วันนี้ (3 ตุลาคม 2024) ดัชนี HSCEI หรือหุ้นจีน H-Share และดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) ปรับตัวลงกว่า 3% หลังปรับตัวขึ้นแรงถึง 27% ในรอบ 2 สัปดาห์หลังมีสัญญาณว่าความเชื่อมันของผู้บริโภคชาวจีนจะดีขึ้นในช่วงวันหยุดยาว Golden Week และเริ่มเห็นแรงเทขายในตลาดหุ้นฮ่องกงในวันนี้
ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวขึ้นกว่า 2% หลังนายชิเงรุ อิชิบะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นระบุว่าญี่ปุ่นยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงแตะระดับ 146.51 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวานนี้ทันทีหลังจากนายอิชิบะแถลง
Finnomena Funds มองว่าตลาดหุ้นจีนได้อานิสงส์จากการออกมาตรการกระตุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลจีนยังคงมุ่งมั่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่น ทั้งนี้ต้องจับตามาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในเชิงโครงสร้างมากขึ้น
เราจึงแนะนำทยอยลดหุ้นจีนในกองทุน B-CHINE-EQ, MEGA10CHINA-A และ SCBCHAA ตามมุมมองของ Finnomena Funds แต่ยังแนะนำถือกองทุน UOBSGC ตามมุมมองของ FundTalk Call
ในฝั่งของตลาดญี่ปุ่น แม้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่เรายังมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงดำเนินมาตรการทางการเงินที่เข้มงวดต่อไป ซึ่งจะกดดันต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ภาพรวมหุ้นเอเชีย เรายังคงแนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นเอเชียอย่าง UOBSA ที่ใช้ AI ร่วมกับผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น สร้างผลตอบแทนระยะยาวโดดเด่นกว่ากองเอเชียอื่น ๆ
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
ตลาดการลงทุนทั่วโลกในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่ชะลอตัวลง ภาคการผลิตทั่วโลกที่ยังคงอ่อนแอ และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน เป็นปัจจัยหลักที่กดดันตลาด อย่างไรก็ดี หลังเฟดประกาศลดดอกเบี้ย 0.50% และส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ พร้อมทั้งระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง โดยการลดดอกเบี้ยแรงเป็นการป้องกันผลกระทบจากความเสี่ยงด้านลบ นักลงทุนจึงมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าตลาดแรงงานสหรัฐเพียงแค่ชะลอตัวลง และแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะยาวยังคงดีอยู่ ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลจีนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่หลังวิกฤตโควิด ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปรับตัวขึ้นแรง อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายรายประเมินว่า มาตรการของจีนยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายังคงปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า นำโดยกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ หลังมีความชัดเจนเกี่ยวกับกองทุนวายุภักษ์ ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นที่คาดว่ากองทุนวายุภักษ์จะเข้าลงทุน นอกจากนี้ ความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ ความคืบหน้าของมาตรการโอนเงิน และเฟดประกาศลดดอกเบี้ยแรง ส่งผลให้นักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยมากขึ้น และเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง (ราคาตราสารหนี้ปรับตัวสูงขึ้น) โดยได้แรงหนุนจากการลดดอกเบี้ยของเฟดที่มีแนวโน้มประกาศลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง
วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของเฟดและประเทศเศรษฐกิจหลักทั่วโลก ยกเว้นญี่ปุ่น น่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากในระยะยาวหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังคงมีแนวโน้มเติบโตดี และจะได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี ตลาดอาจมีความกังวลเกี่ยวกับราคาหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวขึ้นมามาก ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับโลกตะวันตก และปัญหาความวุ่นวายในตะวันออกกลางที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะขยายตัวเป็นวงกว้าง จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนในบางช่วง ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นจากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อีกทั้งค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าจากการที่เฟดลดดอกเบี้ย ตลาดหุ้นไทยจึงน่าจะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นของตลาดหุ้นไทยอาจเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากได้ตอบรับปัจจัยบวกไปมากแล้ว ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ยังคงมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่อง
ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 กันยายน 2024
ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 กันยายน 2024
ที่มา: เอกสารอัปเดตมุมมอง Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 กันยายน 2024
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
คุณเป็นอีกคนหนึ่งที่อยากมีพอร์ตการลงทุนที่แข็งแรงแบบนักลงทุนมืออาชีพใช่ไหม? บทความนี้จะพาไปเจาะลึกกลยุทธ์การลงทุนของ “Andrew Stotz” อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ผู้มีประสบการณ์ในวงการการเงินมาอย่างยาวนาน กับการปั้นพอร์ตการลงทุนที่พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าตลาดจะผันผวนแค่ไหนก็ไม่หวั่น!
Asset Allocation หรือ การจัดสรรสินทรัพย์ เป็นการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น เงินฝาก หุ้น ตราสารหนี้ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้บ่อยครั้ง แต่ไม่รู้ว่าจะทำแบบไหนดี เรามีตัวอย่างการจัดสรรสินทรัพย์ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้มาฝากกัน ดังนี้
การจัดสรรสินทรัพย์เป็นขั้นตอนสำคัญในการลงทุน เพราะจะช่วยให้สามารถสร้างพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจะจัดสรรสินทรัพย์อย่างไรดี เราขอแนะนำให้ได้รู้จักกับการจัดพอร์ตลงทุนที่พร้อมลุยทุกสภาวะตลาดอย่างพอร์ต All Weather Strategy (AWS) ของคุณ Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย
คุณ Andrew Stotz เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในวงการการเงิน เขาได้สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งในฐานะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้บริหารบริษัทด้านการลงทุน
คุณ Andrew Stotz สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการเงิน ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1992 โดยดำรงอาชีพเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และอาจารย์มหาวิทยาลัย เมื่อตอนที่เขาดำรงตำแหน่งเป็น Head of Reserch ที่บริษัทหลักทรัพย์ CLSA เขาได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในฐานะนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยสองปีซ้อน (ปี 2008 และ 2009) จากผลสำรวจของ Asiamoney Brokers และได้รับการโหวตให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยจากรายงานของ All-Asia Research Team นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งประธาน CFA Society แห่งประเทศไทยถึงสองสมัย
นอกจากการทำงานในวงการการเงินแล้วคุณ Andrew Stotz ยังเป็นนักเขียนและพิธีกร Podcast ที่มีชื่อเสียง เขาได้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการลงทุน โดยหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ “How to Start Building Your Wealth Investing in The Stock Market” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกลยุทธ์การลงทุนอย่าง A.Stotz All-Weather Strategy ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก
พอร์ต All Weather Strategy (AWS) เป็นพอร์ตการลงทุนที่ทางทีมงานของ Dr.Andrew Stotz จับมือร่วมกับ Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้นมา โดยพอร์ต AWS นี้ มุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยปกป้องพอร์ตให้พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด (All Weather) นอกจากนี้พอร์ต AWS ยังเน้นลงทุนในกองทุน Passive ที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำและสมเหตุสมผล เพื่อเน้นสะท้อนผลตอนแทนเทียบกับตลาด และไม่ฉุดรั้งผลตอบแทนระยะยาวของนักลงทุน โดยพอร์ต AWS จะมีการปรับพอร์ต (Rebalance) ปีละ 2-4 ครั้ง
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของพอร์ต AWS จะอ้างอิงโมเดล “FVMR Framework” ซึ่งประกอบไปด้วย
คุณก็เองปั้นพอร์ตให้แข็งแรงแบบนักลงทุนมืออาชีพอย่างคุณ Andrew Stotz ได้ด้วย พอร์ต All Weather Strategy (AWS) พอร์ตกองทุนที่พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด กระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ตอบโจทย์คนที่ต้องการลงทุนแบบนอนหลับสบาย เพราะมีอดีตนักวิเคราะห์อันดับ 1 ของประเทศไทย มาช่วยดูแลพอร์ตให้คุณ!
สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
ด้วยตัวชี้วัดที่ออกมาในสัปดาห์นี้นั้นส่วนใหญ่เป็นแต่ฝั่งแรงงาน อีกทั้งตัวชี้วัดทั้งหมดยังไม่ได้มีการคาดการณ์ที่ทำให้ตลาดนั้นมีแรงขายมาก ทำให้สัปดาห์นี้เป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่นักลงทุนเริ่มเปิดความเสี่ยง และด้วยการปรับขึ้นมาของราคา Digital asset ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่เท่ากับช่วงกลางปีนี้ ทำให้จุด ๆ นี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่เหมาะสมในการเข้าสะสมโดยเฉพาะ Altcoins ที่มีการปรับราคาขึ้นมาแต่ยังไม่สูงมาก
ตัวเลขการสำรวจการจ้างงานทุกตำแหน่ง (ที่ยังว่างอยู่) ในทุกวันสุดท้ายของเดือน เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “Job Openings and Labor Turnover Survey (JOLTS)” การสำรวจนี้จะรวบรวมข้อมูลจาก 16,400 หน่วยงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงร้านค้า และโรงงาน รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลระดับกลาง ภาครัฐ และท้องถิ่นใน 50 รัฐ และดิสทริคต์ออฟคอลัมเบีย
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 7.673M เหลือ 7.65M
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/job-offers
ตีความอย่างไรต่อตลาด
ในฝั่งของ JOLTs Job Opening การมีแนวโน้มที่จะลดตัวลงของ JOLTs Job Opening เพียงเล็กน้อยไม่ได้มีผลเสียมากเท่ากับการปรับลดลงเยอะ แต่ผลเสียที่มีคือ การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานและการลดความสามารถในการต่อรองเรื่องของเงินเดือนของพนักงาน อาจทำให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายน้อยลง
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เป็นรายงานการจ้างงานที่ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะๆ โดยทั่วไปจะออกในวันศุกร์แรกของทุกเดือน และมีผลกระทบมากต่อดอลลาร์ของสหรัฐ ตลาดหุ้น และตลาดหลักทรัพย์ Current Employment Statistics (CES) จากหน่วยงานสถิติแรงงานของกรมแรงงานของสหรัฐ ทำการสำรวจประมาณ 141,000 ธุรกิจ หน่วยงานรัฐบาล และ 486,000 ธุรกิจส่วนตัว เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการจ้างงาน ชั่วโมงทำงาน และรายได้ของคนงานในกลุ่มที่ไม่ใช่ภาคเกษตร
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Non Farm Payrolls มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 142K เป็น 130K
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/non-farm-payrolls
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การมีแนวโน้มลดลงของ Non Farm Payrolls สามารถทำให้อัตราการว่างการมีโอกาสที่จะเพิ่มสูงขึ้น และมีโอกาสที่จะลดการใช้จ่ายของผู้บริโภคลงอีกด้วย การลงทุนในตลาดแรงงานที่เป็นแบบนี้นักลงทุนอาจเลือกขายสินทรัพย์เสี่ยงมากไปถือสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยกว่า
Unemployment rate คือ อัตราการว่างงานเป็นสัดส่วนจากประชาการที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพตลาดแรงงาน และสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม อัตราว่างงานที่สูงบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่จะลอตัวลงหรือแม้กระทั้งหดตัวลง
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 4.2% เป็น 4.3%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การลดลงของ Unemployment Rate อาจบ่งบอกถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และลดการใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่ด้วยการที่มีการคาดการณ์ว่าจะลดตัวลงเพียงนิดเดียว อาจไม่ได้มีความผันผวนที่รุนแรง
Credit from Coindar
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
30 กันยายน
1 ตุลาคม
2 ตุลาคม
Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หลายเหรียญมีการปรับตัวขึ้นเป็นบวก แต่ก็ยังถือว่าเป็นระดับที่ต่ำอยู่ บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยมีการเปิดสถานะลองมากกว่าสถานะชอร์ต ประกอบกับการที่ราคาของ Bitcoin และหลายเหรียญปรับตัวขึ้น สามารถตีความได้ว่า แรงซื้อส่วนใหญ่มาจากการเปิดสถานะ Spot มากกว่า Futures ซึ่งเป็นสภาพตลาดที่ค่อนข้างดี
Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest มีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ถึงแม้จะยังไม่ได้สูงเท่ากับช่วง All Time High แต่ก็แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น หลังจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ถึง 50 BPS พร้อมกับความมั่นใจว่าเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง และมีโอกาสที่จะเกิด Recession ต่ำ
Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,106.5 ล้านเหรียญ ซึ่งนับว่าเป็นสัปดาห์ที่มีแรงซื้อเข้ามาทุกวันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับแรงขายจาก GBTC ที่แทบจะไม่มีแล้ว แสดงถึงความมั่นใจในตลาดของนักลงทุนสถาบันที่กลับมาจากปัจจัยด้าน Macroeconomics
Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าทั้งสิ้น 85 ล้านเหรียญ ซึ่งนับว่าเป็นสัปดาห์ที่ดีของ Ethereum ETF เนื่องจากมีเม็ดเงินจำนวนมากแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจาก ETHA และ FETH เหตุการณ์นี้น่าจะมาจากการที่นักลงทุนสถาบันหลายคนเฝ้ารอให้แรงเทขายของ ETHE หมดไปก่อน เพื่อหาจุดที่ดีในการเข้าสะสม ประกอบกับความชัดเจนทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้เป็นภาพที่ดีขึ้นของ Ethereum
เนื่องจากภาพ Macroeconomics ในเดือนกันยายนค่อนข้างเป็นบวก จากการที่ FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 50 BPS ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารในประเทศอื่นผ่อนคลายลงไปด้วย โดยเฉพาะธนาคารกลางจีน ที่มีการทำนโยบายผ่อนคลายทั้งการเงินและการคลัง ทำให้สภาพคล่องของทั้งโลกเพิ่มขึ้น และกลายเป็นปัจจัยบวกต่อทุกสินทรัพย์
หลังจากตลาดที่ Sideways Down มาตลอดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีสามารถ Rebound กลับมาได้จากปัจจัย Macroeconomics ที่ส่งเสริม นักลงทุนมีการเพิ่มความเสี่ยงทั้งใน Bitcoin และ Altcoins หากสังเกตจากค่าแก๊สบน Ethereum ที่อยู่ในระดับต่ำมายาวนาน ถึงแม้จะมีความพยายามที่จะ Rebound ของตลาดหลายต่อหลายครั้ง แต่ตัวชี้วัดนี้ก็ไม่เคยเพิ่มขึ้นเลย จนถึงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเติบโตของค่าแก๊สบน Ethereum กว่า 498% ทะลุค่าเฉลี่ย 30 วันย้อนหลัง การเพิ่มขึ้นครั้งนี้ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่นักลงทุนในตลาดกลับมาให้ความสนใจและ Risk-on อีกครั้ง
Source : https://www.coinbase.com/institutional/research-insights/research/weekly-market-commentary/weekly-2024-09-27
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประกอบกับ Sentiment ของนักลงทุนในตลาดด้วยค่า Premium ที่ผู้ถือสัญญาฝั่ง Long ต้องจ่ายให้กับฝั่ง Short ใน 30 วันที่ผ่านมานั้น มีมูลค่าอยู่ที่ $10.7M จะเห็นได้ว่า มีการเติบโตเพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ตลาด Rally ในเดือนมีนาคมที่พีคถึง $120M สามารถตีความได้ว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่ได้ Bullish จนเกินไป ทำให้การเปิดสัญญาฝั่ง Long ไม่ได้สูงเหมือนในช่วงที่นักลงทุนมองตลาดในแง่บวกสุดขีด และมีพื้นที่ในการเติบโตของตลาดในช่วงไตรมาสที่ 4 อีกมาก
Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-39-2024/
by Cryptomind Advisory
$ETH ได้ปรับตัวย่อลงหลังจากขึ้นไปติดแนวต้านบริเวณ $2,700 โดยมุมมองในระยะสั้นนั้น $ETH อาจย่อลงมาที่บริเวณ $2,400 อีกครั้งหนึ่งได้ ซึ่งอาจสอดคล้องกับการลงมาทดสอบแนวรับ Trendline ใน RSI โดยหากไม่หลุดแนวดังกล่าวก็อาจจะเป็นมุมมอง Momentum ขาขึ้นของ $ETH ได้ในรูปแบบการทำ Higher High ได้ แต่อย่างไรก็ตามหากยังมีการปรับตัวลดลงต่ำลงไปอีกก็อาจจะเป็นการเคลื่อนที่ Sideway Down ต่อไปในภาพใหญ่ได้
แนวต้าน : $2,870 | $3,350 | $3,700
แนวรับ : $2,400 | $2,150 | $1,880
$ETH ได้ปรับตัวย่อลงหลังจากขึ้นไปติดแนวต้านบริเวณ $2,700 โดยมุมมองในระยะสั้นนั้น $ETH อาจย่อลงมาที่บริเวณ $2,400 อีกครั้งหนึ่งได้ ซึ่งอาจสอดคล้องกับการลงมาทดสอบแนวรับ Trendline ใน RSI โดยหากไม่หลุดแนวดังกล่าวก็อาจจะเป็นมุมมอง Momentum ขาขึ้นของ $ETH ได้ในรูปแบบการทำ Higher High ได้ แต่อย่างไรก็ตามหากยังมีการปรับตัวลดลงต่ำลงไปอีกก็อาจจะเป็นการเคลื่อนที่ Sideway Down ต่อไปในภาพใหญ่ได้
แนวต้าน : $2,870 | $3,350 | $3,700
แนวรับ : $2,400 | $2,150 | $1,880
by Cryptomind Advisory
ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ โดยรวมในสหรัฐฯ ในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-30th-4th-October-2024
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
วันนี้ (2 ตุลาคม 2024) ดัชนี HSCEI หรือหุ้นจีน H-Share และดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) ปรับตัวขึ้นกว่า 6% หนุนโดยกลุ่มอสังหาฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาแรง นำโดย หุ้น China Vanke +39.6% และ Longfor +28.8% โดยการปรับตัวขึ้นมาเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลจีนประกาศมาตรการช่วยเหลือตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน 4 เมืองใหญ่ ได้แก่ กวางโจว เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และปักกิ่ง โดยประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบสำหรับผู้ซื้อบ้าน นำโดยกวางโจวเป็นเมืองแรกที่ยกเลิกข้อจำกัดการซื้อบ้าน โดยจะหยุดตรวจสอบคุณสมบัติผู้ซื้อและไม่จำกัดจำนวนบ้านที่สามารถครอบครองได้ ขณะที่เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และปักกิ่งจะปรับลดอัตราเงินดาวน์ขั้นต่ำสำหรับบ้านหลังแรกและหลังที่สองเหลือ 15% และ 20% ตามลำดับ เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้มาตรการเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 เป็นต้นไป
นอกจากนี้มีรายงานว่า Sentiment ของนักลงทุนได้เปลี่ยนไป เนื่องจากบรรดา Hedge Fund ได้เข้าซื้อในตลาดหุ้นจีน ขณะที่นักวิเคราะห์เชื่อว่าตลาดกระทิงอาจดำเนินต่อไปได้หลายเดือนหากมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่อง
Finnomena Funds มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็นพัฒนาการที่ดีขึ้นซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลจีนยังคงมุ่งมั่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่น ทั้งนี้ต้องจับตามาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมซึ่งจะส่งผลต่อการปรับประมาณการณ์ GDP จีนของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการปรับลดคาดการณ์ GDP จีน ในปี 2024 ไม่ถึง 5% ซึ่งเป็นระดับที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าหมาย
การปรับตัวขึ้นขึ้นอย่างรุนแรงของหุ้นจีนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นจีนกลับมาอยู่บริเวณค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ขณะที่ประมาณการกำไรหุ้น A-shares ยังถูกปรับลง สวนทางหุ้น All China ที่ถูกปรับขึ้นจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ผลประกอบการดี
เราจึงแนะนำทยอยลดสัดส่วนหุ้นจีนในกองทุน B-CHINE-EQ, MEGA10CHINA-A และ SCBCHAA ตามมุมมองของ Finnomena Funds และแนะนำถือกองทุน UOBSGC ตามมุมมองของ FundTalk Call
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ (2 ต.ค.) ว่า อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่งในเดือนกันยายน โดยลดลงต่ำกว่า 2% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 2564
ข้อมูลระบุว่า ราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนกันยายน เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ชะลอตัวลงจากการเพิ่มขึ้น 2% ในเดือนสิงหาคม โดยตัวเลขในเดือนกันยายนถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่มีการเพิ่มขึ้น 1.4%
สำนักข่าวยอนฮับรายงานว่า ราคาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ราคาผักเพิ่มขึ้น 11.5% เนื่องจากคลื่นความร้อนที่ยาวนาน
สำหรับสินค้าสำคัญ ราคาผักกาดขาวพุ่งขึ้น 53.6% และราคาหัวไชเท้าพุ่งขึ้น 41.6% ส่งผลให้ครัวเรือนต้องเผชิญกับแรงกดดัน เนื่องจากผักกาดขาวและหัวไชเท้าเป็นส่วนประกอบหลักของกิมจิ ซึ่งโดยปกติจะทำในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม เพื่อเตรียมรับมือกับอากาศหนาวในฤดูหนาว
รัฐบาลเกาหลีใต้คาดว่า เงินเฟ้อจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 2% ได้ภายในสิ้นปี 2567 และอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคอยู่ต่ำกว่า 3% เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันจนถึงเดือนกันยายนนี้
ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2024/434451
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/kospi-aug-2023
อ่านคำแนะนำ FundTalk Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/fundtalk/korea-jun-2024
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
All Series Portfolio เป็นกลุ่มพอร์ตการลงทุนที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองนักลงทุนที่ต้องการระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยเงินขั้นต่ำเพียง 50,000 บาท กลุ่มพอร์ตในซีรีส์นี้ประกอบด้วย All Balance, All Defense, และ All Star
Finnomena Funds ใช้ Framework ของ All Balance ที่ประสบความสำเร็จเป็นพื้นฐานในการสร้าง All Defense ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงทางการเงินและความเสี่ยงต่ำ
คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
All Balance Portfolio ถือเป็นหนึ่งในพอร์ตการลงทุน Flagship ของ Finnomena และได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยมีอายุมากกว่า 4 ปี มียอดเงินลงทุนกว่า 1,393 ล้านบาท และมีนักลงทุนในแผนมากกว่า 3,994 คน สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีที่ 6.5% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายคลึงกัน
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
All Balance Portfolio ใช้โมเดล Black-Litterman เพื่อจัดสรรสินทรัพย์ระหว่างหุ้นและตราสารหนี้อย่างสมดุล โดยใช้ทั้ง Strategic Asset Allocation (SAA) และ Tactical Asset Allocation (TAA) เพื่อปรับตามสถานการณ์ตลาดในระยะสั้น
คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ข้อมูลผลตอบแทน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2024
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
ในการพัฒนาพอร์ต All Balance เรามี Milestone ที่สำคัญสองครั้ง:
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
จากความสำเร็จของ All Balance เราได้พัฒนาพอร์ต All Defense สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ โดยลดสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงเหลือเพียง 0-10% และเพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้เป็น 90-100% แต่ยังคงใช้โมเดล Black-Litterman ในการกำหนด SAA และนำระบบ TAA เข้ามาใช้เพื่อรับประโยชน์จากการลงทุนระยะสั้น
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
All Defense Portfolio เน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่ดีที่สุด ทั้งในตลาดโลกและตลาดไทย โดยใช้โมเดล Black-Litterman กำหนดสัดส่วน SAA และใช้ TAA เพื่อปรับพอร์ตตามโอกาสในตลาด ทั้งนี้จะรักษาสัดส่วนตราสารหนี้ไว้ที่ 90-100% เพื่อควบคุมความผันผวน
สัดส่วน SAA ที่แนะนำ ได้แก่:
นับเป็นสัดส่วนตราสารหนี้ 90% และตราสารทุน 10%
คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ข้อมูลผลตอบแทน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2024
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
หากเปรียบเทียบผลตอบแทนของ All Defense กับกองทุนที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายคลึงกัน (Morningstar Conservative Allocation) พบว่าผลตอบแทนของ All Defense อยู่ในระดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มในหลายช่วงเวลา
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
จากการคัดเลือกของ Finnomena Funds สัดส่วนการลงทุนในกองทุนต่างๆ ที่แนะนำ ได้แก่:
Source: Finnomena Funds, as of 17/09/2024
เริ่มต้นสร้างแผน All Defense ได้ที่ port.finnomena.com/plan-select/plans/all-defense
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่างๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!
ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena
กองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนกันยายน 2567 จะมีกองทุนไหนบ้าง? ใช่กองทุนที่คุณมีอยู่รึเปล่า? ลองมาดูกัน
อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 26 ก.ย. 2567: KFCMEGA-A, TCHTECH-A, SCBCTECHA, KKP CHINA-H, K-CHINA-A(D), K-CHINA-A(A)
อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 27 ก.ย. 2567: MEGA10CHINA-A, KFCSI300-A, TCHSTRATEGY, SCBCHA, SCBCHAA, TISCOCH
*หมายเหตุ: ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน จาก Finnomena Funds จัดอันดับ ณ วันที่ 30 ก.ย. 2567 ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ตั้งแต่ต้นปี 2567 ผมได้วาง “Playbook” ของการลงทุนของผมไว้ว่า ผมจะปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาวของผมให้ประกอบไปด้วยหุ้นเวียดนามประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งจะเป็น “กองหน้า” ที่จะใช้ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะผมจะเลือกหุ้นเอง ซึ่งจะเป็นหุ้นแนว “ซูเปอร์สต๊อก” ซึ่งก็คือหุ้นที่จะเติบโตระยะยาวและมีความสามารถในการแข่งขันสูงและยั่งยืน และผมก็เริ่มทำตั้งแต่ต้นปี มีการขายหุ้นตัวเล็ก ๆ ราคาถูกที่ผมถือมายาวนานไปทั้งหมดนับร้อยตัว และใช้เงินที่ได้ซื้อหุ้น “ซูเปอร์สต๊อก” ขนาดใหญ่ไม่เกิน 10 ตัว ซึ่งประมาณ 5 ตัวใหญ่ที่สุดคิดเป็นกว่า 75% ของพอร์ตไปแล้ว
หุ้นกลุ่มที่สองอีกประมาณ 1 ใน 3 จะเป็นหุ้นกลุ่มใหม่ที่ผมไม่เคยมีเลยและเป็นหุ้นที่ผมเรียกว่า “หุ้นโลก” เพราะเป็นหุ้นของบริษัทที่มักจะ “ขายสินค้าไปทั่วโลก” คนทั่วไปมักจะรู้จักและคุ้นเคยกับสินค้า รวมถึงผมเองที่ต้องใช้ บางทีเกือบทุกวัน เช่น ดูหนังของ Netflix ใช้โปรแกรมสารพัดในคอมพิวเตอร์ หรือเห็นคนใช้เครื่องแต่งกายจากแบรนด์หรูระดับโลก เป็นต้น
ผมวางแผนว่าภายในปี 2567 ผมน่าจะสามารถลงทุนเม็ดเงินจนครบในหุ้นโลกได้ โดยกลยุทธ์ที่ใช้นั้น ผมจะซื้อหุ้นหรือกองทุนรวมหรือ ETF ประมาณไม่เกิน 10 ตัว ซึ่งตัวใหญ่ที่สุด 5-6 ตัวควรจะมีขนาดรวมกันมากกว่า 75% ของพอร์ตนี้เช่นเดียวกับพอร์ตหุ้นเวียดนามและพอร์ตหุ้นไทย เพราะผมคิดว่าพอร์ตที่มีการกระจายความเสี่ยงในระดับนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าปกติได้โดยที่จะมีความเสี่ยงที่พอรับได้
การเลือกหุ้นลงทุนแต่ละตัวหรือกองทุนที่เป็น ETF แต่ละกองนั้น ผมจะทำผ่านการซื้อ DR หรือ DRx หรือกองทุนที่จดทะเบียนในประเทศไทย เพราะนั่นจะทำให้ผมไม่ต้องเสียภาษี Capital Gain เมื่อขายหุ้นแล้วได้กำไรได้ แต่นั่นทำให้ผมมีหุ้นหรือหลักทรัพย์ให้เลือกจำกัด เฉพาะหุ้นตัวใหญ่ ๆ และมีชื่อเสียงระดับโลกที่บริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินในตลาดหุ้นไทยนำมาออกเป็น DR หรือ DRx หรือทำเป็นกองทุนจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย
อย่างไรก็ตาม ผมดูแล้วก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะจำนวน DR และ DRx ที่มีอยู่ดูเหมือนจะมีมากพอและกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลกำลังจะเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนหุ้นต่างประเทศแม้ว่าจะไม่นำกลับมายังประเทศไทยอย่างที่เคยเป็น ซึ่งน่าจะทำให้คนที่คิดจะไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศทั้งหมดต้องมาลงทุนผ่าน DR ในอนาคต
ตั้งแต่ต้นปี ผมจึงต้องเริ่มวิเคราะห์ว่าหุ้นหรือ ETF ต่างประเทศตัวไหนน่าสนใจที่จะซื้อลงทุน และก็พบว่าน่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่ก็คือหุ้นในตลาดหุ้นอเมริกาและยุโรปตะวันตก และกลุ่มหุ้นของจีน นอกจากนั้นก็อาจจะมีหุ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่โดดเด่น เช่น หุ้นอินเดียและหุ้นเวียดนามที่มีการทำ DR ในตลาดหุ้นไทยด้วย
ในความเห็นของผม หุ้นอเมริกานั้นมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน และก็ยังเติบโตได้แม้ว่าจะไม่สูงมากนักอานิสงส์จากการที่เศรษฐกิจอเมริกาและโลกกำลังชะลอตัวลงจากช่วงที่เติบโตเร็วในหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นของหุ้นเหล่านั้นก็สูงขึ้นมาก อยู่ในระดับ “All Time High” แม้ว่าจะมีการปรับตัวลงมาบ้างในช่วงเร็ว ๆ นี้ ซึ่งก็ทำให้ผมรู้สึกว่าการเข้าไปลงทุนมีความเสี่ยงไม่น้อย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สำหรับ “VI พันธุ์แท้” อย่างผม ที่ลงทุนระยะยาว ผมเกลียดที่จะซื้อหุ้นที่ “กำลังร้อนแรง” ใน “ตลาดกระทิง”
ผมกลัวว่า ถ้าซื้อเข้าไปแล้ว ตลาดปรับตัวลงแรง ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไร และหุ้นร้อนแรงตกลงมาหนักมาก อาจจะ “หลายสิบเปอร์เซ็นต์” การลงทุนนั้นก็จะ “เจ็บปวดมาก” เพราะเข้าไป “ผิดเวลา” ต้นทุนของความผิดพลาดก็คือ อาจจะต้องรอไปหลายปีกว่าหุ้นจะกลับมาที่เดิม
หุ้นจีนนั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เป็นช่วงเวลาที่หุ้นตกต่ำต่อเนื่องยาวนาน อานิสงส์จากเศรษฐกิจที่มีปัญหาและตกต่ำมานาน ประกอบกับการที่รัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายที่ลดความเป็นทุนนิยมลงและหันกลับไปเป็นสังคมนิยมมากขึ้น นอกจากนั้น สงครามการค้ากับอเมริกาและประเทศโลกเสรีที่พัฒนาแล้ว ได้ทำให้มีการถอนทุนจากประเทศจีนและตลาดหุ้นจีน ส่งผลให้หุ้นจีนตกลงมาต่อเนื่อง ราคาหุ้นชั้นดีรวมถึงหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่มีราคาถูก “เป็นประวัติการณ์”
และนั่นคือสิ่งที่ “VI พันธุ์แท้” อย่างผมสนใจและคิดอยากจะเป็นจุดเริ่มของการลงทุนในกลุ่ม “หุ้นโลก”
ประเด็นต่อมาคือเรื่องของ “Timing” หรือเวลาที่จะเข้าลงทุน ซึ่งก็มีสองเรื่องที่หน่วงผมไว้ทำให้ไม่ได้เริ่มจนถึงวันนี้ก็คือ เรื่องแรก เม็ดเงินที่จะใช้ ยังมีไม่พอเพราะผมขายหุ้นไทยไปน้อยมาก ผมรอ “ก๊อกสุดท้าย” คือวันที่หุ้นไทยปรับตัวขึ้นไปสูงพอที่ผมจะขายหุ้นจำนวนมากได้ และถึงแม้ว่าดัชนีและราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาบ้างนับจากต้นปี ผมก็ยังคิดว่าผมอยากได้ราคามากกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ผมมีเงินพอที่จะ “เริ่ม” ลงทุนในหุ้นโลกได้ แต่ก็ยังไม่ได้ทำเพราะ
เรื่องที่สองก็คือ ถึงวันนี้ อีกประมาณ 40 วัน ก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ผมคิดว่าไหน ๆ ก็รอมาตั้งนานแล้ว ผมก็อยากจะรอต่อไปอีกซักเล็กน้อยเพื่อที่จะดูว่าความเสี่ยงของตลาดหุ้นหลังจากวันนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป มีโอกาสเหมือนกันว่าถ้าคนที่เป็นประธานาธิบดีเป็นคนหนึ่ง โลกอาจจะวุ่นวายมากขึ้นได้จากสงครามการค้าและอื่น ๆ ซึ่งจะกระทบต่อตลาดหุ้นโลก และตลาดหุ้นจีน
ในระหว่างที่รอนั้น แค่เพียงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อน ทางการจีนก็ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ รวมถึงการผ่อนคลายทางการเงินหลาย ๆ มาตรการรวมถึงการลดดอกเบี้ยเพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทั้งในทรัพย์สินที่จับต้องได้และในตลาดหุ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่หงอยเหงามานานก็วิ่งขึ้นแบบ “ระเบิด” ภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว ดัชนีหลัก ๆ ของทุกตลาดในจีนและฮ่องกงปรับตัวขึ้นไปกว่า 10% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเห็นมาเป็นเวลากว่า 10 ปี
ความรู้สึกของผมก็คือ ผมคง “ตกรถ” หรืออาจจะไม่ได้ซื้อหุ้นจีนเพื่อลงทุนรอบนี้ถ้าหุ้นที่ขึ้นไปแล้วไม่ถอยลงมา แม้ว่าหลายคนรวมถึงตัวผมเองก็มีความคิดว่า ราคาหุ้นจีนตอนนี้ก็ “ยังไม่แพง” ถ้ามองจากค่า PE ที่ยังไม่สูงอยู่ดีแม้หุ้นจะขึ้นไปมาก แต่จะทำใจได้ยังไงที่จะต้องซื้อแพงขึ้นไปอีกประมาณเกือบ 20% และก็เช่นเดียวกับหุ้นอเมริกาและหุ้นยุโรปที่ก็ดูยังไม่แพงมากแม้ว่าหุ้นจะขึ้นมาเรื่อย ๆ และราคาอยู่ในช่วง “All Time High”
ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งก็คือ เสียดายที่ไม่ได้คิดหรือทำเรื่องการลงทุนในหุ้นโลกเร็วกว่านี้ เงินสดประมาณ 5-6% ที่ถือมานานและควรจะเริ่มเข้าไปลงทุนในหุ้นจีนและหุ้นที่ถูกกระทบจากปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนเช่น หุ้นหลุยส์วิตองที่ราคาตกต่ำมาช่วงหนึ่ง กลับไม่ได้ทำ เพราะกลัวว่าหลังจากเลือกตั้งในอเมริกาจะมีปัญหาหนักและหุ้นจะตกลงไปอีก
พอถึงจุดนี้ คืออาจจะเป็นจุดที่ไม่สามารถซื้อหุ้นโลกที่จะปลอดภัยได้เลย สิ่งที่คิดก็คือ ผมอาจจะต้อง “รอต่อไป” รอจนกว่ามีหุ้นโลกที่เหมาะสมที่จะซื้อ และก็รอต่อไป รอจนกว่าจะสามารถขายหุ้นไทยให้ลดลงจนเหลือประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมด และถ้าจะมีเงินสดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ “ช่างมัน” และก็คิดเสียว่าในช่วงนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองก็ถือเงินสด “มหาศาล” มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเบิร์กไชร์ เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรมาก และก็ไม่เสียดายอะไรเลยที่ไม่ได้ลงทุนในช่วงที่คนอเมริกันบอกว่าควรจะลงทุนมากที่สุด ตราบที่เขาไม่เห็นว่าหุ้นถูกและคุ้มค่าที่จะลงทุน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานเมื่อวันที่ 30 กันยายน ว่าสต็อกชิปเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลีใต้ลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชิปหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังคงมีความต้องการสูง
รายงานระบุว่าสต็อกชิปคงคลังลดลง 42.6% ในเดือนสิงหาคมเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องหลังจากที่ลดลง 34.3% ในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่การผลิตและการจัดส่งเพิ่มขึ้น 10.3% และ 16.1% ตามลำดับ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ว่าวงจรความนิยมยังคงดำเนินต่อไปในช่วงไตรมาส 3 ปี 2567
ข้อมูลล่าสุดนี้สนับสนุนมุมมองที่ว่าความต้องการชิปที่เพิ่มขึ้นช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้ โดยเฉพาะชิปหน่วยความจำซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีบริษัทซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) และเอสเค ไฮนิกซ์ (SK Hynix) เป็นหนึ่งในผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในตลาด
นอกจากนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าเกาหลีใต้มีกำหนดจะเปิดเผยรายงานการส่งออกเดือนกันยายน ซึ่งรวมถึงการส่งออกชิปเซมิคอนดักเตอร์ ในวันอังคารที่ 1 ตุลาคม โดยการส่งออกชิปเติบโตในระดับปานกลางตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทำให้เกิดคำถามว่าภาคส่วนนี้จะสามารถเติบโตได้อีกมากน้อยเพียงใด
ในเวลาเดียวกัน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของเกาหลีใต้ปรับตัวขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ในเดือนสิงหาคม โดยเพิ่มขึ้น 3.8% จากปีก่อน ขณะที่การคาดการณ์ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 1.9%
ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2024/433837
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/kospi-aug-2023
อ่านคำแนะนำ FundTalk Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/fundtalk/korea-jun-2024
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
อีกหนึ่งตัวช่วยประหยัดภาษีที่เราไม่ควรมองข้ามเลยคือ “กองทุน SSF-RMF” เพราะนอกจากจะช่วยเราประหยัดภาษีได้แล้วยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้อีกด้วย
บทความนี้จะขอพาทุกคนมาดูกันว่าเงินเดือนที่เราได้รับในปัจจุบันจะสามารถลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดตามเงื่อนไขเท่าไรบ้าง? ติดตามไปพร้อมกันได้เลย!
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
โดยทั้งกองทุน SSF และ RMF เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ* แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
* กองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุน SSF, กองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และประกันชีวิตแบบบำนาญ
อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี ปี 2567: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!
— planet 46.
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Finnomena Funds มองตลาดหุ้นผ่านพ้นช่วง Bottom Out โดยจุดต่ำสุดของราคาอยู่ข้างหลังเราแล้ว ในขณะที่ตลาดเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะวิ่งสู่ Soft Landing เป็นโอกาสการลงทุนหุ้น Growth
อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2024 โดย Finnomena Funds
เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2024 ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มกลับมามีแนวโน้มที่สดใสยิ่งขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจกำลังวกกลับมาเป็น Positive Surprise หนุนความคาดหวังตลาดมอง Soft Landing และเป็นโอกาสของการลงทุนในหุ้นเติบโต ดังนั้น เราจึงรวบรวมกองทุนแนะนำ ประจำเดือนตุลาคม สำหรับเข้าลงทุนและทยอยเก็บสะสมในจังหวะนี้มาฝาก
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) MEGA10AI-A
กองทุนที่ลงทุนใน 10 หุ้น Big Tech AI ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่นตามดัชนี Nasdaq ที่ทะลุ All-Time High แต่ยังมีอัพไซด์ให้ไปต่อ เพราะได้รับประโยชน์จากการปรับลดดอกเบี้ยแบบ Expansion Cut ประกอบกับแนวโน้มกำไรอันแข็งแกร่ง
2.) B-INNOTECH
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี เน้นคัดกลุ่ม High Quality Growth ที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง โดยยึดหลักการลงทุนสไตล์ Contrarian และการที่ตลาดเชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ถดถอย จะช่วยหนุน Sector Technology ให้กลับมา Outperform อีกครั้ง
3.) DAOL-KOREAEQ
กองทุนหุ้นเกาหลีใต้แบบ Active Fund ซึ่งปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง ในขณะที่ Valuation ถูกกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต มีโอกาสวิ่งเป็นขาขึ้นตามหุ้นเทคโนโลยี Nasdaq พร้อมทั้งจะมีแรงกระตุ้มจากการเปิดตัว Value-Up Program สนับสนุนตลาดหุ้นเกาหลีใต้
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) ES-USBLUECHIP
กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยเน้นคัดเลือกบริษัทที่เติบโตทั้งรายได้ กำไร และกระแสเงินสด ตลอดจนมีความสามารถทางการแข่งขันสูง เพื่อรับโอกาสลงทุนตามเทรนด์ขาขึ้นของดัชนี Nasdaq 100
2.) SCBSEMI(A)
กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ลดลงแรง และมีมุมมองไปสู่ Soft Landing โดยหุ้นกลุ่มนี้มีโอกาสจะรีบาวด์ได้แรงกว่ากลุ่มอื่น ๆ
3.) ASP-DIGIBLOC
กองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบล็อกเชนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นช่วงที่ราคาปรับฐานลงมาแรง แต่สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ว่าจุดต่ำสุดของดัชนีได้ผ่านพ้นไปแล้ว รวมทั้งกำลังเข้าสู่ช่วงที่ดีของสินทรัพย์เสี่ยงจากปัจจัยทางฤดูกาล
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนหุ้นเวียดนาม Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและโดดเด่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อีกทั้งยังมี Catalyst จากการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีหน้า
2.) B-INNOTECH
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี ซึ่งแนวโน้มกลับมาน่าสนใจตามการ Cut Rate และเทรนด์การเกิด Soft Landing อีกทั้งยังเป็นกองทุนที่เก่งในการเข้าซื้อหุ้นเติบโตได้ในราคาไม่แพง
3.) UOBSA
กองทุนหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) เหมาะกับการลงทุนกระจายความเสี่ยงในภูมิภาคเอเชีย ด้วยกลยุทธ์การลงทุนที่มีความยืดหยุ่น ปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาด และการปรับตัวลงของกองทุนเป็นผลมาจากเงินบาทที่แข็งค่ารุนแรง อย่างไรก็ดี เชื่อว่าในระยะยาวจะเป็นกองทุนที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่ากองทุนเอเชียอื่น ๆ
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดส่งออกในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 11.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แตะที่ 57.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ที่แข็งแกร่ง
ในขณะเดียวกัน ยอดนำเข้าในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้น 6% สู่ระดับ 54 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เกาหลีใต้มีดุลการค้าเกินดุล 3.83 พันล้านดอลลาร์ เป็นการเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15
สำหรับการส่งออกสินค้าในแต่ละประเภท พบว่ายอดส่งออกชิปเพิ่มขึ้น 38.8% สู่ระดับ 11.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 โดยได้รับแรงหนุนจากยอดส่งออกชิปสำหรับสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ เนื่องจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำหลายแห่งได้เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI)
นอกจากนี้ ยอดส่งออกเรือเพิ่มขึ้นถึง 80% สู่ระดับ 2.8 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการที่แข็งแกร่งจากผู้ประกอบการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ขณะที่ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 1.4% สู่ 4.5 พันล้านดอลลาร์ เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ส่วนยอดส่งออกรถยนต์ลดลง 4.3% สู่ระดับ 5.1 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างระหว่างพนักงานและผู้ผลิต
เมื่อพิจารณาจากการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ พบว่ายอดส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้น 7.9% สู่ระดับ 11.4 พันล้านดอลลาร์ เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่ยอดส่งออกไปจีนมีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 11.1% สู่ 10 พันล้านดอลลาร์ และยอดส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) เพิ่มขึ้น 16.1% สู่ระดับ 6.43 พันล้านดอลลาร์
ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2024/433645
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/kospi-aug-2023
อ่านคำแนะนำ FundTalk Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/fundtalk/korea-jun-2024
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
นักเสี่ยงโชคทั้งหลายคงตั้งตารอทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน เพราะเป็นวันที่จะได้ลุ้นพลิกชีวิตกลายเป็นเศรษฐีหน้าใหม่ของประเทศ แต่เคยคิดไหมว่าเดือน ๆ หนึ่งเราหมดเงินไปกับการซื้อล็อตเตอรี่เท่าไร และตั้งแต่ซื้อมาเคยถูกรางวัลไปแล้วกี่ครั้ง? เพราะเปอร์เซ็นต์ในการถูกรางวัลที่ 1 มีน้อยมาก ๆ เพียง 0.0001% เท่านั้น หรือแม้แต่กระทั่งรางวัลเลขท้าย 2 ตัวก็มีโอกาสถูกรางวัลเพียง 1%
แต่ถ้าเราลองแบ่งเงินที่ซื้อล็อตเตอรี่ทุกเดือน มาลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF-RMF ดูล่ะ? เพราะการลงทุนในกองทุน SSF-RMF นอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในอนาคตแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ด้วย
มาดูกันว่าหากเราแบ่งเงินซื้อหวยไปลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF-RMF ทุกเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี ตามเงื่อนไขของกองทุน SSF-RMF แล้ว จะทำให้เงินของเราเติบโตไปได้เท่าไรบ้าง
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
ตัวอย่างเช่น แบ่งเงินซื้อหวยมาลงทุนแบบ DCA ทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาท หรือปีละ 12,000 บาท ในกองทุน SSF-RMF ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยปีละ 5% ในระยะเวลา 10 ปีจะทำให้เรามีเงิน 158,481.45 บาท โดยเงินก้อนนี้สามารถนำไปต่อยอดวางแผนการเงินในอนาคตได้อีก เช่น การวางแผนเกษียณ ทั้งนี้ตัวอย่างในตารางเป็นการคำนวณจากผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้น ณ สิ้นปี โดยไม่นับรวมปัจจัยอื่นที่อาจทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังและไม่นับรวมอัตราเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ตาม การซื้อหวยสามารถทำได้ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสีสันให้ได้ลุ้นพลิกชีวิตเป็นเศรษฐีหน้าใหม่เดือนละ 2 ครั้งแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้ให้รัฐบาลเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปด้วย แต่อย่าลืม! แบ่งเงินมาลงทุนในแต่ละเดือนด้วยการลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF-RMF ให้เงินงอกเงย แถมได้นำไปลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
รู้ไหมว่าการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี Thai ESG เต็มสิทธิ์ 300,000 บาท จะสามารถช่วยเราประหยัดภาษีไปเท่าไร คิดออกมาเป็นจำนวนเงินจริง ๆ แล้วกี่บาท ถือว่าคุ้มค่าไหมกับผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อแลกกับการต้องถือลงทุน 5 ปีเต็ม
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจว่าการซื้อ Thai ESG จำนวน 300,000 บาท คือการที่เรานำจำนวน 300,000 บาทไปหักเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เราจ่ายภาษีน้อยลงไป 300,000 บาทเลย
เพราะจำนวนเงินที่ประหยัดภาษีจริง ๆ นั้น ต้องคำนวณจากเงินได้สุทธิที่เหลืออยู่ โดยดูว่าตัวเราเองมีอัตราภาษีจ่ายขั้นสุดท้ายที่เท่าไร
เช่น ฐานภาษี 5% ซื้อ Thai ESG 300,000 บาท จะช่วยประหยัดภาษี 15,000 บาท เมื่อคำนวณเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนทันทีที่ซื้อ เท่ากับ 5.26% (เงินภาษีที่ประหยัดได้ ÷ เงินลงทุนสุทธิ)
แต่หากใครฐานภาษีสูงขึ้นมา เช่น 20% แล้วซื้อ Thai ESG 300,000 บาท เท่ากับช่วยประหยัดภาษีได้ถึง 60,000 บาท เปรียบเหมือนได้ผลตอบแทนจากการลงทุนทันทีที่ซื้อ 25% เลยทีเดียว
ดังนั้น จะเห็นว่าในกรณีฐานภาษีเราสูงมาก เช่น 20-35% เมื่อคำนวณตามแนวทางข้างบน จะเท่ากับเรามีกำไรทันที 25.00% ถึง 53.85% เชื่อว่าคงตัดสินใจได้ไม่ยากเลย ว่าควรปล่อยโอกาสการลงทุนใน Thai ESG ให้หลุดลอยไปไหม
แต่หากใครที่ฐานภาษีไม่ได้สูงมาก อาจจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งเป้าหมายการเงินของตัวเอง เพราะ Thai ESG เป็นการลงทุนระยะยาว เงินที่นำมาซื้อควรเป็นเงินเย็น ไม่รีบร้อนใช้
สุดท้ายนี้ อย่าลืมคิดเรื่องค่าธรรมเนียมรายปี ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหน่วยลงทุน และความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Thai ESG Hub ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Thai ESG ซื้อจบได้ที่นี่ คลิกเลย 👉https://finno.me/thaiesg-hub-ws
อ้างอิง: SET SOURCE
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ตลาดหุ้นจีนได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ โดยดัชนี CSI 300 ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิงหลักของตลาดหุ้นจีนพุ่งขึ้นถึง 6.5% ในวันเดียว ถือเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2015 ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 9 สร้างความตื่นตัวให้กับนักลงทุนทั่วโลก และอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางเศรษฐกิจของจีน หลังเพิ่งประกาศ Pan’s Package มาตรการกระตุ้นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
– อ่านบทความ สรุป Pan’s Package มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน “ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา”
CSI Index | Source: Bloomberg | as of 30/09/24
หลังจากปรับตัวลงจากจุดสูงสุดในปี 2021 ไปกว่า 45% ดัชนี CSI 300 ก็กลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากจุดต่ำสุด สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางของตลาดอย่างชัดเจน ส่งผลให้นักลงทุนจับตาสัญญาณบวกที่มีโอกาสนำไปสู่ภาวะ “ตลาดกระทิง” (Bull Market) ของตลาดหุ้นจีน
การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของตลาดหุ้นจีนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่เรียกกันว่า Pan’s Package โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
1. การผ่อนคลายกฎระเบียบด้านที่อยู่อาศัย
รัฐบาลจีนได้ประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบสำหรับผู้ซื้อบ้านในเมืองใหญ่ 3 แห่งของประเทศ มาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจจีน
2. การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน
ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ซึ่งเป็นการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์และช่วยให้ประชาชนเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น
3. การลดอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
นอกเหนือจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน รัฐบาลยังได้ลดอัตราดอกเบี้ยทั่วไปด้วย ซึ่งช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมสำหรับธุรกิจและบุคคลทั่วไป
4. การปลดล็อคเงินสดสำหรับธนาคารพาณิชย์
มาตรการเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงิน ทำให้ธนาคารมีเงินทุนมากขึ้นสำหรับการปล่อยกู้และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
5. การสนับสนุนสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้น
รัฐบาลได้ใช้มาตรการเพิ่มสภาพคล่องในตลาดหุ้นโดยตรง ซึ่งช่วยสนับสนุนราคาหุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของตลาดหุ้นจีนส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดการเงินและพฤติกรรมนักลงทุน โดยมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (SSE) ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น (SSZE) พุ่งสูงถึง 1 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 4.59 ล้านล้านบาท) ในเวลาเพียง 30 นาทีหลังเปิดทำการ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กลับมา
ทั้งนี้ ผลกระทบยังแผ่ขยายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยกองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุน ด้วยการลดการถือครองหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และหันมาเพิ่มการลงทุนในบริษัทเหมืองแร่และวัสดุแทน
ขณะเดียวกันการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีนยังได้ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้กลับมาสู่ตลาด หลังจากถอนการลงทุนออกไปในช่วงตลาดซบเซา
นอกจากนี้ การที่นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกับหุ้นจีนมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลลดลงอย่างรวดเร็วในสัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางจีนจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีขึ้น
Shanghai Composite Index’s Fear and Greed Index | Source: Bloomberg | as of 30/09/24
โดยสิ่งที่สนับสนุนแนวโน้มดังกล่าวก็คือดัชนีความกลัวและความโลภ (Fear and Greed Index) ของตลาดหุ้นจีนสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี นับตั้งแต่ปี 2020 สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนที่กล้ารับความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับหุ้นจีน
อ้างอิง: Bloomberg
วันที่ 18 ก.ย. 2024 ถือเป็นวันสำคัญของนโยบายการเงินโลก เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2022 ด้วยขนาดการลดดอกเบี้ย 50bps มากกว่าปรกติถึงเท่าตัว สะท้อนให้เห็นว่าดอกเบี้ยขาลงรอบนี้ไม่ธรรมดา
การลดดอกเบี้ยของ Fed ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้ม “ดอกเบี้ยขาลง” ที่จะมีส่วนในการกำหนดแนวโน้มตลาดการเงินไปอีกอย่างน้อย 6-12 เดือนข้างหน้า นักลงทุนอย่างเราจึงต้องศึกษาผลกระทบกับตลาดการเงินในอดีต เพื่อวิเคราะห์ว่าแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงครั้งนี้จะส่งผลกับธีมลงทุนของเราอย่างไร
การวิเคราะห์แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงไม่ใช่เรื่องง่าย ข้อมูลมีไม่มาก ผมใช้การมองย้อนกลับไป 6 รอบดอกเบี้ยขาลงล่าสุด (ปี 1984-2019) พบว่าประเด็นสำคัญของดอกเบี้ยขาลงต่อตลาดการเงิน และธีมลงทุน มีด้วยกัน 3 เรื่องใหญ่
ตามสถิติเป็นความเสี่ยงของตลาดทุน แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่ความชันจะทำให้ตลาดต้องปรับฐาน
ย้อนกลับไปดูดอกเบี้ยขาลงในอดีต จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงของ Yield Curve จะเริ่มต้นด้วย Bull Steepening (ยีลด์ระยะสั้นลดลงมากกว่ายีลด์ระยะยาว) และจบด้วย ยีลด์ระยะยาวปรับตัวขึ้นมากกว่ายีลด์ระยะสั้นหรือ Bear Steepening โดยตลาดหุ้นมักเคลื่อนไหวผันผวน หนักไปทางการปรับตัวลงในช่วงยีลด์ชัน
อย่างไรก็ดี ถ้ามองลึกลงไปจะพบว่าสาเหตุของความชัน เป็นเหตุผลสำคัญมากกว่าระดับความชัน
เช่น ความชันที่เกิดขึ้นจากการลดดอกเบี้ยในช่วงเศรษฐกิจถดถอย (ปี 1989, 2001, 2007 และ 2019) หุ้นจะปรับฐานลงมากกว่า แต่ความชันที่เกิดจากการลดลงของดอกเบี้ยแท้จริง (ดอกเบี้ย – เงินเฟ้อ) หุ้นจะมีโอกาสปรับตัวขึ้น
สำหรับครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าการลดดอกเบี้ยเกิดหลังจากที่เงินเฟ้อปรับตัวลงไปก่อนแล้ว จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เราจะเห็นแรงหนุนจากดอกเบี้ยขาลงเพราะเป็นจังหวะที่ Real Interest Rate ลดลง
หลังจากนั้น ถ้าเศรษฐกิจไม่ฟื้น หรือถดถอย หรือเงินเฟ้อกลับมาปรับตัวขึ้น ค่อยต้องระวังว่าดอกเบี้ยขาลงและยีลด์ที่ชันขึ้นจะกลายเป็นปัญหา
ในอดีตสไตล์ที่โดดเด่นคือ Mid Cap กลุ่มที่ต้องระวังคือ Cyclicals ส่วน Finances มักทำได้ดีกว่าที่คิด
ย้อนกลับไปในช่วงดอกเบี้ยขาลงในอดีต สไตล์การลงทุนที่เปลี่ยนไปอย่างแรกคือ
ขายหุ้นขนาดใหญ่ไปหุ้นขนาดกลางและเล็ก
เพราะหุ้นขนาดกลางหรือ Mid Cap เป็นกลุ่มที่มักทำผลตอบแทนได้ดีจากสองคุณลักษณะคือ (1) ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง เป็นแรงส่งให้กำไรปรับตัวขึ้น และ (2) กลุ่มธุรกิจของ Mid Cap ที่ประกอบด้วย Real Estate และ Industrials ต้องใช้เงินกู้เงินในระดับสูงไปประกอบธุรกิจ และที่ดอกเบี้ยขาลงอาจช่วยลงไปไม่ถึง Small Cap นั้น ในอดีตมักเกิดจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในช่วงเวลาเดียวกันมีผลกับการลงทุนมากกว่าแนวโน้มดอกเบี้ย
การสลับธีมแบบที่สอง คือขายกลุ่มวัฏจักรหรือ Cyclicals ไปกลุ่มตั้งรับหรือ Defensive
การสลับธีมในรูปแบบนี้ ในอดีตมักไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ Defensive sectors ทำผลตอบแทนดีกว่าปกติ แต่มักเกิดจากกลุ่ม Cyclicals ที่ทำผลตอบแทนไม่ดีเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว
การเปลี่ยนธีมแบบสุดท้ายและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือขาย Financials ไป Real Estate
ตลาดมองว่ากลุ่มอสังหาฯ ควรได้ประโยชน์มากที่สุดจากดอกเบี้ยลด แตกต่างจากกลุ่มการเงินที่คาดว่าจะถูกแรงกดดันจากดอกเบี้ยขาลงที่เป็นความเสี่ยงด้านรายได้
แต่ในอดีต กลุ่มอสังหาฯ จะน่าสนใจก็ต่อเมื่อมีการจ่ายปันผลในระดับสูงกว่าดอกเบี้ย ในช่วงดอกเบี้ยขาลงเท่านั้น ส่วนกลุ่มการเงิน จะดีหรือไม่ ต้องดูไปพร้อมกับคุณภาพของสินเชื่อ ส่วนใหญ่มักดีขึ้นจากดอกเบี้ยขาลง ทำให้ต้นทุนทางการเงินโดยรวมลดลง นอกจากนี้ในปัจจุบันกลุ่ม Financials มักแก้เกมด้วยการบริหารเงินปันผลเพื่อเปลี่ยนสไตล์จาก Cyclicals ไปเป็น High Dividend Plays ได้ในช่วงเดียวกันอีกด้วย
สำหรับในช่วงดอกเบี้ยขาลงรอบนี้ ผมมองว่าการเปลี่ยนกลุ่มและเหตุผลจะไม่ต่างไปจากในอดีต คาดว่าแรงหนุนจากดอกเบี้ยขาลง จะช่วยให้หุ้น Mid Cap และ Defensive ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาด
ความแตกต่างสำคัญอยู่ที่กลุ่ม Technology ที่เป็นหนึ่งใน Cyclicals ครั้งนี้ตลาดเชื่อว่าจะเป็นผู้นำของเศรษฐกิจเติบโตรอบใหม่ ถ้าเกิดขึ้นจริง คาดว่าจะหนุนให้กลุ่มการลงทุนแนววัฏจักรไม่แย่กว่าตลาดเหมือนในอดีต
ในอดีต ช่วงดอกเบี้ยขาลงที่ไม่มีเศรษฐกิจถดถอย เช่นปี 1984 และ 1995 เป็นช่วงที่ S&P500 ทำผลตอบแทนได้ดี 16-28% ใน 12 เดือนหลังการลดดอกเบี้ย โดยแรงส่งหลักมาจาก P/E Expansion สวนทางกับปีที่มีเกิด Recession อย่างปี 1989, 2001 และ 2007 ที่หุ้นปรับตัวลงแรงเพราะรายได้และ P/E ลดลง มีเพียงการลดดอกเบี้ยช่วงปี 2019 เท่านั้นที่ตลาดปรับตัวขึ้น ก่อนจะเกิดวิกฤติโควิดในปีถัดมา
สำหรับปีนี้ ผมมองว่าแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงจะเป็นบวกกับการลงทุนคล้ายปี 1995 และปี 2019 ถ้าไม่มีเศรษฐกิจถดถอย หรือแนวโน้มกำไรหดตัวเกิดขึ้นตามมาทันที มีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดหุ้นที่แพงแล้วจะแพงต่อไปได้ด้วยการหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่มลงทุนตามธีมข้างต้น
โดยสรุป เมื่อมองแนวโน้มของดอกเบี้ยขาลงจากในอดีตและปัจจุบัน จะพบว่าแนวโน้มนี้สำคัญสำหรับการเลือกธีม แต่อาจไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง เพียงแค่จากแนวโน้มดอกเบี้ย
ในรอบนี้ ผมเชื่อว่ากรณีที่ดีที่สุดคือ ดอกเบี้ยลดและเศรษฐกิจฟื้น ตลาดจะเข้าสู่สภาวะสมดุล (Goldilocks) ธีม Rate Steepening, Cyclicals และ Mid Cap จะทำผลตอบแทนชนะตลาด
แต่กรณีที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด ผมมองว่าดอกเบี้ยขาลงอาจไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปัจจุบันให้กลับเป็นขาขึ้นได้ทันที ธีม Quality Growth และ Defensive จะเป็นที่หลบภัยที่ดีที่สุดของตลาด
ส่วนกรณีเสี่ยงที่สุด คือดอกเบี้ยลงแล้ว ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจไม่ฟื้น แต่เงินเฟ้อกลับปรับตัวสูงขึ้นใหม่อีกครั้ง คาดว่าจะทำให้ตลาดปรับฐาน นักลงทุนถือเงินสดและทองคำแทนที่หุ้น
แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลงทุน อย่าลืมเตรียมพร้อมเพื่อปรับกลยุทธ์รับมือกันอย่างเหมาะสมนะครับ
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
เช้าวันนี้ (30 กันยายน 2024) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) และ ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวลดลงกว่า 3% หลังจาก ชิเงรุ อิชิบะ (Shigeru Ishiba) อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party) และก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมา อิชิบะมักวิพากษ์วิจารณ์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศ และสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) พร้อมเรียกร้องให้ BoJ วางแผนการปรับอัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติอย่างชัดเจน ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่า BoJ อาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงอย่างหนักในวันนี้
ด้านดัชนีหุ้นจีน (CSI 300) ดัชนี HSCEI หรือ หุ้นจีน H-Share และดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) ปรับตัวขึ้นกว่า 3% หลังมีรายงานว่ารัฐบาลจีนประกาศมาตรการช่วยเหลือตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ กวางโจว เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น โดยประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบสำหรับผู้ซื้อบ้าน นำโดยกวางโจวเป็นเมืองแรกที่ยกเลิกข้อจำกัดการซื้อบ้าน โดยจะหยุดตรวจสอบคุณสมบัติผู้ซื้อและไม่จำกัดจำนวนบ้านที่สามารถครอบครองได้ ขณะที่เซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้นจะปรับลดอัตราเงินดาวน์ขั้นต่ำสำหรับบ้านหลังแรกและหลังที่สองเหลือ 15% และ 20% ตามลำดับ เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้มีการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ขยายตัวจาก 49.1 ในเดือนสิงหาคม สู่ระดับ 49.8 ในเดือนกันยายน ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 49.4
Finnomena Funds มองว่าหลังญี่ปุ่นได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ BoJ อาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น และอาจกดดันต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่นในอนาคต ขณะที่ตลาดหุ้นจีนได้แรงหนุนจากการออกมาตรการกระตุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลจีนยังคงมุ่งมั่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ 5% ทั้งนี้ต้องติดตามการฟื้นตัวของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
เรายังคงแนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นเอเชียอย่าง UOBSA ที่ใช้ AI ร่วมกับผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น สร้างผลตอบแทนระยะยาวโดดเด่นกว่ากองเอเชียอื่น ๆ กองทุนหุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนหุ้นเกาหลี SCBKEQTG ตาม MEVT Call หรือ DAOL-KOREAEQ ตามคำแนะนำ FundTalk Call
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
รวบรวมข้อมูลวันหยุดกองทุนบางส่วนจาก บลจ. ที่มีการเผยแพร่เป็นสาธารณะ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แต่ละ บลจ.