ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวนรุนแรงในระยะสั้น ๆ นักลงทุนกังวลต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาลสหรัฐอเมริกา หนุนให้ Bond Yield ปรับตัวขึ้นรวดเร็ว แต่นี่คือโอกาสของกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ต พร้อมสร้างผลตอบแทนในจังหวะที่ตลาดหุ้นชะลอตัวกับกองทุน KT-BOND
Source: Finnomena Funds, Macrobond as of 26/5/2025
ก่อนหน้านี้ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงรวดเร็ว และส่งผลให้ Yield Curve ตัวยาวทั่วโลกกำลังชันขึ้น หนึ่งในสาเหตุคือการสะท้อนความกังวลด้านภาระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่สูงถึง 36 ล้านล้านดอลลาร์ และใกล้ชนเพดาน (X-Date) ในช่วงเดือนสิงหาคม 2025 รวมถึงอาจจะมีการออกพันธบัตรจำนวนมากเพื่อ Roll Over หนี้เก่า ทำให้ตลาดส่งสัญญาณเรียกร้อง Risk Premium ที่สูงขึ้นจากพันธบัตรระยะยาว
ประเด็นที่กระตุ้นเรื่องนี้แรง ๆ คือการที่ Moody’s Rating ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จาก Aaa เป็น Aa1 โดยระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้สาธารณะและภาระดอกเบี้ยที่สูง เช่นเดียวกับอีกหนึ่งศูนย์กลางการเงินโลกอย่างญี่ปุ่นที่มีหนี้สาธารณะมหาศาลกว่า 260% ของ GDP แล้ว ประกอบกับเงินเฟ้อญี่ปุ่นพุ่งแรงในรอบ 2 ปี เพิ่มโอกาสที่ BoJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
Bond Yield สหรัฐฯ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2025 ใกล้เคียงกับระดับปี 2006-2007
Source: Finnomena Funds, Macrobond as of 26/5/2025
แม้ว่าการเจรจา Trade Deal จะคงดำเนินต่อไป และดูเหมือนจะคืบหน้าไปด้วยดีทีละก้าว แต่ในอีกมุมก็ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากท่าทีของรัฐบาล Trump ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว เพราะแรงกดดันของ Tariffs ในช่วงที่่ผ่านมา
รายงาน Global Economic Prospects ฉบับล่าสุดของ World Bank ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกปี 2025 จะเติบโตเพียง 2.3% ลดลงจากตัวเลขเดิมที่คาดไว้ 2.7% โดยเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2008 เนื่องจากความขัดแย้งในเรื่องสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งได้ทำลายเสถียรภาพเชิงนโยบายหลายอย่าง
– อ่านต่อ World Bank เตือนเศรษฐกิจโลกโตช้าสุดในรอบ 65 ปี และอาจเข้าสู่ทศวรรษแห่งความเศร้าซึม
เมื่อ Bond Yield เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัว นับเป็นโอกาสำคัญที่จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้โลก (Global Bond) อายุยาว ๆ ซึ่งมีข้อดี คือ
ทั้งนี้ 30 ปีที่ผ่านมา ดัชนี Global Bond ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6 เดือนก่อน Recession ราว 5% และ 6 เดือนหลัง Recession ราว 3% เท่ากับว่ารวม 12 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 8% ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนระยะยาวของดัชนี Global bond ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 3.3% กว่า 2 เท่า
KT-BOND หรือ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ บอนด์ ฟันด์ บลจ. กรุงไทย มีนโยบายการลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Global Bond Fund ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลกระยะยาว อ้างอิงดัชนี Bloomberg Global Aggregate (USD Hedged) Index ปัจจุบันกองทุนหลักมีตัวเลข Yield to Maturity คาดการณ์ที่ 6.46% และเน้นลงทุนในตราสารหนี้อายุยาว (Effective Duration ประมาณ 7 ปี)
ข้อมูลกองทุนหลัก PIMCO GIS Global Bond Fund
Source: PIMCO as of 31/05/2025
สัดส่วนสินทรัพย์การลงทุนของ PIMCO GIS Global Bond Fund
Source: PIMCO as of 31/05/2025
จะเห็นว่ากองทุนหลักกระจายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก นำโดยสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และจีน โดยเน้นตราสารอายุยาวในช่วง 5-10 ปี เป็นหลัก
ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ Finnomena Funds
สรุป KT-BOND เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะยาวที่เหมาะกับลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้พอร์ต เป็นแหล่งพักเงินในช่วงที่ไม่มั่นใจในตลาดหุ้น รวมถึงยังสามารถคาดหวังผลตอบแทนหากดัชนีราคา Global Bond Index เริ่มปรับเป็นขาขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง: PIMCO, Finnomena Funds (1), Finnomena Funds (2), KTAM
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
จัดอันดับสกุลเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลก พบว่าเงินหยวนของจีนมีมูลค่ารวมในระบบเศรษฐกิจสูงกว่าดอลลาร์สหรัฐ จากการที่จีนเน้นอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และจำนวนประชากรที่เยอะกว่า 1.4 พันล้านคน
หน่วย: USD
อ้างอิงมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของสกุลเงินในเว็บไซต์ AssetMarketCap as of 03/06/2025 คำนวณโดยการคูณจำนวนเงินที่หมุนเวียนในระบบ (Circulating Supply) กับอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินนั้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD)
ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นการวัดปริมาณเงิน (Money Supply) ที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นสกุลเงินที่มีคนใช้มากกว่า หรือถูกยอมรับมากกว่าในแง่การค้าระหว่างประเทศ เพราะจำเป็นต้องดูข้อมูลส่วนอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น การใช้งานระหว่างประเทศ, สัดส่วนในทุนสำรองของธนาคารกลางทั่วโลก และสัดส่วนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา (Forex) เป็นต้น
คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในกลุ่มประเทศ G20 ในปี 2024 ถึง 2026
Source: Finnomena Funds, OECD as of 13/06/2025
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว หลังจากล่าสุด OECD ออกรายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีการปรับลดเป้าประมาณการ GDP ลงในหลายประเทศ โดยภาพรวมประเทศกลุ่ม G20 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ/ภูมิภาคที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งล่าสุด OECD คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในกลุ่มประเทศ G20 เติบโต 3.4%, 2.9% และ 2.9% ในช่วงปี 2024, 2025 และ 2026 ตามลำดับ และคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 2.8%, 1.6% และ 1.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศอย่างสหรัฐฯ ในอนาคต ทำให้ภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มเติบโต เริ่มมี upside ค่อนข้างจำกัด
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 13/06/2025
ในฝั่งตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ พบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เริ่มปรับตัวลดลงหลังจากปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนเดือนพฤษภาคม 2025 ซึ่งสะท้อนว่าตลาดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐน่าจะชะลอตัวในอนาคต
จากปัจจัยกดดันเรื่องภาพรวมเศรษฐกิจ และการปรับลดตัวเลขการเติบโตของ GDP FundTalk จึงมีคำแนะนำขายกองทุน ASP-USSMALL-A ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก Virtus GF U.S. Small Cap Focus Fund เน้นลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ขนาดเล็ก มูลค่ากองทุนนี้จะเติบโตไปพร้อมกับการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่เนื่องจาก FundTalk มีมุมมองว่าหลังจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเริ่มชะลอตัว จึงมีคำแนะนำขายออก นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำขายกองทุนหุ้นกลุ่มเติบโต ได้แก่
TISCOAI (กองทุนหลัก Xtrackers Artificial Intelligence & Big Data UCITS ETF), TCLOUD (กองทุนหลัก Global X Cloud Computing ETF), และ MEGA10CHINA-A (กองทุนหุ้นจีน 10 ตัว ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง) ทั้งสามกองทุนลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งมีโอกาสปรับตัวลงได้ค่อนข้างแรง ถ้าหากหลังจากนี้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการชะลอตัว
Vanguard Real Estate ETF และ US 10-year Treasury Yield
Source: Finnomena Funds, TradingView as of 13/06/2025
จากปัจจัยเรื่องแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ FundTalk จึงมีคำแนะนำเพิ่มสัดส่วนในทรัสต์อสังหาริมทรัพย์ (REITs) สหรัฐฯ ผ่านกองทุน TUSREIT ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก Vanguard Real Estate ETF (VNQ) ตัวกองทุนหลักลงทุนใน REITs ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกระจายลงทุนในหลายอุตสาหกรรม ทั้ง Data Center, Healthcare, Retail และอื่น ๆ โดยผลตอบแทนของสินทรัพย์กลุ่มดังกล่าวมักวิ่งสวนทางกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ซึ่ง FundTalk มีมุมมองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี หลังจากนี้จะเริ่มปรับตัวลง จึงคาดว่า REITs สหรัฐฯ หลังจากนี้จะสามารถปรับตัวขึ้นได้
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio
คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
อย่าลืมเปิดฟังก์ชันปรับพอร์ตอัตโนมัติ! Automatic Allocation ช่วยบริหารพอร์ตตามสภาวะตลาด สะดวก ใช้งานง่าย ให้คุณปรับสมดุลพอร์ตอยู่ในสถานะที่เหมาะสมอยู่เสมอ
สามารถเปิดใช้ Automatic Allocation ได้แล้ววันนี้ที่พอร์ตการลงทุนของคุณ หรือดูวิธีการได้ที่ Finnomena Funds Automatic Allocation
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เมื่อพูดถึง “สงครามเย็น” ภาพในหัวของหลายคนอาจนึกถึงการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่าง 2 มหาอำนาจ สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต ที่ขับเคี่ยวกันทั้งด้านอาวุธ เทคโนโลยี และอิทธิพลทางการเมือง โดยไม่เคยลั่นไกใส่กันโดยตรง แต่กลับสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก
แต่วันนี้ โลกกำลังก้าวเข้าสู่สงครามเย็นยุคใหม่ ที่แม้จะไม่มีเสียงปืนหรือกำแพงกั้นเหมือนในอดีต แต่กลับเต็มไปด้วยการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนกว่าเดิมในหลายมิติ
นี่คือสงครามที่ข้อมูล เทคโนโลยี และความร่วมมือเชิงภูมิรัฐศาสตร์ กำลังกลายเป็นอาวุธใหม่ในเกมแห่งอำนาจ ที่อาจเปลี่ยนทิศทางของโลกทั้งใบ
กำแพงเบอร์ลิน สัญลักษณ์ของสงครามเย็น | Source: The Guardian
สงครามเย็น (Cold War) ถือเป็นยุคที่โลกถูกแบ่งขั้วอย่างชัดเจนระหว่าง 2 มหาอำนาจที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตย กับสหภาพโซเวียตในฐานะผู้นำโลกคอมมิวนิสต์
ความขัดแย้งนี้ไม่เคยบานปลายจนกลายเป็นสงครามโดยตรง แต่แข่งขันกันอย่างเข้มข้นในหลายมิติ ทั้งสงครามตัวแทน (Proxy War) อย่างในเกาหลี เวียดนาม และอัฟกานิสถาน การแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการชิงความได้เปรียบทางเทคโนโลยี อย่างการแข่งขันด้านอวกาศที่นำไปสู่การส่งมนุษย์ขึ้นดวงจันทร์
ลักษณะสำคัญของสงครามเย็นคือ การแบ่งขั้วอย่างเด็ดขาดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุดมการณ์ อย่างสหรัฐฯ ที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจตลาดเสรี ขณะที่โซเวียตเดินหน้าแนวคิดคอมมิวนิสต์และเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์
ทั้ง 2 ฝ่ายต่างพยายามขยายอิทธิพลไปทั่วโลกเพื่อชิงความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐกิจของแต่ละฝ่ายถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่มีการพึ่งพากันทางการค้าและเทคโนโลยี การแข่งขันจึงกลายเป็นการแบ่งขั้วอย่างเด็ดขาด โดยมีเส้นแบ่งทางภูมิรัฐศาสตร์และอุดมการณ์ในยุโรปที่ถูกเรียกว่า “ม่านเหล็ก” (Iron Curtain)
เมื่อเวลาผ่านไป ยุคสงครามเย็นแรกจบลงพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 พร้อมกับการขึ้นเป็นมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา
โดนัลด์ ทรัมป์ และ สี จิ้นผิง | Source: The Guardian
แต่ในยุคปัจจุบัน ภายใต้เงื่อนไขของโลกาภิวัตน์และความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้ปะทุขึ้นในรูปแบบที่หลายคนเรียกว่า “Cold War 2.0” หรือ “สงครามเย็นครั้งที่ 2” ซึ่งแม้จะมีลักษณะคล้ายสงครามเย็นเดิม แต่ก็แตกต่างและซับซ้อนมากขึ้นในหลายมิติ
คู่แข่งหลักคือสหรัฐฯ มหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก กับจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และภูมิรัฐศาสตร์
ความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องการค้า แต่ขยายไปสู่สนามแข่งขันหลากหลาย เช่น เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยสหรัฐฯ ใช้มาตรการแบนบริษัทจีนรายใหญ่ เช่น Huawei
ขณะที่จีนพยายามพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยี AI ของตัวเอง พร้อมกันนั้น สหรัฐฯ ก็พัฒนาทั้งเทคโนโลยี AI คลาวด์ และคอมพิวเตอร์ควอนตัมอย่างต่อเนื่อง ทำให้การแข่งขันด้านเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจสำคัญของความขัดแย้งในยุคนี้
ในมิติการเงินระหว่างประเทศ จีนพยายามผลักดันให้หยวนกลายเป็นสกุลเงินสำรองและใช้ในค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ยังใช้อำนาจของดอลลาร์สหรัฐและระบบ SWIFT ในการควบคุมมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ
เส้นทางสายไหมยุคใหม่ | Source: Asia Green Real Estate
การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุคนี้สะท้อนผ่านโครงการ Belt and Road Initiative หรือ “เส้นทางสายไหมยุคใหม่” ของจีน ที่ขยายอิทธิพลอย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และยุโรป
ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็ขานรับด้วยการสร้างพันธมิตรใหม่ เช่น กลุ่ม Quad ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย รวมถึงกลุ่ม AUKUS ที่มีสมาชิกคือ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เพื่อตอบโต้การขยายตัวของจีน
ในขณะที่จีนเองยังมีพันธมิตรสำคัญอย่างกลุ่ม BRICS ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่มีบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกอย่าง บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้
อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในยุคนี้แตกต่างจากยุคสงครามเย็นครั้งแรก เพราะทั้ง 2 ประเทศพึ่งพากันและกันในห่วงโซ่อุปทานโลก โดยสหรัฐฯ ยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบและสินค้าเทคโนโลยีจากจีน
ในขณะที่จีนก็ต้องการเข้าถึงตลาดการเงินและดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สงครามเย็นครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การแข่งอาวุธ แต่เป็นสงครามข้อมูล เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และความน่าเชื่อถือที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนทั่วโลก
เมื่อเปรียบเทียบ Cold War ครั้งแรกกับ Cold War 2.0 จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งเดิมเน้นไปที่อุดมการณ์แบบตรงข้ามและการแยกขั้วทางเศรษฐกิจ ขณะที่ยุคนี้ความขัดแย้งเป็นการแข่งขันที่มีหลายมิติและมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีลึกซึ้ง
สิ่งสำคัญคือการเข้าใจว่า ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์จะกลายเป็น “New Normal” ที่ต้องมีการปรับกลยุทธ์ให้ยืดหยุ่น พร้อมจับตาเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญ เช่น AI เซมิคอนดักเตอร์ และความมั่นคงไซเบอร์ รวมถึงโอกาสในประเทศตัวกลางที่สามารถบาลานซ์อำนาจได้ เช่น อินเดียและกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจกลายเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจในครั้งนี้
อ้างอิง: Britannica, The Strategist, The Diplomat
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สรุปหุ้น Nintendo ที่สามารถลงทุนผ่าน DR ในชื่อย่อ NINTENDO19 บริษัทเกมยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ต้นกำเนิด Super Mario ผู้สร้างความสุขให้ทุกเพศทุกวัย พร้อมโอกาสการลงทุนผ่านกลยุทธ์คัดเลือกหุ้นนอกคุณภาพดี Definit Global Select (DGS)
Nintendo คือบริษัทเกมสัญชาติญี่ปุ่นระดับตำนานที่มีประวัติยาวนานกว่า 130 ปี จุดเริ่มต้นของบริษัทคือธุรกิจไพ่ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม (Hanafuda) ก่อนจะผันตัวมาสู่อุตสาหกรรมวิดีโอเกมและกลายเป็นหนึ่งในผู้สร้างนวัตกรรมเกมที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
