Netflix รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 13% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025 เป็นผลมาจากจำนวนผู้สมัครสมาชิกเพิ่มขึ้นและรายได้จากโฆษณาที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา Netflix ได้ปรับขึ้นราคาแพ็กเกจทั้งหมด โดยปรับราคาแพ็กเกจมาตรฐานเป็น 17.99 ดอลลาร์ต่อเดือน แพ็กเกจที่รองรับโฆษณาเป็น 7.99 ดอลลาร์ และแพ็กเกจพรีเมียมเป็น 24.99 ดอลลาร์
รายงานผลประกอบการครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ Netflix ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขผู้สมัครสมาชิกรายไตรมาส เพราะบริษัทกำลังปรับกลยุทธ์ ไปเน้นที่รายได้และตัวเลขทางการเงินอื่น ๆ เพื่อใช้วัดผลงานแทน
แม้ว่าช่วงนี้หุ้นของบริษัทสื่อดั้งเดิมหลายแห่งจะได้รับผลกระทบจากตลาดที่ผันผวนเพราะนโยบายการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ Netflix ยังคงคาดการณ์รายได้ตลอดทั้งปีไว้ที่ 43.5 ถึง 44.5 พันล้านดอลลาร์
ในขณะที่นักลงทุนหลายคนกังวลว่ามาตรการภาษีอาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เกร็ก ปีเตอร์ส co-CEO ของ Netflix กล่าวในการประชุมรายงานผลประกอบการของบริษัทว่า “จากที่เราได้เห็นจากการดำเนินธุรกิจจริง ๆ ในตอนนี้ ยังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษ”
สรุปผลประกอบการของ Netflix ในไตรมาส 1 ปี 2025 เทียบกับตัวเลขที่นักวิเคราะห์จาก LSEG คาดการณ์ไว้:
ที่มา: https://www.cnbc.com/2025/04/17/netflix-nflx-earnings-q1-2025.html
Tesla กำลังเผชิญกับการฟ้องร้องแบบกลุ่มโดยผู้บริโภครายหนึ่ง ที่กล่าวหาว่าบริษัทเร่งการทำงานของมาตรวัดระยะทาง (odometer) ในรถยนต์ไฟฟ้าของตน เพื่อให้ระยะเวลารับประกันสิ้นสุดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
Nyree Hinton ผู้ยื่นฟ้องจากลอสแอนเจลิส อ้างว่า มาตรวัดระยะทางของ Tesla ไม่ได้แสดงระยะทางที่ขับขี่จริง เป็นค่าที่คำนวณจากการใช้พลังงาน ลักษณะการขับขี่ และอัลกอริธึมของระบบ
เขากล่าวว่า มาตรวัดระยะทางในรถยนต์ Model Y ปี 2020 ที่เขาซื้อในเดือนธันวาคม 2022 แสดงเลขไมล์ที่ 36,772 ไมล์ ซึ่งแสดงผลเร็วเกินจริงอย่างน้อย 15% เมื่อเทียบกับรถคันอื่นและพฤติกรรมการใช้งานของเขา
เขายกตัวอย่างว่า ในช่วงหนึ่งมาตรวัดแสดงว่าเขาขับรถ 72 ไมล์ต่อวัน ทั้งที่จริงแล้วเขาขับไม่เกิน 20 ไมล์ ซึ่งส่งผลให้การรับประกันพื้นฐานที่ครอบคลุมระยะทาง 50,000 ไมล์สิ้นสุดเร็วกว่ากำหนด และทำให้เขาต้องรับผิดชอบค่าซ่อมระบบช่วงล่างมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ด้วยตนเอง ซึ่งเขาเชื่อว่า Tesla ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้
ในคำฟ้องยังระบุว่า “Tesla ผูกเงื่อนไขการรับประกันและข้อจำกัดการเช่าไว้กับค่าระยะทางที่แสดงเกินจริง เพื่อเพิ่มรายได้จากบริการซ่อม ลดภาระความรับผิดเรื่องการรับประกัน และบีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องซื้อประกันเพิ่มก่อนเวลาอันควร”
จนถึงขณะนี้ Tesla และทีมกฎหมายยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวในวันพฤหัสบดี โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด
Hinton เรียกร้องให้ศาลสั่งให้ Tesla ชดเชยค่าเสียหายและเชิงลงโทษให้กับผู้ใช้รถ Tesla ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอาจครอบคลุมรถยนต์มากกว่า 1 ล้านคันตามข้อมูลในเอกสารของศาล
ที่มา: https://finance.yahoo.com/news/tesla-speeds-odometers-avoid-warranty-213536905.html
เกษียณด้วยการมีเงินก้อน 10 ล้านบาท ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นเงินก้อนใหญ่มาก แต่ความจริงแล้วทุกคนสามารถทำได้ แม้เราจะไม่ได้มีเงินต้นมากมาย
ซึ่งถ้าใครที่ไม่ได้มีแต้มต่อจากเงินต้น ก็ต้องใช้ “ระยะเวลา” และ “ผลตอบแทนจากการลงทุน” มาช่วยเป็นพลังสร้างเงินก้อนโต
วันนี้เราเลยมีไอเดียคร่าว ๆ แผนการไปถึง 10 ล้านบาทมาฝากให้ลองเลือกใช้กันดูครับ
FinSpace
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนบางรายการในอัตราสูงถึง 245% นั้น ไม่สมเหตุสมผลทางเศรษฐกิจอีกต่อไป
ทำเนียบขาวเผยแพร่เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสอบสวนตามมาตรา 232 บนเว็บไซต์เมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยระบุว่า จีนเผชิญกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ สูงสุดถึง 245% เป็นผลมาจากการตอบโต้ของจีน
เมื่อถูกสอบถามถึงประเด็นนี้ โฆษกระบุว่า จีนได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนแล้วว่า การขึ้นภาษีอย่างไม่สมเหตุสมผลของสหรัฐฯ ต่อจีน กลายเป็นเพียง “เกมตัวเลข” ที่ไม่ได้ส่งผลในเชิงเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญอีกต่อไป หากแต่สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ใช้นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือในการกดดันและข่มขู่ประเทศอื่น
“จีนไม่ต้องการที่จะต่อสู้ในสงครามเหล่านั้น แต่เราก็ไม่กลัวเช่นกัน” โฆษกกล่าว พร้อมย้ำว่าสงครามภาษีและการค้าไม่มีผู้ชนะ
“หากสหรัฐฯ ยังคงเล่นเกมตัวเลขด้วยการตั้งกำแพงภาษีต่อไป ก็คงจะไม่มีผลอะไร แต่หากสหรัฐฯ ยังคงสร้างความเสียหายต่อสิทธิและผลประโยชน์ของจีน จีนก็จะตอบโต้ด้วยมาตรการที่เด็ดขาด และจะยืนหยัดในจุดยืนของเราจนถึงที่สุด” โฆษกกล่าว
ที่มา: https://english.news.cn/20250417/3f6e3e6886ee40b5ae70f1c27d073691/c.html
Sequence of Returns Risk คือหนึ่งในความท้าทายชีวิตหลังเกษียณ
พอร์ต Conservative แบบเดิมเพียงพอที่รับมือได้หรือไม่?
ในปี 2022 เมื่อตราสารหนี้ปรับตัวลง -20% ทำให้พอร์ตอนุรักษ์นิยมแบบดั้งเดิม ติดลบเกือบ -10% เกิดคำถามว่า พอร์ตอนุรักษ์นิยมแบบเดิม ตายไปหรือยัง !!
