Cathie Wood ผู้จัดการกองทุนจาก Ark Invest ให้สัมภาษณ์ในรายการของ Bloomberg และเปรียบเทียบกองทุน ARKK ของบริษัทเป็น ‘ดัชนี Nasdaq ยุคใหม่’ ที่จะสร้างผลตอบแทนระยะยาวจนชนะดัชนีหุ้นเติบโตซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เป็นที่รู้กันดีว่า Cathie Wood มักจะให้คำทำนายการลงทุนที่ใจกล้า โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ผู้จัดการกองทุนชื่อดังมั่นใจว่าราคา Bitcoin จะทะลุ 1 ล้านดอลลาร์ภายในทศวรรษหน้า หรือบวกกว่า 4,200% จากราคาปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม กองทุนที่เคยสร้างชื่อเสียงให้บริษัทอย่าง ARKK ร่วงลงมา 72% จากจุดสูงสุดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และทำผลตอบแทนได้แย่กว่าดัชนี Nasdaq 100 ถึง 10 เท่า
เมื่อดูผลการดำเนินงาน 5 ปี กองทุน ARKK ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 12% เทียบกับการพุ่งขึ้นของ Nasdaq 100 ที่ 89%
หุ้น 3 อันดับแรกของดัชนี Nasdaq 100 คือ หุ้นเทคโนโลยี Mega-Cap ที่เป็นผู้นำตลาดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ Microsoft, Apple และ Amazon ส่วน ARKK นั้นถือ Tesla ในสัดส่วนใหญ่ที่สุดซึ่งอยู่ใน Nasdaq 100 เช่นกัน แต่หุ้นอื่นๆ ในพอร์ตคือหุ้นบริษัทนวัตกรรมขนาดเล็กรายใหม่ๆ เช่น Zoom และ Exact Sciences
Cathie Wood กล่าวว่า ปี 2022 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ ‘น่ากลัว’ สำหรับผลตอบแทนของกองทุน Ark ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยระดับสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีนักลงทุนเชื่อมั่นในกองทุน ARKK ทำให้มีเงินไหลเข้าสุทธิ 1,300 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แม้ผลตอบแทนจะลดลง 67% ก็ตาม
“นวัตกรรมตกเป็นหนึ่งในผู้เสียหายในยุคดอกเบี้ยพุ่งสูงที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว พวกเรารู้สึกได้ทุกครั้งเมื่อประธาน Fed พูด” Cathie Wood กล่าวเสริมว่า ผลตอบแทนที่ย่ำแย่ในปีที่แล้วถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวที่มากเกินไป อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และเงินเฟ้อในระดับสูง
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 2566 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 3 ก.พ. 2566)
1. DAOL-CYBER – กองทุนเปิด ดาโอ เน็กซ์ เจเนอเรชั่น อินเทอร์เน็ต
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +10.69%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: -32.57%
2. TMB-ES-INTERNET – กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง Next Generation Internet
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +10.26%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: -46.72%
ซื้อกองทุน TMB-ES-INTERNET คลิก
3. SCBUSAA – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส แอคทีฟ ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +10.02%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: -41.57%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: DAOL-CYBER, TMB-ES-INTERNET, SCBUSAA, SCBNEXT(A), TMB-ES-GINNO
หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2566 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 3 ก.พ. 2566)
1. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -2.57%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: -30.24%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!
ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก
2. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +2.68%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: -27.83%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต
3. TMBGQG : กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +0.69%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี: -16.74%
ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : PRINCIPAL VNEQ-A, ONE-UGG-RA, TMBGQG, K-VIETNAM, SCBS&P500, UGIS-N, K-CHINA-A(A), B-INNOTECH, TMBAGLF, KT-ENERGY
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Apple รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสเดือนธันวาคม 2022 รายได้รวม 117,154 ล้านดอลลาร์ หรือลดลง 5% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2019 และเป็นไตรมาสที่ยอดขายต่ำสุดตั้งแต่ปี 2016 ขณะที่ กำไรสุทธิอยู่ที่ 29,998 ล้านดอลลาร์
รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจสะท้อนชัดเจนว่ารายได้ที่ลดลงมาจาก iPhone เป็นหลัก โดยมีรายได้ 65,775 ล้านดอลลาร์ หรือลดลง 8%, Mac ลดลง 29% สู่ 7,735 ล้านดอลลาร์ ส่วน iPad เพิ่มขึ้น 30% เป็น 9,396 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Tim Cook กล่าวว่าในไตรมาสที่ผ่านมา Apple มีอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานรวมมากกว่า 2 พันล้านเครื่องเป็นครั้งแรก ส่วนซีเอฟโอ Luca Maestri บอกว่าธุรกิจ Services ก็เติบโตทำสถิติใหม่สูงสุดอีกไตรมาส มีรายได้ 20,766 ล้านดอลลาร์ มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมากกว่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนหนึ่งจะนำมาลงทุนตามแผนการเติบโตระยะยาว
รายได้ iPhone ที่กระทบหนักมาจาก iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max ที่ไม่สามารถผลิตให้ทันความต้องการ เป็นผลจากมาตรการล็อกดาวน์ซึ่ง Apple ออกประกาศไปก่อนหน้านี้ และปัญหานี้ก็ลากยาวมาเกือบตลอดเดือนธันวาคม ส่วนปัจจุบันกลับมาเป็นปกติแล้ว
ประเด็นการปลดพนักงานในบริษัท Tech หลายแห่ง Tim Cook บอกว่า สถานการณ์ตอนนี้มีความยากลำบาก แอปเปิลเองก็ตัดค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยลดการรับพนักงานใหม่ และเพิ่มการพิจารณาที่มากขึ้นในการรับพนักงานแต่ละคน
ส่วนประเด็นราคาสินค้าแอปเปิลที่อาจปรับเพิ่มขึ้นอีก แม้เศรษฐกิจไม่ดี Tim Cook บอกว่าเขาไม่ตอบประเด็นราคาสินค้าที่อาจสูงขึ้น แต่มองว่าสมาร์ทโฟน ซึ่งกรณีนี้คือ iPhone เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น ทั้งข้อมูลสุขภาพ การเงิน อุปกรณ์สมาร์ทโฮม คนก็จะพร้อมจ่ายมันด้วยเหตุผลที่มากขึ้น ในราคาที่พวกเขายอมรับ
อ้างอิง:
https://www.blognone.com/node/132480
https://www.cnbc.com/2023/02/02/apple-aapl-earnings-q1-2023.html
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง การแบ่งขั้วเศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯ และความต้องการซื้อที่ถูกอั้นจากการระบาดของ Covid-19 คือภาพใหญ่ของเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา และยังเป็นเหตุสำคัญของ “ภาวะเงินเฟ้อ” ที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
ธนาคารกลางทั่วโลกจึงต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว เช่น Fed ที่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจนไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อให้ลงมาอยู่ในระดับเป้าหมาย 2% ซึ่งเป็นเรื่องหนักอกหนักใจนักลงทุนไม่น้อย
แต่ยังมีสินทรัพย์บางตัวที่สร้างผลตอบแทนให้เราได้อยู่ในช่วงตลาดขาลง นั่นก็คือ “ตราสารหนี้” ที่มีธรรมชาติคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น อัตราผลตอบแทน (yield) จะสูงขึ้น แต่ก็จะมีราคาต่ำลง เนื่องจากคนหันไปสนใจพันธบัตรออกใหม่ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า กลายเป็นว่าตอนนี้ ด้วยการที่เงินเฟ้อพุ่งสูง เราเลยมาอยู่ในจุดที่พันธบัตรให้อัตราผลตอบแทนสูงในราคาที่กำลังต่ำลงนั่นเอง
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ถ้า Fed ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับที่ช้าลง ไปจนถึงหยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะเป็นปัจจัยให้ “ตราสารหนี้” มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงในปี 2023 จาก yield และ capital gain (ถ้าดูประกอบกับเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เริ่มลดลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมาก็มีความเป็นไปได้ว่า Fed อาจมีทีท่าในนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงจริงๆ)
ตราสารหนี้ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งโอกาสในยุคดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศ ซึ่ง UGIS-N และ UGIS-A คือกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลกที่ช่วยตอบโจทย์การลงทุนในภาวะดังกล่าว
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ มี 2 ชนิด คือ UGIS-N (แบบสะสมมูลค่า) และ UGIS-A (แบบรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ) ลงทุนในกองทุนหลักคือ PIMCO GIS Income Fund (Class I) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้หลายชนิดทั่วโลก เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้สถาบันการเงิน หรือ ตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นต้น
กองทุนหลักดังกล่าวเน้นสร้างผลตอบแทนพร้อมควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำ ภายใต้การบริหารแบบ Active โดย PIMCO ซึ่งเป็นบลจ. ระดับโลกที่มีความโดดเด่นในเรื่องการลงทุนในตราสารหนี้โดยเฉพาะ
โดยในช่วงที่ผ่านมา สินทรัพย์หลักๆ ที่ PIMCO GIS Income Fund เข้าไปลงทุนมีดังนี้
รูปที่ 1: 10 สินทรัพย์ที่ PIMCO GIS Income Fund เข้าไปลงทุนมากที่สุด
Source: pimco.com.sg as of 31/12/2022
รูปที่ 2: สัดส่วนการลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund ในตราสารหนี้แต่ละประเภท แบ่งตามอายุเฉลี่ย
Source: pimco.com.sg as of 31/12/2022
จะเห็นได้ว่า ตัวกองทุนมีการลงทุนทั้งในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ, ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (Mortgage-Backed Securities: MBS) ทั้งที่ออกโดยหน่วยงานรัฐและสถาบันการเงิน, ตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งแบบ Investment Grade และแบบ High-Yield ไปจนถึงพันธบัตรรัฐบาลในประเทศอื่นๆ เป็นต้น และจุดสังเกตก็คือการลงทุนใน MBS ที่เป็นสินทรัพย์ 5 จาก 6 อันดับแรกที่ PIMCO GIS Income Fund ลงทุนมากที่สุด ซึ่งเราจะเก็บส่วนนี้ไปลงรายละเอียดกันทีหลัง
มาดูตัวบลจ. กันก่อน PIMCO เป็นบลจ. ระดับโลกที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้มากว่า 50 ปี หรือตั้งแต่ปี 1971 จนได้ชื่อว่าเป็นบลจ. ที่เชี่ยวชาญในการลงทุนตราสารหนี้โดยเฉพาะ และที่สำคัญไปกว่านั้น PIMCO ถูกก่อตั้งโดย Bill Gross ชายผู้ได้ชื่อว่าเป็นราชาพันธบัตร (Bond King) และสิ่งที่จะยืนยันชื่อชั้นเหล่านี้ได้ก็คือผลงานซึ่งเราจะพูดถึงต่อไป
เริ่มกันที่ภาพกว้างๆ ก่อน สินทรัพย์โดยรวมภายใต้การบริหารของ PIMCO กว่า 3 ใน 4 ให้ผลตอบแทนเหนือ benchmark (นับเฉพาะสินทรัพย์ที่ลงทุนเกิน 5 ปี, ข้อมูลจนถึง 31 ธันวาคม 2022) ซึ่งค่อนข้างพิสูจน์ได้ว่าการบริหารกองทุนแบบ active ของ PIMCO ให้ผลตอบแทนที่สมกับชื่อชั้นที่ได้มา
รูปที่ 3: ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์
Source: UOBAM as of 31/12/2022
และถ้าเรามาเจาะดูเฉพาะ UGIS-N และ UGIS-A ก็จะพบว่ากองทุนดังกล่าวให้ผลตอบแทนยืนเหนือ benchmark แทบจะต่อเนื่องตั้งแต่จัดตั้ง แถมชนะกองทุนในกลุ่มเดียวกันโดยเฉลี่ย และแม้จะต้องเจอจุดวัดใจที่การลงทุนในตราสารหนี้ติดลบ กองทุนก็ยังให้ผลตอบแทนติดลบน้อยกว่าคนอื่นๆ
ประเด็นสำคัญเรื่องแรกๆ ของการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ย่อมหนี้ไม่พ้น “ความน่าเชื่อถือ” หรือ Credit ratings โดยตราสารหนี้หลายชนิดที่ PIMCO GIS Income Fund เข้าไปลงทุน มีความน่าเชื่อถือเฉลี่ยที่ระดับ A จัดอยู่ในระดับเกรดลงทุน (Investment Grade) สะท้อนความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำมาก
นอกจากนี้ อีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ “อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ในกองทุน” เพราะยิ่งมีอายุมากก็ยิ่งให้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากว่ายิ่งถือนานก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่กระทบราคาตราสารหนี้ โดย PIMCO GIS Income Fund มีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ลงทุนโดยรวม 3.48 ปี จัดว่าเป็นตราสารหนี้ระยะกลาง (3-5 ปี) ที่มีผลตอบแทนและความเสี่ยงค่อนข้างสมดุล
รูปที่ 4: Credit ratings และ อายุเฉลี่ย ของตราสารหนี้ที่ PIMCO GIS Income Fund ลงทุน
Source: pimco.com.sg as of 31/12/2022
จากที่ติดค้างกันไปก่อนหน้าเกี่ยวกับ MBS ถึงตรงนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กัน
MBS หรือ ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน คือตราสารทางการเงินแบบหนึ่ง เกิดจากการนำสินเชื่อบ้านที่คัดกรองแล้วมามัดรวมกัน นักลงทุนจะได้ประโยชน์จากการสร้างรายได้ต่อเนื่องผ่านผู้กู้ยืมที่ผ่อนชำระ โดย MBS จะมี 2 แบบ คือแบบที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ (Agency MBS) และออกโดยสถาบันการเงิน (Non-Agency MBS)
โดย MBS มีข้อดีคือ ให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล แถมยังให้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงที่สูงกว่าตราสารหนี้แบบอื่นๆ และที่สำคัญก็คือการที่ MBS มีความปลอดภัยที่สูงขึ้นกว่าตอนปี 2008 หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือและปรับกฎเกณฑ์
ถ้าเราลองดูสัดส่วนตราสารหนี้ในพอร์ตของ PIMCO GIS Income Fund จะเห็นว่ามีสัดส่วนการลงทุนใน Agency MBS ที่สูงทั้งในแง่มูลค่าการลงทุนและอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ ซึ่งหมายถึงการเร่งอัตราผลตอบแทนให้กับกองทุน ตามหลักการที่ว่า อายุตราสารหนี้สูง ผลตอบแทนสูง
รูปที่ 5: สัดส่วนการลงทุนของ PIMCO GIS Income Fund ในตราสารหนี้แต่ละประเภท แบ่งตามอายุเฉลี่ย
Source: pimco.com.sg as of 31/12/2022
พูดกันชัดๆ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ ทั้ง 2 แบบ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนในภาวะการลงทุนที่เงินเฟ้อและดอกเบี้ยมีแนวโน้มกลับทิศ จาก yield และ capital gain ของตราสารหนี้ที่มีโอกาสสูงขึ้น โดยคาดหวังผลตอบแทนชนะตลาดด้วยการบริหารจัดการเชิงรุก
นอกจากนี้ ยังเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายไปในการลงทุนในตลาดต่างประเทศหรือสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ เนื่องจากกองทุนแม่มีสัดส่วนการลงทุนใน Agency MBS ในตลาดสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยผลตอบแทนที่กองทุนจะได้รับส่วนใหญ่มาจากกําไรส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุน
และสำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ UGIS-N และ UGIS-A
การลงทุนกองทุน UGIS วันนี้ คือการลงทุนตาม MEVT Call ในกองทุนตราสารหนี้โลก จับโอกาสการลงทุนด้วย MEVT Framework ที่ประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค ในระยะกลาง 6-12 เดือน
กองทุน UGIS ตอบโจทย์ MEVT Framework ทั้งในแง่มหภาค (Macro) คืออัตราเงินเฟ้อ และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายผ่านจุดพีค รวมไปถึงความกังวลด้านเศรษฐกิจชะลอตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยปัจจัยเชิงมูลค่า (Valuation) ที่ตราสารหนี้ที่น่าสนใจ จากการปรับตัวลงมามาก จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยข้างต้น ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทน (yield) อยู่ในระดับที่สูง
นอกจากนี้งบดุลของบริษัทจดทะเบียน (Earnings) ยังมีภาระหนี้ที่ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงปี 2008 ทำให้มีความปลอดภัยที่สูงกว่าแม้ความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวจะเร่งตัวขึ้น และเมื่อประกอบกับสถิติ (Technical) ที่ระบุว่าเมื่อเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดไปแล้วตราสารหนี้มักมี downside ที่จำกัด
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ MEVT Call ในการลงทุนตราสารหนี้โลกอย่างละเอียดได้ที่นี่: https://www.finnomena.com/finnomena-ic/mevt-call-jan-2023/
พิเศษ! ลงทุน MEVT Call กับ Finnomena ด้วยการซื้อกองทุน UGIS-N และ UGIS-A วันนี้ มีสิทธิได้รับเหรียญ FINT ทันที สามารถนำไปใช้แลกของรางวัลรวมถึงแลก cashback ส่วนลดค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุน (Front End Fees) สูงสุด 20% หรือ 18,000 บาท สำหรับซื้อกองทุนรวมหุ้น ตราสารทางเลือก ตราสารหนี้โลกทุกชนิด ยกเว้นกองตราสารหนี้ไทย
รับ Cashback คืน สูงสุด 20%!!!
“FINT Cashback” ฟีเจอร์ใหม่จาก FINNOMENA
ลูกค้าจะได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียม “Front-end-fee”
สำหรับ “การซื้อกองทุน” ได้สูงสุด 20%
ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขกิจกรรมได้ที่ https://finno.me/cashback-ac
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
References
https://www.uobam.co.th/th/mutual-fund/00508/UGIS-N
https://www.pimco.com.sg/en-sg/investments/gis/income-fund/inst-acc
นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เห็นชอบการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลง 50 สตางค์/ลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกดีเซลอยู่ที่ 34.50 บาท/ลิตร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.66 เป็นต้นไป โดยการปรับลดครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนหลังจากที่ขยับราคาน้ำมันดีเซล มาอยู่ที่ 35 บาท/ลิตรตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา
การปรับลดราคาขายปลีกดังกล่าวเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ
1) ปัจจัยด้านสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง โดยมีสัญญาณการลดลงตั้งแต่เดือนพ.ย.65 ที่ผ่านมา โดยในปี 65 ราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซล (Gas Oil) ตลาดโลกอยู่ที่ 135.53 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และในเดือนม.ค.66 ราคาน้ำมันดีเซลลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 116.12 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
2) ปัจจัยจากการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับอัตราภาษีลดลงประมาณ 5 บาท/ลิตร ต่อไปอีกเป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. – 20 พ.ค.66 โดยเป็นมาตรการต่อเนื่องตั้งแต่ก.พ.65 เป็นต้นมา จึงส่งผลให้การบริหารจัดการสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มลดลงอีก ก็คาดว่าจะมีการพิจารณาความเหมาะสมในการปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลต่อไป
ปัจจุบันประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง วันที่ 29 ม.ค.66 ติดลบอยู่ที่ 113,436 ล้านบาท
อ้างอิง: https://www.infoquest.co.th/2023/272572
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
รูปที่ 1 Gold Price vs. 10-year Real Yield
Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 23/01/2023
นับตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมาทองคำปรับตัวขึ้นแล้วกว่า 19% สอดคล้องกับการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม real yield ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed และการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ทองคำมี upside ที่จำกัด
รูปที่ 2 อัตราผลตอบแทนหุ้นกู้ในสหรัฐฯ ตามอันดับความน่าเชื่อถือ Source: Bloomberg, FINNOMENA as of 19/01/2023
เมื่อพิจารณาไปยังตราสารหนี้ ที่ปรับตัวลงต่ำสุดกว่า 25% (max drawdown) ใกล้เคียงกับตลาดหุ้น จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่าง aggressive เพื่อควบคุมเงินเฟ้อของ Fed ส่งผลให้ yield ของตราสารหนี้อยู่ในระดับที่น่าสนใจ อาทิ หุ้นกู้อันดับความน่าเชื่อถือ Aaa อยู่ในระดับ 4.2% สูงกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 2012 ที่ 2.7% และ หุ้นกู้อันดับความน่าเชื่อถือ Baa อยู่ที่ระดับ 5.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปีที่ประมาณ 3.6% ส่งผลให้ตราสารหนี้มีความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น
รูปที่ 3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ยุโรป และอังกฤษ Source: Macrobond, FINNOMENA as of 19/01/2023
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาไปยังแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก ๆ ของโลก ที่มีแนวโน้มจะผ่านจุดพีคไปแล้ว ส่งผลให้ downside ของการลงทุนในตราสารหนี้อยู่ในระดับที่จำกัด
รูปที่ 4 US Conference Board Leading Economic Index (% YoY Change) & Recession Period
Source: Macrobond, FINNOMENA as of 19/01/2023
เมื่อประกอบกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวพิจารณาจาก Conference Board Leading Economic Index (CB LEI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (economic leading indicator) ที่คิดมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและด้านตลาดการเงิน ปรับตัวมาอยู่ในแดนลบ ซึ่งในอดีต ทุกครั้งที่ดัชนีดังกล่าวปรับตัวลงอยู่ในแดนลบ มักจะตามมาด้วยการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ทำให้ตราสารหนี้มีความน่าสนใจมากขึ้น
รูปที่ 5 Global Aggregate Bond Return 400 Days around Inflation Peak Since 1990
Source: Macrobond, FINNOMENA as of 19/01/2023
และจากข้อมูลทางสถิตินับตั้งแต่ปี 1990 พบว่าตราสารหนี้ทั่วโลก มักให้ผลตอบแทนที่ดีในระดับมากกว่า 8% หลังจากอัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้วประมาณ 3 เดือน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานพบจุดสูงสุดในช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา หรือคิดเป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้ว ขณะที่เงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มชะลอตัวลงในเดือนล่าสุด ส่งผลให้โอกาสปรับตัวลง (downside) ของตราสารหนี้อยู่ในระดับที่ต่ำ ส่งผลให้ตราสารหนี้มี risk/reward อยู่ในระดับที่น่าสนใจ
รูปที่ 6 Forward P/E by market Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 23/01/2023
ด้านตลาดหุ้นเวียดนาม VN30 ถูกกดดันจากปัจจัยลบและพบกับความผันผวนมากมาตลอดทั้งปี 2022 จากปัญหาเรื่องเสถียรภาพของตลาดการเงินเวียดนาม ปัญหาการทุจริตในบางกลุ่มธุรกิจ ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลงมากว่า 42% จากจุดสูงสุดในช่วงเมษายน ส่งผลให้ในปัจจุบันหุ้นเวียดนามมี valuation ที่ระดับ PE 9 เท่า และอยู่ในระดับที่ถูกเมื่อเทียบกับอดีต และถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ อาทิ ตลาดหุ้นไทยที่ PE 17 เท่า
รูปที่ 7 VN30 earning yield gap Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 23/01/2023
ในขณะที่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกำไรจากหุ้นกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (earning yield gap) พบว่าส่วนต่างผลตอบแทนสูงถึง 5.96% ซึ่งคิดเป็นระดับ +1.5 S.D. ซึ่งหมายความว่าการลงทุนในหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจขึ้นมากเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม
รูปที่ 8 Vietnam total Factor productivity contribution to GDP
Source: FINNOMENA, Bloomberg Economic (BE) Forecast as of 14/12/2022
เมื่อพิจารณาในระยะยาว พบว่าความสามารถในการผลิตจากปัจจัยของทุนและแรงงานต่อ GDP ของประเทศเวียดนาม จะเห็นว่าในอนาคตยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากทั้งปัจจัยทางด้านประชากรที่ส่วนมากยังอยู่ในวัยแรงงานและมีการลงทุนจากต่างชาติในการมาตั้งฐานการผลิตในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการขยายตัวของสังคมเมืองผ่านตัวเลข Urbanization Rate (%) แสดงให้เห็นว่าเมืองของเวียดนามขยายตัวขึ้นแซงอินเดีย มีประชากรเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่มากขึ้นแทนที่จะอยู่ในชนบท เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจ การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ต้องการแรงงานมากขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มการบริโภคให้สูงขึ้นในระยะยาว
รูปที่ 9 Vietnam manufacturing PMI Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 27/01/2023
เมื่อพิจารณาภาพ 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้า พบว่าความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนผ่านทางดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (manufacturing PMI) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 46.4 จุดในเดือนล่าสุด จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางเวียดนามเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ
รูปที่ 10 Vietnam export destination & 5 years growth Source: OEC world as of 31/12/2020
อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID ของทางการจีนในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผ่อนคลายความกังวลดังกล่าวได้ ทั้งในแง่ของการท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2023 และ เมื่อการส่งออกที่แม้จีนจะเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของเวียดนาม แต่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าสหรัฐฯ ที่เป็นอันดับที่ 1 ซึ่งสะท้อนว่าจีนกำลังมีอิทธิพลด้านการส่งออกต่อเวียดนามอย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 11 MSCI Frontier Index VN Index & VN30 Index Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 26/01/2023
เมื่อพิจารณาไปในดัชนีของตลาดหุ้นเวียดนามพบว่า เวียดนามเป็นดัชนีตลาดหุ้นที่ยังมีน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับวัฏจักรเศรษฐกิจในระดับสูง อาทิ กลุ่มการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้หากการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามในช่วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว มีแนวโน้มผ่อนคลายลงเรื่อย ๆ จะมีโอกาสให้ผลตอบแทนได้สัมพันธ์กับวัฏจักรเศรษฐกิจที่ดีกว่า
รูปที่ 12 EPS Revision 1 เดือนและค่าเฉลี่ย 3 เดือน Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 23/01/2023
ด้านการปรับคาดการณ์กำไรของตลาดหุ้นเวียดนาม ซึ่งสะท้อนมุมมองของนักวิเคราะห์ ที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา เริ่มส่งสัญญาณการปรับลดคาดการณ์ที่อ่อนแรงลง สะท้อนการรับรู้ข่าวความกังวลที่เกิดขึ้นไปเป็นจำนวนมากแล้ว ส่งผลให้มี downside ของคาดการณ์กำไรที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยด้านการเปิดประเทศของจีนถูกรับรู้ อาจส่งผลให้การปรับคาดการณ์กำไรกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเปิด upside ของตลาดหุ้นเวียดนามต่อไป
รูปที่ 13 Cumulative Foreign Equity Flow Source: FINNOMENA,Bloomberg as of 26/01/2023
เมื่อพิจารณา fund flow ของนักลงทุนต่างประเทศ นับตั้งแต่มีการไหลออกในช่วงต้นปีจากข่าวการทุจริตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อปัญหาที่ผ่านมาเริ่มคลี่คลายลง ทำให้นับตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นเวียดนามเติบโตต่อเนื่อง
FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในทองคำบนพอร์ตการลงทุนหลักอย่าง GAR และ GCP จาก upside ที่จำกัดหลัง real yield เร่งตัว เพื่อเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้อย่าง UGIS-N แทน พร้อมกันนั้น ยังแนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนหุ้นเวียดนามที่มีโอกาสเติบโตสูง ใน GAR เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี บน risk/reward ที่น่าสนใจ
real yield ที่เร่งตัวขึ้นกดดันให้ทองคำมี upside จำกัด อย่างไรก็ตามทองคำยังคงเหมาะสมแก่การถือครองเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน SCBGOLDH ลงบางส่วน เพื่อลด downside ที่อาจเกิดขึ้น และรับโอกาสลงทุนในตราสารหนี้ที่ yield น่าสนใจและมี downside จำกัดจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้ผ่านจุดพีคแล้ว
real yield ที่เร่งตัวขึ้นกดดันให้ทองคำมี upside จำกัด อย่างไรก็ตามทองคำยังคงเหมาะสมแก่การถือครองเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน SCBGOLDH ลงบางส่วน เพื่อลด downside ที่อาจเกิดขึ้น และรับโอกาสลงทุนในตราสารหนี้ที่ yield น่าสนใจและมี downside จำกัดจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้ผ่านจุดพีคแล้ว
เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเวียดนามที่ปัจจัยกดดันต่าง ๆ คลายตัวลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลาง valuation ที่น่าสนใจ และปัจจัยด้านการเปิดประเทศของจีนส่งผลให้เวียดนามมี upside ที่น่าสนใจบน downside ที่จำกัด FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเวียดนาม 10%
GIF มีความผันผวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับภาวะการลงทุนโดยรวมทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอได้ แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3-5% เล็กน้อย
อย่างไรก็ตามสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และสภาพคล่องอย่าง KFSPLUS นั้นพร้อมต่อการปรับเข้าสู่สินทรัพย์อื่น ๆ ทำให้หาก FINNOMENA Investment Team ประเมินว่าความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อไหร่ พอร์ตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงเป้าหมายทั้งกระแสเงินสด และเงินต้น บนความเสี่ยงที่เหมาะสม จึงยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุน
GGG ซึ่งเป็นพอร์ตที่แนวทางลงทุนหุ้น 100% ตลอดเวลา กระจายการลงทุนหลากหลายธีม ประเทศ และใช้ min.volatility optimization เป็นแนวทางในการจัดสรรน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง ได้ถูกตรวจสอบทั้งในเชิงโมเดลการลงทุน และ กองทุนรวมที่ถือครอง ซึ่งยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนปัจจุบัน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนเดิม
All Balance ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนแบบ strategic asset allocation ที่จัดสัดส่วนการลงทุนด้วย Black-Litterman Model หัวใจของ FINNOMENA Robo-Advisor ที่ผสมผสานระหว่างโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยคำนวณค่าสถิติในอดีตกับมุมมองการลงทุนในอนาคตจากผู้แนะนำการลงทุนถือครองสัดส่วนหุ้นในระดับ 45% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตามนโยบายการลงทุนแล้ว
เมื่อประกอบกับการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์อื่นอย่าง ตราสารหนี้ ทองคำ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมลงมาอีกบางส่วนนั้นมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำคงสัดส่วนการลงทุน
RIS มีความผันผวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับภาวะการลงทุนโดยรวมทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอได้ แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3-3.5% เล็กน้อย
พร้อมด้วยสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และมีสภาพคล่องสูงอย่าง KFSPLUS นั้นพร้อมต่อการปรับเข้าสู่สินทรัพย์อื่น ๆ ทำให้หาก FINNOMENA Investment Team ประเมินว่าความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อไหร่ พอร์ตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงเป้าหมายทั้งกระแสเงินสด และเงินต้น บนความเสี่ยงที่เหมาะสม จึงยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อ
————————————————————————————————————————
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยยังคงได้แรงหนุนจากการที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดคาดหวังว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาด และอาจประกาศลดดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าเฟดอาจประกาศลดดอกเบี้ยในปีหน้า ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการที่จีนกลับมาเปิดประเทศเร็วกว่าที่คาด และสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในจีนมีทิศทางดีขึ้น ส่งผลให้ตลาดคาดว่าปัญหาในห่วงโซ่อุปทานจะคลี่คลายลงและช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนอุปทาน รวมถึงคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัว อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าการที่จีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันจากจีนเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาน้ำมัน
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนฯบางแห่งรายงานผลประกอบการออกมาน่าผิดหวัง ถึงแม้เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวชัดเจนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงมีแนวโน้มแข็งแกร่ง
ในส่วนของตราสารหนี้มีการฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน หลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอลงมากกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง
ทั้งนี้มีแนวโน้มที่ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ยังคงมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดี ยังคงมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงยังคงเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้น defensive และลงทุนในหุ้นจีนซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 มกราคม 2022
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 มกราคม 2022
KFHHCARE :
KFUSINDX :
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 มกราคม 2022
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757
เราปรับพอร์ตลงทุนให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น สะท้อนมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง เมื่อจีนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 เร็วกว่าคาด และ Fed ส่งสัญญาณชะลออัตราเร่งของการขึ้นดอกเบี้ย
ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 30 มกราคม 2022
ภาพแสดงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 30 มกราคม 2022
เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 0 2657 5757
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด นับเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกปีนี้ เพื่อสกัดความร้อนแรงของภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงสุดในรอบ 40 ปี
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (1 ก.พ.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของระบบธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.50%-4.75% โดยยืนยันว่า การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในกรอบเป้าหมายมีความเหมาะสมต่อการควบคุมเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ Fed ยังส่งสัญญาณว่า การขึ้นดอกเบี้ยในรอบหน้าอาจอยู่ในระดับ 0.25% เช่นกัน
ในการประชุมครั้งล่าสุดนี้ Fed ไม่ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ระบุเพียงว่าเศรษฐกิจอเมริกันยังมีการเติบโตพอประมาณ และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง โดยจะยังคงระมัดระวังอย่างมากในด้านความเสี่ยงเงินเฟ้อ
เนื่องจากปัจจัยสงครามยูเครนยังคงผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจระดับโลก
ในการกำหนดขนาดของการปรับขึ้นกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยในอนาคตนั้น คณะกรรมการฯ จะพิจารณาถึงการคุมเข้มนโยบายการเงินที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้วหลายครั้ง และพิจารณาถึงประเด็นที่ว่าการชะลอนโยบายการเงินจะมีผลกระทบอย่างไรต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมทั้งสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงิน
นอกจากนี้ คณะกรรมการจะยังคงปรับลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ตามที่ได้อธิบายไว้ในแผนการปรับลดขนาดงบดุลบัญชีของเฟด (Plans for Reducing the Size of the Federal Reserve’s Balance Sheet) ซึ่งมีการประกาศในช่วงก่อนหน้านี้ โดยคณะกรรมการมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%
ส่วนในการประเมินแนวทางที่เหมาะสมของนโยบายการเงินนั้น คณะกรรมการจะยังคงจับตาข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจที่จะได้รับในวันข้างหน้า ขณะเดียวกันคณะกรรมการฯ จะเตรียมความพร้อมเพื่อปรับแนวทางนโยบายการเงินตามความเหมาะสม หากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เฟดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ของคณะกรรมการฯ โดยคณะกรรมการฯ จะประเมินข้อมูลในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงข้อมูลด้านสาธารณสุข ภาวะตลาดแรงงาน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการคาดการณ์เงินเฟ้อ รวมถึงการพิจารณาสถานการณ์ทางการเงิน และสถานการณ์ในต่างประเทศ
อ้างอิง:
https://www.ryt9.com/s/iq27/3394134
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
กองทุนไหนดี? รวบรวม 10 อันดับกองทุนผลตอบแทนดีในแต่ละเดือนของปี 2566 มาไว้ที่นี่แล้ว!
รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service
คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: ASP-DIGIBLOC, KFINNO-A, TMB-ES-INTERNET, T-ES-GINNO, TMB-ES-GINNO, SCBNEXT(A), SCBINNO(A), ONE-GECOM, SCBFINTECH(A), TMB-ES-FINTECH
สามารถกรองการจัดอันดับได้เอง พร้อมข้อมูลอัปเดตล่าสุดที่ FINNOMENA Fund Filter
รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
อินเตอร์โกลด์มองปี 2023 เป็นโอกาสของทองคำที่จะไปถึงจุ
โดย คุณธีรรัฐ จุฑาวรากุล ผู้บริหาร บริษัท อินเตอร์โกลด์ โกลด์เทรด จำกัด ได้พูดถึงปัจจัยที่จะหนุ
จากปีก่อนเราจะเห็นว่าเกิดการจั
สาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งจะเกิ
เราอาจจะได้เห็นสงครามการค้าที่
ในช่วงที่ผ่านมามีหลายคนถามว่า เรากำลังจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิ
ผลกระทบที่ตามมาก็เกิดขึ้นอย่
โดยการสะสมทองคำของธนาคารกลางทั่
จากทั้ง 3 ปัจจัยหลักที่กล่าวไป ล้วนส่งผลดีเป็นปัจจัยหนุ
จีนและสหรัฐฯ สรุปว่าจะทะเลาะกันหรือจะหั
หากความขัดแย่งระหว่
หลังจากมีการเปิดประเทศเป็
แต่ส่วนตัวมองว่าค่าเงินบาทอยู๋
หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนระหว่
สุดท้ายแล้วจากความเสี่ยง 3 ข้อ ผมก็มองว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นได้
ซึ่งโดยสรุปแล้วหากไม่มีอะไรผิ
นักลงทุนที่เป็น Value Investor หรือ VI นั้น มีหลาย “ระดับ” ของการเป็น “VI” ซึ่งมีนิยามอย่างสั้นที่สุดก็คือ “การลงทุนซื้อหุ้นจะซื้อเฉพาะหุ้นที่มี Intrinsic Value หรือมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นมากพอที่จะทำให้มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อของความปลอดภัยในการลงทุน และขายหุ้นเมื่อราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง”
ส่วนรายละเอียดว่าอะไรคือ มูลค่าที่แท้จริง ประเมินอย่างไร และมีความแน่ใจแค่ไหน และมาร์จิ้นออฟเซฟตี้ควรจะประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน และแต่ละคนก็จะคิดไม่เหมือนกัน นอกจากนั้น กลยุทธ์การถือหรือซื้อขายหุ้น เช่น ถือหุ้นจำนวนมากน้อยแค่ไหนหรือจะถือยาวแค่ไหน เช่นเดียวกับวิธีการค้นหาข้อมูลและประเมินศักยภาพของกิจการ และผู้บริหาร ก็เป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกันมากในหมู่ของนักลงทุนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “VI”
จากการเป็น VI มายาวนานในตลาดหุ้นไทย และการศึกษา VI ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวที่มีชื่อเสียงระดับโลกรวมถึงวอร์เรน บัฟเฟตต์ ผมเองรู้สึกว่า “VI ผู้มุ่งมั่น” หรือ VI ที่มีความทุ่มเท หรือยึดถือหลักการทาง VI “อย่างเคร่งครัด” นั้น มักจะตีตัวออกห่างจากสถานการณ์ของตลาดหลักทรัพย์ เช่น ไม่รู้สึกตื่นเต้นกับราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปแบบ “ไร้เหตุผล” หรือ “บ้าคลั่ง” เช่นเดียวกับการที่ไม่ตกใจหรือไม่กลัวเวลาหุ้นตกลงไปอย่างแรง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นรายตัวหรือดัชนีตลาดหลักทรัพย์
นอกจากนั้น พวกเขาก็ยังไม่ตื่นเต้นกับเรื่องราวหรือสตอรี่หรือ “ราคาคุย” ของผู้บริหาร รวมถึงนักวิเคราะห์และ “เซียน” หรือ “นักลงทุนรายใหญ่” ทั้งหลายที่อยู่ในตลาดหากมองและประเมินแล้วว่าไม่ได้มีตรรกะหรือเหตุผลที่เพียงพอ
โดยปกติแล้ว “ความเป็น VI” ของนักลงทุนนั้น ก็คงคล้ายกับเรื่องอื่น ๆ ที่ว่า ต้องอาศัยการปฏิบัติ และเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะมีความเชี่ยวชาญ มีวินัย มีศรัทธา ที่จะลงทุนในแบบหรือกลยุทธ์แบบ “VI ที่แท้จริง” มากขึ้นเรื่อย ๆ และมี “ข้อยกเว้น” น้อยลงเรื่อย ๆ และต่อไปนี้ก็เป็นนิสัยหรือความคิด และการกระทำของผมที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาของการเป็น VI เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ต้องขอบอกก่อนว่า ไม่ได้หมายความว่าผมจะลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนมาเป็น VI ที่มุ่งมั่นมากขึ้น บางทีอาจจะได้ผลตอบแทนน้อยลงด้วยซ้ำแต่ความเสี่ยงอาจจะลดลง หรือ “ชีวิตโดยรวม” ซึ่งไม่ได้คิดแต่เรื่องการลงทุนเพียงอย่างเดียวอาจจะดีขึ้น อะไรทำนองนี้
เรื่องแรกที่ผมเปลี่ยนไปจากในช่วงแรกที่เป็น VI ก็คือ เรื่องที่กำลังร้อนแรงมากในช่วงเร็ว ๆ นี้นั่นก็คือ การเล่นหรือจองซื้อหุ้น IPO ซึ่งดูเหมือนจะเป็น “ที่รัก” ของนักลงทุนในตลาดหุ้นทุกคน เพราะจากสถิติก็คือ กำไรจากหุ้น IPO ในวันแรกของการเทรดนั้นน่าจะสูงกว่าการขาดทุนมาก-ตลอดกาล ว่าที่จริง ผมเองเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยการจองซื้อหุ้น IPO ที่ได้รับการจัดสรรจากบริษัทที่เอาหุ้นเข้าตลาดเมื่อหลายสิบปีก่อน ดูเหมือนว่าน้อยครั้งที่คนจะปฏิเสธการจองหุ้น IPO มีแต่อยากจะได้มากที่สุด
แต่ผมเองกลับเลิกจองหุ้น IPO มานานหลายปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่บ่อยครั้งก็รู้สึกว่ากำไรมากแน่นอน เพราะดูจากอุตสาหกรรมที่กำลังร้อนแรง ตัวบริษัทที่เป็นผู้นำ และมีขนาดของบริษัทที่เล็กมาก หุ้นมี Free Float ต่ำ ภาวะตลาดหลักทรัพย์มีการเก็งกำไรสูงมาก หุ้นมีโอกาสถูก “Corner” ตั้งแต่เทรดวันแรก
แต่ผมก็ไม่จอง ผมคิดว่า IPO น่าจะเกือบทุกตัวนั้นมักมีราคาที่ตั้งไว้สูงกว่าพื้นฐานของหุ้น หรือที่เขาพูดกันว่า “It Probably Overpriced” และ “VI พันธุ์แท้” ไม่ควรซื้อหุ้นที่ราคาสูงกว่าพื้นฐานที่แท้จริง และก็ไม่ควรซื้อแม้ว่าในระยะเวลาอันสั้นราคาอาจจะสูงกว่าพื้นฐานมากขึ้นไปอีกมาก ซึ่งจะทำให้เราขายได้กำไรอย่างงดงาม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมคิดว่าถึงได้กำไร มันก็ไม่เปลี่ยนแปลงสถานะของพอร์ตหุ้นเราเลย เราอาจจะได้เงิน แต่เราก็อาจจะเสียศรัทธา และความเชื่อของเราต่อหลักการแบบ VI ที่เราสร้างมานาน
ช่วงการเป็น VI ใหม่ ๆ อาจจะเป็นกว่า 10 ปี เมื่อมองย้อนหลังกลับไป ผมน่าจะเป็นนักลงทุนที่เรียกว่า “Value Speculator” หรือนักเก็งกำไรโดยอาศัยหลักการเลือกและเล่นหุ้นที่เป็น “Value Stock” คือ หุ้นที่มีราคาถูกกว่าพื้นฐานของกิจการ แต่จะเป็นการมองระยะสั้น และเน้นที่กำไรของบริษัทในระยะสั้น หุ้นเหล่านี้มักจะไม่ได้มีความเข้มแข็งมากนักแต่กำไรอาจจะกำลังเติบโตดี หุ้นมีขนาดเล็กที่ราคาอาจจะขึ้นไปได้เร็วเมื่อมีคนเข้ามาเล่น บางตัวก็ถูก Corner โดยนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งทำให้ราคาวิ่งขึ้นไปมากมาย อย่างไรก็ตาม เวลาที่กำไรของบริษัทไม่เป็นไปตามคาดหรือเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ราคาก็ลงแรงพอกัน
ในระยะหลัง ๆ โดยเฉพาะที่พอร์ตมีขนาดใหญ่ขึ้น ผมก็เปลี่ยนเป็นการลงทุนแบบ VI ระยะยาวขึ้น และยาวขึ้น ลงทุนในหุ้นของกิจการที่จะอยู่อย่างมั่นคงปลอดภัย และเติบโตเร็วหรืออย่างน้อยก็เติบโตบ้างแบบช้า ๆ โดยไม่ค่อยสนใจว่างวดนี้หรืองวดหน้าหรือปีนี้หรือปีหน้ากำไรบริษัทจะโตพรวดหรือเปล่า เป็นการลงทุนที่ซื้อแล้วไม่มีเวลาที่คิดจะขาย แต่จะขายต่อเมื่อสิ่งที่เราคิดไว้ทีแรกเปลี่ยนไปแล้ว เช่น ธุรกิจหมดความสามารถในการแข่งขันหรือถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีหรือรูปแบบการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไป เป็นต้น