Nintendo เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง Super Mario, The Legend of Zelda, Pokémon, Animal Crossing และ Donkey Kong โดยถือเป็นบริษัทที่มีทั้งฮาร์ดแวร์ (เครื่องเกม) และซอฟต์แวร์ (เกม) อยู่ในมือแบบครบวงจร
ทั้งนี้ Nintendo เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (Tokyo Stock Exchange) ภายใต้ Ticker: 7974.T และสามารถลงทุนได้ง่ายขึ้นผ่าน DR ในชื่อ NINTENDO19 ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เริ่มต้นลงทุน DR อย่างเป็นระบบ เริ่มที่ Definit Global Select (DGS) ดูข้อมูลคลิกเลย
Source: Nintendo Investor-Relations, Finnomena Stock as of 10/06/2025
Nintendo รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด Q1/2025 (สิ้นสุด มี.ค. 2025) มีรายได้อยู่ที่ 208,700 ล้านเยน (+24.67% YoY) สะท้อนกระแสตอบรับที่ดีจากซอฟต์แวร์และบริการออนไลน์ แม้ช่วงเวลาดังกล่าวจะยังไม่เริ่มขาย Switch 2
ด้านกำไรสุทธิขยายตัวแรงถึง 49.59% แตะระดับ 41,620 ล้านเยน หนุนให้กำไรต่อหุ้น (EPS) เพิ่มขึ้นเป็น 35.75 เยน (+49.58% YoY) และอัตรากำไรสุทธิดีดขึ้นเป็น 19.94% (เพิ่มขึ้นกว่า 33% จากปีก่อนหน้า)
ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า แม้ยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างรุ่น แต่ Nintendo ก็ยังรักษาความสามารถในการทำกำไรได้อย่างแข็งแกร่ง และกำลังปูทางสู่การเติบโตครั้งใหม่ในยุค Switch 2
หลังจากสร้างปรากฏการณ์ยอดขายสะสมกว่า 152 ล้านเครื่องทั่วโลกจาก Nintendo Switch รุ่นแรก ล่าสุด Nintendo ได้เปิดตัวเครื่องเกมรุ่นถัดไป Nintendo Switch 2 อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 เมษายน 2025 และเริ่มวางจำหน่ายทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีกำหนดวางจำหน่ายในประเทศไทยในวันที่ 26 มิถุนายน 2025
Switch 2 ยังคงยึดแนวคิด “ไฮบริด” ที่เล่นได้ทั้งแบบพกพาและเชื่อมต่อกับทีวี พร้อมอัปเกรดฮาร์ดแวร์หลายด้าน เช่น
นอกจากนี้ ยังเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่อย่าง GameChat และ GameShare ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อในเชิงสังคม เพิ่มความผูกพันให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความถี่ในการใช้งาน และมีศักยภาพต่อยอดเป็นแหล่งรายได้ประจำในระยะยาว
ในด้านคอนเทนต์ Switch 2 เปิดตัวพร้อมเกม Mario Kart World (เปิดตัวเฉพาะบน Switch 2) และ Zelda เวอร์ชันอัปเกรด ขณะเดียวกัน ค่ายเกมภายนอกหลายแห่งก็อยู่ระหว่างพัฒนาเกมใหม่ให้กับแพลตฟอร์มนี้อย่างต่อเนื่อง
Nintendo ตั้งเป้ายอดขาย Switch 2 ไว้ที่ 15 ล้านเครื่อง ภายในปีงบประมาณ 2025 (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2026) ซึ่งใกล้เคียงกับยอดขาย Switch รุ่นแรกในช่วง 10 เดือนแรก
แม้ว่าราคาขายจะสูงขึ้น (รุ่นมาตรฐาน $449.99 / รุ่น Bundle $499.99) แต่บริษัทแสดงความมั่นใจในศักยภาพของเครื่องรุ่นใหม่ และระบุว่าไม่มีข้อจำกัดด้านการผลิต พร้อมเร่งกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการ
ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มเดิมอย่าง Switch รุ่นแรกยังคงมีเกมใหม่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น Pokémon Legends: Z-A และ Metroid Prime 4: Beyond
แม้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเจเนอเรชันของฮาร์ดแวร์ แต่ Nintendo คาดว่าผลประกอบการจะกลับมาเติบโตทั้งรายได้และกำไรในปีงบประมาณ 2025/26 จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีแนวโน้มตอบรับดี และการต่อยอดแบรนด์ IP ที่มีฐานผู้เล่นเหนียวแน่นทั่วโลก
โอกาสลงทุนหุ้น Nintendo ผ่าน Definit Global Select กลยุทธ์ลงทุน DR คัดหุ้นนอกคุณภาพ จัดพอร์ตให้อัตโนมัติ ไม่ต้องจับจังหวะลงทุนเอง
– อ่านเพิ่มเติม ทำความรู้จัก Definit Global Select ปรับเกมรุก ปลุกกลยุทธ์สู่ DR หุ้นนอก
นักลงทุนที่สนใจสามารถเปิดบัญชีลงทุน Definit Global Select กับ บล.หยวนต้า คลิกที่นี่เลย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนของท่านได้แล้ววันนี้
คำเตือน: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสัญญารับฝาก DR ก่อนการลงทุน | การลงทุนผ่าน DR มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา DR เอง | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-9933 และทาง Email support@definitinvestment.com
ปี 2025 โลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาที่ซับซ้อนและเปราะบางทางเศรษฐกิจ ความผันผวนไม่ได้มาในรูปแบบวิกฤตใหญ่ แต่เป็นระลอกคลื่นเล็ก ๆ ถี่ ๆ ที่ทำให้ภูมิทัศน์การลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
นี่คือยุคที่การยึดติดกับตลาดใดตลาดหนึ่งอาจกลายเป็นความเสี่ยง และ “การกระจายความเสี่ยง” ด้วยการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งสินทรัพย์และภูมิภาค คือกลยุทธ์สำคัญในสถานการณ์เช่นนี้
การทำความเข้าใจภาพรวมของแต่ละภูมิภาคเศรษฐกิจหลักจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง เพื่อให้นักลงทุนสามารถปรับตัวและคว้าโอกาสที่ซ่อนอยู่ในความไม่แน่นอนนี้
สหรัฐฯ ยังคงเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและตลาดทุนใหญ่สุดของโลก แต่ในปีนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งเศรษฐกิจและการเมืองที่ส่งผลต่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ยังเติบโต แต่บางภาคส่วนเริ่มชะลอตัว เงินเฟ้อที่ยังไม่ลดลงถึงระดับเป้าหมายของธนาคารกลาง และความขัดแย้งภายในของรัฐบาลทรัมป์ที่เริ่มปะทุขึ้นอีกครั้ง
ด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงกดดันให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสงครามการค้าที่เขาก่อขึ้น และยังวิพากษ์วิจารณ์ ‘เจอโรม พาวเวลล์’ ประธาน Fed คนปัจจุบันอย่างหนักหน่วง
อีกทั้งยังมีข่าวออกมาว่า สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีชื่อโผล่เป็นแคนดิเดตตัวเต็งประธาน Fed คนใหม่แทนเจอโรม พาวเวลล์ ที่จะหมดวาระในปี 2026 ซึ่งอาจทำให้เกิดคำถามเรื่องความเป็นอิสระของธนาคารกลาง
ในด้านของอัตราเงินเฟ้อ แม้จะมีสัญญาณดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดย Core PCE ลดลงเหลือ 2.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี แต่ก็ยังสูงกว่าเป้าหมายของ Fed เล็กน้อย ทำให้เจอโรม พาวเวลล์ ชะลอการลดดอกเบี้ยในปีนี้เพื่อรอข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
อีกฟากหนึ่งของโลก จีนซึ่งเคยถูกคาดหวังว่าจะเป็น “เครื่องยนต์แห่งการเติบโตใหม่” กลับยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวแบบเปราะบาง แม้รัฐบาลกลางจะอัดฉีดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจภายในประเทศยังไม่กลับสู่สมดุล
จีนกำลังพยายามฟื้นตัวจากความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อ แม้รัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนและมีสัญญาณบวกในเมืองชั้นนำ แต่ในเมืองรองยังคงเผชิญกับปัญหาอุปทานส่วนเกินและราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคยังไม่กลับมาเต็มที่ อีกทั้งหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญต่อตลาดที่อยู่อาศัย
ปัจจัยภายนอกอย่างความเสี่ยงด้านภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ และการกีดกันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับภาคการส่งออกของจีน แม้รัฐบาลจะเร่งผลักดันนวัตกรรมและ “พลังการผลิตใหม่ที่มีคุณภาพ” แต่การพึ่งพาอุปสงค์ภายนอกหรือการส่งออกกำลังการผลิตส่วนเกินอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ยูโรโซนกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคม 2025 แม้จะลดลงเหลือ 1.9% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 2.0% ของ ECB เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตา โดยเฉพาะราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ยังเร่งตัวขึ้น ทำให้แรงกดดันด้านค่าครองชีพยังคงมีอยู่
ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลง โดยเจ้าหน้าที่ Eurosystem คาดการณ์ GDP จริงจะเติบโตเฉลี่ย 0.9% ในปี 2025, 1.1% ในปี 2026 และ 1.3% ในปี 2027
แม้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมิถุนายน 2025 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่ก็ยังคงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการทำให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน
ด้านเอเชียและตลาดเกิดใหม่กำลังเผชิญความท้าทายจากสงครามการค้าที่ซับซ้อน เนื่องจากผลกระทบของภาษีที่ไม่สามารถคาดเดาได้ นโยบายของทรัมป์อาจทำให้เกิดเงินเฟ้อและดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้
อย่างไรก็ตาม ตลาดเกิดใหม่ยังคงมีโอกาสท่ามกลางความผันผวน แรงขับเคลื่อนการเติบโตระยะยาวที่แข็งแกร่ง เช่น การลงทุนทุนและโครงสร้างพื้นฐาน การกระจายซัพพลายเชน ยังคงหนุนกำไรในภูมิภาคนี้ มูลค่าหุ้นยังน่าสนใจ โดยเฉพาะเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) เนื่องจากตลาดอาเซียนมีความเปราะบางน้อยกว่าเอเชียเหนือ
Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call ผ่านกองทุน ES-GAINCOME-A และ ES-GAINCOME-RP ที่มีความยืดหยุ่นทั้งในเชิงความหลากหลายของประเภทสินทรัพย์ทั่วโลก และกลยุทธ์เน้นสร้างผลตอบแทนและกระแสเงินสดสูง ผ่านการหาประโยชน์จากความผันผวน ลดความเสี่ยงขาลงด้วยการทำป้องกันความเสี่ยง เหมาะกับนักลงทุนระยะยาวที่ต้องการสร้างผลตอบแทน แต่อยากได้กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นและมีเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยง
อ้างอิง: Bank of China, The Economic Times, IC Markets, Thrivent Mutual Funds, Trading Economics, Eastspring, The Daily Beast
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bp เหลือ 2% พร้อมกับส่งสัญญาณว่า ณ จุดนี้ น่าจะถือว่าเป็น Sweet spot ของนโยบายการเงินของยุโรป ณ เวลานี้
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่ออัตราเงินเฟ้อยุโรปในเดือนล่าสุดเพิ่งจะลดลงมาต่ำกว่าเป้าหมาย 2% แล้วไฉนอีซีบีจึงจะไม่คิดจะลดดอกเบี้ยลงต่อไปอีก
คำตอบ คือ อัตราเงินเฟ้อที่อีซีบีพิจารณาในการดำเนินนโยบายการเงินนั้น เป็นอัตราเงินเฟ้อระยะเวลาปานกลาง ไม่ใช่อัตราเงินเฟ้อระยะสั้น นอกจากนี้ การขึ้นหรือลดดอกเบี้ยของอีซีบีกว่าจะเห็นมรรคเห็นผลต่อเงินเฟ้อ ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง ที่สำคัญ วิธีการของอีซีบียังเป็นไปในลักษณะ Data Dependent หรือขึ้นกับข้อมูลเศรษฐกิจที่เข้ามา โดยที่ยังคงมองไปข้างหน้าหรือ Forward-looking เหมือนเดิม
หากเราพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจ พร้อม ๆ กับการลดลงของราคาพลังงานและค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นนั้น แน่นอนว่า ในระยะสั้น ย่อมจะไปกดอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% คำถามคือ แล้วสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวที่เป็นอยู่ในตอนนี้ จะส่งสัญญาณต่อความเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางอย่างไร
โดยช่วงระหว่างวิกฤตโควิด จะพบว่าค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเกือบ 14% ภายในเวลา 7 เดือน และการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาพลังงาน ได้เกิดสิ่งที่ตามมาคือ การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อแบบเป็นประวัติการณ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะนี้ ยุโรปมี 2 ปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อให้มีระดับที่สูงกว่า 2% ในระยะเวลาปานกลาง ได้แก่
หนึ่ง นโยบายการคลัง ภายใต้ในยุคโดนัลด์ ทรัมป์ ประเทศในยุโรปต่างเน้นทุ่มงบประมาณด้านกลาโหมแบบเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากสหรัฐประกาศชัดเจนว่าจะไม่ส่งกำลังทหารเข้ามาร่วมรบในยุโรป หากเกิดสงครามขึ้นในอนาคต อาทิ เยอรมันได้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อจะทุ่มงบประมาณด้านกลาโหมมูลค่า 5 แสนล้านยูโร หรือ กว่า 10% ของจีดีพี ในกรอบระยะเวลา 12 ปี โดยจะส่งผลต่อด้านอุปทานให้กดดันทำให้มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
สอง การแข่งขันกันขึ้นกำแพงภาษีระหว่างประเทศต่าง ๆ ย่อมจะส่งผลต่อระดับต้นทุนของวัตถุดิบและราคาสินค้าสำเร็จให้สูงขึ้น
จะเห็นได้จากช่วงโควิด ว่าเป็นการยากในประเมินอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว จึงขอแบ่งการประเมินผลกระทบปัจจัยของกำแพงภาษีเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1. ผลกระทบจากฝั่งด้านอุปสงค์ โดยแบ่งเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยแรก ผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐและต่ออุปสงค์ของโลกจากระดับกำแพงภาษีที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ผลลัพธ์ต่อเศรษฐกิจสหรัฐหลังการตั้งกำแพงภาษีในวันที่ 2 เมษายน ของทรัมป์ คือ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น รายได้ที่แท้จริงจะลดลง และอัตราการว่างงานจะสูงขึ้น
ทำให้เชื่อได้ว่าอุปสงค์ด้านต่างประเทศของยุโรปจะลดลงจากกำแพงภาษีที่สูงขึ้น โดยความรุนแรงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการเจรจา
ปัจจัยที่สอง ผลกระทบจากการปรับตัวผ่านการกระจายตัวใหม่ของอุปสงค์ที่เปลี่ยนไป โดยการทดแทนกันระหว่างสินค้าต่างประเทศและในประเทศ จะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหนนั้น จะเป็นตัวกำหนดว่าอุปสงค์ของสินค้าในยุโรปจะลดลงมากน้อยเพียงไหน หากยิ่งทดแทนกันได้ยาก ก็ยิ่งจะทำให้อุปสงค์ของสินค้าลดลงด้วยระดับที่น้อยลง
โดยเมื่อพิจารณาสินค้าที่ส่งออกจากยุโรปไปสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ยารักษาโรค เครื่องจักร รถยนต์ และเคมีภัณฑ์ จะพบว่าสินค้าดังกล่าวมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัว หรือ differentiated ที่สูง อาทิ เครื่องผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์สามารถทำได้โดยบริษัทในเนเธอร์แลนด์เพียงแห่งเดียว ส่วนธนบัตรของสหรัฐทำการผลิตโดยใช้เครื่องจักรจากบริษัทในเยอรมันแทบจะเพียงแห่งเดียว
นอกจากนี้ หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนมีความรุนแรงขึ้นมาก ๆ สินค้าที่สามารถจะทดแทนการส่งออกจากจีนไปสหรัฐ ก็เป็นสินค้าจากยุโรปเสียเป็นส่วนใหญ่
นั่นคือ การตั้งกำแพงภาษีน่าจะส่งผลเชิงลบต่ออุปสงค์ของสินค้ายุโรปในสัดส่วนที่จำกัด โดยการแข็งค่าของเงินยูโรแม้จะส่งผลให้ราคาของสินค้าส่งออกจากยุโรปไปสหรัฐสูงขึ้น ทว่าก็ทำให้ต้นทุนของวัตถุดิบของยุโรปต่ำลงเช่นกัน
2. ผลกระทบจากฝั่งด้านอุปทาน แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่
หนึ่ง การส่งต่อของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากกำแพงภาษีของผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งผลการสำรวจของทางการยุโรป พบว่า ผู้ผลิตเตรียมจะส่งผ่านต้นทุนดังกล่าวไปยังผู้บริโภคผ่านราคาสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาหมายรวมถึงในส่วนที่ไม่ได้รับผกระทบโดยตรงจากกำแพงภาษีด้วย
สอง ต้นทุนด้านการผลิตที่สูงขึ้นจากห่วงโซ่อุปทานที่ถูกกระทบโดยกำแพงภาษีของทรัมป์ ซึ่งผลการสำรวจของทางการยุโรป พบว่าต้นทุนด้านการผลิตของยุโรปก็มีระดับที่สูงขึ้นมากเช่นกัน โดยการนำเข้าของสินค้า Intermediate goods ของยุโรป กว่า 70% นำเข้ามาจากสหรัฐ
ดังนั้น หากพิจารณาจากปัจจัยทั้ง 2 ฝั่งแล้ว จะพบว่าสำหรับยุโรป ในตอนนี้ ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมีสูงกว่าความเสี่ยงจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะลดลง นอกจากนี้ หากพิจารณาตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Expectations) ระยะเวลา 1 ปีข้างหน้าของยุโรป จะพบว่า ล่าสุด ยังอยู่ในระดับเกือบ 3% ซึ่งยังคงต้องจับตาอยู่ จึงทำให้การที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายยุโรปไว้ที่ 2% น่าจะถือว่ามีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เส้นโค้งฟิลลิปส์ของยุโรปมีขนาดความชันที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้การลดลงของเงินเฟ้อนั้น น่าจะไม่ทำให้อัตราการว่างงานลดลงมากเท่าไรนักด้วย
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
Global Economic Prospects ฉบับล่าสุด World Bank (ธนาคารโลก) ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโตเพียง 2.3% ในปี 2025 ลดลงจากตัวเลขเดิมที่คาดไว้ 2.7% โดยเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2008 พร้อมเข้าสู่ทศวรรษแห่งความซบเซาที่เลวร้ายสุดนับจากปี 1960
ปัจจัยสำคัญมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งได้ทำลายเสถียรภาพเชิงนโยบายหลายอย่าง
กว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก ถูกปรับลดคาดการณ์การเติบโตลง ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ธนาคารโลกชี้ว่าได้รับผลกระทบชัดเจนจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้ารวม 10% และการเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียม ซึ่งทำให้ตลาดการเงินผันผวนอย่างหนัก
ทั้งนี้ แม้ว่าจีนกลับไม่ถูกปรับลดคาดการณ์การเติบโต เนื่องจากจีนยังมีเสถียรภาพทางการเงินเพียงพอที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนทางการเมืองระหว่างประเทศได้
อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์จะน่ากังวล แต่คงยังไม่ถึงขั้นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) โดยประเมินว่าโอกาสที่จะเกิดภาวะถดถอยทั่วโลกยังต่ำกว่า 10%
Finnomena Funds แนะนำกองทุนสายตั้งรับ หาโอกาสจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
K-GPINUH สร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอจากหุ้นปันผลสาย Defensive พร้อมรับ Premium จากการขาย Call Options
ES-GAINCOME กระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก ป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในตลาดขาลง
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ตลาดหุ้นโลกในเดือนพฤษภาคม 2568 ยังคงเคลื่อนไหวผันผวนอย่างหนัก โดยถูกขับเคลื่อนด้วยประเด็นสงครามการค้าเป็นหลัก ช่วงต้นถึงกลางเดือน ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากสัญญาณการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้า เมื่อสหรัฐฯ และจีนตกลงพักรบการขึ้นภาษีตอบโต้เป็นเวลา 90 วัน และจีนประกาศยกเลิกการควบคุมการส่งออกแร่หายากและสินค้าทางการทหารที่ตั้งเป้าไปยังบริษัทสหรัฐฯ เป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ยังได้เดินทางไปเจรจาการค้าในตะวันออกกลางและประกาศข้อตกลงความร่วมมือด้าน AI รวมถึงการเจรจาการค้ากับสหราชอาณาจักรที่มีความคืบหน้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน ความกังวลกลับเข้าปกคลุมตลาดอีกครั้ง หลังทรัมป์ขู่เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมกับสินค้ายอดนิยมเช่น iPhone หากไม่ย้ายฐานการผลิตกลับสหรัฐฯ และขู่ขึ้นภาษีสินค้ายุโรปถึง 50% หากการเจรจาการค้าไม่คืบหน้า ประกอบกับความกังวลต่อภาระหนี้สินของสหรัฐฯ หลังการประมูลพันธบัตรอายุ 20 ปีของสหรัฐฯ ได้รับอุปสงค์ที่ลดลง ส่งผลให้ดัชนี Fear & Greed ปรับลดลงจากระดับ Greed ในช่วงกลางเดือน
ด้านปัจจัยภูมิภาคและเศรษฐกิจ สหรัฐฯ เผชิญข้อมูลเศรษฐกิจที่ผสมผสาน โดยตัวเลข GDP ไตรมาส 1/2568 ถูกปรับลดลงในการประมาณการครั้งที่สอง สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนบ่งชี้ว่าผลกระทบจากภาษีนำเข้าบางส่วนถูกชดเชยด้วยภาวะเงินฝืดในภาคบริการ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.25%-4.5% โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังแข็งแกร่งพอที่จะให้เฟดมีเวลารอดูข้อมูลเพิ่มเติม แม้ตลาดจะยังคาดการณ์การลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลังก็ตาม สำหรับจีน ข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเมษายนยังคงอ่อนแอ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ยังอยู่ในภาวะเงินฝืด สะท้อนอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ซบเซาจากผลกระทบของสงครามการค้า ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและอัตราส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทางด้านอินเดีย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนเมษายนปรับตัวสูงขึ้นทั้งภาคการผลิตและบริการ ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และยังได้รับอานิสงส์จากการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ที่มีทิศทางบวก รวมถึงการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีน ส่วนญี่ปุ่นเผชิญภาวะ GDP ไตรมาส 1/2568 หดตัว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน มีข่าวการประกาศหยุดยิงระยะสั้นจากฝั่งรัสเซียในช่วงต้นเดือน และประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวในช่วงปลายเดือนว่าทั้งสองฝ่ายจะเริ่มการเจรจาสันติภาพในทันที
จากภาพรวมดังกล่าว เรายังคงแนะนำให้นักลงทุนใช้ความระมัดระวังและเน้นการกระจายความเสี่ยง แม้จะมีความผันผวนสูง แต่เรามองว่าประธานาธิบดีทรัมป์มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในท้ายที่สุด แนะนำให้ทยอยสะสมหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีที่ยังคงรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่ง (เช่น Nvidia ) ในช่วงที่ตลาดย่อตัว เช่น กองทุน ES-NDQPIN-A และกระจายการลงทุนไปยังภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นอินเดียซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานที่ปรับตัวดีขึ้นและได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าจำกัด สำหรับยุโรปยังคงต้องติดตามความคืบหน้าของการเจรจาการค้าอย่างใกล้ชิดอย่างไรก็ตามเราประเมินว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเจรจากันได้ รวมถึง ECB มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องแนะนำกองทุน ES-EG นอกจากนี้เรายังแนะนำกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ (ซึ่งปรับตัวขึ้นในช่วงปลายเดือน) และ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ( ES-GINFRA ที่มีรายได้สม่ำเสมอและปรับขึ้นตามเงินเฟ้อได้ ) เพื่อบริหารความผันผวนของพอร์ต สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อยหรือต้องการลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์ Absolute Return เช่น ES-ALPHABONDS ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่อไป
ตารางแสดงสัดส่วนการลงทุนพอร์ต Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 5 มิถุนายน 2025
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เส้นทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ สู่การเป็นแถวหน้าของฮับการผลิตชิป Semiconductor อะไรทำให้เกาหลีใต้เดินทางมาถึงจุดนี้ จากลูกหนี้รายใหญ่ของ IMF พลิกฟื้นสู่การเป็น Top Tier ของโลกด้าน AI
เวลานี้ถ้าจะนึกถึงผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ชื่อของเกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศแถวหน้าของโลก ด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดชิปหน่วยความจำ (Memory Chips) มากกว่า 60% ของโลก ภายใต้การนำของบริษัทสัญชาติเกาหลีอย่าง Samsung และ SK Hynix ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมตั้งแต่ DRAM, NAND Flash ไปจนถึง AI Chips ขั้นสูง
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้… ดินแดนกิมจิเคยเดินสะดุดล้มกับวิกฤตการเงินในปี 1997 ซึ่งก็คือเหตุการณ์ต้มยำกุ้งที่เริ่มต้นจากประเทศไทย และสั่นสะเทือนไปทั่วเอเชีย แต่เกาหลีใต้กลับสามารถพลิกฟื้นประเทศได้ในเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็น Case Study ที่น่าสนใจในการพลิกฟื้นประเทศ
อยากลงทุนในหุ้นเกาหลีใต้ มีกองทุนให้เลือก เช่น SCBKEQTG (Passive) และ DAOL-KOREAEQ (Active) โดยสามารถซื้อได้ง่าย ๆ ผ่านแอป Finnomena
ยุค 60s – 80s: เริ่มต้นสู่อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
เกาหลีใต้เริ่มต้นพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ จากการเป็นฐานผลิตชิ้นส่วนพื้นฐานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิทยุ และโทรทัศน์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี พร้อมตั้งเป้าหมายระยะยาวยกระดับประเทศสู่ผู้ผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง
ปี 1983: Samsung เป็นหัวหอกบุกผลิต DRAM
Samsung ประกาศเข้าสู่ตลาด DRAM (Dynamic RAM) และสามารถผลิต 64K DRAM ได้สำเร็จในปีเดียวกัน ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่พัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้ต่อจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ปี 1992: เป็นฐานการผลิต Memory Chips ที่สำคัญของโลก
Samsung ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกในตลาด DRAM ส่วน LG และ Hyundai Electronics (ปัจจุบันคือ SK Hynix) ก็มีบทบาทสำคัญในตลาดหน่วยความจำ ทำให้เกาหลีใต้เริ่มถูกจับตาในฐานะศูนย์กลางชิปหน่วยความจำ
ปี 1997: เจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
เผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ ประเทศขาดสภาพคล่องในระบบการเงิน ต้องกู้เงินจาก IMF เป็นวงเงินรวมประมาณ 58,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นแพ็กเกจช่วยเหลือที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น
ปี 1998–2005: ฟื้นตัวจากวิกฤต ด้วยการปฏิรูปเชิงลึก
เกาหลีใต้รับความช่วยเหลือจาก IMF และใช้โอกาสนี้ปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบ ลดการผูกขาดของกลุ่ม Chaebol เสริมความโปร่งใส เปิดเสรีตลาดการเงิน พร้อมเร่งลงทุนในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล คู่กับการสร้าง Soft Power ไปด้วยกัน
ปี 2019: เริ่มยุทธศาสตร์ AI แห่งชาติ
รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศ National Strategy for Artificial Intelligence ตั้งเป้าสู่การเป็น Top Tier ของโลกด้าน AI ภายในปี 2030 ด้วยการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน AI เสริมสร้างบุคลากร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปี 2022: ประกาศนโยบาย Korea Digital Strategy
เปิดตัวนโยบาย Korea Digital Strategy ให้ชาวเกาหลีทุกคนเข้าถึงและใช้งาน AI จริงจริงภายในปี 2025 เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติที่ยกระดับ AI จากภาคอุตสาหกรรม สู่การเป็นวาระของคนทั้งชาติ
ปี 2024: ยกระดับ Semiconductor Hub สู่ AI Superpower
เกาหลีใต้ลงทุนมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ในเทคโนโลยี AI ภายในปี 2027 พร้อมพัฒนาโครงการคลัสเตอร์เซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ รวมศูนย์วิจัย การผลิต และการศึกษา รวมทั้งสนับสนุน R&D โดยให้เครดิตภาษีสูงสุดถึง 50% เพื่อจูงใจภาคเอกชน
ในวันนี้ Samsung และ SK Hynix คือผู้นำโลกในตลาดหน่วยความจำ ครองส่วนแบ่งตลาด DRAM และ NAND Flash พร้อมทั้งกำลังก้าวสู่ผู้นำด้านชิป AI (เช่น HBM3E) เพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีแห่งอนาคต เช่น Generative AI และรถยนต์ไร้คนขับ
เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของประเทศที่สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ใช้เทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ระยะยาวเพื่อสรรค์สร้างอนาคต จากจุดที่เกือบล้มละลาย สู่อุตสาหกรรมที่ทั้งโลกต้องพึ่งพา
Source: InvestKorea, Futurum, Korea.net
Finnomena Funds ปรับเพิ่มมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มตลาดหุ้นไทย โดยแนะนำทยอยสะสม เน้นลงทุนในหุ้นปันผลสูง
Finnomena Funds แนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นไทย ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นปันผลสูง หรือกลุ่มกองทุน Thai ESGX รวมถึงใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นรายตัวแบบ Selective & Dynamic ในหุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort
จุดเสี่ยงหนี้สาธารณะสหรัฐอเมริกา $36 ล้านล้าน คิดเป็น 122% ของ GDP และกว่า 1 ใน 3 จะครบกำหนดปีนี้ แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงก่อหนี้เพิ่ม $1 ล้านล้านในทุกไตรมาส จนใกล้ชนเพดานหนี้ (X-Date) ในเดือนสิงหาคมนี้ เป็นจุดสำคัญที่ดัน Bond Yield ยืนสูง !! โอกาสหรือความเสี่ยง กองทุนตราสารหนี้โลก
1.) ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา มีหนี้สาธารณะสูง 36.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 122% ของ GDP ถือเป็นประเทศที่มีมูลค่าหนี้สาธารณะมากที่สุดในโลก
2.) เกือบ 1 ใน 3 หรือประมาณ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์ จะครบกำหนดในปี 2025 นี้ แต่เราพบว่าตั้งแต่ต้นปี 2023 ถึงกลางปี 2025 หนี้สาธารณะสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1 ล้านล้านดอลลาร์ในทุกไตรมาส
3.) Scott Bessent รมว.คลัง สหรัฐฯ ประเมินว่า X-Date วันที่รัฐบาลจะไม่มีเงินสดพอใช้จ่ายหนี้และ และไม่สามารถกู้เพิ่มได้เพราะชนเพดานหนี้แล้ว จะอยู่ที่ประมาณเดือนสิงหาคมนี้ หากยังไม่มีการขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling)
4.) ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ เกิดแรงกดดันต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ให้พุ่งสูงขึ้น นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นเพื่อแลกกับการถือครองหนี้ระดับนี้ ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสหรัฐฯ สูงขึ้น
5.) Bond Yield สหรัฐฯ กลับไปเคียงกับระดับปี 2006-2007 สะท้อนความกังวลของนักลงทุน
6.) ประเด็นมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ที่อาจเป็นจุดวิกฤตการเงิน แต่ก็เป็นจังหวะล็อกผลตอบแทนระยะยาวจาก Yield ที่สูง
7.) ตลาดอาจ Panic ระยะสั้น ถ้าเข้าใกล้ X-Date แต่อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้จริง และสามารถขยายเพดานหนี้ไปได้ตลอด
8.) การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้โลกอายุยาว ถือเป็นจังหวะเก็บของถูก พร้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีหลังปัญหาคลี่คลาย และยังเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว
9.) Fed มีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ย พันธบัตรระยะยาวจะได้รับอานิสงส์ จาก Bond Yield ที่ลดลง และราคาตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นด้วย
10.) แนะนำกองทุน KT-BOND ตราสารหนี้โลกอายุยาว ประมาณ 7 ปี ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Global Bond Fund อ้างอิงดัชนี Bloomberg Global Aggregate (USD Hedged) Index ซึ่งปัจจุบันกองทุนหลักมีตัวเลข Yield to Maturity คาดการณ์ที่ 6.46%
FundTalk Contrarian Call แนะนำซื้อ KT-BOND กองทุนตราสารหนี้โลกอายุยาว ซึ่งมีความน่าสนใจจากการที่ Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางเลือกในการป้องกันความผันผวน จากประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีทรัมป์ และมีปัจจัยหนุนจากการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เพราะโลกการลงทุนไม่ต่างจากอากาศ
บางวันแดดเปรี้ยง บางวันฝนซัด บางวันพายุเข้าแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
ถ้าคุณพกแต่แว่นกันแดด โดยไม่เตรียมร่มหรือเสื้อกันฝนเลย พอร์ตของคุณอาจเปียกโชกก่อนถึงเป้าหมาย
และในโลกที่สภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนเร็วกว่าพยากรณ์จากกรมอุตุฯ
นักลงทุนระดับโลกอย่าง Ray Dalio กลับไม่พยายามทายอากาศ แต่เลือก “เตรียมพร้อมทุกฤดู” ด้วยพอร์ตที่มีชื่อว่า “All Weather Portfolio”
พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework ในการวิเคราะห์การลงทุน มุ่งหวังเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดูรายละเอียดและลองสร้างแผนได้ที่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws
ย้อนกลับไปปี 1971 วันที่ประธานาธิบดีนิกสันประกาศลอยค่าเงินดอลลาร์ เหตุการณ์พลิกโลกที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่อย่าง “Ray Dalio” ถึงกับงง เพราะเขาคาดว่าตลาดหุ้นจะดิ่งเหว แต่มันกลับพุ่งกระฉูด นี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาตระหนักเกี่ยวกับ “วัฏจักรเศรษฐกิจ” (Economic Cycles) ที่ซ้ำรอยประวัติศาสตร์
เขาเริ่มแกะรอยความเชื่อมโยงเบื้องหลังเหตุการณ์ต่าง ๆ ราวกับนักสืบไขคดีปริศนา จนพบว่าวิกฤตการณ์ที่ดูเหมือนเกิดขึ้นใหม่นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียง “อีกครั้งหนึ่ง” ของปรากฏการณ์เดิม ๆ ที่วนเวียนในประวัติศาสตร์ภายใต้หน้ากากใหม่
จากความเข้าใจลึกซึ้งนี้เองทำให้ Ray Dalio ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates จุดประกายแนวคิดการลงทุนจากคำถามที่ว่า “จะมีพอร์ตการลงทุนแบบไหนที่เอาอยู่ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเงินเฟ้อ เงินฝืด เศรษฐกิจบูม หรือเศรษฐกิจซบเซา?”
คำถามนี้เองที่เป็นเชื้อเพลิงให้เกิด “All Weather” กลยุทธ์การลงทุนระดับตำนานที่มองข้ามการคาดการณ์อนาคต แต่เน้นการสร้างสมดุลราวกับหยินและหยางของโลกการเงิน
Ray Dalio สร้างพอร์ตที่ชื่อว่า “All Weather Portfolio” หรือถ้าแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายคือ “พอร์ตการลงทุนที่ทนทุกฤดู”
ไม่ได้พยายามทายอนาคตว่าตลาดจะขึ้นหรือลง แต่สร้างพอร์ตที่ “ไม่ต้องเดา” หลักคิดของพอร์ตนี้คือ “โลกนี้มี 4 ฤดูเศรษฐกิจ”
ฤดูที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ธุรกิจเติบโต มีการลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานสูงขึ้น ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและใช้จ่ายมากขึ้น กำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
สินทรัพย์ที่ได้เปรียบในฤดูนี้: หุ้น (Stocks), สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)
ฤดูนี้คือช่วงที่โมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มอ่อนแรงลง อัตราการเติบโตช้าลง หรืออาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ธุรกิจอาจเริ่มชะลอการลงทุนและจ้างงาน ผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังในการใช้จ่าย
สินทรัพย์ที่ได้เปรียบในฤดูนี้: สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities), ทองคำ (Gold), พันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ (Inflation-linked Bonds)
ฤดูที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้นและอำนาจซื้อของเงินลดลง
สินทรัพย์ที่ได้เปรียบในฤดูนี้: พันธบัตรรัฐบาล (Nominal Bonds), พันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ (Inflation-linked Bonds), ทองคำ (Gold)
ฤดูที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง ราคาสินค้าและบริการยังคงเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราที่ลดลง หรืออาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด (Deflation) ที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลง
สินทรัพย์ที่ได้เปรียบในฤดูนี้: หุ้น (Stocks), พันธบัตรรัฐบาล (Nominal Bonds)
ที่มา: Bridgewater Associates
บางสินทรัพย์คือเกราะ บางสินทรัพย์คือดาบ แต่รวมกันคือชุดรบที่พาคุณรอดออกจากสนามได้
พอร์ตนี้ไม่พยายามชนะให้สูงสุดในช่วงใดช่วงหนึ่ง แต่สร้างโอกาสรอด ด้วยการกระจายความเสี่ยงและปรับสมดุลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงระยะยาวในทุกภาวะตลาด โดยไม่จำเป็นต้องคาดการณ์อนาคต
แนวคิด All Weather Portfolio มีหลักการสำคัญอยู่ที่การ “กระจายความเสี่ยง” ไปยังสินทรัพย์หลากหลายประเภทที่มีความสัมพันธ์กันต่ำ (Low Correlation) เพื่อให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ โดย Ray Dalio ได้เสนอสัดส่วนการลงทุนโดยประมาณ ดังนี้
ที่มา: https://portfolioslab.com/portfolio/ray-dalio-all-weather (ณ วันที่ 6 มิ.ย. 2568)
สำหรับใครที่อยากจัดพอร์ตตามหลัก All Weather ของ Ray Dalio แต่ไม่มีเวลาหรือความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สินทรัพย์ พอร์ต All Weather Strategy (AWS) คือคำตอบ!
พอร์ต All Weather Strategy (AWS) คือพอร์ตกองทุนที่พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด ใช้โมเดล FVMR Framework เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน มีการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการลงทุนอย่างมั่นคง พร้อมการบริหารความเสี่ยงที่ช่วยให้วางใจได้ เพราะมีอดีตนักวิเคราะห์อย่างคุณ Andrew Stotz มาช่วยดูแลพอร์ตให้คุณ
พอร์ต All Weather Strategy (AWS) เป็นพอร์ตการลงทุนที่ทางทีมงานของ Dr. Andrew Stotz จับมือร่วมกับ Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้นมา โดยพอร์ต AWS นี้ มุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยปกป้องพอร์ตให้พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด (All Weather) โดยลงทุนในกองทุน Passive เสริมด้วยการคัดเลือกกองทุนที่มีโอกาสชนะกองทุน Passive เพิ่มเติม และมีการปรับพอร์ต (Rebalance) ปีละ 4 ครั้ง
สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Finnomena Funds แนะนำลงทุนต่อเนื่อง แต่ลดระดับความเข้มข้นเกมรุก แล้วหันไปเสริมแกร่งแนวรับ ในช่วงที่ตลาดหุ้นโลกทดสอบจุดสูงสุดเดิม ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
ภาพรวมตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลกกลับอยู่ในภาวะสดใสอีกครั้ง และหลายดัชนีสำคัญกำลังทดสอบจุดสูงสุดเดิม แต่อย่างไรก็ดี เชื่อว่าระยะถัดจากนี้ มีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะชะลอความร้อนแรงลงมา และพักฐานบ้างเป็นระยะ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องความผันผวนของสงครามการค้ายังมีอยู่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัว เช่น PMI เดือนพฤษภาคม หดตัวลงจากระดับ 51.6 สู่ระดับ 49.9 มากกว่าที่ตลาดคาด
เพราะฉะนั้น จึงแนะนำใช้จังหวะนี้แบ่งขายทำกำไร พร้อมกับกระจายการลงทุนและหาประโยชน์จากความผันผวน เช่น เพิ่มสัดส่วนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ ตลอดจนลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive และกองทุนที่มีกลยุทธ์สร้างรายได้ในช่วงตลาดขาลง เป็นต้น
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนหาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) K-GPINUH-A(A) และ K-GPINUH-A(R) (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นโลกสาย Defensive และมีรายได้ Premium จากการขาย Call Options ในช่วงตลาดขาลง ซึ่งเหมาะกับจังหวะในการสลับจากหุ้นกลุ่ม Growth ไปยังกลุ่มหุ้นตั้งรับ เช่น Health Care, Consumer Staples, Utility ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัว
2.) KT-BOND (ความเสี่ยงระดับ 4)
กองทุนตราสารหนี้โลกอายุยาว ลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Global Bond Fund ที่อ้างอิงดัชนี Bloomberg Global Aggregate (USD Hedged) Index ปัจจุบันมี Yield to Maturity คาดการณ์ที่ 6.46% และเน้นลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวประมาณ 7 ปี) พร้อมรับประโยชน์จากการทยอยปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก
3.) TEMXCH (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเอเชียตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน) ที่เน้นลงทุนในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และอินเดีย ซึ่งจะได้รับประโยชน์โดยตรงหากเกิดการย้ายฐานผลิตออกจากจีน (China+1) หลังประเทศต่าง ๆ เจรจา Trade Deal สำเร็จ และมีแรงหนุนทางอ้อมจากสกุลเงินเอเชียที่แข็งค่า
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนามเติบโตสูง เป็นประเทศเป้าหมายในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีโอกาสสูงที่จะ Make Deal กับสหรัฐฯ ซึ่งจะกลายเป็นโมเมนตัมที่ดีต่อเนื่องในการหนุนตลาดหุ้นเวียดนาม
2.) ABGFIX-A และ SCBFST (ความเสี่ยงระดับ 4)
กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ สำหรับเป้าหมายการเก็งกำไรระยะสั้น โดยมองสัญญาณทางเทคนิค หาก Dollar Index ยืนที่ระดับ 98 จุด แล้วดีดขึ้นได้สำเร็จ จะเป็นจุดต่ำสุดของรอบนี้แล้
3.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง ถือเป็นอีกหนึ่งหุ้นเอเชียในธีม Trade Deal ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หากการเจรจาทางการค้าราบรื่น เตรียมรับกับ Fund Flow ไหลเข้าจำนวนมาก ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical
1.) ES-GAINCOME-A และ ES-GAINCOME-RP (ความเสี่ยงระดับ 5)
กองทุนผสมที่เน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Global Multi-Asset Allocation
) อาทิ หุ้น, Equity Linked-note, ตราสารหนี้ และ Catastrophe Bond ตลอดจนมีการป้องกันความเสี่ยงขาลง (Hedging) เหมาะกับการลงทุนเพื่อหาประโยชน์จากความผันผวนจากแนวทางการบริหารของ Donald Trump
2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นเวียดนามศักยภาพสูง เป็นตลาดที่ถูกและดี พร้อมด้วย Sentiment จากธีม China+1 และมีแรงหนุนระยะยาวทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งล่าสุดเวียดนามได้อัปเกรดตลาดโดยนำระบบซื้อขายของ Korea Exchange มาใช้เพื่อยกระดับตลาดทุน
3.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)
กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง เป็นตลาดที่สามารถเก็บสะสมได้ในระยะยาว หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกปรับเพิ่มขึ้น พร้อมด้วย Sentiment จากธีม China+1
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เกิดเหตุการณ์ปะทะกันจนถึงขั้นลงไม้ลงมือภายในทำเนียบขาว ระหว่าง Elon Musk มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก กับ Scott Bessent รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งรุนแรงจนต้องมีเจ้าหน้าที่เข้ามาห้ามสถานการณ์
ความขัดแย้งระหว่าง Musk และ Bessent เริ่มต้นจากตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการกรมสรรพากร (IRS) ที่ทั้งคู่เสนอชื่อผู้สมัครของตนเองให้ประธานาธิบดี และเหตุการณ์ก็ได้ลุกลามจากการโต้วาทีในห้องทำงานรูปไข่ กลายเป็นการปะทะอย่างดุเดือดที่หลายคนในวอชิงตันยังพูดถึงไม่หยุด
ตามรายงานจาก The Washington Post และข้อมูลจาก Steve Bannon อดีตที่ปรึกษาของ Trump เหตุการณ์บานปลายเมื่อ Bessent ตะโกนด่าทอ Musk ว่าเป็น “พวกหลอกลวง” เพราะล้มเหลวตามเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าหน่วยงานพิเศษ DOGE (Department of Government Efficiency) ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ Musk ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ผลลัพธ์กลับต่ำกว่า 0.5% ของเป้าหมาย
Musk ไม่ยอมรับคำวิจารณ์นี้ โดย Bannon เล่าว่า “Musk พุ่งชน Bessent เต็มแรงอย่างกับนักรักบี้” ก่อนที่จะได้รับหมัดสวนกลับอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ลุกลามจนเจ้าหน้าที่หลายคนต้องเข้ามาห้ามปราม ผู้เห็นเหตุการณ์บางคนบอกว่าสองคนนี้ทะเลาะกันไปจนถึงหน้าห้องที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ
แม้โฆษกทำเนียบขาวจะบอกว่าเป็นแค่ “ความเห็นไม่ลงรอยกันตามปกติ” แต่ในแวดวงการเมือง เหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง Musk กับ Trump ถึงจุดแตกหัก
ก่อนหน้านี้ Musk ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้า DOGE อย่างเป็นทางการ ท่ามกลางท่าทีที่ยังดูเป็นมิตร แต่ไม่นานเขาก็เริ่มโจมตีรัฐบาล Trump อย่างหนัก โดยเฉพาะร่างกฎหมาย “One Big Beautiful Bill” ที่ตั้งใจขยายการลดภาษี เพิ่มงบกลาโหม และลดงบสวัสดิการ
Musk ระบุว่ากฎหมายฉบับนี้เป็น “ความอัปยศ” ที่จะทำให้หนี้รัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงและกระทบเศรษฐกิจโดยรวม
นอกจากนี้ Musk ยังให้สัมภาษณ์ในเชิงถากถาง บอกว่า Trump จะชนะเลือกตั้งปี 2024 ไม่ได้หากขาดการสนับสนุนทางการเงินจากเขา และแสดงท่าทีว่าชื่อของ Trump อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลลับในคดี Jeffrey Epstein นักธุรกิจที่ถูกจับกุมในคดีค้ามนุษย์และล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ก่อนเสียชีวิตในเรือนจำปี 2019
แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน แต่ข้อกล่าวหานี้กลายเป็นชนวนที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง Musk และ Trump ตึงเครียดถึงขีดสุด
ทางฝั่ง Trump ก็ไม่ยอมปล่อยผ่าน ตอบโต้ Musk ว่า “บ้าไปแล้ว” และขู่ว่าจะยกเลิกสัญญาของรัฐบาลกับบริษัทในเครือ Musk อย่าง SpaceX และ Tesla พร้อมเตือนว่าถ้า Musk สนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต จะมี “ผลลัพธ์รุนแรงตามมา”
แม้จะมีรายงานว่า Musk เริ่มลดท่าทีความโกรธและลบโพสต์บางส่วนที่วิจารณ์ Trump แต่ทำเนียบขาวและ Trump เองยืนยันว่า “ไม่มีทางกลับมาคืนดีอีกแล้ว”
ความขัดแย้งนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัวของมหาเศรษฐีหรือการเมืองเท่านั้น แต่มันยังสะท้อนทิศทางงบประมาณ นโยบายเศรษฐกิจ และแม้แต่ผลการเลือกตั้งในอนาคตด้วย
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า Elon Musk ลงทุนกว่า 300 ล้านดอลลาร์ในแคมเปญของพรรครีพับลิกันเมื่อปี 2024 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่อาจ “เขย่าดุลอำนาจในรัฐสภา” ได้จริง
คำถามต่อไปคือ Musk จะเดินหน้าจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ตามที่เคยประกาศหรือไม่? และถ้าเขาหันหลังให้กับพรรครีพับลิกันจริง อำนาจของเงินและเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงการเมืองอเมริกาไปอย่างไร?
อ้างอิง: The Washington Post, The Times of India, The Times of Israel, Yahoo
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ย้อนกลับไปปี 2562 รัฐประกาศยุติสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุน LTF อย่างเป็นทางการ แต่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่เคยซื้อไว้ก่อนหน้านั้น ยังคงถือ LTF เดิมไว้อยู่ จนทยอยครบกำหนดขายคืนได้แล้วในช่วงปี 2566-2568 และในปีภาษี 2568 นี้ รัฐได้เปิดทางเลือกพิเศษ ให้สามารถ “สับเปลี่ยน” LTF เดิมไปกองทุน Thai ESGX เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีได้อีกครั้ง
เชื่อว่าหลายคนยังคงลังเลกับการสับเปลี่ยนนี้อยู่… ถ้าถือ LTF ไว้เหมือนเดิม ไม่สับเปลี่ยนไป Thai ESGX จะเป็นอะไรไหม? จะเสียสิทธิภาษีหรือเปล่า? จะยังขายได้ไหม? หรือถือไว้เฉย ๆ ก็ได้ บทความนี้จะสรุปทุกคำตอบแบบเข้าใจง่ายเพื่อช่วยให้คนที่มี LTF อยู่ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
หลังจากหมดช่วงเวลาที่เปิดให้สับเปลี่ยนกองทุน LTF เป็นกองทุน Thai ESGX (ภายในวันที่ 13 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568) แล้ว LTF จะ…
หากไม่สับเปลี่ยน LTF เดิม ไปเป็นกองทุน Thai ESGX จะไม่ได้รับสิทธิในการใช้วงเงินลดหย่อนภาษีตามวงเงิน 2 ซึ่งมีมูลค่าลดหย่อนสูงสุด 500,000 บาท (ปีแรกไม่เกิน 300,000 บาท ปีที่ 2-5 ลดหย่อนสูงสุดปีละ 50,000 บาท) โดยสิทธินี้เป็นมาตรการเฉพาะปีภาษี 2568 สำหรับผู้ที่ดำเนินการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF ไปยัง Thai ESGX ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น
หากเลือกไม่สับเปลี่ยน LTF เดิมไปเป็นกองทุน Thai ESGX ผู้ลงทุนยังสามารถลงทุนใน Thai ESGX ได้ตามปกติ และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตาม วงเงิน 1 ได้ โดยไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงื่อนไขเดียวกันกับการลงทุนในกองทุน Thai ESG
สำหรับปีภาษี 2568 ภาครัฐเปิดให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุน ESG ได้รวมกันสูงสุดไม่เกิน 900,000 บาท โดยแบ่งตามประเภทวงเงิน ดังนี้
ดังนั้น หากผู้ลงทุนไม่ดำเนินการสับเปลี่ยน LTF เดิมไปยัง Thai ESGX ตามเงื่อนไขภายในช่วงเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถใช้สิทธิในวงเงิน 2 ได้ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เต็มตามวงเงินรวมสูงสุดที่ภาครัฐกำหนดไว้สำหรับปี 2568
อ่านเพิ่มเติม RMF, Thai ESG, Thai ESGX ใช้สิทธิยังไงไม่ให้ทับซ้อน? โอกาสลดหย่อนภาษีปี 68 ที่ต้องวางแผนให้ดี
เงื่อนไขสำคัญ: ต้องสับเปลี่ยน LTF เดิมที่มีอยู่ทั้งหมดไปยัง Thai ESGX ภายในช่วงวันที่ 13 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568 โดยต้องไม่มีการขายหรือสับเปลี่ยน LTF ใด ๆ ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป และหลังจากสับเปลี่ยนแล้วต้องถือครอง Thai ESGX อย่างน้อย 5 ปี (นับวันชนวัน)
LTF จะกลายเป็นกองทุนผสมทั่วไป ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาถือครองเพิ่มเติม และไม่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการลงทุนต่อ
ถ้ายังไม่ต้องการสับเปลี่ยน LTF เป็น Thai ESGX ก็สามารถถือไว้ได้ แต่ถ้ายังอยากวางแผนภาษีต่อเนื่องในอนาคต การทยอยขาย LTF เดิมแล้ววางแผนลงทุนใหม่ผ่าน RMF (หากยังมีวงเงินภาษีเหลืออยู่) ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
หากท่านประสงค์จะใช้สิทธิในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากกองทุน LTF ไปยังกองทุน Thai ESGX กรุณาติดต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่ท่านถือหน่วยลงทุนอยู่
Finnomena Funds คัดกองทุน Thai ESGX ที่เดียวครบจาก 19 บลจ. ชั้นนำ โอกาสการลงทุนครั้งสำคัญ พร้อมลดหย่อนภาษีเฉพาะปี 2568 ลงทุนภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้เท่านั้น
ดูคำแนะนำเพิ่มเติม 👉 https://finno.me/thaiesg-hub-ws
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน Thai ESGX กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299