ผมเขียนบทความ พอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิมแบบอนุรักษ์นิยม ตายหรือยัง
ปี 2024 มีลูกค้าผมที่เป็นคนไทยทำงานที่ Singapore ต้องการลงทุนพอร์ตแบบ Conservative โดยผลตอบแทนคาดหวังอยู่ที่ 4% ต่อปี อยากได้ drawdown ประมาณ -10% สามารถถอนเงินได้ถ้าต้องการ ผมได้ออกแบบพอร์แบบ Conservative โดยใช้ Option Based ETF
ผล Backtest ระหว่าง 2022 – 2024
โดยสรุป
ในปี 2025 จึงเป็นการลงทุนจริง ๆ เรามาดูว่า model ผลเป็นอย่างไร
สรุปเปรียบเทียบพอร์ต: ช่วงเวลา 2022–2024 vs YTD 2025
พอร์ต Option Based ETF ยังคง “ยืนหนึ่ง” ด้านความเสี่ยงต่ำและ Sharpe Ratio เป็นบวก แม้ผลตอบแทน YTD จะไม่สูงมาก
ดังนั้นการลดผลกระทบต่อ Sequence of Returns Risk
ใครสนใจ Option Based ETF อ่านเพิ่มได้ที่ ทำไมควรจะมี Buffer ETF (Option Based Strategy) ในพอร์ตแบบ Conservative
สนใจลงทุน Global Aggressive Hybrid Portfolio สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
WealthGuru
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
ภายใต้แรงกดดันจากนโยบายภาษีนำเข้าที่เข้มงวด โดยมีอัตราสูงถึง 125% และ 84% ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลักที่พึ่งพาการส่งออกอย่างหนัก เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคบางส่วนจากจีนประมาณ 20% อาจโดนเก็บภาษี 125% ทำให้ราคาสินค้าอาจแพงขึ้น 10-20% ส่งผลให้กำลังซื้อและยอดขายลดลง
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์พบกับผลกระทบที่รุนแรงกว่าด้วย 80% ของสินค้ามีโอกาสถูกเก็บภาษีในอัตรา 125% ทำให้คาดว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นอีก 20-30% ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานอ่อนแอลงและต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
ในกลุ่มเครื่องแต่งกาย สินค้า 40% อาจถูกเก็บภาษี 125% ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และคาดว่าราคาขายปลีกจะปรับขึ้นอีก15-25%
แม้การเก็บภาษีนำเข้าจะดูเหมือนเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่เมื่อมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ และจีนเลือกใช้มาตรการเหล่านี้ตอบโต้กัน กลับส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ และลุกลามไปยังเศรษฐกิจโลก
สหรัฐฯ ที่นำเข้าสินค้าจากจีนในกลุ่มอุปโภคบริโภคและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ GDP เติบโตชะลอตัวลง 1-2% ในระยะสั้น และหากจีนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้าสหรัฐฯ ในอัตราสูง (เช่น 84%) ผลกระทบอาจแผ่กระจายไปยังภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ
สำหรับจีน การส่งออกสินค้าสูงสุดไปสหรัฐฯ อาจลดลงเป็นเหตุให้ GDP ชะลอตัวลง 1-2% ในระยะสั้น แม้ว่าจีนจะพยายามหาตลาดใหม่ในภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกก็อาจชะลอตัวลงประมาณ 0.5-1% หากมหาอำนาจทั้งสองเดินหน้านโยบายภาษีสูงใส่กัน
Chicken Game Theory | Source: tenaciousmuse
ในบริบทการเจรจาทางการค้า แนวคิด “Chicken Game” ถูกนำมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์นี้ โดยหากทั้งสองฝ่ายเลือก “หลีกเลี่ยง” (Swerve-Swerve) ผลลัพธ์จะสมดุล เช่น ทั้งคู่หลีกเลี่ยงการเก็บภาษีในอัตราสูงและเจรจาเพื่อลดความตึงเครียด
แต่ถ้าเกิด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลือกเผชิญหน้า ขณะที่อีกฝ่ายหลีกเลี่ยง (Straight-Swerve) ผลลัพธ์จะออกมาเป็นแบบแพ้-ชนะ เช่น หากสหรัฐฯ ไม่เก็บภาษี แต่จีนเก็บภาษี 84% จะทำให้สหรัฐฯ เสียเปรียบในด้านการค้า ขณะที่จีนได้เปรียบจากการปกป้องตลาดในประเทศ
และในกรณีที่ ทั้งสองฝ่ายเลือกเผชิญหน้า (Straight-Straight) ตลาดอาจประสบกับ “Crash” หรือผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุด เช่น สงครามการค้าทำลายเศรษฐกิจทั้งคู่ การค้าโลกจะชะลอตัว ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และตลาดการเงินทั่วโลกอาจเผชิญความผันผวนรุนแรง
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์สำคัญล่าสุดแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มบวกในด้านการเจรจา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ประกาศลดภาษีนำเข้าเหลือเพียง 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน) ขณะที่แคนาดาและเม็กซิโกยังคงเก็บภาษีนำเข้าไว้ที่ 25% แต่จีนกลับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯขึ้นเป็น 125% หลังจากตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีจาก 34% เป็น 84%
ด้วยเหตุนี้ Finnomena Funds จึงมองว่า ตลาดการเงินอาจผ่านจุด “ข่าวร้าย” สูงสุด (Maximum Pressure) ไปแล้ว เนื่องจากนโยบายเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการเจรจามากกว่าใช้เพื่อเก็บภาษีจริง
นักวิเคราะห์เริ่มเห็นท่าทีทั้งภายในและต่างประเทศที่อาจเป็นสัญญาณว่า แรงกดดันทางการค้าอาจลดลงในอนาคต หลังจากที่เผชิญกับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อที่สูง นโยบายการเงินที่เข้มงวด หรือความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ตลาดมีโอกาสฟื้นตัวและปรับตัวเข้าสู่ภาวะมั่นคงขึ้น
แนะนำให้ “ทยอยสะสม” การลงทุนในพอร์ต DCM (Dynamic Contrarian Model) ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนสไตล์ Contrarian (สายสวน) ‘ย่อซื้อ ขึ้นขาย’ เน้นลงทุนในหุ้นรายประเทศ หรือ Sector ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ราคาปรับตัวลดลง หรือขึ้นน้อย รวมถึงใช้หลักการเดียวกันในการเข้าลงทุนสินทรัพย์ Multi Assets
โดยปัจจุบัน (ณ วันที่ 18 เมษายน 2025) พอร์ต DCM (Dynamic Contrarian Model) มีสัดส่วนการลงทุนดังนี้
สนใจลงทุนในพอร์ต Dynamic Contrarian Model Portfolio
คลิก https://finnomena.onelink.me/10bl/dcm
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 มีนักลงทุนต่างชาติถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ จำนวน 8.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2.9 แสนล้านดอลลาร์ จากเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่มิถุนายน 2021
ญี่ปุ่นและจีน คือประเทศที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากที่สุด 2 อันดับแรก โดยที่ญี่ปุ่นมีการซื้อเพิ่มไป 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้ยอดถือครองรวมอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ด้านจีนก็มียอดถือครองเพิ่มขึ้น 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมเป็น 7.8 แสนล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ต่างชาติ 20 อันดับแรกที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐ มีเพียงสวิตเซอร์แลนด์, นอร์เวย์, เยอรมนี และซาอุดีอาระเบีย ที่ลดการถือครองลง
ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น, จีน, สหราชอาณาจักร, ลักเซมเบิร์ก, แคนาดา, เบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, ไอร์แลนด์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, อินเดีย, บราซิล, เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ล้วนเพิ่มสัดส่วนการถือครอง
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า “การลดการพึ่งพาดอลลาร์” (de-dollarization) ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตา เพราะจะเห็นว่าต่างชาติยังมีความต้องการถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่สูงมาก แม้จะเป็นการรายงานตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ Trump Tariffs ออกมาปั่นป่วนการค้าโลก
โดยในช่วงที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวลือว่าจีนกับญี่ปุ่นกำลังทิ่งพันธบัตรสหรัฐจำนวนมหาศาล เพื่อตอบโตในประเด็นสงครามการค้า อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามข้อมูลของช่วงเดือนเมษายน 2025 ซึ่งจะเผยแพร่ออกมาประมาณเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้
Source: reuters, ticdata.treasury.gov
Warren Buffett หนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่ได้แค่สร้างความมั่งคั่งจากตลาดหุ้น แต่ยังเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตอย่างมีหลักการ
คำพูดของปู่เป็นดั่ง “วรรคทอง” ที่ช่วยเตือนสติให้กับนักลงทุน และคนทั่วไป สามารถเอาไปปรับใช้ในการบริหารเงินและวางแผนชีวิตได้
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0RxSqAYKf45ptUmF9bV1wKpD2oU6bpQhjSvX9KcDPmK9WAXaDaAyB9WpZ53CTt2Bxl
Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2025 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 11,100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 370,000 ล้านบาท) เติบโตขึ้น 60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ราว 10,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 33,000 ล้านบาท)
TSMC Income Statement | Source: App Economy Insights
แม้จะเผชิญกับความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีและมาตรการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แต่ TSMC ยังคงรักษาเป้าหมายรายได้และงบลงทุนประจำปีไว้เช่นเดิม โดยตั้งเป้าว่ารายได้จากการผลิตชิปสำหรับงาน AI จะแตะระดับ “โตเท่าตัว” ภายในปีนี้
ด้าน C. C. Wei ซีอีโอของ TSMC กล่าวว่า “เรายังไม่เห็นสัญญาณว่าลูกค้าจะชะลอคำสั่งซื้อ แม้จะมีข่าวเรื่องมาตรการภาษีหรือการควบคุมการส่งออกชิปของสหรัฐฯ” ซึ่งสะท้อนว่าอุปสงค์ชิป AI ยังคงแข็งแกร่ง และลูกค้ารายใหญ่ทั้ง Apple, NVIDIA, AMD และ Qualcomm ยังคงเดินหน้าสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง
ในไตรมาสที่ผ่านมา รายได้จากตลาดจีนลดลงมาอยู่ที่ 7% ของยอดขายรวม จาก 9% ในปีก่อน ขณะที่รายได้จากอเมริกาเหนือกลับเพิ่มขึ้นเป็น 77% จาก 69%
การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับการออกมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ แต่ TSMC ก็ปรับกลยุทธ์โดยการประกาศลงทุนในสหรัฐฯ มูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มเติมจาก 65,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท) ที่ลงทุนในโครงการโรงงานรัฐแอริโซนา เพื่อกระจายฐานการผลิตและลดความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน
ทางด้าน CFO อย่าง Wendell Huang เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทวางงบลงทุน (Capital Expenditures) ไว้ระหว่าง 38,000 – 42,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 – 1.4 ล้านล้านบาท) และคาดว่ารายได้ในไตรมาสที่ 2 จะอยู่ระหว่าง 28,400 – 29,200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 946,000 – 972,000 ล้านบาท) เทียบกับ 20,820 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 693,000 ล้านบาท) ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
แม้ภาพรวมยอดขายจะสดใส แต่หุ้น TSMC กลับปรับลดลงกว่า 20% ตั้งแต่ต้นปี ท่ามกลางความกังวลเรื่องนโยบายภาษีของสหรัฐฯ การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่อาจชะลอตัว และการแข่งขันจากสตาร์ทอัพจีนอย่าง DeepSeek ที่เปิดตัวโมเดล AI ราคาถูกจนสร้างแรงกดดันต่อผู้เล่นหลัก
นอกจากนี้ ผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปรายใหญ่อย่าง ASML ก็เพิ่งเตือนว่าภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันต่อภาพรวมแนวโน้มผลประกอบการในปี 2025 – 2026 แม้ยังยืนยันกรอบเป้ารายได้ทั้งปีไว้เช่นเดิม
Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว มองตลาดปรับฐานแรง เป็นโอกาสช้อนหุ้น Quality Growth พื้นฐานดี ผ่านกองทุน B-INNOTECH ที่เน้นการทำ Stock Selection ทำให้ PE ต่ำกว่ากลุ่ม และผลตอบแทนชนะตลาดในระยะยาว
กองทุน B-INNOTECH เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก โดยคัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการเติบโตของกำไรที่ดี และมี Valuation ไม่แพงเกินไป เช่น TSMC, Apple, Amazon, Alphabet และ Microsoft ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเทขายจากความกังวลเรื่องภาษีนำเข้า
โดยปัจจุบันกองทุน B-INNOTECH มีสัดส่วน TSMC ในพอร์ตอยู่ที่ 6.70% (ข้อมูล ณ วันที่ 17/04/2025)
อ้างอิง: Reuters, Financial Times
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
สี จิ้นผิง เคยบอกเอาไว้ว่า การกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ เหมือนจีนกำลังเผชิญกับ แรดเทา ที่เป็นภัยคุกคายอยู่ตลอดเวลา หากชะล่าใจ ปล่อยปละละเลย สุดท้ายจะนำมาซึ่งปัญหาลุกลามใหญ่โต และมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเกิดสงครามการค้าครั้งใหญ่ที่เข้มข้นกว่าเดิม
วันนี้แรดเทาตัวนั้นกำลังตื่นมาคึกคะนองอีกครั้ง แถมดุดันมากขึ้นด้วยในยุค Trump 2.0 จากนโยบายอันแข็งกร้าวในการตั้งกำแพงภาษี Reciprocal Tariffs ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการบดขยี้จีนให้แหลกเพียงชาติเดียว ล้มล้างระบบการค้าโลกที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง
คำว่า ‘แรดเทา’ หรือ The Gray Rhino ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยครั้งแรกโดย มิเชล วัคเกอร์ (Michele Wucker) นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้เขียนหนังสือ The Gray Rhino ในปี 2016 ซึ่งนิยามว่าแรดเทา คือ การเผชิญกับอันตรายตรงหน้าที่เราพอจะมองเห็นไกล ๆ แต่กลับนิ่งนอนใจกับความเสี่ยงนั้น จนสุดท้ายแรดตัวนั้นกลับวิ่งพุ่งเข้ามาทำร้ายเราอย่างรวดเร็ว กว่าจะไหวตัวทัน ก็ถูกพุ่งชนจนเจ็บเจียนตาย
ในกรณีของจีนกับสหรัฐอเมริกา สี จิ้นผิง หยิบยกคำว่า ‘แรดเทา’ หรือที่ออกเสียงในภาษาจีนว่า ‘ฮุยซีหนิว’ มากล่าวหลายครั้ง ซึ่งมักจะเปรียบเปรยคู่กับคำว่า Black Swan หรือ หงส์ดำ ที่เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่สร้างผลกระทบรุนแรง
สี จิ้นผิง มักย้ำเตือนถึงความเสี่ยงจากปัญหาแรดเทาที่เกิดจาก โดนัลด์ ทรัมป์ โดยพูดมาเสมอว่าจีนจะต้องพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่มาได้ทุกเมื่อ เช่น ช่วงต้นปี 2018 ที่ทรัมป์เริ่มทำ Trade War กับจีนรอบแรก ผู้นำแดนมังกรกล่าวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่า
เราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกหลายอย่างที่คาดไม่ถึง มีปัจจัยภายนอกที่อ่อนไหวและซับซ้อน จงอย่าชะล่าใจ ต้องเร่งควบคุมความเสี่ยงอย่างเต็มที่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี งานหนักของทุกคนคือเราจะต้องเฝ้าระวังอย่างสุดชีวิต เพื่อคอยจับตา ‘หงส์ดำ’ ภัยมืดที่มองไม่เห็น และมุ่งสกัด ‘แรดเทา’ ภัยคุกคามที่จ้องจะพุ่งชนได้ทุกเมื่อ
ในสมัยของ Trump 1.0 สี จิ้นผิง หยิบยกคำว่าแรดเทามาพูดอีกหลายครั้งในหลากวาระ เช่น การประชุมสภาประชาชนปี 2019 และการกล่าวสุนทรพจน์วันขึ้นปีใหม่ 2020 สะท้อนให้เห็นว่านี่เป็นภัยคุกคามใหญ่ที่จีนไม่เคยลืม
แรดเทาตัวนี้ดุดันมากขึ้นในยุค Trump 2.0 เริ่มต้นเปิดฉากด้วยนโยบายอันแข็งกร้าว และการตั้งทีมงานสายเหยี่ยวมารับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล นำโดย
และก็เป็นอย่างที่หลายคนคาด สงครามการค้าระอุเดือด เมื่ออเมริกาประกาศใช้ Reciprocal Tariffs เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประกาศก้องว่าเป็น Liberation Day วันปลดแอกของชาติ ด้วยการเก็บ Tariff 10% สำหรับทุกสินค้าที่นำเข้าสู่อเมริกา และเพิ่ม Tariff อีก 10-50% สำหรับ 60 ประเทศที่ทรัมป์เรียกว่าเป็นผู้ละเมิดทางการค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลมากที่สุด
สำหรับจีนโดน Tariff ในรอบแรกสูงถึง 34% ก่อนจะเกิดการตอบโต้ไปมารายวัน ทำให้อัตราภาษีล่าสุดที่สหรัฐเรียกเก็บจากจีนพุ่งขึ้นไปถึง 145% แล้ว แม้ว่าทรัมป์จะใจดีชะลอการขึ้นภาษี 90 วันให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แต่ไม่ใช่กับจีน โดยให้เหตุผลว่าการกระทำของจีนที่ตอบโต้อเมริกา ถือเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งความเคารพ
เท่านี้ก็ชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายอันแท้จริงของทรัมป์ คือการเตะตัดขาจีน ผ่านการล้มล้างระบบการค้าโลกที่ปัจจุบันมีจีนเป็นศูนย์กลางในฐานะโรงงานโลก
การเดินหมากที่พุ่งเป้าไปแค่จีน ไม่ใช่การต่อสู้ในทุกแนวรบกับชาติอื่น ๆ แถมยังมีท่าทีเป็นมิตรมากขึ้นกับรัสเซียด้วยซ้ำ คำถามคือมีอะไรในใจทรัมป์ ทำไมเขาจึงเลือกยุทธศาสตร์นี้ในการต่อสู้
บทวิเคราะห์จาก BBC โดยจอห์น ซัดเวิร์ธ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทวีปอเมริกาเหนือ แสดงทัศนะไว้ว่าสงครามการค้ารอบนี้เป็นการต่อสู้ในดินแดนที่คุ้นเคยของทรัมป์นั่นคือดวลเดี่ยวระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เพราะหากจำกันได้ วาทะกรรมเด็ดที่ส่งให้ทรัมป์คว้าชัยชนะประธานาธิบดีสมัยแรก ก็คือการป่าวประกาศต่อต้านจีน พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเวทีหาเสียงว่า การที่จีนกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาถดถอย ส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศทรุดตัวลง และทำให้ชนชั้นแรงงานของสหรัฐฯ ต้องสูญเสียรายได้และศักดิ์ศรี
สงครามการค้าครั้งนี้อาจมีความหมายมากกว่าตอบโต้ไปมาเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับทรัมป์ นี่เป็นเรื่องที่ค้างคาจากในช่วงวาระแรกของดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ
เราไม่มีเวลามากพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องในตอนนั้น แต่ตอนนี้เรากำลังเร่งทำมันอยู่
คำสัมภาษณ์ โดนัลด์ ทรัมป์ หลังเปิดศึกขึ้นภาษีปี 2025
ในอีกมุมมอง ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษา เคยเขียนบทวิเคราะห์เรื่อง ทรัมป์ 2.0 และจีน ระบุว่าจีนเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของทรัมป์ เนื่องจากตอนนี้สหรัฐฯ ไม่ได้แข็งแกร่งพอจะเปิดศึกหลายแนวรบ โดยเฉพาะในสงครามที่ลากยาวมองไม่เห็นทางจบอย่างรัสเซีย-ยูเครน ดังนั้น สหรัฐฯ จึงต้องหันมาโฟกัสที่การจัดการจีน ซึ่งเป็นภัยคุกคามระยะยาวอันดับหนึ่ง
สุนทรพจน์ของทรัมป์ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรครีพับลิกัน พูดไว้อย่างน่าสนใจว่า ตอนนี้จีนไปลงทุนตั้งโรงงานรถยนต์จำนวนมากในเม็กซิโก แต่ถ้าเขาเป็นประธานาธิบดี โรงงานเหล่านี้จะต้องมาตั้งในสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานมหาศาล แสดงให้เห็นว่าทรัมป์ไม่ได้ต้องการจะกีดกันการลงทุนจากจีน และไม่ได้มีความกังวลเรื่องความมั่นคงจากการมาตั้งฐานการผลิตขายรถยนต์จีนให้ผู้บริโภคชาวอเมริกัน ทว่าจุดประสงค์ของเขาคืออยากบีบให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับมาลงทุนตั้งโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศกลับมาได้เปรียบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอีกครั้ง
จะเห็นว่าทรัมป์มองทุกอย่างเป็นเรื่องของการเจรจา พร้อมที่จะตกลงแลกเปลี่ยนยื่นหมูยื่นแมว สงครามการค้าของทรัมป์จึงมีเป้าหมายเพื่อกดดันให้จีนมานั่งโต๊ะเจรจาและตกลงผลประโยชน์กับสหรัฐฯ ให้ทรัมป์เอาไปคุยโม้โอ้อวดได้ เหมือนตอนรัฐบาลทรัมป์ 1.0 ที่บรรลุข้อตกลงเฟส 1 กับจีน ซึ่งจีนสัญญาจะซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ จำนวนมหาศาล แต่บังเอิญเกิดโควิดขึ้นเสียก่อน
อย่างไรก็ดี แม้ภาพออกสื่อของทรัมป์จะชัดว่าเขาดุดันต่อจีน แต่ท้ายที่สุดแล้วของบทสรุปก็ยังคาดเดาได้ยาก เพราะทรัมป์เองไม่ได้มีจุดยืนเชิงอุดมการณ์ เขาสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลประโยชน์ที่มองว่าจะได้รับ ไม่แน่หากเจรจากันได้ เราอาจเห็น 2 มหาอำนาจของโลก จบด้วยการจับมือคืนดี
เหมือนพล็อตละครหลังข่าวที่แรกพบเกลียดเข้ากระดูก แต่สุดท้ายรักกัน Happy Ending…
คงต้องยอมรับว่า ในรอบนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ต้องหยุดมาตรการ Reciprocal Tariff ไว้ 90 วัน เนื่องจากตลาดพันธบัตรสหรัฐใกล้จะพังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บทความนี้ จะวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งแม้แต่ทรัมป์เห็นแล้วต้องยอมยกธงขาวชะลอมาตรการ Tariff ชั่วคราวก่อน
โดยปกติแล้ว ตลาดพันธบัตรสหรัฐจะมีรูปแบบการใช้อนุพันธ์การเงินในการเทรดบอนด์ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดที่เรียกกันว่า Treasury basis trade
ซึ่ง Treasury basis trade จะมีกลไกเป็นอย่างไร เรามาตามดูกัน
โดยปกติแล้วตราสาร Treasury Futures จะเทรดด้วยค่า premium เมื่อเทียบกับพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งจะนำส่งเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาอนุพันธ์
โดยค่า premium ที่จ่ายไป เสมือนเป็นค่าความสะดวกสบายในการทำให้นักลงทุนสามารถเข้าหาแหล่งเงินกู้ หรือ leveraged exposure ที่จะลงทุนพันธบัตรสหรัฐให้ได้มูลค่าที่สูงขึ้น (ใช้เงินเอาไปวางไว้เริ่มต้น หรือ initial margin เพียงราว 5-10% ของมูลค่าพันธบัตรสหรัฐที่จะเข้าซื้อ) โดยในตลาดสหรัฐ Asset manager ส่วนใหญ่จะมี position สุทธิ แบบ long บน Treasury Futures
อย่างไรก็ดี ด้วยการจูงใจของ premium ดังกล่าว ได้เปิดโอกาสต่อ hedge fund ในการมี position แบบตรงข้าม ด้วยการขาย Treasury Futures และซื้อพันธบัตรสหรัฐเพื่อปิดความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถทำกำไรจากสเปรด 2-3 basis point (0.02-0.03%) ซึ่งปราศจากความเสี่ยง โดยปกติแล้ว ด้วยกำไรที่น้อยขนาดนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่จูงใจ ทว่าเนื่องจากพันธบัตรสหรัฐมีสถานะปราศจากความเสี่ยง จึงสามารถนำไปใช้หลักประกันในการกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มอีกหลายสิบเท่า
ยกตัวอย่าง หากคุณซื้อพันธบัตรสหรัฐ $10 ล้าน และขาย Treasury Futures ด้วยมูลค่าเท่ากัน คุณจะสามารถใช้พันธบัตรดังกล่าวเป็นหลักประกัน เพื่อหาเงินกู้ระยะสั้น $9.9 ล้าน ในตลาด Repo market ซึ่งคุณสามารถนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรสหรัฐอีก $9.9 ล้าน และขาย Treasury Futures ด้วยมูลค่าเท่ากัน
โดยปัจจุบัน ตลาด Futures Market ของตราสารพันธบัตรสหรัฐ มีขนาดไม่ต่ำกว่า $8 แสนล้าน
สำหรับในโลกแห่งความเป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปกติ สามารถกู้เพิ่มได้ 50 เท่า หรือ อาจสูงไปถึง 100 เท่าก็ได้ จากหลักประกันหรือพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่ในมือ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ แค่มีเงิน $10 ล้าน สามารถซื้อพันธบัตรสหรัฐได้ถึง $1 พันล้าน จากการกู้เงินระยะสั้นในตลาด Repo
ปัญหาคือ ทั้งตลาด Treasury Futures และ Repo Market ต้องการมูลค่าหลักประกันที่สูงขึ้นมาก หากตลาดพันธบัตรมีความผันผวนสูง โดยหาก Hedge Fund ไม่สามารถนำหลักประกันใหม่มาเพิ่มเติมได้ ก็ต้องขายพันธบัตรสหรัฐที่วางไว้อยู่ทิ้งไป โดย ณ ขณะนี้ ตลาดพันธบัตรสหรัฐอาจจะยังไม่ได้ถึงจุดดังกล่าว ทว่าในเดือนมีนาคม 2020 ได้เคยเกิด doom loop ที่การขายพันธบัตรสหรัฐทำให้ความผันผวนของตลาดสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนมีการขายพันธบัตรต่อไปเรื่อยๆ
ทว่าข่าวร้ายคือวิกฤตของตลาดพันธบัตรสหรัฐในรอบนี้ ที่ทำให้ทรัมป์ต้องหยุดการขึ้น reciprocal tariff ชั่วคราว 90 วัน คือ สิ่งที่เรียกว่า Swap Spread trade
โดย Swap Spread หมายถึง ส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ของตราสาร Interest Rate Swap กับ อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ ณ อายุสัญญาเดียวกัน ทั้งนี้ ปกติแล้ว จะมีค่าติดลบ เนื่องจากหลังวิกฤตซับไพร์ม ได้มีการเพิ่มความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงิน จึงทำให้ต้นทุนของอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ สูงกว่า อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ของตราสาร Interest Rate Swap ซึ่งมีกฎเกณฑ์กำกับที่อ่อนกว่ามาก
ทั้งนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริงในอุตสาหกรรมนี้ โดยปกติ สามารถกู้เพิ่มได้ 50 เท่า หรือ อาจสูงไปถึง 100 เท่าก็ได้จากหลักประกันหรือพันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่ในมือเช่นกัน
อย่างไรก็ดี เมื่อทรัมป์เข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการลดความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงิน จึงทำให้มีการคาดหมายว่าระดับ Swap Spread จะมีค่าเป็นลบน้อยลง ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นในช่วงที่ทรัมป์ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำในช่วงแรกต้นปีนี้ จึงทำให้ Hedge Fund หันมาเก็งกำไรถือครองพันธบัตรสหรัฐในปริมาณมากขึ้น เนื่องจากคาดว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำลงจากการลดความเข้มข้นของกฎระเบียบทางการเงินของสถาบันการเงินของทรัมป์
จนกระทั่งมาถึงนโยบาย tariff ของทรัมป์ ที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดพันธบัตรสหรัฐเป็นอย่างมาก จนระดับ Swap Spread กลับไปมีค่าติดลบมากกว่าก่อนที่ทรัมป์จะขึ้นมาอีก จนทำให้เกิดการเรียก margin call ของหลักประกันพันธบัตรสหรัฐ จนระดับ Swap Spread มีค่าติดลบมากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือที่เรียกกันว่า doom loop จนต้องมีการขายพันธบัตรสหรัฐในตลาดกันยกใหญ่ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพื่อการนี้ นอกจากนี้ บรรดาธนาคารกลางและบริษัทประกันของประเทศหลักของโลกก็พากันเทขายพันธบัตรสหรัฐเช่นกันจากความไม่แน่นอนของนโยบายของทรัมป์ที่มีอยู่สูงมาก
ข่าวร้ายคือ Treasury basis trade และ Swap Spread trade ยังคงยังไม่จบง่ายๆในวิกฤตรอบนี้ที่มาจากความไม่แน่นอนของนโยบาย ซึ่งจะคงมีอยู่ต่อไปจากการตัดสินใจในอนาคตของโดนัลด์ ทรัมป์
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com
ในช่วงที่โลกยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ นักลงทุนอินเดียกำลังหันกลับมามอง “บ้านตัวเอง” อีกครั้ง แทนที่จะกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดโลกที่ยังคงผันผวน
ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความผันผวนในตลาดการเงินโลกทวีความรุนแรงขึ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงท่าทีดุดันและคาดเดาได้ยากผ่านนโยบายภาษี ทำให้นักลงทุนทั่วโลกรวมถึงในอินเดีย ต่างเริ่มมองหาตลาดที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้น้อยลง
จากการรายงานของ Reuters และ Bloomberg พบว่านักลงทุนในอินเดียเริ่มหันมาโฟกัสหุ้นในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่พึ่งพาปัจจัยภายใน เช่น หุ้นกลุ่มบริโภคพื้นฐาน และธนาคาร
ขณะเดียวกัน กองทุนรวมหุ้นภายในประเทศยังได้รับกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนรายย่อยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยเดือนละราว 3,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 100,000 ล้านบาท) แม้จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงหลายปีก่อน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นอินเดียเองก็ยืนหยัดได้ดีท่ามกลางแรงกดดันจากภายนอก โดยดัชนี BSE Sensex และ Nifty 50 ปรับตัวค่อนข้างนิ่งในช่วงที่ตลาดหุ้นหลายประเทศในเอเชียเผชิญแรงขาย เช่น ฮ่องกงที่ดัชนีลดลงกว่า -10% และเวียดนามที่ร่วงเกิน -7% ในช่วงเวลาเดียวกัน สะท้อนว่านักลงทุนบางส่วนอาจมองว่าอินเดียเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกน้อยกว่า
ด้านบริษัทวาณิชธนกิจอย่าง Jefferies ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิเคราะห์ตลาดชั้นนำจากสหรัฐฯ ได้ปรับมุมมองต่อหุ้นอินเดียขึ้นเป็น “Overweight” พร้อมชี้ว่าตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสงครามภาษีน้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และไม่พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ หรือจีนในระดับที่สูง
อีกด้านหนึ่ง ค่าเงินรูปีอินเดียก็เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพในช่วงที่ข่าวภาษีของสหรัฐฯ เริ่มสงบลง นักวิเคราะห์มองว่า เงินรูปีได้รับแรงหนุนจากปัจจัยภายใน เช่น คาดการณ์ฤดูฝนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ย และระดับเงินเฟ้อในประเทศที่ลดลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี
เมื่อรวมภาพทั้งหมดเข้าด้วยกัน เทรนด์ “กลับบ้าน” ของนักลงทุนอินเดียกำลังสะท้อนให้เห็นถึงการปรับมุมมองของนักลงทุนในอินเดีย ที่เริ่มให้น้ำหนักกับความมั่นคงและเสถียรภาพภายในประเทศมากขึ้น ในช่วงที่ความไม่แน่นอนจากนอกประเทศยังคงกดดัน
Finnomena Funds แนะนำเข้าลงทุนตามการพิจารณา MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยเป็นจังหวะสะสมหุ้นอินเดีย ผ่านกองทุน B-BHARATA และ TISCOINA-A หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจ ประมาณการกำไรเริ่มมีเสถียรภาพ รวมถึงสัญญาณ Technical และ Fund Flow เริ่มเป็นบวก
อ้างอิง: Reuters, Yahoo Finance, MarketScreener
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (16 เมษายน 2025) ดัชนี HSCEI (หุ้นจีน H-Share) ปรับตัวลงกว่า 3.1% หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่มแรงกดดันต่อจีน โดยเรียกร้องให้ “จีนเป็นฝ่ายเริ่มต้นการเจรจา” เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งด้านการค้า ท่ามกลางบรรยากาศความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการตอบโต้กันด้วยมาตรการภาษี
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2025 รัฐบาลจีนได้ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จากเดิม 84% สู่ระดับ 125% ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2025 นอกจากนี้ทรัมป์ได้มีคำสั่งให้รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯเปิดสอบสวนแร่ธาตุหายาก เพื่อตรวจสอบว่า การนำเข้าแร่ธาตุสำคัญจากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติหรือไม่ โดยอาจนำไปสู่การเก็บภาษีนำเข้าฉบับใหม่ถ้าหากพบว่ามีภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยจีนเป็นผู้จัดหากว่า 70% ของแร่หายากที่สหรัฐฯ นำเข้า และถูกระบุเป็นเป้าหมายหลักในนโยบายนี้ นอกจากนี้คำสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ในขณะที่จีนตอบโต้ด้วยการจำกัดการส่งออกแร่หายากบางรายการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานใน สหรัฐฯ ทั้งนี้การสอบสวนจะเสร็จสิ้นภายใน 270 วันและจะรายงานต่อทรัมป์ตามลำดับ
อย่างไรก็ดีสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานตัวเลข GDP ขยายตัว 5.4% YoY ใน 1Q2025 ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.2% ขณะที่ตัวเลขอื่น ๆ ทั้งยอดค้าปลีก (Retail Sales)เพิ่มขึ้นจาก 4.0 YoY ในเดือนกุมภาพันธ์สู่ระดับ 5.9% YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.2% และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) เพิ่มขึ้นจาก 4.1% YoY ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 4.2% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 4.1% รวมทั้งดัชชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เพิ่มขึ้นแรงจาก 5.9% YoY ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ระดับ 7.7% YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.9%
Finnomena Funds มองว่าการประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง
อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
แม้ว่าโรงเรียนจะสอนความรู้หลายด้าน แต่เรื่องการเงินที่สำคัญในชีวิตประจำวันมักถูกมองข้าม ทำให้หลายคนต้องเรียนรู้เองในภายหลัง ควบคู่ไปกับการเผชิญความท้าทายในการใช้ชีวิตจริง การขาดความรู้ทางการเงินอาจนำไปสู่ปัญหา และการได้รับการสอนตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นวิธีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
สอนให้รู้จักการจดบันทึกรายรับรายจ่าย วางแผนการเงินรายเดือน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมใช้เงินเกินตัว จะช่วยสร้างพื้นฐานการเงินที่มั่นคงในระยะยาว
เมื่อเริ่มทำงาน เงินเดือนแรกคือโอกาสสำคัญในการสร้างนิสัยทางการเงิน การแบ่งเงินเป็นสัดส่วนสำหรับใช้จ่าย ออม และลงทุนตั้งแต่แรกเริ่มช่วยป้องกันการใช้เงินเกินตัว
การตั้งเป้าหมายการออม เช่น การซื้อบ้าน ท่องเที่ยว หรือเกษียณ ช่วยให้มีแรงจูงใจและแผนการเงินที่ชัดเจน
เรียนรู้พื้นฐานการลงทุน เช่น หุ้น กองทุนรวม รวมถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน เพื่อให้เงินเติบโต มากกว่าการฝากเงินไว้เฉย ๆ
แยกแยะระหว่าง “หนี้ดี” และ “หนี้เสีย” ได้ และพร้อมเรียนรู้วิธีบริหารหนี้ เช่น ชำระหนี้ให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการสะสมหนี้
การปลูกฝั่งเรื่องของดอกเบี้ยทบต้น ที่สามารถทำให้เงินออมเติบโตได้อย่างมหาศาล
เข้าใจเรื่องระบบภาษีและสิทธิประโยชน์ เช่น การลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน หรือประกันชีวิต จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากขึ้น รวมถึงสอนขั้นตอนยื่นภาษีด้วย
สอนให้ไม่ควนมองข้ามเรื่องการทำประกันสุขภาพ/ชีวิต เพราะมันช่วยลดความเสียหายทางการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
เรียนรู้วิธีป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ เช่น แชร์ลูกโซ่ หรือการลงทุนที่ดูดีเกินจริง รวมถึงวิธีตรวจสอบแหล่งลงทุนเพื่อป้องกันการโดนหลอก
แม้การเกษียณจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่การเริ่มออมและลงทุนเพื่อเตรียมเงินเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงานจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่สบายและมั่นคงในอนาคต
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0JPQPTB4XaxL9Bj2GcHVsqa63GsjoJ6CoVY88HZ9tjJKmeokkXmSHarVDx1zZwmmml
รวบรวมความคิดเห็นของบุคคลระดับโลกต่อเหตุการณ์ขึ้นภาษีสงครามการค้า Trump Tariffs ปี 2025 แต่ละคนมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สรุปมาให้แล้ว
นโยบายของเราจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง อดทนไว้ มันไม่ง่าย ผลลัพธ์สุดท้ายคือประวัติศาสตร์ ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง !!!
– Donald Trump –
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ยังไม่เจอเหตุผลว่าการขึ้นภาษีการค้า จะทำให้เศรษฐกิจถึงขั้น Recession ได้
– Scott Bessent –
รัฐมนตรีคลังสหรัฐอเมริกา
โลกธุรกิจคือเกมแห่งความเชื่อมั่น แต่ทรัมป์กำลังสูญเสียความไว้ใจจากผู้นำธุรกิจทั่วโลก มาตรการภาษีที่รุนแรงและไม่สมดุล กำลังพาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ฤดูหนาว
– Bill Ackman –
ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ชื่อดัง
ต้องรีบแก้ปัญหานโยบายภาษีโดยเร็ว การแตกแยกของพันธมิตรทางเศรษฐกิจ อาจนำอเมริกาไปสู่หายนะ
– Jamie Dimon –
CEO แห่ง JPMorgan Chase
นี่เป็นโอกาสเข้าซื้อ มากกว่าที่จะเทขาย แม้ความผันผวนยังมีในตลาด แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น Systemic Risk
– Larry Fink –
CEO แห่ง BlackRock
ประเด็นที่ใหญ่กว่า Tariffs คือการล่มสลายของระเบียบโลก ซึ่งเป็น The Big Cycle สู่การเปลี่ยนผ่าน ประเทศมหาอำนาจในแต่ละยุค
– Ray Dalio –
ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates
Tariff จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในระยะสั้น และอาจส่งผลกระทบยืดเยื้อในระยะยาว
– Jerome Powell –
ประธาน Fed
ทองคำสินทรัพย์ที่ดูเหมือนเป็นอมตะในโลกการลงทุน ปลอดภัยในยามวิกฤต และเป็นแหล่งเก็บมูลค่ามานานนับพันปี ว่ากันว่าถ้านึกอะไรไม่ออกให้ซื้อทองเก็บไว้ก่อน เพราะยังไงระยะยาวก็ขึ้นแน่นอน
แต่จริง ๆ แล้ว ทองคำที่เราเรียกว่า “safe haven” หรือ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ก็เคยมีช่วงที่ซบเซา ไม่ทำกำไรนานนับ 10 ปีมาแล้วเช่นกัน
บทความนี้จะพาทุกคนย้อนไปดูประวัติศาตร์ทองคำ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ช่วงเวลาแห่งการตื่นทอง เข้าสู่ทศวรรษที่หายไปของทองคำ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันในปี 2025 นี้ ที่ราคาทองโลกกำลังเดินหน้าสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำ All-Time Hight เกิน 20 ครั้งไปแล้ว
ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ Finnomena ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web
มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์กาล โดยช่วงแรกเราใช้ทองคำในฐานะเป็นเครื่องประดับเพื่อบ่งบอกฐานะความร่ำรวย ก่อนที่ในเวลาต่อมาทองคำจะถูกนำมาสร้างเป็นเหรียญโลหะสำหรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงปี 1800 ที่สหราชอาณาจักรได้เริ่มผูกค่าของเงินปอนด์สเตอร์ลิงไว้กับปริมาณทองคำ เกิดเป็นระบบมาตรฐานทองคำ Gold Standard ที่เงินตราทั่วโลกผูกติดกับทองคำ ทำให้ทองคำเลยกลายเป็น backbone ของระบบการเงินมานับตั้งแต่วันนั้น
เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เหมืองทองคำถูกค้นพบจำนวนมากทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคตื่นทองอย่างแท้จริง
Gold Standard ยกระดับทองคำจากที่เคยเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะความร่ำรวยของผู้คน กลายมาเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งของประเทศชาติ ยุครุ่งเรืองนี้ลากยาวมาเกือบศตวรรษ แม้ในปี 1971 ‘ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกซัน’ จะประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ ถือเป็นจุดสิ้นสุด ของ Gold Standard
ทว่าราคาทองคำก็ยังคงพีคไปอีกเป็น 10 ปี จากวิกฤตน้ำมัน บวกกับเกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ในประเทศอิหร่าน และสหภาพโซเวียตประกาศบุกอัฟกานิสถาน ในปี 1979 ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงไปทั่วโลก ผู้คนย้ายเงินไปไว้ในทองคำอย่างมโหฬาร จนดูเหมือนว่าทองคำจะขึ้นตลอดไป ไม่มีอะไรจะหยุดพี่เขาได้
ระหว่างช่วงปี 1969-1980 ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,500% ในระยะเวลา 122 เดือน
แต่หลังจากความรุ่งเรืองครั้งนั้น ทองคำกลับเข้าสู่ยุคมืดครั้งแรกที่ยาวนานเกือบ 20 ปี ซึ่งหลายคนอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ว่าแม้แต่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ก็มีวันที่เงียบเหงาได้เหมือนกัน
ช่วงปี 1980-2000 คือ Lost Decade ครั้งแรกของทองคำ จากจุดพีคที่ 2,000 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ตกลงมาเหลือไม่ถึง 500 ดอลลาร์ มูลค่าหายไปกว่า 70% ในระยะเวลา 20 ปี
การซึมยาวของทองคำตอนเกิดขึ้นในยุคของประธาน Fed ‘Paul Volcker’ ซึ่งทำในสิ่งที่ท้าทาย ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อหยุดเงินเฟ้อจากวิกฤตราคาน้ำมันดิบ ด้วยการใช้ยาแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสูงถึง 20% แต่นั่นทำให้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมามีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และเป็นยุคที่คนหันไป Bull ตลาดหุ้น สวนทางกับทองคำที่เป็น Sideway ตลอดทาง
ประกอบกับตอนนั้นโลกค้นพบแหล่งทองคำใหม่ ๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ราคาทองคำจึงเริ่มตกลงมาเรื่อย ๆ
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดในช่วงปลายยุค 90 ดันเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รุกลามทั่วเอเชีย IMF ต้องการใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปแก้ปัญหาหนี้สินของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงเทขายทองคำออกมาจำนวนมาก และมีธนาคารกลางของหลายประเทศทยอยขายทองคำตาม เช่น สวิตเซอร์แลนด์ขายออกมา 1,400 ตัน อังกฤษ ขาย 400 ตัน ทำให้เวลานั้นราคาทองคำด่ำดิ่งสุด ๆ
เดือนสิงหาคม 1999 ราคาทองลงมาเหลือ 250 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
ขาขึ้นสั้น ๆ ของทองคำกลับมาอีกครั้งในปี 2001 จากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา และจากนั้นในปี 2004 ก็มีการก่อตั้ง SPDR Gold Trust กองทุนทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จนมาถึงปี 2011 ราคาทองคำในตลาดโลกก็ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดแตะ 1,900 ดอลลาร์ เนื่องจากการเกิดวิกฤตหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซที่เกือบล้มละลาย นักลงทุนกลัวว่าเงินยูโรจะพัง บวกกับ Fed อัดฉีดเงินผ่านการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการทองคำพุ่งขึ้น และกลายเป็นหลุมหลบภัยจากความเสี่ยงของระบบการเงินและความกลัวเงินเฟ้อที่อาจตามมาจากการพิมพ์เงินจำนวนมหาศาล
แต่แล้วในปี 2013 ทุกอย่างพลิกผัน Fed ส่งสัญญาณว่าจะลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ นักลงทุนแตกตื่น เทขายทองคำกันยกใหญ่ ตลอดทั้งปี 2013 ราคาทองคำโลกติดลบ 28% หนักสุดในประวัติศาสตร์ พูดว่าเป็นฟองสบู่แตกของทองคำก็คงไม่ผิดนัก
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวชัดเจน นักลงทุนเห็นทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น สิ่งนี้ยิ่งลดความน่าสนใจของทองคำลงไปอีก บวกกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงนั้น ทำให้เราจะเห็นว่าเมื่อมองยาว ๆ
ตั้งแต่ปี 2013-2019 ราคาทองคำไม่ได้ไปไหนไกลเลย แกว่งตัวอยู่แถว ๆ 1,200-1,600 ดอลลาร์ ถือเป็นอีกหน้าหนาวที่ยาวนานของคนถือทองคำ
และแล้วในปี 2020 วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ของทองคำก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อโลกรู้จักกับ COVID ส่งผลให้ตลาดการเงินปั่นป่วน นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ
กลางปี 2020 ราคาทองคำพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วทะลุ 2,000 ดอลลาร์ ก่อนจะย่อลงตอนปลายปี 2022 และคืนฟอร์มพุ่งเป็นจรวดอีกครั้งจนมาถึงวันนี้ที่เกิน 3,000 ดอลลาร์ไปแล้ว ส่วนราคาทองคำแท่งในไทยขึ้นสู่ 50,000 บาทแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าทองคำมีวัฏจักรของมัน ขึ้นบ้าง ลงบ้าง ซึมบ้าง สลับกันไป และไม่ใช่สินทรัพย์ที่เป็นอมตะแบบที่หลาย ๆ คนคิด ประวัติศาสต์ที่ผ่านมาบอกเราว่าทองคำมีทั้งยุคตื่นทองและยุคมืด
หากบังเอิญเข้าซื้อผิดจังหวะเวลา ก็อาจเจอกับช่วงปรับฐานยาวนานร่วม 10 ปีเหมือนกัน ใช่ว่าซื้อแล้วถือยาวจะกำไรเสมอไป
*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย
Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025
จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว
ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
จากบทความ สรุปคำแนะนำลงทุน: สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ ครั้งประวัติศาสตร์! และ อัปเดตคำแนะนำลงทุน: โลกปั่นป่วนด้วยภาษีตอบโต้ของ ‘ทรัมป์’ ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลดอัตราภาษีนำเข้า (Reciprocal Tariff) ทั้งหมดลงเหลือ 10% และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วัน (ยกเว้นแคนาดา, เม็กซิโก และจีน) โดย
Finnomena Funds ประเมินว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าและเลื่อนมาตรการภาษีบางส่วนออกไปอีก 90 วันโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการเจรจาต่อรอง มากกว่าการมุ่งเก็บรายได้ภาษีอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเราเริ่มเห็นแรงต้านนโยบายของทรัมป์จากคะแนนนิยมที่เริ่มถดถอย และความเห็นภายในพรรคที่เริ่มแตกต่างมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การ Rollback ภาษีบางส่วน หากสามารถบรรลุข้อตกลงกับบางประเทศได้ในอนาคต หรือเปลี่ยนไปใช้มาตรการภาษีที่มีลักษณะเจาะจงมากขึ้น แทนการใช้มาตรการแบบครอบคลุมในวงกว้าง
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025
จากแรงขายในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่า PE Valuation ของหลายตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดหุ้นหลักทั่วโลก ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่มีมุมมองระยะกลางถึงยาว
ด้วยปัจจัยดังกล่าว Finnomena Funds จึงปรับคำแนะนำเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากช่วงก่อนหน้านี้แนะนำให้ “Wait and See” เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
Source: kasikornasset.com as of 11/04/2025
Source: aberdeeninvestments.com as of 11/04/2025
Source: am.kkpfg.com as of 11/04/2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
เมื่อคืนวันที่ 11 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) และ ดัชนี NASDAQ 100 ปรับตัวลงแรงกว่า -3.46% และ -4.19% ตามลำดับ หลังจากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2025 ตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ปรับตัวขึ้นแรงกว่า ขึ้นแรงกว่า 9.51% และ 12.02% ตามลำดับ การปรับตัวลงในวันนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ปรับตัวลง -3.73% และตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) -0.85% ด้านตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index) ปรับตัวขึ้น +2.39% และดัชนี HSCEI หรือ หุ้นจีน H-Shares +1.01%
ความผันผวนในตลาดวันนี้เกิดขึ้นหลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศ “ลด” อัตราภาษีนำเข้าลงมาอยู่ที่ระดับ 10% และ “เลื่อน” กำหนดการขึ้นภาษีตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ออกไปเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ยกเว้นแคนาดา เม็กซิโก และจีน โดยคงอัตราภาษีนำเข้าสำหรับแคนาดาและเม็กซิโกไว้ที่ 25% และเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีนขึ้นเป็น 145%
การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีน เป็นผลต่อเนื่องมาจากการตอบโต้ด้านภาษีของจีน โดยหลังจากที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า และสกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่านานาประเทศไม่ควรตอบโต้มาตรการดังกล่าว แต่รัฐบาลจีนกลับประกาศขึ้นอัตราภาษีตอบโต้กับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 50% จาก 34% สู่ระดับ 84% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เป็นต้นไป
ในยุโรป ได้มีการระงับแผนการเก็บภาษีตอบโต้ต่อสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน ในขณะที่ประเทศในเอเชียอื่น ๆ เริ่มเข้าสู่กระบวนการเจรจาทางการค้า โดยล่าสุด เวียดนามได้มีการหารือร่วมกับนายสก็อตต์ เบสเซนต์ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านการค้าเพิ่มเติม ขณะที่เกาหลีกำลังพิจารณานำเข้า LNG พร้อมส่งทีมเจรจาไปยังสหรัฐฯ ในขณะที่จีนก็มีการตอบโต้ในรูปแบบอื่น โดยล่าสุดได้ประกาศจำกัดจำนวนภาพยนตร์จากสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้เข้าฉายในประเทศ
Finnomena Funds มองว่าการประกาศเลื่อนการขึ้นภาษี 90 วัน เป็นไปในทิศทางที่เราคาดไว้ในรายงานฉบับก่อนว่า การขึ้นภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายเพื่อการ “เจรจา (make deal)” มากกว่าการจะต้องการเก็บภาษีในระดับสูงสุดตามที่เคยประกาศไว้ในวันที่ 2 เมษายน เราเริ่มเห็นแรงต้านจากสังคมในสาธารณะต่อนโยบายการค้าของทรัมป์ ทั้งจากคะแนนนิยมของทรัมป์ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง จนไปถึงความขัดแย้งที่เริ่มเกิดขึ้นภายในระหว่างผู้สนับสนุนและทีมงานของทรัมป์เอง
อย่างไรก็ตามแม้สหรัฐฯ กับจีนยังคงระดับภาษีตอบโต้ในระดับสูง ซึ่งไม่ยั่งยืนและจะสร้างอันตรายทางเศรษฐกิจกับทุกฝ่าย เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายจะนำไปสู่การเจรจา เช่นเดียวกับทิศทางที่มีการเลื่อนการขึ้นภาษีกับประเทศอื่น ๆ
เราจึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “เข้าลงทุน” ในสินทรัพย์เสี่ยงได้ หลังจากที่เราแนะนำ Wait and See เพื่อเตรียมลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2025
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299