การหาข้อมูลแบบ VI คือ ดูกิจการหรือเข้าไป Visit Company คุยกับผู้บริหารโดยตรงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เปลี่ยนไปในอดีตบ่อยครั้ง ก่อนที่จะซื้อหุ้นผมมักจะอยากจะรู้จัก หรือพูดคุยกับผู้บริหารรวมถึงการเข้าไปชมโรงงานหรือกิจการว่าเป็นอย่างไร ดูดีหรือไม่ นอกจากนั้น ถ้าบริษัทขายสินค้าให้กับผู้บริโภค ผมก็จะต้องวนเวียนคอยสังเกตดูว่ามีลูกค้าเข้าชมหรือซื้อสินค้าของบริษัทมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็มักจะได้ผลดี ซื้อแล้วหุ้นก็มักจะขึ้น
ส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะมี VI คนอื่นก็เข้าไปพบบริษัท และผู้บริหาร และก็ซื้อหุ้นด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ต่อมาผมพบว่า เวลาเข้าไปพบบริษัท ข่าวก็คงออกมา และทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปก่อนที่เราจะซื้อ ทำให้ผมไม่อยากไป สุดท้าย ผมก็เลิกไปเลยเพราะดูแล้ว การเข้าไปเยี่ยมชม และฟังผู้บริหารก็อาจจะได้ข้อมูลที่ “ลำเอียง” ตอนหลังผมก็เลยดูจาก “ภายนอก” ดูจากข้อมูลทางตัวเลข และการวิเคราะห์ธุรกิจ และอุตสาหกรรมซึ่ง “หลอกไม่ได้”
การวิเคราะห์ “ผู้บริหาร” นั้น ในอดีตผมจะเน้นในเรื่องความซื่อสัตย์มีจรรยาบรรณเป็นประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของฝีมือหรือความสามารถทางการบริหาร ซึ่งผมก็มักจะดูจากการตัดสินใจต่าง ๆ เช่น การลงทุนและการจัดสรรเงินที่ได้จากธุรกิจว่ามีความเหมาะสมแค่ไหน โดยเฉพาะการจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในส่วนของฝีมือในการบริหารนั้น บ่อยครั้งผมก็มักจะดูจากการพูดอธิบายกลยุทธ์ทางธุรกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายงาน และการแข่งขันกับคู่แข่ง
บ่อยครั้งผมมักจะประทับใจกับผู้บริหารที่มีโครงการและแผนงานเต็มไปหมดพร้อม ๆ กับการคาดการณ์ผลประกอบการที่น่าประทับใจ พูดง่าย ๆ ชอบผู้บริหารที่ “ขี้คุย” แต่ในระยะหลัง ๆ ความคิดผมก็เปลี่ยนไป ผมคิดว่าผู้บริหารที่ “โอ้อวดเกินความจริง” นั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เพื่อกระตุ้นให้คนซื้อหุ้นมากกว่าความเป็นไปได้ของการเติบโตของธุรกิจ ดังนั้น ผมมักจะหลีกเลี่ยงหุ้นที่ผู้บริหารคุยโม้มากเกินไป
กลยุทธ์การลงทุนของผมในอดีตนั้น เป็นแบบ “Bottom Up” หรือเน้นแต่การดูตัวบริษัทเป็นหลัก โดยที่ไม่ให้ความสนใจกับภาพใหญ่ทางธุรกิจ เช่น ภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเลย นั่นอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลดีโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังเติบโตระยะยาวไปเรื่อย ๆ อย่างในตลาดหุ้นสหรัฐหรือไทยในช่วงก่อนหน้านี้หลายปี
อย่างไรก็ตามในระยะหลัง ผมก็เริ่มเปลี่ยน ผมคิดว่าหลักการแบบ VI ที่มีกำเนิดจากอเมริกา และประวัติศาสตร์การลงทุนที่เราเรียนรู้จากอเมริกานั้น ถึงปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้กับตลาดหุ้นไทยที่เศรษฐกิจอาจจะเติบโตช้าลงมาก และถ้าเรายังคิด และวิเคราะห์เฉพาะตัวกิจการ เราอาจจะพลาด และติดหล่มอยู่ใน “หลุมทรายดูด” ได้ เพราะตัวบริษัทอาจจะไม่อยู่ในสภาวะที่จะเติบโตได้ดีแม้ว่าจะเก่งที่สุดแล้ว
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันนี้ (1 ก.พ. 66) ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม VN30 ปรับตัวลงแรง 3.29% จากแรงขายในหุ้นกลุ่มธนาคาร อุตสาหกรรม และอสังหาฯ หลังจากหลายบริษัทเริ่มทยอยรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2022 รวมถึงการขายเพื่อปิดความเสี่ยงของนักลงทุนก่อนการประชุมเฟดที่จะเกิดขึ้นในคืนนี้
โดยหุ้นการเงินโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ในภาพรวมรายงานกำไร 4Q22 ลดลง YoY เนื่องจากความผันผวนของตลาดหุ้นเวียดนามในปีที่ผ่านมา และปัญหาด้านสภาพคล่องของระบบการเงินในเวียดนาม นอกจากนี้หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่อย่าง Hoa Phat, Hoa Sen Group, Nam Kim Group และ VNSteel รายงานผลขาดทุนใน 4Q22 ซึ่งขาดทุนติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง เนื่องจากอุปสงค์เหล็กและราคาเหล็กในประเทศเวียดนามที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ DSC Securities โบรกเกอร์ในประเทศเวียดนามระบุว่าสาเหตุที่ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลงในวันนี้คือ 1) การขายเพื่อปิดความเสี่ยงของนักลงทุนก่อนการประชุมเฟดที่จะเกิดขึ้นในคืนนี้ 2) การขายทำกำไรหลังจากที่ตลาดฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือนพ.ย. 2022 ที่ผ่านมา และ 3) ข่าวลือต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
FINNOMENA Investment Team มองว่าตลาดหุ้นเวียดนามยังคงเป็นตลาดที่มีความผันผวนในระยะสั้นเนื่องจากมีนักลงทุนลงรายย่อยเป็นสัดส่วนใหญ่ แต่หากพิจารณาในระยะกลางถึงยาวตลาดหุ้นเวียดนามมีทิศทางเชิงบวกมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนม.ค. 2023 ฟื้นตัวสู่ 47.40 จากระดับ 46.40 ในเดือนธ.ค. 2022 (แต่ยังอยู่ในโซนหดตัว) และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อหลังจากจีนผ่อนคลายมาตร Zero Covid ด้าน Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยปัจจุบัน P/E 12M ของตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ที่ 8.53 เท่า หรือ -1.54 S.D. ในรอบ 10 ปี รวมถึงยังมีแรงเข้าซื้อสะสมของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มเติม ซึ่งสะท้อนผ่านทาง Foreign Limit ของหุ้นต่าง ๆ ยังคงเต็มและมีค่า Premium ในระดับสูง เราจึงแนะนำสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวในกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A
——————-
รับชมบน YouTube: https://youtu.be/hEHmVhE_TGU
เราอาจได้เห็นสหรัฐฯ ครองตำแหน่งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งและจีนครองตำแหน่งอันดับสองมาเป็นเวลานาน แต่ดูเหมือนในช่วงสั้น ๆ นี้ประเทศจีนคงจะต้องร้อน ๆ หนาว ๆ เพราะมีอีกประเทศที่จ้องจะท้าชิงตำแหน่งเบอร์สองนี้อยู่เหมือนกัน นั่นคือประเทศอินเดีย แล้วปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศอินเดียน่าจับตามองมีอะไรบ้าง ติดตามในคลิปนี้ได้เลย
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website
จีนเผยว่า เมืองหลวงอย่างปักกิ่งแตะระดับ ‘ภูมิคุ้มกันหมู่ชั่วคราว’ และการระบาดของโควิด-19 ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่า คลื่นการระบาดของโควิด-19 ในจีนกำลังลดลงไปแล้ว
VOA Thai รายงานว่า ในอังคารที่ผ่านมา (31 ม.ค.) หวัง ฉวน อี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค กล่าวว่า ปักกิ่งที่มีประชากร 22 ล้านคน มีระดับภูมิคุ้มกันหมู่เป็นการชั่วคราว และคลื่นการแพร่ระบาดในกรุงปักกิ่งครั้งนี้ผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว
รองผอ.ซีดีซีจีน กล่าวว่า พบผู้ติดเชื้อแบบประปรายในกรุงปักกิ่งที่โคโรนาไวรัสมีโอกาสแพร่เชื้อได้ในระดับต่ำ และการลดลงของผู้ติดเชื้อทั่วประเทศแสดงให้เห็นว่า เทศกาลหยุดยาวช่วงตรุษจีนที่ผ่านมานี้ “ไม่ค่อยมีผลมากนัก” ต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ
ที่ผ่านมา มีสัญญาณบ่งชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 ในจีนผ่านพ้นจุดสูงสุดมาแล้ว หลังยอดเสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วประเทศลดลงเกือบ 80% นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ช่วงวันที่ 23-29 มกราคมที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ลดลงมากกว่า 40% เมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า
ขณะที่กรุงปักกิ่งเตรียมตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อโควิด-19 ในกลุ่มประชากรในเมืองหลวงของจีน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมนี้
อ้างอิง: https://www.voathai.com/a/beijing-has-hit-temporary-herd-immunity-official-says/6942093.html
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
อินโฟเควสท์รายงานว่า กองบรรณาธิการของ Bloomberg ได้ขอให้ ChatGPT โปรแกรมแชตบอต AI น้องใหม่ของบริษัท OpenAI สร้างพอร์ตกองทุนรวมดัชนีหรือ ETF ที่สามารถเอาชนะตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อตรวจสอบว่า เทคโนโลยีใกล้จะเข้ามาทดแทนบรรดานักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักเก็งกำไรมากน้อยเพียงใด
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ChatGPT ‘ไม่สามารถ’ ออกแบบกองทุน ETF ที่สามารถเอาชนะตลาดหุ้นสหรัฐฯได้
โดย ChatGPT ระบุว่า เป็นไปไม่ได้ที่ ChatGPT จะออกแบบกองทุน ETF ที่เอาชนะตลาดหุ้นสหรัฐ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐนั้นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้และผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้รับประกันผลการดำเนินงานในอนาคต
ChatGPT ยังเตือนว่า องค์ประกอบของกองทุน ETF นั้นควรอิงตามการวิเคราะห์ตลาดอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวบลูมเบิร์กตั้งข้อสงสัยว่า ChatGPT อาจทราบเคล็ดลับในการเอาชนะตลาดหุ้นสหรัฐ เพียงแต่ฉลาดพอที่จะไม่คายความลับดังกล่าวออกมาฟรีๆ
ในตอนท้ายของการทดสอบ Bloomberg ได้ถามว่า ChatGPT ว่า AI สามารถเลือกหุ้นได้ดีกว่ามนุษย์หรือไม่?
คำตอบที่ได้คือ แม้ AI อาจมีศักยภาพในการเป็นเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุนที่ลํ้าค่า แต่ก็ไม่ใช่สิ่งพิเศษที่สามารถเลือกหุ้นได้ดีกว่ามนุษย์ทุกครั้ง พร้อมแนะนำว่าควรค้นคว้าหาข้อมูลและปรึกษาที่ปรึกษาการลงทุนเสมอ
โดยปัจจุบันนั้นมีการนำเอไอมาช่วยในการลงทุนในตลาดเงินสหรัฐอยู่แล้ว รวมถึง กองทุนรวม โดยขณะนี้มีเอไอบางตัวที่สามารถเอาชนะตลาดเงินสหรัฐได้
อย่างเช่น AI Powered Equity ETF หรือ AIEQ เครื่องมือมูลค่า 102 ล้านดอลลาร์ที่สามารถมอบผลตอบแทนประมาณ 9.9% ในปี 2566 โดยนับจนถึงวันพุธที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับ 4.7% ของดัชนี S&P 500 Total Return Index
อ้างอิง:
https://www.ryt9.com/s/iq28/3393200
https://thestandard.co/chatgpt-fund-design/
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
ต้นปีแบบนี้เป็นช่วงที่พนักงานประจำหลายคนเฝ้ารอ เพราะช่วงนี้เป็นเทศกาล “โบนัสออก” ซึ่งหลายคนอาจจะวางแผนไว้แล้วว่าโบนัสปีนี้จะเอาไปทำอะไรดี แต่สำหรับใครที่ยังคิดไม่ออก วันนี้แอดมินได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจของ “5 ทริปเที่ยวประเทศใกล้ไทยในงบ 30,000 บาท” มาแล้ว
เกาหลีเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของคนไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่เดินทางไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งคนไทยยังคุ้นชินกับวัฒนธรรมกับเกาหลีเป็นอย่างดี จากซีรีส์มากมายที่เข้ามาฉายในประเทศไทยกว่า 20 ปีที่ผ่านมา
ค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับ : 10,000 – 14,000 บาท
ค่าที่พัก : 800 – 1,500 บาท ต่อคน ต่อคืน
ค่าอาหาร : 300 – 800 บาท ต่อมื้อ
ค่าเดินทาง : 300 บาท ต่อวัน
ระยะเวลาที่เหมาะสม : 5 – 7 วัน
อีกหนึ่งเป้าหมายของการเดินทางยอดนิยมสำหรับคนไทย โดยเฉพาะคนที่เกิดในช่วงปี 1980 – 2000 ต้น ๆ เพราะเป็นช่วงที่วัฒนธรรมญี่ปุ่น ‘บูม’ ในไทยอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นมังงะ อนิเมะ ดนตรี หรืออาหารญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม อากาศสดชื่นบริสุทธิ์ที่คุ้มค่าจะไปสัมผัส
ค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับ : 12,000 – 14,000 บาท
ค่าที่พัก : 600 – 1,000 บาท ต่อคน ต่อคืน
ค่าอาหาร : 250 – 400 บาท ต่อมื้อ
ค่าเดินทาง : 200 – 300 บาท ต่อวัน
ระยะเวลาที่เหมาะสม : 5 – 7 วัน
สิงคโปร์เป็นประเทศใกล้ไทยที่น่าท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ เนื่องจากค่าตั๋วราคาถูก มีโปรโมชั่นบ่อย และเดินทางไม่นาน ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยประมาณ นอกจากนี้ยังไม่ต้องขอวีซ่า ไม่ต้องห่วงเรื่องภาษา เพราะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้อย่างสบาย อีกทั้งยังเป็นสวรรค์ของนักชิม และนักช้อปอีกด้วย
ค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับ : 4,000 – 5,000 บาท
ค่าที่พัก : 700 – 1,500 บาท ต่อคน ต่อคืน
ค่าอาหาร : 250 – 400 บาท ต่อมื้อ
ค่าเดินทาง : 250 บาท ต่อวัน
ระยะเวลาที่เหมาะสม : 2 – 4 วัน
เวียดนามประเทศใกล้ไทย ที่ใคร ๆ ก็สามารถไปเที่ยวได้อย่างสะดวก และมักจะเป็นจุดหมายแรก ๆ ของคนไทยที่อยากจะลองเที่ยวต่างประเทศสักครั้ง เพราะเที่ยวง่าย ไม่มีทัวร์ก็เที่ยวได้ อีกทั้งยังขึ้นชื่อในเรื่องของทิวทัศน์ธรรมชาติอันหลากหลาย ชายหาด และหมู่เกาะที่สวยงาม นอกจากนี้อาหารเวียดนามอร่อย และราคาถูกอีกด้วย
ค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับ : 5,000 บาท
ค่าที่พัก : 700 – 1,500 บาท ต่อคน ต่อคืน
ค่าอาหาร : 150 – 300 บาท ต่อมื้อ
ค่าเดินทาง : 150 บาท ต่อวัน
ระยะเวลาที่เหมาะสม : 3 – 5 วัน
ลาว เป็นประเทศที่สวยงาม เป็นมิตร น่าตื่นเต้นและยังติดอันดับต้น ๆ ประเทศที่ได้รับการชื่นชมจากนักท่องเที่ยว เพราะมีทั้งธรรมชาติที่สวยงาม สัมผัสวิถีชนกลุ่มน้อย ผจญภัยในการเดินป่า และผ่อนคลายไปกับแม่น้ำมากกว่า 40 แห่งในประเทศ
ค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับ : 5,000 บาท
ค่าที่พัก : 500 – 1,000 บาท ต่อคน ต่อคืน
ค่าอาหาร : บาท ต่อมื้อ
ค่าเดินทาง : 300 บาท ต่อวัน
ระยะเวลาที่เหมาะสม : 5 – 7 วัน
บทความโดย คุณานันต์ TechToro
วันนี้ (30 ม.ค. 66) ตลาดหุ้นฮ่องกง Hang Seng ปรับตัวลงแรง -2.7% หลังจากที่ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวบวกต่อเนื่องมาตลอดเดือนมกราคม โดยปัจจัยหลักมาจากแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยง ก่อนการประชุม FOMC สหรัฐฯ ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวลงมาแรงเป็นหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี อย่างหุ้น JD.com ที่ลดลง -5.6% จากการประกาศว่าจะยกเลิกการทำธุรกิจ E-commerce ในอินโดนีเซียและไทย โดยในไทยจะยุติการให้บริการในวันที่ 3 มีนาคม โดยเหตุผลหลักมาจากการแข่งขันที่สูงในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหุ้น Alibaba ปรับลงแรง -7.1% หลังจากที่มีข่าวว่าจะย้ายสำนักงานใหญ่ออกจากหางโจวในภาคตะวันออกของจีน ไปยังสิงคโปร์แทน
FINNOMENA Investment Team มองว่าการปรับตัวลงในครั้งนี้เป็นการปรับตัวลดลงในระยะสั้น โดยตลาดหุ้นฮ่องกงยังคงมีปัจจัยบวกฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนภายในปีนี้ (2566) จากรัฐบาลจีนผ่อนคลายมาตรการคุมโควิดและการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมี Pent Up Demand จากภาคการบริโภคในประเทศจีนหากจีนมีการผ่อนคลายมาตราการคุมเข้มโควิดอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่ท่าทีที่เข้มงวดน้อยลงของรัฐบาลจีนต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีนให้ฟื้นตัวได้ดีขึ้น
ในแง่ของ Valuation ของหุ้นจีนหลาย ๆ ดัชนีอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในดัชนี Hang Seng Index (P/E 12M 12x) จากสถิติในอดีตมักเป็นจุดสะสมที่ให้ผลตอบแทนที่ดี รวมไปถึงสามารถทยอยสะสมกองทุนหุ้นจีนต่าง ๆ อาทิ K-CHINA-A(A), KT-Ashares-A และ P-CGREEN
——————-
ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า โซนี่ กรุ๊ป ประกาศย้ายฐานการผลิตกล้องดิจิทัลสำหรับตลาดญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป จากจีนมายังประเทศไทย ตามแผนป้องกันซัพพลายเชนด้วยการลดการพึ่งพาจีน โดยหลังจากนี้โรงงานในจีนจะผลิตกล้องสำหรับขายในแดนมังกรเท่านั้น และจะมีการสำรองเครื่องจักรบางส่วนเพื่อเป็นฐานผลิตสำรองในกรณีฉุกเฉิน
การตัดสินใจย้ายฐานของยักษ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นผลจากความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งไลน์การผลิตกล้องดิจิทัลสำหรับขายในตลาดสหรัฐเป็นส่วนแรกที่ถูกย้ายออกจากจีน ก่อนที่ไลน์สำหรับตลาดยุโรปและญี่ปุ่นจะย้ายตามออกมาเมื่อช่วงสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม โซนี่ยืนยันว่าไม่มีแผนยุติการทำตลาดกล้องดิจิทัลในจีน นอกจากนี้ บริษัทยังคงเดินสายการผลิตสินค้าอื่น ๆ ในจีนเพื่อส่งออกไปยังตลาดโลกตามเดิม ไม่ว่าจะเป็นเลนส์กล้อง ทีวี และเครื่องเกม
นอกจากความตรึงเครียดทางการเมืองแล้ว ผลกระทบจากนโยบายซีโร่โควิดเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ช่วงที่ผ่านมาหลายบริษัทต่างเริ่มเดินแผนลดการพึ่งพาจีนลงเช่นกัน อาทิ แคนนอนที่ย้ายไลน์การผลิตกล้องดิจิทัลบางส่วนจากจีนกลับมายังญี่ปุ่นเมื่อปี 2565 หรือไดกิ้นที่วางแผนสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนที่ไม่ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนจากจีน เป็นต้น
ทั้งนี้ ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยยูโรมอร์นิเตอร์คาดว่า ในปี 2022 โซนี่มียอดขายกล้องดิจิทัลตระกูลอัลฟาทั่วโลกประมาณ 2.11 ล้านเครื่อง ในจำนวนนี้ตลาดจีนมีสัดส่วนเพียง 1.5 แสนเครื่อง
สำหรับประเทศไทย โซนี่มีบริษัทในเครือ 3 แห่งคือ
1.บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด-ทำหน้าที่ทำการตลาด จัดจำหน่ายสินค้าและให้บริการหลังการขาย
2.บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด-ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์สี, LCD, เครื่องเสียงติดรถยนต์, เครื่องนำทางติดรถยนต์ และกล้องดิจิทัล ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
3.บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด-เป็นฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และเป็นฐานผลิตเซมิคอนดักเตอร์แห่งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิง:
https://www.prachachat.net/marketing/news-1189803
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
ความมั่งคั่งของโกตัม อดานี (Gautam Adani) มหาเศรษฐีชาวอินเดีย ผู้ครองตำแหน่งมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชีย วบเกือบ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเวลา 4 วัน หลังเจอข้อกล่าวหาปั่นหุ้น ฉ้อโกง และเลี่ยงภาษี
ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า โกตัม อดานี เจ้าของอาณาจักร อดานี กรุ๊ป (Adani Group) กำลังเผชิญข้อกล่าวหาปั่นหุ้น ฉ้อฉลตกแต่งบัญชี และเลี่ยงภาษี บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้ความมั่งคั่งของเขาลดฮวบลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยโกตัม อดานี คือบุคคลที่ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยในปี 2563 ความมั่งคั่งของเขาเพิ่มขึ้นประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2565 เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าตลาดของหุ้นในบริษัทจดทะเบียนแห่งต่างๆ ในเครืออดานี กรุ๊ป หายวับราว 50,000 ล้านดอลลาร์ หลังจากเมื่อวันศุกร์ราคาหุ้นอดานี เอ็นเตอร์ไพรซ์ ซึ่งเป็นธุรกิจเรือธงของกลุ่ม ดิ่งลงเกือบ 20% ขณะที่หุ้นบริษัทจดทะเบียนในเครือบางแห่งร่วงหนักกว่านั้น ทำให้ต้องระงับการซื้อขายอัตโนมัติตามกฎของตลาดมุมไบ
ด้านผู้จัดการออนไลน์ระบุว่า อดานีหล่นจากอันดับ 3 ในตารางมหาเศรษฐกิจโลกของนิตยสารฟอร์บส์ไปอยู่อันดับ 7 เมื่อเวลานี้เขามีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในระดับ 96,700 ล้านดอลลาร์
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นไม่วันหลังจากฮินเดนเบิร์ก รีเสิร์ช บริษัทอเมริกันที่เชี่ยวชาญการทำชอร์ตเซลล์ได้เผยแพร่งานยาวเกือบ 100 หน้า ชื่อว่า “Adani Group: How the World’s 3rd Richest Man is Pulling the Largest Con in Corporate History” ที่กล่าวหาว่า อดานีมีการปั่นหุ้น ยักย้ายถ่ายเทหุ้น มีการฉ้อฉลทางบัญชีในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และมีการตั้งบริษัทในต่างประเทศเพื่อกระทำทุจริต และใช้ในการเลี่ยงภาษี
การเผยแพร่รายงานนี้เกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะ (FPO) ของบริษัท Adani Enterprise มูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ฝั่งอดานี กรุ๊ป ตอบโต้โดยออกแถลงการณ์ถึงรายงานนี้ว่า “รายงานนี้เป็นการผสมผสานที่มุ่งร้ายของการเลือกข้อมูลที่ผิด ๆ และข้อกล่าวหาเก่า ไม่มีมูลความจริง และน่าอดสู ซึ่งผ่านการตรวจสอบและปฏิเสธโดยศาลสูงสุดของอินเดียแล้ว”
และแถลงการณ์ยืนยันว่า กลุ่มบริษัทอดานีปฏิบัติตามกฎหมายมาโดยตลอด และรักษามาตรฐานสูงสุดของการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล
อ้างอิง:
https://www.prachachat.net/world-news/news-1189489
https://mgronline.com/around/detail/9660000009072
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน