แจ้งเตือน

ตลาดหุ้นแนว Turnaround (2): อังกฤษ และ อาร์เจนตินา

MacroView
ตลาดหุ้นแนว Turnaround (2): อังกฤษ และ อาร์เจนตินา

บทความนี้ จะพามาแนะนำตลาดหุ้นแนว Turnaround หรือตลาดที่ดัชนีร่วงลงมาเยอะในช่วงที่ผ่านมา ทว่ามีโอกาสที่จะกลับมาเป็นขาขึ้นแบบจริงจังอยู่ค่อนข้างสูง ประจำปี 2025 อีก 2 ตลาดโดยผมมองว่าประกอบด้วย อังกฤษ และ อาร์เจนตินา ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม ตลาดหุ้นแนว Turnaround: เกาหลีใต้ และ ฮ่องกง

ตลาดหุ้นอังกฤษ

อังกฤษ ถือเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถตกลงเซ็นสัญญาทางการค้ากับสหรัฐได้สำเร็จ โดยรถยนต์อังกฤษสามารถนำเข้าเพื่อจำหน่ายในสหรัฐแบบแทบจะปลอดภาษีได้เป็นชาติแรกในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ พร้อม ๆ กับสินค้าอื่น ๆ อีกหลายประเภท จุดได้เปรียบของอังกษคือไม่ต้องกังวลว่านโยบาย Tariff War ของทรัมป์จะจ้องเล่นงานสินค้าส่งออกของเมืองผู้ดี เนื่องจากทรัมป์ประกาศว่าอังกฤษคือพันธมิตรอันดับหนึ่งของสหรัฐ

นอกจากนี้ ในมุมของนโยบายการเงินนั้น น่าจะถือว่าเป็นชาติเดียวในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังจะลดลงต่ออย่างแน่นอน แม้ว่าจะลดลงมาพักหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ นโยบายการคลังของรัฐบาลยังพร้อมจะผ่อนคลาย หากว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอังกฤษลดลงมากกว่าที่คาดไว้

เซกเตอร์หลักของตลาดหุ้นอังกฤษ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Value

ซึ่งดัชนีหุ้นอังกฤษเทรดด้วยอัตราส่วน P/E ที่ต่ำ, อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลที่สูง และอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้ดัชนีมักจะขึ้นน้อยกว่าหุ้นในกลุ่ม Growth

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลงซึ่งรวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอังกฤษลดลงด้วยนั้น หุ้นในกลุ่มนี้ มักจะเป็นขาขึ้นแบบค่อนข้างแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็น ‘ตัวแทนของตราสารหนี้’ จะดูมีความโดดเด่นจากรายได้ที่ได้รับ (Current Income) ที่น่าสนใจ อาทิ REIT ขนาดใหญ่ของอังกฤษอย่าง British Land และ Land Securities มี Yield 5.5% และ 6.2% ตามลำดับ เมื่อปีที่แล้ว

นอกจากนี้ หุ้นอังกฤษในกลุ่มกลาโหม ถือว่ามาแรง โดย 8 หุ้นในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นสมาชิกของ FTSE All-Share Index นำทีมด้วย BAE Systems, Rolls-Royce, Babcock และ Chemring มีอัตราผลตอบแทน 55% สำหรับในปีนี้ โดยถึงแม้ว่าราคาหุ้นกลุ่มนี้จะพุ่งสูงขึ้นจน Valuation สูงกว่าค่าเฉลี่ย อาทิ หุ้น BAE เทรดกันที่ 20 เท่าของกำไรในปีหน้า เทียบกับระดับประมาณ 12 เท่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

กระนั้นก็ดี โมเมนตัมก็ดูยังน่าจะไปต่อได้ จากการที่รัฐบาลอังกฤษเร่งการลงทุนในอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อรองรับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ หุ้นกลุ่มกลาโหมของอังกฤษยังคงดูมีราคาถูกเมื่อเทียบกับคู่แข่งในยุโรป โดยหุ้นกลาโหมยุโรปที่ไม่ใช่ Rheinmetall ซึ่งพุ่งทะยานไปมากกว่าเพื่อน อย่าง Leonardo, Thales และ Safran ยังเทรดกันที่ค่า P/E ระหว่าง 27 ถึง 30 เมื่อเทียบกับกำไรในปีนี้

ตลาดหุ้นอาร์เจนตินา

นโยบายเศรษฐกิจของซาเวียร์ มิเลอิ ผู้นำอาร์เจนตินา คือ การรัดเข็มขัด และ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยที่มีการควบคุมเงินไหลเข้าออกจากประเทศ (Currency Controls) ทั้งนี้ มิเลอิไม่ต้องการให้มีการพิมพ์เงินในประเทศเพื่อนำมาใช้ในการปกป้องค่าเงิน ทว่าต้องการให้ Fundamental ที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจในประเทศ อาทิ ปริมาณการขาดดุลงบประมาณที่ลดลง และ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง เป็นตัวที่ช่วยให้ค่าเงินเปโซของอาร์เจนตินาค่อย ๆ อ่อนค่าน้อยลง โดยที่ทางการจะเป็นผู้ประกาศระดับค่ากลางของเงินสกุลเปโซ (Fixed Exchange Rate) ซึ่งที่ผ่านมาแข็งค่ากว่าระดับในตลาด Black Market  ค่อนข้างมาก ท่ามกลางบรรยากาศอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินเปโซใน real term แข็งค่าขึ้นมาก

อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อให้ได้รับเงินกู้มูลค่า $2 หมื่นล้าน จาก IMF มิเลอิได้ทำการยกเลิกระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งทำให้ค่าเงินเปโซแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในการทำหน้าที่เป็นหลักยึด (Anchor) ให้กับการเพิ่มขึ้นของราคาในเศรษฐกิจอาร์เจนตินา ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการป้องกันไม่ให้ธนาคารกลางอาร์เจนตินาเพิ่มทุนสำรองเพื่อนำมาปกป้องค่าเงิน โดยในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา มิเลอิได้ทำการลอยตัวค่าเงินเปโซ อย่างไรก็ดี ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม กลับออกมาต่ำกว่า 2% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020 ที่อัตราเงินเฟ้ออาร์เจนตินาต่ำในระดับนี้

นอกจากนี้ เมื่อต้นปีนี้ รัฐบาลอาร์เจนตินายังสามารถจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า $4.3 พันล้านต่อเจ้าหนี้ได้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020

สำหรับตลาดหุ้นอาร์เจนตินา มีอัตราผลตอบแทนกว่า 100% นับตั้งแต่ต้นปี 2024 โดยจุดเด่นของอาร์เจนตินาในตอนนี้ คือมิเลอิมีความสนิทแนบแน่นกับทรัมป์ ถึงขนาดที่ผู้นำอาร์เจนตินาได้ไปร่วมงานฉลองการรับตำแหน่งผู้นำสหรัฐของทรัมป์ แบบที่ขึ้นเวทีไปโชว์การตัดลดงบประมาณด้วยการถือเลื่อยร่วมกับอิลอน มัสก์ด้วยตนเอง

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com

Finnomena Funds Market Alert: หุ้นเกาหลีใต้บวก 15% นับตั้งแต่ได้ประธานาธิบดีคนใหม่

Finnomena Funds
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้บวก 15% นับตั้งแต่ได้ประธานาธิบดีคนใหม่

วันที่ 24 มิถุนายน 2025 ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปรับตัวขึ้นกว่า 2.77% ทำระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 และปรับตัวขึ้น 15% นับตั้งแต่เลือกตั้งประธานาธิบดี (ตั้งแต่ 2 มิ.ย.) และค่าเงินวอนแข็งค่าขึ้น 0.3% ได้รับแรงหนุนจากการที่ทรัมป์ประกาศหยุดยิงอย่างสมบูรณ์ระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศหลัก ๆ ที่นำเข้าน้ำมันจากแหล่งน้ำมันในช่องแคบ Hormuz

นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศยังได้รับแรงหนุนจากผลสำรวจของธนาคารกลาง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบสี่ปีในเดือนมิถุนายน สะท้อนความไม่แน่นอนที่คลี่คลายลงหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อต้นเดือนมิถุนายน

หุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 10 อันดับแรกในดัชนี KOSPI ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยรวม เช่น Samsung Electronics +3.19%, SK Hynix +7.13%, Hyundai Motor +2.11%

Finnomena Funds มองว่าการฟื้นตัวของตลาดหุ้นเกาหลีในวันนี้ สะท้อนถึงความกังวลที่คลี่คลายของนักลงทุนต่อความตึงเครียดด้านสงคราม คงมุมมองตลาดหุ้นเกาหลีใต้ Slightly Positive แนะนำถือกองทุน SCBKEQTG โดยประธานาธิบดีคนใหม่มีความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูความเชื่อมั่น และมีแผนชัดเจนผลักดันให้ดัชนี KOSPI ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 5,000 จุด ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังระบุพร้อมใช้มาตรการทันที หากหุ้นเกาหลีใต้เกิดความผันผวนเพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยให้ตลาดมีเสถียรภาพ

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปกองทุนแนะนำ: ปรับกลยุทธ์ De-Risk ผ่อนคันเร่ง เฟ้นผลตอบแทนในช่วงตลาดผันผวน [อัปเดต 24 มิ.ย. 2025]

Finnomena Funds
สรุปกองทุนแนะนำ: ปรับกลยุทธ์ De-Risk ผ่อนคันเร่ง เฟ้นผลตอบแทนในช่วงตลาดผันผวน

Finnomena Funds แนะนำกลยุทธ์ De-Risk ลดความเสี่ยงในช่วงที่โลกปั่นป่วนและมีความไม่แน่นอนในอนาคต โดยหาโอกาสสร้างผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่โดดเด่นในช่วงตลาด Sideway รับประโยชน์จากความผันผวน

Highlight

 

สรุปกองทุนแนะนำ: ปรับกลยุทธ์ De-Risk ผ่อนคันเร่ง เฟ้นผลตอบแทนในช่วงตลาดผันผวน

อัปเดตข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2025 โดย Finnomena Funds

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hubแหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena

ด้วยความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ทั้งประเด็นของ Geopolitical Risk ปะทุรุนแรง, Tariff Rates ซึ่งยังไม่แน่นอนก่อนถึงเส้นตายในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ และแนวโน้มการชะลอตัวของ GDP ทั่วโลก กดดันให้ตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสผันผวนในอนาคต ประกอบกับ Valuation ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500) ก็เริ่มตึงตัว หลังปรับขึ้นเข้าใกล้จุดสูงสุด 

เรามองว่าทิศทางตลาดหุ้นในระยะต่อจากนี้ จะเข้าสู่ช่วง Sideway ดังนั้น จึงแนะนำ “Take Profit” หุ้นเติบโต และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตลงมา “De-risk” (แต่ไม่ใช่ Risk-off mode) ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้โลก, REITs รวมถึงกระจายความเสี่ยงไปยังหุ้นกลุ่ม Defensive, หุ้น Emerging Markets และกองทุนที่มีกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงขาลง กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก 


FundTalk Call “ย่อซื้อ ขึ้นขาย”

FundTalk กองทุนแนะนำ

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนหาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

1.) K-GPINUH-A(A) (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นโลกสาย Defensive และมีรายได้ Premium จากการขาย Call Options ในช่วงตลาดขาลง ซึ่งเหมาะกับจังหวะในการสลับจากหุ้นกลุ่ม Growth ไปยังกลุ่มหุ้นตั้งรับ เช่น Health Care, Consumer Staples, Utility ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐโลกส่งสัญญาณชะลอตัว

2.) KT-BOND (ความเสี่ยงระดับ 4)

กองทุนตราสารหนี้โลกอายุยาว ลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Global Bond Fund ที่อ้างอิงดัชนี Bloomberg Global Aggregate (USD Hedged) Index ปัจจุบันมี Yield to Maturity คาดการณ์ที่ 6.46% และเน้นลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวประมาณ 7 ปี โดยเป็นช่วงเวลาที่แนะนำให้เพิ่มสัดส่วน Global Bond เสริมความปลอดภัย เน้นสร้างกระแสเงินสด พร้อมรับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย

รีวิวกองทุน KT-BOND: ตราสารหนี้โลกอายุยาว ล็อกผลตอบแทน Bond Yield ดีดแรงทุกรุ่น อ่านต่อคลิก

3.) TUSREIT (ความเสี่ยงระดับ 8)

กองทุนในกลุ่ม REITs สหรัฐฯ ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Vanguard Real Estate ETF ที่เน้นลงทุนในกลุ่ม Data Center, Healthcare, Retail ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มักวิ่งสวนทางกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้หลังจากนี้ REITs สหรัฐฯ อาจปรับตัวขึ้นได้ตามแนวโน้ม Bond Yield ที่ลดลง 


Mr.Messenger Call “จับจังหวะขาขึ้น”

Mr.Messnger กองทุนแนะนำ

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

1.) ABGFIX-A และ SCBFST (ความเสี่ยงระดับ 4)

กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์ สำหรับเป้าหมายการเก็งกำไรระยะสั้น โดยมองสัญญาณทางเทคนิค หาก Dollar Index ยืนที่ระดับ 98 จุด แล้วดีดขึ้นได้สำเร็จ จะเป็นจุดต่ำสุดของรอบนี้แล้

2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเวียดนามเติบโตสูง เป็นประเทศเป้าหมายในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีโอกาสสูงที่จะ Make Deal กับสหรัฐฯ ซึ่งจะกลายเป็นโมเมนตัมที่ดีต่อเนื่องในการหนุนตลาดหุ้นเวียดนาม

3.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นอินเดียเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยจาก Geopolitical Risk ประกอบกับมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว ด้วยโครงสร้างประชากรและพื้นฐานเศรษฐกิจ  


MEVT Call “ซื้อถือยาว”

MEVT กองทุนแนะนำ

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical 

1.) ES-GAINCOME-A และ ES-GAINCOME-RP (ความเสี่ยงระดับ 5)

กองทุนผสมที่เน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Global Multi-Asset Allocation
) อาทิ หุ้น, Equity Linked-note, ตราสารหนี้ และ Catastrophe Bond ตลอดจนมีการป้องกันความเสี่ยงขาลง (Hedging) เหมาะกับการลงทุนเพื่อหาประโยชน์จากความผันผวนจากแนวทางการบริหารของ Donald Trump

รีวิวกองทุน K-GPINUH และ ES-GAINCOME: ตั้งรับรอสวนกลับ ลงทุนหลบความผันผวน อ่านต่อคลิก

2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเวียดนามศักยภาพสูง เป็นตลาดที่ถูกและดี พร้อมด้วย Sentiment จากธีม China+1 และมีแรงหนุนระยะยาวทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งล่าสุดเวียดนามได้อัปเกรดตลาดโดยนำระบบซื้อขายของ Korea Exchange มาใช้เพื่อยกระดับตลาดทุน

3.) B-BHARATA และ TISCOINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นอินเดียเติบโตแกร่ง เป็นตลาดที่สามารถเก็บสะสมได้ในระยะยาว หนุนโดยโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกปรับเพิ่มขึ้น พร้อมด้วย Sentiment จากธีม China+1

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

อิหร่านปิดฮอร์มุซ = ฆ่าตัวตาย

จิรัฐิติ ขันติพะโล

ทุกครั้งที่อิหร่านขู่จะปิดช่องแคบฮอร์มุซ ราคาน้ำมันโลกจะพุ่งสูงขึ้น แต่กลับกันน้ำมันของอิหร่านเองก็ต้องขนส่งผ่านช่องแคบนี้เช่นกัน การปิดฮอร์มุซจึงไม่เพียงตัดรายได้หลักของอิหร่าน แต่ยังเสี่ยงทำลายความสัมพันธ์กับพันธมิตรสำคัญอย่างจีน

ในโลกที่อิหร่านพึ่งการค้าพลังงานเพื่ออยู่รอด การปิดช่องแคบฮอร์มุซจึงไม่ใช่การตอบโต้ แต่อาจจะหมายถึงการฆ่าตัวตาย

ท่ามกลางปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง ที่ปะทุขึ้นอีกครั้งจากเหตุการณ์ที่สหรัฐฯ และอิสราเอลร่วมกันโจมตีเป้าหมายด้านนิวเคลียร์ในอิหร่าน ความกังวลของโลกไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในเรื่องของอาวุธนิวเคลียร์หรือเสถียรภาพในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังขยายตัวไปสู่ปัญหาที่กระทบกับคนทั้งโลก นั่นคือราคาน้ำมันและความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะเมื่อเอ่ยถึงชื่อ “ช่องแคบฮอร์มุซ”

อิหร่านไม่เคยปิด “ช่องแคบฮอร์มุซ” ได้จริง

ช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งทอดตัวยาวเพียง 55 กิโลเมตรและเป็นจุดแคบที่สุดของเส้นทางทะเลระหว่างอิหร่านและโอมาน ถือเป็นทางผ่านของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนถึงหนึ่งในห้าของความต้องการพลังงานทั่วโลกต่อวัน ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นี้ทำให้ช่องแคบแห่งนี้ไม่เพียงแต่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดอ่อนที่อ่อนไหวอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจ

แม้อิหร่านจะขู่หลายครั้งในอดีตว่าจะปิดช่องแคบนี้เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรหรือการแทรกแซงของตะวันตก แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ช่องแคบฮอร์มุซยังไม่เคยถูกปิดอย่างสมบูรณ์แม้แต่ครั้งเดียว ไม่ใช่เพราะอิหร่านทำไม่ได้ แต่การปิดช่องแคบย่อมส่งผลอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของอิหร่านเองเช่นกัน

ตั้งสติ อย่าตกใจเกินไป

Ron Bousso นักวิเคราะห์ด้านพลังงานจาก Reuters ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ช่องแคบฮอร์มุซจะเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันสำคัญของโลก และอิหร่านจะมีศักยภาพในการขัดขวางเส้นทางนี้ในหลายรูปแบบ แต่ในความเป็นจริง เหตุการณ์ที่หลายคนกลัวว่าจะรุนแรง มักเกิดขึ้นแค่ช่วงสั้น ๆ และควบคุมได้

ย้อนดูตัวอย่างในอดีต เช่น ช่วงสงครามอ่าวปี 1991 ที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า แต่กลับมาสงบลงในเวลาไม่กี่เดือน หรือในปี 2022 เมื่อรัสเซียรุกรานยูเครน ราคาน้ำมันพุ่งไปถึง $130 ต่อบาร์เรล แต่ก็ลดลงมาอยู่แถว $95 ภายในกลางปีเดียวกัน สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ตลาดน้ำมันมีความยืดหยุ่นและสามารถฟื้นตัวจากแรงกระแทกได้เร็วกว่าที่หลายคนคาดคิด

ทางเลือกของอิหร่านมีอะไรบ้าง?

ผู้คนจำนวนมากมองว่าอิหร่านสามารถ “ทำอะไรก็ได้” กับช่องแคบฮอร์มุซ แต่การเลือกใช้มาตรการรุนแรง เช่น การปิดช่องแคบฮอร์มุซโดยสมบูรณ์ ไม่เพียงแต่จะยั่วยุให้เกิดการตอบโต้จากสหรัฐฯ และกองทัพเรือพันธมิตรเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลเสียต่อผลประโยชน์ของอิหร่านเองอย่างมหาศาล โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน ซึ่งเป็นผู้ซื้อน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอิหร่าน ที่อาจไม่พอใจหากความมั่นคงทางพลังงานของตนเองถูกระทบ

นักวิเคราะห์จากตะวันตกจึงเชื่อว่า อิหร่านจะเลือกใช้ทางเลือกอื่นในการตอบโต้การโจมตีของสหรัฐฯ และพันธมิตร โดยเฉพาะการใช้ยุทธวิธีก่อกวนทางทะเล เช่น การรบกวนสัญญาณ GPS ที่มีเรือได้รับผลกระทบกว่า 1,000 ลำต่อวัน หรือการใช้โดรนและระเบิดโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันในลักษณะที่คล้ายกับกลุ่มฮูตีในทะเลแดง แต่มาตรการเหล่านี้ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อการไหลเวียนของน้ำมันโลกอย่างแท้จริง

ทางเลือกของโลกมีอะไรบ้าง?

ขณะเดียวกัน โลกของเรายังมีแผนสำรอง แม้ช่องแคบฮอร์มุซจะเป็นเส้นทางหลักในการส่งออกน้ำมันของหลายประเทศในตะวันออกกลาง แต่ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้เตรียมทางเลือกไว้ล่วงหน้า เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่ต้องพึ่งพาฮอร์มุซเพียงอย่างเดียว

ซาอุฯ มีท่อ Abqaiq–Yanbu ที่เชื่อมจากฝั่งอ่าวเปอร์เซียไปยังทะเลแดง สามารถส่งน้ำมันได้สูงสุดถึง 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วน UAE ใช้ท่อส่งน้ำมันไปยังเมืองฟูไจราห์ซึ่งอยู่นอกช่องแคบ รองรับได้ราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศผู้บริโภคพลังงานหลักอย่างสมาชิก IEA มีน้ำมันสำรองรวมกันกว่า 5.8 พันล้านบาร์เรล ซึ่งมากพอรองรับการหยุดชะงักชั่วคราว และช่วยให้ตลาดโลกยังคงมีเสถียรภาพ แม้จะเกิดความตึงเครียดในภูมิภาคก็ตาม

กลับสู่โลกความเป็นจริง

ในที่สุดแล้ว ความกังวลเกี่ยวกับการปิดช่องแคบฮอร์มุซจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่ประเด็นที่ควรกังวลเกินไป หลายครั้งในอดีตสถานการณ์ในภูมิภาคมักถูกเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการส่งออกน้ำมัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงมักเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวที่ตลาดสามารถรับมือได้

แม้อิหร่านจะยังมีความเป็นไปได้ในการตอบโต้ในหลายรูปแบบ แต่เมื่อพิจารณาจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับพันธมิตร และโครงสร้างของตลาดโลกในปัจจุบัน ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า ตลาดพลังงานโลกในปี 2025 ไม่ได้กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตอย่างที่หลายฝ่ายกังวล

วัยทำงาน อย่าปล่อยผ่าน ยิ่งลงทุนไว ยิ่งได้เปรียบ

Finspace
วัยทำงาน อย่าปล่อยผ่าน ยิ่งลงทุนไว ยิ่งได้เปรียบ

วัยทำงาน อย่าปล่อยผ่าน! เพราะ “เวลา” เป็นหนึ่งในตัวแปรของ “พลังของดอกเบี้ยทบต้น” ยิ่งเริ่มเร็ว ก็ยิ่งเข้าใกล้เป้าหมายทางการเงินได้ไวกว่า

มารู้จัก 4 แผนการลงทุน จาก Finnomena ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับเป้าหมายของคนวัยทำงาน และใช้เงินเริ่มต้นไม่เยอะ

วัยทำงาน อย่าปล่อยผ่าน ยิ่งลงทุนไว ยิ่งได้เปรียบ

1. First Million

เริ่มต้นวางแผน สร้างเงินล้านแรกในชีวิตด้วยเงินหลักพัน
ความเสี่ยงระดับกลางถึงสูง มีเป้าหมายต่อปีโดยเฉลี่ย 5-8%

2. Goal

วางแผนเกษียณ บ้าน รถ เก็บเงินก้อน ด้วยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ความเสี่ยงระดับต่ำ- สูง มีเป้าหมายต่อปีโดยเฉลี่ย 2-8%

3. All Balance

วางแผนระยะยาวแต่ไม่ละทิ้งโอกาสระยะสั้น โดยสะสมมูลค่าด้วยการวางพอร์ตกระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล ความเสี่ยงระดับกลาง มีเป้าหมายต่อปีโดยเฉลี่ย 6%

4. Tax Saving

วางแผนประหยัดภาษีผ่านการลงทุนในRMF / Thai ESG / Thai ESGX

เลือกแผนที่ใช่ แล้วเริ่มลงทุนอย่างมีวินัยตั้งแต่วันนี้ เพราะทุกก้าวเล็ก ๆ คือการเข้าใกล้อิสรภาพทางการเงินมากขึ้นครับ

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0vkDeM9EgoSoCuTwtKEMkvSE5Lmod28kAQCYa3wGiVSWLZPtRrAoyBYLcb1S2shhql

“โปรไฟไหม้” หุ้นไทย

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
“โปรไฟไหม้” หุ้นไทย
ตลาดหลักทรัพย์มีโครงการ “Jump+” ที่จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนสร้างการเติบโตและสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนแบบ “ก้าวกระโดด” โดยที่โครงการนี้จะให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและการให้คำแนะนำแก่บริษัทจดทะเบียนในหลาย ๆ เรื่องที่จะทำให้กิจการเติบโต มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น ทั้งจากการเติบโตจากภายในและการควบรวมกิจการที่เป็นประโยชน์กับบริษัท

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

12 ตัวเลขการเงินที่วัยทำงานควรรู้

Finspace
12 ตัวเลขการเงินที่วัยทำงานควรรู้

12 ตัวเลขการเงินที่วัยทำงานควรรู้ไว้ เพราะช่วยให้วางแผนการเงินได้ดีขึ้น ใช้ชีวิตมั่นคงขึ้น และไปถึงเป้าหมายไวขึ้น!

หลายคนอาจเคยได้ยินกฎการเงินต่าง ๆ ผ่านหูมาบ้าง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มใช้ยังไง หรือบางคนกำลังหาวิธีวางแผนการเงินให้ลงตัวในทุกด้าน ทั้งใช้จ่าย ออม ลงทุน และเตรียมเกษียณ

วันนี้เราเลยรวม 12 ตัวเลขทางการเงิน ที่เข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริง มาให้คุณเช็กตัวเองกันว่า… ตอนนี้เราวางแผนดีแค่ไหน?

12 ตัวเลขการเงินที่วัยทำงานควรรู้

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid08UnVpkfmrxvFQSu1XanzN7up4PSDvm13fk5KjHddwvbSLvTp6KgsY1oJLmSJdEoQl

เปิดผลตอบแทนจริง Definit Global Select หุ้นนอก DR ที่โดดเด่นในเดือนพ.ค. 2025

Definit

Definit Global Select (DGS) กลยุทธ์ลงทุน DR หุ้นต่างประเทศคุณภาพดี สามารถทำผลตอบแทนสุทธิ (Net Return*) ได้กว่า 20% นับตั้งแต่เปิดตัวในวันที่ 9 เมษายน 2025 ด้วยการจัดพอร์ต DR ไม่เกิน 10 ตัว คัดเลือกจากปัจจัยพื้นฐานในหุ้นที่ถูกปรับเพิ่มประมาณการกำไร และมีโมเมนตัมราคาเชิงบวก สนใจลงทุนคลิกเลย

เปิดผลตอบแทนจริง Definit Global Select หุ้นนอก DR ที่โดดเด่นในเดือนพ.ค. 2025

DGS เป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เกิดจากความร่วมมือของ บลป. เดฟินิท (ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัทฟินโนมีนา) และ บล. หยวนต้า เป็นกลยุทธ์การลงทุนใน Depository Receipt (DR) ซึ่งอ้างอิงราคาหุ้นสามัญต่างประเทศ ครอบคลุมการลงทุนหุ้นรายตัวใน 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี จีน (ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง) ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเวียดนาม

ผลตอบแทนจริงจากพอร์ตนักลงทุนที่เริ่มลงทุนในวันเปิดตัว DGS

Source: Definit, Data as of 11 June 2025

กลยุทธ์ DGS เปิดให้ลงทุนครั้งแรกในวันที่ 9 เมษายน 2025 พบว่าผลตอบแทนจริงจากพอร์ตนักลงทุนที่เริ่มลงทุนในวันเปิดตัว DGS จนถึงวันที่ 11 มิถุนายน อยู่ที่ 20.30%* ทำผลตอบแทนเหนือกว่าภาพรวมหุ้นโลก iShares MSCI ACWI ETF (ถูกปรับเป็นสกุลเงิน THB) ซึ่งอยู่ที่ 14.70% 

* ผลตอบแทนสุทธิ (Net Return) ของโมเดลพอร์ตหักค่า Commission ที่ 0.25%+VAT โดยคิด Turnover จริงจากหน้าพอร์ตที่เปลี่ยนไปในแต่ละเดือน, ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) คิด 0.75% ต่อปี, ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) คิด 15% ของผลตอบแทนที่สูงกว่า High Water Mark ซึ่งคิดเป็นรายปี 

เริ่มต้นลงทุน DR อย่างเป็นระบบ เริ่มที่ Definit Global Select (DGS) ดูข้อมูลคลิกเลย

ผลตอบแทน 10 DR หุ้นนอกในพอร์ต DGS เดือนพฤษภาคม 2025

ผลตอบแทน DR ในพอร์ต DGS เดือน May 2025

Source: Definit, Data as of 11 June 2025

จากการคัดเลือก DR จำนวน 10 ตัว ซึ่งลงทุนแบบ Equal-Weighted กำหนดน้ำหนักแต่ละตัวเท่ากันสูงสุดไม่เกินตัวละ 20% พบว่าในเดือนพฤษภาคม 2025 ที่ผ่านมา มีหุ้นที่ปรับตัวเป็นบวกถึง 7 จาก 10 ตัว ยกตัวอย่างเช่น

1. AVGO80 (Broadcom) ปรับตัวขึ้น 21.45%

ธุรกิจพัฒนาและออกแบบชิปเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งได้อานิสงส์จากการเติบโตของ AI, Data Center, และ Cloud Computing

2. MITSU19 (Mitsubishi Heavy Industries) ปรับตัวขึ้น 19.53%

บริษัทวิศวกรรมและอุตสาหกรรมหนักที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยมีบทบาทในหลากหลายกลุ่มธุรกิจที่เน้นเทคโนโลยีขั้นสูงและโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งฟื้นตัวตามเศรษฐกิจญี่ปุ่น

3. MUFG19 (Mitsubishi UFJ Financial Group) ปรับตัวขึ้น 14.50%

เป็นหนึ่งในสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น และให้บริการทางการเงินครอบคลุมทุกด้านทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก

4. POPMART80 (Pop Mart) ปรับตัวขึ้น 12.05%

ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าของเล่น Art Toys โดยมีกลยุทธ์การขายสินค้าแบบกล่องสุ่ม และจับมือเป็นพันธมิตรกับศิลปินต่าง ๆ เพื่อออกสินค้า Character ซึ่งเติบโตอย่างมากจากเทรนด์ของสะสมที่ขยายตัวในตลาดต่างประเทศ

5. NFLX80 (Netflix) ปรับตัวขึ้น 4.86%

ผู้นำในธุรกิจแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งคอนเทนต์ภาพยนตร์ ซีรีส์ และสารคดีระดับโลก ซึ่งมีรายได้จากสมาชิกทั่วโลก 

วิธีการคัดเลือก DR ของ DGS ใช้กลยุทธ์แบบ Earnings-and-Momentum (EMO) Framework พิจารณาสองปัจจัยในการคัดเลือกหุ้น  ได้แก่ 1. Earnings หรือการปรับประมาณการกำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งสะท้อนความสามารถการเติบโตของหุ้นแต่ละตัว 2. Momentum หรือโมเมนตัมราคาที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของตลาด

นักลงทุนที่สนใจ สามารถเปิดบัญชีลงทุน Definit Global Select กับ บล. หยวนต้า คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนของท่านได้แล้ววันนี้


คำเตือน: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสัญญารับฝาก DR ก่อนการลงทุน | การลงทุนผ่าน DR มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา DR เอง | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-9933 และทาง Email support@definitinvestment.com

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

Finnomena Funds
AWS

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย … ตลาดก็เช่นกัน

ปี 2025 น่าจะเป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของโลกการลงทุนไม่น้อย เพราะถ้าย้อนไปตั้งแต่ต้นปี เราจะเห็นถึงความไม่แน่นอนที่ปกคลุมตลาดอย่างชัดเจน ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่นักลงทุนทั่วโลก นโยบายภาษี (Tariff) ที่เข้มงวดขึ้นจากการกลับมาของประธานาธิบดี ทรัมป์ กับนโยบาย ‘America First’ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการค้าโลก และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม

ถ้ามองในมุมของการลงทุน ก็ถือว่าตลาดเปลี่ยนแปลงบ่อยจริง ๆ และสิ่งที่นักลงทุนทำได้คือการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจคือการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่มีการจัดพอร์ตเพื่อเอาชนะตลาดทุกสภาวะ อย่างพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy 


กลยุทธ์การลงทุนของ A.Stotz All Weather Strategy

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework หรือการวิเคราะห์รอบด้านทั้ง Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk ในการวิเคราะห์การลงทุน โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลงทุนในกองทุน Passive เสริมด้วยการคัดเลือกกองทุนที่มีโอกาสชนะกองทุน Passive เพิ่มเติม และมีการปรับพอร์ต (Rebalance) ปีละ 4 ครั้ง

หัวใจการลงทุนของพอร์ต คือ G-L-D

  • Global – ลงทุนทั่วโลกเพื่อแสวงหาโอกาสและลดความเสี่ยง ไม่กระจุกแค่ในไทย
  • Long-term – สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว และจำกัดความเสี่ยงในช่วงขาลง
  • Diversified – กระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนใน 4 สินทรัพย์

 

รู้จัก Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย

Andrew Stotz เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง A.Stotz Investment Research ทำงานด้านการลงทุนในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 1992 ในฐานะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และอาจารย์มหาวิทยาลัย 

โดยในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง Head of Research ที่ CLSA ได้รับการโหวตจากผลสำรวจของ Asiamoney Brokers ให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยประจำปี 2008 และ 2009 รวมถึงได้รับการโหวตให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของเมืองไทยจากรายงานของ All-Asia Research Team ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร Institutional Investor เช่นกัน

สินทรัพย์ที่ A.Stotz All Weather Strategy ลงทุน

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อาจเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามแต่ละภาวะตลาด ดังนี้

  • หุ้น – มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลและการปรับขึ้นของราคาหุ้น
  • ตราสารหนี้ – มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและการปรับขึ้นของราคาตราสารหนี้
  • สินค้าโภคภัณฑ์ – หมายถึงวัตถุดิบต่างๆ เช่น พลังงาน อาหาร โลหะ มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา
  • ทองคำ – เป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา

 

นอกจากนี้ A.Stotz All Weather Strategy ยังพิจารณาลงทุนใน 6 ภูมิภาค ตามสภาวะตลาด คือ สหรัฐอเมริกา, ตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน), ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป, ญี่ปุ่น, เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง) และจีน


ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ A.Stotz All Weather Strategy

ปกติแล้วในการจัดพอร์ตการลงทุน จะมีสัดส่วนที่คนนิยมคือแบบ 60/40 หรือการลงทุนในหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว ที่ผ่านมา A.Stotz All Weather Strategy สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า การกระจายการลงทุนแบบดังกล่าวภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า*

ถ้านับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy ปรับขึ้นกว่า 52.8% โดดเด่นกว่าพอร์ต 60/40 ที่ปรับตัวขึ้น 31.6%

*ผลงานของพอร์ต 60/40 คำนวนจาก NAV 60% ของ MSCI AC World & KKP PGE-H และ NAV 40% ของ KT-BOND, SCBGLOB โดยจัดเป็นดัชนีชี้วัดของพอร์ตการลงทุนนี้

ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 07/06/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

นอกจากนี้ หากมองย้อนกลับไป A.Stotz All Weather Strategy ยังมีความผันผวนต่ำกว่า ปรับตัวลงน้อยกว่าในวันที่ตลาดแย่กว่า และทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40

A.Stotz All Weather Strategy มีความผันผวนต่ำกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 07/06/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

A.Stotz All Weather Strategy ปรับตัวลงน้อยกว่า พอร์ตการลงทุน 60/40 ในวันที่ตลาดแย่กว่า | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 07/06/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

A.Stotz All Weather Strategy ทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่าถึง 60% เทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 07/06/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 ในทุกช่วงเวลา | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 07/06/2025
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต


สัดส่วนการลงทุนของ A.Stotz All Weather Strategy

มุมมองการลงทุนล่าสุด (07/06/2025) A.Stotz All Weather Strategy กระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในหุ้นด้วยสัดส่วน 70% แบ่งเป็นหุ้นยุโรป 25% หุ้นตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน) 25% หุ้นสหรัฐฯ 5% หุ้นจีน 5% หุ้นญี่ปุ่น 5% หุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นและจีน 5% 

สำหรับตราสารหนี้ พอร์ต AWS ลงทุนด้วยสัดส่วน 5% และสัดส่วนที่เหลืออีก 25% กระจายการลงทุนในทองคำ

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

ติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/


สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สำรวจหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศทั่วโลก

Finnomena
สำรวจหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศทั่วโลก

Debt to GDP Ratio หรือ อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คือหนึ่งในตัวชี้วัดสุขภาพการคลังของประเทศ แสดงให้เห็นว่ามีภาระหนี้เกินกว่ากำลังการผลิตทางเศรษฐกิจของตัวเองแค่ไหน วิธีแปลค่าง่าย ๆ เบื้องต้น

  • 0 – 40% ต่ำมาก ฐานะการคลังแข็งแรง
  • 40 – 70% ปานกลาง อยู่ในระดับควบคุมได้
  • 70 – 100% สูง ควรต้องเฝ้าระวัง
  • 100% ขึ้นไป เสี่ยง พึ่งพาการกู้ยืมมากเกินไป

 

แต่ค่านี้ควรดูร่วมกับอัตราดอกเบี้ย, งบประมาณรายปี, ความสามารถในการก่อหนี้ใหม่ และสถานะทุนสำรองระหว่างประเทศด้วย เพราะจะเห็นว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา แม้จะมีหนี้ต่อ GDP สูงระดับเกิน 100% มายาวนาน แต่กลับไม่ล้มละลาย เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการมีเครดิตที่ดีและมูลค่าเศรษฐกิจที่สูง จึงมีความน่าเชื่อถือและมีเครื่องมือควบคุมเสถียรภาพทางการเงิน ต่างจากประเทศเล็ก ๆ ที่หากก่อหนี้สูงเกินไป ก็อาจถูกกดดันจากตลาดแล้ว

หนี้สาธารณะต่อ GDP ของแต่ละประเทศปี 2025

สำรวจหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศทั่วโลก

  1. ไทย 62%
  2. ญี่ปุ่น 255%
  3. สิงคโปร์ 168%
  4. กรีซ 162%
  5. อาร์เจนติน่า 155%
  6. สหรัฐอเมริกา 122%
  7. สหราชอาณาจักร 97%
  8. จีน 83%
  9. อินเดีย 82%
  10. ออสเตรเลีย 43%
  11. เวียดนาม 37%
  12. รัสเซีย 16%

Source: World Population Review

แจกโพย Dividend Kings หุ้นนอกจ่ายปันผลเพิ่มต่อเนื่อง 50 ปี!

planet 46

ถ้าพูดถึงหุ้นปันผลที่แกร่งในทุกสภาพเศรษฐกิจ คงไม่มีใครเกิน “Dividend Kings” หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีประวัติการเพิ่มเงินปันผลต่อเนื่องทุกปีเป็นเวลา 50 ปีขึ้นไป

ไม่ว่าจะเกิดภาวะถดถอย วิกฤตตลาด เงินเฟ้อ หรือเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน บริษัทเหล่านี้ก็ยังมอบผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่จ่ายปันผลทุกปี แต่ต้องเพิ่มเงินปันผลต่อเนื่องติดต่อกันอย่างน้อย 50 ปี

เราได้นำข้อมูลจาก Simply Safe Dividends ที่รวบรวมรายชื่อหุ้น Dividend Kings ล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิ.. 2568) มาฝากกัน พร้อมอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) และคะแนนความปลอดภัยของเงินปันผล (Dividend Safety Score™) เพื่อช่วยให้คุณเลือกหุ้นปันผลได้อย่างมั่นใจขึ้น

ถ้าเป้าหมายของคุณคือสร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว ต้องห้ามพลาดบทความนี้!

Dividend Kings 55 หุ้นนอกจ่ายปันผลเพิ่มต่อเนื่อง 50 ปี!

1. Altria (MO)

🔸 Sector: ยาสูบ
🔸 Yield: 6.81%
🔸 Dividend Safety Score: Borderline Safe

2. Universal (UVV)

🔸 Sector: ยาสูบ
🔸 Yield: 5.37%
🔸 Dividend Safety Score: Borderline Safe

3. Northwest Natural (NWN)

🔸 Sector: ก๊าซธรรมชาติ
🔸 Yield: 4.87%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

4. Stanley Black & Decker (SWK)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 4.87%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

5. Canadian Utilities (CDUAF)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคหลายประเภท
🔸 Yield: 4.74%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

6. Black Hills (BKH)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคหลายประเภท
🔸 Yield: 4.71%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

7. Target (TGT)

🔸 Sector: ค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค
🔸 Yield: 4.59%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

8. Federal Realty (FRT)

🔸 Sector: REIT
🔸 Yield: 4.55%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

9. PepsiCo (PEP)

🔸 Sector: เครื่องดื่ม
🔸 Yield: 4.30%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

10. Archer-Daniels-Midland (ADM)

🔸 Sector: ผลิตภัณฑ์เกษตร
🔸 Yield: 4.11%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

11. United Bankshares (UBSI)

🔸 Sector: ธนาคารในภูมิภาค
🔸 Yield: 4.07%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

12. Kimberly-Clark (KMB)

🔸 Sector: สินค้าอุปโภค
🔸 Yield: 3.76%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

13. Hormel Foods (HRL)

🔸 Sector: อาหารสำเร็จรูป
🔸 Yield: 3.74%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

14. Kenvue (KVUE)

🔸 Sector: ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนตัว
🔸 Yield: 3.72%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

15. Fortis (FTS)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคไฟฟ้า
🔸 Yield: 3.61%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

16. AbbVie (ABBV)

🔸 Sector: ไบโอเทคโนโลยี
🔸 Yield: 3.41%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

17. Genuine Parts (GPC)

🔸 Sector: อะไหล่รถยนต์และเครื่องจักร
🔸 Yield: 3.37%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

18. Johnson & Johnson (JNJ)

🔸 Sector: ยาและอุปกรณ์การแพทย์
🔸 Yield: 3.32%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

19. Consolidated Edison (ED)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคหลายประเภท
🔸 Yield: 3.28%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

20. H2O America (HTO)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคน้ำ
🔸 Yield: 3.14%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

21. Sysco (SYY)

🔸 Sector: กระจายวัตถุดิบอาหาร
🔸 Yield: 2.87%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

22. Coca-Cola (KO)

🔸 Sector: เครื่องดื่ม
🔸 Yield: 2.82%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

23. Stepan (SCL)

🔸 Sector: เคมีภัณฑ์เฉพาะทาง
🔸 Yield: 2.77%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

24. Procter & Gamble (PG)

🔸 Sector: สินค้าในครัวเรือน
🔸 Yield: 2.59%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

25. California Water (CWT)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคน้ำ
🔸 Yield: 2.57%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

26. National Fuel Gas (NFG)

🔸 Sector: ก๊าซธรรมชาติ
🔸 Yield: 2.54%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

27. Illinois Tool Works (ITW)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 2.44%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

28. PPG Industries (PPG)

🔸 Sector: เคมีภัณฑ์เฉพาะทาง
🔸 Yield: 2.43%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

29. Becton Dickinson (BDX)

🔸 Sector: อุปกรณ์การแพทย์
🔸 Yield: 2.38%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

30. Middlesex Water (MSEX)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคน้ำ
🔸 Yield: 2.38%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

31. American States Water (AWR)

🔸 Sector: สาธารณูปโภคน้ำ
🔸 Yield: 2.37%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

32. Cincinnati Financial (CINF)

🔸 Sector: ประกันภัย
🔸 Yield: 2.35%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

33. ABM Industries (ABM)

🔸 Sector: บริการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
🔸 Yield: 2.29%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

34. Lancaster (LANC)

🔸 Sector: อาหารสำเร็จรูป
🔸 Yield: 2.25%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

35. Colgate-Palmolive (CL)

🔸 Sector: สินค้าอุปโภค
🔸 Yield: 2.23%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

36. Lowe’s (LOW)

🔸 Sector: ค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง
🔸 Yield: 2.15%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

37. Gorman-Rupp (GRC)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 2.01%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

38. ADP (ADP)

🔸 Sector: บริการด้าน HR
🔸 Yield: 1.99%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe 

39. Farmers & Merchants (FMCB)

🔸 Sector: ธนาคารในภูมิภาค
🔸 Yield: 1.86%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

40. Nucor (NUE)

🔸 Sector: เหล็ก
🔸 Yield: 1.86%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

41. RPM International (RPM)

🔸 Sector: เคมีภัณฑ์เฉพาะทาง
🔸 Yield: 1.78%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

42. Commerce Bancshares (CBSH)

🔸 Sector: ธนาคารในภูมิภาค
🔸 Yield: 1.77%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

43. Abbott (ABT)

🔸 Sector: อุปกรณ์การแพทย์
🔸 Yield: 1.73%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

44. H.B. Fuller (FUL)

🔸 Sector: เคมีภัณฑ์เฉพาะทาง
🔸 Yield: 1.68%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

45. Emerson Electric (EMR)

🔸 Sector: อุปกรณ์ไฟฟ้า
🔸 Yield: 1.67%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

46. Tennant (TNC)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 1.55%
🔸 Dividend Safety Score: Safe

47. Nordson (NDSN)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 1.43%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

48. MSA Safety (MSA)

🔸 Sector: อุปกรณ์ความปลอดภัย
🔸 Yield: 1.29%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

49. Dover (DOV)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 1.15%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

50. Tootsie Roll (TR)

🔸 Sector: ขนมหวาน
🔸 Yield: 1.08%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

51. Parker-Hannifin (PH)

🔸 Sector: เครื่องจักรอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 1.08%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

52. Walmart (WMT)

🔸 Sector: ค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค
🔸 Yield: 0.99%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

53. RLI Corp (RLI)

🔸 Sector: ประกันภัย
🔸 Yield: 0.86%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

54. W.W. Grainger (GWW)

🔸 Sector: สินค้าอุตสาหกรรม
🔸 Yield: 0.84%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

55. S&P Global (SPGI)

🔸 Sector: บริการด้านข้อมูล วิเคราะห์ และดัชนีทางการเงิน
🔸 Yield: 0.76%
🔸 Dividend Safety Score: Very Safe

ผลตอบแทนของหุ้น Dividend Kings เทียบกับ S&P 500

แจกโพย Dividend Kings หุ้นจ่ายปันผลเพิ่มต่อเนื่อง 50 ปี!

ที่มา: Simply Safe Dividends

โดยทั่วไปแล้ว หากมองในระยะยาว หุ้นกลุ่ม Dividend Kings มักสร้างผลตอบแทนรวม (Total Return) ที่ใกล้เคียงกับดัชนี S&P 500 แต่มีความผันผวนของราคาต่ำกว่า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม Dividend Kings เริ่มให้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนี S&P 500 ที่มีสัดส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระแสลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth Stocks) และหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ AI

ความแตกต่างของผลตอบแทนนี้ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย เนื่องจากสัดส่วนอุตสาหกรรมของ Dividend Kings และ S&P 500 มีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ปัจจุบันเกือบครึ่งหนึ่งของ S&P 500 เป็นหุ้นเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึง Amazon, Meta และ Alphabet ในขณะที่ Dividends Kings กว่า 80% กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มที่มีความมั่นคงสูงกว่า เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Staples), อุตสาหกรรม (Industrials), สุขภาพ (Healthcare) และสาธารณูปโภค (Utilities)

ดังนั้น นักลงทุนที่เลือกลงทุนใน Dividend Kings จึงโฟกัสไปที่ความมั่นคงของกระแสเงินสดและเงินปันผล มากกว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะสั้นของหุ้นเทคโนโลยี


อ้างอิง: Simply Safe Dividends

คำเตือน: การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นจีน-ไทย กอดคอร่วง จากปัจจัยเฉพาะตัว

Finnomena Funds
หุ้นจีน-ไทย กอดคอร่วง

วันที่ 19 มิถุนายน 2025 ดัชนี Hang Seng (HSI) ของฮ่องกงปรับตัวลงกว่า 2.08% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และดัชนี HSCEI (หุ้นจีน H-Share) ปรับตัวลงกว่า 2.12% ท่ามกลางความกังวลเรื่องเงินเฟ้อจากการขึ้นภาษีนำเข้า ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง และ การปรับเกณฑ์ใหม่เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนในฮ่องกอง เช่น Alibaba และ Tencent สามารถออกหุ้น A-shares ในตลาดเซินเจิ้นได้ เพื่อเพิ่มช่องทางการระดมทุนในตลาดจีน แต่อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวดังกล่าวยังมีท้าทายเกี่ยวกับกฏระเบียบที่อาจเข้มงวดขึ้น

ขณะที่ตลาดหุ้นไทย (SET) ปรับตัวลดลงกว่า 2.11% จากความกดดันทางความไม่แน่นอนทางการเมืองจากกรณีคลิปเสียง “อุ๊งอิ๊ง-ฮุน เซน” ส่งผลให้หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลไทยรวมถึงมีพรรคร่วมรัฐบาลประกาศถอนตัวจากฝ่ายรัฐบาล ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับโอกาสการยุบสภาหรือการลาออกของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้การพิจารณางบประมาณปี 2569 และแผนการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอน

Finnomena Funds มองว่า ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยและจีนในช่วงนี้สะท้อนความไม่แน่นอนชั่วคราวจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยเราอยู่ระหว่างทบทวนมุมมองต่อตลาดหุ้นจีน ขณะที่ตลาดหุ้นไทยคงมุมมอง slightly positive แม้กำไรยังถูกปรับลด และยังเผชิญกับความไม่แน่นอน แต่ Valuation ยังถูกในเชิง P/E และ Dividend Yield

แนะนำทยอยสะสมกองทุนเน้นหุ้นปันผลสูงอย่างกองทุน TISCOHD-A

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

All-Weather Strategy ปรับกลยุทธ์ ซื้อหุ้นตลาดเกิดใหม่ เพิ่มสัดส่วนทองคำ พร้อมรับมือทุกมรสุมตลาด

Finnomena Funds
All-Weather Strategy ปรับกลยุทธ์ ซื้อหุ้นตลาดเกิดใหม่ เพิ่มสัดส่วนทองคำ พร้อมรับมือทุกมรสุมตลาด

ในโลกการลงทุนที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน นักลงทุนหลายคนอาจเคยตั้งคำถามว่า “พอร์ตของเราจะรอดไหมถ้าเกิดวิกฤต?” เพื่อตอบรับความท้าทายนี้ Finnomena Funds จึงจัดงานสัมมนาพิเศษ “All-Weather Strategy Thrive in Any Market ฝ่าทุกมรสุมตลาดกับการคว้าโอกาส สร้างพอร์ตให้แข็งแกร่ง” เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา

ในงานสัมมนา Andrew Stotz, CFA ได้นำเสนอพอร์ต “All-Weather Strategy (AWS)” พอร์ตการลงทุนที่ทางทีม A. Stotz จับมือร่วมกับ Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนพร้อมรับทุกฤดู ไม่ว่าตลาดจะอยู่ในสภาวะใด โดยมีหัวใจหลัก 3 อย่างคือ Global ลงทุนทั่วโลก, Long-term เน้นการเติบโตระยะยาว และ Diversified กระจายความเสี่ยงในหลากหลายสินทรัพย์และภูมิภาค

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework ในการวิเคราะห์การลงทุน มุ่งหวังเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดูรายละเอียดและลองสร้างแผนได้ที่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws

สร้างพอร์ตแกร่งทุกสภาวะตลาดด้วย All Weather Strategy

All-Weather Strategy (AWS) ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับพอร์ตการลงทุน โดยเป็นพอร์ตการลงทุนที่มุ่งหวังเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาผลตอบแทนระยะยาว โดยมีการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาด

จุดเด่นของพอร์ต AWS

  • ผลตอบแทนโดดเด่น: พอร์ต AWS มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6% ต่อปี และนับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ตในปี 2019 พอร์ตนี้ให้ผลตอบแทนสะสมแล้ว +52.8% สูงกว่าพอร์ต 60/40 แบบดั้งเดิมถึง 21.2% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. 2568)* 
  • ความผันผวนต่ำกว่าตลาด: ด้วยการกระจายความเสี่ยงลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ทำให้พอร์ต AWS มีความผันผวนที่ต่ำกว่าตลาดโลกโดยรวม
  • ปรับพอร์ตสม่ำเสมอ: ทีม A. Stotz จะทำการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตทุกไตรมาสตามสภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มตลาด ทำให้พอร์ตสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

*ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ปรับพอร์ตครั้งใหญ่กลางปี รับมือโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะมาถึง

เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในปี 2025 ทีมงาน A. Stotz จึงทำการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ต AWS ล่าสุด (มิถุนายน 2568) ดังนี้

หุ้น (Equity) – 70%

  • คงสัดส่วนหุ้นยุโรป 25% และเพิ่มสัดส่วนในตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน) เป็น 25%
  • ลดสัดส่วนจีนลงเหลือเพียง 5%
  • คงสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ หุ้นญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมจีนและญี่ปุ่น) ไว้อย่างละ 5%

ทองคำ (Gold) – 25%

  • เพิ่มสัดส่วนขึ้นจาก 5% เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากหนี้ภาครัฐที่สูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ตราสารหนี้ (Bonds) – 5%

  • ลดสัดส่วนลงจาก 25% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ตลาดโลกยังน่ากังวล แต่ยังมีโอกาสซ่อนอยู่

  • สหรัฐฯ: แม้จะเป็นตลาดขนาดใหญ่ แต่ยังมีความน่ากังวลจากหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงกว่าการเติบโตของ GDP ถึงสองเท่านับตั้งแต่ปี 2000 นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอน
  • จีน: เศรษฐกิจจีนยังน่ากังวล ภาวะเงินฝืดยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง แม้สงครามการค้าจะหยุดชั่วคราว แต่สถานการณ์ตอนนี้ยังคงห่างไกลกับคำว่าจบ จึงมองว่าการลงทุนในหุ้นจีนตอนนี้อาจไม่คุ้มกับความเสี่ยง
  • ยุโรป: เป็นภูมิภาคที่น่าจับตา เนื่องจาก Valuation ยังถูกเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
  • ตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน): ได้รับอานิสงส์จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง โดยประเทศในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ซึ่งมักมีราคาอ้างอิงเป็นดอลลาร์ เมื่อดอลลาร์อ่อนค่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในสกุลเงินท้องถิ่นจะสูงขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้จากการส่งออกและกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่นและจีน): ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอาจทำให้บริษัทต่าง ๆ ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศในเอเชียที่อยู่นอกประเทศจีน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกสำหรับภูมิภาคนี้ และแม้ว่าภูมิภาคนี้จะมีความท้าทายจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศในกลุ่มนี้
  • ทองคำ: ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยมหภาคสำคัญ เช่น หนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น และความต้องการทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลก ทองคำจึงยังคงทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ของพอร์ตที่ช่วยลดความเสียหายในยามวิกฤต

 

Andrew Stotz เน้นย้ำว่า “การลงทุนระยะยาวที่ยั่งยืน ไม่ได้หมายถึงการเอาชนะตลาดทุกปี แต่คือการเอาตัวรอดจากช่วงตลาดขาลง และเดินหน้าต่อได้เมื่อโอกาสกลับมา” AWS จึงไม่ได้เน้นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่เน้นการลงทุนที่ลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง

หากคุณกำลังมองหากลยุทธ์วางแผนมาเพื่อรับมือทุกฤดูกาลของตลาด All-Weather Strategy คือหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ออกแบบมาเพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว พร้อมช่วยบริหารความเสี่ยงในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/plan-guruport-aws-ws


สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena

สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/


ข้อมูลติดต่อ: ฝ่ายสื่อสารการตลาด Finnomena 

มะลิลา ใจพันธ์ โทร. 089-874-8982 Email: nim.malila@finbroadcasting.com

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวม ไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

โค้งสุดท้ายกับเวทีเสวนาครั้งสำคัญ “THAI ON TOP ยกทัพ ยกระดับ ตลาดทุนไทย” เจาะลึก ThaiESGX ชี้โอกาสลงทุน ฟื้นความเชื่อมั่นตลาดทุนไทย

Finnomena
THAI ON TOP

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ร่วมกับกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) และโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เตรียมจัดงาน “THAI ON TOP ยกทัพ ยกระดับ ตลาดทุนไทย” เปิดเวทีเสวนาเชิงลึก เจาะทุกมิติของ ThaiESGX พร้อมค้นหาโอกาสลงทุนระยะยาวในตลาดทุนไทย และเปิดมุมมองใหม่สู่การลงทุนอย่างยั่งยืน โอกาสสุดท้ายในการสับเปลี่ยน LTF หรือลงทุนใหม่ใน ThaiESGX จาก บลจ. ชั้นนำ ครบจบในงานเดียว

ทั้งนี้ งานจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2568 เวลา 12:00 – 17:00 น.หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย อาคาร B ชั้น 7 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองกับนักวิเคราะห์ระดับแนวหน้า ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนมืออาชีพ พร้อมแนะนำกองทุน ThaiESGX ที่คุณไม่ควรพลาด

ไฮไลต์ของงานประกอบด้วย

รวมสุดยอดวิทยากรแถวหน้าในแวดวงการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักลงทุนชื่อดังของตลาดทุนไทย ครอบคลุมมุมมองทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ผ่านเวทีเสวนาหลัก ได้แก่

1. Thai on Global ตลาดทุนไทย เชื่อมั่นได้แค่ไหนจากสายตาต่างชาติ ผ่านมุมมองของนักลงทุนสถาบัน และปรมาจารย์ด้านการลงทุน ร่วมรับฟังมุมมองสุดพิเศษจาก

  • ชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) 
  • Andrew Stotz นักวิเคราะห์การลงทุนชั้นนำ
  • ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า

 

2. Top on Thai ร่วมเฟ้นหาสุดยอดหุ้นและกองทุน ThaiESGX กับโอกาสลงทุนอย่างยั่งยืน ผ่านผู้มีประสบการณ์ในวงการตลาดทุน อาทิ

  • ธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)
  • เจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena
  • วศิน ปริธัญ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท

 

3. Thai on Top เวทีถ่ายทอดกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยจากนักลงทุนมืออาชีพ โดย

  • ธณัฐ เตชะเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. แอลทีเอ็มเอช และผู้ก่อตั้งเพจ “ลงทุนแมน”
  • ภาคภูมิ ศิริหงษ์ทอง นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
  • วราพรรณ วงศ์สารคาม นักลงทุนหุ้นคุณค่า เลขานุการและกรรมการฯ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

 

4. Special Session: Thai on Returns เปิดมุมมองจาก “กรณ์ จาติกวณิช” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ Finnomena และนักการเงินมากประสบการณ์ ที่จะพาเรามองอนาคตของเศรษฐกิจไทยอย่างมีความหวัง

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการสรุปเงื่อนไขสำคัญเกี่ยวกับการโอนย้ายกองทุน ThaiESGX สิทธิประโยชน์ และโอกาสการลงทุนในโค้งสุดท้าย

พบกับบูธจาก บลจ. ชั้นนำ ที่มาพร้อมกับโอกาสสุดท้ายสำหรับการสับเปลี่ยนจาก LTF สู่ ThaiESGX ได้สะดวก ครบ จบในงานเดียว!

งานนี้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ในการลงทุนหุ้นไทยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://form.jotform.com/EventFC/THAIONTOP

พิเศษ! 300 ท่านแรก ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าและทำแบบสอบถามหน้างาน รับฟรี! บัตร Starbucks มูลค่า 100 บาท

ปรับพอร์ตประจำเดือนมิถุนายน 2025: ลดสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อรับโอกาสจากความผันผวน และเตรียมสภาพคล่องลงทุนเพิ่ม

Finnomena Funds
ปรับพอร์ต Finnomena Funds

Finnomena Funds มองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสผันผวนในอนาคตหลังดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500) ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้จุดสูงสุด (all-time high) ที่ระดับ 6,147 จุด ส่งผลให้ Valuation ของตลาดหุ้นเริ่มอยู่ในระดับตึงตัวอีกครั้ง โดย 12-m forwad P/E ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ที่ 21.9 (+1.5 S.D.) นอกจากนี้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ Tariff ยังคงอยู่ หลังนายโดนัลด์ทรัมป์ระบุว่าเตรียมประกาศอัตราภาษีฝ่ายเดียว (unilateral tariff rates) แก่ประเทศคู่ค้าในอีก 1-2 สัปดาห์ข้่างหน้า ก่อนสิ้นสุดเส้นตายการผ่อนผันภาษีภาษี Reciprocal Tariff ในวันที่ 9 กรกฎาคม แม้ในความเป็นจริงอาจจะมีโอกาสต่อหรือเลื่อนไปได้ แต่ความไม่แน่นอนและความผันผวนน่าจะเพิ่มจากประเด็นที่กล่าวมา

การปรับประมาณการกำไรและ P/E Ratio ของดัชนี S&P500

การปรับประมาณการกำไรและ P/E Ratio ของดัชนี S&P500

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

ดัชนีความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกและดัชนี S&P500

ดัชนีความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกและดัชนี S&P500

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

Finnomena Funds จึงแนะนำปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตลง “De-risk” (แต่ไม่ใช่ Risk-off mode) จากความไม่แน่นอนในอนาคต ด้วยการลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงลง พร้อมเพิ่มสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและ/หรือสินทรัพย์ที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง ที่มีโอกาสรับประโยชน์จากความผันผวนในอนาคตและเตรียมสภาพคล่องเพื่อลงทุนในเพิ่มในยามที่ตลาดผันผวน ดังนี้

แผน All Balance

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All Balance

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All Balance

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ปรับพอร์ตประจำเดือนมิถุนายน 2025: ลดสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อรับโอกาสจากความผันผวน และเตรียมสภาพคล่องลงทุนเพิ่ม

Finnomena Funds
ปรับพอร์ต Finnomena Funds

Finnomena Funds มองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสผันผวนในอนาคตหลังดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500) ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้จุดสูงสุด (all-time high) ที่ระดับ 6,147 จุด ส่งผลให้ Valuation ของตลาดหุ้นเริ่มอยู่ในระดับตึงตัวอีกครั้ง โดย 12-m forwad P/E ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ที่ 21.9 (+1.5 S.D.) นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ Tariff ยังคงอยู่ หลังนายโดนัลด์ทรัมป์ระบุว่าเตรียมประกาศอัตราภาษีฝ่ายเดียว (unilateral tariff rates) แก่ประเทศคู่ค้าในอีก 1-2 สัปดาห์ข้่างหน้า ก่อนสิ้นสุดเส้นตายการผ่อนผันภาษีภาษี Reciprocal Tariff ในวันที่ 9 กรกฎาคม แม้ในความเป็นจริงอาจจะมีโอกาสต่อหรือเลื่อนไปได้ แต่ความไม่แน่นอนและความผันผวนน่าจะเพิ่มจากประเด็นที่กล่าวมา

การปรับประมาณการกำไรและ P/E Ratio ของดัชนี S&P500

การปรับประมาณการกำไรและ P/E Ratio ของดัชนี S&P500

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

ดัชนีความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกและดัชนี S&P500

ดัชนีความไม่แน่นอนทางการค้าทั่วโลกและดัชนี S&P500

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

Finnomena Funds จึงแนะนำปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตลง “De-risk” (แต่ไม่ใช่ Risk-off mode) จากความไม่แน่นอนในอนาคต ด้วยการลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงลง พร้อมเพิ่มสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและ/หรือสินทรัพย์ที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง ที่มีโอกาสรับประโยชน์จากความผันผวนในอนาคตและเตรียมสภาพคล่องเพื่อลงทุนในเพิ่มในยามที่ตลาดผันผวน ดังนี้

แผน Global Absolute Return (GAR)

 

กองทุน ES-GAINCOME ลงทุนในกองทุนหลัก AMUNDI FUNDS INCOME OPPORTUNITIES กระจายการลงทุนในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ (multi-assets) หาประโยชน์จากความผันผวนผ่านการใช้ตราสารอนุพันธ์อย่าง Option และมีการทำป้องกันความเสี่ยง Hedging ขาลง ลด Downside ลดความเสี่ยงด้านราคา (Downside Protection) กองหลัก AMUNDI FUND INCOME OPPORTUNITIES บริหารโดยผู้จัดการกองทุนซึ่งมีประสบการณ์ลงทุนมากว่า 25 ปี และบริหารตั้งแต่เริ่มกลยุทธ์นี้ตั้งแแต่ปี 2011

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน GAR

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน GAR

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

แผน Global Conservative Port (GCP)

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน GCP

Global Conservative Port (GCP)

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

แผน All Star

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All star

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All star

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

แผน All Balance

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All Balance

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All Balance

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

แผน All Defense

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All Defense

ตารางสรุปการปรับสัดส่วนการลงทุนแผน All Defense

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/06/2025

จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


ปรับพอร์ตอัตโนมัติ Automatic Allocation

อย่าลืมเปิดฟังก์ชันปรับพอร์ตอัตโนมัติ! Automatic Allocation ช่วยบริหารพอร์ตตามสภาวะตลาด สะดวก ใช้งานง่าย ให้คุณปรับสมดุลพอร์ตอยู่ในสถานะที่เหมาะสมอยู่เสมอ

สามารถเปิดใช้ Automatic Allocation ได้แล้ววันนี้ที่พอร์ตการลงทุนของคุณ หรือดูวิธีการได้ที่ Finnomena Funds Automatic Allocation


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ถือ Thai ESGX 5 ปี ผลตอบแทนสุทธิหลังหักเงินคืนภาษีจะเป็นเท่าไร?

Finnomena Funds
ถือ Thai ESGX 5 ปี ผลตอบแทนสุทธิหลังหักเงินคืนภาษีจะเป็นเท่าไร?

หลายคนที่ลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น RMF, Thai ESG รวมถึงกองทุนลดหย่อนภาษีน้องใหม่สายรักษ์โลกอย่าง Thai ESGX ด้วยความรู้สึกที่ว่า “อย่างน้อยก็ได้เงินภาษีคืน” แต่เคยสงสัยไหมว่า ถ้าผลตอบแทนของกองทุนไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ หรือแย่จนติดลบหนัก การได้เงินภาษีคืนจะเพียงพอต่อความเสี่ยงที่ต้องแบกรับหรือไม่?

วันนี้ Finnomena Funds ขอนำข้อมูลจากเพจ Money We Plan มาแบ่งปัน โดยจะคำนวณให้เห็นภาพชัด ๆ ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนของกองทุน Thai ESGX กับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ

ถือ Thai ESGX 5 ปี ผลตอบแทนสุทธิหลังหักเงินคืนภาษีจะเป็นเท่าไร?

ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (CAGR) แบบง่าย ๆ ที่จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น สมมติว่าเราถือหน่วยลงทุน Thai ESGX เป็นเวลา 5 ปี และผลตอบแทนรวมตลอด 5 ปีนั้น ผันผวนอยู่ในช่วง -30% ถึง +20%

CAGR = (เงินครบกำหนด ÷ เงินต้น)^(1 ÷ จํานวนปี) – 1

สมมติฐาน:

  • เงินต้น = เงินลงทุนหลังหักสิทธิลดหย่อนภาษี 

 

เช่น ลงทุน 100,000 บาท
ฐานภาษี 20% = ได้สิทธิลดหย่อนภาษี 20% = 20,000 บาท
ดังนั้นเงินต้นที่ใช้คำนวณคือ 100,000 – 20,000 = 80,000 บาท

  • เงินครบกำหนด = เงินลงทุน + ผลตอบแทนรวม (5 ปี) เช่น หากผลตอบแทนรวม 0% เงินครบกำหนดจะเท่ากับเงินลงทุนเดิมคือ 100,000 บาท

 

จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่าในบางกรณี แม้ผลตอบแทนรวมของกองทุน Thai ESGX ในช่วง 5 ปีที่ถือครองจะติดลบ เช่น -10% หรือ -20% แต่ด้วยสิทธิลดหย่อนภาษีที่เราได้รับไปแล้วตั้งแต่ต้น อาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของเรายังคงเป็นบวกได้

ดังนั้น อย่าลืมพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ก่อนลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ฐานภาษี ระดับความเสี่ยงที่รับได้ และระยะเวลาการลงทุนที่ต้องถือครอง 5 ปี เพื่อวางแผนภาษีและต่อยอดความมั่งคั่งให้มีประสิทธิภาพที่สุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปกองทุน Thai ESGX เงื่อนไขพิเศษ โยก LTF เดิม ลดหย่อนภาษี 5 แสนบาท

Finnomena Funds คัดกองทุน Thai ESGX ที่เดียวครบจาก 19 บลจ. ชั้นนำ โอกาสการลงทุนครั้งสำคัญ พร้อมลดหย่อนภาษีพิเศษปี 2568 เฉพาะเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้เท่านั้น

ดูคำแนะนำเพิ่มเติม 👉 https://finno.me/thaiesg-hub-ws


คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน Thai ESGX กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อกำหนดก่อนตัดสินใจ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”| สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Recap บรรยากาศงาน SET in the City 2025

Finnomena
SET in the City 2025

จบกันไปแล้วกับงาน SET in the City 2025 บรรยากาศเต็มไปด้วยพลังของผู้คนที่สนใจการลงทุนจากทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่นักศึกษา คนเพิ่งเริ่มทำงาน ไปจนถึงนักลงทุนรุ่นใหญ่ที่แวะมาหาคำแนะนำใหม่ ๆ ทุกมุมของงานเต็มไปด้วยเสียงพูดคุย การตั้งคำถาม และบรรยากาศของการเปิดกว้างในการรับความรู้

SET in the City Finnomena

สำหรับบูธ Finnomena ของเรานั้นก็เป็นหนึ่งในบูธที่มีผู้คนแวะเวียนไม่ขาดสายบูธของเราไม่ใช่แค่บูธแนะนำกองทุน แต่เป็นพื้นที่ที่สามารถพูดคุยเรื่องการเงินได้อย่างตรงไปตรงมา เป็นกันเอง และเข้าใจง่าย พร้อมทีมผู้แนะนำการลงทุนมืออาชีพคอยตอบทุกคำถามอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ Finnomena ยังมอบความสดชื่นด้วย “ไอศกรีมแห่งโลกการลงทุน” แจกฟรีให้ผู้ร่วมงานได้คลายร้อนระหว่างเดินชมงาน และเปลี่ยนบรรยากาศทางการให้กลายเป็นพื้นที่สนทนาแบบสบาย ๆ

SET in the City

โดยอีกหนึ่งไฮไลต์โดดเด่นในบูธ Finnomena คือ “เมนูน่าลงทุน” ที่คัดสรรมาเป็นพิเศษสำหรับงานนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาไอเดียลงทุนที่ตอบโจทย์เป้าหมายต่าง ๆ Finnomena มีเมนูเด็ดให้เลือกชิม ได้แก่

  • Definit SET Select พอร์ตหุ้นไทยที่ผ่านการคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน พิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ Earnings, Valuation และ Technical 
  • Definit Global Select กลยุทธ์ลงทุน DR คัดหุ้นนอกคุณภาพ จัดพอร์ตให้อัตโนมัติ ไม่ต้องจับจังหวะลงทุนเอง
  • กองทุนแนะนำ Thai ESGX ทางเลือกใหม่ของการลงทุนลดหย่อนภาษี เปิดให้ลงทุนแค่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ในปี 2025 นี้
  • Better Together แคมเปญใหม่ เปิดตัวบริการที่มอบโอกาสให้ทุกคนได้เชื่อมต่อกับ “ผู้แนะนำการลงทุน” แบบตัวต่อตัว ที่จะช่วยดูแล แนะนำ และพาไปสู่เป้าหมายทางการเงิน

ทั้งหมดนี้ถูกจัดเรียงอย่างน่ารักบนบอร์ด “เมนูน่าลงทุน” เหมือนร้านคาเฟ่ประจำงาน ที่ใครผ่านมาก็ต้องหยุดชม และอดไม่ได้ที่จะเข้ามาชิมสักเมนู

SET in the City

ตลอดทั้งวัน บรรยากาศเต็มไปด้วยบทสนทนาที่หลากหลาย ทั้งจากคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจการลงทุนอย่างจริงจัง พนักงานประจำที่กำลังวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ไปจนถึงนักลงทุนวัยเกษียณที่อยากให้พอร์ตเติบโตอย่างมั่นใจ 

Finnomena ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอีเวนต์การเงินที่ยิ่งใหญ่ประจำปี ซึ่งรวมนักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำของไทยไว้มากที่สุดในรอบปี สะท้อนบทบาทของ Finnomena ในการร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนระบบนิเวศการลงทุนของไทยอย่างจริงจัง

ตลาดหุ้นแนว Turnaround: เกาหลีใต้ และ ฮ่องกง

MacroView
ตลาดหุ้นแนว Turnaround: เกาหลีใต้ และ ฮ่องกง

บทความนี้ จะพามาแนะนำตลาดหุ้นแนว Turnaround หรือตลาดที่ดัชนีร่วงลงมาเยอะในช่วงที่ผ่านมา ทว่ามีโอกาสที่จะกลับมาเป็นขาขึ้นแบบจริงจังอยู่ค่อนข้างสูง ประจำปี 2025 โดยผมมองว่าประกอบด้วย เกาหลีใต้ และ ฮ่องกง

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้

ประธานาธิบดี ลี แจ มยอง ที่เพิ่งได้รับเลือกเป็นผู้นำเกาหลีใต้ มีนโยบายการปฏิวัติระบบธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และสนับสนุนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ โดยได้สัญญากับบรรดานักลงทุนรายย่อย เกาหลีใต้ว่าจะทำให้ดัชนีหุ้น Kospi ขึ้นไปถึง 5,000 จุด ในวาระการเป็นผู้นำสหรัฐของเขา ซึ่งตลาดก็ตอบรับด้วยการพุ่งขึ้น 7% สู่ระดับเหนือ 2,900 จุด ในสัปดาห์หลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้ง

กระนั้นก็ดี หลังการเลือกตั้งใหญ่ในอดีตแทบจะทุกครั้ง ผู้นำเกาหลีใต้คนแล้วคนเล่า ต่างก็มีความตั้งใจที่จะผลักดันให้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ หลุดพ้นจากสภาวะ Valuation ของดัชนี Kospi ที่ต่ำมากเป็นประวัติการณ์ จนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ได้ฉายาว่ามี Korea Discount อยู่ในตัวเอง ทว่าไม่มีผู้นำท่านใดสามารถทำได้สำเร็จ โดยในปัจจุบัน อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี หรือ อัตราส่วน Price-to-Book อยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.84 เมื่อปีที่แล้ว

เหตุผลหนึ่งเนื่องจากกฎหมายของเกาหลีใต้ให้ความคุ้มครองต่อผู้ถือหุ้นไว้น้อยมากในช่วงเวลาที่กลุ่มบริษัท หรือที่เรียกว่า Chaebol ต้องการที่จะขาย บริษัทย่อยออกไป หรือควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ เข้ามา ภายใต้โครงสร้างการถือหุ้นแบบไขว้ไปมาระหว่างกันที่ค่อนข้างซับซ้อน

อย่างไรก็ดี การเข้ามาของนักลงทุนรายย่อยของชาวเกาหลีใต้ นับตั้งแต่ ช่วงวิกฤตโควิด และความกังวลต่ออัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ได้ผลักดันให้นโยบายการปฏิวัติตลาดทุนเป็น Agenda อันดับหนึ่ง ของผู้นำ ท่านใหม่ โดยลีและพรรคประชาธิบไตยของเขาได้เสนอให้ออกกฎหมาย ที่คุ้มครองผู้ถือหุ้นแบบเข้มข้นที่สุดเท่าที่เคยมีมา รวมถึงการให้กรรมการ และผู้บริหารบริษัทต้องมี Fiduciary Duty ต่อผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรก

โดยมาตรการของลี แจ มยอง แตกต่างจากอดีตผู้นำ ยุน ซอก ยอล ตรงที่เจาะลึกถึงต้นตอของปัญหามากกว่า โดยแทนที่จะแก้ไขเพียงความขัดแย้ง ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเกาหลีใต้กับฝ่ายอื่น ๆ เพียงเท่านั้น ลีต้องการแก้กฎหมาย Commercial Act ทำให้กรรมการและผู้บริหารบริษัทต้องมีหน้าที่ Fiduciary Duty ต่อผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรก ไม่ใช่มีเพียงแค่ต่อบริษัทเท่านั้น ซึ่งทำให้ในปัจจุบัน สมาชิกผู้ก่อตั้งบริษัทให้ความสำคัญต่อการควบคุมบริษัท มากกว่าการจ่ายเงินปันผลและทำให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มจำนวนการโหวตต่อผู้ถือหุ้นรายเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มาร่วมประชุมผู้ถือหุ้นด้วยตนเอง เพิ่มจำนวนสมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบ และเพิ่มอำนาจต่อรอง ต่อผู้ถือหุ้นเสียงส่วนน้อยในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท

มาตรการเหล่านี้ ได้สร้างโมเมนตัมแห่งความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ในขณะนี้ รวมถึงการเป็นช่วงขาขึ้นของ Memory Chip การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินวอน การสงบลงของความเสี่ยงการเมืองในประเทศ และความหวังถึงการตกลงกันได้ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐในอัตราส่วน Tariff ของทางการสหรัฐ ทั้งนี้ สิ่งที่น่าจับตา คือกฎหมาย Commercial Act ในท้ายที่สุด จะยังมีเนื้อหาที่กล่าวไว้ครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน

โดยลีตั้งเป้าดัชนีหุ้น Kospi ไว้ที่ 5,000 จุด ในช่วง 5 ปีถัดจากนี้ ซึ่งเป็นช่วงหมดวาระการเป็นผู้นำของลี ซึ่ง P/E จะเท่ากับตลาดหุ้นญี่ปุ่นในตอนนี้ โดยหากสามารถทำให้ P/E เท่ากับค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่ ดัชนีหุ้น Kospi จะขึ้นไปที่ 4,000 จุด ทั้งนี้ ต้องอาศัยมาตรการการลดอุปทานของจำนวนหุ้น ในตลาดผ่านการซื้อคืนหุ้น รวมถึงกระแสฟันด์โฟลว์ไหลออกจากจากตลาดสหรัฐที่เกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ โดยในอดีตที่ผ่านมา ดัชนี Kospi เคยขึ้นไปสู่จุดสูงสุดที่ 3,321 ในปี 2021

ตลาดหุ้นฮ่องกง

จาก ณ ช่วงกลางปี 2024 ฮ่องกงถูกมองว่าน่าจะสามารถกลับมาอยู่ในเรดาร์ ของนักลงทุนได้ค่อนข้างยาก ด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่

การเข้ามาควบคุมและปกครองประชาชนในฮ่องกงแบบใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นของรัฐบาลกลางจีน การลดลงของอัตราการเติบโตจีดีพีจากค่าเฉลี่ย 3.7% ระหว่างปี 1980-2011 เหลือ 1.5% ในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ตามการชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีน และการพึ่งพาการค้าของเศรษฐกิจฮ่องกงที่น่าจะชะลอตัวลง ตามสภาวะการค้าโลกที่ซบเซา

อย่างไรก็ดี ด้วยสภาวะการตัดขาดระหว่างกัน (Decoupling) ระหว่างสหรัฐและจีน ที่เข้มข้นมากขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีนี้ที่ทรัมป์เข้ามารับตำแหน่ง ผู้นำสหรัฐ ได้ส่งผลดีต่อตลาดทุนและตลาดการเงินฮ่องกงเป็นอย่างมาก โดยบริษัทสัญชาติจีนที่ต้องการเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น จากเดิมที่พยายาม จะนำตัวเองเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐ เนื่องจากมีมูลค่าการเทรด ที่สูงกว่าตลาดอื่นเป็นอย่างมากนั้น สามารถทำได้ยากขึ้นหรือแทบ จะทำไม่ได้จากปัจจัยทางการเมืองระหว่างจีนกับสหรัฐที่ถือว่าเสี่ยงขึ้นมาก หากจะยังซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐในยุคทรัมป์หรือแม้แต่หลังจากนั้นก็ตามที

ทำให้บริษัทเหล่านี้หันมาเข้ามาเทรดในตลาดฮ่องกงแทน เนื่องจากตลาดถือว่ามีความลึกมากกว่าตลาดสิงคโปร์ นอกจากนี้ บริษัทของอังกฤษยังหันมาสนใจซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงแทนตลาดหุ้นลอนดอน เนื่องจากมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาษีที่ผ่อนคลายกว่า

ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้ดัชนีฮั่งเส็งได้พุ่งขึ้นกว่า 60% นับตั้งแต่ต้นปี 2024 สูงกว่าดัชนี CSI 300 ของจีนที่เพิ่มขึ้น 21% อย่างไรก็ดี ดัชนีฮั่งเส็งก็ยังต่ำกว่าระดับเมื่อต้นปี 2021 อยู่ 22%

หากมองจากตรงนี้ กระแส Decoupling ระหว่างสหรัฐและจีน นับวัน ๆ มีแต่จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ  นั่นหมายถึงการเป็น Financial Center ของฮ่องกงก็ยังน่าจะสดใสมากขึ้นไปเรื่อย ๆ

สำหรับในมิติอื่น ๆ จะเห็นได้ว่าทางการฮ่องกงได้เปลี่ยนฮ่องกงให้เป็นประเทศ ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ จากการเปลี่ยนโฉมสนามบิน ไคตั๊กเดิมให้เป็นสถานที่จัด Event ด้านกีฬาต่าง ๆ อาทิ ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และคอนเสิร์ตของศิลปินระดับโลก โดยมีการสร้างเทศกาลและ Event สำคัญ ๆ เกิดขึ้นตลอดทั้งปี เพื่อสร้างรายได้จากภาคบริการให้มาทดแทนรายได้อื่นที่ลดลงอันเป็นผลพวงจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีนในช่วงเวลานี้

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com

เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบ

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบ
ในเดือนสิงหาคมปี 2531 อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย “อย่างแท้จริง” คือพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ซึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศกัมพูชาและส่งเสริมการทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศในกลุ่มอินโดจีน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านที่มักมีเหตุกระทบกระทั่งและรบกันที่เขตชายแดนมาตลอด

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร