครื่องมือวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อความสำเร็จทางการเงิน รวมถึงเทคนิคการควบคุมอารมณ์หุนหันพลันแล่นที่ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงเป้าหมาย

2. Security Analysis

หนังสือเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งในหนังสือที่ “Benjamin Graham” เขียนเช่นกัน โดยเป็นหนังสือที่จะทำให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐานที่จำเป็นในการประเมินการลงทุน มุ่งเน้นไปที่บทบาทของมูลค่าที่แท้จริงในการวิเคราะห์เป็นหลัก รวมถึงอธิบายถึงหลักการ Margin-of-Safety ของเบนจามินด้วยว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำกำไรได้อย่างไร ในหนังสือเล่มนี้เบนจามินจะแบ่งปันเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เทคนิคการเลือกหุ้นเด่นสำหรับลงทุน การวิเคราะห์งบดุลและบัญชีรายได้ รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยปันผลในหุ้นสามัญ

3. The Little Book of Common-Sense Investing

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “John C. Bogle” ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของ “The Vanguard Group” บริษัทจัดการลงทุนที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ ปี 2022) และเขายังเป็นผู้คิดค้นกองทุนดัชนี (Index Fund) อีกด้วย

ในหนังสือเล่มนี้เขาได้เผยกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนดัชนี และความมหัศจรรย์ของการทบต้น โดยเป็นหนังสือที่อธิบายว่าทำไมการลงทุนระยะยาวจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น

4. Common Sense on Mutual Funds

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี 1999 เขียนโดย “John C. Bogle” ตำนานแห่งวงการกองทุนรวมอีกเช่นกัน รูปแบบการนำเสนอของหนังสือเล่มนี้มีความตรงไปตรงมาและเข้าถึงได้ง่าย  โดยเนื้อหาจะพูดถึงการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของกองทุนรวมกับสภาพตลาดที่ผันผวนในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในอุตสาหกรรมกองทุนรวม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการสร้างพอร์ตการลงทุนที่นักลงทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกช่วงเวลา

5. Common Stocks and Uncommon Profits

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “Philip Fisher” ผู้มีชื่อเสียงในด้านการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทที่เขาจะเข้าไปลงทุน เป็นหนังสือที่สอนให้นักลงทุนวิเคราะห์คุณภาพของธุรกิจ โดยฟิชเชอร์กล่าวว่าการดูเพียงงบการเงินนั้นไม่เพียงพอ เราต้องตรวจสอบการดำเนินงานและการจัดการของบริษัท ไปจนถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทด้วย นอกจากนี้ฟิชเชอร์ยังแบ่งปันกลยุทธ์ในการหาหุ้นเติบโต พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ต้องดูก่อนซื้อหุ้น และข้อควรระวังเพื่อการเป็นนักลงทุนที่ดีในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข่าใจในปรัญชาการลงทุนของเขามากขึ้น

อ้างอิง:

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/5-books-warren-buffett-want-everyone-read/

FINNOMENA Tactical Call : ดัชนีหุ้นเวียดนาม VN30 กลับเข้าเก็งกำไรได้อีกครั้ง หลังเริ่มมี Momentum ที่แข็งแกร่ง

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Tactical Call VN30

ความกังวลในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ผิดนัดชำระหนี้ การใช้เงินทุนผิดวัตถุประสงค์ การกำจัดการคอรัปชั่นในเวียดนาม เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง สร้างแรงกดดันให้ดัชนี VN30 ซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดหุ้นเวียดนาม และเป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับคำแนะนำ Tactical Call ของ FINNOMENA Investment Team เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวในกรอบแคบนานกว่า 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในเชิง Technical พบว่าการเคลื่อนไหวของราคายังคงอยู่ในกรอบแคบ Sideway ยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน (MA20) ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่ยืนยันถึงแนวโน้มระยะสั้น พร้อมด้วยการทำ Pattern Higher Low ท่ามกลางปัจจัยเชิงลบจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่องสะท้อนความแข็งแกร่งของตลาด

FINNOMENA Tactical Call VN30รูปที่ 1 กราฟดัชนี VN30 TF Day Source: Tradingview as of 02/06/23

