แจ้งเตือน

สรุปกองทุนแนะนำ: ต้อนรับกลยุทธ์เดือนพฤศจิกายน [อัปเดต 5 พ.ย. 2024]

Finnomena Funds
กองทุนแนะนำเดือนพฤศจิกายน

Finnomena Funds คัดกองทุนเด่น เจาะกลยุทธ์เดือนพฤศจิกายน เมื่อผลการเลือกสหรัฐฯ อาจทำตลาดผันผวน ต้องเน้นการ Selective หาจังหวะสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว

Highlight


กองทุนแนะนำเดือนพฤศจิกายน

อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 โดย Finnomena Funds

ภาพรวมภาวะการลงทุนในช่วงเดือนตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา พบว่าหุ้นกลุ่ม Emerging Market ปรับตัวลดลงแทบทั้งหมด หลัง Fund Flow ไหลออก Dollar Index กลับมาแข็งค่า ตรงกันข้ามกับหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา และกลุ่ม Magnificent-7 ที่ยังคงเป็นบวกได้ ซึ่งถูกหนุนด้วยการถูกปรับประมาณการกำไรที่ออกมาดูดี

ส่วน Bond Yield ก็ปรับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยอายุ 3 เดือน อยู่ที่ 4.50% 2 ปี อยู่ที่ 4.21% และ 10 ปี อยู่ที่ 4.28% เป็นการเด้งขึ้นมาจากมุมมองเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เพราะตลาดคิดว่ามีโอกาสสูงที่ Trump จะชนะเลือกตั้ง เกิดการใช้นโยบายขาดดุล 

ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแกร่งกว่าคาด แต่ Valuation ปัจจุบันเริ่มตึงตัวแล้ว จึงแนะนำเน้นการ Selective และใช้จังหวะความผันผวนช่วงเลือกตั้งนี้ เข้าสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena 


มุมมองการลงทุน FundTalk Call

โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

1.) K-APB-A(A)

กองทุนตราสารหนี้เอเชีย กระจายลงทุนในหลากหลายประเทศ เช่น อินเดีย ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ซึ่งสามารถให้ Yield ที่สูงกว่า 7.39% ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเข้าสู่ช่วงขาลง และเข้าซื้อในจังหวะที่ Bond Yield ดีดตัวขึ้น

2.) DAOL-KOREAEQ

กองทุนหุ้นเกาหลีใต้แบบ Active Fund เป็นตลาดเอเชียที่มีโอกาสให้เข้าทยอยสะสม ด้วยมูลค่าที่ยังไม่แพง ช่วงที่ผ่านมาราคาปรับตัวลงแรงกว่าปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงแข็งแกร่ง และเติบโตตามเทรนด์ของชิปเซมิคอนดักเตอร์

3.) KT-ENERGY

กองทุนหุ้นพลังงานทั่วโลก เน้นลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมัน ซึ่งกำลังอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง โดยมีโมเมนตัมหนุนจากกระแส Trump Trade  

มุมมองการลงทุน Mr.Messenger Call

โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

1.) ES-USBLUECHIP

กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยเน้นคัดเลือกบริษัทที่เติบโตทั้งรายได้ กำไร และกระแสเงินสด ตลอดจนมีความสามารถทางการแข่งขันสูง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อโอกาสการลงทุนตามเทรนด์ขาขึ้น รับการประกาศงบที่สดใสในไตรมาส 3 

2.) SCBSEMI(A)

กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมการประกาศผลประกอบการหุ้นชิปอเมริกาที่คาดว่าจะออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คิด อาทิ Nvidia, Broadcom และ Qualcomm เป็นต้น

3.) ABGFIX-A และ TUSFIX

กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (Unhedged) มองเป็นจังหวะเก็งกำไร USDTHB ผ่านตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ จากทิศทางของค่าเงินบาทที่น่าจะกลับมาเกิน 34 บาทต่อดอลลาร์   

มุมมองการลงทุน MEVT Call

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ซึ่งมีปัจจัยหนุนให้เดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับ Catalyst จากการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีหน้า

2.) B-INNOTECH

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี ซึ่งเน้นการคัดเลือกหุ้น Value Play ตามปรัชญาของผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญในการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง พร้อมรับอานิสงส์จากงบหุ้นบิ๊กเทคที่คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง

3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A

กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมในช่วงที่ Bond Yield ดีดขึ้นมาในระยะสั้น เพื่อถือรับโอกาสในระยะยาว แม้จะมีความเสี่ยงจากนโยบายของ Trump แต่ก็เป็นกองทุน Active ที่ปรับ Duration ได้อย่างยืดหยุ่นตามสถานการณ์ตลาด

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Nvidia สร้างประวัติศาสตร์! เบียด Intel หลุดดัชนี Dow Jones ยืนยันความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมชิป AI

Finnomena Editor
Nvidia เบียด Intel หลุด Dow Jones

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์กำลังเกิดขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อ Nvidia (NVDA) ผู้นำด้านชิป AI จะเข้ามาแทนที่ Intel (INTC) อดีตผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก ในดัชนี Dow Jones Industrial Average โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้

Dow Jones ดัชนีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ดัชนี Dow Jones มีชื่อเต็มว่า Dow Jones Industrial Average (DJIA) เป็นดัชนีทางการเงินเก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงมีการเผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน โดยถือกำเนิดขึ้นในปี 1896 จาก Charles Dow และ Edward Jones สองนักหนังสือพิมพ์ด้านการเงิน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัด “สุขภาพ” ของเศรษฐกิจอเมริกา

ในช่วงเริ่มต้นดัชนี Dow Jones ประกอบไปด้วยด้วยหุ้น 12 บริษัท และต่อมาในปี 1928 ก็ได้ขยายตัวเป็น 30 บริษัทจนถึงปัจจุบัน

ดัชนี Dow Jones คัดเลือกหุ้นยังไง?

ดัชนี Dow Jones มีการเกณฑ์ที่เข้มงวดในการคัดเลือกหุ้นเข้าดัชนี โดยจะต้องเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้อย่างแม่นยำ

โดยบริษัทที่จะเข้าสู่ดัชนี Dow Jones ต้องมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง โดยทั่วไปบริษัทได้รับการพิจารณามักมี Market Cap มากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.38 ล้านล้านบาท)

นอกจากนี้ ยังต้องมีประวัติการดำเนินงานที่ยาวนาน มีความมั่นคงทางการเงิน และมีกำไรติดต่อกันมาหลายไตรมาส ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหุ้น Blue Chip ในกลุ่มเทคโนโลยี การเงิน และค้าปลีกที่สะท้อนโครงสร้างเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

จุดเด่นที่สำคัญของดัชนี Dow Jones คือการถ่วงน้ำหนักด้วยราคา (Price-weighted) ไม่ใช่ Market Cap เหมือนดัชนีอื่น ๆ เช่น S&P 500 หรือ Nasdaq 100 นั่นหมายความว่าหุ้นที่มีราคาสูงจะส่งอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีมากกว่า แม้ว่าบริษัทดังกล่าวอาจมี Market Cap น้อยกว่า

วิธีการคำนวณดัชนี Dow Jones นั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา คือ นำราคาปิดของหุ้นทั้งหมดที่อยู่ในดัชนีมาบวกกัน แล้วนำผลรวมนั้นไปหารด้วยตัวเลขที่เรียกว่า “Dow Divisor” ซึ่งตัวหารนี้จะถูกปรับเปลี่ยนอยู่เสมอเพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การแตกหุ้น การรวมกิจการ หรือการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของดัชนี

ตลอด 128 ปีที่ผ่านมา Dow Jones มีการปรับเปลี่ยนหุ้นในดัชนีมาแล้วกว่า 50 ครั้ง สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านจากยุคอุตสาหกรรมหนักสู่ยุคดิจิทัล และการที่ Nvidia เข้ามาแทนที่ Intel ในครั้งนี้ ถือเป็นสัญญาณของการก้าวสู่ยุค AI อย่างเต็มตัว

Intel อำลา Dow Jones

หลังจากอยู่ในตำแหน่งมากว่า 25 ปี Intel จะต้องอำลาดัชนี Dow Jones ในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ขณะที่ Nvidia ได้ก้าวขึ้นเป็นสมาชิก “3 Trillion Dollar Club” กลุ่มบริษัทชั้นนำที่มี Market Cap เกิน 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 100 ล้านล้านบาท) ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft และ Apple

ปี 2024 นับเป็นปีทองของ Nvidia เมื่อราคาหุ้นพุ่งทะยานกว่า 180% และหากนับตั้งแต่ต้นปี 2023 ราคาหุ้นของ Nvidia ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า โดยมีแรงหนุนหลักจากกระแส AI ที่กำลังร้อนแรงไปทั่วโลก

ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 พฤศจิกายน 2024) ราคาหุ้น Nvidia ปิดที่ 135.37 ดอลลาร์สหรัฐ ตรงข้ามกับ Intel ที่เผชิญภาวะซบเซามากว่าหนึ่งปี และยังคงดิ้นรนกับการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดชิป AI โดยราคาหุ้นของ Intel ได้ปรับตัวลงมากว่า -50% ในปีนี้

และในไตรมาส 3/2024 Intel ได้รายงานผลขาดทุนมหาศาลถึง 16,600 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าหุ้นจะฟื้นตัวขึ้น 8% หลังประกาศคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 4/2024 ก็ตาม

ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังจับตารอผลประกอบการไตรมาส 3/2024 ของ Nvidia ที่จะประกาศในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งกระแส AI Boom ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของ Nvidia โดยบริษัทได้เร่งกำลังการผลิตชิป AI รุ่นใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันตลาดยังคงผันผวนจากปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ โดย Apple บริษัท Big Tech ที่มี Market Cap สูงสุดในโลก เผชิญกับแรงเทขายจนราคาร่วง 2% แม้รายได้จะดีกว่าคาด แต่กำไรไตรมาส 4/2024 กลับดิ่งลงถึง 36% เทียบปีก่อน จากเหตุถูกปรับภาษีในยุโรปกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 338,000 ล้านดอลลาร์)

กองทุนหุ้นอเมริกา ลงทุนตามดัชนี Dow Jones

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนล้อไปตามดัชนี Dow Jones ปัจจุบันมีกองทุนให้เลือกคือ SCBDJI(A) และ SCBDJI(SSF) ซึ่งเป็น Passive Fund ที่ลงทุนผ่าน SPDR Dow Jones Industrial Average ETF Trust

ด้วยการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 30 ตัวของอเมริกา โดยมีส่วนผสมทั้งธุรกิจขนาดใหญ่แบบดั้งเดิม และหุ้นเติบโตแห่งอนาคต


อ้างอิง: Edge Middle East, Finnomena, Settrade

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ขยันถูกที่ 30 ปีจะรวย

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
ขยันถูกที่ 30 ปีจะรวย

กรณีของดิไอคอนกรุ๊ปที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจำนวนมากโดยการหลอกลวงให้คนเข้ามา “ลงทุน” ทำธุรกิจขายสินค้าแบบเครือข่ายที่จะสามารถทำเงินได้อย่างรวดเร็วจนร่ำรวยโดยมีคติพจน์ว่า “ขยันผิดที่ 10 ปี ก็ไม่รวย” นั้น ผมคิดว่าเป็นคำพูดมาตรฐานที่ถูกใช้ตลอดมาที่จะชักชวนให้คนเข้ามาร่วมทำงานหรือธุรกิจหรือลงทุนในสิ่งที่มักจะทำให้คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือคนคุมกิจกรรมรวยมาก คนที่ตามมาก็อาจจะรวยบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ที่มาทีหลังสุดจะจน และบางครั้งก็หมดตัว เพราะสิ่งที่ทำนั้นจะมีลักษณะคล้าย “แชร์ลูกโซ่” ที่เอาเงินคนที่มาทีหลังมาจ่ายให้กับคนที่มาก่อน

ในฐานะของคนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความร่ำรวยระดับหนึ่งจากการที่เคยเป็นคนจนในวัยเด็กและคนชั้นกลางในช่วงวัยกลางคน ผมคิดว่าวิธีสร้างความร่ำรวยได้จริง ๆ นั้นมีอยู่ แต่คน ๆ นั้นจะต้องขยัน “ถูกที่” และก็ต้องใช้เวลาสัก 30 ปี ก่อนที่จะรวย

คำว่าขยันถูกที่นั้น ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย อาจจะเป็นงานประจำที่เราทำอยู่ แต่ต้องเป็นงานที่ให้รายได้ค่อนข้างแน่นอนและดีพอสมควร งานนั้น ซึ่งอาจจะมีหลายอย่างรวมถึงงานพิเศษด้วย สามารถทำรายได้ให้เราเพียงพอในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและมีเงินเหลือเก็บเฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเราจะนำมาลงทุนอย่างสม่ำเสมอในตลาดหุ้นที่จะกล่าวต่อไป

ในแต่ละปี เราจะต้องขยันหาเงินเพิ่มขึ้น อาจจะมาจากการทำงานหนักถ้าเราเป็นลูกจ้างบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้เงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นและทำให้เรามีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อเนื่องไปทุกปี นั่นคือ ปีที่ 2 เราต้องมีเงินเหลือเก็บและนำไปลงทุนในตลาดหุ้น 11,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย และปีที่ 3 ต้องเก็บเดือนละ 12,100 บาท

ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี ที่เราทำงานอยู่ เช่นสมมติว่าปีนี้เราอายุ 30 ปี เราก็จะเก็บเงินและนำมาลงทุนจนอายุ 60 ปีที่อาจจะเป็นเวลาที่เกษียณ ซึ่งคิดแล้วก็จะเท่ากับว่าเราเก็บเงินและนำไปลงทุนรวมกันประมาณเท่ากับ 20.7 ล้านบาท โดยที่ปีสุดท้ายเราเก็บเงินได้ถึง 1.9 ล้านบาท จากปีแรกที่เราเก็บได้เพียงปีละ 120,000 บาท

นั่นอาจจะฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ที่เราจะทำงานแล้วมีรายได้มากพอที่จะเก็บเงินได้ปีละถึงเกือบ 2 ล้านบาท แต่ถ้าลองมาประเมินหรือคำนวณดูก็รู้ว่ามันเป็นไปได้โดยเฉพาะถ้าเรา ขยันและตั้งใจทำงานพอต่อเนื่องไปอีก 30 ปี ซึ่งเวลานั้น เงินเกือบ 2 ล้านบาทที่จะต้องเก็บอาจจะไม่มากอย่างที่คิด ดังที่จะกล่าวต่อไป

สมมติว่าวันนี้เรามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และเราเก็บเดือนละ 10,000 บาท ตามโมเดลที่เรากำหนด ซึ่งจะทำให้เรามีเงินเก็บเพื่อลงทุนปีละ 120,000 บาท

เนื่องจากเราขยันถูกที่ เราสามารถสร้างรายได้หรือเงินเดือนเพิ่มปีละ 10% ไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายหรือปีสุดท้าย เราก็จะมีเงินเดือนเดือนละ 523,482 บาท หรือปีละ 6.3 ล้านบาท ซึ่งการเก็บออมเพียง 1.9 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง

หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าจะทำได้ที่เงินเดือนหรือรายได้จะเพิ่มขึ้นมาได้ขนาดนั้น แต่ถ้าดูตัวเลขก็จะพบว่าเงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 17.4 เท่าในเวลา 30 ปี แต่ผมลองนึกถึงตัวเองที่เริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 ปี ด้วยเงินเดือน 3,000 บาท แต่ในวันที่ผมเกษียณจากการทำงานเมื่อายุ 52 ปีในปี 2548 เป็นเวลาประมาณ 30 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายของผมนั้นมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 33 เท่า ดังนั้น ตัวเลขที่เห็นรายได้เดือนละกว่า 5 แสนบาทในอีก 30 ปีข้างหน้านั้น จึงเป็นไปได้ไม่ยากโดยเฉพาะถ้าเราขยันทำงานถูกที่

ว่าที่จริงเรื่องรายได้นั้นผมเองคิดว่าโอกาสที่เราจะทำเงินได้แบบนั้นจริง ๆ กลับไม่ยากเท่ากับการออมเงินให้ได้ตามที่กำหนด คือเริ่มจากเดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นปีละ 10% แบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เป็นเวลา 30 ปี ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ ต้องขยันและ “อดออม” ถ้าอยากจะรวย แต่แค่นั้นก็ยังไม่พอ เราต้องรู้จักการลงทุนให้ “ถูกที่” ด้วย

การลงทุนที่ถูกที่ก็คือการลงทุนในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบพื้นฐานที่สุด ไม่ลงทุนในทรัพย์สินอื่นที่ไม่มีพื้นฐานทางธุรกิจรองรับเช่น พวกเหรียญดิจิทัลต่าง ๆ นาฬิกา งานศิลปะหรือพระเครื่อง นอกจากนั้น ก็ควรจะหลีกเลี่ยงหลักทรัพย์อนุพันธ์ที่ซับซ้อนต่าง ๆ เช่น วอแรนต์และเครื่องมือทางการเงินที่เพิ่มความเสี่ยงโดยการกู้เงินมาลงทุนเพิ่ม เช่นการใช้มาร์จินซื้อขายหุ้น การทำบล็อกเทรด และการเทรดตราสารการเงินอย่างฟิวเจอร์และออปชันต่าง ๆ เป็นต้น

ในกรณีที่เราไม่ได้มีความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นเพียงพอ การลงทุนในกองทุนรวมที่มีการกระจายความเสี่ยงเพียงพอ เช่นกองทุนตลาดโดยรวม คือทางเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ลงทุนให้ “ถูกตลาด” นั่นก็คือ ต้องลงทุนในตลาดหุ้นที่ยังเติบโต เช่นในตลาดหุ้นของประเทศที่เศรษฐกิจยังเติบโตไปอีกอย่างน้อย 10 ปี ขึ้นไป อย่างเช่นประเทศในอาเซียนเช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย หรือประเทศอย่างอินเดีย เป็นต้น

หรือไม่ก็ลงทุนในตลาดหุ้นที่มีบริษัทระดับโลกจำนวนมากอย่างในตลาดหุ้นอเมริกา ซึ่งก็มักจะโตต่อไปได้อีกนานเพราะโลกก็น่าจะยังเติบโตต่อไปได้อีกนาน

ผลตอบแทนการลงทุนที่เราพอจะคาดหวังได้จากการลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นที่ยังเติบโตตามเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วระดับ 6-7% ต่อปีก็คือประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น

แต่ถ้าเรามีความสามารถในการวิเคราะห์และเลือกหุ้นลงทุนเอง กลยุทธ์แบบหนึ่งที่อาจจะทำให้เราสร้างผลตอบแทนได้เกินปีละ 10% แบบทบต้นต่อเนื่องยาวนานก็คือการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีลักษณะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่เป็นบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่ดีเยี่ยมเป็นที่ต้องการและมีคู่แข่งน้อยมาก และความต้องการสินค้านั้นยังเติบโตไปอีกนาน โดยที่เราจะถือหุ้นของบริษัทเหล่านั้นประมาณ 6 ตัวตลอดเวลา

กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องลงทุนให้ถูกที่ พยายามสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นโดยเฉลี่ยปีละ 10% เป็นเวลา 30 ปีจากเม็ดเงินที่เราออมและนำมาลงทุนต่อเนื่องทุกปี และไม่มีการถอนเงินมาใช้ เงินปันผลที่ได้รับและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจะต้องนำกลับไปลงทุนในหุ้นเสมอ

ถ้าเราปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวทั้งหมดได้ พอถึงสิ้นปีที่ 30 และอาจจะเป็นวันที่เราเกษียณ เราจะมีเงินประมาณ 62.7 ล้านบาท จากเงินที่เราเก็บมาตลอดจำนวนประมาณ 20.7 ล้านบาท หรือมีเงินเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาทจากการลงทุน และนั่นก็คือความร่ำรวยที่โอกาสเป็นไปได้สูงเกิน 50% และถ้าพลาดก็ไม่เสียหายรุนแรง ความร่ำรวยอาจจะเหลือแค่ 40-50 ล้านบาท ซึ่งก็ยังเพียงพอที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขตลอดไป เพราะเงิน 62.7 ล้านบาทในวันนั้น จะมีค่าประมาณ 34.6 ล้านบาทในวันนี้ถ้าคิดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะเพิ่มปีละ 2% ในอีก 30 ปีข้างหน้า

แน่นอนว่าหลายคนอาจจะทำไม่ได้ที่จะเก็บเงินได้ถึงเดือนละ 10,000 บาท ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกไม่น้อยที่สามารถเก็บได้มากกว่านั้น เช่นเดียวกัน การเพิ่มการออมปีละ 10% ไปทุกปีก็เป็นเรื่องที่อาจจะยากสำหรับหลายคน แต่สำหรับบางคนก็อาจจะง่าย เหตุผลคงเป็นเรื่องของความสามารถส่วนตัว แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันอาจจะอยู่ที่ความขยันและวินัยในการใช้จ่ายเงินด้วย

เช่นเดียวกับเรื่องของเงินเก็บที่อาจไม่เป็นไปตามแผน ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ อาจจะเพราะตลาดหุ้นที่เราเลือกเปลี่ยนแปลงไปในทางลบอย่างถาวร หรือหุ้นที่เราเลือกมีความผิดพลาดหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ ประเมินสถานะและความเป็นไปของตลาดและหุ้นที่ลงทุนเสมอ แต่อย่าตื่นเต้นตกใจกับความผันผวนที่เกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลา เกมการลงทุนระยะยาวนั้น เราต้องเน้น “ภาพใหญ่” ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องทุ่มเทมากกว่าก็คือ การทำงานและเก็บออมที่จะเป็นจุดตั้งต้นที่จะทำให้เรารวย

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

Warren Buffett เก็บเงินสดเยอะเป็นประวัติการณ์! เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วง 10 ปี

Finnomena Editor
Warren Buffett ตุนเงินสด

ข้อมูลล่าสุด (Q3/34) Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett สะสมเงินสดมากเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวน $3.25 แสนล้าน หรือประมาณ 11.86 ล้านล้านบาท

และได้ทยอย Take Profit หุ้นออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้น Apple ที่ขายออกไปอีก 100 ล้านหุ้น หรือประมาณ 25% ของที่ถือครอง ทำให้ปัจจุบัน Berkshire Hathaway เหลือหุ้น Apple อยู่ที่ 300 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าปรมาณ $69.9 พันล้าน

10 ปีมานี้ Warren Buffett ถือเงินสดเยอะแค่ไหน?

  • ปี 2024 11.86 ล้านล้านบาท
  • ปี 2023 5.69 ล้านล้านบาท
  • ปี 2022 4.37 ล้านล้านบาท
  • ปี 2021 4.98 ล้านล้านบาท
  • ปี 2020 4.70 ล้านล้านบาท
  • ปี 2019 4.35 ล้านล้านบาท
  • ปี 2018 3.80 ล้านล้านบาท
  • ปี 2017 3.94 ล้านล้านบาท
  • ปี 2016 2.93 ล้านล้านบาท
  • ปี 2015 3.32 ล้านล้านบาท

 

สำหรับเงินสดที่ Buffett ถือ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบสินทรัพย์ที่เทียบเท่าเงินสด เช่น กองทุนตลาดเงิน ซึ่งเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น

กลยุทธ์การถือเงินสด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงิน และเป็นการเตรียมกระสุนให้พร้อมเสมอสำหรับโอกาสการลงทุนใหญ่ ๆ เมื่อตลาดเอื้ออำนวย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ Berkshire Hathaway ให้ความสำคัญมาโดยมาตลอด ด้วยการรักษาสภาพคล่องเฉลี่ยไว้ประมาณ 15-20% ของสินทรัพย์รวม

อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าระยะปีหลังมานี้ Berkshire Hathaway มีสถานะ “ขายมากกว่าซื้อ” คือเพิ่มสัดส่วนการถือเงินสดมากขึ้นได้เห็นได้ชัด และไม่ได้มีการเข้าลงทุนหุ้นขนาดใหญ่มานานแล้ว

Source: https: Forbes.com as of 2/11/2024

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนเงินสดของ Berkshire Hathaway เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม ตั้งแต่ปี 1990-2024

จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา สัดส่วนเงินสดมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด จนถึงจุดสูงสุดที่ประมาณ 28.3% ในปี 2024

เช่นเดียวกับอดีตในช่วงปี 2000 Dot Com Crisis และปี 2008 Subprime Crisis ก็มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนเงินสดอย่างชัดเจน สะท้อนถึงการปรับตัวในการรักษาสภาพคล่องเมื่อเกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ


อ้างอิง: Bloomberg, Companies MarketCap, Forbes.com

เริ่มวางแผนเรื่องเงิน สไตล์ Gen Z ติด Glam

Finspace
เริ่มวางแผนเรื่องเงิน สไตล์ Gen Z ติด Glam

ในปัจจุบัน ใครๆ ก็ใช้ชีวิตแบบ “ติดแกลม” โดยเฉพาะ Gen Z ที่อายุระหว่าง พ.ศ. 2541-2565 คำว่า “ติดแกลม” มาจาก “Glamorous” แปลว่า สวย มีสเน่ห์ น่าดึงดูด

ซึ่งวัยรุ่น Gen Z นิยมใช้คำนี้ เนื่องจาก ต้องการใช้ชีวิตหรู ภาพลักษณ์ออกมาดี ซื้อสินค้าแบรนด์เนม ทานอาหารแพง ๆ หรือไปเที่ยวทุกสุดสัปดาห์

ไลฟ์สไตล์แบบ “ติดแกลม” ทำให้วัยรุ่น Gen Z หันมาใช้จ่ายกันมากขึ้น โดยเป็นการซื้อและผ่อนตามทีหลัง เพราะมองเห็นว่า ”ของมันต้องมี”

พฤติกรรมนี้จึงเสี่ยงทำให้มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เกิดหนี้ครัวเรือนมากเพิ่มขึ้น อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นายธนวรรธน์ พลวิชัย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2566  พบว่า ภาระหนี้สิน ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้อสังหาริมทรัพย์ หรือหนี้รถยนต์ เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นมากสุดในรอบ 15 ปี ส่วนหนึ่งเกิดจากค่านิยมในสื่อโซเชียล ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอ

4 คำแนะนำการเงินสำหรับคน Gen Z

เริ่มวางแผนเรื่องเงิน สไตล์ Gen Z ติด Glam

1. ถึงไม่มีความรัก แต่ยังมีความรู้

หากใครที่ยังไม่มีรายได้ ยังต้องมีค่าขนมจากผู้ปกครอง หรือมีแค่งานประจำเพียงงานเดียว การเริ่มต้นที่เหมาะสมในก้าวแรกก็คือ ลงทุนในความรู้ทักษะของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการหาคอร์สเรียน ฟัง Podcast อ่านหนังสือ เพื่อที่จะสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตและติดตัวเราไปตลอด เช่น หากเราลงเรียนคอร์สเสริมทักษะ เราก็สามารถนำไปพัฒนาในอาชีพการงาน หรือเลื่อนขั้นที่สูงขึ้นได้

2. ใครไม่ออม เงินออม

“เก็บหอมรอมริบ” เป็นสุภาษิตที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน ซึ่งหมายถึง เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย สร้างนิสัยประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ในที่สุดเงินก็จะเพิ่มพูนขึ้นมา คนไทยเมื่อก่อนมักจะสอนลูกหลานให้ประหยัดออมเงิน หรือทรัพย์สินที่หามาได้ เพื่อไม่ให้เกิดหนี้สิน หรือนำเงินที่เราออมไว้ ไปลงทุนในกองทุน หุ้นต่าง ๆ จะมากหรือน้อยพอถึงวัยเกษียณก็จะมีให้เราเหลือใช้

3. Work Hard Pay Hard แต่ต้องมีเงินสำรอง

ในวันที่เราล้ม ถ้าเงินที่เรามีไม่พอใช้ เราควรวางแผนที่จะมีเงินสำรองฉุกเฉิน เช่น หากเราทำงานประจำ เป็นมนุษย์ออฟฟิศ เราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น เงินเดือน 20,000 เงินสำรองเราควรมี 120,000 บาท เพราะหากเกิดปัญหาในอนาคต เราจะได้ล้มโดยที่ยังมีฟูกรอง

4. วางแผนการลงทุน

สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเริ่มต้นลงทุนได้อย่างง่าย คือ เราต้องรู้เป้าหมายของเราว่าต้องการแบบไหน มองถึงวัยเกษียณ หรือมีเงินเก็บสำรองเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน การเลือกลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม หรือคริปโทเคอร์เรนซี ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไม่เสียเปล่า

การลงทุนที่เหมาะกับ ‘Gen-Z’ เรียกว่ามีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุน หากใครต้องการลงทุนระยะยาว มีโอกาสเติบโต

Gen Z ยังเหมาะกับกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมาเพราะยังมีเวลาในการปรับพอร์ตอีกมาก นอกจากนี้ คนวัยนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นสู่การทำงาน (First Jobber) โดยเน้นการสร้างความมั่งคั่งเป็นหลัก

แต่ถึงแม้ช่วงอายุจะเป็นตัวแปรในการจัดสรรเงินลงทุน แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ด้องพิจารณาควบคู่ไปด้วย เช่น หน้าที่การงาน วัตถุประสงค์ของการลงทุน ตัวเราต้องการไปใช้จ่ายแบบไหน กิน เที่ยว ชอปปิง  หรือระยะเวลาในการลงทุน หากเราวางแผนหรือมีเป้าหมาย จะทำให้สามารถยอมรับความเสี่ยงและมีการจัดสรรเงินในพอร์ตลงทุนที่แตกต่างกัน

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/gen-z-finance/

10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนตุลาคม 2024

Finnomena Funds
10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนตุลาคม 2024

กองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนตุลาคม 2567 จะมีกองทุนไหนบ้าง? ใช่กองทุนที่คุณมีอยู่รึเปล่า? ลองมาดูกัน

10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนตุลาคม 2024

10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนตุลาคม 2024

1. ES-STARTECHกองทุนเปิดอีสท์สปริง Star50 Chinese Technology

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนใน 50 บริษัทชั้นนำที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +22.10%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ES-STARTECH

2. ASP-DIGIBLOCกองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets Companies)
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +15.97%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ASP-DIGIBLOC

3. BCAP-CTECHกองทุนเปิดบีแคป ไชน่า เทคโนโลยี

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เน้นทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งดำเนินการและ/หรือมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +12.49%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/BCAP-CTECH

4. SCBMLCAAกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Machine Learning China All Share ชนิดสะสมมูลค่า

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในหุ้นที่ออกโดยบริษัทสัญชาติจีน
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +11.89%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/SCBMLCAA

5. LHGBLOCK-D / LHGBLOCK-Aกองทุนเปิด แอล เอช โกลบอล บล็อกเชน ชนิดจ่ายเงินปันผล และชนิดสะสมมุลค่า

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets Companies)
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +11.71%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/LHGBLOCK-D, https://www.finnomena.com/fund/LHGBLOCK-A

6. TCHSTARPกองทุนเปิด ทิสโก้ ไชน่า สตาร์ พลัส

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้ง ดำเนินธุรกิจ หรือมีรายได้หลักจากการประกอบกิจการในประเทศจีน
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +11.27%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/TCHSTARP

7. KT-PRECIOUSกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ โกลด์ แอนด์ เพรเชียส เอคควิตี้

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในกลุ่มอุตสาหกรรมการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทองคำและโลหะมีค่า
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +10.27%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/KT-PRECIOUS

8. SCBASHARES(A)กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ แอคทีฟ (ชนิดสะสมมูลค่า)

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนหุ้นของบริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประเทศจีน
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +9.20%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/SCBASHARES(A)

9. PRINCIPAL CHTECH-Aกองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า เทคโนโลยี ชนิดสะสมมูลค่า

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เน้นทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งดำเนินการและ/หรือมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +9.02%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/PRINCIPAL%20CHTECH-A

10. KT-BLOCKCHAIN-Aกองทุนเปิดเคแทม Blockchain Economy (ชนิดสะสมมูลค่า)

  • นโยบายลงทุน: ลงทุนในบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets Companies)
  • ผลตอบย้อนหลัง 1 เดือน: +8.86%
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/KT-BLOCKCHAIN-A

 ‍‍‍‍‍‍ ‍‍ ‍‍‍‍‍‍ ‍‍

อัปเดตตัวเลข วันที่ 25 .. 2567: BCAP-CTECH, SCBMLCAA, TCHSTARP, KT-PRECIOUS

อัปเดตตัวเลข วันที่ 28 .. 2567: ES-STARTECH, ASP-DIGIBLOC, LHGBLOCK-D, LHGBLOCK-A, SCBASHARES(A), PRINCIPAL CHTECH-A, KT-BLOCKCHAIN-A

*หมายเหตุ: ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน จาก Finnomena Funds จัดอันดับ ณ วันที่ 30 ต.ค. 2567 ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 . ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ตเก็บกำไร ถือเงินสด: รอจังหวะลงทุนใหม่หลังเลือกตั้งและงบประกาศ

Finnomena Funds
ปรับพอร์ตเดือนพ.ย.

Executive Summary

  • ระดับ Valuation ของหุ้นในสหรัฐอเมริกาสูง เหมาะสมสำหรับการทยอยทำกำไร
  • คาดการณ์ตลาดมีความผันผวนจากการเลือกตั้งและการประกาศงบการเงิน
  • แนะนำลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงบางส่วนและเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้โลกหรือเอเชีย
  • สับเปลี่ยนออกจากกองทุนตลาดเงินเข้ากองทุนตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากทิศทางดอกเบี้ยและภาพรวมตลาดหุ้นกู้ที่กลับมาเป็นปกติ

ภาพรวมคำแนะนำ

พอร์ต GAR

พอร์ต GCP

พอร์ต All Star

พอร์ต All Balance

พอร์ต All Defense

พอร์ต GIF

  • ลดสัดส่วน ABGDD-R 20%
  • เพิ่มสัดส่วน KKP PLUS 10% และ UGIS-A 10%

พอร์ต RIS

  • ลดสัดส่วน KKP MP 15%
  • เพิ่มสัดส่วน KKP ACT-FIXED 15%

พอร์ต Money Plus

  • ลดสัดส่วน KKP MP 10%
  • เพิ่มสัดส่วน KKP PLUS 100%

 

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 24/10/2024

Finnomena Funds มองว่าระดับ Valuation ปัจจุบันของหุ้น โดยเฉพาะหุ้นในสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการทยอยทำกำไร ทั้งนี้ ในอนาคตตลาดอาจมีความผันผวนมากขึ้นจากประเด็นการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และการประกาศงบการเงิน จึงแนะนำให้ปรับพอร์ตโดยลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม และเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้โลกหรือเอเชีย นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ย้ายกองทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย เพื่อเพิ่ม Yield ในภาพรวมให้สอดคล้องกับบริบทอัตราดอกเบี้ยที่กำลังปรับตัวลง


มุมมองสำหรับพอร์ต GAR

แนะนำให้ทยอยทำกำไรในกองทุนหุ้น 2 กอง ได้แก่ AFMOAT-HA และ B-INNOTECH จากระดับ Valuation ที่สูง โดยการลดสัดส่วนดังกล่าวยังสามารถช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในช่วงการเลือกตั้งสหรัฐฯ และฤดูกาลประกาศงบที่กำลังเกิดขึ้น

แนะนำสะสมกองทุนตราสารหนี้ในประเทศเอเชีย K-APB-A(A) โดยมีปัจจัยสนับสนุนในระยะสั้น ได้แก่

  • กระแส Flow ที่มองหาผลตอบแทน (Yield) จากกองทุนต่าง ๆ ที่ต้องการรักษาระดับผลตอบแทนให้สูง โดยปัจจุบัน Yield ของกองทุนอยู่ที่ 7.4%
  • Duration เฉลี่ยอยู่ที่ 5.5 ปี ซึ่งถือเป็นระดับ Duration ที่สูง มีโอกาสสร้างผลตอบแทนมากขึ้นในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในขาลงอย่างต่อเนื่อง
  • กลยุทธ์การลงทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทที่มีคุณภาพดีในประเทศที่มีเครดิตเรตติ้งไม่สูง ช่วยให้กองทุนสร้างผลตอบแทนจากดอกเบี้ยได้สูงภายใต้ความเสี่ยงที่ต่ำ
  • หากเศรษฐกิจโลกยังเติบโตต่อเนื่อง ตราสารหนี้ในประเทศเอเชียอาจสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้โลก

Source: am.lombardodier.com as of 24/10/2024

แนะนำให้พักเงินในกองทุน KKP PLUS เพื่อรอโอกาสในการจับจังหวะการลงทุนในอนาคต


มุมมองสำหรับพอร์ต All Series

สำหรับภาพรวมพอร์ตประเภท All Series ทั้ง 3 พอร์ต ได้แก่ All Star, All Balance และ All Defense ทาง Finnomena Funds แนะนำให้ลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน Satellite หรือกองทุนที่ทำหน้าที่สร้าง Alpha ระยะสั้น โดยหลังการปรับลดดังกล่าว พอร์ตทั้ง 3 จะยังคงรักษาสัดส่วนการลงทุนตามกรอบ SAA ระยะยาวที่ได้วางไว้

แนะนำให้ทำกำไรในกองทุนหุ้น 2 กอง ได้แก่ AFMOAT-HA และ B-INNOTECH สำหรับพอร์ต All Star และ All Balance จากระดับ Valuation ที่สูง โดยการลดสัดส่วนดังกล่าวจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในช่วงการเลือกตั้งสหรัฐฯ และฤดูกาลประกาศงบที่กำลังเกิดขึ้น

สำหรับพอร์ต All Star และ All Balance แนะนำให้พักเงินในกองทุน KKP PLUS เพื่อรอโอกาสในการลงทุนในอนาคต

สำหรับพอร์ต All Defense แนะนำให้ลงทุนในกองทุน KKP ACT-FIXED แทนทั้งหมด เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวและใช้เป็น Core Asset ของพอร์ตต่อไป


มุมมองสำหรับพอร์ต GCP GIF RIS และ Money Plus

สำหรับภาพรวมพอร์ต GCP, GIF, RIS และ Money Plus ซึ่งเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำ แนะนำให้ลดสัดส่วนในสินทรัพย์เสี่ยง และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้โลก หรือกองทุนพักเงิน

สำหรับพอร์ต GIF และ GCP แนะนำให้ทำกำไรจากกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม ได้แก่ ABGDD-R และ SCBWINA บางส่วน เนื่องจากระดับ Valuation ที่สูง โดยการลดสัดส่วนดังกล่าวจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในช่วงการเลือกตั้งสหรัฐฯ และฤดูกาลประกาศงบที่กำลังเกิดขึ้น นอกจากนี้ แนะนำให้เปลี่ยนหรือแบ่งสัดส่วนไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระดับโลกแทน ได้แก่ UGIS-A และ UGIS-N

สำหรับพอร์ต GCP และ RIS แนะนำให้ลงทุนใน KKP ACT-FIXED แทน KKP MP และสำหรับ Money Plus แนะนำให้ลงทุนใน KKP PLUS แทน KKP MP เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวและใช้เป็น Core Asset ต่อไป


รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ

KKP PLUS

  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและบริษัทเอกชนที่มีความมั่นคง พร้อมทั้งให้ผลตอบแทนที่ดี โดยกองทุนจะรักษาอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Portfolio Duration) ไม่เกิน 1.5 ปี โดยเฉลี่ยตลอดปีบัญชี นอกจากนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ณ วันที่ลงทุนจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB+ ขึ้นไป
  • กลยุทธ์การลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • ดัชนีชี้วัด ประกอบด้วย:
    • 30% ผลตอบแทนรวมของดัชนีพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 35% ดัชนีผลตอบแทนรวมตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (ThaiBMA Commercial Paper Index) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ A- ขึ้นไป ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 5% ผลตอบแทนรวมสุทธิของดัชนีตราสารหนี้ภาคเอกชน Mark-to-Market ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ BBB+ ขึ้นไป อายุ 1 – 3 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 10% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน สำหรับวงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท เฉลี่ยของ 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ หลังหักภาษี
    • 20% ของ Overnight Indexed Swap (OIS) 3 เดือน หลังหักภาษี ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทน

Source: am.kkpfg.com as of 24/10/2024

KKP ACT-FIXED

  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยลงทุนในตราสารภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตราสารรัฐวิสาหกิจ และ/หรือตราสารอื่นใดที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้าประกัน รวมทั้งลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชน และ/หรือเงินฝาก และ/หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาผลตอบแทนโดยวิธีอื่นอย่างหนึ่ง อย่างใด หรือหลายอย่าง ตามที่กำหนดในหัวข้อประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาผลตอบแทนโดยวิธีอื่นที่จะลงทุน หรือตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ทั้งนี้ กองทุนสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 79 ของ NAV ของกองทุน
  • กลยุทธ์การลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • ดัชนีชี้วัด ประกอบด้วย:
    • 40% ผลตอบแทนรวมสุทธิของดัชนีพันธบัตรรัฐบาล Mark-to-Market อายุ 1 – 3 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 10% ดัชนีผลตอบแทนรวมตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (ThaiBMA Commercial Paper Index) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ A- ขึ้นไป ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 30% ผลตอบแทนรวมสุทธิของดัชนีตราสารหนี้ภาคเอกชน Mark-to-Market ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ BBB+ ขึ้นไป อายุ 1 – 3 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 20% Overnight Indexed Swap (OIS) 1 ปี หลังหักภาษี ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน

Source: am.kkpfg.com as of 24/10/2024

K-APB-A(A)

  • ลงทุนในกองทุน LO Funds – Asia Value Bond Fund (USD), NA (กองทุนหลัก) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (รวมถึงประเทศญี่ปุ่น) ที่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เป็นหลัก กองทุนหลักอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) ได้
  • ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
  • กองทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ซึ่งกองทุนหลักมีเป้าหมายให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • ดัชนีชี้วัด:
    • ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหลัก (100.00%) ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเทียบกับค่าสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน 90% และปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเทียบกับค่าสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน 10%

Source: kasikornasset.com as of 24/10/2024

UGIS-A และ UGIS-N

  • ลงทุนในกองทุน PIMCO GIS Income Fund (Class I)
  • กองทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ซึ่งกองทุนหลักมีเป้าหมายให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • ดัชนีชี้วัด ประกอบด้วย:
    • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเทียบค่าสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน (90%)
    • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเทียบค่าสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน (10%)

Source:uobam.co.th as of 24/10/2024

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ตเก็บกำไร ถือเงินสด: รอจังหวะลงทุนใหม่หลังเลือกตั้งและงบประกาศ

Finnomena Funds
ปรับพอร์ตเดือนพ.ย.

Executive Summary

  • ระดับ Valuation ของหุ้นในสหรัฐอเมริกาสูง เหมาะสมสำหรับการทยอยทำกำไร
  • คาดการณ์ตลาดมีความผันผวนจากการเลือกตั้งและการประกาศงบการเงิน
  • แนะนำลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงบางส่วนและเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้โลกหรือเอเชีย
  • สับเปลี่ยนออกจากกองทุนตลาดเงินเข้ากองทุนตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากทิศทางดอกเบี้ยและภาพรวมตลาดหุ้นกู้ที่กลับมาเป็นปกติ

ภาพรวมคำแนะนำ

พอร์ต All Balance

 

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 24/10/2024

Finnomena Funds มองว่าระดับ Valuation ปัจจุบันของหุ้น โดยเฉพาะหุ้นในสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการทยอยทำกำไร ทั้งนี้ ในอนาคตตลาดอาจมีความผันผวนมากขึ้นจากประเด็นการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และการประกาศงบการเงิน จึงแนะนำให้ปรับพอร์ตโดยลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม และเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้โลกหรือเอเชีย นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ย้ายกองทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย เพื่อเพิ่ม Yield ในภาพรวมให้สอดคล้องกับบริบทอัตราดอกเบี้ยที่กำลังปรับตัวลง


มุมมองสำหรับพอร์ต All Balace

สำหรับภาพรวมพอร์ต All Balance ทาง Finnomena Funds แนะนำให้ลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน Satellite หรือกองทุนที่ทำหน้าที่สร้าง Alpha ระยะสั้น โดยหลังการปรับลดดังกล่าว พอร์ตทั้ง 3 จะยังคงรักษาสัดส่วนการลงทุนตามกรอบ SAA ระยะยาวที่ได้วางไว้

แนะนำให้ทำกำไรในกองทุนหุ้น 2 กอง ได้แก่ AFMOAT-HA และ B-INNOTECH จากระดับ Valuation ที่สูง โดยการลดสัดส่วนดังกล่าวจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในช่วงการเลือกตั้งสหรัฐฯ และฤดูกาลประกาศงบที่กำลังเกิดขึ้น และแนะนำให้พักเงินในกองทุน KKP PLUS เพื่อรอโอกาสในการลงทุนในอนาคต


รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ

KKP PLUS

  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและบริษัทเอกชนที่มีความมั่นคง พร้อมทั้งให้ผลตอบแทนที่ดี โดยกองทุนจะรักษาอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Portfolio Duration) ไม่เกิน 1.5 ปี โดยเฉลี่ยตลอดปีบัญชี นอกจากนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ณ วันที่ลงทุนจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB+ ขึ้นไป
  • กลยุทธ์การลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • ดัชนีชี้วัด ประกอบด้วย:
    • 30% ผลตอบแทนรวมของดัชนีพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 35% ดัชนีผลตอบแทนรวมตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (ThaiBMA Commercial Paper Index) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ A- ขึ้นไป ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 5% ผลตอบแทนรวมสุทธิของดัชนีตราสารหนี้ภาคเอกชน Mark-to-Market ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ BBB+ ขึ้นไป อายุ 1 – 3 ปี ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
    • 10% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน สำหรับวงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท เฉลี่ยของ 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ หลังหักภาษี
    • 20% ของ Overnight Indexed Swap (OIS) 3 เดือน หลังหักภาษี ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทน

Source: am.kkpfg.com as of 24/10/2024

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Meta สร้างเซอร์ไพรส์กำไรพุ่ง 35%! เผยปีหน้าเตรียมทุ่มงบลงทุน AI

Finnomena Editor
Meta ประกาศงบกำไรพุ่ง

Meta Platforms (META) เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook, Instagram และ WhatsApp ได้เปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาสล่าสุดออกมาแข็งแกร่งและสูงกว่าคาด โดยกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

บริษัทมีรายได้รวม 40,590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าคาดไว้ที่ 40,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีกำไรต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่ 6.03 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งดีกว่าคาดที่ 5.25 ดอลลาร์สหรัฐ

ยอดขายในไตรมาส 3 เติบโต 19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 35% แตะ 15,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีก่อน อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2023

Meta ประกาศงบกำไรพุ่ง

ผลประกอบการไตรมาส 3/2024 ของ Meta | Source: App Economy Insights

ด้านจำนวนผู้ใช้งานรายวัน (Daily Active People) อยู่ที่ 3,290 ล้านคน แม้จะเพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน แต่ต่ำกว่าคาดที่ 3,310 ล้านคน ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงเล็กน้อยในการซื้อขายช่วงหลังตลาดปิด

จุดที่น่าสนใจคือ Meta ได้ปรับเพิ่มงบลงทุนสำหรับปี 2024 เป็น 38,000 – 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 37,000 – 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่างบลงทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2025 เนื่องจากการเร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI

Mark Zuckerberg CEO ของ Meta กล่าวในการประชุมนักวิเคราะห์ว่า 

การลงทุนด้าน AI ของเราต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และผมคาดว่าจะยังคงลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในด้านนี้ต่อไป

โดยปัจจุบันมีผู้โฆษณากว่า 1,000 รายที่ใช้เครื่องมือโฆษณา AI แบบ Generative ของ Meta

สำหรับรายได้หลักของ Meta ยังคงมาจากธุรกิจโฆษณา โดยในไตรมาส 3/2024 รายได้จากการโฆษณาอยู่ที่ 39,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.7% จากปีก่อน คิดเป็น 98.3% ของรายได้รวมทั้งหมด

แม้ว่ารายได้ของ Meta จะเพิ่มขึ้น แต่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับโตช้าลง เพราะผู้โฆษณาจากจีนลดการใช้บริการ ทำให้นักลงทุนมีความกังวลว่าร้านค้าออนไลน์จากจีน เช่น Temu และ Shein จะลดการลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Meta ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้โดยรวมของบริษัท

นอกจากนี้ การที่ Meta ส่งสัญญาณว่าจะเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน AI อย่างมีนัยสำคัญในปี 2024 ก็เป็นอีกปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน เนื่องจากการลงทุนจำนวนมากอาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรในระยะสั้น

แม้จะมีความกังวลเหล่านี้ แต่ Meta ก็ยังคงมองโลกในแง่ดีต่อแนวโน้มการเติบโตในอนาคต โดยบริษัทได้คาดการณ์รายได้ในไตรมาสที่ 4/2024 อยู่ที่ 45,000 – 48,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าคาดที่ 46,300 ล้านดอลลาร์

ด้านธุรกิจ Reality Labs ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านฮาร์ดแวร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริง (VR) และความเป็นจริงเสริม (AR) ยังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 3/2024 ขาดทุนไป 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าคาดที่ 4,680 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ทั้งนี้ Reality Labs มียอดขายเพิ่มขึ้น 29% เป็น 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังต่ำกว่าคาดที่ 310.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยหากนับตั้งแต่ปี 2020 Reality Labs มีผลขาดทุนสะสมมากกว่า 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

กองทุนหุ้น Blue Chip แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุน ES-USBLUECHIP กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยเน้นคัดเลือกบริษัทที่เติบโตทั้งรายได้ กำไร และกระแสเงินสด ตลอดจนมีความสามารถทางการแข่งขันสูง อีกทั้งยังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call

ES-USBLUECHIP เป็นกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ชั้นดีระดับโลก ที่คัดเลือกหุ้นด้วยวิธี Bottom-Up รวมเอาหุ้นชั้นนำที่เป็นพิมพ์นิยมของนักลงทุนมาไว้ด้วยกัน และให้ความสำคัญกับการถือครองระยะยาว ปัจจุบัน ES-USBLUECHIP มีสัดส่วนการถือหุ้น META อยู่ประมาณ 4.64% (ข้อมูล ณ วันที่ 31/10/24)


อ้างอิง: CNBC, Financial Times

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

 

ตลาดช็อก! หุ้น SMCI ดิ่งเหว -32.7% หลังผู้สอบบัญชีลาออกกะทันหัน

Finnomena Editor
หุ้น SMCI ดิ่งเหว -32.7% หลังผู้สอบบัญชีลาออกกะทันหัน

หุ้น Super Micro Computer (SMCI) ดิ่งแรงถึง -32.7% หลังผู้สอบบัญชี Ernst & Young (EY) ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างกะทันหัน โดยอ้างความไม่มั่นใจในงบการเงินและการกำกับดูแลกิจการ

EY ระบุในจดหมายลาออกว่า “ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับงบการเงินที่จัดทำโดยฝ่ายบริหาร” พร้อมแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของคณะกรรมการจาก CEO Charles Liang และผู้บริหารคนอื่น ๆ

ทั้งนี้ Super Micro ได้ออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยโดยระบุว่า 

“แม้บริษัทจะรับทราบว่าการตัดสินใจของ EY ถือเป็นที่สิ้นสุด แต่ไม่เห็นด้วยกับการลาออก เนื่องจากคณะกรรมการพิเศษยังไม่ได้รับข้อมูลทั้งหมดและยังไม่สรุปผลการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม บริษัทให้ความสำคัญกับข้อกังวลของ EY รวมถึงจะพิจารณาผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการพิเศษอย่างรอบคอบ”

โดยความกังวลเกี่ยวกับงบการเงินของ SMCI เริ่มเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เมื่อบริษัท Hindenburg Research ได้เผยแพร่รายงานการ Short Sell หุ้น SMCI

และวันต่อมา Super Micro ก็ประกาศเลื่อนยื่นรายงานประจำปี 10-K โดยอ้างว่า “คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่องบการเงินปี 2024”

ขณะที่ CEO Charles Liang ได้เขียนจดหมายถึงลูกค้าและพาร์ทเนอร์ว่ารายงาน Short Sell ของ Hindenburg Research และการเลื่อนยื่นงบจะไม่กระทบกับการดำเนินงาน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา SMCI เคยมีปัญหาด้านบัญชีมาก่อน โดยในปี 2020 ถูก SEC ปรับเงินกว่า 17.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการบันทึกรายได้ที่ไม่ถูกต้อง

จากสถานการณ์นี้ ล่าสุดนอกจาก SMCI จะว่าจ้างสำนักงานกฎหมายและบริษัทบัญชีนิติเวชเพื่อตรวจสอบระบบภายในแล้ว บริษัทยังอยู่ในระหว่างถูกกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (DOJ) สอบสวนอีกด้วย


อ้างอิง: CNBC, Seeking Alpha

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองประจำเดือนพฤศจิกายน 2024 : หุ้น Tech โตต่อเนื่อง

บลจ.กรุงศรี
Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองประจำเดือนพฤศจิกายน 2024 : หุ้น Tech โตต่อเนื่อง

มุมมองตลาดปัจจุบัน

ตลาดการลงทุนทั่วโลกในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีความผันผวนสูง โดยในช่วงต้นเดือนตลาดการลงทุนได้แรงหนุนต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า จากการที่เฟดประกาศลดดอกเบี้ย และส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง  รวมถึงได้แรงหนุนจากการที่จีนมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนเป็นไปในเชิงบวก  อย่างไรก็ดี ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จากการที่อิสราเอลโจมตีเลบานอนอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะโจมตีอิหร่าน ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าปัญหาอาจลุกลามจนกลายเป็นสงครามในภูมิภาค  นอกจากนี้ นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนจะเพียงพอที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจจีนในปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ 5%  อีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่ง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดหลายท่านให้ความเห็นสนับสนุนการทยอยปรับลดดอกเบี้ย ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และเป็นช่วงที่บริษัทต่างๆเริ่มรายงานผลประกอบการไตรมาส 3/67 ความผันผวนในตลาดการลงทุนจึงเพิ่มขึ้นจากหลากหลายปัจจัยดังกล่าว

สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า นำโดยกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ จากการที่กองทุนวายุภักษ์เริ่มทยอยลงทุน ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องหลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าจากผลของการที่ตลาดลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด

ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงต้นเดือน แต่กลับปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนตามการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนประเมินว่าเฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ยแรงเท่ากับที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้

วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของเฟดและประเทศเศรษฐกิจหลักทั่วโลก น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากในระยะยาวหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังคงมีแนวโน้มเติบโตดี และจะได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของเฟด  อย่างไรก็ดี ตลาดอาจมีความกังวลเกี่ยวกับราคาหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวขึ้นมามาก ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับโลกตะวันตก และปัญหาความวุ่นวายในตะวันออกกลางที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะขยายตัวเป็นวงกว้าง จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนในบางช่วง ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นจากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นของตลาดหุ้นไทยอาจเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากได้ตอบรับปัจจัยบวกไปมากแล้ว ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ยังคงมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่อง

พอร์ตการลงทุน

Krungsri The Masterpiece ปรับพอร์ตประจำเดือนพฤศจิกายน 2024

ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 กันยายน 2024

Krungsri The Masterpiece ปรับพอร์ตประจำเดือนพฤศจิกายน 2024

ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 28 ตุลาคม 2024

กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค

กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ

KFAFIX-A:

  • กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวยังคงได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มต่อเนื่องตามการปรับตัวลดลงของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา จากความคาดหวังของตลาดที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้มากถึง 4 ครั้งในปีนี้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ทาง กนง. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 25 ในการประชุมเดือนตุลาคม ทว่ายังคงจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางอยู่ ดังนั้น สะท้อนให้เห็นว่าโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างต่อเนื่องจากระดับปัจจุบันอาจมีอยู่จำกัด ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนยังคงปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอโดยอาศัยโอกาสจากความผันผวนของตลาด โดยกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนในระดับสูงจะยังคงสามารถช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้ โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนกลุ่มนี้มีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น เช่น กองทุน KFAFIX (ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป) โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX = 2.1 – 2.7 ปี

กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ

 KF-CSINCOM:

  • กองทุนหลักมีมุมมองว่าความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่อาจทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความเสี่ยงเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง หรือ no landing อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ไม่มากอย่างที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นไปสูงได้ในระยะสั้น ดังนั้น กองทุนหลักจึงเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุไม่มาก และพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ เนื่องด้วยมีมุมมองว่ามีความน่าสนใจที่สุดในช่วงนี้

กองทุนตราสารทุนในประเทศ

KFDYNAMIC:

  • กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด (KFDNM-D หรือ KFDYNAMIC) มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาวตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่กองทุนคัดเลือกลงทุน

กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity

KFUSINDX:

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นแต่ยังคงมีความผันผวน โดยต้องจับตามองตัวเลขในตลาดแรงงาน ซึ่งหากออกมาดีจะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งผลบวกให้กับตลาดได้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในการประชุมครั้งถัดไป อย่างไรก็ดี ตลาดต้องระมัดระวังความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง รวมไปถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้

KFHTECH:

  • การเติบโตของเทคโนโลยี AI รวมทั้งความต้องการ AI จะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตที่สำคัญของผลประกอบการของหุ้นในพอร์ตการลงทุน นอกจากนี้ การเข้าสู่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลงทั่วโลกยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีมีต้นทุนทางด้านการเงินที่ลดลงในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังที่มากเกินไปของนักลงทุน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจไม่เป็นไปตามคาด อาจส่งผลเชิงลบต่อราคาหุ้นได้

กองทุนที่ลงทุนทั่วโลก

KFWINDX-A:

  • กองทุนมีการลงทุนในหุ้นทั่วโลกผ่าน ETF ที่อ้างอิงดัชนี MSCI All Country World ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยในระยะถัดไปการเติบโตของผลประกอบการ รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลก จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของผลประกอบการของหุ้นในพอร์ตการลงทุน อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังที่มากเกินไปของนักลงทุน และความกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมไปถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจไม่เป็นไปตามคาดการณ์ อาจส่งผลเชิงลบต่อราคาหุ้นได้

กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศตลาดกำลังพัฒนา

KFINDIA-A:

  • ตลาดหุ้นอินเดียยังคงแข็งแกร่ง ทว่าอาจเผชิญกับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง อีกทั้งระดับราคา (valuation) ของตลาดหุ้นอินเดียค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเอเชียอื่น ๆ

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองประจำเดือนตุลาคม 2024

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองประจำเดือนตุลาคม 2024

ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 28 ตุลาคม 2024

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร  0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 28 October – 1 November 2024

Merkle Capital
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 28 October - 1 November 2024

หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

MACROECONOMICS

Key Takeaways

  • JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะลดลง
  • Advance GDP QoQ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • Core PCE มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม
  • Non Farm Payrolls มีแนวโน้มที่จะลดลง
  • Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

 

WEEKLY TONE: BUY WEEK

สัปดาห์นี้ส่วนใหญ่มีตัวชี้วัดภาคแรงงานออกมาเยอะพอสมควร เริ่มต้นที่ JOLTs Job Opening ที่แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากการลดตัวลงของ JOLTs Job Opening แต่ด้วยมีตัวชี้วัดอย่าง Unemployment Rate ที่มีแนวโน้มว่าจะลดตัวลงเพียงนิดเดียว แสดงให้เห็นถึงการที่ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งอยู่ และ Core PCE Price Index ที่มีการคาดการณ์ว่าจะคงที่เท่าเดิม และมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ต่อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นและคริปโทฯ ได้ ฉะนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่มีโอกาสในการเปิดความเสี่ยงในฝั่งของคริปโทฯ และด้วยการที่มีวาฬหรือนักลงทุนรายใหญ่ที่คอยเข้าซื้อ Bitcoin และพยุงราคาไว้เรื่อย ๆ ทำให้ตรงนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถเปิดความเสี่ยงได้ทั้ง Bitcoin เหรียญ Market Cap ใหญ่ ๆ หรือ เหรียญจำพวก Altcoins ก็สามารถทำได้


Important Economic Data this week :

1. JOLTs Job Opening

ตัวเลขการสำรวจการจ้างงานทุกตำแหน่ง (ที่ยังว่างอยู่) ในทุกวันสุดท้ายของเดือน เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “Job Openings and Labor Turnover Survey (JOLTS)” การสำรวจนี้จะรวบรวมข้อมูลจาก 16,400 หน่วยงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงร้านค้า และ โรงงาน รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลระดับกลาง ภาครัฐ และท้องถิ่นใน 50 รัฐ และดิสทริคต์ออฟคอลัมเบีย

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: JOLTs Job Opening iมีแนวโน้มที่จะลดลง 8.04M เป็น 7.8M

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/job-offers

ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์ในการลดตัวลงของ JOLTs Job Opening เป็นหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และในฐานะที่คริปโทฯ นั้นเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงกว่าหุ้น จึงมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบมาก

2. Core PCE Price Index

United States Core PCE Price Index (Personal Consumption Expenditures Price Index) คือ ดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาของสินค้าและบริการที่บรรจุในการบริโภคของประชากรในสหรัฐอเมริกา โดยไม่รวมราคาของอสังหาริมทรัพย์ และค่าประกันสุขภาพ และราคาของสินค้า และบริการที่เป็นผลมาจากราคาของพลังงาน และอาหารที่มีความผันผวนมาก

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core PCE มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.1%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-pce-price-index-mom

ตีความอย่างไรต่อตลาด

การที่ Core PCE นั้นมีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิมแสดงให้เห็นถึงการลดความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ และมีโอกาสที่สินทรัพย์เสี่ยงนั้นจะได้รับผลประโยชน์จากการคงที่ของ Core PCE อีกด้วย

3. Unemployment Rate

Unemployment rate คือ อัตราการว่างงานเป็นสัดส่วนจากประชาการที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพตลาดแรงงาน และสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม อัตราว่างงานที่สูงบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่จะลอตัวลงหรือแม้กระทั้งหดตัวลง

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 4.1% เป็น 4.2%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate

ตีความอย่างไรต่อตลาด

การที่มีแนวโน้มที่จะลดลงเพียงนิดเดียวของอัตราการว่างงาน แสดงถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งในระดับหนึ่ง โดยที่ตลาดคริปโทฯ จะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม โดยที่นักลงทุนนั้นจะหันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงอย่างคริปโทฯ เพิ่มขึ้นนั้นเอง


CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK
Credit from Coindar and LayerGG

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

30 ตุลาคม

  • $TIA – ปลดล็อคเหรียญ 80% ของอุปทานหมุนเวียน

31 ตุลาคม

  • $TAIKO – อัพเกรด Rollup v1.10.0
  • $ONE – อัพเกรด Hard Fork

1 พฤศจิกายน

  • $GAL – ปลดล็อคเหรียญ 3.27% ของอุปทานหมุนเวียน
  • $SUI – ปลดล็อคเหรียญ 2.32% ของอุปทานหมุนเวียน

 

Weekly Crypto Must Watch


Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap

  ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงตัวเป็นบวก และถือว่าอยู่ในระดับปกติ บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด โดยมีการเปิดสถานะลองมากกว่าสถานะชอร์ต แต่ไม่ได้มีความร้อนแรงมากจนเกินไป แสดงถึงช่องว่างของ Upside ที่ยังคงมีอยู่

Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest

  ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest มีการปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูง แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังคงสูงอยู่ และมีการเปิดความเสี่ยงอย่างเห็นได้ชัด พร้อมกับ Sentiment ของตลาดที่ฟื้นตัวขึ้นมาในสัปดาห์ที่แล้ว ถึงแม้จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความ Bullish แต่ก็แสดงถึงปริมาณการใช้ Leverage ในตลาดที่สูงขึ้นด้วย และอาจจะส่งผลให้เกิดความผันผวนที่สูงขึ้นในอนาคต


Source : https://farside.co.uk/?p=997

  ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 997.6 ล้านเหรียญ ซึ่งนับว่าเป็นแรงซื้อมหาศาลจากนักลงทุนรายใหญ่ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ และ Sentiment ของตลาดที่ฟื้นตัวอย่างรุนแรง ต้อนรับปัจจัยบวกอย่างการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน


Source : https://farside.co.uk/?p=1518

  ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 24.6 ล้านเหรียญ ถือว่าเป็น Sentiment เชิงลบต่อ Ethereum เนื่องจากตลาดมีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด แต่นักลงทุนสถาบันยังไม่ได้มีการเข้าซื้ออย่างที่ตลาดคาดหวังในตอนต้น ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมา Ethereum มีการ Underperform เหรียญอื่นอย่างชัดเจน

Turning Point for Altcoins?

หากสังเกต Bitcoin Dominance ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันเกือบจะไปแตะ 60% ของมูลค่าตลาดคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดแล้ว จะเห็นได้ว่า เม็ดเงินส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจกับการซื้อ Bitcoin เป็นหลัก โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันที่มีการซื้อขายผ่าน Spot Bitcoin ETF กันอย่างแพร่หลาย ในขณะที่ Ethereum ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ตลาดคาดหวัง Sentiment เหล่านี้ ทำให้การฟื้นตัวของตลาดในแต่ละครั้ง Bitcoin ก็ยังคงเป็นเหรียญที่ Outperform ตลาดอยู่นั่นเอง

อ้างอิงจากข้อมูลใน Cycle ก่อนๆ ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีจะมีทิศทางการไหลของเม็ดเงินจากเหรียญที่มีขนาดใหญ่อย่าง Bitcoin ไปยังเหรียญรองลงมาอย่าง Ethereum และถึงจะไหลเข้า Altcoin ที่มีมูลค่าตลาดเล็กลงมาในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตาม Ethereum ยังคง Underperform Bitcoin อย่างต่อเนื่อง

Source : https://media.beehiiv.com/cdn-cgi/image/fit=scale-down,format=auto,onerror=redirect,quality=80/uploads/asset/file/b3f4eef6-1b2b-42d7-8890-c65a7a0ac718/image.png?t=1728435535

  แต่ใน Cycle ที่ผ่านมา Ethereum มีการสร้างจุดต่ำสุดหลังจากการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED และทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของ Altcoin Season นั่นเอง ประกอบกับภาพที่ Bitcoin Dominance มักจะปรับตัวลดลงเมื่อสภาพคล่องของโลกมีการเพิ่มสูงขึ้น ก็จะสามารถอธิบายการไหลของเม็ดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดที่น้อยกว่า ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ก็กำลังเกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน

Source : https://dune.com/cryptokoryo/crypto-buy-signal

  เมื่อนำมูลค่าตลาดของ Altcoin มาเปรียบเทียบกับ Bitcoin จะสังเกตได้ว่า ปัจจุบัน Altcoin (เส้นสีเขียว) มีราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ Bitcoin และถึงแม้ว่าการบอกจุดต่ำสุดของกราฟจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถบอกได้ว่าเป็นจุดที่น่าเข้าสะสมแล้วนั่นเอง


WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS
by Cryptomind Advisory

BTC/USDT

$BTC มีสร้างชุดสะสมอยู่บนแนวรับ $67,000 ซึ่งหากราคานั้นทำ Higher High ตรงนี้ได้โดยขึ้นไปถึง $70,000 จะทำให้มีโอกาสทำ All-Time High ได้ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า อย่างไรก็ตามหากราคามีการลงมาปิดต่ำกว่าแนวดังกล่าวนั้น ก็จะทำให้ BTC เสีย Momentum ขาขึ้น และอาจ Sideway หรือ Sideway Down ออกไปก่อนได้ในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านี้

แนวต้าน : $73,000 | $76,500 | $82,500

แนวรับ : $67,000 | $60,500 | $57,500

 

ETH/USDT

$ETH นั้นปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามยังอยู่บน Trendline แนวรับได้ ซึ่งหากราคาไม่หลุดลงไปก็ยังมีโอกาสที่ $ETH จะทำราคาขึ้นต่อได้ แต่หากราคามีการปิดต่ำกว่าแนวดังกล่าว ก็จะทำให้เป็น Momentum ขาลงของ $ETH ได้ในสัปดาห์ที่จะมาถึง โดยราคาอาจจะปรับตัวลงต่อได้

แนวต้าน : $2,700 | $2,870 | $3,300

แนวรับ : $2,350 | $2,150 | $1,870


ASSET ALLOCATION
by Cryptomind Advisory

  ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทโดยรวม ในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%

คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน

ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Merkle Capital

ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-28th-1st-November-2024


คำเตือน

สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

Alphabet ทุบสถิติ! รายได้จาก YouTube ทะลุ 50,000 ล้าน พร้อมเดินหน้าใช้ AI ลดต้นทุน

Finnomena Editor
Alphabet ทุบสถิติ รายได้จาก YouTube ทะลุ 50,000 ล้าน พร้อมเดินหน้าใช้ AI ลดต้นทุน

Alphabet (GOOG, GOOGL) บริษัทแม่ของ Google รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 เหนือความคาดหมายของตลาด ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้น 6% ในการซื้อขายหลังตลาดปิด โดยรายงานกำไรสุทธิ 26,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 19,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่รายได้รวมของ Alphabet แตะระดับ 88,270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีแรงหนุนสำคัญจากธุรกิจคลาวด์ที่เติบโตอย่างโดดเด่นถึง 35% จาก 8,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 11,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัทระบุว่าเป็นผลมาจากความสำเร็จในการนำเสนอบริการ AI และการสมัครสมาชิกแบบ Subscription สำหรับลูกค้าองค์กร

โดยมีสัดส่วนรายได้จากบริการต่าง ๆ ดังนี้

  • Google Search ประมาณ 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12%
  • YouTube Ads ประมาณ 8,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12%
  • Google Network ประมาณ 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2%
  • Google Subscriptions, Platforms และ Devices ประมาณ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 28%
  • Google Cloud ประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 35%
  • Other Bets และอื่น ๆ ประมาณ 551 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 37%

 

ผลประกอบการ Alphabet

ผลประกอบการของ Alphabet ไตรมาส 3/2024 | Source: Finnomena Funds, App Economy Insights as of 30/10/24

Google Search ยังแกร่ง รายได้จาก YouTube ทะลุ 50,000 ล้าน

โดยเมื่อพิจารณาสัดส่วนรายได้ทั้งหมดแล้ว Google Search ยังคงเป็นแหล่งรายได้หลักของ Alphabet ตามมาด้วย Google Cloud ซึ่งเติบโตสูงถึง 35% และ Google Subscriptions, Platforms และ Devices ที่เติบโตสูงถึง 28%

ขณะที่ YouTube เองก็เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ Alphabet โดยสร้างรายได้จากโฆษณา 8,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 12% แม้ว่าจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจาก Netflix, TikTok และ Amazon 

ที่น่าสนใจคือรายได้รวมของ YouTube ทั้งจากโฆษณาและ YouTube Premium ทะลุ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา

Sundar Pichai CEO ของ Alphabet เผยว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ AI แบบครบวงจรของบริษัทกำลังดำเนินการในวงกว้าง และถูกใช้งานโดยผู้ใช้ Google หลายพันล้านคน ซึ่ง Pichai ระบุว่าเป็น “การสร้างวงจรแห่งคุณค่า”

Philipp Schindler ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ เสริมว่า โมเดลภาษา AI ของบริษัทอย่าง Gemini ได้ช่วยให้ YouTube สามารถแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง สดใหม่ และตรงใจผู้ชมได้แม่นยำมากขึ้น ขณะที่ในส่วนของ Google Search ฟีเจอร์ AI ก็กำลังช่วยขยายขอบเขตและวิธีการค้นหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้าน Google Lens ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การจดจำภาพผ่านกล้องมือถือ ได้กลายเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ Alphabet โดยปัจจุบันถูกใช้งานมากกว่า 20,000 ล้านครั้งต่อเดือน และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์การค้นหาที่เติบโตเร็วที่สุด โดยเฉพาะการใช้งานเพื่อช้อปปิ้ง

ในส่วนของ Google Cloud ความสำเร็จนั้นมาจากผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐาน AI และโซลูชัน Generative AI ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าเดิม ดึงดูดลูกค้ารายใหม่ และทำให้สามารถเพิ่มค่าบริการได้ โดย Google Workspace ชุดเครื่องมือการทำงานและประมวลผลบนคลาวด์ของบริษัท และ Google Cloud Platform ชุดเครื่องมือด้านการจัดการข้อมูลและ AI ก็มียอดขายเติบโตอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน

CFO คนใหม่กับกลยุทธ์ AI ลดต้นทุน

นอกจากการเติบโตของรายได้แล้ว ด้าน CFO คนใหม่ของ Alphabet อย่าง Anat Ashkenazi ยังได้เผยแผนการใช้ AI เพื่อลดต้นทุนทางธุรกิจอย่างเข้มข้น ทั้งการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน การจัดการจำนวนพนักงาน และพื้นที่สำนักงาน

ในส่วนของ Other Bets ซึ่งรวมถึง Verily บริษัทที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (Life Sciences) และ Waymo บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นจากโครงการรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Google รายงานรายได้ 388 ล้านดอลลาร์ในไตรมาส 3/2024 เพิ่มขึ้นจาก 297 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว โดยล่าสุด Waymo สามารถระดมทุนได้ 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายบริการแท็กซี่ไร้คนขับในเมืองสำคัญของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ในไตรมาส 3/2024 ของ Alphabet ยังมีเปลี่ยนแปลงสำคัญในระดับผู้บริหาร โดยบริษัทได้แต่งตั้ง Nick Fox ขึ้นมาแทน Prabhakar Raghavan ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายค้นหาและโฆษณา พร้อมกับการปรับโครงสร้างให้ทีม Gemini ซึ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI สำหรับผู้บริโภคเข้าไปอยู่ภายใต้ Google DeepMind ที่นำโดย Demis Hassabis

ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ Alphabet ถือเป็นการเปิดศึกสัปดาห์รายงานผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ โดย Meta และ Microsoft จะรายงานผลในคืนวันนี้ (30 ตุลาคม 2024) ตามด้วย Apple และ Amazon ในคืนวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2024

กองทุนหุ้นเทคโนโลยี แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุนหุ้นเทคโนโลยี B-INNOTECH ที่เน้นบริษัทพื้นฐานดีทั่วโลก กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง รวมทั้งยังทนทานต่อความผันผวนในระยะสั้นได้ดี ตามคำแนะนำ FundTalk Contrarian Call และ MEVT Call

B-INNOTECH เป็นกองทุนหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกแบบ Active จาก Fidelity Funds ที่เน้นการเสาะหาหุ้นเติบโต (Growth) สูงภายใต้ Valuation ที่เหมาะสม พร้อมรับอานิสงส์จากงบหุ้น Big Tech ที่คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง โดยปัจจุบัน B-INNOTECH มีสัดส่วนการถือหุ้น GOOGL อยู่ประมาณ 3.25% (ข้อมูล ณ วันที่ 30/10/24)

“ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena”


อ้างอิง: CNBC, Alphabet Earning Release

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ “ชมรมหุ้นกู้” ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

Finnomena
ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ "ชมรมหุ้นกู้" ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!

ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena

ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

planet 46
ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

สำหรับการวางแผนภาษีปี 2567 นี้ หลายคนคงกำลังมองหาตัวช่วยบางอย่างที่จะทำให้เราประหยัดภาษีได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยประหยัดภาษีที่เราไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ “กองทุน SSF-RMF” เพราะการลงทุนในกองทุน SSF-RMF นอกจากจะช่วยเราประหยัดภาษีได้แล้วยังสามารถสร้างวินัยในการลงทุนได้อีกด้วย

บทความนี้จึงขอพาทุกคนมาดูว่าหากเราลงทุน SSF-RMF จำนวนเท่านี้แล้ว จะสามารถทำให้เราประหยัดภาษีไปได้มากเท่าไร? ติดตามไปพร้อมกันได้เลย!

ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG 

👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws

ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

รายได้รวมต่อปี 480,000 บาท (40,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 48,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 96,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 144,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 600,000 บาท (50,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 60,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 120,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 180,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 720,000 บาท (60,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 72,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 144,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 216,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 840,000 บาท (70,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 84,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 168,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 252,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 960,000 บาท (80,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 96,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 192,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 288,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 1,080,000 บาท (90,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 108,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 216,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 324,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 1,200,000 บาท (เดือนละ 100,000 บาท)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 120,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 240,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 360,000 บาท

คำอธิบายตารางเพิ่มเติม:

  • รายได้รวมทั้งปีคำนวณเฉพาะเงินเดือนเท่านั้น ไม่นับรวมโบนัส หรือเงินพิเศษอื่น ๆ
  • จำนวนภาษีที่เสียสูงสุด คำนวณจากเงินได้สุทธิที่หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้รวมทั้งปี (ไม่เกิน 100,000 บาท) และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • จำนวนภาษีที่ประหยัดไปได้ คำนวณจากการลงทุนใน SSF-RMF เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติม

อ่านเพิ่มเติม งินเดือนเท่านี้ ลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดเท่าไร?

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี Finnomena Funds ได้ที่

 

ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG

👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สัปดาห์นี้ 4 Big Tech เตรียมเปิดงบ คาดกระแส AI ยังมาแรง!

Finnomena Editor
สัปดาห์นี้ 4 Big Tech เตรียมเปิดงบ คาดกระแส AI ยังมาแรง

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังจับตาการประกาศผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ 4 ราย ได้แก่ Alphabet (GOOGL) , Microsoft (MSFT), Meta (META) และ Apple (AAPL) ท่ามกลางการแข่งขันด้าน AI ที่ทวีความเข้มข้น และความท้าทายที่แตกต่างกันในแต่ละบริษัท

ตารางคาดการณ์วันประกาศงบ

ตารางคาดการณ์วันประกาศงบ | Source: Earnings Whispers as of 25/10/2024

Alphabet: YouTube สะดุด แต่ Cloud และ AI ยังแกร่ง

Alphabet (GOOGL) บริษัทแม่ของ Google เตรียมรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคมนี้หลังตลาดปิด โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าบริษัทจะมีรายได้ 8.63 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 12.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แม้จะเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง แต่นับเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี

ในไตรมาสที่ผ่านมา Alphabet สามารถสร้างผลงานได้เหนือความคาดหมายของตลาด ทั้งในแง่รายได้และกำไร โดยมีกำไรต่อหุ้น 1.89 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 64 บาท) สูงกว่าตลาดคาดไว้ที่ 1.84 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 62 บาท) และมีรายได้ 8.47 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.86 ล้านล้านบาท) สูงกว่าคาดที่ 8.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.84 ล้านล้านบาท) โดยธุรกิจโฆษณายังคงเป็นแหล่งรายได้หลักซึ่งคิดเป็น 76% ของรายได้สุทธิ

อย่างไรก็ตาม YouTube กำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนัก โดยรายได้จากโฆษณาในไตรมาส 2 อยู่ที่ 8.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.92 แสนล้านบาท) ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 8.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท) ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดโฆษณาวิดีโอดิจิทัล โดยเฉพาะหลังจาก Amazon เปิดตัวบริการ Prime Video Ads ในต้นปี 2024 ที่ผ่านมา

ส่วน Google Cloud กลับกลายเป็น “เดอะแบก” ของบริษัท โดยสร้างรายได้ 9.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.23 แสนล้านบาท) เติบโต 22% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนถึงความสำเร็จจากการลงทุนอย่างหนักในโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เพื่อไล่ตาม Amazon Web Services และ Microsoft Azure ที่นำตลาดอยู่ในขณะนี้

ที่น่าจับตามองคือ Alphabet ยังคงทุ่มงบประมาณมหาศาลในการพัฒนา AI โดยใช้เงินถึง 2.38 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8 แสนล้านบาท) ในไตรมาส 2 สำหรับการวิจัยและพัฒนา โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ AI ล่าสุดบริษัทได้ควบรวมทีม Google Research และ DeepMind เข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งแผนก AI Plus มุ่งเร่งพัฒนาโมเดล AI และผสานเทคโนโลยีเข้ากับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

Microsoft: Cloud นำทัพ เกมและ AI หนุนการเติบโต

ด้าน Microsoft (MSFT) ก็ไม่น้อยหน้า โดยนักวิเคราะห์จาก Wall Street คาดว่าบริษัทจะมีกำไรต่อหุ้นที่ 3.08 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 104 บาท) เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้สุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ 6.44 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.17 ล้านล้านบาท) เติบโต 14% จากปีก่อน แม้ว่าในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ประมาณการกำไรต่อหุ้นของ Microsoft จะถูกปรับลดลงเล็กน้อยที่ 0.1%

ธุรกิจ Intelligent Cloud หนึ่งในเสาหลักของ Microsoft คาดว่าจะสร้างรายได้อยู่ที่ 2.74 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9.26 แสนล้านบาท) เติบโต 13.2%

ขณะที่ธุรกิจที่ปรึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร (Productivity and Business Processes) ก็แสดงให้เห็นการเติบโตที่น่าประทับใจ โดยคาดว่าจะมีรายได้ 2.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.57 แสนล้านบาท) เติบโตอย่างโดดเด่นถึง 21% โดยมี LinkedIn เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญ ด้วยรายได้ที่คาดว่าจะแตะ 4.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.43 แสนล้านบาท)

ส่วนธุรกิจ Personal Computing หรือ PC ของ Microsoft คาดว่าจะมีรายได้ 1.44 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.87 แสนล้านบาท) เติบโต 5.7% โดยได้แรงหนุนสำคัญจากรายได้จากเกมที่คาดว่าจะเติบโตถึง 32.1% มาอยู่ที่ 5.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.75 แสนล้านบาท) ขณะที่รายได้จากธุรกิจ Search and News Advertising ก็แสดงให้เห็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 3.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.14 แสนล้านบาท)  เติบโต 11.1% YoY

Meta: ถูก Bank of America ยกเป็น “หุ้น AI น่าลงทุน”

Meta (META) ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าจับตามอง โดยจะรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ในวันพุธที่จะถึงนี้ (30 ตุลาคม 2024) หลังตลาดปิด ท่ามกลางความคาดหวังของนักลงทุนว่า Meta จะยังคงรักษาผลงานที่แข็งแกร่งต่อเนื่องจากต้นปี 

โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าบริษัทจะมีรายได้ 4.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.35 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านกำไรสุทธิของ Meta คาดว่าจะแตะ 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.56 แสนล้านบาท) หรือ 5.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น (ประมาณ 175 บาทต่อหุ้น) เพิ่มขึ้นจาก 1.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.88 แสนล้านบาท) หรือ 4.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น (ประมาณ 148 บาทต่อหุ้น) ในปีก่อน

ธุรกิจโฆษณายังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของ Meta โดยในไตรมาส 2/2024 สามารถสร้างรายได้ถึง 3.83 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.29 ล้านล้านบาท) และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.33 ล้านล้านบาท) ในไตรมาส 3/2024 นี้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความสำเร็จในการนำ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน

Meta ยังคงเดินหน้าพัฒนาด้าน AI อย่างต่อเนื่อง โดย CEO ของบริษัทอย่าง Mark Zuckerberg เชื่อมั่นว่า Meta AI จะก้าวขึ้นเป็นผู้ช่วย AI ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกภายในสิ้นปีนี้ หลังจากเปิดตัว Llama 3.2 AI รุ่นใหม่ที่ทรงพลังที่สุดไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด

ขณะที่ทางด้านของ Bank of America ถึงกับจัดให้ Meta เป็น “หุ้น AI ที่น่าลงทุน” โดยชี้ถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งของธุรกิจโฆษณา การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานรุ่นใหม่ และศักยภาพของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ของบริษัท

Apple: ยอดขาย iPhone ยังเผชิญความท้าทาย

ในส่วนของ Apple (AAPL) ความท้าทายสำคัญมาจากยอดขาย iPhone เป็นหลัก โดยคาดกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.593 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 53 บาท) รายได้สุทธิ 9.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.18 ล้านล้านบาท) กำไรสุทธิที่ 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8.18 แสนล้านบาท) และ EBITDA ที่ 3.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท) ในไตรมาส 4 ปี 2024

ทั้งนี้ การเติบโตของยอดขาย iPhone คาดว่าจะอยู่ที่ 2.5% เนื่องจากกระแสตอบรับของ iPhone 16 อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับรายงานลดแผนการผลิตลง 10 ล้านเครื่อง ที่ยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์โดยรวม

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจบริการของ Apple ยังคงแสดงให้เห็นแนวโน้มที่น่าสนใจ โดยคาดว่าจะเติบโตในระดับ Double-Digit ซึ่งจะช่วยรักษาอัตรากำไรจากการดำเนินงานให้แข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน บริษัทก็ยังคงพัฒนาความสามารถด้าน AI อย่างต่อเนื่องผ่านฟีเจอร์ Apple Intelligence ที่ผสานรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

กองทุนหุ้นเทคโนโลยี แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุนหุ้นเทคโนโลยี B-INNOTECH ที่เน้นบริษัทพื้นฐานดีทั่วโลก กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง รวมทั้งยังทนทานต่อความผันผวนในระยะสั้นได้ดีตามคำแนะนำ FundTalk Contrarian Call และ MEVT Call

โดย B-INNOTECH มีสัดส่วนการลงทุนใน Microsoft (MSFT) 6.13%, Apple (AAPL) 4.52% และ Alphabet (GOOGL) 3.25% (ข้อมูล ณ วันที่ 28/10/24)

นอกจากนี้ ยังมีกองทุน ES-USBLUECHIP ที่เปิดโอกาสสู่การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ชั้นดีระดับโลก ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call โดย ES-USBLUECHIP มีสัดส่วนการลงทุนใน Microsoft (MSFT) 9.64% และ Apple (AAPL) 9.60%

“ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena”


อ้างอิง: Yahoo Finance’s Alphabet, Yahoo Finance’s Microsoft, Investopedia, IG.com UK

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สี่ประชุมบอสใหญ่ของจีนที่นักลงทุนต้องจับตา

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
สี่ประชุมบอสใหญ่ของจีนที่นักลงทุนต้องจับตา

ในทศวรรษนี้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและตลาดการเงินจีนมีบทบาทสำคัญต่อการลงทุนทั่วโลก

หนึ่งเดือนที่ผ่านมา การปรับตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วของหุ้นจีนจากการเปลี่ยนทิศนโยบายเศรษฐกิจ เป็นเรื่องตอกย้ำว่านักลงทุนควรเข้าใจนโยบายเศรษฐกิจจีนให้มากยิ่งขึ้น ผมจึงสรุป 4 การประชุมใหญ่ระหว่างปีที่สำคัญ มาแชร์ให้ทุกท่านได้ติดตามไปพร้อมกัน

(1) การประชุมคณะกรรมการกรมการเมือง (Politburo Meeting)

การประชุมกรมการเมืองของจีนเป็นการประชุมระดับสูงสุดด้านการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและการเมือง มีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นผู้ดำเนินการประชุม จัดขึ้นทุกไตรมาสในเดือน ม.ค. เม.ย. ก.ค. และ ก.ย. หรือ ธ.ค.

Politburo Meeting เน้นไปที่การประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ก่อนที่จะประกาศนโยบายเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งที่โดดเด่นในอดีต เช่นการออกมาตรการรับมือวิกฤตตลาดหุ้นจีน

ในเดือนกรกฎาคมปี 2015 ตอบสนองต่อวิกฤตตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรง  มีการประกาศมาตรการฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน เช่น การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดและควบคุมการขายหุ้น ช่วยให้ตลาดหุ้นจีนประคองตัวได้

หรือ เดือนกรกฎาคมปี 2020 Politburo Meeting ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการระบาดของ COVID-19 ช่วยให้จีนฟื้นตัวจากวิกฤตการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

และเป็นการประชุมครั้งล่าสุดเดือนกันยายนปี 2024 นั่นเองที่มีการเสนอเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจและการปรับปรุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยความหวังของการกระตุ้นจากภาครัฐ 

(2) การประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress – NPC)

การประชุม NPC เป็นการประชุมระดับชาติ จัดขึ้นในเดือนมี.ค. ของทุกปี โดยมุ่งเน้นการกำหนดงบประมาณ ออกกฎหมาย และการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว การประชุมนี้เป็นเวทีของการอนุมัติงบประมาณ ทุกนโยบายที่มีตัวเลขจึงมักต้องผ่านการประชุมนี้

NPC ครั้งสำคัญในอดีตเช่นปี 2013 เรื่องการประกาศวิสัยทัศน์ “Chinese Dream” ปธน. สี จิ้นผิง ใช้เวที NPC ในการประกาศแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งทางสังคม ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้จีนเป็นประเทศที่มั่นคงทางเศรษฐกิจ

หรือ NPC ปี 2021 มีการเสนอแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี (Five-Year Plan) ฉบับที่ 14 เน้นเรื่องการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจจีนไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืน การลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียว

ในปี 2024 การประชุม NPC ครั้งล่าสุด รัฐบาลจีนได้อนุมัติการออกพันธบัตรพิเศษจำนวน 2.3 ล้านล้านหยวน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการกู้ยืมเพื่อส่งเสริมการซื้อบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ซื้อบ้านเป็นครั้งแรก และออกมาตรการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน

สำหรับ NPC 2025 คาดว่าจะเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 15 (2025-2030) การปฏิรูปภาคการเงิน การจัดการหนี้สิน และการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ เป็นหลัก

(3) การประชุมคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission -NDRC)

NDRC มีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะในด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการส่งเสริมการเติบโตในภาคอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดี NDRC ไม่มีตารางประชุมประจำ แต่จะมีการจัดเมื่อมีการพิจารณาโครงการสำคัญ มักจัดประชุมในช่วงเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายน เพื่อประกาศโครงการลงทุนในปีถัดไป

ตัวอย่างการประชุม NDRC ครั้งสำคัญเช่นปี 2013 NDRC ได้ประกาศแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ Digital และโครงสร้างพื้นฐาน นำไปสู่การสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ

หรือปี 2017 ที่มีการประกาศโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt and Road Initiative – BRI) เชื่อมต่อประเทศจีนกับภูมิภาคต่าง ๆ นำไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับนานาประเทศในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา

NDRC เป็นคณะที่มีหน้าที่หลักในการวางแผนและกำกับดูแลเศรษฐกิจให้เป็นไปตามแผน NDRC 2024 ล่าสุดในวันที่ 8 ต.ค. แม้จะมีแถลงการเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่ 5% แต่เนื่องจากไม่ได้มีการระบุวงเงินการกระตุ้นใหม่ หรือนโยบายที่ชัดเจน จึงเป็นเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับฐานในเวลาต่อมา 

(4) การประชุมธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China – PBOC Meeting)

ธนาคารกลางจีน (PBOC) เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายการเงิน การประชุม PBOC จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องอัตราดอกเบี้ย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจัดการสภาพคล่องในระบบการเงิน และการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน

PBOC กำหนดการประชุมประจำไตรมาส (4 ครั้งต่อปี) มักเกิดขึ้นในช่วงท้ายไตรมาสหรือต้นไตรมาสใหม่

การประชุม PBOC ครั้งสำคัญในอดีต เช่นในเดือนธันวาคม 2021 PBOC ได้ตัดสินใจเพิ่มวงเงินปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยลดข้อกำหนดในการปล่อยสินเชื่อ และเพิ่มการสนับสนุนภาคธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาหลังการฟื้นตัวจากโควิด

และในเดือนสิงหาคม 2022 PBOC ประกาศลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาหลังจากเกิดวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์และปัญหาการกู้ยืมที่เกินตัวในบางพื้นที่ ทำให้ตลาดคลายความกังวลเรื่องวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ในจีนลง

ล่าสุดในการประชุม PBOC เดือนกันยายน 2024 ได้มีการประกาศมาตรการที่สำคัญเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจีน ประกอบด้วย การปรับลดอัตราดอกเบี้ย การลดอัตราสำรองตามกฎหมาย Reserve Requirement Ratio (RRR) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง (Mortgage Rate) และกระตุ้นตลาดหุ้นด้วยมาตราการสนับสนุนสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารให้สามารถกู้ยืมเงินโดยตรงจากธนาคารกลางได้ภายใต้หลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงการสนับสนุนการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน

นอกจากการประชุมปรกติแล้ว PBOC มีกำหนดการประกาศดอกเบี้ยรายเดือนที่เรียกว่า Loan Prime Rate (LPR) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากการสำรวจธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 18 แห่งในจีน สะท้อนถึงต้นทุนการกู้ยืมระหว่างธนาคาร ซึ่งนำไปใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภค

ส่วน PBOC นั้นจะกำหนด Medium-term Lending Facility (MLF) ปล่อยกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ ระยะเวลาการกู้ราว 1 ปี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม ส่วนในระยะสั้นจะใช้ Repo 7 (7-day Reverse Repo Rate) เป็นดอกเบี้ยที่ใช้ปรับสภาพคล่อง

เมื่อรู้จักการประชุมระหว่างปีที่สำคัญทั้ง 4 กลุ่มของจีนก็มาถึงคำถามสำคัญว่า

เรื่องไหนสำคัญที่สุดในการติดตามเศรษฐกิจจีน?

ในมุมมองของผม การประชุมที่สำคัญที่สุดสำหรับเศรษฐกิจต้องพุ่งเป้าไปที่การกระตุ้นการเติบโตผ่านการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ดังนั้น Politburo Meeting และ NPC จึงสำคัญที่สุด ส่วนด้านต่างประเทศที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย การติดตามการประชุม NDRC และการประกาศนโยบายการลงทุนของจีนเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน แต่ถ้าจะติดตามตลาดหุ้น PBOC เป็นการประชุมที่ต้องติดตามมากกว่าเรื่องอื่น

นักลงทุนหลายท่านอาจรู้สึกผิดหวังว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของจีนนั้นช่างขาดตอน ให้จำไว้ว่าทุกนโยบายมีเงื่อนไขและลำดับของมัน การรีบเร่งเกินไปมักไม่สำเร็จ สิ่งใดที่ต้องการผลลัพธ์ที่ดี จำเป็นต้องมีลำดับ และทำอย่างรอบคอบครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

Finnomena Funds

Finnomena Weekly Insight

Weekly Market Insight

ประจำสัปดาห์ 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2024

พิเศษ! สำหรับสมาชิก Finnomena

This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดได้เลย

4 คอนเซ็ปต์การเงิน ชาว Gen Z ไม่รู้ไม่ได้!

Finspace
4 คอนเซ็ปต์การเงิน ชาว Gen Z ไม่รู้ไม่ได้!

หากถามว่าคนวัยทำงานที่อายุน้อยที่สุดในยุคนี้ ก็คือเหล่า Gen Z ซึ่งเป็นคนที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น IG, Tiktok, Twitter

เมื่อเหล่า Gen Z ถึงเวลาที่ต้องออกทำงานสู่โลกกว้าง คนส่วนใหญ่จึงชอบทำงานที่หลากหลาย เปลี่ยนงานบ่อยเพื่อหางานที่เหมาะสมกับตัวเอง หรือหารายได้เสริมผ่านช่องทางออนไลน์ E-Commerce จึงทำให้มีรายได้หลายทาง แต่ถึงแม้จะมีรายได้จากงานประจำหรือจากงานเสริม ก็ยากต่อการคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน หากมีค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป เช่น การผ่อนค่างวดรถ หรือการผ่อนคอนโด อาจทำให้เกิดสภาพคล่องได้ และนั่นคือเหตุที่ใครหลายคนกำลังเผชิญกับ “วิกฤตการเงิน” แบบไม่รู้ตัว

แต่ท่ามกลางความวุ่นวายของเศรษฐกิจยุคนี้ เราจึงอยากนำเสนอเส้นทางเคล็ดลับการวางแผน “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” แม้อยู่ในยุคค่าครองชีพสูงลิ่ว

4 คอนเซ็ปต์การเงิน ชาว Gen Z ไม่รู้ไม่ได้!

1. จ่ายไม่พอ รับด้วยนะ

การทำรายรับ – รายจ่าย นับเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก นอกจากจะช่วยให้เราบริหารเงินได้มากขึ้น ยังเป็นเครื่องมือช่วยการบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา เพราะในบางครั้งเราอาจไม่รู้เลยว่าเงินเราใช้จ่ายไปกับค่าอะไร จนทำให้หลาย ๆ ครั้งมักจะเกิดปัญหาเรื่องเงินเดือนชนเดือน ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขด้วยการทำรายรับ-รายจ่าย เพราะถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรามากที่สุด

2. ออมเงินที่ดี ต้องเริ่มจากแบ่งสัดส่วนให้เป็น

การออมเงิน ฟังดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับ Gen Z บางคนอาจจะทำได้ เพราะมีภาระเล็กน้อย ถึงยังไงเราก็ต้องตั้งเป้าออมเงินไว้ก่อน และเริ่มลงมือ แม้ว่าจะได้ทีละน้อยก็ตาม เราสร้าง Mindset แบบนี้ เพื่อที่เวลาเรามีรายได้สูงขึ้น หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยลง อัตราการออมจะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยเราต้องแบ่งสัดส่วนของรายได้ตั้งแต่แรก เพื่อให้เรามองเห็นการแบ่งสัดส่วนของเงินที่มีได้อย่างชัดเจน หลังจากนั้นจะทำให้เรารู้ว่าเงินที่เหลือจะสามารถนำไปใช้จ่ายในส่วนใดได้บ้าง

สูตรการแบ่งสัดส่วนที่นิยมใช้กันคือ “50-30-20” เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ให้เราแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก 50% 10,000 บาท ส่วนที่สองจำนวน 30% 6,000 บาท และส่วนสุดท้าย 20% 4,000 บาท หรือปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เช่น 70-20-10 หรือ 80-10-10 เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและเป้าหมายของแต่ละคน การแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายจะช่วยให้เราจัดสรร และมีวินัยทางการเงินมากยิ่งขึ้น

3. มาเสี่ยงกันเถอะ

การวางแผนลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง เป็นกลยุทธ์ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อไม่ทำให้เราขาดทุนมากเกินไป กลยุทธ์นี้สามารถปรับใช้ได้กับทุกรูปแบบ ไม่เพียงแค่การลงทุนในกองทุนหรือหุ้นเท่านั้น เหตุผลที่คน Gen Z ควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง เพราะหากลงทุนในสินทรัพย์ใดมากเกินไป การกระจายความเสี่ยงจะช่วยลดความเสียหายหากเกิดความผันผวนในตลาด เช่น หากลงทุนเพียงกองเดียว เรามีพอร์ตการลงทุนมูลค่า 100,000 บาท ไม่กระจายความเสี่ยง ลงในกองทุนหุ้นกองทุนเดียวแล้วขาดทุน 10% เท่ากับว่าเราขาดทุนไป 10,000 บาท แต่ถ้าหากเรากระจายไป 3 กองทุน จำนวน 100,000 บาท โดยใช้การจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง หุ้น 50% (50,000 บาท) ตราสารหนี้ 26% (26,000 บาท) และกองทุนผสม 24% (24,000 บาท) ถ้าเกิดความผันผวนในตลาด จากที่เราซื้อหุ้น ก็จะขาดทุน 10% (5,000 บาท) ตราสารหนี้ ยังเท่าเดิม กองทุนผสม กำไร 10% (2,400 บาท) เท่ากับเราขาดทุนเพียงแค่ 2,600 บาท

4. เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

เมื่อเราทำงานมาได้ระยะหนึ่งที่สามารถเก็บเงินได้แล้ว เงินเก็บก้อนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ เงินสำรองฉุกเฉิน เพราะเงินส่วนนี้คือ เงินที่ออมเพื่อเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ แต่สำหรับเงินสำรองฉุกเฉินนี้ ควรเก็บไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวม เป็นต้น เพื่อให้สามารถถอนออกมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือเร่งด่วนได้ สมมติค่าใช้จ่ายต่อเดือนเรา 15,000 บาท ก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 3-6 เท่า หรือ 90,000 บาท ทั้งนี้ การวางแผนสามารถปรับเปลี่ยนตามความเสี่ยงของแต่ละคน

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/4-financial-concepts-genz/

KKP GINFRAEQ-H กองทุนโปรด โหมดลดดอกเบี้ย

Siwa Khunanun
KKP GINFRAEQ-H กองทุนโปรด โหมดลดดอกเบี้ย

Highlight (คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลย)


ช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและการลงทุนในวงกว้าง แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไป เงินเฟ้อลดลง และเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว ทำให้ปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกต่างเริ่มลดดอกเบี้ยลงบ้างแล้ว

การเปลี่ยนแปลงทิศทางของดอกเบี้ยนี้จะส่งผลกับสินทรัพย์หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) หรือสาธารณูปโภค (Utilities) ที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง และมีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

KKP GINFRAEQ-H กองทุนโปรด โหมดลดดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยทั่วโลกเข้าสู่ขาลง

ดอกเบี้ยขาลง

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก | Source: Finnomena Funds, as of 17/09/24

ตารางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการลดลงอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets: DM) และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) เห็นได้จากแถบสีเหลืองที่บ่งบอกถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ญี่ปุ่น หรือแถบลาตินอเมริกา

ดอกเบี้ยขาลง ต้องโครงสร้างพื้นฐาน

ผลตอบแทน โครงสร้างพื้นฐาน

ผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง | Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 06/09/2024

*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังของ S&P 500 ตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2019 พบว่าหุ้นกลุ่ม Utilities นั้นมีความแข็งแกร่งและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดี แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความผันผวนสูง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง (Soft Landing) หรือเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง (Hard Landing) โดยเฉพาะในช่วงดอกเบี้ยขาลง

อีกหนึ่งความน่าสนใจของกลุ่ม Infrastructure คือปัจจุบันหุ้นกลุ่ม Healthcare มักจะมี P/E Ratio ที่สูง เช่น Eli Lilly สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังในการเติบโต ขณะที่หุ้นกลุ่ม Infrastructure มีการเติบโตที่มั่นคงและคาดการณ์ได้ง่ายกว่า หุ้นกลุ่ม Infrastructure จึงถูกมองว่าอาจจะมีความ Defensive โดยธรรมชาติมากกว่ากลุ่ม Healthcare

โครงสร้างพื้นฐาน Laggard กลุ่มอื่น

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างกลุ่มหุ้นสาธารณูปโภค (S&P Utilities Sector) กับกลุ่มหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก (Global Infrastructure) | Source: Finnomena Funds, as of 17/9/24

ล่าสุดกลุ่ม Utilities และ Global Infrastructure ได้ทำ New High แต่ยังคงปรับตัวขึ้นน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ จึงอาจยังมีราคาที่น่าสนใจ และมีโอกาสเติบโตได้อีก โดยหุ้นกลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มีโอกาส Outperform ตลาดได้ในช่วงดอกเบี้ยขาลง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้ความต้องการใช้บริการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานมีความสม่ำเสมอไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือแย่

โครงสร้างพื้นฐานคือเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจ

โครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจของสังคมหนึ่ง ๆ มันคือสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ระบบขนส่งมวลชน หรือระบบไฟฟ้า ขณะที่สาธารณูปโภค หรือ Utilities เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานที่มุ่งเน้นการให้บริการสาธารณะโดยตรง เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า และอินเทอร์เน็ต

โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกสบาย เช่น การมีระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงช่วยให้เราสามารถทำงานและเรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานที่ดียังเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

ทำไมกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานถึงน่าสนใจ

1. ความต้องการที่มั่นคงและต่อเนื่อง

โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือแย่ ความต้องการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ระบบขนส่ง จะยังคงมีอยู่เสมอ นอกจากนี้ บริษัทในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานมักมีสัญญาการให้บริการระยะยาวกับภาครัฐหรือเอกชน ทำให้มีรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอนและมั่นคง

2. ความผันผวนต่ำกว่าตลาด

ผลประกอบการของบริษัทโครงสร้างพื้นฐานมักไม่ผูกติดกับวัฏจักรเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากความต้องการที่ค่อนข้างคงที่ ทำให้ราคาหุ้นมีความผันผวนน้อยกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ อีกทั้งบริษัทโครงสร้างพื้นฐานมักมีสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เช่น โรงไฟฟ้า ท่าเรือ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้และมีมูลค่ารองรับ

3. เติบโตตามการพัฒนาของประเทศ

รัฐบาลทั่วโลกมักมีโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเติบโตของประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความต้องการที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นโอกาสเติบโตสำหรับบริษัทในกลุ่มนี้

เติบโตไปกับโครงสร้างพื้นฐานโลกด้วย KKP GINFRAEQ-H

กองทุนเปิดเคเคพี โกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ อิควิตี้ เฮดจ์ ชนิดทั่วไป (KKP GINFRAEQ-H) เป็นกองทุนหุ้นต่างประเทศแบบ Feeder Fund ตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วโลก เน้นลงทุนกองทุนรวมหลักเพียงกองทุนเดียวคือ Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

กองทุนหลักบริหารจัดการโดย Lazard Asset Management Pacific Co. ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากประสบการณ์ด้าน Global Infrastructure โดยเฉพาะ อีกทั้งยังเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ริเริ่มลงทุนในหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน และมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) มากที่สุดในการลงทุนประเภทกองทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน

โดยกองทุนหลักจะลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure Companies) ที่มีมูลค่าตลาดขั้นต่ำ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,300 ล้านบาท) 

และเน้นลงทุนในกลุ่ม Preferred Infrastructure ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ซึ่งจะต้องมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รายได้มั่นคง มีความสามารถในการทำกำไร มีลักษณะผูกขาด รายได้มีการปรับขึ้นตามเงินเฟ้อ และมีความผันผวนต่ำ

ทั้งนี้ แม้จะลงทุนเพียง 25-50 บริษัท แต่ก็กระจายไปยังหลากหลายอุตสาหกรรม หลากหลายประเทศ และยังเลือกลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งด้านเศรษฐกิจรวมถึงระบบกฎหมายอีกด้วย

จุดเด่นกองทุนหลัก 

ผลการดำเนินงานกองทุนหลัก

ผลการดำเนินงานกองทุนหลัก | Source: Lazard Asset Management, as of 17/9/24

*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

จากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กองทุน Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนในอดีตที่น่าสนใจและความเสี่ยงที่ควบคุมได้ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนี MSCI World Core Infrastructure ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ติดตามและวัดผลการดำเนินงานของบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางใน 23 ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก ที่มีธุรกิจหลักเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน พบว่ากองทุนหลักมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียง Benchmark และบางช่วงก็ดีกว่า เช่น ในปี 2015, 2017, 2018, 2020, 2022 และ 2023

หากพิจารณาผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี พบว่ากองทุนหลักมีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 6.7% ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่ตลาดผันผวนสูงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

จุดเด่นกองทุนไทย KKP GINFRAEQ-H

ผลการดำเนินงานกองทุน KKP GINFRAEQ-H

ผลการดำเนินงานกองทุน KKP GINFRAEQ-H | Source: Finnomena Funds, as of 11/10/24

เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานของกองทุน KKP GINFRAEQ-H พบว่าโดดเด่นทั้งในแง่ของ Sharpe Ratio ที่สูง และ Maximum Drawdown ที่ต่ำ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการรักษามูลค่าได้ดี แม้ในช่วงตลาดผันผวน

Sharpe Ratio ระยะ 1 ปี อยู่ที่ 0.99 หมายความว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา กองทุนนี้มีโอกาสให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ซึ่งค่า 0.99 ถือว่าสูงมาก แสดงว่ากองทุนนี้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี โดยที่ความเสี่ยงไม่สูงเกินไป 

เมื่อพิจารณาในช่วง 3 ปี  (คิดเฉลี่ยต่อปี) แม้ว่า Sharpe Ratio จะลดลงมาอยู่ที่ 0.34 แต่ก็ยังถือว่าเป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แสดงว่าโดยเฉลี่ยแล้วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กองทุนนี้ยังคงมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ

อีกทั้งกองทุนยังมีความมั่นคงสูง โดยมีค่า Maximum Drawdown ในระยะ 1 ปี เพียง -5.41% และในระยะ 3 ปี อยู่ที่ -14.39% สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการรักษามูลค่าได้ดี

โชว์ฟอร์มเหนือกว่า Benchmark อย่างต่อเนื่อง

ผลตอบแทนสะสมกองทุน KKP GINFRAEQ-H

ผลตอบแทนสะสมกองทุน KKP GINFRAEQ-H | Source: KKP Factsheet, as of 30/8/24

*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

จากกราฟผลตอบแทนสะสม พบว่ากองทุน KKP GINFRAEQ-H สามารถสร้างผลตอบแทนในอดีตที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำผลงานได้สูงกว่า Benchmark ได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ลงทุนคุ้มค่า ค่าธรรมเนียมต่ำกว่า

เมื่อเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของกองทุน KKP GINFRAEQ-H กับกองทุนที่ไปลงทุนในกองหลักเดียวกัน (Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund) อย่าง PRINCIPAL GIF และ ES-GINFRA พบว่า KKP GINFRAEQ-H มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าเล็กน้อย ทำให้ได้เปรียบในแง่ของต้นทุนและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสุทธิที่สูงขึ้น

ค่าธรรมเนียมของ PRINCIPAL GIF

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) 1.6049% ต่อปี
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee) 1.5%
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee) ปัจจุบันยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-in) 1.5%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-out) ปัจจุบันยกเว้น

ค่าธรรมเนียมของ ES-GINFRA

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) 1.6050
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee) 1.5%
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee) ปัจจุบันยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-in) 1.5%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-out) ปัจจุบันยกเว้น

ด้วยค่าธรรมเนียมที่แข่งขันได้ KKP GINFRAEQ-H จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดต้นทุนค่าธรรมเนียม

KKP GINFRAEQ-H เหมาะกับใคร

  • ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และมองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะยาว 
  • ผู้ลงทุนที่ต้องการเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตการลงทุน 
  • ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน
  • ผู้ลงทุนที่มองหาโอกาสการลงทุนจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง

Top 10 Holdings กองทุนหลัก 

*ข้อมูล ณ วันที่ 31/8/2024 สัดส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลง

Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund Holdings

Top 10 Holdings ของกองทุนหลัก Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund | Source: Lazard Asset Management, as of 31/8/2024

  1. National Grid (9.4%) บริษัทด้านพลังงานรายใหญ่ของสหราชอาณาจักร ดำเนินธุรกิจด้านการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ
  2. Ferrovial (8.3%) บริษัทสัญชาติสเปนที่ดำเนินธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างถนน ทางหลวง และสนามบิน
  3. VINCI (7.8%) กลุ่มบริษัทข้ามชาติของฝรั่งเศสที่ดำเนินธุรกิจในหลากหลายสาขา เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้าง การขนส่ง และพลังงาน
  4. Norfolk Southern (7.2%) บริษัทขนส่งทางรถไฟรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ให้บริการขนส่งสินค้าหลากหลายประเภท เช่น ถ่านหิน สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม
  5. Snam (6.4%) บริษัทพลังงานของอิตาลี ดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งและการจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ
  6. United Utilities (4.7%) บริษัทสาธารณูปโภคของสหราชอาณาจักร ให้บริการน้ำประปา และการบำบัดน้ำเสีย
  7. Terna (4.7%) บริษัทพลังงานของอิตาลี ดำเนินธุรกิจด้านการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า
  8. Severn Trent (4.6%) บริษัทสาธารณูปโภคของสหราชอาณาจักร ให้บริการน้ำประปา และการบำบัดน้ำเสีย
  9. Exelon (4.5%) บริษัทผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานหมุนเวียน
  10. CSX (4.4%) บริษัทขนส่งทางรถไฟรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ให้บริการขนส่งสินค้าหลากหลายประเภท เช่น ถ่านหิน สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม

สรุป

ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง หุ้นกลุ่มกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสาธารณูปโภค (Utilities) มักมีผลการดำเนินงานที่ดีในช่วงดอกเบี้ยขาลง เนื่องจากมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อได้ 

การลงทุนในกองทุน KKP GINFRAEQ-H จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากลงทุนในกองทุนหลัก Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund ที่มีการกระจายการลงทุนไปใน 25 – 50 บริษัทชั้นนำด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก และอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม

โดยกองทุน KKP GINFRAEQ-H มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ ผลการดำเนินงานในอดีตที่โดดเด่นทั้งในแง่ของ Sharpe Ratio ที่สูงและ Maximum Drawdown ที่ต่ำ นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมที่แข่งขันได้เมื่อเทียบกับกองทุนอื่นที่ลงทุนในกองหลักเดียวกัน

รายละเอียดอื่น ๆ ของ KKP GINFRAEQ-H

  • ความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมหุ้น ที่เน้นลงทุนในหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล: ไม่จ่ายปันผล
  • ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: ไม่น้อยกว่า 90%
  • มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee): 1%
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee): ปัจจุบันยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-in): 1%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-out): ปัจจุบันยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee): 1.07% ต่อปี

FundTalk Contrarian Call แนะนำซื้อกองทุน KKP GINFRAEQ-H ที่ลงทุนใน Global Infrastructure ซึ่งมีรายได้มั่นคงปรับขึ้นตามเงินเฟ้อ และเน้นเพียง 25-50 บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไร โดยเป็น Sector ที่น่าสนใจที่สุดในช่วงเวลาแห่งการลดดอกเบี้ย

อ่านมุมมองการลงทุนที่ Opportunity Hub


อ้างอิง: KKP GINFRAEQ-H’s Factsheet, Lazard Global Listed Infrastructure Equity Fund’s Factsheet, Finnomena Funds, ES-GINFRA’s Factsheet, PRINCIPAL GIF’s Factsheet

คำเตือน: ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”