1. ยกเลิกการถอนตัวจาก WHO (องค์การอนามัยโลก) เพื่อร่วมมือหยุดโควิด ก่อนหน้านี้ Trump กล่าวหาว่า WHO เข้าข้างจีนเลยพาสหรัฐออกจากกลุ่ม
2. กลับเข้า Paris climate accord ที่สนับสนุนนโยบายลดโลกร้อนในแต่ละประเทศ
3. ยกเลิกท่อส่งน้ำมัน Keystone XL ตามข้อเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อม
4. ยกเลิกคำสั่งห้ามพลเมืองประเทศ Iran, Iraq, Libya, Somalia, Sudan, Syria, Yemen เข้าสหรัฐ
5. หยุดการก่อสร้างกำแพงกั้น Mexico
6. หยุดขยายหน่วยงานไล่จับผู้อพยพ
7. ตั้งคณะทำงานเพื่อมาช่วยเลือกอีกว่านโยบายรัฐบาลเดิมอันไหนต้องถูกยกเลิกอีก !
อีก 2 ข้อคือเรื่องให้ความเท่าเทียมคนสหรัฐทุกเชื้อชาติ
นอกจากนี้ยังมีการประกาศคำสั่งเพิ่มอีก 8 ฉบับ ซึ่งเน้นเรื่องการหยุดโควิด ให้ประโยชน์ผู้อพยพมากขึ้น รวมถึงเลื่อนการจ่ายหนี้การศึกษาออกไปก่อน
Joe Biden มาแบบชัดเจน ประกาศเอาใจฝั่งตัวเองเต็มที่ด้วยคำสั่งเหล่านี้ ซึ่งในอาทิตย์หน้าก็จะเริ่มมีการแถลงใช้นโยบายบริหารที่ได้หาเสียงไว้ เช่น “Buy America” บังคับให้หน่วยงานรัฐซื้อของที่ผลิตในสหรัฐเท่านั้น และจะให้เงินสนับสนุนการทำ R&D และตั้งโรงงานในประเทศ
ทั้ง Democrat และ Republican ก็ไม่ต้องเหนียมอายอีกต่อไป ต่างประกาศชัดเจนชูนโยบายให้ฐานเสียงตัวเองได้ประโยชน์ถ้ามีอำนาจอยู่ในมือ
แอดมินแนท
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://bottomliner.co/uncategorized/joe-biden-first-day-at-work/
ดูผ่าน Facebook:
https://www.facebook.com/finnomena/posts/1445335875812045
ดูผ่าน Youtube:
https://youtu.be/WEMoTb8igCA
ดาวน์โหลดฟรี! Presentation – FINNOMENA LIVE ตอนล่าสุด (ลิ้งค์หมดอายุใน 7 วัน)
โดย FundTalk และ Mr. Messenger
ข่าวเด่นรอบสัปดาห์
ติดตาม FINNOMENA LIVE ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-uop
ตราสารหนี้ คือ ตราสารการลงทุนประเภทหนึ่งที่จ่ายรายได้แบบคงที่ออกมาให้กับนักลงทุน (Fixed Income) ซึ่งนักลงทุนจะตกอยู่ในสภานะผู้ปล่อยกู้ (Loaner) โดยที่ทางรัฐหรือบริษัทที่เป็นคนออกตราสารจะได้สถานะที่ตรงกันข้ามก็คือ การเป็นผู้ยืม (Borrower)
อีกนัยหนึ่งเราอาจจะเรียกผู้ปล่อยกู้ว่า “เจ้าหนี้ (Creditor)” และผู้ยืมว่า “ลูกหนี้ (Debtor)” ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราอาจเห็นคำพวกนี้ได้ในหนังสือการลงทุนต่าง ๆ ดังนั้นทำความรู้จักให้คุ้นหูกันไว้ก่อนก็อาจจะง่ายขึ้นครับ
กลับเข้าเรื่องกันต่อดีกว่าครับ ในส่วนของคนออกตราสารหนี้หลัก ๆ แล้ว เราอาจจะแบ่งได้เป็นสองส่วนหลักซึ่งก็คือ “ทางรัฐ” กับ “ทางบริษัท” ซึ่งตราสารหนี้ที่ทางรัฐออกเราก็จะเรียกมันว่า “พันธบัตรรัฐบาล” ในขณะที่ตราสารหนี้ที่ทาง “บริษัท” ออกมาเพิ่มเงินทุน เราก็จะเรียกว่า หุ้นกู้เอกชน หรือ ตราสารหนี้เอกชน ก็ได้เช่นเดียวกัน
หลัก ๆ เราจึงอาจแบ่งตราสารหนี้ได้เป็นสองชนิด ก็คือ พันธบัตรรัฐบาล และ หุ้นกู้เอกชน
ตัวอย่างคุ้นหูก็เช่น…
U.S. Treasury หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ + ปี, พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือ พันธบัตรรัฐบาลประเทศต่าง ๆ
หรือจะเป็นตัวอย่างอื่น ๆ เช่น…
หุ้นกู้เทศบาล (Municipal Bond) หรือหุ้นกู้ที่ทางรัฐต่าง ๆ อาทิเช่น ในสหรัฐออกมาเพื่อเพิ่มทุนสำหรับก่อสร้างสะพาน ทางด่วนหรือโรงเรียน
ตัวอย่างที่หาได้ทั่วไปก็เช่น…
หุ้นกู้ที่ออกในบริษัทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทุนไม่ว่าจะเป็น บริษัทในกลุ่มธนาคาร สาธารณูปโภค การขนส่ง อุตสาหกรรม
หรือจะเป็นตัวอย่างอื่น ๆ เช่น…
หลักทรัพย์ที่ได้รับกระแสเงินสดจากสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือ Mortgage-backed securities หรือ MBS
อันดับแรกผมขอสรุปเรื่องอายุของตราสารหนี้ไว้คร่าว ๆ ดังนี้ก่อนละกันครับ ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็จะแบ่งตามอายุครบกำหนดของตราสารหนี้นั้น ๆ
ตราสารหนี้ระยะสั้น = ตราสารหนี้ที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี
ตราสารหนี้ระยะกลาง = ตราสารหนี้ที่มีอายุ 2-10 ปี
ตราสารหนี้ระยะยาว = ตราสารหนี้ที่มีอายุ 10-30 ปี
ส่วนในเรื่องของความแตกต่าง เราก็อาจจะต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าหลัก ๆ แล้วองค์ประกอบของตราสารหนี้มีอะไรบ้าง? แต่ก่อนอื่นผมขออธิบายเรื่องราคากับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนสักหน่อยก่อนละกันครับ
โดยปกติแล้วตราสารหนี้ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความซับซ้อนในความเข้าใจระดับนึง ดังนั้นจุดแรกผมขอแบ่งประเด็นสำคัญตราสารหนี้ออกเป็นสองจุดก่อน
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ในแง่ของราคาตราสารหนี้ก็เหมือนกับหุ้นนี่แหละครับ คนขายราคาก็ลง คนซื้อราคาก็ขึ้น
ส่วนที่ซับซ้อนคือในส่วนของ Yield หรือ อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ซึ่งมีความสัมพันธ์ “เชิงลบ” กับราคา
“ถ้าราคาตราสารหนี้ลง ผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้น”
“ถ้าราคาตราสารหนี้เพิ่ม ผลตอบแทนจะลดลง”
อยากให้ทุกคนจำหลักการตรงนี้ไว้ก่อนครับและลองดูคำอธิบายเพิ่มเติมในส่วนถัดไป
คงต้องเล่ากันก่อนว่าตอนตราสารหนี้นั้นถูกปล่อยออกมาให้นักลงทุนได้ซื้อเค้าจะให้มาเป็นราคาตั้งต้นหรือราคาพาร์ (Par value) โดยตัวอย่างธรรมดาสามัญที่ใคร ๆ ชอบใช้กันก็คือขายที่ “1,000 บาท”
ประเด็นสำคัญต่อมาก็คือคนไม่ได้ซื้อตราสารหนี้ 1,000 บาทที่ว่าและถือไปตลอดชีวิต บางคนอาจจะมองว่าตราสารหนี้ช่วงนี้ไม่น่าจะมีคนซื้อแล้ว เค้าอาจจะเงินไปทำอย่างอื่น เช่น ลงทุนในหุ้น คน ๆ นั้นก็จะเอาไปขายต่อ
และจังหวะที่ตราสารหนี้ถูกขายต่อนี่แหละ เป็นจังหวะที่ “Yield (ผลตอบแทน)” จะเข้ามามีบทบาท และทุกคนอาจเริ่มสงสัยกันในส่วนนี้
จากตอนแรกที่เราสมมติตัวอย่างราคาขึ้นมาที่ 1,000 บาทในที่นี้ ผมจะให้ทุกคนลองคิดต่อมาว่าในจุดที่นักลงทุนคนหนึ่งขายตราสารหนี้ออกไปเขาได้ขายออกไปที่ราคา 700 บาท
ปกติแล้วตราสารหนี้ที่ชื่อก็บอกอยู่ว่า “หนี้” ซึ่งหนี้จะต้องมีการตกลงการให้ดอกเบี้ยเงินกู้กันแต่แรก ๆ ในที่นี้เราอาจจะสมมติขึ้นมาว่าตกลงจะจ่ายให้กับคนซื้อตราสารหนี้ที่ 50 บาท ต่อปีหรือ 5% ต่อปี ซึ่งอัตราตกลงที่จะจ่ายผลตอบแทนเริ่มแรกนี้ (ตัว 50 บาทหรือ 5%) เราอาจจะเรียกเป็นศัพท์ที่ดูซับซ้อนขึ้นมาหน่อยซึ่งก็คือ “Coupon payment” กับ “Coupon rate ”
ซึ่งหากเราดูจากข้อตกลงที่ว่าตราสารหนี้ตัวนี้ก็ควรจะให้ผลตอบแทนที่ 5% ของราคา 1,000 บาทในตอนแรก เพื่อที่จะสามารถจ่ายผลตอบแทนที่ 50 บาทพอดีเป๊ะ
แต่ประเด็นก็คือต่อมาราคามันลดลงมาจากการที่คนเทขายจนเหลือ 700 บาท และการที่เราจะคิดผลตอบแทนเหมือนเดิมที่5% ก็คงจะไม่ได้ เพราะ ในตอนแรกเราตกลงกันไว้ว่าจะจ่ายกันที่ 50 บาท
ดังนั้นผลตอบแทนก็ควรจะปรับตัวขึ้นมาที่ประมาณ 7.1428% เพื่อที่จะได้คูณกับราคาในตอนนั้นแล้วออกมาได้อัตราที่เราตกลงกันตั้งแต่แรกที่ 50 บาท (700×7.1428% = 49.9996 บาท)
อันนี้ก็จะกลับกันจากตัวอย่างข้างต้นครับ สมมติว่าราคาตราสารหนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น 1,300 บาท ผลตอบแทนของตราสารหนี้ก็ควรที่จะปรับตัวขึ้นมาเป็น 3.8462% เพื่อที่จะได้จ่ายหนี้ในอัตราที่ตกลงกันไว้แต่แรกที่ 50 บาท (1,300×3.8462% = 50.0006 บาท)
และทั้งหมดนี้ก็เป็นที่มาของการที่ผู้คนในหมู่นักลงทุนชอบพูดกันว่า Yield ดีดแล้วตราสารหนี้ถูกเทขาย หรือ จะเป็นประโยคที่ฮอตฮิตในช่วงนี้อย่างการที่ Fed กดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพื่อให้ดอกเบี้ยต่ำ จนทำให้พันธบัตรรัฐบาลราคาไม่ผันผวนเหมือนเช่นช่วงวิกฤติ COVID-19
หากจะเรียกง่าย ๆ ก็คือราคาตั้งต้นจ่าหน้าซองของตราสารหนี้ตั้งแต่ทีแรก ซึ่งเป็นราคาที่ตกลงกันว่าจะชำระหลังตราสารหนี้ครบอายุ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลังจากตราสารหนี้เริ่มมีการซื้อขายกันไปสักพักในความเป็นจริง ราคาอาจขยับไปมาจนสูงหรือต่ำกว่าราคานี้ได้ โดยตราสารหนี้ที่ถูกเทรดต่ำกว่าราคาพาร์ เราจะเรียกว่า มันกำลังเทรดที่ Discount และหากมันเทรดสูงกว่าราคาพาร์เราก็จะเรียกมันว่ามันกำลังเทรดที่ Premium
ซึ่งก็มีผลมาจากการเพิ่มหรือลดของอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ว่า โดยอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นปัจจัยสำคัญมาก ๆ ของตราสารหนี้ และแทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยหลักก็ว่าได้ ดังนั้นผมจึงขออธิบายเพิ่มเติมในส่วนถัดไป
คือ อัตราผลตอบแทนที่จะจ่ายให้กับนักลงทุนโดยคิดตาม par value หรือเรทตั้งต้นที่ตกลงว่าจะจ่าย
แต่ถึงอย่างนั้นพอเอาเข้าจริง ๆ เวลาตราสารหนี้ถูกซื้อขายต่อ ๆ กัน ก็จะต้องเผชิญกับการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางปรับเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจอยู่เสมอ ๆ จึงอาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนไปมาได้และเราจะเรียกอัตราผลตอบแทนของเราใหม่เป็น Yield to Maturity หรือแปลกันโต้ง ๆ ว่า ผลตอบแทนจนถึงวันที่ครบอายุ
คือ ผลตอบแทนของตราสารหนี้ ที่ถูกนำไปซื้อขายต่อ ๆ กัน ผ่านร้อนผ่านหนาวเจอกับการขึ้นลงดอกเบี้ย จนทำให้ราคาตราสารหนี้เปลี่ยนไป โดยหน้าตาสูตรที่คิดมันก็จะประมาณนี้
C = ดอกเบี้ยที่จ่ายออกมา (Interest/Coupon payment)
FV = ราคาตั้งต้น (Face value)
PV = ราคาในตอนนี้ (Present value)
t = อายุหรือเวลาที่เหลืออยู่ก่อนครบกำหนด
คือ วันที่ตราสารหนี้บูด และถึงกำหนดที่ต้องคืนเงินต้น ซึ่งหากยาวมากเท่าไร ความเสี่ยงที่จะเผชิญกับความผันผวนของดอกเบี้ย รวมถึงวิกฤติก็อาจจะมากขึ้นเท่านั้น
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่ต้องยุ่งกับมันแล้วจะดีกว่า หรือคงคิดว่ามันคงไม่มีใครบ้าพอที่จะลงทุนในตราสารชนิดนี้อีกแล้ว
แต่เหตุผลที่ต้องอธิบายในส่วนนี้ก็เพราะ ปัจจุบันยังมีกองทุนตราสารหนี้ จำพวกกองทุนต่างประเทศที่ยังลงทุนในส่วนของ MBS อยู่ ซึ่งปัจจุบัน MBS ก็มีการควบคุมให้เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้นไม่ปล่อยปละละเลยเช่นแต่ก่อนแล้ว
MBS หากอธิบายคร่าว ๆ ก็คือตราสารประเภท Fixed income ที่นำสินเชื่อบ้านต่าง ๆ มามัดรวมกันโดยอาจจะผสมทั้งตัวเครดิตดี ๆ และเครดิตไม่ดีเข้าไปด้วย และถัวเฉลี่ยเรทเครดิตกันออกมาในตอนสุดท้าย โดยอาจจะมีธนาคารหรือหน่วยงานต่าง ๆ ปล่อยมาอีกทีแล้วกิน % ดอกเบี้ยก่อนมอบให้นักลงทุน
ส่วนความอันตรายของตราสารประเภทนี้ก็คือการนำตัวเครดิตไม่ดีมามัดเข้าไปด้วย ซึ่งถ้าคนพวกนี้จ่ายหนี้ไม่ได้ระบบมันก็อาจจะพัง ซึ่งคนที่มีเครดิตไม่ดีก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงกว่าคนเครดิตดี ที่มีสถานะทางการเงินดีกว่า
แต่ถึงอย่างนั้นด้วยการควบคุมที่เข้มข้นขึ้นหลังวิกฤติ Subprime ก็อาจทำให้บางกองทุนเข้าลงทุนมากขึ้น
อย่างที่ได้บอกไว้ข้างต้นว่าบางทีตราสารหนี้อาจเทรดสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาจริง ๆ ได้ ซึ่งนั่นก็เปิดโอกาสให้กับนักลงทุนได้อาศัยส่วนต่างหรือข้อผิดพลาดที่ว่าในการหาโอกาส
แต่หากว่ากันในเชิงมูลค่าหรือ value แล้วเราอาจจะซื้อตราสารหนี้ที่เทรดต่ำกว่าราคาพาร์ และยิ่งต่ำอาจจะยิ่งดีเสียด้วยซ้ำ!
ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยกันว่าแล้วทำไมเราต้องไปซื้ออะไรที่มันแย่ ๆ ไร้อนาคต ไร้แนวโน้ม ไร้ราคาด้วย คำตอบก็คือเวลาที่ตราสารหนี้นั้นถูกเทรดต่ำกว่าราคา ถ้าเราคิดดี ๆ แล้วเรากำลังซื้อตราสารหนี้ที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าจริง ๆ ของมันอยู่ ซึ่งเราจะซื้อในราคาที่มีส่วนเผื่อความปลอดภัยหรือที่เรียกกันเท่ ๆ ว่า Margin of Safety
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อตราสารหนี้ที่ราคา 800 บาทจากราคาพาร์ที่ 1,000 บาท เราก็จะได้ส่วนเผื่อความปลอดภัยขึ้นมาถึง 20% และจะมากกว่านั้นหากมันยิ่งต่ำลงไป! เพราะมันหมายความว่าราคามันจะลดลงไปได้อีกไม่มาก จากจุดที่มันอยู่
แต่ถึงอย่างนั้นเราก็อาจจะต้องมาประเมินกันอีกทีว่าตราสารหนี้ลดราคาที่เราจะซื้อมีแนวโน้มที่จะจ่ายหนี้ไหวไหม ถ้าประเมินผิดเกิดมัน Default หรือหนี้สูญขึ้นมา เราก็อาจจะต้องปวดหัวกับมันเป็นแน่
แต่มันก็คงดีกว่าการที่เราเทรดอะไรที่มันเกินมูลค่าแล้วเราไม่รู้ว่ามันจะไปได้อีกสักแค่ไหนจริงไหมครับ?
ไหน ๆ ก็เพิ่งพูดเรื่อง MBS ไปกองทุนนี้เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศอย่าง PIMCO GIS-Income Fund ซึ่งมีชื่อเรื่องการบริหารตราสารหนี้อยู่แล้ว และผลตอบแทนก็ทำได้ดีทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลงอีกด้วย ซึ่งในตอนนี้สัดส่วนหลักก็ได้มีการลงทุนใน MBS
นอกจากนั้นยังมีกองทุนอื่น ๆ ในไทยที่ลงทุนใน PIMCO GIS-Income Fund อีกเช่นกัน เช่น…
ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ Jupiter Global Fund – Jupiter Dynamic Bond มีการจัดการแบบ Active ผสมผสานทั้งพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้เอกชน มีสัดส่วนอายุตราสารหนี้โดยรวมของพอร์ตระดับกลาง ๆ ผ่านการผสมตราสารหนี้หลากหลายอายุเข้าด้วยกัน ณ ปัจจุบัน อีกทั้งยังสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นอีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีกองทุนอื่น ๆ ในไทยที่ลงทุนใน Jupiter Global Fund – Jupiter Dynamic Bond อีกเช่นกัน เช่น…
กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางจัดการในไทย เน้นจัดการแบบ Active ผสมผสานทั้งพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้เอกชน
กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางจัดการในไทย เน้นจัดการแบบ Active ผสมผสานทั้งพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้เอกชน เช่นเดียวกัน
กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ลงทุนในเงินฝากหรือตราสารหนี้ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าเงินฝาก โดยอาจมีส่วนผสมทั้งแบบเกรดลงทุนและไม่ใช่เกรดลงทุน
กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเช่นเดียวกัน ตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้ กึ่งทุน ตราสารทางการเงิน และ/หรือเงินฝาก และ/หรือหลักทรัพย์รือ ทรัพย์สินอื่นตามท่ีสานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กาหนดให้กองทุนลงทุนได้ โดยลงทุนในตราสารหนี้แบบเกรดลงทุน
เป็นความเสี่ยงจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามที่ตกลงกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเงินต้นหรือดอกเบี้ย โดยเราอาจพิจารณาเพิ่มเติมจากสิ่งต่าง ๆ เช่น หากเป็นพันธบัตร เราอาจจะดูว่าประเทศนั้น ๆ มีสถานะมั่นคงแข็งแกร่งหรือไม่
หรือ หากเป็นตราสารหนี้เอกชนเราก็ต้องตรวจสอบ งบการเงินหรือสถานะการเงินของบริษัทหรือกิจการนั้น ๆ ให้ถี่ถ้วน
หากเกิดการขาดสภาพคล่องการซื้อขาย ขึ้นมา เช่น ในช่วงวิกฤติที่มีแต่คนขายมาก ๆ ด้วยความตกใจ (ลองจินตนาการเป็นหุ้นในช่วงวิกฤติที่มีแต่คนอยากขาย มีคนซื้อน้อย ๆ)
อย่างที่กล่าวกันไว้ก่อนหน้าว่าอัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนเรื่อย ๆ ตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นผู้ลงทุนในตราสารหนี้อาจต้องเข้าใจความเสี่ยงในส่วนนี้ให้ดี
อาจเกิดขึ้นได้หากเราลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพราะ อาจทำให้เงินเฟ้อซึ่งลดมูลค่าของเงินสูงกว่าผลตอบแทนของตราสารหนี้ได้
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีตราสารหนี้ตัวเลือกอื่นให้ลงทุนอย่างเช่น TIPS หรือพันธบัตรป้องกันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ
เกิดขึ้นได้ในช่วงดอกเบี้ยขาลง เมื่อเรานำเงินต้นหรือดอกเบี้ยไปลงทุนต่อจึงอาจทำให้ราคาและดอกเบี้ยมีความผันผวน อีกทั้งคนออกตราสารอาจใช้จังหวะในช่วงดอกเบี้ยขาลงไถ่ถอนตราสารก่อนกำหนด และออกตราสารหนี้ชุดใหม่ในต้นทุนที่ต่ำกว่า (ใช้ประโยชน์จากการลดลงของอัตราดอกเบี้ย)
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
Mr. Serotonin
https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/finance/corporate-bonds/
https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/finance/yield-to-maturity-ytm/
https://www.investopedia.com/terms/b/bond.asp
https://www.investopedia.com/terms/c/coupon-rate.asp
https://www.investopedia.com/terms/i/intermediatetermdebt.asp
https://www.investopedia.com/terms/l/longbond.asp
https://www.investopedia.com/terms/m/mbs.asp
https://www.investopedia.com/terms/m/municipalbond.asp
https://www.investopedia.com/ask/answers/050415/what-difference-between-par-value-and-face-value.asp
http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/21072017.aspx
รัฐบาล ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นครั้งแรก โดยได้ประกาศให้คำมั่นที่จะนำความจริง และความโปร่งใสกลับคืนมาสู่รัฐบาล
ที่มา : Source – IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ ได้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร ให้นำสหรัฐกลับเข้าสู่ความตกลงปารีส (Paris Agreement)
Source – IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ญี่ปุ่นเปิดเผย ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในปี 2563 ปรับตัวลง 11.1% จากปีก่อนหน้า แตะที่ 6.60 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการร่วงลงหนักสุดในรอบ 11 ปี
Source – IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
เวิลด์แบงก์ ระบุว่า เศรษฐกิจของไทยในปี 64 จะกลับมาเติบโตได้ในอัตรา 4% หลังจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจปี 63 หดตัว 6.5%
Source – IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
แจ็ค หม่า ได้ปรากฏตัวใน Video Conference ที่เขาได้พูดคุยกับครูในหมู่บ้านชนบททั่วประเทศจีน
Heath Tech หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพกำลังเป็นอีก Mega Trend สำคัญที่เกิดขึ้นในโลกเวลานี้ และวิกฤตโควิด 19 ก็เป็นอีก 1 ตัวเร่งให้เทรนด์นี้เกิดขึ้นเร็วมากขึ้น หนึ่งในแนวทางการรักษาโรคที่กำลังค่อย ๆ แพร่หลายในโลกเวลานี้คือคือการแพทย์แบบจีโนมิกส์ (Genomics) คือการตรวจสุขภาพในระดับยีน หรือโครงสร้างพันธุกรรมเพื่อให้การดูแลสุขภาพ และการรักษาโรคเป็นไปอย่างตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเหมาะกับยีนของคนแต่ละคน
การใช้ Genomics ในการรักษาโรคนั้นทำให้การรักษาเป็นแบบเฉพาะบุคคล โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการคาดการณ์และการวินิจฉัยโรค รวมไปถึงการออกแบบการรักษา และการเลือกให้ยากับคนไข้ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับ Invitae ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทด้าน Health Tech ที่วันนี้ยังเป็นบริษัทขนาดกลางแต่คิดการณ์ใหญ่คือตั้งเป้าหมายพัฒนาสุขภาพให้กับผู้คนด้วยการตรวจพันธุกรรมให้กับคนพันล้านคนทั่วโลก นั่นก็คือการทำให้ผู้คนเข้าถึงการแพทย์แบบจีโนมิกส์นั่นเอง
Invitae มีภารกิจในการนำการวิเคราะห์พันธุกรรมมาช่วยในการดูแลรักษา และพัฒนาสุขภาพให้กับคนทั้งโลก โดยทำให้การเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรมสามารถทำได้สำหรับชาวโลกในวงกว้าง ซึ่งกุญแจสำคัญที่สุดสำหรับโมเดลธุรกิจของ Invitae คือการทำให้การตรวจสอบพันธุกรรมนั้นราคาถูกลง และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
วิธีการให้บริการของ Invitae นั้นเริ่มจากที่หมอจะเป็นคนส่งขอตรวจพันธุกรรมผ่านทาง Online และคนไข้ทำการเก็บตัวอย่าง “น้ำลาย” จากที่บ้านซึ่งสามารถทำได้สะดวก และส่งกลับให้ Invitae ตรวจพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบการเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรมของยีน 288 ตัวที่อาจส่งต่อไปให้ลูกซึ่งมักตรวจกันเวลาตั้งครรภ์มีค่าใช้จ่าย 250 ดอลลาร์หรือ 7,500 บาทเท่านั้น หรือการตรวจสอบยีน 147 ตัวเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง และโรคหัวใจมีค่าใช้จ่าย 350 ดอลลาร์หรือประมาณ 1 หมื่นบาท
โดย Invitae นั้นมีแพลตฟอร์มที่ชื่อ Diploid ซึ่งเป็นระบบ AI ที่ช่วยแปรข้อมูลทางพันธุกรรมให้การเป็นผลการวินิจฉัยเพื่อประกอบข้อมูลสำหรับแพทย์ และเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลพันธุกรรมของคนไข้แต่ละคนตลอดชีวิต
ปัจจุบันในแต่ละไตรมาส Invitae ได้มีการตรวจพันธุกรรมถึงเกือบ 200,000 คนซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และนับแต่จัดตั้งบริษัทมีจำนวนผู้ตรวจรวมกว่า 1 ล้านคนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ประโยชน์ที่สำคัญของการตรวจพันธุกรรมนั้นคือการทำให้คุณภาพของการรักษาดีขึ้น และ 1 ใน 3 ของผู้ที่ตรวจพันธุกรรม จะได้รับแนวทางที่เปลี่ยนแปลงไปจากแพทย์ เนื่องจากแพทย์มีข้อมูลประกอบการรักษาที่มากขึ้น
ตัวอย่างเช่นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่เป็นโรคที่เป็นกันมากในกลุ่มผู้ชาย และเป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม โดยผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเป็นสูงกว่าคนอื่นถึง 10-20 เท่า ซึ่ง 3 ใน 4 ของคนที่ผ่านการตรวจพันธุกรรมจะได้รับแนวทางการรักษาที่ดีขึ้นกว่าการตรวจเลือดทั่ว ๆ ไป
ดังนั้นเมื่อการตรวจสอบพันธุกรรมสามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง จึงน่าจะทำให้เกิดการ Adoption มาใช้บริการในลักษณะเดียวกับ Invitae ในวงกว้างทั่วโลก และในอนาคตน่าจะทำให้การตรวจพันธุกรรมกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของโลกในการตรวจวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการรักษาของแพทย์ในอนาคต
บริษัท Invitae ปัจจุบันมีมูลค่ากิจการ 9 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.7 แสนล้านบาท จดทะเบียนอยู่ในนิวยอร์ค (NYSE: NVTA) และเป็นหนึ่งในบริษัทที่ถือครองหลักโดยกองทุนอย่าง Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ซึ่งนักลงทุนไทยที่สนใจสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน TMB-ES-GINNO ของบลจ.ทหารไทย อีสต์สปริง และอีกหนึ่งกองทุนที่ถือครองหุ้น INVITAE ในสัดส่วนที่สูงอย่างกองทุน ARK Genomic Revolution ETF ซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน TGENOME ของค่ายบลจ.ทิสโก้
ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือ Disruption และนักลงทุนที่ศึกษาหาความรู้จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าคนอื่นได้อย่างแน่นอน โดยนักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนที่ถือครองหุ้น INVITAE ทั้งสองกองได้ฟรีจากเวบไซต์หรือแอปพลิเคชั่น FINNOMENA ได้เลยครับ
FundTalk รายงาน
ก่อนจะไปเดากันว่า ปี 2021 นี้ เราควรโยกเงินไปอยู่ในสินทรัพย์ประเภทไหนที่น่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าบ้าง ขอพากลับไปย้อนดูกันอีกรอบว่าอีก 2020 ที่ผ่านมา หน้าตาผลตอบแทนแต่ละประเภทสินทรัพย์เป็นอย่างไร
สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปี 2020 ที่ผ่านมา อันดับ 1 ก็คือ ทองคำ (+24%) อันดับ 2 ตลาดหุ้นโลก (+15%) อันดับ 3 ตราสารหนี้โลก (+5%) อันดับ 4 ตราสารหนี้ไทย (+3%) ส่วนหุ้นไทย ปิดลบไป -6%
นี่คือผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปีนะครับ ถ้านับตั้งแต่จุดต่ำสุดหลังจาก WHO ประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นการระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) ผลตอบแทนแต่ละสินทรัพย์บวกกว่านี้เยอะเลยทีเดียว ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่า สำหรับผลตอบแทนตลาดหุ้น ถือว่า สวนทางกับความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ค่อนข้างมากทีเดียว เพราะผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ 85 ล้านคนแล้ว หลายประเทศจำใจต้องกลับมาใช้มาตรการล็อคดาวน์อีกครั้ง
ขณะที่การทยอยผลิตและแจกจ่ายวัคซีน ก็ยังห่างไกลจากการเข้าถึงคนหมู่มาก โดยล่าสุด ประเทศที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนในสัดส่วนมากที่สุดก็คืออิสราเอล สัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ 12.59% ส่วนที่เหลือทั้งที่เป็นประเทศผู้พัฒนาวัคซีน และประเทศมหาอำนาจ ยังไม่มีประชาชนประเทศไหนได้รับวัคซีนเกิน 4% ของจำนวนประชากรเลย
ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคตเป็นอย่างมาก เพราะแค่สะดุดเพียงเล็กน้อยจากเรื่องอะไรก็แล้วแต่ อาจหมายถึงการเลื่อนฉีดวัคซีน หรือถึงมีการระงับการฉีดหากพบว่าเป็นอันตราย เพราะต้องอย่าลืมว่า วัคซีนที่เห็นอยู่ตอนนี้ ผ่านขั้นตอนการอนุมัติแบบฉุกเฉินมาเท่านั้น ไม่ได้ถูกทดสอบเต็มกระบวนการปกติอย่างที่ควรจะเป็น
ย้อนกลับไปดูปี 2020 อีกครั้งว่า ตลาดหุ้นทั้งโลกที่ไหนให้ผลตอบแทนดีที่สุด
อันดับ 1 คือ NASDAQ (+44%) อันดับ 2 คือ KOSPI ของเกาหลีใต้ (+34%) อันดับ 3 คือ A-Share ของจีน (+29%) อันดับ 4 คือ Taiwan Weighted ของไต้หวัน (+24%) และอันดับ 5 คือ Vietnam Index (+16%)
อย่างที่เรารู้กันว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ถูกเร่งให้ราคาวิ่งรวดเร็วและรุนแรงมาก ๆ ในปีนี้ โดยเฉพาะหลังการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา จากแนวโน้มกระแสการหันไปใช้ Cloud Technology โดยที่การปรับตัวขึ้น ไม่ได้มาจาก Fund Flow ไหลเข้าเพียงอย่างเดียว แต่เราจะพบว่ากำไรสุทธิของหุ้นกลุ่มนี้ ก็เติบโตในช่วงการระบาดได้สวนทางกับธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์
เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะ
1. จากการคาดการณ์ของ IMF หลังจากนี้ไป การเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะมาจากตลาดเกิดใหม่เป็นหลัก โดย Growth Rate จะสูงกว่าตลาดพัฒนาแล้วถึง 2 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้าทีเดียว
2. ตลาดเกิดใหม่มีสัดส่วนเกิน 60% ของ GDP ของโลกและยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันส่วนแบ่งของตลาดพัฒนาแล้วใน GDP โลกได้ลดลงเหลือ 40% และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
3. โครงสร้างประชากรที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยประเทศในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศมีแรงงานที่อายุน้อย กำลังเติบโตและมีการศึกษาดีมากขึ้น พร้อม ๆ กับชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประมาณ 90% ของประชากรโลกที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี อาศัยอยู่ในตลาดเกิดใหม่ทั้งสิ้น
4. ตลาดเกิดใหม่อยู่ในแถวแนวหน้าของ Technology Disruption โดยมีบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่กุมอำนาจหลายแห่ง เช่น Huawei, Samsung, TSMC และ Tencent ที่ถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีนวัตกรรมและมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลกโดยได้รับแรงหนุนจากชนชั้นแรงงาน ชนชั้นกลาง ที่มีอำนาจการจับจ่ายดีขึ้นเรื่อย ๆ
บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกอยู่ที่อเมริกา แต่ว่าตลาดใหญ่ซึ่งเป็นโอกาสในการเติบโตของโลก ดูเหมือนจะอยู่ที่เอเชีย และตลาดหุ้นปี 2020 ก็บอกร่องรอยเอาไว้ค่อนข้างชัดว่า เหล่า Smart Money ชอบสินทรัพย์ประเทศไหน ถ้าไม่ใช่หุ้นเทคฯ ของสหรัฐฯ
และหากดูสถิติย้อนหลังไป 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไหนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดของปีนั้น ปีต่อมา ก็ไม่เคยกลับมาติด Top 3 ได้เลยซักปี ดังนั้น ใครที่คิดว่า จะลงทุนในหุ้นเทคฯ แล้วกำไรงาม ๆ อย่างปี 2020 ขอให้คิดใหม่นะครับ ตลาดลากหุ้นเหล่านี้มาเทรดที่ Valuation ของปี 2021 ไปเรียบร้อยแล้ว สะดุดนิดหนึ่ง ก็มีโอกาสปรับฐานได้แรง ซึ่งเมื่อถึงตรงนั้น มันถึงจะเป็นโอกาสซื้อครับ
Mr.Messenger
ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้าที่เราอธิบายถึงข้อเสียของการตัดสินใจช้าในการเข้าลงทุน ซึ่งต่อให้มีกลยุทธ์ที่ดีแค่ไหน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแล้วเรา Take Action ช้าเกินไป ไม่ว่าจะซื้อหรือจะขาย ก็ทำให้ผลลัพธ์ในการลงทุนของเราแย่ลงเช่นเดียวกัน ในบทความนี้เราจะมาแชร์ต่อว่าถ้าหากเราไม่มีวินัยในการลงทุนหรือไม่มีความ “สม่ำเสมอ” ในการลงทุน ช่วงไหนอารมณ์ดีก็เข้าตลาด ช่วงไหนอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าง ก็พักการลงทุนไปเฉยๆ จะมีความแตกต่างกับผู้ที่ลงทุนต่อเนื่องสม่ำเสมออย่างไร
ในระยะสั้นๆสินทรัพย์แต่ละชนิดอาจจะมีความผันผวนขึ้นลงบ้าง บางครั้งอาจลงแรงบ้าง แต่ถ้ามันมีอนาคต มีโอกาสในการเติบโต ท้ายที่สุดสินทรัพย์นั้นมักจะปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะยาว นั่นทำให้การเปลี่ยนแปลงของราคาจะเป็นบวกมากกว่าลบ พูดง่ายๆคือ ใน 365 วัน สินทรัพย์นั้นจะราคาขึ้นมากกว่าราคาลง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการลงทุนแบบไหนก็จะสามารถสร้างกำไรได้โดยมีข้อแม้ว่า เราจะต้องถือครองสินทรัพย์นั้นๆเอาไว้ แต่อาจจะลดพอร์ตลงบ้างถ้าความผันผวนสูงหรือมีแนวโน้มขาลงระยะสั้น ก็จะสามารถทำให้พอร์ตของเราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เราจึงขอหยิบสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่าง Bitcoin ที่ราคาตอนนี้เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 Bitcoin ไปแล้ว มาทดสอบอะไรให้นักลงทุนหลายท่านได้ดูกัน แต่ก่อนอื่นเราไปดูผลตอบแทน “รายเดือน” ของ Bitcoin กันดีกว่าว่าย้อนหลังไปสัก 6 ปีจะเป็นอย่างไร
ากภาพด้านบนคือผลตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ มกราคม 2015 จนถึง ธันวาคม 2020 ทุกคนจะสังเกตุเห็นว่าแม้ผลตอบแทนรายปีของ Bitcoin จะสูงแค่ไหนแต่ระหว่างก็มีการติดลบให้เห็นตลอดทาง (ช่องสีแดงคือเดือนที่ติดลบ ยิ่งลบมากสียิ่งเข้มมาก) อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่าถ้าสินทรัพย์ใดมีการเติบโต นักลงทุนมอบ Value ให้กับมัน ในท้ายที่สุดมันก็จะสามารถให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกกับพอร์ตเราได้ จากข้อมูลตรงนี้ เดือนที่ให้ผลตอบแทนติดลบ (พูดง่ายๆคือลงนั่นแหละ555) คือเดือนมกราคม มีนาคม กันยายน สังเกตุได้จากช่อง Avg. ซึ่งคือค่าเฉลี่ยในแต่ละเดือนของข้อมูล แต่ผมไม่ได้มาใบ้ว่าให้หลีกเลี่ยงเดือนเหล่านั้นเพื่อให้ผลตอบแทนของพอร์ตดีขึ้นนะครับ เพราะนี่คือข้อมูลในอดีต เหตุการณ์ในอนาคตไม่มีใครสามารถบอกได้หรอกครับ แต่เราจะมาชี้ให้เห็นว่าในแต่ละปีที่เราลงทุนไป ถ้าเราพลาดหรือละเลยการลงทุนในเดือนใดๆก็ตาม แล้วเดือนนั้นกลับให้ผลตอบแทนที่สูงมากๆ ผลลัพธ์ของพอร์ตเราจะยังคงดีอยู่หรือไม่ โดยเราแบ่งสมมติฐานดังต่อไปนี้ครับ
เรามาดูกันครับว่าหน้าตาพอร์ตและตารางผลตอบแทนรายเดือน โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยในแต่ละเดือนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เมื่อเราทำการตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้นออกไปสักหนึ่งเดือน ประมาณว่าเราอาจจะขี้เกียจไม่ยอมลงทุน มีสัญญาณแล้วไม่ยอมเข้าซื้อ ไปพักร้อน ไปทะเล ว่ายน้ำ ดูภูเขา หรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้เราพลาดผลตอบแทนเดือนนั้นไป เราจะสังเกตุเห็นว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนรายเดือนในบางเดือนลดลงพอสมควร ยกตัวอย่างเช่นเดือนธันวาคม จากตารางที่หนึ่งจะได้อยู่ที่ 20.67 แต่พอเราพลาดโอกาสไป 2 ครั้งก็ทำให้ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนเดือนธันวาคมลดลงมาอยู่ที่ 7.99 เท่านั้นเอง หรือหากต้องการเห็นภาพให้ชัดเจนขึ้นเราก็นำมาพล็อตเป็นกราฟใต้ตารางให้ดูง่ายขึ้นครับ
ตัดหนึ่งเดือนก็หนักแล้ว ทีนี้เราขอตัดเพิ่มอีกหนึ่งเดือนแล้วกันประมาณว่าพักร้อนนานไปหน่อย ไม่ยอมเข้าลงทุน ไม่ดูตลาด แต่ดันโชคร้ายเป็นเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด 2 เดือนในปีนั้นๆครับ
ยิ่งเราไม่มีความสม่ำเสมอในการลงทุนมากแค่ไหน เลือกที่จะตามใจมากกว่าตามแพลน ผลลัพธ์ก็จะยิ่งห่างจากสิ่งที่ควรจะได้ พูดง่ายๆคือถ้าสินทรัพย์นั้นให้ผลตอบแทนโดยรวมสูง เราอาจจะเก็บเกี่ยวจากมันได้แค่บางส่วนเท่านั้นเองครับ จากรูปนี้ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนโดยรวมก็ลดน้อยลง ตารางด้านล่างก็ผันผวน แถมเติบโตช้าอีกด้วย คือจาก 100 โตไปเป็น 280 และพอร์ตผันผวนหรือมี Drawdown ที่สูงมากด้วย
ในวันที่เราเข้าลงทุน เราไม่มีทางรู้เลยว่าผลลัพธ์ของเรา เงินของเราจะเป็นอย่างไรในอนาคต เราวิเคราะห์ได้ คาดการณ์ได้ แต่ไม่มีทางฟันธงได้ ฉะนั้นกฎของความโชคดีในการลงทุน คือ Take Action เมื่อเราเห็นว่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสม เมื่อมันคุ้มค่า เราต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ตรงจุดนั้น มีคำๆนึงที่ฟังทีไรก็จี๊ดทุกทีคือ “ไม่ว่าเราจะซื้อหรือไม่ซื้อมันก็ตาม ถ้ามันจะขึ้นมันก็ขึ้นอยู่ดี” จากรูปนี้จะสังเกตุได้ว่าการตัดผลตอบแทนออกไปแค่ 1-2 เดือนเท่านั้นกลับส่งผลกระทบต่อพอร์ตและการเติบโตของเงินเรามากมายเหลือเกิน จาก 100 โตเป็น 800 , 500 , 300 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็น Error จากความไม่มีวินัย ไม่มีความสม่ำเสมอ ที่ราคาแพงมากครับ
สิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปจากบทความนี้รวมถึงบทความก่อน คือต้องการนำเสนอว่าวินัยการลงทุน มีผลต่อพอร์ตของเรามากแค่ไหน ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร ให้ข้อมูลดีหรือไม่ดีแค่ไหน สุดท้ายคนที่ตัดสินใจลงทุนก็คือตัวเราเอง เราสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้จากการเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น มีหลักการ มีความสม่ำเสมอ แล้วผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดขึ้นแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยครับ
ZIPMEX
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปทุกวัน ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ นั้นได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากการระบาดของ COVID-19 ในปี 2020 ที่ผ่านมาก็ทำให้เราต้องปรับตัวในการใช้ชีวิตหลาย ๆ อย่าง รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ฯลฯ
รูปที่ 1 การเติบโตแบบทวีคูณของเทคโนโลยี
ที่มา: arcgis.com
โดยการเติบโตแบบทวีคูณของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า “Disruptive Innovation” ที่จะเข้าไป “ก่อกวน” คู่แข่งเดิมที่อยู่ในตลาดจนสามารถก้าวขึ้นมาแทนที่คู่แข่งนั้นได้ และด้วยนวัตกรรมก่อกวนนี้เองจึงนำไปสู่ธีมการลงทุนของกองทุน TMB-ES-GINNO ที่จะแนะนำให้ได้รู้จักกันในบทความนี้ เพราะกองทุน TMB-ES-GINNO ไม่เพียงแต่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมธรรมดา แต่เป็นกองทุนที่ “มองไปข้างหน้า” กับการลงทุนใน 5 กลุ่ม “นวัตกรรมแห่งอนาคต”
กองทุน TMB-ES-GINNO หรือ กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง Global Innovation จาก บลจ. ทหารไทย (TMB) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ในหน่วยลงทุนชนิด Class A USD (Class ที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนผ่านการลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในหุ้น 5 กลุ่มนวัตกรรมหลักที่เกี่ยวข้องหรือได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Disruptive Innovation theme)
รูปที่ 2 5 กลุ่มนวัตกรรมหลักที่กองทุน Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ลงทุน
ที่มา: nikkoam.com.sg/
เนื่องจากกองทุน TMB-ES-GINNO เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund จึงขอหยิบยกขั้นตอนการลงทุนที่น่าสนใจของกองทุน Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ที่เป็น Master Fund มากล่าวถึงในหัวข้อนี้ โดยเทคนิควิเคราะห์การลงทุนจะใช้ทั้งแบบ Top-down และ Bottom-up เพื่อคัดสรรบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตและได้เปรียบในการแข่งขัน
รูปที่ 3 ขั้นตอนการลงทุนของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund
ที่มา: emea.nikkoam.com
ตรวจสอบว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและกำลังมุ่งหน้าไปที่ใด เพื่อทำความเข้าใจกับรูปแบบของนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยทำการรวบรวมข้อมูลจาก Open Research Ecosystem เพื่อปรับขนาดโอกาส
เริ่มต้นด้วยการคัดสรรการลงทุนในกลุ่มที่มีศักยภาพ โดยการให้คะแนนบริษัท พร้อมทั้งประเมินมูลค่าผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี เพื่อจัดพอร์ตการลงทุนและบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน
รูปที่ 4 สัดส่วนการลงทุนแบ่งตามภาคอุตสาหกรรมของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Class A USD (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2020)
ที่มา: Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Factsheet
ตามชื่อบทความที่ได้กล่าวไว้ว่ากองทุนนี้เป็น “กองทุนแห่งนวัตกรรมสู่การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่” สัดส่วนการลงทุนจึงเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรม Healthcare และ Information Technology เป็นหลัก โดยให้น้ำหนักการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมทั้งสองนี้เกินกว่าครึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่กองทุนนี้เข้าไปลงทุน
รูปที่ 5 Top 10 Holdings ของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2020)
ที่มา: Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Factsheet
ส่วนหุ้นที่ Master Fund เข้าไปลงทุนจะขอเลือกมา 4 บริษัทให้ได้รู้จักกันมากขึ้นว่าถ้าลงทุนในกองทุน TMB-ES-GINNO แล้วเราจะได้ลงทุนในนวัตกรรมแห่งอนาคตอะไรกันบ้าง
รูปที่ 6 10 อันดับบริษัทผลิตรถยนต์ที่มี Market Cap สูงที่สุดในโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 31/12/2020)
Tesla ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทที่มี Market Cap สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในบรรดาอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ภายในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี ด้วยมูลค่ามากถึง 668.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่ามากกว่า Toyota ที่เป็นอันดับ 2 ด้วยมูลค่า 215.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกือบ 3 เท่าเลยทีเดียว
รูปที่ 7 ผลิตภัณฑ์จัดเก็บพลังงาน Powerwall ของ Tesla
ที่มา: tesla.com/powerwall
รูปที่ 8 Roku Streaming Player
ที่มา: roku.com/
รูปที่ 9 ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ที่มา: forbes.com
รูปที่ 10 ผลการดำเนินงานของกองทุน TMB-ES-GINNO เทียบ MSCI World Net Total Return Index (ข้อมูล ณ วันที่ 08/01/2021)
ที่มา: tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I33f
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
มาดูกันที่ผลตอบแทนย้อนหลังกันบ้าง เนื่องจากกองทุน TMB-ES-GINNO เพิ่งเข้าจดทะเบียนกองทุนในวันที่ 29 ต.ค. 2563 จึงยังไม่มีผลตอบแทนย้อนหลังให้ดูมากนัก แต่จากข้อมูลที่มีนับตั้งแต่วันที่กองทุนจดทะเบียนมาจนถึงปัจจุบัน กองทุน TMB-ES-GINNO สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 45.60% (ข้อมูล ณ วันที่ 08/01/2021) ท่ามกลางยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤตที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจมากมายแต่กองทุนนี้สามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้ในอัตราที่ถือว่าดีมากสำหรับกองทุนที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนได้เพียงแค่ 2 เดือนกว่า ๆ เท่านั้น
ส่วนผลการดำเนินงานของกองทุน TMB-ES-GINNO เปรียบเทียบกับ MSCI World Net Total Return USD Index (Benchmark ของ Master Fund) จากรูปที่ 10 จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกที่กองทุนเข้าจดทะเบียนอาจสร้างผลตอบแทนได้ต่ำกว่า Benchmark แต่หลังจากนั้นเพียง 1 เดือนก็สามารถเอาชนะ Benchmark ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งนี้ก็สามารถพิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งของกองทุนนี้ได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 11 ผลการดำเนินงานของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund เทียบ Benchmark (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2020)
ที่มา: Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
สำหรับผลการดำเนินงานของ Master Fund อย่าง Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund เปรียบเทียบกับ MSCI World Net Total Return USD Index (Benchmark) พบว่า Master Fund สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีได้ถึง 118.83% ในขณะที่ Benchmark สร้างผลตอบแทนไปได้เพียง 14.52% ถือว่า Master Fund เอาชนะได้แบบขาดลอยเลยทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลาย ๆ คนคงเริ่มมีความสนใจในกองทุน TMB-ES-GINNO กันบ้างแล้ว แต่เรื่องค่าธรรมเนียมกองทุนก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนใด ๆ สำหรับกองทุน TMB-ES-GINNO มีค่าธรรมเนียมการจัดการที่ 1.605% ต่อปี ส่วนค่าธรรมเนียมการขายและ switching in อยู่ที่ 1.5% โดยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวมจะเท่ากับ 1.7881% ต่อปี และไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมากในการลงทุน เพราะด้วยมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1 บาท ก็สามารถลงทุนในกองทุนแห่งนวัตกรรมสู่การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อย่างกองทุน TMB-ES-GINNO ได้
กองทุน TMB-ES-GINNO จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีค่าความผันผวนของผลการดำเนินงานสูงมากกว่า 25% และเนื่องจากกองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศจึงต้องพบกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนจึงมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน นอกจากความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในกองทุน TMB-ES-GINNO จะต้องเจอคือความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว ทั้งความเสี่ยงจากการกระจุกตัวที่เกิดจากการลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว และความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เนื่องจากกองทุนนี้มีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare และ Information Technology ดังนั้นผู้ลงทุนควรกระจายความเสี่ยงในการจัดพอร์ตการลงทุนของผู้ลงทุนเองด้วยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในส่วนนี้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
และทั้งหมดนี้ก็เป็นรีวิวกองทุน TMB-ES-GINNO ที่นำมาฝากกัน หากผู้ใดสนใจกองทุนนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนกองทุน หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.finnomena.com/fund/TMB-ES-GINNO ส่วนผู้ที่ศึกษาข้อมูลของกองทุนนี้โดยละเอียดแล้วและพร้อมที่จะเติบโตไปกับนวัตกรรมแห่งอนาคตกับกองทุน TMB-ES-GINNO ก็สามารถเปิดบัญชีกับ FINNOMENA เพื่อเริ่มลงทุนได้เลย
— planet 46.
—————————-
เปิดบัญชีซื้อกองทุนรวมกับ FINNOMENA ผ่านทางออนไลน์ เปิดไว เปิดง่าย ไม่ต้องใช้เอกสารให้ยุ่งยาก ภายใน 1 วัน หมดปัญหาการเปิดบัญชีหลาย บลจ. ปรับเปลี่ยนกองทุนได้ทันท่วงที ทุกสถานการณ์การลงทุน เปิดครั้งเดียวซื้อ-ขายได้ 19 บลจ.
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน FINNOMENA เพื่อเริ่มต้นเปิดบัญชี
Google Play Store: https://link.finnomena.com/android-download
App Store: https://link.finnomena.com/ios-download
—————————-
อ้างอิง:
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
หากคุณกำลังมองหาหุ้น Big Data สักตัว ที่เติบโตไปตาม Big Data Boom … MongoDB (MDB) คือหนึ่งในตัวเลือกที่ตรงไปตรงมา และต้นน้ำที่สุด
เคยคิดไหมว่า Big Data … มัน Big ขนาดไหน?? และมันมีอะไรที่ต่าง จนเราเรียกว่า Data เฉย ๆ ไม่ได้
คำตอบทางทฤษฎี ช่างมันเถอะ คำตอบในชีวิตจริงคือ มันไม่ใช่แค่ปริมาณข้อมูลเยอะ แต่รวมถึงรูปแบบ ลักษณะข้อมูล ส่งผลให้การจัดเก็บ วุ่นวายมากขึ้น
ลองนึกถึงโกดังเก็บของที่มีคุณภาพ หรืออย่างเช่น Supermarket จะระบุชัดเจน หรือแยกกันชัดเจน ว่า แถวไหน มีอะไรบ้าง อยู่ตรงไหน
การเก็บ Data ก็เช่นเดียวกัน จะต้องระบุให้ครบ ยกตัวอย่างแบบง่ายที่สุดก็พวกตาราง !!! โดยหากเราเอาแบบแผนการจัดเก็บของมากรอกในตาราง (จะใช้ Excel ก็ได้เนอะ) ก็จะระบุได้หมด แบบนี้เรียก Relational Database หรือ SQL Database คือจะต้องกำหนด Schema ก่อน
แต่หาก Supermarket นั้นมีคนจัดชั้นสินค้าลวก ๆ หรือมีของไม่เข้าพวกมา เขาจะทำอย่างไร? หรือหากนำของใหญ่ขนาดชั้นวางมา?? ทำได้เพียง กอง ๆ มันไว้ก่อนที่พื้น รอคอยเพิ่มช่องในการจัดเก็บ
ในโลกดิจิทัล ก็เช่นเดียวกัน การเก็บข้อมูลอย่างละเอียด และเปลี่ยนไว เรียกกันว่าเก็บเป็นเหตุการณ์เลย เรากดคลิกปุ่มในเว็บทีนึง เก็บทีนึง และหากมันมีอะไรไม่เข้าพวก จะทำอย่างไร
หรือข้อมูลจำพวก วิดิโอ รูป มันคงเก็บเป็นตารางไม่ได้ ก็ต้องให้ทีมนักพัฒนา แบบ Samsan Tech ในเรื่อง Startup จัดการเพิ่มตาราง !!
เมื่อโลกดิจิทัล ไม่ได้มีสินค้าวางกอง ๆ กันจริง ๆ จึงมีการพัฒนาการเก็บข้อมูล แบบกอง ๆ ไว้ก่อน ที่เรียกว่า Non Relational Database หรือ NoSQL ไม่ต้องกำหนด Schema มีทั้ง Document Based, Graph Based, Key Balue Pair, Wide Column
ซึ่งนี่แหละตอบโจทย์ยุค Big Data เก็บ Event Action ต่าง ๆ ก่อนนำไปให้ AI ประมวลผล
MDB เป็นผู้นำเทคโนโลยี ในการจัดเก็บข้อมูล แบบ NoSQL แถมยัง Open Source คือโหลดไปใช้ได้ฟรี และทุกคนร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาได้ แบบนี้ผู้ถือหุ้นยิ้มเลยครับ เพราะมี Service หลายอย่าง ที่เหมาะสำหรับองค์กรนำไปใช้งาน (หากไม่ใช้บริการของ MongoDB ก็ต้องจ่ายเองอยู่ดีครับให้กับเจ้าอื่น ๆ แถมยุ่งยากกว่า) ตรงนี้ลึกไปนิด ขอเว้นไว้
MDB มียอด Download ไปแล้วกว่า 100 ล้านครั้ง และมีบริการ Atlas ช่วยจัดการ Deploy & Manage Mongodb บน Big 3 Cloud ทั้ง AWS, Azure, GCP ซึ่งเหล่า Dev บอกว่ายังไล่ตามไม่ทัน
รายได้โดยประมาณ (FY เค้าตัดจบเดือนมกราฯ นะจ๊ะ)
ปี FY2020 รายได้ 12,600 ล้านบาท
ปี FY2019 รายได้ 7,900 ล้านบาท
ปี FY2018 รายได้ 5,000 ล้านบาท
กำไรไม่มี ขาดทุนตามสไตล์
โมเดลรายได้คือ ได้เพิ่มตามปริมาณ Data !! ซึ่งเราทราบกันดีว่า Data เติบโตเป็น Exponential ดังนั้นรายได้ก็จึงโตเป็น Exponential ไปโดยปริยาย โดยเฉพาะข้อมูลจำพวกวิดิโอ พุ่งกระหน่ำมาก ๆ ครับ รถยนต์ไร้คนขับที่เรากรี๊ดกร๊าดกันอยู่ บ้างว่ากันว่า 1 คัน สร้าง Data 5-20 Terabyte ต่อวัน !! (ยิ่งกว่าดูหนังซีรีย์ 1 เรื่องแบบ 4k อีกนะเธอออ)
คู่แข่ง ก็เห็นจะเป็น Big 3 Cloud ด้วยกัน ส่วน พวก Snowflake, Alteryx นั้นไม่เรียกว่าคู่แข่งเพราะมันคนละลักษณะการใช้งาน เรียกว่ามาต่อกับอันนี้อีกทีก็ได้ครับ
5G IoT Edge Computing และโลกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ทั้ง Autonomous Car และสิ่งต่าง ๆ จะเชื่อมต่อ Internet จำต้องยกระดับ Infrastructure และอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด เพราะเกิด Data ขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้ MDB จะเป็นกุญแจสำคัญของยุค Big Data และ 5G
BottomLiner – บทสรุปการลงทุน
ที่มาบทความ: https://bottomliner.co/stock/mongodb-database-as-a-service-daas/
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ … 3 ธุรกิจดาวรุ่ง ที่เรียกได้ว่ามีศักยภาพด้านการเติบโตในอนาคต และกำลังจะกลายเป็นตัวแปรสำคัญ ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในแบบที่คุณกำลังตามหา ได้ถูกรวบรวมอยู่ในบทความนี้แล้ว ธุรกิจนั้น คืออะไร ??
สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 กลับมาน่ากังวลอีกครั้ง ในช่วงปลายปี 2563 เห็นได้จากตัวเลขยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทั่วโลกที่พุ่งขึ้นถึง 7.6 แสนราย ในวันที่ 31 ธ.ค. แค่เพียงวันเดียว…ก็ถือว่าน่าตกใจอย่างมาก
แต่ภายใต้บรรยากาศที่เกิดขึ้นนี้ “คุณวรสินี เศรษฐบุตร” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ อธิบายว่า ยังมี 3 ธุรกิจดาวรุ่ง ซึ่งมีศักยภาพสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากเริ่มลงทุนในเดือนม.ค.นี้
นวัตกรรมการแพทย์ด้านการถอดรหัสพันธุกรรม (Genomics) เป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพอันซับซ้อนและหลากหลายของมนุษย์ โดยเฉพาะการยกระดับใน 3 ด้านสำคัญ คือ การรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized) การคาดการณ์ การวินิจฉัยโรค (Predictive) และการออกแบบการรักษา (Preventive) ซึ่งตอนนี้ ต้องยอมรับว่า ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมาก เพราะธุรกิจนี้ได้กลายเป็นความหวังใหม่ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรกว่าพันล้านคนให้มีชีวิตยืนยาวและมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่สนใจธุรกิจนี้ ต้องทำความรู้จักกับ ARKG (ARK – Genomic Revolution ETF) เพราะกองทุนนี้เรียกได้ว่า เป็นดาวเด่นของ Genomics ซึ่งทั่วโลกกำลังจับตา ไม่เพียงเท่านี้กองทุน ARKG ยังมีจุดแข็งที่น่าสนใจในด้านการบริหารจัดการอีกด้วย เนื่องจากมีคุณ Cathie Wood และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในบริษัทที่ทำ “Disruptive Innovation” ทำหน้าที่คัดเลือกหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำ เข้ามาอยู่ในกองทุน
ด้วยความสามารถของทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ผสานกับโอกาสการเติบโตของธุรกิจ ส่งผลให้ในปี 2020 กองทุน ARKG สามารถสร้างผลตอบแทนสูงถึง 179% เติบโตสูงที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรม Biotech ที่ให้ผลตอบแทน 50% (อ้างอิงจาก SPDR S&P Biotech ETF) และมากกว่ากลุ่ม Healthcare (อ้างอิงจาก Healthcare Sector SPDR Fund) ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 12% ถึงแม้จะได้รับประโยชน์จากการคิดค้นและพัฒนาวัคซีน
สำหรับธุรกิจ Genomics นี้ เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว โดยคาดการณ์ว่า นับจากนี้ไปจะยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากความต้องการใช้บริการรักษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรม “เกม” เติบโตอย่างก้าวกระโดด หลังจากที่เกิดการพัฒนาของสมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความนิยมของการเล่นเกมผ่านมือถือเพิ่มขึ้นแบบเร่งสปีด จนสามารถจัดแข่งขันเป็นกีฬาระดับสากล หรือ E-Sport ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนเทียบเท่า 30% ของ GDP ประเทศไทยเลยทีเดียว
ปัจจุบันเกมในกลุ่ม E-Sport สามารถเล่นได้โดยผ่าน 3 อุปกรณ์หลัก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC), เครื่องคอนโซล (Console) และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต (Mobile) ซึ่งตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ คือ ตลาด Mobile เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีรูปแบบรายได้ที่น่าสนใจแตกต่างจากทั้ง PC และ Console
และเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมของตลาด “ธุรกิจผู้ผลิตเกม” จึงได้ออกกลยุทธ์การขายด้วยการให้ “บริการ” โดยเน้นการพัฒนาหรือเพิ่มเติมเนื้อหาภายในเกม ต่อยอดจากเกมเดิม เพื่อไม่ให้เนื้อหาการเล่นจำเจ และหากผู้เล่นต้องการเข้าถึงเนื้อหาใหม่ ก็จะต้องจ่ายแพ็กเกจเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงได้ ซึ่งเป็นรูปแบบรายได้ที่เรียกว่า Subscription-Based ส่งผลให้มีต้นทุนการพัฒนาเกมที่ต่ำกว่า เพราะเป็นการต่อยอดจากฐานข้อมูลเดิม
ขณะเดียวกันยังทำให้ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นเล่นเกมใหม่ เพราะผู้เล่นบางกลุ่มอาจจ่ายแพ็กเกจเพื่อเข้าถึงเนื้อหาพิเศษไปแล้ว การเปลี่ยนเกมเล่นจะทำให้เกิด Switching-Cost ได้ ซึ่งวิธีการพัฒนาเกมและเก็บรายได้รูปแบบนี้เป็นการเพิ่ม Customer Loyalty ทำให้รายได้ของเกม Mobile เติบโตโดดเด่น
ที่สำคัญคือ แม้ทั้งโลกยังต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้หลายคนต้องกักตัวอยู่บ้าน หรือต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) เป็นระยะเวลานาน อุตสาหกรรมนี้ ก็จะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพิสูจน์มาแล้ว กับการระบาดของโควิดในรอบก่อนหน้านี้
ดังนั้นธุรกิจ “เกม” จึงเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว เป็นเมกะเทรนด์ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในอนาคต
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเติบโตของกำไร จะผลักดันให้ตลาดหุ้นในปี 2021 ปรับตัวขึ้นต่อ นำโดยหุ้นกลุ่มหุ้นวัฏจักร (Cyclicals) ที่ราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials) สถาบันการเงิน (Financials) ฯลฯ ซึ่งกำไรจะฟื้นตัวขึ้นแรง
โดยในปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มนี้มีการ ขยับขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับทั้งตลาด ทำให้ราคาหุ้นกลุ่ม Cyclicals มีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น
นอกจากนี้ ในช่วงปี 2017 ที่ภาวะเศรษฐกิจและตลาดคล้ายกับปัจจุบัน หุ้น Cyclicals ก็มีการปรับตัวขึ้นแรงเช่นกัน โดยกลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) เพิ่ม ขึ้น +25%, ตามด้วยกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) +22% และ กลุ่มพลังงาน (Energy) +21% ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับตลาด (S&P500) ที่ +19%
ดังนั้น ประเทศที่เศรษฐกิจมีความผันผวนต่อวัฏจักรเศรษฐกิจมาก เช่น กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (EM) ก็มักจะฟื้นตัวได้เร็วกว่ากลุ่มที่พัฒนาแล้ว (DM) โดย ในปี 2017 ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิด ใหม่ (EM) เพิ่มขึ้นถึง 25% มากกว่าตลาด ประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ที่ +17%
ด้วยเหตุนี้เอง สำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะสั้น-กลาง จึงแนะนำให้เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM) และหุ้นวัฏจักร (Cyclical stocks)
“จีโนมิกส์”- “เกมออนไลน์”(อีสปอร์ต) – “หุ้นเกิดใหม่” จึงเป็น 3 กลุ่มธุรกิจดาวเด่น ที่ธนาคารทิสโก้แนะนำ ในเดือนม.ค.นี้
TISCO Advisory
ที่มา : https://www.tisco.co.th/th/advisory/2021-01-11-3-interesting-businesses-in-covid-19-crisis.html
รัฐบาลจีนได้ร่างกฎหมายควบคุมแร่ดังกล่าวมากขึ้น โดยจัดโควตาการผลิตแร่แรร์เอิร์ธในประเทศรวมถึงการกำกับดูแลการลงทุน
ที่มา : https://www.japantimes.co.jp/news/2021/01/17/business/china-rare-earths/
ดูไลฟ์ฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/cRX9NqWkWpA
คุณ Andrew Stotz เป็นผู้มีประสบการณ์เรียนรู้ สอน ทำงานในแวดวงการเงิน รวมไปถึงการลงทุนมาแล้ว 35 ปี
มีประสบการณ์การสัมภาษณ์เกี่ยวกับการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่าน Podcast กว่า 300 บทสัมภาษณ์ ซึ่งทำให้คุณ Andrew Stotz ตระหนักถึงความสำคัญในการจำกัดและจัดการความเสี่ยงในการลงทุน
Fundamentals
ศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทนั้น ๆ และทีมบริหาร
Valuation
ดูความถูกแพงของหุ้นหากเทียบกับมูลค่าเนื้อแท้ของกิจการ
Momentum
เลือกหุ้นและสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่เริ่มมีแนวโน้มเกี่ยวกับกำไร รวมไปถึงแนวโน้มทางด้านราคา
Risk
ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุด โดยหลัก ๆ แล้วจะดูความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ รวมไปถึงความเสี่ยงทางด้านราคาที่อาจก่อให้เกิดความผันผวนขึ้นได้
หลัก ๆ แล้วพอร์ต AWS จะเน้นการสร้างผลตอบแทนผ่านหุ้นเป็นแกนหลัก และเลือกใช้สินทรัพย์อื่น ๆ ในการลดความผันผวนในช่วงตลาดขาลง
Global – พอร์ต AWS ไม่จำกัดการลงทุนในที่ใดที่หนึ่ง แต่ในทางกลับกันสามารถหาโอกาสลงทุนได้จากทั่วโลก
Long-term – เน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และลดความเสี่ยงในช่วงขาลง
Diversified – ใช้สินทรัพย์ทางเลือกในการช่วยลดความเสี่ยง เช่น ตราสารหนี้ และโภคภัณฑ์ต่าง ๆ
พอร์ต AWS มีการแบ่งสัดส่วนลงทุนในทองคำตั้งแต่ต้นปี 2020 เพื่อลดความเสี่ยง
ลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 25% ในเดือนมีนาคม หลังตลาดเกิดการพักฐานรุนแรง
ปรับเพิ่มสัดส่วนหุ้นอีกครั้งหลังทาง Fed ทำ QE สนับสนุนช่วยเหลือ
เพิ่มสัดส่วนหุ้นอีกครั้งหลัง Fed ยืนยันที่จะทำมาตรการ QE ต่อไปและลดการถือครองตราสารหนี้ลง
เพิ่มสัดส่วนหุ้นสูงสุดจากทิศทางการมาของวัคซีน และแนวโน้มการลงทุนที่เป็นไปแบบ Risk-On มากขึ้นจึงลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
พอร์ต AWS มีการปรับฐานน้อยกว่าดัชนีหุ้นโลกอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ผลตอบแทนยังไม่เทียบเท่า
สัดส่วนกำไร 15% ของ 5,000 บริษัทในสหรัฐเป็นของหุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงการผูกขาด
ในส่วนของคำแนะนำหุ้นเทคฯ อาจลงทุนได้ในระดับปานกลาง จากการขึ้นมาของโจ ไบเดน ที่ไม่ได้มีมาตรการกดดันเรื่องของการผูกขาดเท่ากับ โดนัลด์ ทรัมป์
การที่ดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักและใช้กันอย่างแพร่หลายในโลก ทำให้สหรัฐมีอำนาจในการต่อรองกับบริษัทต่าง ๆ ให้ออกจากระบบการค้าได้ เนื่องมาจากการที่ดอลลาร์ใช้ในการค้าขายกันอย่างแพร่หลาย เช่น ในสมัยบารัค โอบามา ทำกับรัสเซีย
แต่การทำแบบนี้อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากประเทศต่าง ๆ อาจใช้วิธีรวมตัวกันค้าขาย โดยปราศจากดอลลาร์ ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ถูกลดอำนาจการต่อรองลง จากปริมาณหมุนเวียนที่ลดลงนั่นเอง ตัวอย่างเช่น การที่จีนและรัสเซียลดการค้าขายผ่านสกุลเงินดอลลาร์ หรือการที่อังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศสค้าขายกับอิหร่านโดยปราศจากสกุลเงินดอลลาร์
จากภาพตัวอย่างข้างต้น รัสเซียงดการสำรองเงินดอลลาร์ครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2018 ถึงปี 2019 และหันมาสำรองเงินยูโรและทองคำมากขึ้น
คุณ Andrew Stotz มองว่าภายในไม่กี่ปีนี้อาจเกิดสงครามขึ้นได้ จากการที่ประเทศอื่น ๆ ในโลกลดการใช้เงินดอลลาร์ลง ในขณะที่ทางสหรัฐยังคงต้องการรักษาอำนาจของเงินดอลลาร์ให้คงไว้ แต่ถึงอย่างนั้นในตอนนี้เงินดอลลาร์ยังมีความต้องการสูงและใช้กันอย่างแพร่หลาย
มุมมองตลาดหุ้นจีน: มีการควบคุมโรคระบาดที่ดี มีการฟื้นตัวของการบริโภคภายในที่ดี และในปีข้างหน้าตลาดเอเชียและจีนอาจเป็นไปในทิศทางที่ดี
มุมมองตลาดหุ้นยุโรป: อาจมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้น แต่ยังมีแรงกดดันจากเรื่องของ Brexit
สรุปสัดส่วนหุ้น ณ ปัจจุบันของ All Weather Strategy
สัดส่วนหุ้นของ AWS ยังคงเน้นหุ้นเอเชียเป็นหลัก จากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐมีมูลค่าเกินตัวค่อนข้างสูง และหนี้สินของทางรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีแรงกดดันทางการเมือง รวมถึงการว่างงานที่ยังสูงอยู่
ดูไลฟ์ฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/cRX9NqWkWpA
เรียบเรียงโดย
Mr. Serotonin
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
สิ้นปี 2562 หุ้นเดลต้ามีราคา 53.5 บาท ต้นปี 2563 เกิดวิกฤติโควิด-19 และต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ที่ 15 มกราคม 2564 เป็นเวลาประมาณ 1 ปีเศษ หุ้นเดลต้ามีราคา 580 บาท มูลค่าหุ้นทั้งหมดหรือ Market Cap. เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาทเป็น 7.2 แสนล้านบาท คิดแล้วเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 เท่าในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นเดลต้ากลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากหุ้นขนาดกลางที่ยังไม่ติดเข้ามาในดัชนี SET 50 ที่ไม่ไปไหนมาหลายปี
ในเวลาเดียวกันนั้น หุ้นเทสลา มีราคาประมาณ 86 เหรียญสหรัฐและก็ไม่ได้ไปไหนมานานก็ขยับขึ้นฝ่าวิกฤติโควิด-19 มาจนถึงวันนี้มีราคา 826 เหรียญหรือโตขึ้นเกือบ 10 เท่า ในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นมี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดประมาณ 7.8 แสนล้านเหรียญหรือ 23.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นหุ้นใหญ่ประมาณอันดับ 5-6 ของตลาดหุ้นอเมริกาและของโลกจากบริษัทระดับกลาง ๆ ที่ยังไม่ถูกคำนวณในดัชนี S&P 500 และนี่ก็คือความเหมือนกันของหุ้นทั้งสองตัวที่ทุกคนต่างก็ “ตะลึง” แต่นั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ทั้งสองบริษัทหรือสองหุ้นยังมีอะไรเหมือนกันมากกว่านั้น เรามาดูกัน
เทสลาเป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแสหรือเมกาเทรนด์ใหม่ของโลก อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ของบริษัทก็ยังน้อยมากเพียงประมาณ 500,000 คัน ในปีที่ผ่านมาเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้าที่ขายถึงประมาณ 10 ล้านคันต่อปี กำไรของบริษัทก็น้อยมากและเพิ่งจะเริ่มกำไรหลังจากที่ขาดทุนมานานและก่อนหน้านั้นแค่ 1-2 ปี ยังทำให้อีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัทต้องประกาศขายอสังหาริมทรัพย์และอื่น ๆ เพื่อ “พยุง” ตัวให้รอดจากภาวะยากลำบากทางการเงิน แต่ภายหลังหุ้นเทสลาดีดตัวขึ้นมาแรงกลับทำให้เขากลายเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกเพราะถือหุ้นเทสลาประมาณ 25% ของบริษัท
หุ้นเทสลาขึ้นมาแรงมากในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะมาจากสตอรี่หรือข่าวดีต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่บริษัทเริ่มมีกำไรและโรงงานที่จีนประสบความสำเร็จในการผลิตอย่างสูง นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่าคนหรือนักลงทุนเริ่มเห็นว่าบริษัทจะเริ่ม “Take of” หรือตั้งตัวได้เต็มที่พร้อมที่จะ “ออกบิน” แล้วจึงเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างหนักซึ่งส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นอย่างแรงหลังจากที่หุ้นนิ่งและประสบกับอุปสรรคมานานไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นแรง นักเก็งกำไรก็คงตามแห่เข้ามาซื้อเพราะกลัว “ตกรถ” กลัวจะพลาดโอกาสในการทำเงินจาก “กระแสใหม่” ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของรถยนต์ไปตลอดกาลคล้าย ๆ กับกระแสของการ “ปฏิวัติดิจิตอล” ที่ทำให้ผู้นำโลกอย่างเฟซบุคและอะเมซอนมีมูลค่าหุ้นสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ในสายตาของนักวิเคราะห์จำนวนมากรวมทั้งผมเองนั้นคิดว่าเทสลาอาจจะมีความแตกต่างในแง่ที่ว่ามันเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จับต้องได้ที่มักจะไม่สามารถทำกำไรได้แบบ “ทวีคูณ” เมื่อยอดขายมากขึ้น เหตุผลก็เพราะว่าทุกครั้งที่ยอดขายเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็จะเพิ่มตามในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับของเดิม ดังนั้น กำไรก็จะเพิ่มตามกันไปในอัตราส่วนใกล้เคียงกับของเดิม ในขณะที่หุ้นดิจิตอลนั้น เวลามีคนใช้บริการมากขึ้น ต้นทุนที่เพิ่มจะน้อยมากเพราะต้นทุนในการทำระบบนั้นได้จ่ายไปหมดแล้ว ทำให้เมื่อถึงจุดเริ่มกำไรแล้ว หลังจากนั้นกำไรจะโตมากเป็นทวีคูณ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเสียเปรียบก็คือ มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “Network Effect” นั่นก็คือ คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันได้เสมอตราบที่สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ในขณะที่หุ้นดิจิตอลอย่างเฟซบุคเองนั้น คู่แข่งจะเข้ามายากมากเพราะผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการของบริษัทที่มีเครือข่ายที่ใหญ่กว่า มากกว่าเรื่องของคุณภาพและราคา
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว มีคนจำนวนมากไม่เชื่อว่าราคาหุ้นเทสลาที่ขึ้นไปนั้นสอดคล้องกับ “พื้นฐาน” ที่ควรเป็นของเทสลา คนเชื่อว่านี่เป็นราคาที่เกิดจากการเก็งกำไรสุดโต่งอานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการที่สภาพคล่องทางการเงินของโลกสูงลิ่ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครคิดว่าหุ้นตัวนี้มีคนปั่นหรือหุ้นถูก “Corner” อย่างตั้งใจโดยคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าหุ้นเทสลานั้นมีผู้ถือหุ้นกระจายตัวมากและประวัติเรื่องการคอร์เนอร์หุ้นในอเมริกานั้นมีน้อยมาก
บริษัทเดลต้ามีความคล้ายกับเทสลาในแง่ที่ว่าเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ให้แก่บริษัทผู้ผลิตสินค้า “ไฮเท็ค” ทั่วโลก โดยเฉพาะด้านของการสำรองพลังงาน ว่าที่จริงเทสลาก็น่าจะเป็นลูกค้าด้วยเพราะชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือพลังงานจากแบตเตอรี่ที่ถูกสำรองไว้ ดังนั้น สตอรี่ของเดลต้าก็คือการเกาะไปกับเมกาเทรนด์ส่วนนี้ด้วย ข่าวที่ว่ารายได้และกำไรของบริษัทกำลังจะโต “ก้าวกระโดด” หลังจากที่นิ่งมาไม่น้อยกว่า 4-5 ปีจึงไป “ปลุกหุ้น” ให้วิ่งขึ้นมาและก็คงคล้าย ๆ กับเทสลาที่เมื่อนักลงทุนเห็นหุ้นวิ่งขึ้นมารุนแรงก็แห่กันเข้ามาซื้อส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นไปอีกและวิ่งขึ้นไปมากเสียยิ่งกว่าหุ้นเทสลา ซึ่งคนดูว่า “ไม่น่าเป็นไปได้” เพราะเทสลานั้นเป็นผู้นำที่ขายความไฮเท็ค ในขณะที่เดลต้านั้นเป็นแค่ผู้ผลิตชิ้นส่วน ไม่ได้เป็นคนที่จะ “เปลี่ยนโลก”
แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ หุ้นเดลต้านั้นมีหุ้น Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือนักลงทุนที่พร้อมขายน้อยมาก ในขณะที่หุ้นเทสลาอาจจะมีฟรีโฟลท 75% หุ้นเดลต้าน่าจะมีฟรีโฟลทไม่เกิน 25% ดังนั้น โอกาสที่หุ้นเดลต้าจะถูก Corner ทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจจึงสูงกว่ามาก ว่าที่จริงก่อนเริ่มวิ่งนั้น หุ้นเดลต้าหรือหุ้นฟรีโฟลทของเดลต้านั้นไม่ได้สูงเลย และอยู่ในวิสัยที่นักลงทุนรายใหญ่ของไทยสามารถที่จะคอร์เนอร์ได้อย่างไม่ยากเย็น ว่าที่จริงหุ้นตัวอื่นที่มีฟรีโฟลทระดับเดียวกันหลาย ๆ ตัวก็น่าจะเคยหรือกำลังถูกคอร์เนอร์กันมาแล้วจนมีมูลค่าหุ้นเป็นแสนล้านบาท หุ้นเดลต้าก็อาจจะเป็นเพียงอีกตัวหนึ่งที่ถูกคอร์เนอร์เหมือนกัน เพียงแต่ว่าการคอร์เนอร์อาจจะรุนแรงกว่ามาก อาจจะเนื่องจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการเป็นหุ้นของ “ต่างชาติ” ที่ทำให้ราคาหุ้น “หลุดโลก”
หุ้นเทสลากับหุ้นเดลต้ายังมีความคล้ายกันในแง่ที่ว่า หลังจากที่หุ้นขึ้นไปสูงมากและปริมาณการซื้อขายสูงลิ่วอานิสงส์จากการเก็งกำไรกันอย่างรุนแรง ทำให้เข้าเกณฑ์ที่จะถูกรวมอยู่ในดัชนี S&P 500 และ SET 50 ตามลำดับ ผลจากการนั้นจะทำให้กองทุนอิงดัชนีทั้งหลายที่มีจำนวนมากต้องเข้ามาซื้อหุ้นไม่ว่าจะมีราคาเท่าไร กองทุนจะต้องซื้อหุ้น “ตามสัดส่วน” ของ Market Cap. ซึ่งในขณะนี้มูลค่าของหุ้นทั้งสองก็สูงมากเมื่อเทียบกับดัชนี ผลก็คือ จะมี “แรงซื้อ” หุ้นทั้งสองตัวเข้ามามหาศาลในวันที่มันถูกนำเข้ามาคำนวณ ผลก็คือ ถ้าหุ้นถูกคอร์เนอร์อยู่แล้ว มันก็จะถูกคอร์เนอร์แน่นเข้าไปอีก ราคาหุ้นก็อาจจะต้องวิ่งขึ้นไปอีกจนกว่าคอร์เนอร์จะ “แตก” และเมื่อถึงวันนั้น ความเสียหายหรือกำไรที่จะได้รับสำหรับบางคนก็จะมหาศาล
หุ้นเทสลานั้น กำลังถูกชอร์ตอย่างแรงโดยคนที่คิดว่าหุ้นเทสลานั้น “แพงหลุดโลก” และจะต้องตกลงมาอย่าง “หายนะ” ปริมาณการขายชอร์ตในขณะนี้น่าจะ “มากที่สุดในโลก” ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านเหรียญหรือกว่า 1 ล้านล้านบาท เซียนหรือ “ตำนานนักชอร์ต” ที่เคยทำกำไรมหาศาลจากการชอร์ตตราสารซับไพร์มคือ Michael Burry กำลังพนันอย่างเต็มที่ว่าหุ้นเทสลาจะต้อง “พังทลาย” เราคงต้องดูกันว่าใครจะพัง ว่าที่จริงคนที่เคยชอร์ตหุ้นเทสลาในปีก่อน “เจ๊ง” ไปแล้วประมาณ 3.8 หมื่นล้านเหรียญเพราะหุ้นขึ้นไปเรื่อยและแพงเวอร์มาทั้งปี นักวิเคราะห์หลายคนรวมถึงอีลอน มัสก์ บอกว่าคนที่ชอร์ตต่างหากที่จะต้องพังเพราะจะถูก “บี้” ให้ต้องกลับไปซื้อหุ้นที่ราคาแพงขึ้นไปอีก คนทั่วโลกกำลังหลงรักเทสลา
หุ้นเดลต้านั้น ตั้งแต่มีประเด็นว่าอาจจะถูกปั่นหรือคอร์เนอร์หุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็มีการปรับตัวลงมาบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงมาก ตลาดหลักทรัพย์และคนที่เกี่ยวข้องเองต้องออกมาเสนอมาตรการเกี่ยวกับเรื่องฟรีโฟลทเพื่อป้องกันไม่ให้การเกิดการคอร์เนอร์หุ้นอย่างง่าย ๆ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ในเวลาเดียวกัน ดูเหมือนว่าคนก็ยังเล่นกันอย่างหนัก ราคาหุ้นผันผวนวันละเป็น 10% บวกลบเป็นเรื่อง “ปกติ” ผมเองไม่แน่ใจว่าเมื่อมาตรการออกมาจะทำให้หุ้นสงบลงและราคาสะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงเมื่อไร และเคยสงสัยว่าเราจะ “ขายชอร์ต” หุ้นเดลต้าได้ไหม เพราะผมรู้สึกว่าราคานี้ยังไงก็รับไม่ได้ แต่เมื่อตรวจสอบกับโบรกเกอร์ของผมดูแล้วก็พบว่า ในกรณีของหุ้นเดลต้าไม่น่าจะทำได้ เพราะไม่มีคนให้ยืมหุ้นหรือถ้าให้ยืมแล้วมาขอคืนเราก็ “ตาย” ดังนั้น สำหรับผมแล้ว กรณีของหุ้นเดลต้าก็ไม่ต้องสนใจที่จะเข้าไป “หาเงินจากความผิดพลาดของตลาด” แต่แค่เอาไว้ศึกษาว่าความคิดของเราถูกต้องไหม แค่นั้น
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/01/18/2449
ดาวน์โหลดฟรี! Presentation – เจาะลึกกองทุน ARK ทั้งหมดในประเทศไทย
ดูผ่าน Facebook ได้ที่ :
https://www.facebook.com/finnomenaopportunity/videos/2559202231045987/
ดูผ่าน Youtube ได้ที่ :
https://youtu.be/HyTY8jwQzYc
กดติดตามเพจ The Opportunity ได้ที่ : https://www.facebook.com/finnomenaopportunity/
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี 2020 ที่ผ่านมานั้น เป็นปีที่เต็มไปด้วยความผันผวน จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ลุกลามทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งกรณีการเมืองระหว่างประเทศที่ตึงเครียดมากขึ้น รวมไปถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์เหล่านั้นล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อมุมมองการลงทุนของ FINNOMENA Investment Team อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทำให้ Goal, 1st Million และ All Balance Port ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนแบบ Strategic Asset Allocation ที่จัดสัดส่วนการลงทุนด้วย Black-Litterman Model หัวใจของ FINNOMENA Robo-Advisor ที่ผสมผสานระหว่างโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยคำนวณค่าสถิติในอดีต กับ มุมมองการลงทุนในอนาคตจากผู้แนะนำการลงทุนนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับสัดส่วน เพื่อสะท้อนมุมมองดังกล่าว
พร้อมดัวยการ Rebalance ซึ่งคือการเข้าซื้อเพิ่มในกรณีที่สินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งในพอร์ตราคาปรับลงมาก การขายทำกำไรในกรณีที่สินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก หรือเป็นกลไกการ “ซื้อถูกขายแพง” นั่นเอง ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำให้ปรับสัดส่วนการลงทุน ดังนี้
ที่สำคัญนักลงทุนทุกท่าน นอกจากปรับสัดส่วนการลงทุนแล้ว อย่าลืมปรับแก้คำสั่งซื้อแบบ DCA ให้เป็นไปตามสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนแนะนำสำหรับแผนการลงทุน 1st Million และ Goal โดยสามารถศึกษาวิธีการปรับเปลี่ยนได้จากลิ้งค์นี้
แอปพลิเคชัน: https://www.youtube.com/watch?v=wOyQnLiePNI
เว็บไซต์: https://www.youtube.com/watch?v=Q6T1wIpShQ4
โปรดคลิกที่รูป เพื่อดูรูปภาพขนาดเต็ม
โดยการแจ้งเตือนปรับพอร์ตการลงทุน ระบบจะแจ้งเตือนลูกค้าอีกครั้งภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ต่อจากนี้ โดยพิจารณาถึงสภาวะตลาดในระยะสั้นอันใกล้นี้ด้วย ซึ่งจะทำให้พอร์ตการลงทุนแต่ละระดับความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในเวลาที่ไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนต้องการที่จะปรับพอร์ตตามคำแนะนำดังกล่าวก่อนล่วงหน้า สามารถที่จะทำรายการได้ด้วยตนเองผ่าน Website, Mobile Application ได้
ที่สำคัญนักลงทุนทุกท่านอย่าลืมปรับแก้คำสั่งซื้อแบบ DCA ให้เป็นไปตามสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนแนะนำสำหรับแผนการลงทุน 1st Million และ Goal โดยสามารถศึกษาวิธีการปรับเปลี่ยนได้จากลิ้งค์นี้แอปพลิเคชัน:https://www.youtube.com/watch?v=wOyQnLiePNI
เว็บไซต์:https://www.youtube.com/watch?v=Q6T1wIpShQ4
FINNOMENA Investment Team
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”