จนกระทั่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี VN30 สามารถปรับตัวขึ้นเหนือ MA 200 วัน ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่ยืนยันถึงแนวโน้มระยะยาว สะท้อนการฟื้นตัวของ Momentum หรือมุมมองเชิงบวกของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นเวียดนามที่มากขึ้น

FINNOMENA Investment Team จึงเปลี่ยนแปลงคำแนะนำของการเก็งกำไร Tactical Call ดังนี้

1. เปลี่ยนคำแนะนำจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ”

2. พร้อมทั้งเปลี่ยนจุดแนะนำชะลอเข้าลงทุนเป็น ที่ระดับราคาไม่เกิน 1,120 จุด (+3.0% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 02/06/2023) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1 

และหากหลังจาก FINNOMENA Investment Team แนะนำ Tactical Call แล้ว ดัชนี VN30 ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,120 จุด และปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,120 จุดอีกครั้ง FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำให้ ชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ให้คำแนะนำครั้งแรก

3. แนะนำ Take Profit 2 ระดับ

– โดยมีเป้าหมายแรกที่แนะนำขายทำกำไรบางส่วน เมื่อดัชนี VN30 ปรับตัวขึ้นถึง 1,230 จุด (Upside 13.62% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 02/06/2023)  ซึ่งตรงกับแนวต้าน Fibonacci Retracement 50.0% ของรอบขาลงและใกล้เคียงกับแนวรับสำคัญในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2022

– และขายทำกำไรทั้งหมด เมื่อดัชนี VN30 ปรับตัวขึ้นถึง 1,310 จุด  (Upside 20.52% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 02/06/2023)  ซึ่งตรงกับแนวต้าน Fibonacci Retracement 61.8% ของรอบขาลงและใกล้เคียงกับแนวสะสมกำลังในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2022

4. และแนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อดัชนีปิดตลาดต่ำกว่า 1,000 จุด (Downside 8.00%) ซึ่งเป็นระดับที่ดัชนีกลับมาปรับตัวหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน และต่ำกว่า Higher Low ในช่วงครั้งแรกในช่วงเดือนพฤษภาคม

นักลงทุนที่เหมาะกับ Tactical Call ระยะสั้นนี้ควร…

  1. เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง
  2. ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
  3. นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนระยะยาวตามคำแนะนำ MEVT Call ซึ่งจะเน้นเสาะหาโอกาสการตาม MEVT Framework ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยเชิงมหภาค (Macro), กำไร (Earnings), มูลค่า (Valuation) และปัจจัยเชิงเทคนิค (Technic) โดยจะเป็นมุมมองการลงทุนในระยะกลางราว 6-12 เดือน ส่วนการขายทำกำไรหรือขายตัดขาดทุน จะมาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิค ยังคงบ่งชี้ว่าเวียดนามมี Upside ที่สูงจาก Valuation ที่ซื้อขายกันที่ระดับ PE 9.01x หรือเท่ากับ -1.5 SD เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจยังถูกคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยใกล้เคียง 6% เหนื่อค่าเฉลี่ยทั่วโลก เราจึงยังคงแนะนำลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้ดัชนี VN30 จะปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,120 จุดตาม Tactical call ในครั้งนี้ก็ตาม เนื่องจาก 

ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของรูปแบบการลงทุน อาทิ

  • วัตถุประสงค์การลงทุน : MEVT Call เป็นไปเพื่อลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานที่ดี Valuation ที่เหมาะสม เพื่อสะสมลงทุนในระยะ 6 – 12 เดือน ขณะที่ Tactical Call เป็นไปเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
  • เงื่อนไขการลงทุน : MEVT Call เป็นการเข้าลงทุนเพื่อสะสมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ซึ่งลดความเสี่ยงผ่านการซื้อเมื่อดัชนีมีมูลค่าถูกเมื่อเทียบกับการเติบโตในระยะยาว ขณะที่ Tactical Call เป็นการเข้าลงทุนตามสัญญาณทางเทคนิค(Technical Analysis) และคุมความเสี่ยงโดยการ Stop Loss

PRINCIPAL VNEQ-A

FINNOMENA Tactical Call VN30

รูปที่ 2 สัดส่วนการลงทุนของ PRINCIPAL VNEQ-A | Source: PRINCIPAL.th. as of 02/06/23 Fund Data As of 30/04/2023

กองทุนเป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลัก ในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟตราสารทุนต่างประเทศ ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

รู้จัก Trillion Dollar Club บริษัทล้านล้านเหรียญ

Park Kathawut
Trillion Dollar Club

Trillion Dollar Club คือชื่อเรียกของบริษัทชั้นนำของโลก ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) เกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 35 ล้านล้านบาท 

พูดอีกอย่างคือเป็นกลุ่มบริษัทซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของตลาดทุน และเศรษฐกิจโลก เพราะตัวเลข 1 ล้านล้านดอลลาร์ นั้นสูงกว่าทั้งมูลค่า SET Index รวมทั้งมูลค่าเศรษฐกิจไทย ที่อยู่ประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

วันนี้เราจึงได้สรุป 5 บริษัท Trillion Dollar Club (อัปเดตข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2023) พร้อมเกร็ดข้อมูลธุรกิจสนุก ๆ มาฝากกัน

1. Apple (AAPL)

ผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น iPhone iPad Mac รวมถึงระบบปฏิบัติการ iOS

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $2.83 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $2.94 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อสิงหาคม 2018
  • ใช้เวลา 44 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

2. Microsoft (MSFT)

ผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายซอฟแวร์สำหรับการทำงาน Microsoft Office และระบบปฏิบัติการ  Windows นอกจากนี้ ยังได้เข้าลงทุนในบริษัท OpenAI เจ้าของ ChatGPT อีกด้วย

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $2.47 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $2.94 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อเมษายน 2019
  • ใช้เวลา 33 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

3. Saudi Aramco (2222 : Tadawul)

บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการสำรวจและขุดเจาะ กลางน้ำอย่างโรงกลั่น ไปจนถึงปลายน้ำอย่างปิโตรเคมี

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Tadawul ซาอุดีอาระเบีย
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $2.06 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $2.45 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อธันวาคม 2019
  • มีมูลค่าแตะ $1 Trillion ทันทีหลัง IPO

4. Alphabet (GOOGL)

บริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในธุรกิจหลักอย่าง Google ผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินเบอร์หนึ่งของโลก แพลตฟอร์มวิดีโอ YouTube และระบบปฏิบัติการ Android

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $1.58 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $1.98 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อกรกฎาคม 2020
  • ใช้เวลา 22 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

5. Amazon (AMZN)

ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ช และให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง Amazon Web Services (AWS)

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $1.26 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $1.88 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อเมษายน 2020
  • ใช้เวลา 26 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

หมายเหตุ : อ้างอิงมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2023

Trillion Dollar Club

อย่างไรก็ตาม มีหลายบริษัทที่มีโอกาสเข้ามาสัมผัสทำเนียบ Trillion Dollar Club แต่ไม่สามารถยืนระยะได้อย่างมั่นคง 

ล่าสุดก็คือกรณีของ Nvidia (NVDA) ผู้ผลิตชิป GPU ที่มีแรงหนุนจากการเติบโตของเทคโนโลยี AI จนสร้างปรากฎการณ์มีมูลค่าตลาดเกิน $1 Trillion ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2023 แต่สุดท้ายราคาก็ค่อย ๆ ปรับตัวลดลง จนหลุดตำแหน่งในที่สุด

เช่นเดียวกันบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่ง เช่น Tesla (TSLA), Meta Platforms (META) และ Petro China (0857 : HK) ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีมูลค่าพีททะลุ $1 Trillion

รวมถึงตัวแทนจากจีนอย่าง Tencent และ Alibaba ครั้งนึงก็เคยมีลุ้นเข้ามาทำเทียบบริษัทล้านล้านเหรียญ แต่ก็ได้เพียงเฉียดไปเฉียดมา พอให้นักลงทุนได้ลุ้นกันเป็นระยะ 

สรุปบริษัทที่เคยเข้าร่วม Trillion Dollar Club ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

บริษัท วันที่เข้าร่วม มูลค่าสูงสุดที่เคยไปถึง
Apple Aug 2018 $2.94
Microsoft Apr 2019 $2.58
Aramco Dec 2019 $2.45
Alphabet Jul 2020 $1.98
Amazon Apr 2020 $1.88
Meta Jun 2021 $1.07
Tesla Oct 2021 $1.23
Nvidia May 2023 $1.02

แหล่งข้อมูล

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

FINNOMENA
รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

กองทุนไหนดี? รวบรวม 10 อันดับกองทุนผลตอบแทนดีในแต่ละเดือนของปี 2566 มาไว้ที่นี่แล้ว!

สารบัญ

รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนมกราคม 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: ASP-DIGIBLOC, KFINNO-A, TMB-ES-INTERNET, T-ES-GINNO, TMB-ES-GINNO, SCBNEXT(A), SCBINNO(A), ONE-GECOM, SCBFINTECH(A), TMB-ES-FINTECH

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: MEGA10-A, BCAP-DISRUPT, KT-WTAI-A, TNEXTGEN-A, SCBFST, ABAG, TCYBER, T-ES-GTECH, KWI EE EURO, KF-EUROPE

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนมีนาคม 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: DAOL-GOLD, LHESPORT-A, LHESPORT-D, DAOL-PLAY, SCBGOLDH, KT-PRECIOUS, UOBSG – H, PRINCIPAL IGOLD-A, K-GOLD-C(A), KF-HGOLD, KT-GOLD

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนเมษายน 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: ONE-GLOBFIN-RD, ONE-GLOBFIN-RA, ASP-DIGIBLOC, ASP-OIL, KT-ENERGY, TUSOIL, TOIL6, TFINTECH, KWI EE EURO, I-OIL, KT-OIL

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนพฤษภาคม 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: KKP SEMICON-H, SCBSEMI(A), KFGTECH-A, KKP TECH-H, ONE-METAVERSE, ASP-DIGIBLOC, ES-USTECH, M-META, KKP NDQ100-H, K-USXNDQ-A(A), K-USXNDQ-A(D)

สามารถกรองการจัดอันดับได้เอง พร้อมข้อมูลอัปเดตล่าสุดที่ FINNOMENA Fund Filter

รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน  จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 66)

premiums
สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 66)

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 66)

1. TISCOSTF – กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรระยะสั้น

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.64%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.37%

ซื้อกองทุน TISCOSTF คลิก

2. MMGOVMF – กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตรตลาดเงิน ชนิดเพื่อการลงทุน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.55%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.38%

ซื้อกองทุน MMGOVMFลิ

3. TCMFENJOY – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย 

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.50%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.60%

4. TCMF – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.46%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.53%

ซื้อกองทุน TCMF คลิก

5. BCAP-MONEY – กองทุนเปิดบีแคป มันนี่ มาร์เก็ต

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.46%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.61%

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: TISCOSTF, MMGOVMF, TCMFENJOY, TCMF, BCAP-MONEY

หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 1 มิ.ย. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมตลาดเงิน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น 2.14% หลัง PMI จีนดีกว่าคาด ฟื้นความมั่นใจ

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น 2.14% หลัง PMI จีนดีกว่าคาด ฟื้นความมั่นใจ

เช้านี้ (2 มิถุนายน 2023) ดัชนี Hang Seng ปรับตัวขึ้นกว่า 2% ตามทิศทางการปรับตัวขึ้นของดัชนี S&P 500 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น 0.99% จากความคาดหวังการผ่านร่างงบประมาณที่คาดว่าจะสิ้นสุดได้ก่อนวันที่ 6 มิถุนายน ขณะที่ดัชนี STOXX50 ตลาดหุ้นยุโรป ปรับตัวขึ้น 0.94% จากตัวเลขเงินเฟ้อ 6.1% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์นักวิเคราะห์ที่ 6.3% ช่วยลดแรงกดดันความเข้มงวดในการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป

นอกจากนั้นแล้วยังได้แรงหนุนจาก Caixin Manufacturing PMI ที่ยังอยู่ในโซนขยายตัวที่ 50.9 มากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 50.3 และกลับมาขยายตัวจากเดือนที่ผ่านมาที่ 49.5 สวนทางดัชนี Manufacturing PMI ที่จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลการขนส่งของจีนที่ประกาศออกมาในวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่ออกมาที่ระดับ 48.8 ทำให้ตลาดกลับมามีความมั่นใจมากขึ้น

โดยเมื่อพิจารณาในรายอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดเป็นกลุ่ม Technology ที่ปรับตัวขึ้น 2.81% กลุ่ม Consumer Cyclicals ปรับตัวขึ้น 3.30% และ Financials ปรับตัวขึ้น 1.65%

FINNOMENA Investment Team มองว่าในช่วงสั้นแนวโน้มเศรษฐกิจจีนเริ่มสะดุดจากการฟื้นตัวไม่เต็มของภาคการบริโภค ซึ่งสะท้อนจากความมั่นใจผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากระดับหนี้ของจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่เราคาดว่าในระยะถัดไปเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวได้ต่อหลังจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางฟื้นตัวมากขึ้นหลังยกเลิกมาตรการ Zero Covid และการฟื้นตัวของการบริโภคในจีนที่จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โดยดัชนีหุ้น All China มี Valuation ลดลงมาต่ำกว่า -1 S.D. และดัชนี Hang Seng ปรับตัวลงมากว่า -2 S.D. เมื่อเทียบกับหุ้นโลก เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากราคาลงมาในจุดที่ Valuation น่าสนใจ อีกทั้งเศรษฐกิจจีนยังมี upside ให้ฟื้นตัว

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

News Update: นักวิเคราะห์มองหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสบวกอีก 10% แม้ทำจุดสูงสุดรอบ 33 ปีแล้ว มองราคายังไม่แพง P/BV แค่ 1.3 เท่า เทียบกับ S&P 500 ที่ 4 เท่า

THE OPPORTUNITY
News Update: นักวิเคราะห์มองหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสบวกอีก 10% แม้ทำจุดสูงสุดรอบ 33 ปีแล้ว มองราคายังไม่แพง P/BV แค่ 1.3 เท่า เทียบกับ S&P 500 ที่ 4 เท่า

หุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสพุ่งขึ้นอีก 10% หลังจากเพิ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ทศวรรษ ท่ามกลางแรงหนุนจากกำไรที่เติบโต การซื้อหุ้นคืน และการประเมินมูลค่าที่ไม่แพง

มุมมองจาก CLSA Securities Japan และ Monex มองว่า แนวโน้มกำไรบริษัทที่ดี การปรับปรุงบรรษัทภิบาล รวมถึงการสนับสนุนครั้งใหม่ของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Warren Buffett เป็นตัวเร่งให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งทะยาน

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทในดัชนี Topix จะเพิ่มขึ้นประมาณ 6% ในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2024  

Takashi Hiroki หัวหน้านักกลยุทธ์ของ Monex โบรกเกอร์ออนไลน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ว่า แนวโน้มกำไรของบริษัทญี่ปุ่นดูดี มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวขาเข้าที่เพิ่มขึ้น ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ก็มีแนวน้มที่กำไรจะโตอีก 10% หรือมากกว่านั้นภายในสิ้นปีนี้

แม้จะแตะระดับสูงสุดในรอบ 33 ปี แต่นักวิเคราะห์มองว่า ราคาหุ้นญี่ปุ่นถือว่าไม่แพง เมื่อพิจารณาจาก P/BV หรืออัตราส่วนราคาตลาดของหุ้น หารกับมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นที่ 1.3 เท่า เทียบกับ ดัชนี S&P 500 ที่ 4 เท่า และ Stoxx Europe 600  ที่ 1.8 เท่า

การประเมินมูลค่าที่ถูกคือเหตุผลหลักที่ Nicholas Smith นักยุทธศาสตร์ของ CLSA คาดการณ์ว่า ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นอีก 10%

Bruce Kirk หัวหน้านักยุทธศาสตร์หุ้นของญี่ปุ่นของ Goldman Sachs Group ก็ Bullish ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเช่นกัน โดยมองว่า ตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์ของรัฐบาล ผู้กำกับดูแล และตลาดอยู่ในจุดที่เหมาะสม 

หลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงแรงเมื่อวันที่ 15 มี.ค. Topix เป็นดัชนีที่ทำผลตอบแทนได้มากสุดในตลาดหลัก โดย Topix บวกขึ้นมา 8.5% ส่วน S&P 500 +5.6% ส่วน MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้นมา 3.4% 

ที่มา: https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-16/asia-beating-japan-stocks-seen-rising-10-more-on-earnings-boost?sref=e4t2werz

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน