แจ้งเตือน

‘ทรัมป์ 100 วัน’ กับ 100 การเปลี่ยนแปลงที่โลกต้องตะลึง!

Finnomena
ทรัมป์ 100 วัน

โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังเข้าสู่วันที่ 100 ในตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของสหรัฐฯ ในวันที่ 30 เมษายนนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนรอบด้าน ทั้งจากนโยบายการค้าก้าวร้าว การปะทะกับพันธมิตร และท่าทีที่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินตลาดจะรับมือได้

นักลงทุนและธนาคารกลางทั่วโลกยังจับทิศไม่ถูก ว่านโยบายของเขาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร ในขณะที่ตลาดก็ยังพยายาม “ตีความ” ความตั้งใจของทรัมป์ที่เปลี่ยนแปลงแทบจะรายวัน

ต่อไปนี้คือ ‘100 สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 100 วันแรกของทรัมป์’ ทั้งเรื่องสำคัญและเรื่องเล็กน้อย

1 – ดัชนีดาวโจนส์ผันผวนหนัก ขึ้นลงตามข่าวสงครามการค้าโลกและมาตรการภาษีของทรัมป์

2 – จำนวนผู้อพยพข้ามพรมแดนสหรัฐฯ ลดลงเหลือราว 8,450 รายในเดือน ก.พ. 2025 ต่ำสุดในรอบกว่า 25 ปี

3 – โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ ขึ้นมาคุมวาระสาธารณสุขกลาง สั่งแบนสีผสมอาหารบางชนิดและเตรียมรายงานเรื่องออทิสติก

4 – แม้ทรัมป์พยายามเพิ่มการเนรเทศ แต่จำนวนคนที่ถูกส่งกลับประเทศลดลงเล็กน้อยจากยุคไบเดน

5 – ราคาไข่ยังพุ่งต่อเนื่อง ทะลุ 6.23 ดอลลาร์ต่อโหลในเดือนมีนาคม ท่ามกลางวิกฤตไข้หวัดนก

6 – ความสัมพันธ์กับแคนาดาแย่ลง หลังทรัมป์เก็บภาษีและพูดถึงการรวมแคนาดาเป็นรัฐที่ 51

7 – อ่าวเม็กซิโกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อ่าวอเมริกา” ในเอกสารของรัฐบาลกลาง

8 – รัฐบาลทรัมป์ยกเลิกโครงการ DEI ทั้งในภาครัฐ ทหาร และสถาบันที่รับเงินหรือพึ่งการรับรองจากรัฐบาล

9 – พรรครีพับลิกันแม้ชนะเลือกตั้งซ่อมในฟลอริดา แต่คะแนนห่างน้อยลงจนเริ่มกังวล

10 – ทรัมป์เปลี่ยนใจไม่แต่งตั้ง ส.ส. เอลีซ สเตฟานิก เป็นทูต UN เพราะกลัวเสียเก้าอี้ในสภา

11 – ถนน Black Lives Matter Plaza ในวอชิงตันถูกลบชื่อและทาสีใหม่ตามแนวทางรัฐบาลทรัมป์

12 – ผู้พิพากษาซูซาน ครอว์ฟอร์ดชนะศึกเลือกตั้งศาลสูงวิสคอนซิน แม้อีลอน มัสก์จะทุ่มเงินหนุนคู่แข่ง

13 – ทำเนียบขาวเปลี่ยนโฉมคณะสื่อมวลชน เพิ่มสื่อแนว MAGA เข้าร่วมแทนสำนักข่าวใหญ่

14 – สินค้าจีนถูกเก็บภาษีสูงถึง 145% ขณะที่จีนตอบโต้ด้วยภาษี 125% สงครามการค้าปะทุเต็มรูปแบบ

15 – แม้จะไม่มีสินค้าออกมา แต่นกเพนกวินและแมวน้ำในแอนตาร์กติกาก็โดนภาษี 10%

16 – นายพลชาร์ลส์ บราวน์ ถูกปลดจากประธานคณะเสนาธิการร่วม แทนที่โดยนายพลปลดเกษียณแดน “Razin” เคน

17 – เด็กหญิงสองคนเสียชีวิตจากโรคหัดในเท็กซัส เป็นการเสียชีวิตจากโรคนี้ครั้งแรกในรอบ 10 ปีในสหรัฐฯ

18 – คะแนนนิยมทรัมป์เฉลี่ยใน 3 เดือนแรกอยู่ที่ 45% สูงกว่าสมัยแรกเล็กน้อย แต่ยังต่ำกว่าผู้นำคนอื่น ๆ

19 – คะแนนนิยมพรรคเดโมแครตตกต่ำเหลือเพียง 27% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

20 – พรรครีพับลิกันได้คะแนนนิยม 39% ในโพลเดียวกัน

21 – ส.ว. คอรี บุ๊กเกอร์ พูดต่อเนื่องในสภา 25 ชั่วโมงโดยไม่เข้าห้องน้ำ ทำลายสถิติเดิม เพื่อประณามนโยบายทรัมป์

22 – พนักงานรัฐบาลกลางถูกไล่ออกเป็นจำนวนมาก พร้อมข้อเสนอให้ลาออกด้วยเงินชดเชย

23 – อีลอน มัสก์ รับตำแหน่งนำกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล (DOGE) ไล่พนักงานรัฐและเข้าถึงฐานข้อมูลพลเมือง

24 – วิเวก รามาสวามี คู่หูมัสก์ใน DOGE ผันตัวลงสมัครผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ

25 – กำไรเทสล่าร่วง 71% ในไตรมาสแรก ปี 2025 จากกระแสต้านแบรนด์และภาษีนำเข้ารถยนต์

26 – ทรัมป์ออกคำสั่งยุติสิทธิการเป็นพลเมืองโดยกำเนิด ประเด็นนี้กำลังถูกส่งขึ้นศาลสูง

27 – สมาชิกแก๊งหัวรุนแรงอย่าง Tren de Aragua และ MS-13 ถูกส่งกลับเรือนจำในเอลซัลวาดอร์หลายร้อยราย

28 – การเนรเทศผิดพลาดของ “คิลมาร์ อาเบรโก” กลายเป็นประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ศาลสั่งให้ส่งตัวเขากลับ

29 – นายกฯ อังกฤษเชิญทรัมป์เยือนสหราชอาณาจักรเป็นครั้งที่สองในฐานะประธานาธิบดี

30 – รองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ ไปสำรวจเกาะกรีนแลนด์ ตามแนวคิดซื้อเกาะของทรัมป์

31 – อเล็กซ์ โอเวชกิน ทำลายสถิติยิงประตูสูงสุด NHL ของเวย์น เกร็ตสกี้ โดยมีปูตินร่วมยินดี

32 – คดีของทรัมป์เกี่ยวกับการล้มผลเลือกตั้งและเอกสารลับ ถูกยกฟ้องโดยกระทรวงยุติธรรมชุดใหม่

33 – สภาคองเกรสอนุมัติให้ ส.ส. ที่มีลูกเล็กใช้ระบบ “จับคู่โหวต” เพื่อลดภาระการเดินทาง

34 – อัยการสูงสุดแพม บอนดี เตรียมขอใช้โทษประหารในคดีฆ่าผู้บริหาร United Healthcare

35 – มหาวิทยาลัยโคลัมเบียยอมรับข้อเรียกร้องหลังถูกขู่ตัดงบ 400 ล้านดอลลาร์ จากประเด็นการประท้วงต่อต้านยิว

36 – ฮาร์วาร์ดปฏิเสธข้อเรียกร้องจากทรัมป์ รัฐบาลจึงอายัดงบกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ และมหาวิทยาลัยตอบโต้ด้วยการฟ้องกลับ

37 – สำนักงานกฎหมายใหญ่ Paul, Weiss ยอมทำงานให้รัฐบาลและโครงการของทรัมป์มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเลี่ยงบทลงโทษ

38 – บริษัทกฎหมายที่เคยทำงานให้คลินตันอย่าง Perkins Coie ปฏิเสธ และกำลังฟ้องร้องรัฐบาลทรัมป์

39 – กฎคุมมลพิษจากถ่านหินถูกผ่อนคลาย ตามนโยบายเพิ่มการผลิตพลังงานภายในประเทศ

40 – พื้นที่ป่าแห่งชาติและที่ดินในเนวาดา-นิวเม็กซิโกเปิดให้ทำเหมืองแร่หายาก ย้อนนโยบายยุคไบเดน

41 – เขตสงวนมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ฮาวายเปิดให้จับปลาเชิงพาณิชย์ หลังถูกปิดโดยบุชและโอบามา

42 – สหรัฐฯ เริ่มเจรจากับอิหร่านในโอมานครั้งแรกในรอบสิบปี เรื่องโครงการนิวเคลียร์

43 – นักเศรษฐศาสตร์ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจถดถอยขึ้นเป็น 47% ในปีนี้ หลังเปิดศึกการค้า

44 – ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงจาก 71.7% เหลือ 50.8% ภายในสามเดือน

45 – ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงต่ำสุดในรอบ 3 เดือนจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

46 – ชาวอเมริกันรู้สึก “ไม่พอใจ” กับทิศทางประเทศน้อยลงเล็กน้อย หลังทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง

47 – หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID) ถูกยุบและย้ายไปอยู่ภายใต้กระทรวงต่างประเทศ

48 – กระทรวงศึกษาธิการถูกลดบทบาทลงครึ่งหนึ่ง พนักงานถูกปลดจำนวนมาก

49 – แผนหยุดยิงในกาซาชะงัก อิสราเอลตั้ง “เขตความมั่นคง” ใหม่ ทำให้ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนต้องอพยพ

50 – ผู้นำ NATO ชี้ว่าคำเรียกร้องของทรัมป์ทำให้ยุโรปเพิ่มงบกลาโหมอย่างมหาศาล

51 – Nvidia ประกาศแผนสร้างเซิร์ฟเวอร์ AI มูลค่าสูงสุด 500,000 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐฯ ภายใน 4 ปี ถือเป็นผลลัพธ์เชิงบวกจากนโยบายภาษีของทรัมป์ที่ดึงการผลิตกลับอเมริกา

52 – Novartis บริษัทยาในสวิตเซอร์แลนด์ เตรียมสร้างโรงงานในสหรัฐฯ ตามเป้าหมายของนโยบายภาษีทรัมป์

53 – จีนระงับการส่งออกแร่หายากและแม่เหล็กซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมทันสมัย ตอบโต้นโยบายภาษีของทรัมป์

54 – ข้อจำกัดการไหลของน้ำจากฝักบัวถูกผ่อนคลายตามคำสั่งประธานาธิบดี แก้ปัญหาที่ทรัมป์ไม่พอใจมานาน

55 – ส.ส.รีพับลิกันจากแคลิฟอร์เนียเสนอชื่อทรัมป์ชิงโนเบลสันติภาพจากบทบาทในตะวันออกกลาง

56 – ยูทาห์เป็นรัฐแรกที่สั่งห้ามฟลูออไรด์ในน้ำประปา แม้ถูกต่อต้านจากแพทย์ แต่ได้รับการสนับสนุนจาก รมต.สาธารณสุข RFK Jr.

57 – การเปิดจอง Nintendo Switch 2 ถูกเลื่อนหลังมีประกาศเก็บภาษีจากทรัมป์ สินค้าทำในเวียดนาม

58 – Amazon เพิ่มรายการ The Apprentice รายการเรียลลิตี้ที่ทรัมป์เคยเป็นพิธีกร ลงใน Prime Video

59 – เว็บไซต์รายงานว่าชื่อเด็กยอดนิยมปี 2025 คือ “Kai” ซึ่งตรงกับชื่อหลานคนโตของทรัมป์

60 – จำนวนพายุทอร์นาโดในสหรัฐฯ พุ่งเกือบ 2 เท่าของค่าเฉลี่ย คร่าชีวิตกว่า 30 คน สร้างความเสียหายหลายพันล้านดอลลาร์

61 – นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าสหรัฐฯ ลดลง 4.4% ช่วงต้นปี 2025 และลดลงเกือบ 10% เทียบปีต่อปีในเดือนมีนาคม

62 – นักแสดงตลก Amber Ruffin ถูกยกเลิกไม่ให้แสดงที่งาน White House Correspondents’ Dinner เพื่อปรับภาพลักษณ์งาน

63 – Amber Ruffin ได้รับเชิญให้แสดงที่งาน PEN America Gala ในนิวยอร์กแทน

64 – ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ร่วมชม Super Bowl โดยปีนี้อีเกิลส์ชนะชีฟส์ 40-22

65 – ทรัมป์เป็นผู้นำสหรัฐฯ คนแรกที่ไปชม Daytona 500 สองครั้ง ต่างจากอดีตผู้นำคนอื่น

66 – ทรัมป์เข้าชมการแข่งขันมวยปล้ำ NCAA ซึ่งเขาเคยเข้าชมมาก่อนเมื่อปี 2023

67 – เขาร่วมชมการแข่งขัน UFC ทั้งที่นิวยอร์กและไมอามี ซึ่งถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เข้าร่วม

68 – ผู้ว่าฯ จากพรรคเดโมแครตเริ่มจับมือทำงานกับทรัมป์ ซึ่งแตกต่างจากวาระแรกของเขา

69 – แต่บางคนจากพรรคเดโมแครตก็ยังคงวิจารณ์ทรัมป์ โดยเฉพาะผู้ที่อาจลงสมัครประธานาธิบดีปี 2028

70 – ทรัมป์โชว์บัตร “Trump Card” วีซ่าราคา 5 ล้านดอลลาร์ ที่ให้สิทธิ์ผู้อพยพซื้อสถานะถูกกฎหมายในสหรัฐฯ

71 – ทรัมป์ออกรอบกอล์ฟแล้วอย่างน้อย 24 วันนับตั้งแต่รับตำแหน่ง เทียบกับไบเดนที่เล่นแค่ครั้งเดียวใน 100 วันแรก

72 – การแข่งขัน LIV Golf สนับสนุนโดยซาอุฯ จัดที่สนาม Trump National Doral โดยทรัมป์และครอบครัวร่วมงาน

73 – Mar-a-Lago ในปาล์มบีชกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจอีกครั้ง ทรัมป์ขึ้นค่าธรรมเนียมสมาชิกเป็น 1 ล้านดอลลาร์

74 – ทรัมป์ลงนามห้ามนักกีฬาข้ามเพศเข้าร่วมกีฬาหญิง โดยมีเด็กผู้หญิงในชุดกีฬาอยู่รอบตัว

75 – กฎหมายภาษี Smoot-Hawley จากยุคเศรษฐกิจตกต่ำกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ท่ามกลางการเตือนจากนักการเมือง GOP

76 – ทรัมป์ออกคำสั่งสนับสนุนคริปโต พร้อมจัดงานกับผู้นำวงการ แม้ Bitcoin จะร่วง 14% ตั้งแต่เขารับตำแหน่ง

77 – ราคาทองคำทะลุ 3,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นักลงทุนแห่ซื้อในช่วงตลาดหุ้นผันผวน

78 – ทรัมป์เปิดตัว meme coin ก่อนเข้ารับตำแหน่ง แม้มูลค่าจะตก แต่ยังมีมูลค่าตลาดถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์

79 – มีข้อเสนอให้นำใบหน้าของทรัมป์ขึ้นภูเขารัชมอร์ และใส่รูปเขาบนธนบัตร 250 ดอลลาร์

80 – Fort Bragg ถูกเปลี่ยนชื่อกลับ หลังถูกเปลี่ยนเป็น Fort Liberty ในยุคไบเดน

81 – เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทั่วสหรัฐฯ เสนอให้ย้ายหน่วยงานรัฐบาลกลางจากวอชิงตันไปยังรัฐของตน

82 – รัฐบาลรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากหลายหน่วยงาน แม้มีเสียงกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว

83 – ทรัมป์ปลดบอร์ดศูนย์ศิลปะ JFK และแต่งตั้งตัวเองเป็นประธาน พร้อมเปลี่ยนไฟหน้าอาคารเป็นสีธงชาติ

84 – รัฐต่าง ๆ ถูกห้ามใช้เงิน Medicaid สำหรับการดูแลเด็กข้ามเพศ

85 – หนังสือต้องห้ามถูกถอดจากห้องสมุดของโรงเรียนนายเรือ แต่ยังคงเหลือ “Mein Kampf” บนชั้น

86 – ทรัมป์สั่งรัฐบาลเลิกซื้อหลอดกระดาษ และนำหลอดพลาสติกกลับมาใช้อีกครั้ง

87 – การดำเนินคดีตามกฎหมายต่อต้านสินบนระหว่างประเทศถูกระงับ โดยทรัมป์อ้างว่าทำให้บริษัทอเมริกันเสียเปรียบ

88 – งบสนับสนุน Voice of America ถูกตัด ทรัมป์กล่าวหาว่าเป็นกระบอกเสียงซ้ายจัด

89 – TikTok ยังไม่ถูกแบน แต่กำลังอยู่ในกระบวนการเจรจา ขัดแย้งกับสงครามการค้า

90 – สำนัก CFPB ถูกสั่งปิด แต่ศาลสั่งให้รัฐบาลหยุดการรื้อหน่วยงานดังกล่าว

91 – ทรัมป์กลับมาโพสต์ประกาศนโยบายผ่าน Truth Social แทน Twitter

92 – ทรัมป์ให้สัมภาษณ์สื่ออย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามกับไบเดนที่ค่อนข้างเงียบ

93 – ความสัมพันธ์การทูปเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทรัมป์ต่อว่า Zelenskyy ต่อหน้าและไล่ออกจากทำเนียบขาว

94 – การเจรจาสันติภาพยูเครน-รัสเซียอาจใกล้เกิดขึ้น แม้ยังไม่สำเร็จตามที่ทรัมป์เคยสัญญา

95 – คดีความต่อนโยบายของทรัมป์พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ จากหลายกลุ่มทั่วประเทศ

96 – Bernie Sanders วัย 83 ขึ้นเวที Coachella ร่วมกับ AOC เดินสายรณรงค์ต่อต้านทุนผูกขาด

97 – อดีตประธานาธิบดีเดโมแครต 3 คน ออกมาวิจารณ์ทรัมป์ โดยเฉพาะไบเดนที่กล่าวสุนทรพจน์ในชิคาโก

98 – ทรัมป์กลายเป็นประธานาธิบดีคนที่สองในประวัติศาสตร์ที่กลับมาชนะเลือกตั้งหลังพ่ายแพ้

99 – ทำเนียบขาวติดตั้งเสาธงสูง 100 ฟุตที่สนามด้านหน้าและหลังตามคำสั่งทรัมป์

100 – ทรัมป์แย้มอาจลงสมัครสมัยที่ 3 แม้รัฐธรรมนูญห้ามไว้ พร้อมขายหมวก “Trump 2028” ในราคา 50 ดอลลาร์


อ้างอิง: USA TODAY

Huawei ท้าดวล Nvidia! ซุ่มพัฒนาชิปใหม่ หวังครองตลาดท่ามกลางสงคราม AI

Finnomena
Huawei Ascend 910D

ท่ามกลางความตึงเครียดของสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ Huawei ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจีน กำลังเดินหน้าเปิดศึกกับ Nvidia ด้วยการพัฒนาชิป AI รุ่นล่าสุด “Ascend 910D” ที่มีเป้าหมายเพื่อเทียบเท่าหรือเหนือกว่าชิป H100 ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสูงสุดของ Nvidia ในการประมวลผล AI

Ascend 910D ความหวังใหม่ของจีน

Huawei ได้เริ่มพูดคุยกับบริษัทเทคโนโลยีในจีน เพื่อทดสอบสมรรถนะของ Ascend 910D โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเร็วและแรงกว่าชิป H100 ของ Nvidia ทั้งนี้ คาดว่าจะได้รับตัวอย่างชิปรุ่นนี้มาใช้งานจริงภายในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 

ขณะเดียวกัน ชิปรุ่นก่อนหน้าอย่าง Ascend 910C ก็เตรียมเริ่ม “จัดส่งให้ลูกค้า” ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกภายในเดือนหน้า โดยใช้สำหรับการประมวลผลโมเดล AI ที่ผ่านการฝึกมาแล้ว (Inferencing)

ที่ผ่านมา Ascend 910C ถูกใช้งานควบคู่กับ H800 (ชิปรุ่นลดสเปกของ H100) ในการฝึกโมเดล DeepSeek R1 ซึ่งผลลัพธ์ชี้ว่า 910C ทำงานได้ราว 60% ของ H100 แม้จะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ล้าหลังกว่า (7nm เทียบกับ 4nm ของ Nvidia)

Huawei เร่งสปีดจี้ติด Nvidia

แม้ปัจจุบัน Nvidia ยังครองตำแหน่งเบอร์หนึ่งในตลาดชิป AI ด้วยชิประดับท็อปอย่าง B200 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Blackwell และยังไม่มีคู่แข่งเทียบเคียงได้ แต่ Huawei ก็กำลังเดินเกมใหญ่เพื่อสร้าง “ระบบนิเวศ AI ของจีน” ให้ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบชิป (Huawei) การผลิต (SMIC) ไปจนถึงหน่วยความจำ (CXMT) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ

ฝั่งสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยการห้ามขายชิปอย่าง H100 และ B200 ให้กับจีน ส่งผลให้ Nvidia ต้องออกแบบชิปรุ่นพิเศษ H800 และ A800 ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าสำหรับใช้ในจีนโดยเฉพาะ

ศึกชิป AI จีนจะไล่ทันหรือไม่?

แม้จีนจะยังตามหลังสหรัฐฯ ราว 1 เจเนอเรชันในด้านเทคโนโลยีการผลิตชิป (กำลังเริ่มใช้เทคโนโลยี 5nm ขณะที่สหรัฐฯ มุ่งสู่ระดับ 2nm) แต่ก็มีความพยายามอย่างจริงจังในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง ทั้งการออกแบบ การผลิต และหน่วยความจำ รวมถึงการถือครอง “แต้มต่อเชิงยุทธศาสตร์” อย่างแร่หายาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิปขั้นสูง

รายงานจากศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติ (CSIS) ระบุว่า จีนอาจสะสมหน่วยความจำ HBM สำหรับใช้ล่วงหน้าไว้มากกว่าหนึ่งปี ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่า Huawei ใช้เครือข่ายบริษัทบังหน้าในการหลบเลี่ยงมาตรการควบคุมจากสหรัฐฯ เพื่อผลิตชิป Ascend 910C ได้สำเร็จ

Huawei กำลังเดินเกมท้าชน Nvidia ด้วยชิปรุ่นใหม่อย่าง Ascend 910D ซึ่งแม้ยังไม่สามารถเทียบเท่ารุ่นท็อปอย่าง H200 หรือ B200 ได้ แต่ก็เริ่มเข้าใกล้ H100 มากขึ้นเรื่อย ๆ

ในระยะสั้น Nvidia ยังครองความได้เปรียบทั้งด้านเทคโนโลยีและระบบซอฟต์แวร์ที่ครบเครื่องกว่า แต่หาก Huawei เดินหน้าได้ตามแผน จีนอาจก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมชิป AI ระดับโลก และนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ “ศึกเทคโนโลยี” ที่ดุเดือดยิ่งกว่าสงครามการค้าก่อนหน้านี้


อ้างอิง: Investing.com, The Economic Times

ลงทุนหุ้น Pop Mart บริษัทกล่องสุ่ม Art Toys โตเร็วสุดในจีน

Definit
รีวิวหุ้น pop mart

สรุปหุ้น Pop Mart (9992.HK) ที่สามารถลงทุนผ่าน DR ในชื่อย่อ POPMART80 มาทำความรู้จักจุดเริ่มต้นของธุรกิจ Art Toys สัญชาติจีน รายได้และกำไรดีไหม แนวโน้มการเติบโตเป็นอย่างไร น่าลงทุนหรือไม่? วิเคราะห์ผ่านกลยุทธ์ Definit Global Select (DGS)

รู้จักธุรกิจ Pop Mart 

Pop Mart International Group Limited เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้า Art Toys สัญชาติจีน ผู้จุดกระแสกล่องสุ่มให้เป็นปรากฏการณ์ไปทั่วโลก ด้วยจุดเด่นด้าน Branding และ Customer Engagement ทำให้ลูกค้าของ Pop Mart มี Loyalty ต่อแบรนด์ที่สูงมาก จากการมีคาแรกเตอร์ชื่อดังต่าง ๆ อย่าง Molly, LABUBU, Crybaby, DIMOO และ Skullpanda เป็นต้น

ปัจจุบันสินค้าของ Pop Mart วางจำหน่ายทั้งในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและยุโรป รวมกว่า 23 ประเทศ ผ่านช่องทางการขายไม่ว่าจะเป็นร้านแฟลกชิป (Flagship Store), ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)

จุดเด่นของ Pop Mart คือ สินค้าที่แตกต่างจากของเล่นทั่วไป เพราะมีดีไซน์เฉพาะตัว ผลิตจำนวนจำกัด และมักเกี่ยวข้องกับตัวละครยอดฮิตหรือศิลปินชื่อดัง เน้นเจาะกลุ่มนักสะสม ทำให้บริษัทก้าวไปไกลกว่าการเป็นเพียงบริษัทของเล่นเด็ก แต่กำลังขยายไปยังสินค้าไลฟ์สไตล์ โดยใช้ Art Toys เป็นหนึ่งในองค์ประกอบ

– อ่านเพิ่มเติม เปิดประวัติ Pop Mart บริษัทกล่องสุ่มของเล่นสุดฮิต

ทั้งนี้ Pop Mart เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ภายใต้ Ticker: 9992 และสามารถลงทุนได้ง่ายขึ้นผ่าน DR ในชื่อ POPMART80 ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

ผลประกอบการของ Pop Mart

Source: Pop Mart Investor-Relations, Finnomena Stock as of 23/04/2025

รายได้และกำไรของ Pop Mart เติบโตโดดเด่นมากตอนปี 2019 ก่อนจะชะลอความร้อนแรงลงในปี 2021-2022 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลจีนประกาศมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดจากนโยบาย Zero-COVID เพราะเวลานั้น Pop Mart พึ่งพารายได้จากจีนแผ่นดินใหญ่มากถึง 90% ประกอบกับบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายและการตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

แต่บริษัทก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างแข็งแกร่งในเวลาปีเดียว โดยจะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2019-2023 รายได้ของบริษัทเติบโตเฉลี่ย 36% ต่อปี สอดคล้องกับกำไรสุทธิที่ขยายตัวมาต่อเนื่อง จากปี 2019 ที่ 451 ล้านหยวน เป็น 1.08 พันล้านหยวนในปี 2023 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ย 24% ต่อปี

Earnings Upgrade หุ้น Pop Mart

Earnings Upgrade หุ้น Pop Mart

Source: Definit, Finnomena, Bloomberg as of 19/03/2025

การวิเคราะห์ DR หุ้นนอก ผ่านกลยุทธ์การลงทุน Definit Global Select (DGS) โดยพิจารณา Earnings-Momentum (EMO) Framework ซึ่งผสมผสานระหว่างการปรับเพิ่มประมาณการกำไรและโมเมนตัมของราคาหุ้น เพื่อคัดเลือกหุ้นต่างประเทศคุณภาพสูง 

พบว่า Pop Mart ถูกปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2024 ที่ผ่านมา จากกลยุทธ์ของบริษัทที่เน้นจับมือกับศิลปินหลากหลาย เพื่อผลิต Art Toy Collections ซึ่งมีความแตกต่างเฉพาะ (Unique) และสามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้ นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหันมาสนใจซื้อสินค้าสะสม จนเกิดเป็นกระแสความนิยมในวงกว้าง

และถึงแม้ว่าการบริโภคภายในประเทศจีนจะยังซบเซา แต่บริษัทได้มีการขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศอื่น ๆ ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรป นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหันมาสนใจซื้อสินค้าของ Pop Mart สะสม จนเกิดเป็นกระแสความนิยมในวงกว้าง 

นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 บริษัทได้ออกคอลเลกชัน ‘Pop Mart – Nezha Collection’ จากภาพยนตร์ Nezha 2 ซึ่งเป็นแนวแอคชั่นแฟนตาซีที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศจีน ทำรายได้ Box Office สูงกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้คอลเลกชันดังกล่าวกล่องสุ่ม Nezha ของ Pop Mart มีกระแสตอบรับที่ดีมาก 

หนุนให้บริษัทสามารถสร้างกำไรได้สูงขึ้น เป็นสาเหตุที่นักวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรของ Pop Mart เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 ตามมาด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นกว่า 3 เท่า นับตั้งเดือนกรกฎาคม 2024 จากราคาประมาณ 38 HKD มาอยู่ที่ 177 HKD ในปัจจุบัน (as of 23/04/2025)

โอกาสลงทุนหุ้น Pop Mart ผ่าน Definit Global Select กลยุทธ์ลงทุน DR คัดหุ้นนอกคุณภาพ จัดพอร์ตให้อัตโนมัติ ไม่ต้องจับจังหวะลงทุนเอง

สนใจลงทุน คลิกเลย

 Source: Definit, Finnomena, Bloomberg as of 19/03/2025

Definit Global Select กลยุทธ์ลงทุนหุ้นนอกคุณภาพ พัฒนาขึ้นโดยทีมงานจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (Definit By Finnomena) ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อจัดการพอร์ต DR แบบอัตโนมัติในรูปแบบ Managed Portfolio ได้ทำการคัดเลือกหุ้น Pop Mart ผ่าน DR คือ POPMART80 เข้ามาในพอร์ต DGS ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และเป็นหนึ่งในหุ้นที่ Outperform ทำผลตอบแทนโดดเด่น

– อ่านเพิ่มเติม ทำความรู้จัก Definit Global Select ปรับเกมรุก ปลุกกลยุทธ์สู่ DR หุ้นนอก

นักลงทุนที่สนใจสามารถเปิดบัญชีลงทุน Definit Global Select กับ บล.หยวนต้า คลิกที่นี่เลย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนของท่านได้แล้ววันนี้

DGS Banner


คำเตือน: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสัญญารับฝาก DR ก่อนการลงทุน | การลงทุนผ่าน DR มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา DR เอง | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-9933 และทาง Email support@definitinvestment.com

ส่องการลงทุนหุ้นกลุ่ม Defence ของโลก

MacroView
ส่องการลงทุนหุ้นกลุ่ม Defence ของโลก

หนึ่งในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากนโยบาย America First ของโดนัลด์ ทรัมป์ แบบเต็ม ๆ ได้แก่ หุ้นกลุ่มการทหาร (Defence) ซึ่งถือว่ามีราคาที่สูงขึ้นอย่างค่อนข้างร้อนแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่รัสเซียบุกยึดครองยูเครน ความขัดแย้งในฉนวนกาซ่า และล่าสุด ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าสหรัฐจะไม่เข้ามาช่วยเหลือด้านการทหารต่อสมาชิกนาโต้ที่มีการใช้จ่ายด้านกลาโหมน้อยจนเกินไป

ในมุมมองของทรัมป์ ประเมินว่างบประมาณด้านความมั่นคงของประเทศต่าง ๆ ควรจะมีอย่างน้อย 5% ของจีดีพี ด้วยคำขู่ของทรัมป์นี้ ทั้งยุโรปและอังกฤษต่างเพิ่มงบประมาณด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และระบบต่างๆที่ใช้สนับสนุนเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ราคาหุ้นชั้นนำในกลุ่มนี้ อาทิ Rheinmetall, Thales, BAE Systems, Leonard และ Saab พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปีที่แล้ว

โดยนักลงทุนคาดการณ์งบประมาณของภาครัฐด้านการทหารที่ตั้งไว้จะนำไปสู่คำสั่งซื้ออาวุธใหม่ ๆ รวมถึงมีการอัปเกรดรุ่นอาวุธให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยเมื่อได้มีการลงนามสัญญาการจัดซื้ออาวุธ ก็จะเกิดโมเมนตัมต่อราคาหุ้นนั้น อย่างไรก็ดี สัญญาระยะยาวก็ทำให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ที่ตกรุ่นไป รวมถึงสัญญาที่ลงนามไว้อาจมีการยกเลิกเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ที่สำคัญบริษัทเหล่านี้ จะได้รับผลกระทบจากนโยบาย Tariff ของทรัมป์ กระนั้นก็ดี นักลงทุนก็มีทางเลือกมากมายในตราสารด้านการลงทุนในตลาด ซึ่งสามารถลงทุนด้วยมูลค่ามากหรือน้อยได้ตามความชอบใจ

สำหรับหุ้น Defence ใน FTSE 100 ที่น่าสนใจ ได้แก่ BAE, Babcock ธุรกิจเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของอังกฤษ และ Rolls-Royce ในขณะที่หุ้นที่เล็กลงมา ได้แก่ Qinetiq ผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย, Chemring ทำด้านวิศวกรรมการทหาร รวมถึงกลุ่มเทคโนโลยีด้านกลาโหม อย่าง Cohort, Filtronic และ Concurrent

โดยบทความนี้ ขอแนะนำหุ้น Concurrent Technology (CNC)

ธุรกิจของ CNC คือการสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีความทนทานต่อการใช้งานเพื่อใช้ในเครื่องบินรบและเรือรบ โดยส่วนหลักเป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้เป็นระบบเรดาร์และการสื่อสารซึ่งทนทานต่อความร้อนและการสั่นไหว

โดยการเพิ่มขึ้นของงบกลาโหมได้ส่งผลให้รายได้ของ CNC ในปี 2024 เพิ่มขึ้น 27% สู่ระดับ 40.3 ล้านปอนด์ และ Ebitda เพิ่ม 30% สู่ระดับ 7.8 ล้านปอนด์ อีกทั้งยังได้รับดีลถึง 10 รายการจากบริษัท contractor รายใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งถือว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัท โดยจะส่งผลดีต่อยอดขายในปี 2027 เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี นโยบาย Tariff ของทรัมป์ต่อยุโรปถือเป็นความเสี่ยง ซึ่ง CNC มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐราว 45% และจากยุโรป 20% อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายด้านกลาโหมของเยอรมันจะนำมาซึ่งรายได้ในตลาดนี้เพื่อทดแทนรายได้จากฝั่งสหรัฐที่น่าจะลดลง

ด้านผู้บริหารของบริษัท ได้กล่าวว่ารายได้ 100 ล้านปอนด์ เป็นเป้าหมายของในอนาคตของบริษัท ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสัญญาการจัดซื้ออาวุธขนาดใหญ่ได้มีการส่งมอบ โดยหุ้น CNC ซื้อขายกันที่ forward P/E ที่ 25 เท่า ซึ่งดูเหมือนจะแพง ทว่าด้วยความแข็งแกร่งของงบการเงินบริษัท ก็ยังถือว่าไม่แพงจนเวอร์มากเกินไป แม้ว่า US Tariff จะเป็นความเสี่ยงในตอนนี้ ทว่าในระยะยาว การเพิ่มขึ้นของงบการทหารของยุโรปถือเป็นปัจจัยเชิงบวกด้าน Macro ในระยะยาว แถมด้วยความแข็งแกร่งของงบการเงินจะช่วยต้านทานความไม่แน่นอนจากทรัมป์ได้อีกด้วย

หันมาพิจารณา ETF ด้าน Defence กันบ้าง ที่เป็น Big Name ในตอนนี้ เห็นจะไม่พ้น 2 ตัวนี้ ได้แก่ WisdomTree Europe Defence UCITS ETF – EUR Acc (WDEF) ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งได้กวาด AUM ไปได้ $588 ล้านแล้ว และ VanEck Defense UCITS ETF (DFNS) ที่มียอด AUM ที่ $1.9 พันล้าน โดยเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียว กวาดไปถึง $1 พันล้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของกลุ่มด้านการทหารในโลกที่มี Geopolitics ที่รุนแรงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เริ่มจาก WDEF ที่ลงทุนตามดัชนี WisdomTree Defence UCITS Index ลงทุนหุ้นในกลุ่ม Defence ของยุโรป ขั้นต่ำ 20 บริษัท โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2025 น้ำหนักการลงทุนในประเทศฝรั่งเศส, อังกฤษ, เยอรมัน และอิตาลี ที่ 28%, 24%, 18% และ 13% ตามลำดับ โดยเน้นกลุ่ม Industrial 99% ด้านหุ้น Top 5 ที่ถือ ได้แก่ Rheinmetall, Thales, BAE Systems, Leonard และ Saab ทั้งหมดราว 60% ของพอร์ตรวม โดย ETF นี้ มีค่าใช้จ่ายรวม 0.4%

ด้าน DFNS ของ VanEck ลงทุนในบริษัทด้านการทหารชั้นนำ บริษัท cybersecurity ขนาดใหญ่ และผู้ให้บริการด้านการป้องกันทางทหาร ตามดัชนี MarketVector™ Global Defense Industry Index โดยเริ่มตั้งกอง ETF ในเดือนมกราคม 2023

โดยนำ้หนักการลงทุนในประเทศสหรัฐ, ฝรั่งเศส, อิตาลี, และ เกาหลีใต้ ที่ 53%, 11%, 8% และ 7% ตามลำดับ เน้นกลุ่ม Industrial 90% และ Information Technology 9% ด้านหุ้น Top 5 ที่ถือ ได้แก่ RTX Corp, Thales, Leonard, Palentir และ Leidos Holdings ทั้งหมดราว 40% ของพอร์ตรวม โดย ETF นี้ มี P/E ที่ 26.78 เท่า ถือหุ้นทั้งหมด 28 ตัว ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2025

สำหรับอัตราผลตอบแทนของ DFNS ในปี 2024 อยู่ที่ 44.17% และ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2025 มีผลตอบแทนตั้งแต่ตั้งกองที่ 48.06%

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com

สรุปกองทุนแนะนำ: โอกาสลงทุนครั้งสำคัญ Trump เดินหน้าผลักดันคริปโต [อัปเดต 29 เม.ย. 2025]

Finnomena Funds
สรุปกองทุนแนะนำ: โอกาสลงทุนครั้งสำคัญ Trump เดินหน้าผลักดันคริปโต

Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ข่าวร้ายที่สุดผ่านเราไปแล้ว ในขณะที่ Trump มีท่าทีอ่อนลงชัดเจน พร้อมเคลื่อนไหวผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี่ 

Highlight

 

สรุปกองทุนแนะนำ: โอกาสลงทุนครั้งสำคัญ Trump เดินหน้าผลักดันคริปโต

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสำคัญทั่วโลกต่างกลับมาปรับตัวขึ้นแล้ว นำโดยหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) เพิ่มขึ้น 7.12% WoW หุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) เพิ่มขึ้น 2.53% WoW หุ้นยุโรป (Euro Stoxx 600) เพิ่มขึ้น 2.51% WoW หุ้นจีน H-Shares เพิ่มขึ้น 1.63% WoW รวมถึงราคา Bitcoin ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน 

หลังจากที่ Donald Trump เลื่อนการขึ้นภาษีไป 90 วัน พร้อมหันมาเจรจา Make Deal ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และล่าสุดยังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าสหรัฐฯ กําลังอยู่ระหว่างการเจรจากับจีน โดยคาดว่าจะมีข้อตกลงที่เป็นธรรมต่อกัน ส่งผลให้นักลงทุนคลายกังวลต่อความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศ

กลยุทธ์การลงทุนของ Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Blockchain และ Crypto ตลอดจนหุ้นของประเทศที่จะได้รับประโยชน์จากธีมการเจรจา Trade Deal โดยสรุปมาให้ดังนี้ 


FundTalk Call “ได้เวลาย่อซื้อตอนตลาดปรับฐาน”

FundTalk Call “ได้เวลาย่อซื้อตอนตลาดปรับฐาน”

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนหาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

1.) KT-BLOCKCHAIN-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้น Blockchain และ Crypto พร้อมรับประโยชน์จากนโยบายของ Trump ที่เริ่มเคลื่อนไหว ปรับปรุงกฎหมายการเสียภาษีจากการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัล และตั้งประธาน SEC คนใหม่ ซึ่งเป็นคนที่มีแนวคิด Business-Friendly แสดงจุดยืนสนับสนุนคริปโตเคอร์เรนซีอย่างชัดเจน

2.) TISCOAI (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้น AI และ Big Data โดยลงทุนครอบคลุมธีม AI กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งจะมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต จากการที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุค Agentic AI รวมทั้งเป็นจังหวะเข้าเก็บสะสมในช่วงเวลาที่ Valuation กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง

3.) MEGA10CHINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่ 10 ตัว ได้รับประโยชน์จากกระแส AI Boom ในจีน และยังมีแรงหนุนให้สร้างโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง หลังช่วงที่ผ่านมาราคาปรับตัวลดลงมาจนอยู่ในระดับที่น่าสนใจเข้าซื้อ โดยบรรยากาสการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เริ่มลดความตึงเครียดลงแล้ว 


Mr.Messenger Call “จังหวะลงทุนในโมเมนตัมขาขึ้น”

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

1.) KT-BLOCKCHAIN-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้น Blockchain และ Crypto ซึ่งกลายสินทรัพย์เสี่ยงที่ใช้เป็นตัวแทนของหุ้นสหรัฐฯ พร้อมกับมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง หลังจากที่ Bitcoin ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน MACD ตัดขึ้นเหนือ Signal line บ่งชี้ถึง Buy signal ขณะที่ RSI เกิด Bullish divergence บ่งบอกว่ามีโอกาสที่จะเกิดการกลับตัวเป็นขาขึ้นได้

2.) B-BHARATA / TISCOINA-A และ PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง พร้อมกับหุ้นเวียดนามที่มีศักยภาพสูงในอนาคต ถือเป็นหุ้นเอเชียในธีม Trade Deal ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดหากการเจรจาทางการค้าราบรื่น เตรียมรับกับ Fund Flow ไหลเข้าจำนวนมาก

3.) ABGFIX-A และ SCBFST (ความเสี่ยงระดับ 4)

กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ สำหรับเป็น Risk Averse เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาดผันผวน พร้อมรับโอกาสการเก็งกำไรค่าเงิน USD/THB ที่มีแนวโน้มยืนแข็งค่าเหนือระดับ 34 บาท ได้ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า


MEVT Call “เปิดโหมดเน้นสะสมเติบโตระยะยาว”

MEVT Call “เปิดโหมดเน้นสะสมเติบโตระยะยาว”

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical 

1.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเวียดนามศักยภาพสูง เป็นตลาดที่ถูกและดี พร้อมด้วย Sentiment จากการปรับโครงสร้างระบบราชการ ลดจำนวนบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ เวียดนามยังมีปัจจัยหนุนในการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีนี้

2.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง เป็นตลาดหุ้นที่สามารถเก็บสะสมได้ในระยะยาว หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพเติบโตสูง และประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกปรับเพิ่มขึ้น

3.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 7)

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยเข้าซื้อหุ้นเติบโตในจังหวะที่ราคาไม่แพง ทำให้กองทุนมีความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้น Growth อื่น ๆ 

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

โปสเตอร์ 2 ใบกับข้อคิดในวิกฤติหุ้น

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
โปสเตอร์ 2 ใบกับข้อคิดในวิกฤติหุ้น
ผมเพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวที่ลอนดอนและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งก็เป็นสถานที่ที่ผมไปมาหลายครั้ง ส่วนใหญ่ก็ไปที่เดิม ๆ ซึ่งก็มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง อังกฤษเองนั้นก็เป็นประเทศและสังคมที่เปลี่ยนแปลงน้อยเพราะเศรษฐกิจของอังกฤษค่อนข้างอิ่มตัวมานานแล้ว สิ่งที่น่าสนใจในอังกฤษก็คือ “ประวัติศาสตร์” ซึ่งบังเอิญเป็นสิ่งที่ผมชอบ ดังนั้นผมก็มักจะไปดูพิพิธภัณฑ์และของเก่า รวมถึงตลาดขายของเก่า และคราวนี้ผมก็ได้เห็นและซื้อโปสเตอร์ “เก่า” ที่เขาเอามาทำเป็นของที่ระลึก 2 ใบ เพราะข้อความในโปสเตอร์นั้นให้ข้อคิดเตือนใจที่ผมคิดว่าตรงกับสถานการณ์ของตลาดหุ้นในช่วงนี้

โปสเตอร์ใบแรกก็คือ โปสเตอร์เก่าที่ “ดังที่สุดตลอดกาล” ในอังกฤษ และก็น่าจะดังมากในอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติซับไพร์มปี 2009 ในตลาดหุ้นวอลสตรีท ที่มีการพูดถึงข้อความที่เขียนอยู่ในโปสเตอร์ว่า “Keep Calm and Carry On” ซึ่งมีความหมายว่า “ใจเย็น ๆ และ สู้ต่อไป”

หรือพูดง่าย ๆ เวลาเกิดปัญหาใหญ่ระดับ “วิกฤติ” จะต้องใจเย็น มีสติ และก็สู้ต่อไป อย่าตกใจและยอมแพ้ แล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้น เฉกเช่นที่อังกฤษในช่วงปี 1939 ที่เกิดเหตุการณ์วิกฤติ เกิดสงครามกับเยอรมันในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอังกฤษต้องปลุกขวัญกำลังใจให้คนทั้งประเทศเตรียมตัวรับสงคราม และวิธีปลุกใจคนในสมัยนั้นที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการทำโปสเตอร์ไปติดทั่วอังกฤษ

โปสเตอร์ “Keep Calm and Carry on” เป็น 1 ใน โปสเตอร์ 3-4 แบบ จำนวน กว่า 2.4 ล้านแผ่นที่ถูกทำขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่ได้นำไปใช้ อาจจะเพราะว่ามันฟังดูไม่ค่อยจะเข้ากับสถานการณ์ในตอนนั้น เพราะการรบยังไม่เกิดขึ้นจริง เป็นช่วง “สงครามเก๊” เมื่อเทียบกับโปสเตอร์แบบอื่น เช่น ที่เขียนว่า “เสรีภาพอยู่ในอันตราย ปกป้องมันสุดกำลัง” หรือ “ความกล้าหาญ ความคึกคัก และ ความเด็ดขาด จะนำเราสู่ชัยชนะ” เป็นต้น

และในเวลาต่อมาเมื่อการรบเกิดขึ้นจริง โปสเตอร์ Keep Calm ก็ไม่ได้ถูกใช้และถูกนำไปรีไซเคิลเพราะกระดาษในช่วงสงครามจริงขาดแคลน จนเวลาผ่านไปประมาณ 60 ปี คือปี 2000 เจ้าของร้านหนังสือเก่าแห่งหนึ่งไปพบโปสเตอร์นี้เข้า และคงเห็นว่าดี จึงนำไปทำกรอบและแขวนโชว์ที่ร้าน ซึ่งก็ทำให้ลูกค้าจำนวนมากสนใจอยากได้บ้าง เจ้าของร้านจึงไปทำก็อปปี้ขาย และคนก็นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแค่ในปี 2009 ปีเดียวก็ขายไป 40,000 ใบ อานิสงส์ส่วนหนึ่งจากภาวะวิกฤติตลาดหุ้น

สัญลักษณ์ คำพูด Keep Calm and Carry On บูมมาก และถูกนำไปใช้ในสินค้าและของที่ระลึกอื่น ๆ ตั้งแต่เสื้อยืด ถ้วยกาแฟ หมวก พรมเช็ดเท้าและอื่น ๆ รวมถึงการโฆษณาขายเค๊กและกาแฟ เช่น “Keep Calm and Have a Cup Cake” หรือ “Keep Calm and Have a Cup of Coffee”

ว่าที่จริงมีการใช้คำนี้แบบดัดแปลงในการโฆษณาเป็นร้อย ๆ รายการ ตัวอย่างที่ผมเห็นในตลาดของเก่านั้นก็เช่น “Keep Calm and Drink Coca Cola” “Keep Calm and Listen To the Beatles” “Keep Calm and I Love Arsenal” เป็นต้น ว่าที่จริงผมเองก็เคยเขียนในบทความนี้เมื่อ 3-4 ปีก่อน ซึ่งผมดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ตลาดหุ้นที่กำลังลงแรงแต่ผมไม่แนะนำให้ขายหุ้นหนีตายว่า “Stay Calm Stay Invested” หรือ “ใจเย็น ๆ ถือหุ้นต่อไป”

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

กองทุน Thai ESGX เริ่ม IPO 2 พฤษภาคม พร้อมสับเปลี่ยน LTF วันแรก 13 พฤษภาคมนี้

Finnomena Funds
ไทม์ไลน์ Thai ESGX

กระทรวงการคลัง ก.ล.ต. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการลงทุนในกองทุน Thai ESGX และรองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF โดยจะเริ่ม IPO กองทุน Thai ESGX ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม เปิดให้สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF วันแรก 13 พฤษภาคม และกำหนดวันสุดท้ายในการซื้อและสับปลี่ยน คือ 30 มิถุนายน 2568

Thai ESGX ไทม์ไลน์

ตามที่ภาครัฐมีมาตรการการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืน (ESG) และเพิ่มเสถียรภาพตลาดทุนไทย โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใหม่ในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX) และการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไป Thai ESGX ในช่วงเวลา 2 เดือน คือ พฤษภาคม – มิถุนายน 2568 ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกหลักเกณฑ์รองรับจัดตั้งและจัดการ Thai ESGX ในขณะนี้มี Thai ESGX รวม 37 กองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 19 แห่ง อยู่ระหว่างพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้ง

อุตสาหกรรมจัดการลงทุนได้เตรียมความพร้อมในการเสนอขาย Thai ESGX พร้อมกันตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 และรองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF ได้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 โดยสามารถดูข้อมูลการถือครองกองทุน LTF ทั้งหมดของตนเองได้ในที่เดียว เพื่อตรวจสอบและพิจารณาตัดสินใจสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF เป็น Thai ESGX เพื่อสิทธิลดหย่อนทางภาษี ได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป ทางเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.set.or.th/ltf

ตรวจเช็ก LTF

นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า “ภายหลังการทยอยขายหน่วยลงทุนของกองทุน LTF ในช่วงต้นปี 2568 ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย จึงมีการเสนอมาตรการภาษีเพื่อรักษาเสถียรภาพ ยกระดับการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืน (ESG) แบ่งเป็น 2 แนวทางสำหรับเงินลงทุนใหม่และเงินลงทุนเดิม คือ

1.) การลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX และ 2.) การลดหย่อนภาษีสำหรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากกองทุน LTF เป็นกองทุน Thai ESGX ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้ จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุน เพิ่มจำนวนนักลงทุนที่ตระหนักถึงความยั่งยืน รวมถึงเพิ่มสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันที่เน้นการลงทุนในธุรกิจที่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืน ตลอดจนผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปรับธุรกิจสู่ความยั่งยืนในระยะยาว

นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า “ก.ล.ต. เชื่อมั่นว่า Thai ESGX จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศ พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนลงทุนระยะยาวผ่านตลาดทุน ซึ่งที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เร่งดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ บลจ. สามารถยื่นขอจัดตั้งและอนุมัติได้ตามช่วงเวลาที่วางไว้ พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และ บลจ. รวมทั้งกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหน่วยลงทุน LTF สามารถตรวจสอบหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดที่ตนเองถือครองอยู่ได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ไป Thai ESGX ให้ครบทุกกองทุน ทุก บลจ.

นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ในฐานะตัวแทนบริษัทจัดการลงทุนในประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะผู้บริหารและจัดการลงทุน เรามุ่งมั่นทำงานเพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าการลงทุนของตนจะมีประสิทธิภาพในระยะยาว มีส่วนช่วยรักษาเสถียรภาพตลาดทุนไทย และมีส่วนช่วยผลักดันบริษัทจดทะเบียนไทยให้มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero มีการใส่ใจสังคมและการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เพื่อร่วมผลักดันให้ประเทศไทยมีความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง โดยตั้งแต่กองทุน Thai ESG เริ่มจัดตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 2566 นั้น ได้เห็นพัฒนาการที่ดียิ่ง ทั้งในมิติการมีส่วนร่วมลงทุนของคนไทย (252,403 ราย ณ สิ้นปี 2567) มิติของการเติบโตของขนาดกองทุน (AUM 33,066 ล้านบาท ณ 31 มีนาคม 2568) มิติความครอบคลุมของบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 440 บริษัท เติบโตจาก 200 กว่าบริษัทในตอนเริ่มจัดตั้งกองทุน

สำหรับ Thai ESGX นั้น บลจ. 19 แห่ง ได้เตรียมพร้อมนำเสนอ 37 กองทุน ซึ่งผู้สนใจสามารถลงทุนได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 หรือแจ้งความประสงค์สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ที่มีอยู่ทั้งหมด ทุกกองทุน ได้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 โดยสามารถลงทุนและสับเปลี่ยนได้ภายในเดือนมิถุนายน 2568 เท่านั้น ทั้ง บลจ. และผู้สนับสนุนการขายที่ได้รับการแต่งตั้งพร้อมแล้วที่จะร่วมมือกันเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำผู้ลงทุน โดยอุตสาหกรรมจัดการลงทุนได้ตั้งเป้าหมายในการระดมเงินลงทุนในกองทุน Thai ESGX ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท

นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความพร้อมในการให้บริการข้อมูล LTF แก่ผู้ลงทุนผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะสามารถดูภาพรวมการถือครองหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดของตนเองจากทุก บลจ. ได้ในที่เดียว ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาตัดสินใจสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF เป็น Thai ESGX เพื่อสิทธิลดหย่อนทางภาษีได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีแผนต่อยอดความร่วมมือกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ขยายบริการเรียกดูข้อมูลให้ครอบคลุมกองทุนลดหย่อนภาษีประเภทอื่น ๆ อาทิ RMF, SSF และ Thai ESG เพื่อความสะดวกแก่ผู้ลงทุนในการตรวจสอบและบริหารจัดการลงทุนมากยิ่งขึ้น”

– สรุปกองทุน Thai ESGX คืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ลดหย่อนภาษีเท่าไหร่ อ่านเพิ่มเติมคลิก

Thai ESGX คือ

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

Finnomena Funds

Weekly Market Insight

ประจำสัปดาห์ 28 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2025

พิเศษ! สำหรับสมาชิก Finnomena

This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งแรง นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

Finnomena Funds
หุ้นสหรัฐฯพุ่ง

เมื่อคืนวันที่ 25 เมษายน 2025 ดัชนี S&P500 และ NASDAQ 100 ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่ +2.03% และ +2.76% ตามลำดับ โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่พุ่งขึ้นทั่วกระดาน นำโดย Nvidia +3.62%, Tesla +3.50%, Microsoft +3.45%, Amazon +3.29%, Meta +2.48% และ Apple +1.84% ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่หนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

แรงบวกจากฝั่งสหรัฐฯ ส่งต่อมายังตลาดหุ้นเอเชียเช้าวันนี้ โดยดัชนีสำคัญต่างๆ ปรับตัวขึ้นในวงกว้าง อาทิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) +1.50%, ฮ่องกง (HSI) +1.45%, เกาหลีใต้ (KOSPI) +1.06% และไทย (SET Index) +1.19%

ขณะที่ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนยังคงเป็นที่จับตามอง ล่าสุดอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับจีน และคาดว่าจะมีข้อตกลงที่ “เป็นธรรม” ต่อกัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ออกมาปฏิเสธว่า “ยังไม่มีการเจรจาใดๆ เกิดขึ้นในขณะนี้” พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการภาษีที่มีอยู่

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2025 นายสกอต เบสเซนต์ (Scott Bessent)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แสดงความเห็นว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มผ่อนคลายลง โดยย้ำว่าสหรัฐฯไม่ได้มีเป้าหมายในการแยกตัวทางเศรษฐกิจออกจากจีน พร้อมระบุว่าจากสถานะปัจจุบันซึ่งสหรัฐฯเก็บภาษีสินค้าจีนในอัตรา 145% และจีนตอบโต้ด้วยอัตรา 125% นั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว และล่าสุดโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ได้ถ้อยแถลงดังกล่าวช่วยเสริมความหวังให้นักลงทุนว่าความตึงเครียดทางการค้าอาจคลี่คลายในระยะอันใกล้

Finnomena Funds มองว่าการฟื้นตัวของตลาดหุ้นเมื่อคืนนี้เกิดจากการปรับตัวแรงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี พร้อมทั้งท่าทีของสหรัฐฯที่ดูอ่อนลงกับจีนสะท้อนถึงความคลายกังวลของนักลงทุนต่อความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหลังจากสหรัฐฯประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีออกไป 90 วัน ซึ่งส่งสัญญาณเชิงบวกต่อการเปิดเจรจาการค้ากับหลายประเทศ และเป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน

เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย

เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ

เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เมื่อโลกหมดศรัทธา ดอลลาร์อาจไร้ค่า กลายเป็นเศษกระดาษ

Park Kathawut
Trump Shock !!! เมื่อโลกหมดศรัทธา ดอลลาร์อาจไร้ค่า กลายเป็นเศษกระดาษ

Financial Time เผยแพร่บทความบนคอลัมน์ The Big Read ในหัวข้อ Is the world losing faith in the almighty US Dollar โดยตั้งคำถามที่น่าสนใจถึงจุดจบของเงินดอลลาร์ เมื่อโลกกำลังหมดศรัทธา หลังสหรัฐอเมริกาเปิดฉากสงครามเศรษฐกิจกับทั้งโลก

Trump Shock !!! เมื่อโลกหมดศรัทธา ดอลลาร์อาจไร้ค่า กลายเป็นเศษกระดาษ

ดอลลาร์สหรัฐครองอำนาจทางการเงินมาเกือบ 100 ปี ในฐานะสกุลเงินหลักของโลก หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ว่ากันว่าความเชื่อมั่นนี้กำลังถูกท้าท้าย และพังทลายลงโดยใช้เวลาไม่ถึง 100 วัน !!!

นับตั้งแต่ Liberation Day เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ที่ Donald Trump ประกาศมาตรการภาษีตอบโต้รุนแรง สิ่งที่น่ากลัวกว่าการตกใจของตลาดหุ้น คือกระแสเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการสูญเสียมูลค่าของเงินดอลลาร์ สวนทางกับสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำที่ราคาพุ่งทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง

Trump Shock !!! เมื่อโลกหมดศรัทธา ดอลลาร์อาจไร้ค่า กลายเป็นเศษกระดาษ

Source: LSEG, Financial Time as of 17/04/2025

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (Dollar Index) ลดลง -2.8% ในสัปดาห์เดียว เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง หากนับตั้งแต่ต้นปี 2025 จนถึงปัจจุบัน Dollar Index ลดลงไปแล้ว -8.2% (as of 17/04/2025)

Trump Shock !!! เมื่อโลกหมดศรัทธา ดอลลาร์อาจไร้ค่า กลายเป็นเศษกระดาษ

Source: LSEG, Financial Time as of 17/04/2025

ยิ่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินปลอดภัยอื่น ๆ เช่น ฟรังก์สวิส ยูโร และเยนญี่ปุ่น จะเห็นว่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงแบบเห็นได้ชัด ทั้งที่ควรจะแข็งแกร่งในช่วงตลาดปั่นป่วน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ดูเหมือนว่าดอลลาร์จะถูกกันออกจากกลุ่มสกุลเงินปลอดภัยในช่วงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิเคราะห์และนักลงทุนจำนวนมาก

Trump Shock !!! เมื่อโลกหมดศรัทธา ดอลลาร์อาจไร้ค่า กลายเป็นเศษกระดาษ

Source: LSEG, Financial Time as of 17/04/2025

อย่างไรก็ดี หากมองให้กว้างขึ้น Dollar Index ยังคงสูงกว่าจุดต่ำสุดในปี 2022 ถึง 12% และสูงกว่าจุดต่ำสุดในปี 2008 เกือบ 40% 

บทบาทของดอลลาร์ ความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจโลก แต่เกินกว่า 57% ของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศทั่วโลกยังคงเป็นสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ยังมีแหล่งเงินในรูปแบบอื่นอีกมากมายที่ใช้เงินดอลลาร์เป็นทุนสำรอง ซึ่ง IMF ไม่ได้นับรวม ปัจจุบันดอลลาร์จึงยังคงเป็นสินทรัพย์สำรองที่แท้จริงอย่างไม่ต้องสงสัย

ดอลลาร์ยังมีบทบาทสำคัญในด้านการค้า 54% ของใบแจ้งหนี้การส่งออกทั่วโลกกำหนดให้ใช้เป็นดอลลาร์

ข้อมูลจาก Atlantic Council ระบุว่า 60% ของเงินกู้และเงินฝากระหว่างประเทศทั้งหมดใช้ดอลลาร์ 

70% ของการออกพันธบัตรระหว่างประเทศใช้ดอลลาร์

88% ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับดอลลาร์

แสดงให้เห็นว่าเงินดอลลาร์หมุนเวียนเป็นเส้นเลือกหลักของระบบการเงินโลก

แม้แต่ธนบัตรของสหรัฐเองก็ถูกถือครองอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก เพราะการถูกยอมรับอย่างกว้างขวาง รู้ไหมว่าครึ่งนึงของธนบัตรสหรัฐ มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ ถูกถือครองโดยชาวต่างชาติ

ความต้องการดอลลาร์ที่มหาศาลนี้ แปลเป็น “เบี้ยประกัน” ฝังแน่นให้กับสินทรัพย์ของสหรัฐฯ พูดง่าย ๆ ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ สามารถกู้ยืมเงินได้ในอัตราที่ถูกกว่าที่ควรจะเป็น 

ถึงขนาดที่อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส Valéry Giscard d’Estaing เคยเรียกร้องว่านี่เป็น “อภิสิทธิ์ที่เกินขอบเขตของอเมริกา” ทำให้สหรัฐฯ มีอำนาจในการทำลายระบบการเงินของประเทศอื่นได้ผ่านมาตรการคว่ำบาตร

จาก Nixon Shock สู่ Trump Shock

Nixon Shock

Nixon Shock คือ การปิดฉากยุคหนึ่งของระบบการเงินและเปิดประตูสู่ยุคใหม่ โดยประธานาธิบดี Richard Nixon ประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่ต่อครอบครัวชาวอเมริกันที่นั่งดูทีวีในค่ำคืนวันอาทิตย์ โดยมีมาตรการสำคัญอย่างการเก็บภาษีนำเข้า 10% และประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971

เหตุการณ์คืนนั้นถือเป็นจุดสิ้นสุดยุค Gold Standard หรือระบบการเงินแบบ Bretton Woods ที่ใช้มายาวนานตั้งแต่ปี 1944 ทำให้ดอลลาร์สหรัฐที่หนุนด้วยทองคำ และเป็นดั่งดวงอาทิตย์ที่สกุลเงินอื่นโคจรรอบ ได้จบสิ้นลงแล้ว

การสิ้นสุดของระบบนี้ นำไปสู่ยุคใหม่ของการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ลอยตัวเสรี เกิดการไหลเวียนของเงินทุนทั่วโลกโดยไม่ผูกพันกับทองคำ และถูกควบคุมจากรัฐบาลกลางน้อยลง 

เปิดทางให้ดอลลาร์กลายเป็นสกุลเงินที่ไม่ต้องหนุนด้วยทองคำ (Fiat Currency) ทว่ากลับไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่หลายคนคิด แต่ยังคงรักษาการเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลกต่อไป เนื่องจากความเชื่อมั่นในรัฐบาลและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แทบจะครองโลก

50 ปีต่อมา… โลกเจอกับสิ่งใกล้เคียงกันที่เรียกว่า Trump Shock จากการประกาศเก็บภาษี Reciprocal Tariffs อันก้าวร้าวทั้งในแง่ของผลกระทบและวิธีคิดที่ดูง่ายจนน่าตกใจ

สิ่งน่ากังวลตอน Nixon Shock วนมากวนใจเงินดอลลาร์อีกครั้งในยุค Trump Shock ท่ามกลางบรรยากาศในหมู่นักลงทุนอันตึงเครียด ดอลลาร์ซึ่งปกติจะแข็งค่าขึ้นในช่วงวิกฤต กลับสูญเสียมูลค่าลงอย่างหนัก

ถ้าดอลลาร์ไร้ค่า แล้วอะไรจะแทนได้?

เกิดคำถามมากมายว่าตลาดกำลังประเมินใหม่ถึงความน่าดึงดูดเชิงโครงสร้างของดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองโลก และหลายประเทศอาจกำลังเข้าสู่กระบวนการลดการพึ่งพาดอลลาร์อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงกล่าวว่า สถานะสกุลเงินสำรองของดอลลาร์ไม่น่าจะสิ้นสุดลงในเร็ววัน เพราะยังไม่มีตัวแทนที่เหมาะสม 

ไม่ว่าจะเป็น ‘ยูโร’ ซึ่งเป็นเงินตราที่ใช้โดย 20 ประเทศที่แตกต่างกัน ‘หยวน’ ถูกรัฐบาลจีนควบคุมอย่างเข้มงวดเกินไป หรือแม้แต่ ‘ฟรังก์สวิส’ และ ‘เยนญี่ปุ่น’ ก็ยังมีขนาดที่เล็กเกินไป

เปรียบเปรยที่ได้ว่า “ดอลลาร์ไม่ใช่เสื้อตัวที่สวยที่สุดในตู้ แต่เป็นตัวเดียวที่ดูจะใส่ได้พอดีในตอนนี้”

ยิ่งไปกว่านั้น บทบาทนำของดอลลาร์ฝังแน่นอยู่ในโครงสร้างเศรษฐกิจโลกอย่างลึกซึ้ง ด้วยปัจจัยอิสระที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน จนแม้แต่รัฐบาล Trump ก็น่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมได้อย่างแท้จริง

แต่ที่น่ากังวลมากกว่านั้นอาจเป็นสิ่งที่ Trump กำลังจะทำต่อไป ซึ่งยากจะคาดเดาได้ เช่น การแทรกแซงธนาคารกลาง ควบคุมเงินทุน ถอนตัวจาก IMF รวมไปถึงการขู่ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน สิ่งเหล่านี้ที่ไม่เคยอยู่ในพจนานุกรม อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ในยุคของ Trump 2.0


Source: Financial Time

ก.ล.ต. กำลังพิจารณาคำขอจัดตั้งกองทุน Thai ESGX จำนวน 37 กองทุน จาก 19 บลจ. รับการสับเปลี่ยน LTF พร้อมกัน 2 พฤษภาคม 2568

Finnomena Funds
พิจารณาคำขอจัดตั้งกองทุน Thai ESGX จำนวน 37 กอง จาก 19 บลจ.

จากที่ก่อนหน้านี้ กองทุน “Thai ESGX หรือ Thailand ESG Extra Fund (กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ) มีมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุน Thai ESGX รวม 37 กองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 19 แห่ง

คาดว่าจะเสนอขายและรองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF พร้อมกันในวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 ได้ตามแผน รวมทั้งสามารถตรวจสอบข้อมูล LTF ผ่านระบบ FundConnext ได้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้

ระยะเวลาการเสนอขาย Thai ESGX และการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนใน LTF มาเป็น Thai ESGX จะมีระยะเวลา 2 เดือน คือพฤษภาคม – มิถุนายน 2568

Thai ESGX เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV และจะต้องลงทุนในหุ้นยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV ด้วย

สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของกองทุน Thai ESGX แบ่งวงเงินลดหย่อนออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. วงเงินสำหรับการลงทุนใหม่ที่ซื้อ Thai ESGX ในปี 2025 ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน

2. วงเงินสำหรับผู้ลงทุนที่โยก LTF มาเข้า Thai ESGX ลดหย่อนได้สูงสุด 500,000 บาท แบ่งเป็น

  • ปีที่ 1 (2025): สูงสุด 300,000 บาท
  • ปีที่ 2 ถึง 5: สูงสุดปีละ 50,000 บาท

 

วงเงินลดหย่อนภาษีทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวของ Thai ESGX จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุน Thai ESG ปกติ

นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า “เชื่อมั่นว่า Thai ESGX จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และส่งเสริมเป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศในระยะยาว พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนลงทุนระยะยาวผ่านตลาดทุน โดยผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลและเลือกลงทุนใน Thai ESGX ที่มีนโยบายการลงทุนที่ตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินของตนเอง”

สรุปกองทุน Thai ESGX คืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ลดหย่อนภาษีเท่าไหร่ อ่านเพิ่มเติมคลิก

สรุปกองทุน ThaiESGX คืออะไร ลดหย่อนเท่าไหร่


 

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียบวกยกแผง หลังรมว.คลังสหรัฐฯ ส่งสัญญาณคลี่คลายสงครามการค้า

Finnomena Funds
หุ้นเอเชียบวกยกแผง

เมื่อคืนวันที่ 22 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) และ ดัชนี NASDAQ 100 ปรับตัวขึ้นแรงกว่า +2.51% และ +2.63% ตามลำดับ ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นยกแผง นำโดยตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) + 2.05% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) 1.94% ดัชนี HSCEI หรือ หุ้นจีน H-Shares +1.73% ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) +1.55% ตลาดหุ้นไทย (SET Index) +1.12% และตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index) +1.04%

การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในวันนี้เกิดขึ้นหลังจากนายสกอต เบสเซนต์ (Scott Bessent) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แสดงความเห็นว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มผ่อนคลายลง โดยย้ำว่าสหรัฐฯไม่ได้มีเป้าหมายในการแยกตัวทางเศรษฐกิจออกจากจีน พร้อมระบุว่าจากสถานะปัจจุบันซึ่งสหรัฐฯเก็บภาษีสินค้าจีนในอัตรา 145% และจีนตอบโต้ด้วยอัตรา 125% นั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว ถ้อยแถลงดังกล่าวช่วยเสริมความหวังให้นักลงทุนว่าความตึงเครียดทางการค้าอาจคลี่คลายในระยะอันใกล้

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้กดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดดอกเบี้ย และขู่ว่าอาจปลดประธานเฟดเมื่อวันที่ 17 เมษายน ได้ออกมาชี้แจงในภายหลังว่า ตนไม่มีเจตนาในการปลดนายเจอโรม พาวเวล แต่เพียงต้องการให้เฟดลดดอกเบี้ย เพราะเห็นว่านี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสม ท่าทีที่อ่อนลงของทรัมป์ช่วยลดความกังวลของตลาดเกี่ยวกับความเป็นอิสระของเฟด และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดการเงินฟื้นตัวในวันนี้

Finnomena Funds มองว่าการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในวันนี้ สะท้อนถึงความคลายกังวลของนักลงทุนต่อความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหลังจากสหรัฐฯประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีออกไป 90 วัน ซึ่งส่งสัญญาณเชิงบวกต่อการเปิดเจรจาการค้ากับหลายประเทศ และเป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน

เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ

เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เปรียบเทียบกองทุนหุ้น Growth สายเทคโนโลยี จากค่ายระดับโลก Fidelity – Baillie Gifford – ARK Invest

Finnomena Funds
เปรียบเทียบกองทุนหุ้น Growth สายเทคโนโลยี

ลงทุนเติบโตไปกับกองทุนหุ้นเทคโนโลยีแห่งอนาคต โอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูง เลือกกองทุนแบบไหนดี วิเคราะห์ 3 ค่ายยอดฮิต Fidelity – Baillie Gifford – ARK Invest มีกลยุทธ์การลงทุนแตกต่างกันอย่างไร วิธีการคัดเลือกหุ้นเป็นแบบไหน เปรียบเทียบจุดเด่นและความเสี่ยงของแต่ละกองทุน

เทียบกองทุน B-INNOTECH SCBNEXT(A) ONE-UGG-RA

Fidelity Funds – Global Technology Fund กองทุนรวมในไทย ได้แก่ B-INNOTECH และ KT-TECHNOLOGY-A

Hyun Ho Sohn

ผู้จัดการกองทุนหลัก Hyun Ho Sohn

ปรัชญาการลงทุนแบบ Valuation-based คือ หุ้นที่มีการเติบโตของกำไร แต่เข้าซื้อในมูลค่าเหมาะสม ไม่แพงเกินไป และมีความสามารถในการแข่งขัน เพื่อหาโอกาสการทำกำไรในระยะยาว ด้วยสไตล์การลงทุนแบบ Contrarian

คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตประมาณ 100 ตัว โดย Universe การลงทุน เน้นหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก อาจมีการลงทุนในหุ้น Sector อื่น ๆ บ้าง แต่ก็เป็นบริษัทที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตัวอย่าง Top Holding (as of 18/04/2025) เช่น TSMC, Microsoft, Apple, Amazon, Ericsson เป็นต้น

จุดเด่นของ Fidelity Funds – Global Technology Fund

  • ผู้จัดการกองทุนลงทุนต่อเนื่องมาตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
  • กระจายความเสี่ยงสูงในหุ้นประมาณ 100 ตัว ทำให้ความเสี่ยงเฉพาะของหุ้นตัวใดตัวหนึ่งต่ำ
  • ปรับพอร์ตยืดหยุ่น และจัดการความเสี่ยงขาลงได้ดี  
  • ด้วย Valuation discipline ทำให้โดยทั่วไปแล้วพอร์ตจะมี beta ที่ต่ำกว่าดัชนี อาจจะไม่ได้เป็นกองทุนที่ขึ้นได้เร็วแรงในตลาด bull market 

จุดอ่อนและความเสี่ยง

  • ด้วยความเป็น Valuation-based ทำให้พอร์ตจะมี beta ที่ต่ำกว่าดัชนี จึงไม่ใช่เป็นกองทุนที่ขึ้นได้เร็วแรงใน Bull Market 
  • ไม่เน้นลงทุนในหุ้นตามกระแส หรือมีโมเมนตัมที่ดี ทำให้ในระยะสั้น กองทุนอาจทำผลตอบแทนแพ้กองทุนหุ้นเติบโตอื่น ๆ

ARK Next Generation Internet ETF กองทุนรวมในไทย ได้แก่ SCBNEXT(A)

Cathie Wood

ผู้จัดการกองทุนหลัก Cathie Wood

ปรัชญาการลงทุนแบบ Futuristic-based คือ หุ้นนวัตกรรมล้ำหน้า สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อโลกอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังไม่ใช่ผู้นำตลาด แต่ศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงมักเป็นหุ้นขนาดเล็กและอาจจะยังไม่มีกำไรทางธุรกิจ

คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตประมาณ 40 ตัว โดย Universe การลงทุนหุ้นทั่วโลก ไม่จำกัด Sector เน้นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stocks) ตัวอย่าง Top Holding (as of 18/04/2025) เช่น Ark Bitcoin ETF, Tesla, Roku, Roblox, Robinhood Markets เป็นต้น 

จุดเด่นของ ARK Next Generation Internet ETF

  • ผู้จัดการกองทุนประสบการณ์สูงและบริการกองทุนมาอย่างต่อเนื่อง
  • ลงทุนในหุ้นที่คาดว่าจะเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งถ้าสมมติฐานนี้เกิดขึ้นจริง กองทุนจะทำผลตอบได้สูงมาก

จุดอ่อนและความเสี่ยง

  • หน้าพอร์ตกระจุกตัว ทำให้มีความผันผวนสูง
  • เลือกหุ้นจาก Futuristic Theme ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่  
  • น้ำหนักหุ้นกว่าครึ่งพอร์ตในปัจจุบันยังมีผลประกอบการขาดทุน

Baillie Gifford Long Term Global Growth กองทุนรวมในไทย ได้แก่ ONE-UGG-RA และ KFGG-A

Mark Urquhart

ผู้จัดการกองทุนหลัก Mark Urquhart

ปรัชญาการลงทุนแบบ Growth-based คือ หุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสูง คาดว่าจะเป็นผู้ชนะในอนาคต อาจจะเป็นบริษัทที่ยังไม่ใหญ่มาก แต่มี Valuation แพงในปัจจุบัน เพราะตลาดคาดหวังศักยภาพการเติบโตสูง

คัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตประมาณ 40 ตัว โดย Universe การลงทุนหุ้นทั่วโลก ไม่จำกัด Sector เน้นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stocks) ที่ถือไปยาว ๆ ซึ่งพอร์ตมี Turnover แค่ประมาณ 20% ตัวอย่าง Top Holding (as of 18/04/2025) เช่น Amazon, Cloudflare, Nvidia, Roblox, Netflix, Spotify Technology เป็นต้น 

จุดเด่นของ Baillie Gifford Long Term Global Growth

  • ลงทุนในหุ้นที่คาดว่ามีการเติบโตของธุรกิจ และจะกลายเป็นผู้ชนะในอนาคต เพราะฉะนั้น กองทุนจึงมีศักยภาพสร้างผลตอบแทนที่สูงมาก 
  • เหมาะกับการถือระยะยาวมาก ๆ อย่างเข้มข้น ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

จุดอ่อนและความเสี่ยง

  • หน้าพอร์ตกระจุกตัว ทำให้มีความผันผวนสูงกว่า
  • เน้นลงทุนหุ้นที่คาดว่าจะมีกำไรในอนาคต ซึ่งไม่ได้แปลว่าจะมีกำไรในปัจจุบัน ทำให้ลักษณะของพอร์ตจะอ่อนไหวกับปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ
  • การที่กองทุนเน้นถือยาวมาก อาจจะมองว่าปรับพอร์ตได้ช้าไม่ทันการ

เปรียบเทียบกองทุนจากความคาดหวังช่วงเวลาแห่งการเติบโตที่แตกต่างกัน

เทียบกองทุน B-INNOTECH SCBNEXT(A) ONE-UGG-RA

Source: Finnomena Funds as of 06/03/2025

สรุปมุมมอง Finnomena Funds เลือกกองทุนไหนดี?

Finnomena Funds มองว่า B-INNOTECH และ KT-TECHNOLOGY-A ซึ่งลงทุนผ่านกองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Technology Fund เหมาะสมที่จะเป็น Core-Portfolio สำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นกองทุนหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นเติบโตที่เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ กระจายลงทุนหลากหลาย ทั้งหุ้นเทคโนโลยี และ Sector อื่นที่อาจได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในช่วงเวลานั้น ๆ

นอกจากนี้ B-INNOTECH ยังเป็นกองทุนแนะนำ F-Pick ของ Finnomena Funds ซึ่งที่ผ่านมาสามารถทำผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงได้ยอดเยี่ยม แม้อาจไม่ใช่กองทุนที่วิ่งได้แรงในตลาดขาขั้น แต่ระยะยาวที่ผ่านทั้ง Cycle ขึ้นและลง ถือว่าเป็นกองทุนที่ตอบโจทย์ เน้นถือลงทุนยาว แต่ก็มีการปรับพอร์ตอยู่สม่ำเสมอ

ส่วนกองทุน ONE-UGG-RA และ KFGG-A ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Baillie Gifford Long Term Global Growth เราแนะนำให้สับเปลี่ยนไป B-INNOTECH หรือลงทุนเป็น Satellite-Portfolio เพราะมีความผันผวนสูงและเป็นแนวยึดมั่นเรื่องการถือลงทุนหุ้นแต่ละตัวยาว หากเลือกหุ้นถูก กองทุนจะปรับตัวขึ้นได้ดี แต่ถ้าเลือกผิด กองทุนก็จะปรับตัวลงแรงเช่นกัน

สุดท้ายกองทุน SCBNEXT(A) ของกองทุนหลัก ARK Next Generation Internet ETF แนะนำสับเปลี่ยนไป B-INNOTECH เช่นกัน เว้นแต่จะมองเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นตามกระแสหุ้นเทคโนโลยีขนาดเล็ก แต่ระยะยาวผันผวนสูงมาก


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุน โดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | กรณีผู้ลงทุนสนใจลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กรณีผู้ลงทุนสนใจลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง/ซับซ้อน และมีสินทรัพย์อ้างอิงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีปัจจัยอ้างอิงมีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง ซึ่งอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ ผู้แนะนำการลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE: @FinnomenaPort

เศรษฐกิจสหรัฐในโลก 2 ใบ.. ของคริส วาลเลอร์

MacroView
เศรษฐกิจสหรัฐในโลก 2 ใบ.. ของคริส วาลเลอร์

ในยุค Tariff ของ โดนัลด์ ทรัมป์ สิ่งที่เป็นความยากสำหรับการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ คือ การประเมิน View ในอนาคต แบบฟันธงว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นไปแทบจะไม่ได้ โดยหากพิจารณาการอัปเดตมาตรการ Tariff ของทรัมป์​ จะพบว่าเปลี่ยนแปลงเกือบจะเป็นแบบรายวัน ทำให้การมองภาพเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่เหลือของปี 2025 ต้องทำแบบเป็นฉากทัศน์ ซึ่งหนึ่งในมุมมองที่ผมเห็นว่าทำได้ค่อนข้างชัดเจนสุดแม้ว่าดูจะมองโลกในแง่ดีเกินไปบ้างในตอนนี้ มาจาก คริส วาลเลอร์ สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดที่ถือว่าคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐได้แม่นที่สุดในรอบที่ผ่านมา

ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น มาพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ณ ปัจจุบัน กันเสียหน่อย หากวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีตล้วน ๆ ทุกคนคงมองตรงกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐตรงจุดนี้ ยังคงน่าจะแข็งแกร่งพอสมควร โดยหากพิจารณาจากอัตราการเติบโตของจีดีพีสหรัฐในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ที่ 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน คาดว่าจีดีพีสหรัฐในไตรมาสแรก ปี 2025 ก็น่าจะยังคงเติบโตอยู่เล็กน้อย

กระนั้นก็ดี ในมิติของข้อมูลแนว Soft data ที่มาจากผลสำรวจของผู้บริโภคและภาคธุรกิจนั้น จะพบว่าส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างรุนแรง ทว่าจากมิติของ Hard data ซึ่งรวมถึงการวัดและประมาณการสภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ แสดงถึงแนวโน้มว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตอยู่เล็กน้อย 

เริ่มจากตัวเลขการใช้จ่ายด้านการบริโภคสหรัฐ ตัวเลขแบบรายเดือนถึงกุมภาพันธ์ ปีนี้ ส่อถึงการชะลอตัวจากปีก่อนอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่าฤดูหนาวปีนี้ของสหรัฐมีความรุนแรงมาก ซึ่งด้วยปัจจัยด้านฤดูกาล ย่อมทำให้เกิดการชะลอตัวของการบริโภคสหรัฐโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ ปัจจัยพิเศษซึ่งน่าจะเกิดขึ้นแบบชั่วคราวจากนโยบาย Tariff ของทรัมป์ซึ่งดูจะมีผลกระทบเชิงลบต่อจีดีพีสหรัฐในไตรมาสแรก ปีนี้ คือ การเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้าที่ต้องการซื้อจากต่างประเทศก่อนเวลาที่มาตรการ Tariff ของทรัมป์จะมีผลเกิดขึ้นจริง

ด้านตลาดแรงงาน พบว่าการจ้างงานเติบโต 228,000 ตำแหน่งในเดือนมีนาคม ซึ่งถือว่าสูงเกินคาด และตัวเลขการเปิดตำแหน่งงานใหม่ที่ออกมาถึงกุมภาพันธ์ ปีนี้ ล้วนชี้ไปว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอยู่ในจุดที่สมดุล ซึ่งเมื่อนำมาประกบกับตัวเลขด้านการบริโภคและการนำเข้า ยังคงมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงยืนได้ดีในไตรมาสแรก 

หันมาพิจารณาสถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐกันบ้าง เส้นทางของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่จะมุ่งเข้าสู่เป้าหมาย 2% พบว่าในปีที่แล้วถือว่าได้หยุดนิ่งไป อย่างไรก็ดี หลังจากตัวเลขที่ออกมาค่อนข้างยังสูงใน 2 เดือนแรกของปี ตัวเลข CPI เดือนมีนาคม ล่าสุดที่ออกมา ถือว่าน่าชื่นใจ โดย Headline CPI เดือนมีนาคม ลดลง -0.1% จากเดือนก่อน ส่งผลให้แบบรายปี ลดลงเหลือ 2.4% จากปัจจัยหลักด้านราคาพลังงาน ด้าน CPI ที่ไม่คิดราคาอาหารและพลังงาน หรือ Core CPI  เดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นเพียง 0.1%  ส่งผลให้แบบรายปี ลดลงเหลือ 2.8% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021

หากจะคาดการณ์ตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือนมีนาคม จากตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตล่าสุดหรือ PPI และจากข้อมูลล่าสุดของ CPI จะพบว่า Headline PCE เดือนมีนาคม ที่จะออกมาน่าจะคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้น 2.3% จากปีก่อน ส่วน Core PCE เดือนมีนาคม น่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.1%  ส่งผลให้แบบรายปี ลดลงเหลือ 2.7% 

คราวนี้ หันมาพิจารณา Tariff ที่จะมีผลต่อฉากทัศน์ของการคาดการณ์ แต่เดิมระดับค่าเฉลี่ย Tariff ทั่วโลกของสหรัฐ เคยอยู่ที่ 3% หลังจากทรัมป์ประกาศว่าจะใช้มาตรการ Tariff ในช่วงก่อนวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา คาดกันว่าระดับค่าเฉลี่ย Tariff ของสหรัฐ น่าจะขึ้นไปที่ 10% อย่างไรก็ดี หลังจาก Liberation day 2 เมษายน ระดับค่าเฉลี่ย Tariff ของสหรัฐ ขยับขึ้นมาเป็น 25% แม้ว่าจะชะลอ Tariff ของประเทศอื่น ยกเว้นจีนเป็นเวลา 90 วัน ทว่าระดับค่าเฉลี่ย Tariff สหรัฐ ก็ยังคงอยู่ที่ราว 25% อยู่ดี ซึ่งวาลเลอร์ให้เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นฉากทัศน์แรกในการวิเคราะห์ ส่วนฉากทัศน์ที่สอง ซึ่งถือว่ามองโลกในแง่ดีกว่า คือผลการเจรจาระหว่างสหรัฐกับจีนและประเทศอื่น ๆ ออกมาดีกว่าคาดมาก จนระดับค่าเฉลี่ย Tariff ของสหรัฐ ลงมาที่ 10%

ทั้งนี้ ฉากทัศน์แรก หรือ กรณี Large Tariff อยู่บนสมมติฐานที่ว่า ระดับค่าเฉลี่ย Tariff ของสหรัฐ ที่ขยับขึ้นมาเป็น 25% จะยังคงมีผลต่อประเทศอื่นๆ ไ ปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปี 2027 ซึ่งทรัมป์จำเป็นต้องยืนเช่นนี้ เพื่อให้วัตถุประสงค์การผลิตสินค้าที่ชาวสหรัฐบริโภคกลับมาเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินสหรัฐ ส่วน ฉากทัศน์สอง หรือ กรณี Small Tariff คาดว่ามาตรการ Tariff ของทรัมป์ท้ายสุดแล้ว จะเหลือแค่ 10% กับทุกประเทศเท่านั้น 

โดยวาลเลอร์เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจากทั้ง 2 กรณี จะเป็นแบบชั่วคราว หรือ การเพิ่มขึ้นราคาเพียงครั้งเดียว ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะขึ้นไปสูงสุดที่ 4-5% แล้วแต่การส่งผ่านต่อไปถึงราคาว่าจะมากแค่ไหน โดยตัวช่วยที่ทำให้เงินเฟ้อสหรัฐขึ้นไปไม่สูงมาก คือนโยบายการเงินสหรัฐที่ถือว่ายังตึงตัวอยู่ และเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลงจากมาตรการ Tariff ช่วยลดอุปสงค์และระดับราคาในที่สุด

ด้านการเติบโตของผลผลิต กรณี Large Tariff คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างมากในปีนี้และปีหน้า ส่งผลต่อไปยังการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งจะไปลดระดับผลิตภาพ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Neutral Rate สหรัฐลดลง นี่ยังไม่นับการส่งออกสหรัฐจากการขึ้น Tariff ตอบโต้จากต่างชาติ ซึ่งคาดว่าอัตราการว่างงานสหรัฐ จะเพิ่มจาก 4.2% เป็น 5%

โดยสรุปคือ กรณี Large Tariff อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นแต่ไม่เกิน 5% และจะลงมาในปีหน้าจาก Inflation Expectations ที่ยังยึดเหนี่ยวได้ดี ทว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะลดลงมากกว่า วาลเลอร์มองว่าเฟดควรลดดอกเบี้ย หรือ bad cut ก่อนกลางปีนี้

ในกรณี Small Tariff ที่คาดว่ามาตรการ Tariff จะเป็นแบบค่อนข้างเบา น่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐขึ้นสูงสุดที่ 3% และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะชะลอลงเพียงเล็กน้อยจากตรงนี้ ซึ่งนั่นทำให้เฟดสามารถอดทนรอการลดดอกเบี้ยได้ โดยคาดว่าเฟดน่าจะลดดอกเบี้ยครึ่งหลังของปีนี้

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com

เปิดตัว “Definit Global Select” ปรับเกมรุก ปลุกกลยุทธ์ ลงทุน DR หุ้นนอก ชูจุดเด่นภาษีต่ำ-บริหารอัตโนมัติ พร้อมรับมือความผันผวน

Definit
เปิดตัว Definit Global Select

เมื่อความไม่แน่นอนปกคลุมตลาดโลก นักลงทุนจำนวนมากเริ่มมองหา “ทางเลือกใหม่” ที่สามารถสร้างโอกาสท่ามกลางวิกฤต 

ในงานสัมมนาพิเศษ “เปิดตัว Definit Global Select ปรับเกมรุก ปลุกกลยุทธ์ ลงทุน DR หุ้นนอก” ที่จัดขึ้นโดย Definit by Finnomena เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นายเจษฎา สุขทิศ, CFA, CEO ของ Finnomena Group ได้ร่วมพูดคุยกับ นายวศิน ปริธัญ, CFA, Managing Director ของ Definit Investment Advisory Securities และ นายเจตอาทร สองเมือง, CFA, Senior Vice President, Quantitative Department จากบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โดยทั้ง 3 ท่านมองภาพตรงกันว่า “เวลานี้คือจังหวะของการรีบาวด์ และเป็นโอกาสในการลงทุน”

โอกาสท่ามกลางความผันผวน หุ้นโลกอยู่ในโหมด Midnight Sale

ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญความผันผวน ดัชนี Nasdaq 100 ปรับตัวลงถึง -25% ก่อนดีดกลับ +12% ขณะที่ตลาดไต้หวัน เวียดนาม และฮ่องกงเผชิญแรงขายหนัก แต่เริ่มฟื้นตัวหลังสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนขึ้นภาษีนำเข้า

นายเจษฎาเปรียบสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ กับทฤษฎี Chicken Game ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งที่ใช้อธิบายสถานการณ์ความขัดแย้ง โดยทั้งสองฝ่ายต้องตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ระหว่าง “เผชิญหน้า” (Straight) หรือ “หลีกเลี่ยง” (Swerve) และหากไม่มีฝ่ายใดยอมถอยก็อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายสำหรับทั้งคู่

นายเจษฎามองว่า สุดท้ายทั้งสองฝ่ายมักหาทางประนีประนอมได้ดังเช่นในอดีต ไม่น่าจะถึงขั้นเผชิญหน้าจนเกิดความเสียหายรุนแรง สถานการณ์นี้จึงเป็นจังหวะที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในต่างประเทศอาจต้องเผชิญกับภาษีที่สูงถึง 35% ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่หลายคนต้องพิจารณาก่อนการลงทุน

DR ทางเลือกที่สะดวกและคุ้มค่าสำหรับนักลงทุนไทย

ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้นต่างประเทศสามารถทำได้ผ่านผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า DR (Depositary Receipt) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ไทยที่อ้างอิงราคาหุ้นต่างประเทศ นักลงทุนสามารถซื้อขายผ่านตลาดหุ้นไทยด้วยเงินบาท ไม่ต้องเปิดบัญชีต่างประเทศ และไม่ต้องจัดการเรื่องภาษีกำไรที่ซับซ้อน โดยยังคงได้รับสิทธิ์ปันผลเหมือนกับผู้ถือหุ้นต่างประเทศ

นายเจตอาทรอธิบายว่า “ข้อดีของ DR คือไม่ต้องนำกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ ซื้อขายบนกระดานไทย ใช้ Margin ได้ มีสิทธิรับปันผลเหมือนหุ้นไทย และลดความยุ่งยากเรื่องภาษีอย่างชัดเจน”

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรเข้าใจความเสี่ยงของ DR โดยเฉพาะเรื่อง “อัตราแลกเปลี่ยน” ที่อาจส่งผลต่อราคาของ DR แม้ราคาหุ้นต่างประเทศจะปรับขึ้นก็ตาม และควรศึกษากลไกการซื้อขายให้ชัดเจน เช่น การเลือกเทรดในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นไทยและต้นทางเปิดพร้อมกัน เพื่อความแม่นยำของราคาอ้างอิง และหลีกเลี่ยงการไล่ราคาด้วยการตรวจสอบราคาหุ้นต้นทางแบบเรียลไทม์ (ซึ่งสามารถดูผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทแล้ว)

Definit Global Select (DGS) โอกาสลงทุนหุ้นนอก ด้วยกลยุทธ์ที่มีการทดสอบและวางแผนมาอย่างเป็นระบบ

ผลตอบแทนรายเดือนของ Definit SET Select (DSS)ผลตอบแทนรายเดือนของ Definit SET Select (DSS) ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม 2024 | Source: Definit, Bloomberg as of 31 Dec 2024 

*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตและผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

หลังจากความสำเร็จของพอร์ต Definit SET Select (DSS) ที่สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้น่าพอใจแม้ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยซบเซา ล่าสุดทาง Definit ได้ขยายกลยุทธ์คุณภาพนี้สู่ระดับโลกด้วย Definit Global Select (DGS) พอร์ตลงทุนในหุ้นต่างประเทศผ่าน DR ที่เน้นการคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพ ผสมผสานการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเข้าด้วยกัน โดยอิงการปรับประมาณการกำไรของนักวิเคราะห์ทั่วโลก และโมเมนตัมของราคาหุ้น เพื่อสะท้อนแนวโน้มผลประกอบการที่แข็งแกร่งและความเชื่อมั่นของนักลงทุน

Definit Global Select (DGS) มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้วยการคัดเลือกหุ้นไม่เกิน 10 ตัว กระจายในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยกำหนดน้ำหนักสูงสุดต่อหุ้นไว้ที่ 20% และหากไม่มีหุ้นที่เข้าเกณฑ์ก็สามารถถือเงินสดบางส่วนไว้ในพอร์ตได้ 

อีกทั้งยังสะดวกสบายด้วยระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติ (Managed Portfolio) และไม่เสียภาษีกำไรจากการขาย DR เหมือนการลงทุนหุ้นต่างประเทศโดยตรง 

ในช่วงเวลาที่ตลาดกำลังเผชิญความท้าทายเช่นปัจจุบัน นายเจตอาทรได้ให้มุมมองไว้ว่า

ตอนนี้ผมเชื่อว่าเป็นโอกาสในการลงทุน และเราควรกระจายการลงทุนออกไป… ส่วนตัวมองว่าหุ้นโลกมีความเสี่ยงต่ำกว่า เพราะเศรษฐกิจของเขามีขนาดใหญ่และหลากหลาย

ด้านนายเจษฎากล่าวทิ้งท้ายพร้อมกับให้กำลังใจนักลงทุนว่า

ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตขึ้น เรามักรู้สึกเหมือนไม่มีทางออก แต่สุดท้ายมันก็มีทางออกทุกครั้ง…เวลาหุ้นปรับตัวลงแรง ผมมองเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ

ทั้งนี้ บริการ Definit Global Select เป็นบริการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (เลขใบอนุญาต 0105565129248) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฟินโนมีนา (“Finnomena”) ดูแลด้านโมเดลและคำแนะนำพอร์ต กับบริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลด้านบัญชีหุ้นและการบริหารพอร์ต

สามารถลงทะเบียนเพื่อรับบริการและรับข้อมูล
Definit Global Select เพิ่มเติมได้ที่
https://www.finnomena.com/dgs/

ข้อมูลติดต่อ: ฝ่ายสื่อสารการตลาด Finnomena 

มะลิลา ใจพันธ์ โทร. 089-874-8982 Email: nim.malila@finbroadcasting.com


คำเตือน: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสัญญารับฝาก DR ก่อนการลงทุน | การลงทุนผ่าน DR มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา DR เอง | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-9933 และทาง Email support@definitinvestment.com

โมดี-แวนซ์ จับเข่าเจรจาการค้า “อินเดีย-สหรัฐฯ” คืบหน้า ดีลการค้ารอบใหม่ที่ทั่วโลกต้องจับตา

Finnomena Funds
โมดี-แวนซ์ จับเข่าเจรจาการค้า “อินเดีย-สหรัฐฯ” คืบหน้า ดีลการค้ารอบใหม่ที่ทั่วโลกต้องจับตา

เมื่อวันจันทร์ (21 เม..) ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี และรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เจดี แวนซ์ ได้พบปะกันที่กรุงนิวเดลี โดยมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างสองประเทศ

แถลงการณ์จากสำนักนายกรัฐมนตรีอินเดียระบุว่า ผู้นำทั้งสองได้หารือถึงแนวทางผลักดันข้อตกลงการค้าร่วมกันที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และประเมินความคืบหน้าเชิงบวกในความร่วมมือด้านต่าง ๆ  ทั้งเรื่องพลังงาน กลาโหม และเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระดับโลก พร้อมเรียกร้องให้ใช้การเจรจาและการทูตเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขความขัดแย้ง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 เมษายน อินเดียถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้สินค้านำเข้าสินในอัตรา 26%  ก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะประกาศระงับภาษีดังกล่าวเป็นเวลา 90 วัน ในวันที่ 9 เมษายน โดยให้คงอัตราภาษีพื้นฐานไว้ที่ 10%

ในขณะเดียวกัน เจมีสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย ได้สรุปข้อกำหนดเพื่อวางกรอบการเจรจาการค้าแล้วพร้อมยอมรับว่ายังมีความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ทางการค้า แต่ก็ชื่นชมท่าทีของอินเดียที่เปิดกว้าง และหวังว่าจะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับแรงงาน เกษตรกร และผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โมดีและทรัมป์เคยตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างอินเดียและสหรัฐฯ ให้มากกว่าสองเท่า เป็น 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ากับอินเดียประมาณ 1.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 และอินเดียยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยมียอดเกินดุลถึง 4.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.cnbc.com/2025/04/22/modi-and-vance-tout-significant-progress-on-india-us-trade-deal.html

กองทุนหุ้นอินเดีย แนะนำโดย Finnomena Funds

1. B-BHARATA

  • Mr.Messenger Call และ MEVT Call แนะนำ “B-BHARATA” และ กองทุนรวมหุ้นอินเดีย ลงทุนผ่านกองทุน RAMS Investment Unit Trust – India Equities Portfolio Fund II
  • เน้นธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศอินเดีย และมีน้ำหนักการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อโอกาสเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น
  • อัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน 47% ของเงินลงทุน

2. TISCOINA-A

ลงทุนในหุ้นอินเดียผ่าน 3 กองทุนหลัก ได้แก่

  1. Nomura Funds Ireland plc India Equity Fund: ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management คัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up พิจารณาจากพื้นฐานของหุ้นเป็นหลัก ประมาณ 25-30 ตัว จาก Universe ประมาณ 240 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่
  2. FSSA Indian Subcontinent Fund: ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management คัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up คัดเลือกหุ้นที่ประกอบธุรกิจในอินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน และบังคลาเทศ โดยเน้นลงทุนประมาณ 50 ตัว กระจายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก โดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
  3. Goldman Sachs India Equity Portfolio: ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management คัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-up เลือกหุ้นประมาณ 70-100 ตัว จาก Universe ประมาณ 700 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลางเล็ก

 

อ่านคำแนะนำ Mr.Messenger Call เพิ่มเติมได้ที่finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mr-messenger/india-apr-2025

.

อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/india-mar-2025


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ประวัติศาสตร์ ‘ทองคำ’ สินทรัพย์อมตะ แห่งโลกการลงทุน

Finnomena
ประวัติศาสตร์ราคาทอง

ทองคำสินทรัพย์ที่ดูเหมือนเป็นอมตะในโลกการลงทุน ปลอดภัยในยามวิกฤต และเป็นแหล่งเก็บมูลค่ามานานนับพันปี ว่ากันว่าถ้านึกอะไรไม่ออกให้ซื้อทองเก็บไว้ก่อน เพราะยังไงระยะยาวก็ขึ้นแน่นอน

แต่จริง ๆ แล้ว ทองคำที่เราเรียกว่า “safe haven” หรือ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ก็เคยมีช่วงที่ซบเซา ไม่ทำกำไรนานนับ 10 ปีมาแล้วเช่นกัน

บทความนี้จะพาทุกคนย้อนไปดูประวัติศาตร์ทองคำ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ช่วงเวลาแห่งการตื่นทอง เข้าสู่ทศวรรษที่หายไปของทองคำ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันในปี 2025 นี้ ที่ราคาทองโลกกำลังเดินหน้าสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำ All-Time Hight เกิน 20 ครั้งไปแล้ว

ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ Finnomena ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web


ประวัติศาสตร์ทองคำ สู่การเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ยุคทองของทองคำ

มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์กาล โดยช่วงแรกเราใช้ทองคำในฐานะเป็นเครื่องประดับเพื่อบ่งบอกฐานะความร่ำรวย ก่อนที่ในเวลาต่อมาทองคำจะถูกนำมาสร้างเป็นเหรียญโลหะสำหรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงปี 1800 ที่สหราชอาณาจักรได้เริ่มผูกค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงไว้กับปริมาณทองคำ เกิดเป็นระบบมาตรฐานทองคำ Gold Standard ที่เงินตราทั่วโลกผูกติดกับทองคำ ทำให้ทองคำเลยกลายเป็น backbone ของระบบการเงินมานับตั้งแต่วันนั้น

เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เหมืองทองคำถูกค้นพบจำนวนมากทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคตื่นทองอย่างแท้จริง

Gold Standard ยกระดับทองคำจากที่เคยเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะความร่ำรวยของผู้คน กลายมาเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของประเทศชาติ ยุครุ่งเรืองนี้ลากยาวมาเกือบศตวรรษ แม้ในปี 1971 ‘ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน’ จะประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ ถือเป็นจุดสิ้นสุด ของ Gold Standard

ทว่าราคาทองคำก็ยังคงพีคไปอีกเป็น 10 ปี จากวิกฤตน้ำมัน บวกกับเกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ในประเทศอิหร่าน และสหภาพโซเวียตประกาศบุกอัฟกานิสถาน ในปี 1979 ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงไปทั่วโลก ผู้คนย้ายเงินไปไว้ในทองคำอย่างมโหฬาร จนดูเหมือนว่าทองคำจะขึ้นตลอดไป ไม่มีอะไรจะหยุดพี่เขาได้

ระหว่างช่วงปี 1969-1980 ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,500% ในระยะเวลา 122 เดือน


Lost Decade ของทองคำ ยุคมืดที่ถูกลืม

แต่หลังจากความรุ่งเรืองครั้งนั้น ทองคำกลับเข้าสู่ยุคมืดครั้งแรกที่ยาวนานเกือบ 20 ปี ซึ่งหลายคนอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ว่าแม้แต่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ก็มีวันที่เงียบเหงาได้เหมือนกัน

ช่วงปี 1980-2000 คือ Lost Decade ครั้งแรกของทองคำ จากจุดพีคที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ตกลงมาเหลือไม่ถึง 500 ดอลลาร์ มูลค่าหายไปกว่า 70% ในระยะเวลา 20 ปี

การซึมยาวของทองคำตอนเกิดขึ้นในยุคของประธาน Fed ‘Paul Volcker’ ซึ่งทำในสิ่งที่ท้าทาย ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อหยุดเงินเฟ้อจากวิกฤตราคาน้ำมันดิบ ด้วยการใช้ยาแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสูงถึง 20% แต่นั่นทำให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมามีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเป็นยุคที่คนหันไป Bull ตลาดหุ้น สวนทางกับทองคำที่เป็น Sideway ตลอดทาง

ประกอบกับตอนนั้นโลกค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ราคาทองคำจึงเริ่มตกลงมาเรื่อย ๆ

เคราะห์ซ้ำกรรมซัดในช่วงปลายยุค 90 ดันเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รุกลามทั่วเอเชีย IMF ต้องการใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปแก้ปัญหาหนี้สินของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงเทขายทองคำออกมาจำนวนมาก และมีธนาคารกลางของหลายประเทศทยอยขายทองคำตาม เช่น สวิตเซอร์แลนด์ขายออกมา 1,400 ตัน อังกฤษ ขาย 400 ตัน ทำให้เวลานั้นราคาทองคำด่ำดิ่งสุด ๆ

เดือนสิงหาคม 1999 ราคาทองลงมาเหลือ 250 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี


กลับสู่ยุคทอง และฟองสบู่แตก 2001-2020

ขาขึ้นสั้น ๆ ของทองคำกลับมาอีกครั้งในปี 2001 จากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา และจากนั้นในปี 2004 ก็มีการก่อตั้ง SPDR Gold Trust กองทุนทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จนมาถึงปี 2011 ราคาทองคำในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดแตะ 1,900 ดอลลาร์ เนื่องจากการเกิดวิกฤตหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซที่เกือบล้มละลาย นักลงทุนกลัวว่าเงินยูโรจะพัง บวกกับ Fed อัดฉีดเงินผ่านการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการทองคำพุ่งขึ้น และกลายเป็นหลุมหลบภัยจากความเสี่ยงของระบบการเงินและความกลัวเงินเฟ้อที่อาจตามมาจากการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาล

แต่แล้วในปี 2013 ทุกอย่างพลิกผัน Fed ส่งสัญญาณว่าจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ นักลงทุนแตกตื่น เทขายทองคำกันยกใหญ่ ตลอดทั้งปี 2013 ราคาทองคำโลกติดลบ 28% หนักสุดในประวัติศาสตร์ พูดว่าเป็นฟองสบู่แตกของทองคำก็คงไม่ผิดนัก

ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักลงทุนเห็นทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สิ่งนี้ยิ่งลดความน่าสนใจของทองคำลงไปอีก บวกกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงนั้น ทำให้เราจะเห็นว่าเมื่อมองยาว ๆ

ตั้งแต่ปี 2013-2019 ราคาทองคำไม่ได้ไปไหนไกลเลย แกว่งตัวอยู่แถว ๆ 1,200-1,600 ดอลลาร์ ถือเป็นอีกหน้าหนาวที่ยาวนานของคนถือทองคำ


วัฏจักรขาขึ้นรอบล่าสุด

และแล้วในปี 2020 วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ของทองคำก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อโลกรู้จักกับ COVID ส่งผลให้ตลาดการเงินปั่นป่วน นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ

กลางปี 2020 ราคาทองคำพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วทะลุ 2,000 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อลงตอนปลายปี 2022 และคืนฟอร์มพุ่งเป็นจรวดอีกครั้งจนมาถึงวันนี้ที่เกิน 3,000 ดอลลาร์ไปแล้ว ส่วนราคาทองคำแท่งในไทยขึ้นสู่ 50,000 บาทแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าทองคำมีวัฏจักรของมัน ขึ้นบ้าง ลงบ้าง ซึมบ้าง สลับกันไป และไม่ใช่สินทรัพย์ที่เป็นอมตะแบบที่หลาย ๆ คนคิด ประวัติศาสต์ที่ผ่านมาบอกเราว่าทองคำมีทั้งยุคตื่นทองและยุคมืด

หากบังเอิญเข้าซื้อผิดจังหวะเวลา ก็อาจเจอกับช่วงปรับฐานยาวนานร่วม 10 ปีเหมือนกัน ใช่ว่าซื้อแล้วถือยาวจะกำไรเสมอไป

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นสหรัฐฯร่วงแรง หลังทรัมป์สั่ง Fed ลดดอกเบี้ย พร้อมขู่ไล่ออก

Finnomena Funds
หุ้นสหรัฐฯ ร่วง

เมื่อคืนวันที่ 21 เมษายน 2025 ดัชนี S&P500 และ NASDAQ 100 ปรับตัวลงแรงกว่า -2.36% และ -2.46% ตามลำดับ หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมทั้งขู่เมื่อวันที่ 17 เมษายนว่า อาจสั่งปลดประธานเฟดได้หากต้องการ แรงกดดันดังกล่าวสร้างความกังวลต่อนักลงทุนถึงความเสี่ยงการแทรกแซงความเป็นอิสระของเฟด นำไปสู่แรงขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างหนัก นำโดย Tesla (-5.75%), Nvidia (-4.51%), Meta (-3.35%), Amazon (-3.06%), Microsoft (-2.35%) และ Google (-2.31%)

นอกจากนี้ เมื่อวานนี้ (21 เมษายน 2025) กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ประกาศว่าจะตอบโต้ประเทศใดก็ตามที่ร่วมมือกับสหรัฐฯในลักษณะที่กระทบต่อผลประโยชน์ของจีน แม้ยืนยันว่าจีนยังพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อปกป้องความเป็นธรรมในเวทีนานาชาติ

Finnomena Funds มองว่าการร่วงลงของตลาดหุ้นเมื่อคืนนี้ สะท้อนความกังวลต่อความพยายามแทรกแซงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังทรัมป์ขู่ว่าจะปลดเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ทั้งนี้ ในสมัยรัฐบาลทรัมป์ชุดแรก แม้เคยมีการขู่ในลักษณะนี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถปลดได้ เนื่องจากธนาคารกลางต้องดำรงความเป็นอิสระจากรัฐบาลตามกฎหมาย ซึ่งครั้งนี้ก็คาดว่าผลลัพธ์จะไม่แตกต่างกัน ด้านการเจรจาการค้า เริ่มมีการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับหลายประเทศแล้ว หลังจากสหรัฐฯได้ประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน

ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง

อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ

เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Bond Shock คืออะไร? เมื่อ “สินทรัพย์ปลอดภัย” กลายเป็นต้นเหตุของความผันผวน

Definit
Bond Shock คืออะไร

หลายคนคุ้นเคยกับ “ตราสารหนี้” ในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เหมาะกับการถือครองในช่วงตลาดหุ้นผันผวน โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลที่มักถูกมองว่าเป็นแหล่งพักเงิน และเป็นหัวใจสำคัญของการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำว่า “Bond Shock” กลับถูกพูดถึงมากขึ้น สะท้อนสถานการณ์ที่ขัดแย้งกับความคาดหวัง เพราะสินทรัพย์ที่ควรจะช่วยลดความเสี่ยง กลับกลายเป็นต้นเหตุของแรงสั่นสะเทือนในตลาดทุน สถาบันการเงิน และเศรษฐกิจโดยรวม

Bond Shock ความผันผวนจาก “สินทรัพย์ที่ควรนิ่ง”

แม้ตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ แต่ราคาซื้อขายในตลาดสามารถผันผวนได้ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้นักลงทุนบางรายเผชิญกับ “Bond Shock” โดยไม่ทันตั้งตัว

Bond Shock คือ ภาวะที่ราคาของตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงภายในช่วงเวลาสั้น ๆ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เช่น ธนาคารกลางปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาด ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) พุ่งสูง ส่งผลให้ราคาพันธบัตรที่ออกไว้ก่อนหน้านั้นร่วงทันที

แล้ว Bond Shock เกิดจากอะไร?

แม้ตราสารหนี้จะถือเป็น “สินทรัพย์ปลอดภัย” สำหรับการกระจายความเสี่ยง แต่เมื่อเผชิญ Bond Shock ขึ้นมา มันกลับกลายเป็นแหล่งต้นตอของความผันผวน โดยมี 4 สาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลัง ดังนี้

1. ดอกเบี้ยพุ่งเร็วกว่าคาด

เมื่อธนาคารกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างเฟด (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วหรือแรงเกินความคาดหมาย พันธบัตรที่ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำกว่ากลายเป็นสินทรัพย์ที่ไม่จูงใจอีกต่อไป นักลงทุนจึงเทขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า ส่งผลให้ราคาพันธบัตรเดิมร่วงลงอย่างรวดเร็ว

2. เงินเฟ้อไม่ลดตามเป้า

แม้ธนาคารกลางจะพยายามควบคุมเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ย แต่หากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง นักลงทุนจะตั้งคำถามว่า “การถือพันธบัตรยังคุ้มค่าไหม?” เพราะแม้จะได้รับดอกเบี้ย หากอำนาจซื้อของเงินลดลง รายได้จากพันธบัตรก็อาจไม่เพียงพอที่จะรักษามูลค่าเงินต้นไว้ได้

3. สภาพคล่องในระบบลดลง

เมื่อธนาคารกลางลดขนาดงบดุลหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบ เช่น การหยุดมาตรการ QE หรือเริ่ม QT (Quantitative Tightening) ส่งผลให้เม็ดเงินในระบบลดลง นักลงทุนมีสภาพคล่องน้อยลง และอาจต้องขายสินทรัพย์บางอย่างเพื่อใช้เงิน พันธบัตรจึงกลายเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ถูกขายทิ้ง แม้ราคาจะไม่เหมาะก็ตาม ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อราคาอย่างต่อเนื่อง

4. Panic Sell จากกองทุนหรือสถาบัน

แรงขายจำนวนมากมักไม่ได้มาจากนักลงทุนรายย่อย แต่เกิดจากกองทุนหรือสถาบันขนาดใหญ่ เช่น กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง–ยาว ที่ต้องเผชิญกับแรงไถ่ถอน (Outflow) อย่างหนัก หากผู้ลงทุนแห่ถอนเงินพร้อมกัน กองทุนจำเป็นต้องขายพันธบัตรออกมาเพื่อจ่ายคืน แม้จะอยู่ในภาวะที่ราคายังต่ำก็ และเมื่อการขายกระจายออกไปในวงกว้าง ก็จะยิ่งซ้ำเติมตลาดให้ราคาตกลงอย่างรุนแรง กลายเป็น Bond Shock แบบโดมิโนในที่สุด

Bond Shock ในประวัติศาสตร์

ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้เคยเผชิญภาวะ “Bond Shock” มาแล้วหลายครั้ง แต่ละเหตุการณ์ล้วนมีปัจจัยกระตุ้นเฉพาะตัว และทิ้งบทเรียนสำคัญไว้ให้กับนักลงทุนรุ่นหลัง

1. ปี 1994 Great Bond Massacre นโยบาย Fed เขย่าโลก

Bond Yield สหรัฐฯ พุ่งแรงช่วงปี 1994

Bond Yield สหรัฐฯ พุ่งแรงช่วงปี 1994 | Source: Investing.com

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวจากภาวะถดถอย โดยในช่วงปี 1993 เศรษฐกิจมีสัญญาณเติบโตต่อเนื่อง และมีความกังวลว่าแรงกดดันเงินเฟ้ออาจกลับมาอีกครั้ง

Fed ภายใต้การนำของประธาน อลัน กรีนสแปน (Alan Greenspan) จึงตัดสินใจ “ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว” จากระดับต่ำสุดในรอบหลายปี โดยในช่วงเวลาเพียง 12 เดือน Fed ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 3% เป็น 6%

แม้จะเป็นการดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ตลาดกลับไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าอย่างเพียงพอ การขึ้นดอกเบี้ยที่รวดเร็วและต่อเนื่องสร้างความตื่นตระหนกในตลาดพันธบัตร นักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังทรงตัวหรือขึ้นช้า ๆ จึงเผชิญกับการขาดทุนอย่างรุนแรงจากราคาตราสารหนี้ที่ร่วงลงต่อเนื่อง

ผลกระทบขยายตัวไปในระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่ใช้ Leverage หรือลงทุนผ่านตราสารอนุพันธ์ในตลาดอัตราดอกเบี้ย เช่น ธนาคารญี่ปุ่น สถาบันการเงินในยุโรป และกองทุนเก็งกำไรหลายแห่ง ซึ่งต้องเผชิญภาวะ “Margin Call” และบังคับขายพันธบัตรจำนวนมาก

ตลาดพันธบัตรทั่วโลกในเวลานั้นสูญเสียมูลค่ารวมกันกว่าหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ และเหตุการณ์นี้ถูกเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “Great Bond Massacre” ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดพลาดด้านการประเมินทิศทางนโยบายการเงินที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การลงทุน

เหตุการณ์ค่อย ๆ คลี่คลายเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะสมดุล และ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีถัดมา แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว พร้อมกับบทเรียนว่า การประเมินผลกระทบของนโยบายการเงินต่ำไป อาจทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย กลายเป็นบ่อเกิดของความผันผวนได้เช่นกัน

2. ปี 2013 Taper Tantrum เมื่อตลาดตกใจข่าว

Bond Yield ช่วง 2008 - 2015

Bond Yield ช่วง 2008 – 2015 | Source: Investopedia

หลังวิกฤตการเงินปี 2008 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย หรือ QE (Quantitative Easing) อย่างเต็มที่ โดยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อพยุงเศรษฐกิจและลดต้นทุนทางการเงินให้ต่ำเป็นพิเศษ

ในช่วงต้นปี 2013 เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และ Fed เริ่มพิจารณาว่าควรเริ่มลดขนาดของ QE หรือไม่ โดยในเดือนพฤษภาคม 2013 เบน เบอร์นันเก (Ben Bernanke) ประธาน Fed ในขณะนั้น กล่าวเพียงว่า “Fed อาจเริ่มลดขนาด QE ภายในสิ้นปี หากเศรษฐกิจดำเนินไปตามที่คาด”

แม้จะยังไม่มีการปรับนโยบายใด ๆ อย่างเป็นทางการ แต่นักลงทุนในตลาดกลับตอบสนองด้วยความตกใจ โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตร ซึ่งเคยได้ประโยชน์จากการที่ Fed เป็นผู้ซื้อรายใหญ่

Yield พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นจาก 1.6% เป็นเกือบ 3% ภายในเวลาไม่กี่เดือน ขณะที่ราคาตราสารหนี้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ ร่วงลงอย่างรุนแรง

ผลกระทบที่ตามมา คือเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว ค่าเงินในประเทศอย่างอินเดีย อินโดนีเซีย และบราซิล อ่อนค่าหนัก ภาครัฐต้องเร่งปรับนโยบายรับมือ พร้อมกับสูญเสียเสถียรภาพทางการเงินในระยะสั้น

3. ปี 2022 – 2023 Bond Shock ยุคใหม่จากดอกเบี้ยสูง

Bond Yield หลังจาก Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย

Bond Yield หลังจาก Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย | Source: Futubull, Federal Reserve, Bloomberg

ภายหลังการระบาดของ COVID-19 โลกอยู่ในช่วงดอกเบี้ยต่ำและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งด้านการเงินและการคลัง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ตามมาคืออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่เงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี

Fed จึงจำเป็นต้อง “เร่งขึ้นดอกเบี้ย” อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยปรับขึ้นจาก 0.25% ไปแตะระดับกว่า 5% ภายในเวลาเพียง 12 เดือนในปี 2022

ผลลัพธ์คือราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลงอย่างรุนแรง แม้จะเป็นตราสารที่มีความมั่นคงสูงและได้รับการจัดอันดับเครดิตสูงสุด นักลงทุนที่ถือพันธบัตรเหล่านี้จึงเผชิญผลขาดทุนทางบัญชี (Mark-to-Market) ในระดับที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

ผลกระทบไม่ได้หยุดเพียงในระดับนักลงทุนรายย่อยหรือกองทุน แต่ลุกลามไปถึง “ระบบธนาคาร” โดยเฉพาะกรณีของ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งมีการถือพันธบัตรระยะยาวจำนวนมาก และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากดอกเบี้ย เมื่อราคาตราสารเหล่านั้นลดลง และลูกค้าถอนเงินพร้อมกัน จึงขาดสภาพคล่องและนำไปสู่การล้มละลายในที่สุด

ผลพวงจาก Bond Shock ที่นักลงทุนต้องรู้

การเกิด Bond Shock ไม่ได้เป็นแค่เหตุการณ์ธรรมดาในตลาดการเงิน แต่คือการ “สั่นคลอนความเชื่อมั่น” ของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตราสารหนี้ซึ่งควรจะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความผันผวนครั้งใหญ่

หนึ่งในสัญญาณที่สะท้อน Bond Shock ได้อย่างชัดเจนคือ “ราคาพันธบัตรที่ร่วงลงอย่างรวดเร็ว” การที่นักลงทุนเทขายพันธบัตรจำนวนมาก อาจสะท้อนถึงความไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่ หรือในอีกมุมหนึ่ง อาจเป็นความกังวลว่ารัฐบาลจะกู้เงินมากเกินไป จนเกิดความเสี่ยงทางการคลัง (Fiscal Risk) นักลงทุนจึงเริ่มลดการถือครองหนี้รัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ที่พุ่งขึ้นรวดเร็ว

ทั้งนี้ ผลกระทบไม่ได้หยุดอยู่แค่ในตลาดพันธบัตร เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดพุ่งสูงขึ้น บริษัทเอกชนและประชาชนทั่วไปที่ต้องการกู้ยืมเงินก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย การซื้อบ้าน การผ่อนรถ หรือแม้แต่การลงทุนในธุรกิจ กลายเป็นเรื่องที่ “แพงขึ้น” อย่างฉับพลัน ผลลัพธ์คือเศรษฐกิจจริงอาจชะลอตัวลงจากแรงกระแทกนี้

ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดหุ้นเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ เพราะเมื่อต้นทุนเงินเพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจก็ถูกตั้งคำถามทันที ดอกเบี้ยที่สูงหมายถึงนักลงทุนจะต้องใช้ “ดิสเคานต์เรต” ที่สูงขึ้นในการประเมินมูลค่าหุ้น ซึ่งทำให้ราคาหุ้นดูแพงขึ้นทันทีเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ส่งผลให้ตลาดหุ้นตกลงตามมาด้วยแรงเทขายจากนักลงทุนทั่วโลก

สงครามการค้า ระเบิดเวลา Bond Shock?

สงครามการค้า (Trade War) คือระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ ที่อาจจุดชนวนให้เกิด Bond Shock ได้รุนแรงยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ สงครามภาษีระหว่างสหรัฐฯ และจีน หากต้นทุนสินค้านำเข้าสูงขึ้นจากภาษี เงินเฟ้อก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตาม นักลงทุนจึงเริ่มคาดการณ์ว่า Fed อาจจำเป็นต้องคงดอกเบี้ยในอัตราที่สูงและนานกว่าที่เคย และเมื่อความคาดหวังเปลี่ยน ตลาดพันธบัตรก็ปรับตัวอย่างรวดเร็ว ราคาพันธบัตรร่วงและ Yield พุ่งขึ้นในทันที

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ตลาดไม่อาจมองข้ามได้ นั่นคือการที่จีนเป็นผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รายใหญ่ หากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศลุกลาม จีนอาจลดการซื้อพันธบัตร หรือถึงขั้นขายออก ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะอุปสงค์ลดลงทันที ราคาพันธบัตรจะปรับตัวลง และ Bond Yield พุ่งขึ้นอีกครั้ง

และในภาพรวมของตลาดโลก ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งขึ้นจากกระแสความกังวล และการไหลของเงินทุนกลับเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยในสหรัฐฯ จะยิ่งซ้ำเติมตลาดเกิดใหม่ ทุนไหลออกจากตลาดเหล่านี้ ทำให้เกิดความปั่นป่วนในระบบการเงิน และนักลงทุนบางกลุ่มอาจตัดสินใจลดความเสี่ยงด้วยการขายตราสารหนี้ทิ้งอีกระลอก


อ้างอิง: Tradingview, ม้าเฉียว ดูหุ้น The Future, Reuters, Investopedia

เจรจาภาษีไทย-สหรัฐฯ ส่อเลื่อน! “พิชัย” เผยรอยืนยันคิวจาก USTR

Finnomena
เจรจาภาษีไทย-สหรัฐฯ ส่อเลื่อน! “พิชัย” เผยรอยืนยันคิวจาก USTR

การเจรจาระหว่างทีมไทยแลนด์ นำโดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อหาทางปลดล็อกมาตรการภาษีตอบโต้ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อแววเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร เคยระบุไว้ว่า จะเกิดขึ้นในวันที่ 23 เมษายน 2568

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันวันและเวลาที่แน่นอนจากฝ่ายสหรัฐฯ ทำให้การเจรจาต้องเลื่อนออกไปก่อน แม้ว่าก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะได้เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อโรดโชว์และรวบรวมข้อมูลนักลงทุนสำหรับใช้ในการเจรจาแล้วก็ตาม โดยขณะนี้ยังต้องรอการตอบรับและกำหนดวันจากสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ก่อน

นายพิชัยกล่าวว่านโยบายทรัมป์ 2.0 เป็นสิ่งที่น่ากังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไตรมาสสองนี้ แม้ว่าในไตรมาสแรกการส่งออกของไทยจะยังคงขยายตัวได้ดี โดยในเดือนมกราคมขยายตัว 13.6% และเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัว 14% ซึ่งในวันที่ 24 เมษายนนี้ กระทรวงพาณิชย์จะแถลงตัวเลขเดือนมีนาคม ยืนยันว่าการส่งออกยังคงขยายตัวได้เกิน 10% แน่นอน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/economy/625555