แจ้งเตือน

อัปเดต FundTalk The Contrarian Portfolio ต้อนรับดอกเบี้ยขาลง

Jet - The Contrarian Investor

มุมมองทิศทางตลาดลงทุนโลก

  1. นักลงทุนมองว่าดัชนี S&P 500 จะขึ้นต่อจนถึงสิ้นปี หลัง Fed อัดยาแรงลดดอกเบี้ย 0.5% นอกจากนี้ยังมองว่าหุ้นน่าสนใจกว่าพันธบัตรและทองคำ
  2. จากสถิติตั้งแต่ปี 1990 หาก Fed ลดดอกเบี้ยแล้วไม่เกิด Recession มีแนวโน้มที่ดัชนี S&P 500 จะปรับตัวสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Expansion Cut
  3. ตลาดกำลังเชื่อว่า Fed ลดดอกเบี้ยแล้วจะเกิด Expansion Cut (ลดดอกเบี้ยแล้วหุ้นขึ้น) ไม่ใช่ Recession Cut (ลดดอกเบี้ยแล้วเศรษฐกิจถดถอย)
  4. จากสถิติแล้ว หากเกิดสถานการณ์ Expansion Cut ตลาดจะทำผลงานได้ดี 1-3 เดือนแรก
  5. คาดว่าระยะสั้นดัชนี NASDAQ มีโอกาสทำ All-time High ตาม S&P 500

 

หัวใจสำคัญของการจัดพอร์ตสไตล์ Jet – Contrarian Investor ผ่าน FundTalk The Contrarian Portfolio คือการกระจายจัดพอร์ตให้ใกล้เคียงกับ Market Cap ของหุ้นแต่ละประเทศในโลก

สัดส่วนการลงทุนของ FundTalk The Contrarian Portfolio ในปัจจุบัน

  • หุ้นสหรัฐฯ 20% (แบ่งเป็น AFMOAT-HA 10% และ MEGA10-A 10%)
  • หุ้นปัญญาประดิษฐ์ 20% (MEGA10AI-A)
  • ตราสารหนี้โลก 20% (MUBONDUH-A)
  • หุ้นจีน 15% (UOBSGC)
  • หุ้นเกาหลีใต้ 15% (DAOL-KOREAEQ)
  • ตลาดเงิน 10% (KKP MP)

 

สัดส่วนการลงทุน FundTalk The Contrarian Portfolio ณ วันที่ 20 กันยายน 2024

ศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่

 

หมายเหตุ: พอร์ตนี้ไม่ได้อยู่ใน Model Port ของ Finnomena Funds


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 . ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ทองคำมาแรง! หลัง Fed ลดดอกเบี้ย เป็นปัจจัยบวกกับทองคำ YLG ชี้ราคาเป้าใหม่มีโอกาสแตะบาทละ 43,000 บาท

Finnomena Editor
ทองคำมาแรง! หลัง Fed ลดดอกเบี้ย เป็นปัจจัยบวกกับทองคำ YLG ชี้ราคาเป้าใหม่มีโอกาสแตะบาทละ 43,000 บาท

บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) รายงานว่า หลังจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ล่าสุด เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% และส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ว่ามีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.50% รวมทั้งสิ้นปีนี้ที่ 1.00% ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ

แม้ว่าราคาทองคำจะถูกขายทำกำไรในระยะสั้น หลังจากทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ก็ถูกกดดันทันทีเมื่อเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด แถลงข่าวด้วยมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ พร้อมยืนยันว่าการลดดอกเบี้ยนี้เป็นเพียงมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดแรงงาน ไม่ใช่การสะท้อนการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญในเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม บริษัทวายแอลจีมองว่าทองคำมีโอกาสทำจุดสูงใหม่ในปีนี้ โดยตั้งราคาเป้าหมายที่ 2,650-2,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ เนื่องจากการเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาลงของเฟดจะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำในระยะยาว

นอกจากนี้ ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังสร้างความกังวลในหลายพื้นที่ และการกลับเข้าซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องของกองทุน ETF ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ก็มีส่วนผลักดันราคาทองคำ รวมถึงการที่ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงซื้อทองคำอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ได้มีการซื้อทองคำรวม 483.3 ตัน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ช่วงครึ่งปีแรก

สำหรับราคาทองคำในประเทศ แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งทุกการแข็งค่าของเงินบาท 10 สตางค์ จะทำให้ราคาทองคำปรับลดลงประมาณ 90-120 บาทต่อบาททองคำ แต่หากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าเกิน 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มองว่าเป็นจุดที่สามารถเข้าซื้อได้ เนื่องจากมีโอกาสที่ราคาทองคำจะไปถึง 41,800 บาทต่อบาททองคำ และมีเป้าหมายถัดไปที่ 42,600-43,000 บาทต่อบาททองคำ

ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2024/431051

กองทุนทองคำแนะนำโดย Finnomena Funds

  • MEVT Call แนะนำสะสมทองคำผ่านกองทุนKT-GOLDUH-Aเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางยาว (6-12 เดือนข้างหน้า)
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust เป็นกองทุนหลัก มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
  • ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/KT-GOLDUH-A

 

อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomenafunds/mevt-call-gold-jul-2024/


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 . ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

นักวิเคราะห์ชี้ เฟดลดดอกเบี้ย 0.50% ช่วยกระตุ้น Fund Flow ไหลเข้า “ตลาดหุ้นเอเชีย”

Finnomena Editor
นักวิเคราะห์ชี้ เฟดลดดอกเบี้ย 0.50% ช่วยกระตุ้น Fund Flow ไหลเข้า “ตลาดหุ้นเอเชีย”

นักวิเคราะห์หลายรายเชื่อว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% อาจส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นในเอเชีย เนื่องจากจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

แกรี ดูแกน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ดาลมา แคปิตอล (Dalma Capital) กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะช่วยบรรเทาความกดดันในการควบคุมเชิงการเงิน และลดความกังวลเกี่ยวกับการอ่อนค่าของสกุลเงินในเอเชีย ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง

มานิช ภควา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท สเตรตส์ อินเวสต์เมนต์ แมเนจเมนต์ (Straits Investment Management) กล่าวเสริมว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะกระตุ้นความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดหุ้นเอเชีย ซึ่งจะช่วยให้เกิดกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ ขณะที่นักลงทุนยังคงมองหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ซาเทรีย แซมบีจันโทโร หัวหน้าฝ่ายวิจัยของบริษัท พีที บาฮานา เซคูริทาส (PT Bahana Sekuritas) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้สกุลเงินในตลาดเกิดใหม่แข็งค่าขึ้น โดยจนถึงขณะนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการสะท้อนมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ตามรายงานของบลูมเบิร์ก เฟดสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดวอลล์สตรีทด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 กันยายน ขณะที่เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ได้แถลงข่าวหลังการประชุมว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นการปรับนโยบายการเงิน โดยเฟดจะตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป

เรากำลังมุ่งหวังที่จะทำให้เงินเฟ้อกลับมามีเสถียรภาพโดยไม่ทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรงพาวเวลกล่าว พร้อมเสริมว่าการลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ควรถูกมองว่าเป็นสัญญาณที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของเฟดในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2024/418505

กองทุนหุ้นเอเชีย แนะนำโดย Finnomena Funds

  • MEVT Call แนะนำทยอยสะสมUOBSAกองทุนหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น รับโอกาส Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชีย
  • ใช้ AI คัดหุ้นดีทั่วเอเชียกว่า 10,000 บริษัท วิเคราะห์เชิงลึกโดยผู้จัดการกองทุน เพื่อเลือกหุ้นเพียง 50 ตัว
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/mevt-call-uobsa

 

นักวิเคราะห์ชี้ เฟดลดดอกเบี้ย 0.50% ช่วยกระตุ้น Fund Flow ไหลเข้า “ตลาดหุ้นเอเชีย”

อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mevt/asiaexjp-mar-2024


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 . ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP ลดสัดส่วนไทย ล็อกกำไรตราสารหนี้โลก

Finnomena Funds
ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP

Executive Summary

  • ลดสัดส่วน LHTPROP 5% จากปัจจัยด้านพื้นฐานอ่อนแอ ทำให้การ rebound ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นจังหวะการขายที่เหมาะสม 
  • ลดสัดส่วน KF-CSINCOM 35% เพื่อล็อคกำไรในตราสารหนี้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสในการลงทุนหลัง การประชุม FOMC ต่อไป
  • เพิ่มสัดส่วน KKP MP 40% เพื่อเก็บกระสุน รอโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมในอนาคต

คำแนะนำปรับพอร์ต GCP

ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP

Finnomena Funds มองเห็นโอกาสการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ SET Index ที่เพิ่มขึ้นมามากกว่า 12% จากจุดต่ำสุด ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2024 เป็นโอกาสในการทยอยลดสัดส่วนหุ้นไทย และ REIT ไทย ที่พื้นฐานกำไรยังอ่อนแอ และมีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ

ในขณะที่ตราสารหนี้โลกซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต GCP ถึง 65% ปรับตัวได้ดีจากการลดลงของ Bond Yield เป็นโอกาสในการทำกำไรก่อนบางส่วน โดยสัดส่วนการลงทุนที่ปรับออกทั้งหมด แนะนำให้ไปลงทุนกองทุน KKP MP เพื่อรอโอกาสการลงทุนในอนาคตต่อไป

หุ้นไทยปรับตัวขึ้น เป็นโอกาสการลดสัดส่วน

ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/09/2024

SET Index และ SETPREIT ปรับตัวขึ้นมาได้ดีในเดือน สิงหาคม 2024 ถึง ปัจจุบัน (17 กันยายน 2024) อย่างไรก็ดี กำไรบริษัทจดทะเบียนในภาพรวมของ SET Index และ SETPREIT มีการถูกปรับประมาณการลดลง และในระยะกลางถึงระยะยาว อัตราการเติบโตของ SET Index และ SETPREIT ยังต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นโลก สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงกดดันหุ้นไทยในระยะยาว ทำให้ปรับตัวขึ้นของ SET Index และ SETPREIT น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการลดสัดส่วนหุ้นไทยในพอร์ต GCP 

Finnomena Funds จึงแนะนำลดสัดส่วนการลดทุนใน LHTPROP ลงทั้งหมด โดยนำเข้าไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้รัฐบาล KKP MP แทน

ตราสารหนี้ปรับตัวขึ้นจาก Yield ที่ลดลง เป็นโอกาสการทำกำไร

ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/09/2024

ตราสารหนี้โลกในปี 2024 ปรับตัวขึ้นกว่า 3.5% อันเนื่องมาจากการลดลงของ Bond Yield ทั่วโลก โดยในสหรัฐฯ ตราสารหนี้ US 2-Year Yield ปรับตัวลง 66.7 bps และ US-10 Year Yield ปรับตัวลง 22.8 bps แนวโน้ม Yield ที่ลดลงสะท้อนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องนโยบายในอนาคต

จากประเด็นดังกล่าว Finnomena Funds จึงแนะนำขายทำกำไรกองทุนตราสารหนี้โลก KF-CSINCOM ทั้งหมด เพื่อล็อคกำไรไว้ก่อนในเบื้องต้น โดยสัดส่วนทั้งหมดจะนำไปลงทุนในกองทุน KKP MP เพื่อรับโอกาสการลงทุนในอนาคต อย่างไรก็ดีเรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตราสารหนี้โลก ทำให้เรายังแนะนำคงสัดส่วนตราสารหนี้โลกอีก 30% ในกอง UGIS-N ต่อไป

แนะนำกองทุน KKP MP

  • กองทุนรวมตลาดเงิน
  • YTM 2.28%
  • Duration 24 วัน

 

KKP MP มีนโยบายลงทุนเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และ/หรือในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด

ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP

ถึงเวลาปรับพอร์ต GCP

Source: https://bank.kkpfg.com/ as of 17/09/2024

ดู Fund Fact Sheet กองทุนทั้งหมด

 

จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid กันยายน 2024: ได้เวลาเปลี่ยนกองทุนแบบ Value ใน Core Portfolio

WealthGuru
Global Aggressive Hybrid Portfolio Sep 2024

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024 ได้เวลาเปลี่ยนกองทุนแบบ Value ใน Core จาก SCBPGF เป็น SCBGVALUE(A)

1.) Global Aggressive Hybrid เป็นการลงทุนแบบ Core-Satellite Concept

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

กลยุทธ์แบบ Core-Satellite จะใช้ กองทุนประเภท Index เป็น Core หรือแกนกลาง และใช้กองทุนแบบ Active เป็น Satellite โดยมีข้อดีของกลยุทธ์ดังนี้

  • ต้นทุนต่ำ เนื่องจากกองทุนแบบ Index มีต้นทุนต่ำ
  • ง่ายต่อการจัดการสำหรับกองทุนแบบ Index ไม่ต้องเลือกผู้จัดการกองทุน ไม่ต้องเลือกหุ้น
  • ลงทุนได้ระยะยาวกับกองทุน Index จากผลสำรวจในระยะยาว กองทุนแบบ Active ผลงานไม่ต่อเนื่อง
  • กระจายการลงทุน กองทุน Index จะกระจายการลงทุนกว้าง ในขณะที่กองทุน Active อาจจะเจาะจงเลือกบ้างกลุ่มอุตสาหกรรม หรือเลือกหุ้นเติบโตเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากกว่า
  • สร้างผลตอบแทนเหนือตลาด ด้วยกองทุนแบบ Active ซึ่งเป็นแสวงหากำไรในระยะสั้น-ปานกลาง

 

พอร์ต Global Aggressive Hybrid ได้นำกลยุทธ์แบบ Core-Satellite มาเป็นต้นแบบในการสร้างพอร์ต
Hybrid = Active Fund + Passive Fund

2.) การปรับพอร์ต

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

จะเห็นว่าเดิมในสัดส่วนของหุ้นเน้นคุณค่าทั่วโลกแล้วจะใช้ SCBPGF อยู่ในส่วนของ Core แต่ว่า SCBPGF เองเป็นกองทุนแบบ Active Fund อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นไม่มีทางเลือก จนกระทั่งมีกองทุนใหม่ออก ชื่อ SCBGVALUE(A) เป็น Feeder Fund ที่ไปลงทุนยัง ETF ที่เป็น Passive

จากตารางพอร์ตการลงทุนถ้าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Investment Style แบบ Growth vs Value หรือ Sector แบบ Sensitive vs Defensive ก็แยกได้คร่าว ๆ แบบนี้

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

จะเห็นได้ว่าตอนนี้เน้นไปยังสัดส่วนที่เป็น Defensive และ Hedging ในสัดส่วนที่มากกว่าแบบ Growth

3.) SCBPGF vs SCBGVALUE(A) (โดยเปรียบเทียบที่ Master Fund)

  • เปรียบเทียบ Stock Style

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

จะเห็นได้ว่า SCBGVALUE และ SCBPGF มีรูปแบบ Investment Style ที่เป็น Value เหมือนกัน แต่ของ SCBPGF จะมีขนาดเล็กกว่า (Market Cap)

  • เปรียบเทียบ Factor Style

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

เมื่อดู Factor Style ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่า Size Factor ของ SCBGVALUE จะมีขนาดใหญ่กว่า และมี Momentum Factor มากกว่า

  • เปรียบเทียบ Sector Style

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

มีความแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจาก SCBPGF จะเน้นลงทุนแค่ 3 Sector เท่านั้น แต่กับ SCBGVALUE จะลงหลากหลายกว่า แม้จะมี Technology แต่หุ้นที่เลือกจะเป็นแนว Value

  • เปรียบเทียบ Risk and Rating

Global Aggressive Hybrid Portfolio เดือนกันยายน 2024

    Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 19/09/2024

Risk rating ของ SCBGVALUE จะได้ 3 ดาว แต่ SCBPGF จะไม่ได้ และ มี 3 Year Shape Ratio ดีกว่า SCBPGF

Global Aggressive Hybrid Portfolio พอร์ตการลงทุนที่ผสมผสานกองทุนแบบ Active และ Passive กระจายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

บทความโดย WealthGuru สำหรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2024


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

กระทรวงการคลังชี้ ไทยควรพิจารณาลดดอกเบี้ยตาม Fed

Finnomena Editor

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงผันผวน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้มีมติ “ลดอัตราดอกเบี้ย” 0.50% ลงมาอยู่ที่ระดับ 4.75% – 5.0% ในการประชุมล่าสุด ซึ่งถือเป็นการลดครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี ส่งผลให้กระทรวงการคลังของไทยออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ 

โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพิจารณานโยบายการเงินให้สอดคล้องกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับสหรัฐฯ อย่างมาก 

การปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ มีผลกระทบโดยตรงต่อการไหลเข้าออกของเงินทุนในประเทศไทย โดยหากสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ในทางกลับกัน หากสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งปัจจุบันค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนจากต่างประเทศ

ผลประชุม Fed กับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและนักวิเคราะห์ทั่วโลก เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งการประชุมในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าสนใจ รวมทั้งตัวชี้วัดที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

การตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วถึง 0.5% ของ Fed ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลอย่างมากต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจเข้าสู่ภาวะ Recession หลายฝ่ายมองว่าการที่ Fed ตัดสินใจลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ Fed ตระหนักว่าได้ดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวนานเกินไป และเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

การประชุมครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่สะท้อนมุมมองของ Fed ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ยังบ่งชี้ถึงนโยบายการเงินในอนาคตอันใกล้ ที่อาจมีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ Recession

ผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยหลัง Fed ลดดอกเบี้ย

การที่ Fed ส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายด้าน ทั้งในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยน การลงทุนจากต่างประเทศ และความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยในตลาดโลก

โดยนายกรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงความเห็นว่า ผลการประชุมของ Fed ครั้งนี้มีนัยยะสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเริ่มมีแรงเทขายออกมาก่อนการประชุม Fed ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่า Fed อาจตัดสินใจผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงิน

ความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยของ กนง.

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ระบุว่าการทยอยปรับลดดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นผลดีต่อการเรียกความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน แต่ในเชิงเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ กนง. พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ที่ระดับ 0.25%

กระทรวงการคลังสนับสนุนเพิ่มกรอบเงินเฟ้อ

นอกจากประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยแล้ว กระทรวงการคลังยังได้หยิบยกประเด็นเรื่องกรอบเงินเฟ้อขึ้นมาพิจารณาด้วย โดยมองว่าถึงเวลาแล้วที่ควรพิจารณาเพิ่มกรอบเงินเฟ้อเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการพิจารณาปรับเพิ่มกรอบเงินเฟ้อ โดยชี้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และรัฐบาลได้ประกาศนโยบายที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและประชาชน

นอกจากนี้ แม้การฟื้นตัวของตลาดทุนและเศรษฐกิจโดยรวมเป็นสัญญาณที่ดี แต่การเติบโตยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น การพิจารณาเพิ่มกรอบเงินเฟ้อจึงอาจเป็นหนึ่งในมาตรการที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น

นายพิชัยได้อธิบายถึงผลกระทบของเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจในมุมมองที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของผู้ซื้อและผู้ขาย โดยชี้ว่าเงินเฟ้อในระดับต่ำอาจดูเหมือนเป็นผลดีสำหรับผู้บริโภคที่สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูก แต่ในมุมมองของผู้ผลิตและผู้ขาย เงินเฟ้อต่ำอาจส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ

หากผู้ผลิตประสบปัญหาจนต้องหยุดการผลิต อาจนำไปสู่ภาวะสินค้าขาดตลาด และในที่สุดผู้บริโภคก็จะต้องเผชิญกับปัญหาสินค้าราคาแพงได้เช่นกัน ดังนั้น การรักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาปรับเพิ่มกรอบเงินเฟ้อ กระทรวงการคลังเน้นย้ำว่าจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลก นโยบายของประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศคู่แข่งทางเศรษฐกิจ

โดยการหารือระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องกรอบเงินเฟ้อได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการสรุปผลและประกาศแนวทางที่ชัดเจนในช่วงปลายปี 2567


ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, Morning Brief by FINNOMENA

เงินบาทแข็งแบบตะโกน

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
เงินบาทแข็งแบบตะโกน

“เงินบาทแข็ง” เป็นประเด็นที่ทำให้นักลงทุนไทยปวดหัวหนักในช่วงนี้

แม้ในทางทฤษฏี ทิศทางของเงินบาทจะเป็นบวกกับความมั่งคั่งของคนไทยโดยรวม แต่หลายคนนำเงินลงทุนไปต่างประเทศแล้วช่วงนี้จึงขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่ได้นำเงินออกไป ก็เกิดความกังวลเรื่องจังหวะการลงทุน ว่าเงินบาทจะแข็งไปกว่านี้ไหม

ผมจึงชวนวิเคราะห์แนวโน้มเงินบาทแข็งที่กำลังเกิดขึ้นและอนาคต เพื่อประเมินกลยุทธ์การลงทุนไปพร้อมกับทุกท่าน

เริ่มแรกมองไปที่ตัวแปรและเหตุผลหลักที่หนุนให้เงินบาทแข็งค่าก่อน สาเหตุหลักมีด้วยกัน 3 เรื่อง

หนึ่งคือนโยบายการเงินสหรัฐกลับทิศ กดดันให้ยีลด์ปรับตัวลง ส่วนต่างยีลด์ต่ำ เงินลงทุนไหลสู่ตลาดเกิดใหม่

ประเด็นนี้มีผลกับเงินบาทก่อนหน้านี้แน่นอน เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยพลิกกลับช่วงเวลาเดียวกับเงินบาทแข็งค่า

อย่างไรก็ดี ผมมองว่าผลกระทบของความคาดหวังนี้เกิดขึ้นมาสักพักแล้ว ยีลด์สหรัฐที่เคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดราว 4.9% ปลายต.ค.ปีก่อน ลดลง 130bps เหลือเพียง 3.6% ในปัจจุบัน

และไม่ใช่แค่ยีลด์สหรัฐลดลงเร็ว บอนด์ยีลด์ไทยอายุ 10 ปี ก็ลดลงจาก 3.4% มาที่ 2.5% คิดเป็นการปรับลง 90bps ในช่วงเดียวกัน ส่วนต่างของยีลด์จึงแคบลงก่อนที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนก.ย.

ทางทฤษฎี การลดดอกเบี้ยควรกดดันดอลลาร์ให้อ่อนค่า แต่เมื่อยีลด์ลดลงก่อน ก็เปรียบเสมือนตลาดรับรู้แนวโน้มดอกเบี้ยและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไปแล้ว

ผมเชื่อว่าเมื่อไรที่เฟดให้ความชัดเจนเรื่องเป้าหมายดอกเบี้ยที่ต้องการ จังหวะนั้นจะเป็นจุดสิ้นสุดของแนวโน้มบาทแข็งจากนโยบายการเงิน

ในทางกลับกัน โอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่ากลับจะเกิดขึ้นบ้างเมื่อธปท.ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยบ้าง

สองคือทิศทางของเงินดอลลาร์และมุมมองนักลงทุนต่อการลงทุนทั่วโลกและไทย ประเด็นนี้อนาคตเป็นได้ทั้งบวกและลบ

มองจากจุดกลับตัวที่บาทพลิกแข็งค่า นอกจากนโยบายการเงินก็มีการเปลี่ยนแปลงด้านแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนให้เห็นทั้งฝั่งสหรัฐฯ และไทย

เริ่มที่สหรัฐฯ ธีม AI ที่ช่วยหนุนตลาดมาตลอดครึ่งปีแรกเริ่มไม่สามารถสร้างเซอร์ไพรซ์ได้ ตลาดแรงงานสหรัฐฯ เผยแนวโน้มชะลอตัวให้เห็น

ขณะเดียวกันกับที่ฝั่งการเมือง พรรค Democrat ตีตื้นขึ้นมาได้ ทำให้โอกาสการกลับมาของ Donald Trump ลดลง คลายความเสี่ยงสงครามการค้าเต็มรูปแบบ

ส่วนฝั่งไทย ก่อนหน้านี้การเมืองในประเทศกผันผวนมาก เงินทุนไหลออก ล่าสุดเมื่อมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีความเสี่ยงเหล่านี้จึงหายไป พอดีกับที่ดอลลาร์เริ่มอ่อนเงินทุนจึงไหลเข้าเงินบาทอย่างรวดเร็ว

สุดท้าย แนวโน้มทองคำขาขึ้นสามารถหนุนให้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

แม้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 เราจะไม่ได้เห็นความสัมพันธ์ของทองคำและเงินบาทมากนัก เพราะราคาทองคำปรับตัวขึ้นไม่หยุดขณะที่เงินบาทพึ่งมาแข็งช่วงนี้

แต่มองด้านโครงสร้างการส่งออกของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทองคำ (ไม่นับรวมทุนสำรองระหว่างประเทศ) ได้กลายเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกหลักที่มีสัดส่วนราว 1%/GDP มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านปรกติที่การค้าทองคำมีสัดส่วนเพียงราว 0.1-0.2%

ด้วยโครงสร้างนี้ เงินบาทและทองคำจะเคลื่อนไหวไปในทิศเดียวกัน เพราะในช่วงทองคำขาลง นักลงทุนในประเทศจะซื้อดอลลาร์ไปซื้อทองดันให้บาทอ่อน เมื่อทองคำเป็นขาขึ้น จะมีแรงขายทำกำไร และซื้อเงินบาทกลับ จากความสัมพันธ์ในอดีต เมื่อราคาทองคำปรับตัวขึ้น 5% เงินบาทจะแข็งค่าลงราว 1%

ช่วงปีที่ผ่านมาเป็นคนละเหตุผล เพราะมีทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐที่เข้มงวดผิดปรกติ หรือแรงซื้อทองมาจากธนาคารกลาง หรือการเมืองไทยไม่นิ่ง

แต่เมื่อเหตุการณ์ข้างต้นกลายเป็นอดีตไปหมดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างเงินบาทและทองคำจะกลับมาเป็นบวกก็ไม่ใช่เรื่องแปลก

เมื่อนำทั้ง 3 ตัวแปรมาประเมินพร้อมกัน ผมมองว่าจะได้แนวโน้มเงินบาทที่มีโอกาสแข็งค่ามากกว่าอ่อนค่า ช่วงท้ายปี 2024 ถึงปี 2025

สำหรับใครที่อยากเห็นบาทอ่อน กรอบที่ควรมองหาคือช่วง 34.5-35.5 บาทต่อดอลลาร์ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย ตลาด Risk Off ทองไม่ลง พร้อมกับ Donald Trump ชนะเลือกตั้ง

แต่กรณีฐานของผม คือดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะลดลงเหลือ 3.50% เศรษฐกิจสหรัฐ Soft Landing และ Kamala Harris ชนะเลือกตั้ง

คาดว่าจะเห็น Dollar Index อ่อนค่าลง 2-5% หนุนราคาทองคำเป็นขาขึ้นต่อ กดให้เงินบาทแข็งค่าในกรอบ 31.7-32.3 บาทต่อดอลลาร์ในปีหน้า

ส่วนใครที่รอบาทแข็ง ให้จับตาไปที่กรณี Harris และ Democrat ชนะเลือกตั้งทั้งหมด พร้อมกับเฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยลงไปต่ำกว่า 3.5% อาจได้กลับไปเห็นระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์เหมือนก่อนวิกฤตโควิด

สำหรับนักลงทุน ผมมองว่าเงินบาทแข็งควรเป็นโอกาสการลงทุนมากกว่าความเสี่ยง และถ้าไม่อยากเสี่ยง ก็คุ้มที่จะมองหาการลงทุนหรือเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เตรียมไว้ให้พร้อมตั้งแต่ตอนนี้ครับ

เงินบาทแข็งแบบตะโกน

ค่าเงินบาทและ Dollar Index
ที่มา: Bloomberg, FSS

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

SCB Grow Together ปรับพอร์ตเดือนกันยายน 2024: กระจายลงทุน เพิ่มสินทรัพย์ทางเลือก

บลจ.ไทยพาณิชย์
มุมมองการลงทุน SCB Grow Together

มุมมองการลงทุน (September 2024)

แม้ดีกรีของความผันผวนอาจจะลดลงจากเดือน ส.ค. แต่เราประเมินว่าตลาดหุ้นโลกยังมีโอกาสแกว่งตัวผันผวนในเดือน ก.ย. บนความไม่แน่นอนหลายประการ เช่น ความกังวลของนักลงทุนในตลาดต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ, แรงขายทำกำไรต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวขึ้นมาอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา, การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้นในอีกประมาณ 1-2 เดือนข้างหน้า เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่าหากมองข้ามผ่านความผันผวนระยะสั้นไปแล้ว แนวโน้มระยะกลาง-ยาว ยังมีโอกาสของการลงทุนในตลาดหุ้น บนสมมติฐานว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแต่ไม่ถดถอย (Soft Landing) กลยุทธ์เน้นการกระจายการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม ลดการกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยี และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก คือ REITs ซึ่งราคาเคยถูกกดดันค่อนข้างมากในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เรามองว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องจากนี้ เมื่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลง

การปรับพอร์ต

  • กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ เปลี่ยนจาก SCBFST เป็น SCBINCA ให้น้ำหนัก 5%
  • ปรับน้ำหนักกองทุนหุ้นต่างประเทศ SCBWORLD(A) เพิ่มจาก 30% เป็น 35% และ SCBGQUAL(A) ลดจาก 15% เป็น 10%
  • ปรับเปลี่ยนกองทุนหุ้นต่างประเทศ จาก SCBNK225, SCBDIGI, SCBAEM, SCBKEQTG, SCBVIET(A) ถูกปรับออก แล้วนำกองทุน SCBGEQA และ SCBAXJ(A) เข้าพอร์ต
  • เพิ่มกองทุนที่เน้นลงทุนแบบผสม (Mixed Fund) คือ SCBGLOWP (กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน, ระดับความเสี่ยง 5) ซึ่งมีความคล่องตัวในการปรับกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทให้เข้ากับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา
  • สินทรัพย์ทางเลือก กองทุนทองคำ เปลี่ยนจาก SCBGOLD เป็น SCBGOLDH เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาที่เงินบาทแข็งค่ามาก นอกจากนี้ เพิ่มกองทุน REITs และ Infrastructure คือ SCBPINA ที่คาดว่าจะได้ผลบวกจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับลดลงในระยะถัดไป

 

SCB Grow Together

SCB Grow Together

ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่ 19 กันยายน 2024

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

 

เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน หลัง Fed ลดดอกเบี้ย 0.50%

Finnomena Funds

เช้าวันนี้ (19 กันยายน 2024) ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ปรับตัวเพิ่มขึ้น +2.5% และดัชนีหุ้นจีน H-Share (HSCEI) เพิ่มขึ้น +1.1% ด้านตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) และตลาดหุ้นไทย (SET Index) ปรับตัวลดลง -0.29% และ -0.06% ตามลำดับ หลังจากในคืนวันพุธที่ 18 กันยายน 2024 มีการประชุม FOMC โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ระดับ 4.75% – 5.00% เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ในตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้

ขณะที่ผลการคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯในระยะยาว (Dot Plot) แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ Fed ส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.5% ในการประชุมที่เหลือของปี 2024 นอกจากนี้ Fed ได้ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงจาก 2.1% เป็น 2.0% และได้ปรับคาดการณ์อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในปี 2024 เพิ่มขึ้นจาก 4.0% สู่ระดับ 4.4% ในปี 2024

Finnomena Funds มองว่า Fed ปรับทิศทางให้น้ำหนักกับการสนับสนุนตลาดแรงงานหลังจากมีความมั่นใจในเงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวลง ซึ่งเรายังคงมุมมอง Soft Landing ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นกรณีฐาน

เรายังคงแนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นเอเชียอย่าง UOBSA ที่ใช้ AI ร่วมกับผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น สร้างผลตอบแทนระยะยาวโดดเด่นกว่ากองเอเชียอื่น ๆ กองทุนหุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนหุ้นเกาหลี SCBKEQTG ตาม MEVT Call หรือ DAOL-KOREAEQ ตามคำแนะนำ FundTalk Call

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนกันยายน 2024: เพิ่มสัดส่วนกลุ่มรายได้มั่นคง [Consumer Staples]

บลจ.ทิสโก้
TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนกันยายน 2024: ปรับพอร์ตเน้นกลุ่มรายได้มั่นคง [Consumer Staples]

Omakase – 17 Sepember 2024

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนกันยายน 2024
ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่ 17 กันยายน 2024

Outlook

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ -ตลาดแรงงานสหรัฐฯ เริ่มมีความอ่อนไหวมากขึ้นหลังจากตัวเลขอัตราว่างงานเดือน ส.ค.ที่ระดับ 4.2% และมีโอกาสเร่งตัวขึ้นในระยะข้างหน้า ส่งผลให้ตลาดมอง Fed มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยราว 75-100bps ในปี 2024
  • นอกจากนี้ ตลาดเริ่มรับรู้ถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะ Recession ในสหรัฐฯ เนื่องจากตลาดปรับลดคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าลง โดยมองว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (Terminal Rate) ที่ระดับ 2.7% ในช่วง 18 เดือนข้างหน้า ขณะที่ Fed ประเมินอัดราดอกเบี้ยนโยบายเหมาะสมต่อเศรษฐกิจระยะยาวอยู่ที่ 2.8%
  • เศรษฐกิจจีน-ตัวเลขทางเศรษฐกิจจีน อาทิ Industrial Production, Retail Sales, Fixed Asset Investment ปรับชะลอลงอย่างต่อเนื่องและออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด รวมถึงราคาบ้านใหม่ก็ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ซึ่งส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงมากขึ้นที่อาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเดิบโตที่ราว 5% ได้ในปีนี้
  • เศรษฐกิจไทย- เงินเฟ้อไทยเดือนส.ค. 2024 ชะลอตัวลง และใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด โดยตลาดยังคงติดตามผลจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐฯ ที่เตรียมแจกเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ และผู้พิการในช่วงปลายเดือนกันยายน
  • ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวดีขึ้นจากปัจจัยบวกหนุนในประเทศ อาทิ ประเด็นการจัดตั้งรัฐบาล และกองทุนวายุภักษ์ ส่งผลให้ความเสี่ยง downside เริ่มจำกัด

Strategy

  • ตลาดหุ้นโลกยังคงเคลื่อนไหวผันผวน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประเด็น Recession ในสหรัฐฯ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ นลท.เริ่มมีการเปลี่ยนกลุ่มการลงทุน (Sector Rotation) โดยกลุ่มที่ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ Financials, Consumer Staples, และ Real estate
  • เรายังประเมินว่า การคงสัดส่วนการถือกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงในกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลก และ Global REIT
  • โดยเรายังคงเน้นกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นกลุ่ม Quality และ Defensive เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการต้านทานความผันผวนได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ โดยตลาดหุ้นโลกก็ยังมีความไม่แน่นอนและอาจมีความผันผวนมากขึ้น จากประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ใกล้เข้ามาถึง

Portfolio Action

  • ปรับลดน้ำหนักการลงทุนใน TISCO Cloud Computing TCLOUD และเพิ่มน้ำหนักลงทุนไปยัง TISCO Global Consumer Staples TISCOGC โดยเรามองว่า กลุ่ม Global Consumer Staples เป็นกลุ่มบริษัทที่มีรายได้แน่นอน ในช่วงที่ตลาดมีความกังวลกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีโอกาสชะลอตัว ถึงแม้ในกรณี base case เรายังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะ slowdown ไม่ถึงกับภาวะชะลอตัว (recession) ด้าน Valuation ของกลุ่ม Global Consumer Staples ผ่านดัชนี S&P Global 1200 Consumer Staple อยู่ในระดับที่ forward P/E ratio ที่ 20.02x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีด 5 ปีที่ 20.37x ขณะที่คาดการณ์กำไรต่อหุ้น EPS นักวิเคราะห์ยังปรับคาดการณ์เพิ่มขึ้น (ข้อมูล Bloomberg ณ วันที่ 16 ก.ย. 2567)
  • ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า
    TISCOGC

Performance Review

ผลตอบแทนพอร์ดกองทุนนับจากวันที่  20 ส.ค. จนถึง 16 ก.ย. 2024 ปรับเพิ่มขึ้น +0.79% และ นับจากต้นปื +4.98%

ㆍ Contributor:

  • ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุนหุ้นไทย (TISCO Strategic Fund) เป็นกองทนที่หนุนพอร์ตกองทุนมากที่สุด โดยอันดับที่ 2 คือ กองทุนโกลบอล รีท (TISCO Global REIT) และอันดับที่ 3 คือ กองทุนตราสารหนี้โลก (TISCO Global Bond)

ㆍDetractor:

  • สำหรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุน TISCO Emerging Market ex China ปรับลงมากที่สุด โดยได้รับแรกดดันจากการปรับตัวลดลงของหุ้นกลุ่ม Semiconductor ตามทิศทางของราคาหุ้น Nvidia

บลจ. ทิสโก้


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปใจความสำคัญ Fed ลดดอกเบี้ย 0.5% ย้ำไม่เกิด Recession

Finnomena Editor
Fed Cut Rate

1. คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% เป็น 4.75% – 5.0% ถือเป็นการลดครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี

2. Dot plot คาดการณ์ว่าจะลดดอกเบี้ยได้อีก 0.5% ภายในสิ้นปีนี้ และลดอีก 1% ในปี 2025

3. Fed แสดงความมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 2%

4. เป้าหมายสำคัญคือต้องการทำให้ความเสี่ยงต่อเป้าหมายการจ้างงานและเงินเฟ้ออยู่ในจุดสมดุล

5. ยอมรับว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัว จึงปรับคาดการณ์อัตราว่างงานปีนี้ขึ้นเป็น 4.4% จาก 4.0%

6. ปรับคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ปีนี้ลงมาเป็น 2% จากก่อนหน้านี้ที่ 2.1%

7. ย้ำว่าการลดดอกเบี้ย 0.5% เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิด Soft Landing ไม่ได้เป็นการ Behind The Curve

8. Jerome Powell แสดงความมั่นใจว่าไม่กลัว Recession บอกว่ายังไม่เห็นสัญญาณใด ๆ ในขณะนี้ที่บ่งชี้ เพราะอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง เงินเฟ้อก็กำลังลดลง ส่วนตลาดแรงงานแม้จะชะลอแต่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก

9. แต่มีตอบคำถามเรื่อง Nonfarm Payroll ว่ากังวลที่เห็นตัวเลขอยู่สูงเกินจริง เพราะมีการ revise down ตัวเลขลงเดือนละ 67,000 ตำแหน่ง

10. หุ้นสหรัฐฯ S&P500 พุ่งทำ All Time High ในช่วงต้นของการประชุม Fed แต่ค่อย ๆ ปรับตัวลงหลัง Jerome Powell เริ่มแถลงต่อสื่อมวลชน

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 – 20 September 2024

Merkle Capital
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

Key Takeaways

  • Core Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะลดลงเพียงเล็กน้อย
  • Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะลดลง
  • FED Interest Rate Decision มีแนวโน้มที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยลดลง
  • Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะลดลงเล็กน้อย

WEEKLY TONE: MONITOR WEEK

ด้วยสัปดาห์นี้ของเดือนกันยายนนั้น มีตัวชี้วัดที่สำคัญอย่าง Core Retail Sales และ Retail Sales ออกมา และมีแนวโน้มว่าทั้งสองตัวชี้วัดจะลดลง อีกทั้งยังมี FED Interest Rate Decision ที่ FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกด้วย แต่ FED จะเลือกปรับลงที่ 25 BPS หรือ 50 BPS และมีโอกาสมากกว่า 50% ที่ FED จะปรับลดลง 50 BPS และอาจทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงได้รับผลกระทบเชิงลบอีกด้วย ฉะนั้นสัปดาห์นี้ควรรอดูตลาดคริปโทฯ เพื่อดูราคาให้ทำการลงทุนในสัปดาห์ถัด ๆ ไป


Important Economic Data this week

1. Core Retail Sales MoM

Core Retail Sales MoM หรือ ดัชนียอดค้าปลีก เป็นการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายอดขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญมากที่สุดที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับ Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 0.4% เหลือ 0.3%

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/retail-sales-ex-gas-and-autos-mom

ตีความอย่างไรต่อตลาด

การที่มีแนวโน้มลดลงของ Core Retail Sales เพียงเล็กน้อย หรือมีแนวโน้มที่จะลดลงเพียง 0.1% อาจสามารถเป็นสัญญาณของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และหาก Core Retail Sales ลดลงจะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงในเชิงลบเนื่องจากนักลงทุนจะไม่หลีกเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงและจะไปถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากกว่า

2. FED Interest Rate Decision

Federal Reserve (FED) หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ จะมีการตัดสินใจในการเพิ่มลดหรือคงอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมครั้งที่จะถึงนี้

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: FED มีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 5.00% – 5.25%

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/interest-rate

ตีความอย่างไรต่อตลาด

การที่ FED จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอนในการประชุมครั้งถัดไป แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีโอกาสที่ FED จะลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 4.75% – 5.00% หมายความลดครั้งละ 50 BPS และถ้าหากลดครั้งละ 50 BPS อาจส่งผลให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงมีแรงตอบโต้ในทางลบ เนื่องด้วยนักลงทุนอาจกลัวที่จะเข้าสู่สภาวะตลาดถดถอยหรือ Recession

3. Unemployment Claims

Initial Jobless Claims หรือ Unemployment Claims คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าใช้จ่ายของรัฐได้ชัดกว่าอัตราการว่างงาน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงขึ้นนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หรือ Government Expenditure ถูกใช้ไปในการช่วยเหลือกลุ่มคนว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว และยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศอีกด้วย โดยตัวเลขนี้จะมีประกาศทุก ๆ วันพฤหัสบดี

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 230K เป็น 234K

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/jobless-claims

ตีความอย่างไรต่อตลาด

การที่มีแนวโน้มว่า Unemployment Claims จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีผลกระทบที่แน่ชัดต่อตลาด แต่อย่างไรก็ตาม ทุก ๆ ตัวชี้วัดนั้นจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ย และการที่ Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นนั้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่กำลังจะชะลอ นักลงทุนที่มีความกังวลในการลงทุนก็อาจมีการปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า


CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK

Credit from Coindar

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

16 กันยายน

  • $BOBA – อัปเกรด Hard fork

18 กันยายน

  • U.S. Fed interest rate decision
  • $MKR, $DAI – อัปเกรดเป็น $SKY และ $USDS ตามลำดับ

19 กันยายน

  • $PIXEL – ปลดล็อกเหรียญ 7.05% ของอุปทานหมุนเวียน

20 กันยายน

  • $DUSK – เปิดตัว Mainnet
  • $SOL – งาน Solana Breakpoint 2024

Weekly Crypto Must Watch

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap

ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังค่อนข้างต่ำ หลายเหรียญมี Funding rate ติดลบ แสดงถึงตลาดที่นักลงทุนต่างพากันลดความเสี่ยง นักลงทุนมีมุมมองเชิงลบต่อตลาด และทำการเปิดสถานะชอร์ตมากกว่าสถานะลอง

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap

ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง แสดงให้เห็นถึงการลดความเสี่ยงของนักลงทุนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ มาจากการที่นักลงทุนรอดู Reaction ของตลาดต่อการประกาศนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในสัปดาห์นี้ และต่อด้วยการประกาศนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ BoJ ทำให้ตลาดเกิดความกังวลเรื่อง Unwind Yen carry trade อีกครั้ง

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://farside.co.uk/?p=997

ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 403.9 ล้านเหรียญ ถึงแม้ว่าจะเป็นสัปดาห์ที่มีแรงซื้อสุทธิเป็นบวก แต่ก็ยังไม่สามารถหักล้างกับแรงเทขายในช่วงสองสัปดาห์ก่อนได้ บ่งบอกถึงแรงเทขายที่ผ่อนลงในระยะสั้น แต่นักลงทุนสถาบันยังคงจับตามองเศรษฐกิจภาพรวมมากกว่า

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://farside.co.uk/?p=1518

ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 12.9 ล้านเหรียญ ซึ่งยังคงเป็นแรงเทขายจาก ETHE เป็นหลัก ประกอบกับแรงซื้อจากเจ้าอื่นที่มีเข้ามาเพียงเล็กน้อย ทำให้ภาพรวมยังคงดูแย่สำหรับ Ethereum

Institutional Investors Analysis

หลังจากการอนุมัติของ SEC ทั้ง Spot Bitcoin และ Ethereum ETF ทำให้นักลงทุนสถาบันกลายมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่สำคัญในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี และเปลี่ยนโครงสร้างตลาดจากที่ครองโดยนักลงทุนรายย่อยมาเป็นนักลงทุนสถาบันแทน ทำให้การจับตามองยอดเงินเข้าออกสำคัญต่อทิศทางตลาดมาก

เนื่องจากปัจจัยทางด้าน Macroeconomics สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน ส่งผลให้เกิดการลดความเสี่ยงอย่างเห็นได้ชัด โดยตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ได้มียอดไหลออกจาก Spot Bitcoin และ Ethereum ETF กว่า 302.2 ล้านเหรียญ และ 104 ล้านเหรียญตามลำดับ

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-37-2024/

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-37-2024/

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ยอดการไหลเข้าของ Spot ETF ทั้งสองลดลงนั้น มาจากการลดลงของ CME Basis หรือความต่างระหว่างราคา Futures และราคา Spot นั่นเอง โดยปัจจุบันมีการตกลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเลยทีเดียว เมื่อช่องว่างในการทำกำไรจากการ Arbitrage ของนักลงทุนสถาบันลดลง ทำให้ไม่มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีมากเท่าช่วงต้นปี 2024

นอกจากนี้ CME Basis อาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ Ethereum underperform ตลาด เนื่องจาก CME Basis ของ Ethereum นั้นต่ำกว่า Bitcoin ซึ่งหมายความว่า โอกาสในการทำกำไรจากส่วนต่างราคาก็น้อยลงไปด้วยนั่นเอง ปัจจัยนี้ทำให้ Spot Ethereum ETF ดูน่าดึงดูดน้อยลงไปอีก

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

Source : https://www.coinbase.com/institutional/research-insights/research/weekly-market-commentary/weekly-2024-09-13


WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS

by Cryptomind Advisory

BTC/USDT

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

$BTC สัปดาห์ที่ผ่านมามีการ Rebound ขึ้นมาถึงบริเวณแนวต้าน $60,000 – $61,000 ซึ่งในระยะสั้นแล้วหากราคายืนอยู่เหนือแนวดังกล่าวได้จะเป็นการกลับตัวของ Momentum ราคาเป็นขาขึ้นของ $BTC อย่างไรก็ตามจากการย่อตัวของราคาที่ลงมาหลังจากชนแนวต้าน แสดงถึงความไม่แน่นอนที่มากของตลาด ทำให้มีโอกาสให้ช่วงสัปดาห์ข้างหน้า $BTC อาจมีการ Sideway Down ออกไปก่อนอยู่ในชุดสะสม Descending Triangle เพื่อรอการ Breakout ต่อไป

แนวต้าน : $61,000 | $67,000 | $73,500

แนวรับ : $53,500 | $48,000 | $44,000

ETH/USDT

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 16 - 20 September 2024

$ETH สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่สามารถยืนราคาเหนือแนวต้าน $2,400 ได้ทำให้ราคามีการเคลื่อนที่ Sideway Down ต่อไปในช่วงข้างหน้า โดยแนวรับสำคัญที่น่าจับตามองยังคงอยู่ที่บริเวณราคา $2,100 ซึ่งอาจเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของราคา $ETH โดยหากราคานั้นรับอยู่ก็อาจเป็นจุดกลับตัว แต่หากมีการหลุดแนวรับดังกล่าวลงไปมีโอกาสลงต่อไปยังแนวรับบริเวณ $1,850 ได้เช่นกัน

แนวต้าน : $2,400 | $2,870 | $3,350

แนวรับ : $2,125 | $1,870 | $1,550


ASSET ALLOCATION

by Cryptomind Advisory

“มีความเป็นไปได้สูง” ของการลดดอกเบี้ยของ FED จะมาถึงในเดือนกันยายน และ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และการมาของ Ethereum spot ETF และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ ในสหรัฐฯ ในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

BITCOIN 40%
SELECTIVE ALTCOINS (ETH, LAYER 2 ,LSD) 40%
STABLECOIN 20%

Merkle Capital

ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-16th-20th-September-2024


คำเตือน

สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

Fed ลดดอกเบี้ยแน่ ๆ แต่… Sector ไหนคือของดี Sector ไหน Underperform

Finnomena Editor

ตอนนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกกำลังจับตาการเคลื่อนไหวของ Fed อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการคาดการณ์ว่า Fed จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ ในตลาดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

แต่จะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มไหนบ้าง? แล้วหุ้นกลุ่มไหนที่อาจจะ Underperform? เราไปดูกัน

จับตา Fed จะลดดอกเบี้ยกี่ครั้ง?

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 16/09/2024

ตลาด (Fed Fund Futures) คาดว่า Fed จะทำการลดดอกเบี้ยถึง 5 ครั้ง ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (Economist Consensus) คาดว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยประมาณ 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งอาจลดลง 0.25% ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงประมาณ 0.75-1% ภายในสิ้นปี

ทั้งนี้ ตลาดอาจมองว่าการปรับลดดอกเบี้ยที่ผ่านมาของ Fed ยังช้าเกินไป หากไม่เร่งลดดอกเบี้ยเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะ Recession ได้ จึงมองว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งในปีนี้

โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอ การลดดอกเบี้ยเพียง 3 ครั้งอาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิด Recession

ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะเกิด Hard Landing

Source: Finnomena Funds, Macrobond, S&P Global, Federal Reserve Bank of New York | Data as of 16-Sep-2024

จากกราฟที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed (เส้นสีดำ) และดัชนี S&P 500 (เส้นสีเทา) พบว่าหลายครั้งที่ Fed ลดดอกเบี้ย ดัชนีหุ้นก็มักจะปรับตัวลดลงตาม และอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (แสดงด้วยแถบสีเหลือง)

อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่การลดดอกเบี้ยของ Fed ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง แต่ค่อย ๆ ชะลอตัวลง หรือที่เรียกว่า Soft Landing

Fed ลดดอกเบี้ย S&P 500 ไปทางไหน?

Source: Finnomena Funds, Macrobond, S&P Global | Data as of 16-Sep-2024

กราฟที่นำเสนอนี้แสดงให้เห็นถึง 3 สถานการณ์ที่แตกต่างกันเมื่อ Fed ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1990 ดังนี้

  • เส้นสีเขียว แสดงถึงสถานการณ์ที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจาก Fed ลดดอกเบี้ยและเศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย 
  • เส้นสีแดง แสดงถึงสถานการณ์ตรงกันข้าม คือดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลงและเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยหลังจาก Fed ลดดอกเบี้ย 
  • เส้นสีดำ เป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่แสดงแนวโน้มโดยรวมของดัชนี S&P 500 ในสถานการณ์ต่าง ๆ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีทั้งปีที่ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยแล้วนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) เช่น ในปี 1990, 2001, 2002, 2007, 2008 และ 2020 แต่ก็มีปีที่ Fed ลดดอกเบี้ยแล้วเศรษฐกิจไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย เช่น ในปี 1995, 1998 และ 2019

ลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง หุ้นสหรัฐฯ เป็นอย่างไรบ้าง

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 06/09/2024

ภาพตารางที่แสดงอยู่นี้เปรียบเทียบผลตอบแทนในอดีตที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละภาคส่วนทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 4 วัฏจักรที่ Fed ได้ดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ย 

โดยในแต่ละวัฏจักรจะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ช่วงเวลาหลัก ได้แก่ ช่วงก่อนการลดดอกเบี้ย 1 ปี ช่วงระหว่างการลดดอกเบี้ย และช่วง 1 ปีหลังจากการลดดอกเบี้ยสิ้นสุดลง เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายการเงินของ Fed ที่มีต่อผลตอบแทนของแต่ละภาคส่วน

ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิด Soft Landing หุ้นส่วนใหญ่มักจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่หากเศรษฐกิจเกิด Hard Landing หุ้นส่วนใหญ่มักจะให้ผลตอบแทนเป็นลบ

ก่อนลดดอกเบี้ย

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 06/09/2024

จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลตอบแทนของหุ้นสหรัฐฯ ในอดีต พบว่าก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย 1 ปี หุ้นในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี (IT) มักมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นในช่วงวิกฤตฟองสบู่ดอทคอม (ปี 2000-2001) ซึ่งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากปัจจัยพื้นฐาน

ระหว่างลดดอกเบี้ย

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 06/09/2024

ในขณะที่เมื่อพิจารณาผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นแต่ละภาคส่วนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยลดลง จะพบว่าในช่วงที่เศรษฐกิจปรับตัวลงแบบ Soft Landing (แสดงด้วยสีดำ) หุ้นส่วนใหญ่มักให้ผลตอบแทนเป็นบวก 

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 06/09/2024

ตารางนี้แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นขาลง โดยแบ่งประเภทของภาวะเศรษฐกิจหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกเป็น 3 แบบ คือ

  • Average All Periods: ผลตอบแทนเฉลี่ยของทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
  • Average Soft Landing: ผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงที่เศรษฐกิจเกิด Soft Landing หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • Average Hard Landing: ผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงที่เศรษฐกิจ Hard Landing หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

โดยจากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด เราสามารถวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะ Outperform และ Underperform ตลาดในภาวะดอกเบี้ยขาลงได้ ดังนี้

กลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจ Outperform ตลาดในช่วงดอกเบี้ยขาลง

1. กลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) 

หุ้นกลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มีโอกาส Outperform ตลาด เนื่องจากเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้ความต้องการใช้บริการสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปาและไฟฟ้า มีความสม่ำเสมอไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือแย่

จากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2019 พบว่าหุ้นกลุ่ม Utilities แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีในหลายสภาวะ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะออกมา Soft Landing หรือ Hard Landing 

อีกหนึ่งความน่าสนใจคือในปัจจุบันหุ้นกลุ่ม Health Care บางบริษัทเช่น Eli Lilly มักจะมี P/E Ratio ที่สูง ทำให้หุ้นกลุ่ม Utilities ถูกมองว่าอาจจะมีความ Defensive โดยธรรมชาติมากกว่ากลุ่ม Health Care

2. กลุ่มบริการสุขภาพ (Health Care) 

หุ้นกลุ่มบริการสุขภาพ (Health Care) ถือเป็น Defensive Stock เนื่องจากความต้องการด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทในกลุ่มนี้มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ 

แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ผู้คนก็ยังคงต้องใช้บริการทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้หุ้น Health Care มักจะทำผลงานได้ดีกว่าตลาดเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี

ข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่าหุ้นกลุ่ม Health Care มักมีผลตอบแทนเหนือกว่าตลาดโดยเฉลี่ยในหลากหลายสภาวะเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง (Soft Landing) และแม้ในกรณีที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง (Hard Landing) หุ้นกลุ่ม Healthcare ก็ยังสามารถรักษาผลขาดทุนให้น้อยกว่าตลาดโดยรวมได้

กลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจ Underperform ตลาดในช่วงดอกเบี้ยขาลง

1. กลุ่มพลังงาน (Energy)

แม้ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานจะเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ แต่ก็มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอก ทำให้ในช่วงที่ดอกเบี้ยเป็นขาลง ซึ่งมักบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวหรืออยู่ในภาวะถดถอย ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนอาจลดลงตามไปด้วย

2. กลุ่มเทคโนโลยี (IT)

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ธุรกิจอาจชะลอการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ผู้บริโภคอาจลดการใช้จ่ายในสินค้าที่ไม่จำเป็น เช่น สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ยอดขายและการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีชะลอตัวลง

นอกจากนี้ หุ้นเทคโนโลยีหลายบริษัทมักมีอัตราส่วน P/E Ratio ที่สูง สะท้อนถึงความคาดหวังของนักลงทุนต่อการเติบโตในอนาคตที่สูงมาก เมื่อเศรษฐกิจถดถอยและการเติบโตชะลอตัว นักลงทุนอาจปรับลดการประเมินมูลค่าของหุ้นกลุ่มนี้ ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลงมากกว่ากลุ่มอื่น

แนะนำกองทุนที่ลงทุนในกลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities)

สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนในกลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) หรือโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก (Global Infrastructure) ซึ่งเป็น Sector ที่น่าสนใจที่สุดในช่วงเวลาแห่งการลดดอกเบี้ย 

Finnomena Funds แนะนำกองทุน KKP GINFRAEQ-H โดยเป็นคำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ FundTalk Contrarian Call ที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ดี ราคาถูก มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว

KKP GINFRAEQ-H เป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก (Global Infrastructure) ที่มีรายได้มั่นคงปรับขึ้นตามเงินเฟ้อ และเน้นเพียง 25-50 บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไร และกิจการมีลักษณะผูกขาด 


ที่มา: Finnomena Live

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

บลจ.ทาลิส : โครงการส่งเสริมการขายโค้งสุดท้ายส่งท้ายปี 2567 ลงทุนในกองทุน SSF/RMF/ThaiESG

Finnomena Editor

บลจ.ทาลิสขอเรียนแจ้งโครงการส่งเสริมการขาย โค้งสุดท้ายส่งท้ายปี 2567 ลงทุนในกองทุนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF/ThaiESGระหว่างวันที่ 23 กันยายน – 30 ธันวาคม 2567 โดยยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิ ทุกๆ 25,000 บาท และถือครองจนถึง 31 มีนาคม 2568 จะได้รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิด TLMMF-A มูลค่า 0.2%ของยอดเงินลงทุนสะสมสุทธิ สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

กองทุนที่ร่วมรายการกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ทุกกองทุนของ บลจ.ทาลิส (ยกเว้นกองทุน TLMMRMF และ TLMMF-SSF)

 


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

Goldman Sachs ย้ำมุมมองบวกต่อ “ทองคำ” ชี้เป้าราคาที่ $2,700 ภายในต้นปี 2025 ท่ามกลางความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด

Finnomena Editor
Goldman Sachs ย้ำมุมมองบวกต่อ “ทองคำ” ชี้เป้าราคาที่ $2,700 ภายในต้นปี 2025 ท่ามกลางความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ได้ย้ำมุมมองเชิงบวกต่อราคาทองคำอีกครั้ง โดยอ้างถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลก และการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในการประชุมนโยบายทางการเงินในวันพุธนี้ ราคาทองคำได้พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,589.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและความเป็นไปได้ของการปรับลดดอกเบี้ยครั้งใหญ่โดยเฟด

เครื่องมือ FedWatch ของ CME บ่งชี้ว่าปัจจุบันนักลงทุนคาดว่ามีโอกาส 33% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 กันยายนนี้ และมีโอกาส 67% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50%

โกลด์แมน แซคส์ระบุในรายงานว่า แม้ว่าจะมีแนวโน้มการปรับตัวลดลงของราคาทองคำในระยะสั้นภายใต้สถานการณ์พื้นฐานที่คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในวันพุธนี้ แต่บริษัทฯ ยังคงยืนยันคำแนะนำให้ถือครองทองคำในระยะยาว โดยตั้งเป้าราคาทองคำที่ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ภายในต้นปี 2025

นอกจากนี้ โกลด์แมน แซคส์ยังตั้งข้อสังเกตว่าความต้องการทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นจากธนาคารกลางทั่วโลกทำให้ความสัมพันธ์ในระดับราคาปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาทองคำ

โกลด์แมน แซคส์ยังชี้ให้เห็นว่ากองทุน ETF ที่มีทองคำเป็นสินทรัพย์อ้างอิงกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลดลง

ที่มา: https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=ZWxXdHZGVTVCam89

กองทุนทองคำแนะนำโดย Finnomena Funds

  • MEVT Call แนะนำสะสมทองคำผ่านกองทุนKT-GOLDUH-Aเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางยาว (6-12 เดือนข้างหน้า)
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Gold Trust เป็นกองทุนหลัก มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
  • ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
  • ดูรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/KT-GOLDUH-A

 

อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomenafunds/mevt-call-gold-jul-2024/


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 . ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ “ชมรมหุ้นกู้” ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

Finnomena
ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ "ชมรมหุ้นกู้" ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!

ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena

สรุปกองทุนแนะนำ: โอกาสเก็บสะสม เมื่อจุดต่ำสุดผ่านพ้นเราไปแล้ว [อัปเดต 17 ก.ย. 2024]

Finnomena Funds
สรุปกองทุนแนะนำ โอกาสเก็บสะสม เมื่อจุดต่ำสุดผ่านพ้นเราไปแล้ว

Finnomena Funds มองตลาดหุ้นผ่านพ้นช่วง Bottom Out ที่จุดต่ำสุดของราคาอยู่ข้างหลังเราแล้ว และกำลังค่อย ๆ ฟื้นสู่จุดปกติ พร้อมรับโอกาสเมื่อ Fed ปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก

Highlight


สรุปกองทุนแนะนำ

อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 17 กันยายน 2024 โดย Finnomena Funds

สัปดาห์นี้โลกการลงทุนกำลังจะมีจุดเปลี่ยนสำคัญ นั่นคือการ Countdown ปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกของ Fed ซึ่งน่าจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกมากทีเดียว แม้ช่วงที่ผ่านมา ตลาดได้ Price in ความคาดหวังเรื่องลดดอกเบี้ยไปเต็มที่แล้วก็ตาม

แต่สิ่งที่สำคัญกว่าของการประชุม FOMC วันที่ 17-18 กันยายนนี้ ก็คือมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งเราเชื่อว่าจะไม่ใช่ภาพของการมุ่งสู่ Recession อย่างที่ตลาดเคยหวาดกลัว และคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 5.00% – 5.25% โดยมาจากเหตุผลหลักของเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงเข้าใกล้เป้าหมาย 2%

ดังนั้น จึงมองว่าตลาดหุ้นจะเริ่มมีการฟื้นตัวอีกครั้ง ในขณะที่สัญญาณทางเทคนิคยังบ่งชี้ว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว ตลาดกำลังเดินออกจาก Recession Fears และนี่คือสินทรัพย์ที่เรามองว่ายังมีโอกาสให้เข้าเก็บสะสม


มุมมองการลงทุน FundTalk Call

โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

กองทุนแนะนำ FundTalk

1.) MEGA10AI-A

กองทุนที่ลงทุนใน 10 หุ้น Big Tech AI เน้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งแนวโน้มกำไรยังคงแข็งแกร่ง โดยเริ่มฟื้นตัวขึ้นตัวตามดัชนี Nasdaq แต่ยังเหลืออัพไซด์ให้วิ่งต่อได้อีกประมาณ 8%

2.) B-INNOTECH

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี เน้นคัดกลุ่ม High Quality Growth ที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง โดยยึดหลักการลงทุนสไตล์ Contrarian เชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ถดถอย และหนุน Sector Technology เริ่มกลับมา Outperform อีกครั้ง

3.) DAOL-KOREAEQ

กองทุนหุ้นเกาหลีใต้แบบ Active Fund ซึ่งปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง ในขณะที่ Valuation ถูกกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต ล่าสุดราคารีบาวด์ตามหุ้นเทคโนโลยี Nasdaq และหุ้นญี่ปุ่น Nikkei

มุมมองการลงทุน Mr.Messenger Call

โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

กองทุนแนะนำ Mr.Messenger

1.) SCBSEMI(A)

กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มองเป็นจังหวะถัวเพิ่ม แม้ราคาจะปรับฐานลงมาเยอะ แต่หากเชื่อว่าจะไม่เกิด Recession ก็มีโอกาสที่หุ้นกลุ่มนี้จะรีบาวด์ได้แรงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

2.) ASP-DIGIBLOC

กองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบล็อกเชนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นช่วงที่ราคาปรับฐานลงมาแรง แต่สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ว่าจุดต่ำสุดของดัชนีได้ผ่านพ้นไปแล้ว 

3.) UOBSC

กองทุนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเน้นลงทุนในทองคำ น้ำมัน และสินค้าทางการเกษตร โดยเกิดสัญญาณซื้อทางเทคนิค พร้อมทั้งราคามีโมเมนตัมเชิงบวกจากการวิ่งขึ้นแรงของราคาทองคำโลก

มุมมองการลงทุน MEVT Call

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis

กองทุนแนะนำ MEVT

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและโดดเด่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อีกทั้งยังมี Catalyst จากการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีหน้า

2.) SCBKEQTG

กองทุนดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ ยังเป็นโอกาสทยอยสะสม โดยมองว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ในจังหวะสองของกระแส AI อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากพัฒนาการที่ชัดเจนของโครงการ Value-up Program เพื่อส่งเสริมมูลค่าตลาดหุ้น

3.) UOBSA

กองทุนหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) เหมาะกับการลงทุนกระจายความเสี่ยงในภูมิภาคเอเชีย ด้วยกลยุทธ์การลงทุนที่มีความยืดหยุ่น และปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาด ซึ่งการปรับตัวลดลงของกองทุนเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่ารุนแรง

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เจาะลึกทุกแง่มุมของกองทุนวายุภักษ์ อีกหนึ่งความหวังในการชุบชีวิตตลาดหุ้นไทย

Finnomena Editor

Highlight


‘กองทุนวายุภักษ์’ กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในวงการลงทุนไทย ด้วยโอกาสได้รับผลตอบแทนที่น่าสนใจและความเสี่ยงที่ดูเหมือนจะควบคุมได้ ทำให้กองทุนนี้กลายเป็นที่จับตามองของทั้งมือใหม่และนักลงทุนที่มีประสบการณ์ 

วันนี้ Finnomena Funds จะพาทุกคนไปเจาะลึกทุกแง่มุมของกองทุนวายุภักษ์ ตั้งแต่ผลตอบแทนคาดหวังที่น่าสนใจ ไปจนถึงกลไกการบริหารความเสี่ยงที่หลายคนสงสัย เพื่อให้เราตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจ

รูปแบบและโครงสร้างกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง | ที่มา: กระทรวงการคลัง

ทำความรู้จัก ‘กองทุนวายุภักษ์’ ที่กำลังมาแรง

“กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง” เป็นกองทุนรวมพิเศษที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มีจุดประสงค์เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว ส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและตลาดทุน พร้อมทั้งเพิ่มทางเลือกในการออมและลงทุนให้กับประชาชน

โดยแบ่งผู้ถือหน่วยลงทุนเป็น 2 ประเภท คือ

  • ประเภท ก. สำหรับนักลงทุนทั่วไป
  • ประเภท ข. สำหรับกระทรวงการคลังและนักลงทุนภาครัฐ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนประเภท ก. ทั้งหมด และแปรสภาพเป็นกองทุนรวมเปิด เหลือเพียงผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. เท่านั้น

ปัจจุบันกองทุนวายุภักษ์กำลังจะเปิดให้ผู้ลงทุนรายย่อยจองซื้อหน่วยลงทุนประเภท ก. อีกครั้ง ในวันที่ 16 – 20 กันยายนนี้ ที่ราคาหน่วยละ 10 บาท เริ่มต้นที่ 1,000 หน่วย หรือเท่ากับ 10,000 บาท และเพิ่มขึ้นครั้งละ 100 หน่วย หรือ 1,000 บาท

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนรายย่อยจะได้รับการจัดสรรด้วยวิธี Small Lot First หรือก็คือผู้ที่จองซื้อด้วยจำนวนน้อยกว่าจะได้รับการจัดสรรก่อน เพื่อกระจายหน่วยลงทุนอย่างเท่าเทียม 

มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก

ผลตอบแทนประจำปีของกองทุนจะจ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ในรูปแบบ ‘เงินปันผล’ ตามผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง มีโอกาสรับผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 3% ต่อปี และ ไม่เกินกว่า 9% ต่อปี ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นอัตราคงที่ 10 ปี โดยเงินปันผลจะต้องเสียภาษี 10% ไม่มีข้อยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (กองทุนรวมนี้ไม่ใช่กองทุนรวมมีประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน)

ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะมีโอกาสได้รับเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คำนวณจากมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ของหน่วยลงทุนประเภท ก. ที่ 10 บาทต่อหน่วย ซึ่งครั้งแรกจะมีโอกาสจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำ 3% ส่วนครั้งที่ 2 จะมีโอกาสจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำ 3% รวมกับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (ถ้ามี)

ตัวอย่าง: หากเราลงทุน 10,000 บาทในกองทุนวายุภักษ์ และกองทุนมีกำไร 3% ตามที่กำหนด (ผลตอบแทนขั้นต่ำ) เราจะมีโอกาสได้รับเงินปันผลกลางปี 135 บาท และสิ้นปีอีก 135 บาท รวมเป็น 270 บาทต่อปี (300 บาท หักภาษี 10%) ตลอดระยะเวลา 10 ปี 

หมายความว่าหากเราถือหน่วยลงทุนครบ 10 ปี เราจะได้รับผลเงินปันผลทั้งหมด 2,700 บาท แถมยังได้รับเงินลงทุนตั้งต้นคืนเต็มจำนวนอีกด้วย

ผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ | ที่มา: กระทรวงการคลัง

ทำไมถึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนขั้นต่ำได้

กองทุนรวมวายุภักษ์มีโอกาสกำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำได้ด้วยการออกแบบโครงสร้างการลงทุนแบบ 2 ชั้น ดังนี้

– ชั้นแรกคือผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ซึ่งเป็นนักลงทุนรายย่อย จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนขั้นต่ำ 3% ต่อปี และสูงสุดไม่เกิน 9% ต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานจริงของกองทุน

– ชั้นที่ 2 คือผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ซึ่งเป็นนักลงทุนภาครัฐและกระทรวงการคลัง จะมีบทบาทสำคัญในการรองรับความผันผวนของกองทุนโดยผู้ถือหน่วยประเภท ข. จะได้รับผลตอบแทนส่วนที่เหลือจากการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ซึ่งอาจหมายถึงการรับภาระขาดทุนในกรณีที่ผลตอบแทนรวมต่ำกว่า 3% แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า 9% หากกองทุนทำผลงานได้ดีเกินคาด

กลไกนี้ช่วยกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทน ทำให้กองทุนสามารถคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยจากความผันผวน ขณะเดียวกันก็ดึงดูดนักลงทุนภาครัฐและกระทรวงการคลังด้วยโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่กองทุนมีโอกาสกำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำให้กับนักลงทุนรายย่อยได้

กลไกบริหารความเสี่ยงของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง | ที่มา: กระทรวงการคลัง

กลไกบริหารความเสี่ยง

ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. มีโอกาสจะได้รับการคุ้มครองในกรณีที่กองทุนมีมูลค่าลดลง ตามแนวทางการชำระคืนเงินลงทุนแบบ Waterfall โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะมีโอกาสได้รับคืนเงินลงทุนก่อนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ที่มูลค่าเงินลงทุนเริ่มต้น 10 บาทต่อหน่วย 

ทั้งนี้ กองทุนมีกลไกการบริหารความเสี่ยง โดยใช้ตัวชี้วัดที่เรียกว่า ACR (Asset Coverage Ratio) ซึ่งเปรียบเสมือนตัวบอกว่ากองทุนมีเงินสำรองเพียงพอที่จะจ่ายเงินคืนให้เราหรือไม่ 

โดยจากข้อมูล NAV รวมของกองทุน ณ วันที่ 6 กันยายน 2567 และในกรณีที่เสนอขายหน่วยลงทุนประเภท ก. เป็นมูลค่ารวม 150,000 ล้านบาท ACR จะอยู่ที่ประมาณ 3.36 เท่า 

ซึ่งหาก ACR ลดลงต่ำกว่า 2 เท่า ติดต่อกัน 5 วันทำการ บริษัทจัดการจะเพิ่มสัดส่วนของสินทรัพย์สภาพคล่อง หรือกันส่วนสำรองเพื่อการจ่ายเงินปันผลให้เพียงพอ ต่อการจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี 

และหาก ACR ลดลงต่ำกว่า 1.5 เท่า ติดต่อกัน 5 วันทำการ บริษัทจัดการอาจพิจารณาเปลี่ยนสินทรัพย์ลงทุนให้เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง จำนวนไม่น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มต้นของหน่วยลงทุนประเภท ก. ภายในระยะเวลา 90 วัน 

จากนั้นจะนำมาเก็บไว้เป็นเงินสำรองสำหรับชำระคืนเงินลงทุนของหน่วยลงทุนประเภท ก. โดยจะทยอยเปลี่ยนสินทรัพย์เพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ทั้งหมดหรือบางส่วน

ดังนั้น จึงเปรียบเสมือนว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับความคุ้มครองจากกลไกการบริหารความเสี่ยงก่อนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และเพื่อตอบแทนการให้ความคุ้มครองตามกลไกบริหารความเสี่ยงดังกล่าว ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. จะได้รับเงินปันผลหรือสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ โดยคำนวณจากส่วนที่เกินกว่า NAV เริ่มต้นของหน่วยลงทุนประเภท ข. (กองทุนรวมนี้ไม่ใช่กองทุนรวมมีประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน)

นโยบายการลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง | ที่มา: กระทรวงการคลัง

‘วายุภักษ์’ ลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง

กองทุนวายุภักษ์มีนโยบายลงทุนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 

  1. หลักทรัพย์สภาพคล่อง เช่น ตราสารภาครัฐ ตราสารหนี้ระยะสั้น และเงินฝาก
  2. หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. และหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 

กองทุนมีการบริหารทั้งแบบเชิงรุก (Active Investment) และแบบเชิงรับ (Passive Investment) ส่วนใหญ่ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคงในระยะยาว ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี

เช่น บริษัทที่อยู่ใน SET100 ซึ่งได้รับคะแนน SET ESG Ratings ระดับ A ขึ้นไป หรือบริษัทนอก SET100 ที่ได้รับคะแนน SET ESG Ratings สูงกว่า เป็นต้น

อีกทั้งอาจพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ที่มีอัตราผลตอบแทนดีหรือมีแนวโน้มเติบโตสูง มีสภาพคล่อง รวมถึงมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน

สัดส่วนการลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง | ที่มา: Settrade | ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567

สัดส่วนการลงทุน 10 อันดับแรก 

*ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 สัดส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลง

  1. หุ้นสามัญในประเทศ 88.49%
  2. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 7.79% 
  3. ตั๋วเงินคลัง และเงินฝากธนาคาร 2.45%
  4. หุ้นกู้ 0.72%
  5. สินทรัพย์ และหนี้สินอื่น ๆ 0.45%
  6. หน่วยลงทุนตราสารทุน 0.53%
  7. พันธบัตรรัฐบาล 0.27%
  8. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 0.18%
  9. ตั๋วแลกเงิน 0.16%
  10. หุ้นบุริมสิทธิ 0.05%
  11. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 0.02% 

Top 5 Holdings | ที่มา: Settrade | ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567

หุ้นที่ ‘วายุภักษ์’ ถือครองมากที่สุด 5 อันดับแรก

*ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 สัดส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลง

  1. ปตท. (PTT) 34.79%
  2. เอสซีบี เอกซ์ (SCB) 25.32%
  3. ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) 5.31%
  4. ธนาคารกรุงไทย (KTB) 3.48%
  5. บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) 2.69%

เปิดโอกาสให้ใครจองซื้อบ้าง

– บุคคลทั่วไป: ผู้ลงทุนรายย่อยชาวไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

– นิติบุคคล: นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือกองทุนส่วนบุคคลของผู้ลงทุนรายย่อยข้างต้น

– สถาบันและนิติบุคคลเฉพาะกลุ่ม: เช่น ธนาคารพาณิชย์, บริษัทประกัน, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม

ระยะเวลาจองซื้อและประกาศผล

– ผู้ลงทุนรายย่อย: 16-20 กันยายน 2567

– ผู้ลงทุนสถาบันและนิติบุคคล: 18-20 กันยายน 2567

– มูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำ: 1,000 หน่วย หรือ 10,000 บาท

– วิธีการจัดสรร: Small Lot First (จองซื้อด้วยจำนวนที่น้อยกว่าจะได้รับการจัดสรรก่อน)

– ประกาศผล: 25 กันยายน 2567

ช่องทางการจองซื้อกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง | Source: กระทรวงการคลัง

‘วายุภักษ์’ อีกหนึ่งความหวังตลาดหุ้นไทย

ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาเผชิญกับความผันผวนและความไม่แน่นอนอย่างมาก การเปิดตัวกองทุนวายุภักษ์จึงถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่ช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นไทยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งได้หรือไม่ ด้วยกลไกการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์และโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจ ทำให้กองทุนนี้กลายเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อย

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สนับสนุนให้กองทุนวายุภักษ์มีความน่าสนใจ ซึ่งดึงดูดให้ทั้งนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อยหันมาสนใจกองทุนวายุภักษ์มากขึ้น ทำให้คาดว่าจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนน้อยลงได้

  1. ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ

ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ นักลงทุนจำนวนมากมองหาช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าเพื่อรักษาและเพิ่มมูลค่าของเงินทุน โดยปัจจุบันค่าเฉลี่ยเงินฝากประจำ 1 ปี จากทุกธนาคารอยู่ที่ประมาณ 1.70% ต่อปี เมื่อเทียบกับโอกาสสร้างผลตอบแทนขั้นต่ำที่ 3% ของกองทุนวายุภักษ์ก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย

  1. แนวโน้มดอกเบี้ยลดลง

ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงไปอีก 

  1. ผลตอบแทนคาดหวังที่น่าสนใจ

โอกาสสร้างผลตอบแทนขั้นต่ำ 3% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป พร้อมด้วยมาตรการคุ้มครองเงินลงทุน ทำให้กองทุนวายุภักษ์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มองหาการลงทุนความเสี่ยงต่ำและมีความมั่นคง

  1. กระตุ้นสภาพคล่องในตลาด

การเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงกองทุนวายุภักษ์ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ตลาดมีความแข็งแรงมากขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติกล้าเข้ามาลงทุนมากยิ่งขึ้น

ความเสี่ยงสำคัญที่จำเป็นต้องรู้

  1. NAV ของหน่วยลงทุนประเภท ก.

คำนวณจากอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับซึ่งจะไม่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ และไม่สูงเกินกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นสูง ดังนั้น NAV ของหน่วยลงทุนประเภท ก. อาจไม่สะท้อนมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม

  1. การรับประกันหรือค้ำประกันเงินลงทุน

กองทุนรวมไม่มีผู้รับประกันหรือค้ำประกันเงินลงทุน หากมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนรวมเข้าไปลงทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ หดตัวลงอย่างรุนแรง อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อ NAV ของกองทุนรวม โดยผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนบางส่วน หรือทั้งหมด 

  1. การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน

และไม่ใช่การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมไม่มีผู้รับประกันหรือค้ำประกันผลตอบแทน โดยในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ส่งผลทำให้กำไรของกองทุนรวมและสำรองเงินปันผลของกองทุนรวมลดลงจนไม่เพียงพอที่จะจ่ายเงินปันผล ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. อาจได้รับเงินปันผลจริงในอัตราที่ต่ำกว่า 3% ต่อปี หรืออาจไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเลย

  1. ความเสี่ยงจากการปิดกองทุนก่อนกำหนด

ในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวลงหรือมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนลดลงอย่างรุนแรง บริษัทจัดการอาจตัดสินใจรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (Auto-Redemption) เพื่อปิดกองทุนก่อนกำหนด ตามราคาที่คำนวณ ณ สิ้นวันที่ทำการรับซื้อคืนดังกล่าว ซึ่งผู้ลงทุนอาจขาดทุนได้

  1. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk) 

สภาวะตลาดของตลาดหุ้นอาจมีความผันผวนได้ตลอดเวลา โดยอาจขึ้นอยู่กับแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ย ความผันผวนของค่าเงิน ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ผลประกอบการของบริษัทผู้ออกตราสาร ปริมาณการซื้อขายหุ้นหรือตราสารหนี้ เป็นต้น ส่งผลให้ราคาหุ้นที่กองทุนรวมได้ลงทุนไว้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตลอดเวลา

  1. ความเสี่ยงจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

หลังจากเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหน่วยลงทุนอาจผันผวนตามแรงซื้อและแรงขายของนักลงทุน ทำให้ราคา NAV ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจแตกต่างจากมูลค่า Par ที่ 10 บาท

  1. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมจะอยู่ในรูปแบบไร้ใบหน่วยลงทุน (Scripless)

โดยผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถร้องขอให้นายทะเบียนออกใบหน่วยลงทุนให้ได้โดยยื่นคำขอออกใบหน่วยลงทุนตามแบบที่นายทะเบียน และ/หรือบริษัทจัดการกำหนด กรณีฝากหน่วยลงทุนไว้กับนายทะเบียน TSD (บัญชี 600) ผู้ลงทุนจะไม่สามารถขายหน่วยลงทุนได้ทันวันแรกที่หน่วยลงทุนประเภท ก. เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้

  1. ระดับความเสี่ยงของหน่วยลงทุน : ระดับ 5 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง)

กองทุนวายุภักษ์เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่ต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ชัดเจน

กองทุนวายุภักษ์ ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างชัดเจน โดยมีการกำหนดโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำไว้ ซึ่งถือว่าสูงกว่าการฝากเงินในธนาคารทั่วไป แม้ว่าจะอาจจะไม่สูงเท่ากับการลงทุนในหุ้น แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 2.6% กองทุนวายุภักษ์ก็มีความน่าสนใจเพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่า 3% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มเติบโตดี

  1. ผู้ที่ไม่ต้องการความเสี่ยงสูง

กองทุนวายุภักษ์ถูกออกแบบมาเพื่อบริหารความเสี่ยง โดยความผันผวนของ NAV จะถูกส่งผ่านไปยังหน่วยลงทุนประเภท ข. หมายความว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. จะรับผลขาดทุนก่อนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ทำให้มีความเสี่ยงขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมแบบปกติ

  1. ผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาว

กองทุนวายุภักษ์เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะยาว เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับจะสะสมขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ลงทุน และความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้นจะค่อยๆ ลดลง หากคุณมีเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว เช่น การเกษียณอายุ การศึกษาบุตรหลาน การลงทุนในกองทุนวายุภักษ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

  1. ผู้ที่ต้องการสนับสนุนตลาดหุ้นไทย

การลงทุนในกองทุนวายุภักษ์เป็นการสนับสนุนตลาดหุ้นไทยโดยอ้อม เนื่องจากเงินที่ระดมได้จากการขายหน่วยลงทุนจะถูกนำไปลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในระยะยาว

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และ Fund Factsheet

Filing: https://market.sec.or.th/public/mrap/MRAPView.aspx?FTYPE=M&PID=0681&PYR=2546


ที่มา: รัฐบาลไทย, มติชน,ธนาคารกสิกรไทย, Finnomena, The Standard

คำเตือน: กองทุนนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุนรวมมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจบริษัทจัดการ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนรวมนี้ไม่ใช่กองทุนรวมมีประกันเงินลงทุนและผลตอบแทน

/กองทุนรวมไม่มีนโยบายนำเสนอการลงทุนผ่านการส่งลิงก์ส่วนตัวใด ๆ กรุณาติดตามช่องทางการจองซื้ออย่างเป็นทางการจากกองทุนรวมเท่านั้น | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

 

ฟินโนมีนา ปฏิวัติวงการผู้แนะนำการลงทุนด้วย AI ในงาน FA Summit 2024 “AI WORLD REVOLUTION”

Finnomena
ฟินโนมีนา ปฏิวัติวงการผู้แนะนำการลงทุนด้วย AI ในงาน FA Summit 2024 "AI WORLD REVOLUTION"

ฟินโนมีนา (Finnomena) กลับมาสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ในวงการผู้แนะนำการลงทุนไทยอีกครั้ง ด้วยการจัดงาน FA Summit 2024 ภายใต้ธีม “AI WORLD REVOLUTION” ณ โรงละคร Lido Connect ชั้น 2 ฮอลล์ 3 โดยงานนี้ได้รวบรวมผู้แนะนำการลงทุนและผู้ที่สนใจในอาชีพนี้มาร่วมกันสำรวจอนาคตของการให้คำแนะนำการลงทุนในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทสำคัญ

ภายในงานได้เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการผู้แนะนำการลงทุน ซึ่งเทคโนโลยี AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและให้คำแนะนำที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทันสมัยก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับการให้บริการ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของฟินโนมีนาซึ่งตั้งเป้าสร้างระบบนิเวศที่ครอบคลุมสำหรับผู้แนะนำการลงทุน มุ่งเน้นการจับคู่ระหว่างลูกค้าและผู้แนะนำที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ลูกค้าได้รับคำแนะนำที่ตรงกับความต้องการและสถานะทางการเงินของตนเอง

นายณัฏภวินท์ มาไพศาลสิน กรรมการผู้จัดการ ฝ่าย FA Advisory Group ของฟินโนมีนา กล่าวว่า “การขยายตัวของระบบนิเวศผู้แนะนำการลงทุนจะเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับบริการทางการลงทุน การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เชื่อมโยงผู้แนะนำการลงทุนกับลูกค้าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ในขณะเดียวกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI และเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้แนะนำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงานนี้คือการเปิดตัว “ชาร์ลี” (Charlie) AI ที่พัฒนาขึ้นเพื่อปฏิวัติวงการให้คำแนะนำการลงทุน ชาร์ลีมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และให้คำแนะนำที่ปรับแต่งตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย โดยจะรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลก่อนให้คำแนะนำ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับสถานะทางการเงินของตน ในระยะแรกจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์โอกาสในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีก่อน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสอบถามชาร์ลีได้ตลอด 24 ชั่วโมง

“อย่างไรก็ตาม ชาร์ลีไม่ได้มาแทนที่ผู้แนะนำการลงทุนที่เป็นบุคคล แต่จะทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ โดย AI จะช่วยในงานวิเคราะห์ที่ซับซ้อน แม้ว่า AI จะมีศักยภาพสูง แต่เราตระหนักดีว่ามีข้อจำกัดและความเสี่ยงที่ต้องพิจารณา ท้ายที่สุดแล้ว การตัดสินใจลงทุนขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของนักลงทุนเอง เราเน้นย้ำว่าข้อมูลและคำแนะนำจาก AI ควรใช้เป็นแค่หนึ่งในการประกอบการตัดสินใจ ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจทั้งหมด” นายณัฏภวินท์ มาไพศาลสิน กล่าวเสริม

นอกจากชาร์ลีแล้ว ฟินโนมีนายังได้เปิดตัวแพลตฟอร์มและนวัตกรรมใหม่ ๆ อีกมากมาย เช่น FA Enhancing Program เพื่อเสริมประสิทธิภาพสำหรับผู้แนะนำการลงทุนและยกระดับการให้บริการ ระบบคำสั่งการเสนอซื้อขาย Proposal Order ที่ช่วยให้ผู้แนะนำการลงทุนปิดการขายได้อย่างรวดเร็วและสะดวก รวมถึง Opportunity Hub ซึ่งเป็นแหล่งรวมโอกาสการลงทุนที่นำเสนอคำแนะนำสำหรับแต่ละสไตล์แบบดูง่าย ๆ ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้แนะนำการลงทุนและสนับสนุนผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย

ฟินโนมีนายังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างอนาคตของการให้คำแนะนำการลงทุนที่ผสมผสานระหว่างความเชี่ยวชาญของมนุษย์และความสามารถของ AI เพื่อมอบบริการที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น พร้อมพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดและมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยคำนึงถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าและอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินโดยรวม

โดยในปัจจุบัน ฟินโนมีนามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 17,000 ล้านบาท มีผู้แนะนำการลงทุนกว่า 2,425 คน และลูกค้ากว่า 24,888 ราย

รีวิว ASP-DIGIBLOC: กองทุนสายซิ่ง พร้อมวิ่งกับคริปโต

Siwa Khunanun

Highlight


เคยคิดเล่น ๆ ไหมว่า ถ้าเรามีโอกาสย้อนเวลากลับไปในยุคที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มต้น เราจะลงทุนอะไร? ในยุคนั้นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่เราคุ้นเคยอย่าง Google, Amazon หรือ Microsoft กำลังเริ่มต้นจากศูนย์ และใครที่จะมองเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ ก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้อย่างง่ายดาย

จำได้ไหมว่าครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ตเคยเป็นเทคโนโลยีที่ดูลึกลับและเข้าถึงยาก? วันนี้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว บล็อกเชนก็กำลังก้าวตามรอยอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น และยังมีศักยภาพที่จะปฏิวัติระบบเศรษฐกิจ รวมถึงสังคมของเราในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า

บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจโอกาสในการลงทุนของบล็อกเชน และทำความเข้าใจถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใต้เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่น่าจับตามองที่สุดในยุคนี้

บล็อกเชน: เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอนาคต

บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่เชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่ โดยข้อมูลแต่ละชิ้นจะถูกบันทึกใน “บล็อก” และบล็อกเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงกันเป็น “เชน” ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงและตรวจสอบย้อนกลับได้ยาก เนื่องจากการแก้ไขข้อมูลในบล็อกเชนต้องได้รับการยืนยันจากสมาชิกในเครือข่ายทั้งหมด

ทำไมโลกถึงต้องการบล็อกเชน?

  • ความโปร่งใส: ทุกคนในเครือข่ายสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ทำให้มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ
  • ความปลอดภัย: ข้อมูลถูกกระจายไปยังหลาย ๆ เครื่อง ทำให้การเจาะระบบและแก้ไขข้อมูลเป็นเรื่องยาก
  • ตรวจสอบย้อนกลับได้: สามารถตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมได้อย่างละเอียด ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
  • ลดต้นทุน: ลดการพึ่งพาตัวกลาง ทำให้ลดต้นทุนในการทำธุรกรรม


บล็อกเชนแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

ในอดีต ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์มักประสบปัญหาเรื่องความซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง และการขาดความโปร่งใส บล็อกเชนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยเฉพาะในด้านการเงิน ธุรกรรม และการจัดการเอกสาร

ทำไมบล็อกเชนถึงน่าลงทุนตอนนี้?

คาดการณ์ขนาดตลาดบล็อกเชนทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2022 – 2032 | ที่มา: market.us | ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2024

นึกถึงตอนที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มเป็นที่นิยม ทุกคนต่างตื่นเต้นกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แต่ยังไม่มีใครรู้ว่ามันจะเปลี่ยนโลกได้มากขนาดไหน 

บล็อกเชนเองก็เช่นกัน มันไม่ใช่แค่เทคโนโลยีธรรมดา แต่คือโครงสร้างพื้นฐานที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกดิจิทัล เหมือนกับที่อินเทอร์เน็ตเคยทำมาแล้วในช่วงปี 2000 เรียกได้ว่าบล็อกเชนคือเส้นทางสายไหม (Silk Road) ในโลกไซเบอร์ที่จะเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันอย่างปลอดภัยและโปร่งใส

ตอนนี้บล็อกเชนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เหมือนกับอินเทอร์เน็ตในยุค Y2K ที่หลายคนยังสงสัยว่ามันจะไปรอดหรือไม่? จะเป็นแค่ของเล่นสำหรับสาย IT หรือเปล่า? แต่เราก็รู้กันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับอินเทอร์เน็ตหลังจากช่วงปี 2000 เป็นต้นมา

นี่คือโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มองการณ์ไกล เพราะในอนาคตเรามีโอกาสได้เห็นการเติบโตแบบพุ่งทะยานของเทคโนโลยีบล็อกเชน เหมือนกับที่เราเคยเห็นบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่เติบโตอย่างก้าวกระโดด

บล็อกเชน: กุญแจสู่โลกดิจิทัลเต็มรูปแบบ

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ปฏิวัติวงการเทคโนโลยีและการเงินอย่างมาก ทำให้เกิดสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Digital Asset ซึ่งกำลังได้รับความสนใจทั่วโลก

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ปฏิวัติโลกดิจิทัล สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสของคริปโตเคอร์เรนซีได้จุดประกายความสนใจทั่วโลก และผลักดันให้เกิดสินทรัพย์ดิจิทัลหลากหลายรูปแบบที่น่าจับตามอง

Digital Asset: มากกว่าแค่คริปโตเคอร์เรนซี

Digital Asset คือ สินทรัพย์ดิจิทัลที่แทนสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร

ทั้งนี้ Digital Asset แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น Bitcoin, Ethereum
  2. Digital Token แบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ

2.1) Investment Token หรือโทเคนเพื่อการลงทุน สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการร่วมลงทุน เช่น สิทธิในส่วนแบ่งรายได้ สิทธิในผลกำไรจากการลงทุน

2.2) Utility Token หรือโทเคนเพื่อการใช้ประโยชน์ สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า คูปองในศูนย์อาหาร หรือชิปในคาสิโน

บล็อกเชนไม่ได้มีดีแค่คริปโต 

ส่วนแบ่งตลาดของบล็อกเชน แบ่งตามภาคอุตสาหกรรม | ที่มา: Grand View Research | ข้อมูล ณ ปี 2022

แม้จะถือกำเนิดมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล แต่ปัจจุบันบล็อกเชนได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมนำไปใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การแพทย์ หรือแม้แต่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้โอกาสในการเติบโตของบล็อกเชนยังมีอีกมาก

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปฏิวัติรูปแบบการดำเนินงานในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของกระบวนการทางธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • ภาครัฐ: บล็อกเชนถูกนำมาใช้ในการเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น การติดตามโครงการสาธารณะ การจัดการเอกสาร และการจัดการการเลือกตั้ง
  • ภาคอุตสาหกรรม: ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอาหาร
  • ภาคการเงิน: บล็อกเชนเป็นพื้นฐานของสกุลเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ ที่ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมและเพิ่มความปลอดภัย
  • ภาคสุขภาพ: บล็อกเชนยังถูกนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ช่วยให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต

อยากก้าวเข้าสู่โลกบล็อกเชน? มีทางเลือกมากกว่าแค่ซื้อคริปโต

การลงทุนในกองทุนดัชนีที่ติดตามสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน (Digital Asset & Blockchain ETF) นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีระบบ

โดยการลงทุนลงในบริษัทที่ถือสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนผ่าน Digital Asset & Blockchain ETF มีข้อดีดังนี้

  1. การกระจายความเสี่ยง: กองทุน ETF จะลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพียงรายการเดียว
  2. การเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น: นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างสะดวกสบายผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋าเงินดิจิทัล
  3. การบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ: กองทุน ETF มีผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาคอยคัดเลือกและบริหารพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  4. การกำกับดูแล: กองทุน ETF อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในความโปร่งใสและความปลอดภัย

โอกาสลงทุนในบล็อกเชนกับ ASP-DIGIBLOC

กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน (ASP-DIGIBLOC) เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ที่มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active) โดยลงทุนในบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจ หรือมีความเกี่ยวข้องกับระบบสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน

โดย ASP-DIGIBLOC มีกลยุทธ์ลงทุนในบริษัทที่อยู่เบื้องหลังโลกคริปโต และเป็นบริษัทชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล เหมืองขุดชั้นนำ หรือบริษัทที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของโลกดิจิทัล ลงทุนกับผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมนี้เพื่อร่วมสร้างอนาคตของโลกดิจิทัล

ASP-DIGIBLOC ลงทุนผ่านกองทุนหลักคือ VanEck Digital Transformation ETF ที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนโดยพยายามสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี MVIS Global Digital Assets Equity Index มากที่สุด

ทั้งนี้ ดัชนี MVIS Global Digital Assets Equity Index มีวัตถุประสงค์ในการติดตามผลประกอบการของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องมากที่สุดในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล และรวมเฉพาะบริษัทที่มีรายได้อย่างน้อย 50% จากบริการและผลิตภัณฑ์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ศูนย์แลกเปลี่ยน (Exchange) เกตเวย์การชำระเงิน เหมืองขุด (Miner) บริการซอฟต์แวร์ อุปกรณ์และเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานของสินทรัพย์ดิจิทัล และการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล

Finnomena 3D Diagram | ที่มา: Finnomena Funds | ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2024

รายละเอียดอื่น ๆ ของ ASP-DIGIBLOC

  • ความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมหุ้น)
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล: ไม่จ่าย
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.61% ต่อปี
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-in) 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-out) ไม่มี
  • ค่าใช้จ่ายรวม 3.50% ต่อปี
  • การลงทุนครั้งแรก ขั้นต่ำ 1,000 บาท
  • การลงทุนครั้งต่อไป ขั้นต่ำ 1,000 บาทเช่นกัน
  • มีการป้องกันความผันผวนด้านค่าเงิน (Fx Hedging) 86.22 %

ทำความรู้จักกับกองทุนหลัก VanEck Digital Transformation ETF (DAPP)

กองทุน VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) มีนโยบายการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เกินกว่าร้อยละ 50 หรือมีศักยภาพในอนาคตที่จะสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล สัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50

ทั้งนี้ กองทุนมีการกระจายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Assets คลอบคลุมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านธุรกิจการขุดเหมืองคริปโต การทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ธนาคารตัวกลางด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และธุรกิจด้านซอฟแวร์อื่น ๆ

7 ธีมหลักที่ DAPP เลือกลงทุน

7 ธีมหลักที่ VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) ลงทุน | ที่มา: VanEck | ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2022

  1. Payment Gateways

บริษัทที่ให้บริการดำเนินการชำระเงินบนเว็บไซต์ แพลตฟอร์มการซื้อขาย รวมถึงร้านค้าแบบดั้งเดิม ด้วย

การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างบริษัท เช่น Block (เดิมชื่อ Square), GreenBox POS

  1. Hardware 

บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับการขุดหรือจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น บริษัท Semiconductor อย่าง Canaan และ Ebang

  1. Crypto Miners

บริษัทที่ทำหน้าที่ประมวลผลธุรกรรมระหว่างผู้ใช้บัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ หรือนักขุด เช่น Marathon, Riot Blockchain, Bitfarm

  1. Exchanges

บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างบริษัท เช่น Coinbase, Voyager Digital

  1. Crypto Holding and Trading

บริษัทที่มีสินทรัพย์ดิจิทัลใน Balance Sheet หรือมีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนสูง เช่น Microstrategy, Coinshares

  1. Software and Value Added Services

บริษัทที่สร้างซอฟต์แวร์หรืออำนวยความสะดวกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Northern Data

  1. Banking & Asset Management

บริษัทที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม และระบบการให้บริการสำหรับ

สินทรัพย์ดิจิทัลยุคใหม่ อาจอยู่ในรูปแบบของการให้บริการชำระเงิน และการดูแลลูกค้า ตัวอย่างบริษัท เช่น Silvergate, BC Technology Group (Brokerage service)

เจาะข้อมูลบริษัท Top 5 Holdings

*ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2024 สัดส่วนการลงทุนอาจเปลี่ยนแปลง

1. Block (SQ) 8.96%

Block (เดิมชื่อว่า Square) เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ และผู้ประมวลผลการชำระเงินที่ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มรายได้ผ่านการใช้โซลูชันที่เข้าถึงได้ง่าย 

สิ่งที่น่าสนใจคือ Block เป็นการร่วมมือกันของบริษัทต่าง ๆ อย่าง Cash App, Spiral, TIDAL และ TBD โดยเป้าหมายหลักของบริษัทคือทำให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหรือลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin 

Block เป็นบริษัทใหญ่ที่สนับสนุน Bitcoin อย่างจริงจัง พวกเขารับชำระเงินด้วย Bitcoin มาตั้งแต่ปี 2014  ผ่านแอปพลิเคชัน Cash ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งและรับการชำระเงินด้วย Bitcoin 

ข้อดีคือ Block คิดค่าธรรมเนียมแค่ 1% สำหรับธุรกรรม Bitcoin เทียบกับ 2.75% สำหรับบัตรเครดิตหรือเดบิต ทำให้การใช้ Bitcoin ผ่าน Block มีโอกาสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยตอนนี้ Block ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ไม่กี่รายที่เปิดให้ธุรกิจรับชำระเงินด้วย Bitcoin ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

2. MicroStrategy (MSTR) 7.01%

เดิมที MicroStrategy เป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรในวงกว้าง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา MicroStrategy ได้กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากในฐานะ “บริษัทที่ถือครอง Bitcoin มากที่สุดในโลก”

ถ้าถามว่ามากแค่ไหน? เมื่อสิ้นสุดไตรมาส 2 ปี 2024 (31 มิถุนายน 2024) MicroStrategy เป็นเจ้าของ Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 226,500 BTC คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.9 แสนล้านบาท (เมื่อคิดจากราคา 1 BTC = 64,000 ดอลลาร์สหรัฐ) 

เพื่อให้เห็นภาพชัด ๆ มูลค่า Bitcoin ที่ MicroStrategy ถืออยู่นี่เกือบเท่ากับมูลค่าตลาดของ CP ALL (5.38 แสนล้านบาท) เลยทีเดียว

3. Terawulf Inc (WULF) 6.43%

Terawulf Inc ไม่ใช่แค่บริษัทขุด Bitcoin ธรรมดา แต่เป็น “นักขุดสีเขียว” ที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ทั้งน้ำ ลม หรือแม้แต่นิวเคลียร์ ในการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล นับว่าตอบโจทย์กับทั้งนักลงทุนและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

แต่ Terawulf Inc ไม่ได้หยุดแค่การขุด Bitcoin เท่านั้น พวกเขายังลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานสุดล้ำ เช่น ศูนย์ข้อมูล (Data Center)ที่ใช้พลังงานสะอาด และระบบระบายความร้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังทุ่มงบพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขุดและลดต้นทุน

4. Coinbase Global (COIN) 6.31%

Coinbase เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 

Coinbase ไม่ใช่แค่ตลาดแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลธรรมดา แต่เป็นอาณาจักรคริปโตครบวงจร ตั้งแต่ซื้อขายแลกเปลี่ยน ไปจนถึงการเป็นตู้เซฟดิจิทัลให้กับนักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบัน 

นอกจากนี้ Coinbase ยังเป็นผู้พัฒนา USDC เหรียญ Stablecoin ยอดนิยม ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ผูกติดกับมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่าเป็น “เงินดอลลาร์ในโลกคริปโต” เลยทีเดียว

5. Northern Data Ag (NDTAF) 5.95%

Northern Data AG ไม่ใช่แค่บริษัทขุดสินทรัพย์ดิจิทัลธรรมดา ๆ แต่เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมดิจิทัล Northern Data AG เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและให้บริการโซลูชันด้านบล็อกเชน และระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing หรือ HPC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล 

บริษัทมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ทั่วโลก และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการพลังงานและความร้อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้านการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล

นอกจากนี้ Northern Data AG ยังคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและช่วยลดต้นทุนอยู่เสมอ เช่น ระบบระบายความร้อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีในการจัดการพลังงาน

สรุปจุดเด่นที่น่าสนใจของ ASP-DIGIBLOC

  • ลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลกบล็อกเชน

ไม่ได้ลงทุนในเหรียญคริปโตโดยตรง แต่ลงทุนในบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ

  • เติบโตไปกับสินทรัพย์ดิจิทัล

กองทุนนี้จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับ Bitcoin อีกด้วย

  • ความผันผวนน้อยกว่า 

แม้จะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ความผันผวนของกองทุนนี้จะน้อยกว่าการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีโดยตรง

ASP-DIGIBLOC เหมาะสำหรับใคร?

  • ผู้ที่เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีบล็อกเชน และมองหาโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • ผู้ที่สนใจลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี แต่กังวลเรื่องความผันผวนของราคา
  • ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และลงทุนในระยะกลางถึงยาวได้ 

 

แม้ว่าโลกของบล็อกเชนจะเต็มไปด้วยโอกาสที่น่าตื่นเต้น แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่ต้องตระหนักเสมอ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง และตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ และทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างถ่องแท้


ที่มา: Financial Times, MicroStrategy, VanEck, VanEck, VanEck

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299