แจ้งเตือน

FINNOMENA Market Alert: หุ้นธนาคารร่วงกดดันตลาดเอเชีย นำโดย Hang Seng ลดลง 3.32%

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: หุ้นธนาคารร่วงกดดันตลาดเอเชีย นำโดย Hang Seng ลดลง 3.32%

วันนี้ (20 มีนาคม 2023) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงถ้วนหน้า นำโดย ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวลง 3.32% ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ลดลง 2.0% หุ้นญี่ปุ่น (Nikkei 225) ลดลง 1.4% หุ้นจีน (CSI 300) ลดลง 0.5% จากแรงเทขายในกลุ่มธนาคาร หลังทางการสวิสเซอร์แลนด์ประกาศว่า ผู้ที่ถือตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1) ของธนาคาร Credit Suisse ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องรับความเสียหายไปด้วย ส่งผลให้ตราสารหนี้ AT1 และหุ้นของธนาคารต่าง ๆ ถูกเทขาย โดยเฉพาะของ ธนาคาร HSBC และธนาคาร Standard Chartered เนื่องจากกังวลว่าอาจจะได้รับความเสียหายหากสถานการณ์ลุกลาม

โดยตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1) เป็นตราสารทางการเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาหลัง Global Financial Crisis ปี 2008 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยถ้าธนาคารผู้ออกตราสารหนี้ AT1 เกิดปัญหาขึ้น ตราสารหนี้ AT1 อาจถูกเปลี่ยนจากตราสารหนี้เป็นตราสารทุนได้ทันที ซึ่งหมายความว่า นักลงทุนในตราสารหนี้ AT1 อาจต้องรับความเสียหายเหมือนผู้ถือหุ้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนในการเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินของภาครัฐฯ มากเกินไป

FINNOMENA Investment Team มองว่าในระยะสั้นภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียจะยังคงมีความผันผวนต่อไปโดยเฉพาะในกลุ่มธนาคารและการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบกับการประชุม FOMC ในวันที่ 21-22 มีนาคม ซึ่งยังคงมีความไม่แน่อนด้านนโยบายการการเงิน ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำชะลอการลงทุน ก่อนทยอยสะสม หลังเหตุการณ์ต่าง ๆ เริ่มคลี่คลาย

ในระยะกลางถึงยาวเรามองภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังทางจีนรายงานดัชนี PMI ที่แข็งแกร่งซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณยืนยันว่าการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ของจีน ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นได้ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชีย นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นการปรับประมาณการกำไรขึ้นของตลาดหุ้นจีน (CSI300) และฮ่องกง (HSI) ประมาณ 14.8% และ 15.5% ตามลำดับหลังจากรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ขณะที่การปรับประมาณการกำไรของตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆอยู่ในทิศทางทรงตัว ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ถูกปรับลดประมาณการกำไรลง ในแง่ของ Valuation ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในระดับถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ยกเว้นเกาหลีใต้และอินเดียที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

เรามีมุมมองเป็นกลางต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเนื่องจากมีบางประเทศที่มีความเสี่ยงด้านผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย แต่เราชื่นชอบตลาดหุ้นจีนมากกว่า โดยแนะนำทยอยสะสมในกองทุน KT-ASHARES-A และ K-CHINA-A(A) และชื่นชอบตลาดหุ้นเวียดนามโดยแนะนำกองทุน PRINCIPAL-VNEQ-A

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ถึงเวลาพอร์ต: ปรับลดความเสี่ยงในช่วงเวลาแห่งความผันผวน

FINNOMENA Investment Team

ท่าทีของธนาคารกลางทั่วโลกที่ต่างเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อสูงในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ได้สร้างแรงกดดันต่อสภาวะการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จากความกังวลว่าอาจทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือวิกฤติในที่สุด ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วข้างต้น เริ่มส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติ หรือเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหม่ อาทิ

  • ปัญหาสภาพคล่องของธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กในสหรัฐฯ อันเนื่องมาจากการรับรู้ผลขาดทุนของสินทรัพย์ตามดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น แม้ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวที่มีความปลอดภัย
  • การดำเนินนโยบายของ Fed ที่ทั้งต้องคำนึงถึงความเปราะบางของธนาคารที่มีเสถียรภาพทางการเงินต่ำและอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ กับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อตลาดการเงิน
  • ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของ Credit Suisse ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากการส่งรายงานประจำปีที่ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจาก ก.ล.ต. สหรัฐฯ สั่งให้กลับไปทบทวนการประเมินเชิงเทคนิคเกี่ยวกับกระแสเงินสดรวมในปี 2019 และ 2020 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อธนาคารลดลงและราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว

    PORT Strategy  รูปที่ 1: Silicon Valley Bank Timeline Source: FINNOMENA, Tradingview as of 16/03/2023

Silicon Valley Bank (SVB) เป็นธนาคารท้องถิ่นที่เน้นการปล่อยสินเชื่อให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดกลาง ขนาดเล็ก และ start-up พร้อมกับรับฝากเงินจากบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley รวมถึง venture capital ซึ่งการชะลอตัวของอุตสาหกรรม start-up ได้ส่งผลถึงปริมาณเงินฝากและสภาพคล่องของธนาคารที่ลดลง เมื่อธนาคารต้องขายสินทรัพย์อย่างตราสารหนี้ระยะยาวที่ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง จนเป็นผลให้เกิดการบันทึกผลขาดทุนในงบการเงินไตรมาสล่าสุด และถูกปรับลด credit outlook ลง นำไปสู่การถอนเงินจำนวนมาก (bank run) จากความไม่เชื่อมั่นต่อธนาคารทำให้ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (FDIC) เข้าควบคุมกิจการและสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ฝากเงินโดยประกาศคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน พร้อมกันนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ และกระทรวงการคลังได้เสริมสภาพคล่องผ่านระบบ BTFP (Bank Term Funding Program) เพื่อหยุดปัญหาที่อาจจะเกิดหากความกังวลแพร่กระจายออกไป อย่างไรก็ตาม FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่ายังต้องติดตามผลกระทบด้านความเชื่อมั่นอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการรับประกันดังกล่าวนั้นยังอยู่ในวงจำกัด และกระแสความอาจยังส่งผลให้ธนาคารท้องถิ่นบางรายมีโอกาสเกิด bank run และสร้างความผันผวนได้อีก

 PORT Strategyรูปที่ 2: ทางเลือกของ Fed ในการประชุมวันที่ 22 มีนาคม 2023 Source: FINNOMENA as of 16/03/2023

จึงเป็นปัจจัยที่นักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิดว่าผลการประชุม FOMC ในวันที่ 22 มีนาคมนี้ จะออกมาในรูปแบบใด เมื่อเฟดยังต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ยังอยู่สูงกว่าเป้าหมาย แต่ความเปราะบางของระบบธนาคารสหรัฐฯ เริ่มแสดงออกมาให้เห็นมากขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ทำให้ในการประชุมครั้งนี้เกิดความไม่แน่นอนด้านทิศทางการดำเนินนโยบาย

ซึ่งตลาดคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อจะหมายถึงเฟดให้ความสำคัญกับการต่อสู้กับเงินเฟ้อ และไม่ได้กังวลกับวิกฤติธนาคารที่เกิดขึ้นมาก และเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่หากมีการเปลี่ยนท่าทีเป็น dovish (หยุดขึ้น หรือลดอัตราดอกเบี้ย) แม้จะส่งผลให้สภาพคล่องที่ตึงตัวผ่อนคลายลง แต่การเปลี่ยนท่าทีอย่างรวดเร็ว อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดยอมรับถึงความเสี่ยงวิกฤตรอบใหม่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างความกังวล และส่งผลให้ตลาดผันผวนได้เช่นเดียวกัน

รูปที่ 3: Credit Default Swap ของ ธนาคารขนาดใหญ่ Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023

ทางด้านยุโรป ธนาคาร Credit Suisse ที่มีปัญหาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2008 ทั้งข่าวเชื่อมโยงกับการฟอกเงิน และการฉ้อโกงภายในอีกจำนวนมาก ส่งผลให้ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดความไม่แน่นอนในกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ ส่งผลให้ Credit Suisse เป็นอีกหนึ่งสถาบันการเงินที่เจอภาวะ bank run สร้างความกังวลต่อนักลงทุน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาถึง 97% จากจุดสูงสุดในปี 2007 และส่งผลให้ราคาของ Credit Default Swap (CDS) ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง

ด้าน S&P Global ได้ปรับลดอันดับ credit ของธนาคารลงสู่ระดับ BBB- ซึ่งอีก 1 ระดับจะเข้าสู่ non-investment grade ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแรงกังวลในวงกว้างด้วยขนาดของธนาคารที่ใหญ่ระดับโลก

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ อาจจะไม่ได้ลุกลามบานปลาย แต่สิ่งที่ค่อนข้างแน่นอนคือ ความผันผวนสูงที่จะตามมา ดังนั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดความเสี่ยงเพื่อลด drawdown ที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นจึงจะพิจารณากลับมาลงทุนอีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย หรือชัดเจนมากขึ้น

 PORT Strategyรูปที่ 4: ผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023

ในช่วงวิกฤติทุกครั้งที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่าง S&P 500 ต่างปรับตัวลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงหุ้นในกลุ่มที่เป็น defensive อย่าง health care ก็ปรับตัวลงเช่นเดียวกัน แต่ก็ปรับตัวลงน้อยกว่าดัชนี

 PORT Strategyรูปที่ 5: MSCI World และ MSCI Infrastructure Drawdown ในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023

เช่นเดียวกับกลุ่ม infrastructure ก็ปรับตัวลดลงในช่วงสภาวะวิกฤติ แม้จะปรับตัวลดลงน้อยกว่าก็ตาม เราจึงแนะนำปรับลดน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม health care และ infrastructure ลงเพื่อรักษาเงินต้น

 PORT Strategyรูปที่ 6: ผลตอบแทนของ High Yield Bond และ Investment Grade Bond ในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023

ขณะที่ในวิกฤติต่าง ๆ ที่ผ่านมา ตราสารหนี้อันดับความน่าเชื่อถือต่ำ (high yield) มักปรับตัวลงได้มากกว่า ตราสารหนี้ investment grade จากความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่า จึงทำให้เราแนะนำเพิ่ม credit quality ในพอร์ต โดยลดน้ำหนักการลงทุนใน high yield และเพิ่มการลงทุนใน investment grade bond แทน

 PORT Strategyรูปที่ 7: ผลตอบแทนของทองคำในช่วง Recessions Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 16/03/2023

ในขณะที่ทองคำนับเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยและสามารถใช้เป็นสินทรัพย์ในการป้องกันความเสี่ยงให้แก่พอร์ตยามตลาดการเงินผันผวนได้ จึงนำไปสู่การปรับพอร์ตการลงทุน

Global Income Focus

 PORT Strategy

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KFINFRA-A 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน UDB-A 15% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน UGIS-A เป็น 15%
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSPLUS-A เป็น 20%

เพื่อปรับลดสัดส่วนความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนใน KFINFRA-A ซึ่งลงทุนใน global infrastructure ลง เพื่อรักษาเงินต้น แม้ global infrastructure จะปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นทั่วโลกก็ตาม และแนะนำถือกองทุน KFSPLUS-A เพื่อเป็นสภาพคล่องและรอโอกาสการลงทุน

และแนะนำลดสัดส่วนการกองทุน UDB-A ซึ่งลงทุนใน Jupiter Dynamic Bond Fund ลง จากการมีสัดส่วนลงทุนใน high yield bond ถึง 49.9% โดยมีค่าเฉลี่ยของ credit rating อยู่ที่ระดับ BBB ซึ่งมีความเสี่ยงการปรับตัวลง (downside risk) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน เนื่องจาก UGIS-A มีการลงทุนในตราสารที่มี credit rating เฉลี่ยระดับ A+ 

Global Conservative Port

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KKP G-UBOND-H 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุน UGIS-N เป็น 20%

เพื่อปรับลดสัดส่วนความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KKP G-UBOND-H ซึ่งลงทุนใน Jupiter Dynamic Bond Fund ลง จากการมีสัดส่วนลงทุนใน high yield bond ถึง 49.9% โดยมีค่าเฉลี่ยของ credit rating อยู่ที่ระดับ BBB ซึ่งมีความเสี่ยงการปรับตัวลง (downside risk) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน เนื่องจาก UGIS-A มีการลงทุนในตราสารที่มีค่าเฉลี่ย credit rating เฉลี่ยระดับ A+

Global Absolute Return

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KFHHCARE-A 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน SCBGOLDH เป็น 15%

เพื่อปรับลดสัดส่วนความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนใน KFHHCARE-A เพื่อรักษาเงินต้น แม้ global healthcare จะปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นทั่วโลกก็ตาม  แต่การเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้อาจเกิด drawdown ได้ และปรับเข้าลงทุนในทองคำผ่าน SCBGOLDH เพื่อเป็น safe haven ในการลด drawdown ของพอร์ตการลงทุนลง

 


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (11 – 17 มี.ค. 66)

premiums
สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (11 - 17 มี.ค. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 11 – 17 มี.ค. 2566 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดีประจำสัปดาห์ (11 – 17 มี.ค. 66)

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (11 - 17 มี.ค. 66)

(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566)

1. UGMAC – กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล แม็คโคร ออพพอร์ทูนิตี้ส์

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +5.96%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +6.32%

ซื้อกองทุน UGMAC คลิก

2. KT-GMO-A – กองทุนเปิดเคแทม โกลบอล แม็คโคร ออพเพอทูนิตี้ ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +5.86%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +5.91%

ซื้อกองทุน KT-GMO-A คลิ

3. UOBSG – H – กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท โกลด์ ฟันด์ – H

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +5.72%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +3.08%

ซื้อกองทุน UOBSG – H คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: UGMAC, KT-GMO-A, UOBSG – H, SCBGOLDH, KT-GOLD

หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)

ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิกhttps://finno.me/cheat-sheet-update

10 อันดับกองทุนที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในรอบสัปดาห์บนแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ FINNOMENA (11 – 17 มี.ค. 66)

สรุปกองทุนผลตอบแทนดี และกองทุนยอดนิยมประจำสัปดาห์ (11 - 17 มี.ค. 66)

(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566)

1. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.78%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -1.66%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!

ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก

2. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -1.09%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +7.68%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต

ซื้อกองทุน ONE-UGG-RA คลิก

3. MEGA10-A : กองทุนเปิด MEGA 10 ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -0.98%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): +14.79%

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

ซื้อกองทุน MEGA10-A คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : PRINCIPAL VNEQ-A, ONE-UGG-RA, MEGA10-A, K-CASHTMBGQG, UGIS-N, K-CHINA-A(A), B-INNOTECH, K-VIETNAM, SCBS&P500

ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

News Update: เมินวิกฤตแบงก์! ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 0.5% สู้เงินเฟ้อ ยังไม่กังวลปัญหาภาคการเงินตอนนี้

THE OPPORTUNITY
News Update: เมินวิกฤตแบงก์! ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 0.5% สู้เงินเฟ้อ ยังไม่กังวลปัญหาภาคการเงินตอนนี้

ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB เมินสถานการณ์วุ่นวายของตลาดเงินตลาดทุนในยุโรปและทั่วโลก ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ตามเป้าหมายเมื่อวันพฤหัสบดี (16 พ.ค.)

VOA Thai รายงานว่า ในวันพฤหัสบดี ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย 0.5% หลังจากภาวะเงินเฟ้อยังยังส่งผลกระทบหนักต่อประชาชนใน 20 ประเทศของยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร ในขณะที่ประเมินว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 5.3% ก่อนจะลดลงมาที่ระดับ 2.9% ในปีหน้า และลงไปที่ระดับ 2.1% ในปี 2025 ซึ่งยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการก่อนปัจจัยด้านวิกฤตสถาบันการเงินจะปะทุขึ้นช่วงสัปดาห์นี้

ที่ผ่านมา ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วเพื่อลดความร้อนแรงของภาวะเงินเฟ้อในภูมิภาค แต่ความวุ่นวายในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการล้มของธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ หรือ SVB ของสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนได้สร้างความกังวลถึงแผนการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่ง ECB ระบุว่าจะติดตามความตึงเครียดในตลาดเงินตลาดทุนที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดและพร้อมจะใช้มาตรการตอบโต้หากจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและด้านการเงินในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรต่อไป

หุ้นภาคธนาคารในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือ ยูโรโซน ร่วงหนักในสัปดาห์นี้ ในช่วงแรกนั้นเป็นผลจากเหตุธนาคาร SVB ล้ม และร่วงหนักอีกระลอกเมื่อวันพุธจากกรณีที่ธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) สถาบันการเงินขนาดใหญ่อันดับสองของสวิตเซอร์แลนด์ กำลังประสบปัญหาการเงิน และมีความเสี่ยงที่จะต้องล้มลงตามสถาบันการเงินหลายแห่งในสหรัฐฯ ก่อนที่ทางธนาคารแห่งชาติสวิส (Swiss National Bank) จะเข้ามาช่วยเหลือด้วยเงินกู้ 54,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ และดันหุ้นธนาคารเครดิตสวิสขึ้นมาราว 20% เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มธนาคารอื่น ๆ

ประเด็นที่ทาง ECB แสดงความกังวล คือ นโยบายการเงินของ ECB ที่ทำผ่านระบบธนาคาร และวิกฤตการเงินอย่างเต็มรูปแบบอาจทำให้นโยบายของธนาคารกลางไร้ประสิทธิภาพได้ ทำให้ตอนนี้ ECB อยู่ระหว่างเส้นทางของการต่อสู้กับเงินเฟ้อที่สูงกว่าระดับเป้าหมายไปมาก ในขณะที่ต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินท่ามกลางวิกฤตทั่วโลก

อ้างอิง: https://www.voathai.com/a/ecb-raises-rates-as-planned-despite-banking-turmoil/7008273.html 

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

planet 46
ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

“เวียดนาม” เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจน่าสนใจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา GDP ของเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่า 8% แตะระดับ 6.5% ถือเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 2540 เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นทางเศรษฐกิจในบรรดาประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN)

บทความนี้จึงขอพาทุกคนไปส่อง 10 ธุรกิจที่เป็นดาวเด่นในประเทศเวียดนาม จะมีธุรกิจอะไรบ้าง? แต่ละธุรกิจมีจุดเด่นอะไรถึงกลายเป็นดาวเด่นของเวียดนาม? ลองมาดูกัน!

อ่านเพิ่มเติม MEVT Call : เวียดนาม ถูกและดี มีอยู่จริง!

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นของเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

1. Vietcombank

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘Vietcombank’ หรือ ‘Joint Stock Commercial Bank for Foreign Trade of Vietnam’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1963 เป็นสถาบันการเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 18.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566) โดยให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านการธนาคารพาณิชย์แก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กรแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเงินฝาก สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเดบิตและเครดิต รวมถึงบริการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่างประเทศ เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การจัดหาเงินทุนเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ

ปัจจุบัน Vietcombank มีสาขาธนาคารมากกว่า 100 แห่ง ในเวียดนาม นอกจากนี้ยังลงทุนในบริษัทย่อยกว่า 10 บริษัท ซึ่งได้แก่ Vietcombank Financial Leasing, Vietcombank Securities, Vietcombank Tower 198, Vietnam Finance, Vietcombank Laos, Vietcombank Money, Vietcombank Remittance, Vietcombank – Bonday – Ben Thanh, Vietcombank Fund Management, Vietcombank – Cardif Life Insurance และ Vietcombank Bonday

2. Hoa Phat Group

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘Hoa Phat’ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำในเวียดนามที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง และค่อย ๆ ขยายธุรกิจไปสู่การผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ท่อเหล็ก เหล็ก เครื่องทำความเย็น อสังหาริมทรัพย์ และการเกษตร 

Hoa Phat Group ประกอบธุรกิจด้านการผลิตเหล็กเป็นหลัก โดยคิดเป็นรายได้และกำไรกว่า 80-90% ของกลุ่มบริษัท ด้วยกำลังการผลิตเหล็กดิบ 8 ล้านตันต่อปี พร้อมกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเหล็กยาวนานกว่า 30 ปี ส่งผลให้ Hoa Phat Group ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเวียดนามสำหรับตลาดเหล็กก่อสร้าง ท่อเหล็ก และเนื้อวัวออสเตรเลีย ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 4.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

3. VP Bank

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘VP Bank’ หรือ ‘Vietnam Prosperity Joint Stock Commercial Bank’ เป็นผู้ให้บริการทางการเงินตั้งแต่ปี 1993 และเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั้งในด้านขนาดสินทรัพย์และฐานลูกค้า โดยเป็นสถาบันการเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 4 ในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 4.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

VP Bank ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินที่หลากหลายแก่องค์กรและบุคคลทั่วไปในเวียดนาม เช่น บัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์ เงินฝากประจำและเงินฝากเผื่อเรียก สินเชื่อ บัตรเครดิตและบัตรเดบิต การโอนเงินระหว่างประเทศ การจัดหาเงินทุนเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนบริการด้านประกัน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันรถจักรยานยนต์ และประกันสินเชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ธนาคารบนมือถือและอินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมสำหรับลูกค้าที่อยู่ในเวียดนามและต่างประเทศ

4. FPT

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘FPT’ หรือ ‘FPT Corporation’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 3.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

ปัจจุบัน FPT ดำเนินธุรกิจ 3 ภาคส่วน ผ่าน 10 บริษัทย่อยในเครือที่ให้บริการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ 1.) ภาคส่วนเทคโนโลยี เป็นผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลสำหรับบริการสำหรับการเงินและการธนาคาร และบริการด้านสุขภาพ ผลิตแผงวงจรขนาดเล็ก (microcircuit) ขายปลีกคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ 2.) ภาคส่วนโทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตชั้นนำของเวียดนาม ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เช่น FPT Internet ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยแพ็คเกจที่หลากหลาย, FPT Television ให้บริการโทรทัศน์ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และ iOT/Smart Home เป็นต้น และ 3.) ภาคส่วนการศึกษา มีการขยายธุรกิจไปสู่ภาคการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบผ่าน ‘FPT Education’ พร้อมเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา

5. MB Bank

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘MB Bank’ หรือ ‘Military Commercial Joint Stock Bank’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เป็นผู้ให้บริการด้านการธนาคารแก่องค์กรและบุคคลทั่วไปในเวียดนามและต่างประเทศที่มีความโดดเด่นจากธนาคารอื่น ๆ ในเวียดนามด้วยการให้บริการลูกค้าที่ดีเยี่ยม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ ปัจจุบัน MB Bank มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

MB Bank นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านการธนาคารแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อผู้บริโภค บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และบริการธนาคารดิจิทัล ตลอดจนบริการจัดการหนี้และสินทรัพย์ นอกจากนี้ธนาคารยังเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ พร้อมให้บริการที่เกี่ยวข้องการลงทุนและซื้อขายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบริการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันวินาศภัย

6. Sacombank

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘Sacombank’ หรือ ‘Saigon Thuong Tin Commercial Joint Stock Bank’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1991 เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการด้านการธนาคารที่หลากหลายแก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กรในเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็น บัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ บัตรเดบิตและบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สินเชื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และสินเชื่อวิสาหกิจขนาดลางและขนาดย่อม (SME) บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย นอกจากนี้ธนาคารยังมีส่วนร่วมในการระดมทุน เช่า ผลิต และค้าทองคำและเครื่องประดับ รวมถึงขายปลีกทองคำ เงิน เพชรพลอย และเครื่องประดับอีกด้วย

ปัจจุบัน Sacombank มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566) โดยให้บริการลูกค้ามากกว่า 6 ล้านคนทั่วทั้งเวียดนามผ่านเครือข่ายสาขาธนาคารกว่า 500 แห่ง ซึ่งหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ในปี 2549 Sacombank ได้กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมธนาคาร ด้วยบริการด้านการธนาคารที่หลากหลายทำให้ธนาคารมีความโดนเด่นต่างจากธนาคารอื่น ๆ ในเวียดนาม

7. Phu Nhuan Jewelry

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘Phu Nhuan Jewelry’ หรือ ‘Phu Nhuan Jewelry Joint Stock Company’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เป็นผู้ผลิต ค้าปลีก นำเข้าและส่งออกทองคำ เงิน เครื่องประดับ และอัญมณีในเวียดนาม บริษัทนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ในเครือ ได้แก่ CAO Fine Jewellery, PNJ Gold Jewelry, PNJ Silver, Style By PNJ, Disney, PNJ Art และ PNJ Watch โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยัง 13 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจสอบและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องประดับภายใต้แบรนด์ PNJ Lab อีกด้วย

ณ วันที่ 28 ก.พ. 2565 Phu Nhuan Jewelry มีร้านทอง 320 สาขา, ร้านเงิน 11 สาขา, ร้าน CAO Fine Jewellery 3 สาขา, ร้านนาฬิกา 89 สาขา รวมถึงช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยปัจจุบัน Phu Nhuan Jewelry มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

8. Phu My Fertilizer Plant

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘Phu My Fertilizer Plant’ หรือ ‘PetroVietnam Fertilizer and Chemicals Corporation’ หนึ่งในบริษัทในเครือของ Vietnam Oil and Gas Group (Petrovietnam) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ย แอมโมเนียเหลว ก๊าซ และผลิตภัณฑ์เคมีอื่น ๆ สำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ 

นอกจากนี้บริษัทยังมีส่วนร่วมในการผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การขายส่งผลิตผลทางการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก๊าซ และแร่ธาตุ และการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือ ตลอดจนให้บริการขนส่งสินค้าทางบกและทางน้ำ และบริการคลังสินค้า ปัจจุบัน Phu My Fertilizer Plant มีมูลค่าตลาดกว่า 577.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

9. PV Drilling

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘PV Drilling’ หรือ ‘PetroVietnam Drilling & Well Service Corporation’ อีกหนึ่งในบริษัทในเครือของ Vietnam Oil and Gas Group (Petrovietnam) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2001 เป็นผู้ให้บริการมืออาชีพด้านแท่นขุดเจาะ รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะแก่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ ตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษา ตลอดจนการจัดหากำลังคนสำหรับดำเนินการขุดเจาะบนบกและนอกชายฝั่ง ปัจจุบัน PV Drilling มีมูลค่าบริษัทกว่า 496.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

10. Ha Do Group

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

‘Ha Do Group’ หรือ ‘Ha Do Group Joint Stock Company’ ก่อตั้งขึ้นในปี 1990 ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาด้านพลังงาน และการก่อสร้างในเวียดนาม บริษัทมีส่วนร่วมในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา อุตสาหกรรม และการขนส่ง การชลประทาน ไฟฟ้าพลังน้ำ และระบบสาธารณูปโภค (M&E) รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและก่อสร้าง การพัฒนาและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ บริการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนและจำหน่ายโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนบริการเดินเครื่องสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้บริษัทยังลงทุนในธุรกิจรีสอร์ต โรงแรม และร้านอาหารอีกด้วย ปัจจุบัน Ha Do Group มีมูลค่าบริษัทกว่า 303.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566)

.

ใครสนใจลงทุนในธุรกิจดาวเด่นของเวียดนามทั้ง 10 บริษัทนี้ สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนที่ทาง FINNOMENA ได้มีการทำ MEVT Call อย่างกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนหุ้นเวียดนามจาก บลจ. PRINCIPAL บริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในเวียดนาม พร้อมรับโอกาสเติบโตไปกับเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

อ่านบทความ “รีวิวกองทุน Principal VNEQ-A: กองทุนผลตอบแทนโดดเด่น รับโอกาสเติบโตของประเทศเวียดนาม”

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web

ส่อง 10 ธุรกิจดาวเด่นเวียดนาม ว่าที่เสือตัวใหม่แห่งเอเชีย

ยิ่งลงทุนเยอะ ยิ่งได้ Cashback คุ้มกว่า สูงสุด 20%!!!
“FINT Cashback” ฟีเจอร์ใหม่จาก FINNOMENA
ลูกค้าจะได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียม “Front-end-fee” สำหรับ “การซื้อกองทุน” ได้สูงสุด 20%
ยิ่งซื้อมากขึ้นยิ่งลดมากกว่า ลงทุนกับเราเลย
ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขกิจกรรมได้ที่ https://finno.me/cashback-ac

— planet 46.

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

กองทุนแบบ Double Shark Fin เงินต้นไม่หาย…หุ้นบวกกำไร หุ้นร่วงได้เงิน

TISCO Advisory
กองทุนแบบ Double Shark Fin เงินต้นไม่หาย...หุ้นบวกกำไร หุ้นร่วงได้เงิน
เงินต้นก็กลัวหาย กำไรก็อยากได้ …ทำไงดี?” กองทุนแบบ Double Shark Fin คือคำตอบที่ธนาคารทิสโก้แนะนำ เพราะกองทุนรูปแบบนี้สามารถลดความเสี่ยงเรื่องเงินต้นหาย แถมยังมีโอกาสทำกำไร ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง อีกด้วย … กองทุนแบบนี้มีด้วยเหรอ?

ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นมีความผันผวน คาดการณ์ทิศทางได้ยาก หลายคนอาจพยายามแก้ปัญหาโดยการใช้ “วิธีแบบดั้งเดิ” ด้วยการลดสัดส่วนการลงทุนหุ้นลง และหันมาซื้อตราสารหนี้ หรื หุ้นกู้ให้มากขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ก็ต้องยอมรับว่า แม้จะเป็นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ก็สามารถทำให้ขาดทุนได้ 

ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นในปี 2565 ก็ได้ส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดทุนนั่นเอง

ขณะเดียวกันหากลงทุนในตราสารหนี้ โดยคาดหวังที่อัตราผลตอบแทน ก็ต้องยอมรับว่าตอนนี้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อไปแล้ว ดังนั้นจึงถือว่าการลงทุนโดยเน้นตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้เพียงอย่างเดียว ยังคงไม่ตอบโจทย์แผนการเงินหลังเกษียณที่ต้องเน้น “รักษาเงินต้น” รวมถึงการ “สร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม

ด้วยเหตุนี้เอง การลงทุนด้วย “วิธีแบบใหม่” ผ่านกองทุนแบบ Double Shark Fin จึงเหมาะกับการแก้ปัญหา ของผู้ที่ต้องการรักษาเงินต้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มศักยภาพในการสร้างกำไร ทั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นขาขึ้น และ ตลาดขาลง ได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนแบบดั้งเดิม

กองทุน Double Shark Fin คืออะไร?

กองทุน Double Shark – Fin เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนผสมผสาน 2 สินทรัพย์ ระหว่างตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ และ Options หรือตราสารสิทธิซึ่งเป็นอนุพันธ์รูปแบบหนึ่ง โดยทั้งสองผลิตภัณฑ์สามารถออกแบบการลงทุนเพื่อให้การลงทุนใน Double Shark – Fin เปรียบเสมือนกับการลงทุนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับการคุ้มครองเงินต้น (Capital Protection) ได้ ขณะเดียวกันสามารถสร้างผลตอบแทนด้วย Options ที่ราคาของตราสารจะมีการเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงตามราคาของสินทรัพย์อ้างอิงได้

วิธีการสร้างคุณสมบัติ Capital Protection ของ Double Shark – Fin ด้วยตัวอย่างสำหรับกองทุนที่มีอายุ 1 ปี จะนำเงินลงทุนประมาณร้อยละ 98 – 99 ไปลงทุนในตราสารหนี้อย่างพันธบัตรหรือหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดีที่อยู่ในกลุ่ม Investment Grade (IG) และอายุคงเหลือของตราสารเทียบเท่า 1 ปี โดยในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ในกลุ่ม IG ของไทยอยู่ที่ 1.8 – 2.2% โดยเฉลี่ย ดังนั้นเมื่อลงทุนครบ 1 ปี การลงทุนในตราสารด้วยมูลค่าของเงินลงทุนร้อยละ 98 – 99 จะเพิ่มขึ้นไปที่ร้อยละ 100 หรือเท่ากับมูลค่าเงินต้น ณ วันลงทุน ซึ่งการลงทุนในหุ้นกู้ IG ที่มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ก็เปรียบเสมือนการสร้างรูปแบบการปกป้องเงินต้นนั่นเอง

ส่วนคุณสมบัติที่สอง คือ การสร้างผลตอบแทนด้วยสินทรัพย์อ้างอิงด้วย Options ด้วยตัวอย่างกองทุนอายุ 1 ปีเช่นเดิม จะนำเงิน 1 – 2% ที่คงเหลือจากการลงทุนในตราสารหนี้ ไปลงทุน Options เพิ่มเติม ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนได้เมื่อราคาสินทรัพย์อ้างอิงเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของ Options ที่เข้าลงทุนเพราะตราสารประเภทนี้สามารถบริหารให้ได้กำไรได้ทั้งแนวโน้มราคาสินทรัพย์อ้างอิงขาขึ้นและขาลง หรือทำกำไรได้ทั้ง 2 ทาง แต่อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น การกำหนดอัตราการมีส่วนร่วม (Participation Rate: PR) โดยจะนำมาคำนวณหาผลตอบแทนสุทธิให้ผู้ลงทุนจากส่วนต่างราคาสินค้าอ้างอิงตั้งแต่เริ่มต้นตั้งกองทุนจนถึงวันสิ้นสุดกองทุน หรือหากระดับราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกว่ากรอบที่กำหนดไว้ (Knock-out Barrier) ผู้ลงทุนอาจได้รับเพียงผลตอบแทนชดเชย (Rebate) ที่ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แต่ไม่ขาดทุน

ยกตัวอย่างกองทุน Double Shark – Fin อายุ 1 ปี สินทรัพย์อ้างอิง คือ ดัชนี S&P500 โดยกำหนด Knock – out Barrier) ช่วงส่วนต่างราคา -20% ถึง +20% ด้วย PR = 50% และมี Rebate = 0.25% จะมีโอกาสออกผลลัพธ์ได้ 2 กรณีหลัก ๆ คือ กรณีที่ 1: กรณีที่ราคาเคลื่อนไหวไม่เกิน Knock-out Barrier เช่น หากดัชนี S&P500 ปรับเพิ่มขึ้น +15% คูณด้วย PR 50% ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนสุทธิ 7.5% แม้ว่าจะรับผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนในดัชนี S&P500 แบบปกติที่ควรจะได้ +15% แต่หากดัชนี S&P500 ครบ 1 ปีลดลง -20% ผู้ลงทุน Double Shark – Fin จะได้รับผลตอบแทนเท่ากับ 20% คูณด้วย PR 50% เท่ากับผลตอบแทนสุทธิของกองทุนเท่ากับ 10% ขณะที่กรณีทั่วไปเมื่อลงทุนในดัชนี S&P500 ตามปกติผู้ลงทุนต้องขาดทุนถึง –20% ซึ่งเป็นข้อดีของกองทุนที่สามารถปิดโอกาสขาดทุนจากการลงทุนได้

กรณีที่ 2: กรณีที่เกิน Knock-out Barrier ภายใน 1 ปี หากดัชนี S&P500 ลดลงหรือเพิ่มขึ้นสูงกว่า 20% ภายใน 1 ปี ผู้ลงทุนจะได้ Rebate เพียง 0.25% ของเงินลงทุน ซึ่งหากวาดแผนภาพจำลองผลตอบแทนในแต่ละกรณีจะมีรูปแบบคล้ายกับครีบฉลาม 2 อันตามชื่อ Double Shark – Fin นั่นเอง ทั้งนี้ในความเป็นจริงรายละเอียดของเงื่อนไขผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดซึ่งมีความแตกต่างออกไปได้จากตัวอย่างนี้

จะเห็นได้ว่าความน่าสนใจของกองทุน Double Shark – Fin นั่นคือเสมือนคุ้มครองเงินต้นพร้อมเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ ณ ระยะเวลาการลงทุนและความเสี่ยงของตราสารเท่ากัน อีกทั้งไม่ต้องจับจังหวะการลงทุนเพราะสามารถทำกำไรทั้งราคาขาขึ้นและขาลงได้ 

ตัวอย่างการกำหนดผผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนสำหรับกองทุน Double Shark – Fin 

Double Shark Fin เหมาะกับใคร? 

ธนาคารทิสโก้แนะนำ กองทุนแบบ Double Shark Fin นี้ ให้กับ กลุ่มลูกค้าดังนี้

  1. ลูกค้าที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ
  2. กลุ่มลูกค้าใกล้จะเกษียณ และลูกค้าที่เกษียณอายุ

เนื่องจาก นักลงทุนกลุ่มนี้ ยังคงต้องการลงทุนในกองทุนที่มีศักยภาพด้านการสร้างกำไร ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่ต้องการสูญเสียเงินต้น เพราะจะต้องนำเงินที่เก็บออมมาตลอดการทำงานมาใช้ในการดำรงชีวิตหลังจากนี้ หากเงินต้นดังกล่าวลดลงอาจทำให้เงินสำหรับใช้หลังเกษียณหมดเร็วกว่าแผนที่วางไว้  

 กองทุนแบบ Double Shark Fin เงินต้นไม่หาย หุ้นบวกกำไร หุ้นร่วงได้เงินใช่คำตอบของคุณหรือเปล่า ?

=============================

TISCO Advisory

ที่มาบทความ: https://www.tiscowealth.com/article/investment-advisory.html

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

Mr.Messenger
เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ธนาคาร Credit Suisse เป็นธนาคารระดับโลกที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1856 และตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซูริก และมีสำนักงานอยู่ในศูนย์การเงินหลักทุกแห่งทั่วโลก

Credit Suisse (CS) ถือเป็น 1 ใน 9 ธนาคารระดับโลก “Bulge Bracket” ซึ่งหมายถึงธนาคารขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลมาก ๆ ต่อระบบการเงินโลก ประกอบไปด้วย

  1. Bank of America
  2. Barclays
  3. Citigroup
  4. Credit Suisse
  5. Deutsche Bank
  6. Goldman Sachs
  7. JPMorgan Chase
  8. Morgan Stanley
  9. UBS

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

โดยนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ที่ออกสู่ตลาด มักจะมาจากไม่เจ้าใดเจ้าหนึ่งใน 9 ธนาคารนี้เป็นอันดับแรก ก่อนกระจายไปขายกันทั้งโลกในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็น mortgage-backed securities (MBS) ช่วงปี 1980s, credit default swaps ในปี 1990s, cllaoteralized debt obligations (CDO) นับตั้งแต่ปี 2000

รวมถึงการทำ carbon emission trading และ insurance-linked products ที่เสนอขายกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มลูกค้า High Net Worth ในปัจจุบัน

และที่สำคัญธนาคาร 9 แห่งนี้ ถือเป็น primary dealers สำหรับ US treasury ซึ่งมีปริมาณการเทรดเยอะที่สุดเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลแห่งอื่น ๆ บนโลก นั่นยิ่งทำให้อิทธิพลของ 9 ธนาคารนี้ต่อระบบการเงินโลกสูงทีเดียว

10 ปีที่ผ่านมา Net Income ของ Credit Suisse เป็นตามนี้

2012 $1,440 Million
2013 $2,511 Million
2014 $2,052 Million
2015 -$3,064 Million
2016 -$2,751 Million
2017 -$999 Million
2018 $2,069 Million
2019 $3,441 Million
2020 $2,847 Million
2021 -$1,805 Million
2022 -$7,642 Million

ซึ่งหากเอาผลการดำเนินงาน 10 ปีมารวมกัน จะพบว่า Credit Suisse มีผลขาดทุน -$1,901 Million ถือว่าน่าเป็นห่วงทีเดียว

ในฝั่งของราคาหุ้นก็เป็นขาลงมาอย่างยาวนาน จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนเม.ย. 2007 ที่ $77 ล่าสุดตอนนี้เทรดอยู่ที่ $2.07 หรือ ปรับฐานลงมา -97% ขณะที่ Market Cap เคยทำจุดสุงสุดในปี 2006 ที่ราวๆ $89 billion มาวันนี้ เหลือแค่ $7.9 billion

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

การขาดทุนของ Credit Suisse ที่ทำให้ตลาดวิตกกังวลครั้งแรกคือในปี 2015 ต่อเนื่องมาปี 2016 สาเหตุมาจากการตัดหนี้สูญของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่เป็นผลพ่วงมาจากหลังวิกฤต subprime ปี 2008 และ euro debt crisis ในปี 2009 รวมถึง การซื้อขายที่ผิดพลาดของโต๊ะเทรดและต้องรับรู้ผลขาดทุนมโหฬาร

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ธนาคารก็พยายามปรับโครงสร้างภายใน และเปลี่ยนผู้บริหารมาเรื่อย ๆ ซึ่งเหมือนผลประกอบการของบริษัทจะดีขึ้นหลังจากนั้นแต่จนกระทั่งปี 2021….

Credit Suisse ก็ตกเป็นข่าวร่วมกับธนาคารยักษ์ใหญ่ ๆ หลายๆแห่ง กับกรณี Archegos Capital จากการไปร่วมปล่อยกู้ Margin Loan เพื่อให้ Hedge Fund รายนี้ไปลงทุน

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

เพราะหุ้นที่ Archegos เข้าลงทุนกลับร่วงลงรุนแรง ทำให้สถาบันการเงินเหล่านี้ต้องเรียก Archegos ให้หาหลักประกันมาวางเพิ่ม (Margin Call) เมื่อ Archegos หาหลักประกันเพิ่มให้ไม่ได้ ก็ต้องสั่งบังคับขาย (Force Sell) และนำมาซึ่งการขาดทุนของ 2 ธนาคารยักษ์ใหญ่ เจ้าหนึ่งคือ Nomura และอีกเจ้าคือ Credit Suisse

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

เฉพาะการบังคับขายขาดทุนหุ้นในพอร์ตของ Archegos ตอนนั้น CS เจอขาดทุนไป 5 พันล้านดอลล่าร์ ขณะที่ Nomura โดนไปเกือบ ๆ 3 พันล้านดอลลาร์

และถ้ารวมทุกธนาคารรวมกันที่เสียหายจากเหตุการณ์นี้ ก็มากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ทีเดียว

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

แล้วปี 2022 ทำไม Credit Suisse ยังขาดทุน?

คำตอบคือ ตลาดทุนเข้าสู่การปรับฐานทั้งปี ดูได้จากดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะเดียวกัน ฝั่งตลาดตราสารหนี้ก็มีปัญหาจากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของเฟดและ ECB เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้รายได้จาก wealth management กับเทรดบอนด์หายไป

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ทำไมตลาดมาให้ความสนใจกับ Credit Suisse ตอนนี้?

เพราะ CDS ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ประกันการผิดนัดชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ของ Credit Suisse ราคาพุ่งทำ All Time High ซึ่งมันแปลว่า นักลงทุนมองว่า ธนาคารมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้และล้มละลายมาก ๆ ให้โอกาสล้มสูงถึง 47% ทีเดียว

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ซึ่งด้วยความที่เป็นธนาคารขนาดใหญ่ และมีปัญหามาก่อน จึงทำให้ถูกนักลงทุนโฟกัสว่า เหตุการณ์ที่เกิดกับ SVB จะลุกลามเป็นโดมิโนมาที่ธนาคารฝั่งยุโรปหรือไม่

ตอนนี้เราเห็นเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลิดภัยต่อเนื่อง ตัวแรกคือ ทอง ซึ่งทดสอบ $1,930 อยู่ตอนนี้

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ฝั่งตลาดตราสารหนี้ มองภาย US Treasury ก็พบว่า ทั้งพันธบัตรอายุ 2 ปี และ 10 ปี มีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่องจน yield ปรับลดลงเหลือ 3.87% และ 3.45% ตามลำดับ

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ส่วน Dollar Index ก็เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามา ทำให้ทะลุเหนือ 104 จุดอีกรอบ

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

ปัญหาสภาพคล่อง จาก SVB, Signature Bank ลามมาที่ CS ณ ตอนนี้ ถ้าจะถามว่า เราอยู่ในวิกฤตแล้วหรือยัง?

ความเห็นส่วนตัว ผมมองว่า เราอยู่ในวิกฤตแล้วครับ!!

แต่… จะออกจากวิกฤตเร็วช้า ตลาดหุ้นจะลงนานไหม ต้องไปดู action จาก Policy Maker ครับว่าตลาดพอใจ และ “เอาอยู่” จริงหรือเปล่า

ซึ่งตอนนี้ตลาดคิดแล้วว่า มีโอกาสมากกว่า 60% ทีเดียว ที่เฟดจะพิจารณาไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 22 มี.ค.

เมื่อสปอร์ตไลท์ย้ายไปยุโรป Credit Suisse จะเป็นรายต่อไป?

เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป โปรดติดตาม

แหล่งที่มาข้อมูล :-
https://www.macrotrends.net/stocks/charts/CS/credit-suisse-group/net-income
https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-27/nomura-ubs-take-global-banks-archegos-hit-to-over-10-billion?sref=e4t2werz#xj4y7vzkg
https://www.cnbc.com/2023/03/15/stocks-making-the-biggest-moves-premarket-cs-len-pacw.html
https://www.cnbc.com/2023/03/15/gold-in-tight-range-with-focus-on-feds-rate-hike-moves.html

Mr.Messenger รายงาน

MEVT Call ตัวช่วยคัดเลือกกองทุน อย่างเมพด้วยจังหวะขั้นเทพ

FINNOMENA

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากลงทุนในระยะกลาง เพื่อสร้างโอกาสทำกำไร แต่กังวลตลาด ไม่มีความมั่นใจในการเลือกกองทุน ไม่รู้ว่าจะลงทุนตอนไหนดี หรือลงทุนแต่หาจังหวะจุดเข้า-ออกไม่ได้

ลองให้ MEVT Call หรือเมพคอล ช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะ MEVT Call เป็นตัวช่วยแนะนำการลงทุนรูปแบบใหม่ ของนักลงทุนปี 2023 ในการคัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพ เพื่อให้การลงทุนของคุณมีคุณภาพ ผ่านการคิดวิเคราะห์ที่รอบด้าน

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนกับ FINNOMENA อยู่แล้ว และอยากรู้จัก MEVT Call ให้มากขึ้นไปอีก วันนี้ FINNOMENA จะขอพาทุกคนไปเจาะลึกกับ MEVT Call ว่ามีอะไรดี ทำไมถึงมีความน่าสนใจ ? 

MEVT Call คืออะไรทำไมถึงเรียกว่า เมพคอล ?

MEVT Call หรือ เมพคอล คือ คำแนะนำการลงทุนแบบใหม่จาก FINNOMENA Investment Team ที่เป็นตัวช่วยในการคัดเลือกกองทุนอย่างเมพในจังหวะขั้นเทพ โดยจะเน้นเจาะโอกาสการลงทุนตาม MEVT Framework เน้นปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคมาประกอบ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดปัจจุบันผ่านกรอบการลงทุน 4 ด้าน ได้แก่

Macro (มหภาค)
– ปัจจัยเชิงมหภาค เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสม

Earnings (กำไร)
– วิเคราะห์การเติบโตของกำไร แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัท 

Valuation (มูลค่า)
– การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุนว่ามีความน่าสนใจมากขนาดไหน เพื่อแนะนำเข้าลงทุนในราคาที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้

Technical (เทคนิค)
– ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis เพื่อการลงทุนที่รอบด้าน นำไปสู่การลงทุนที่ดีกว่า

ความแตกต่างของ MEVT Call และ Tactical Call ที่มีจุดเด่นคนละด้าน

– MEVT Call จะเน้นหาโอกาสการลงทุนตาม MEVT Framework ทั้ง 4 ด้าน ที่จะเน้นไปทางปัจจัยพื้นฐาน และมีปัจจัยทางเทคนิคเข้ามาวิเคราะห์ประกอบ ในกรอบระยะการลงทุน 6-12 เดือน (ระยะกลาง) ส่วนการแจ้งจุดออกจะมาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิคเช่นกัน

– Tactical Call จะเน้นการลงทุนแบบเก็งกำไรในกรอบระยะเวลาที่สั้น 1-3 เดือน โดยหาสัญญาณการเข้า-ออก จากการลงทุนผ่านปัจจัยทางเทคนิคเป็นหลัก และการแจ้งจุดออกจะมาจากปัจจัยทางเทคนิคอย่างเดียว

รวมกองทุนตัวเทพที่ MEVT Call จับจังหวะให้

รายชื่อกองทุน ณ วันที่ 2 มี.ค. 2566

ปัจจุบัน FINNOMENA ได้ใช้ MEVT Call ในการจับจังหวะกองทุน ทั้งหมด 3 กองทุน ได้แก่ 

1. ตราสารหนี้โลก UGIS-N และ UGIS-A
อ่านบทวิเคราะ MEVT Call ฉบับเต็มได้ที่: MEVT Call : คว้าโอกาสลงทุนตราสารหนี้โลก 

2. หุ้นจีน K-CHINA-A(A)
อ่านบทวิเคราะ MEVT Call ฉบับเต็มได้ที่: MEVT Call : รักใครให้ซื้อจีน

3.หุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A
อ่านบทวิเคราะ MEVT Call ฉบับเต็มได้ที่: MEVT Call : เวียดนาม ถูกและดี มีอยู่จริง!

สรุป 4 จุดเด่นของ MEVT Call 

1. วิเคราะห์จุดเข้าด้วยปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคประกอบ
2. คัดกรองกองทุนที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลา
3. แจ้งเตือนจุดออก (Exit Strategy) เมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป
4. มีกระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์  ที่มีศักยภาพในการเติบโต

ให้ MEVT Call ช่วยคุณในการลงทุน 

คัดเลือกกองทุนอย่างเมพ ด้วยจังหวะขั้นเทพกับ “MEVT Call”
👉 ลงทุนใน MEVT Call คลิก >>> https://finno.me/mevt-web

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT

 

News Update: จุดวัดใจเฟด ขึ้นดอกเบี้ยต่อหรือชะลอก่อน หลังเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ก.พ. อยู่ที่ 6.0% ตามคาด

THE OPPORTUNITY
News Update: จุดวัดใจเฟด ขึ้นดอกเบี้ยต่อหรือชะลอก่อน หลังเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ก.พ. อยู่ที่ 6.0% ตามคาด

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐล่าสุด เดือนกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 6.0% ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นไม่ตรงกันว่าตัวเลขนี้มากพอหรือไม่ที่จะผลักดันให้เฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย หลังจากธนาคารเกิดวิกฤติ Bank run

ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า สำนักสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา แถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) หรือมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกกำลังจับตารอคอย รวมถึงผู้กำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐที่กำลังเจอทางแยกอันท้าทายระหว่างการสู้เงินเฟ้อ กับการรักษาเสถียรภาพของตลาด-ภาคการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจ

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพิ่มขึ้น 6.0% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) ซึ่งหมายถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 6.0% ชะลอลงมาจากอัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2566 ซึ่งอยู่ที่ 6.4% และนับเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ซึ่งอยู่ระดับ 5.4%

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกุมภาพันธ์ 2566 (หลังปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว) เพิ่มขึ้น 0.4% เป็นการเพิ่มรายเดือนในอัตราชะลอลงจากเดือนมกราคม ที่ CPI เพิ่ม 0.5% จากเดือนธันวาคม 2565

หมวดสินค้าที่เป็นปัจจัยหนุนดัชนีราคาผู้บริโภคมากที่สุดคือ ที่พักอาศัย ซึ่งคิดเป็นกว่า 70% ของการเพิ่มขึ้นทั้งหมด ตามมาด้วยราคาอาหาร ค่าสันทนาการ ราคาของตกแต่งบ้านและสำนักงาน

ทั้งนี้ ดัชนีอาหารเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.4% ส่วนดัชนีพลังงานลดลง 0.6% และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) ดัชนีราคาอาหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพิ่มขึ้น 9.5% ส่วนดัชนีราคาพลังงานเพิ่มขึ้น 5.2%

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core Consumer Price Index : CPI) ที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพิ่มขึ้น 5.5% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งหมายถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ 5.5% ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ซึ่องยู่ที่ 5.5% เช่นกัน

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อ 6.0% เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ลงควมเห็นในการสำรวจของ Reuters ก่อนหน้านี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นไม่ตรงกันว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเพียงพอหรือไม่ที่จะผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หลังจากธนาคารในสหรัฐสองแห่งเกิดวิกฤติ Bank run

ตอนนี้การคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาดแยกออกเป็นสองมุมมอง โดยส่วนมากในตลาดมองว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% และมีมุมมองอีกส่วนหนึ่งที่มองว่าเฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวในการประชุมครั้งที่จะถึงนี้ แล้วค่อยเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไปในการประชุมครั้งถัดไป

อ้างอิง: https://www.prachachat.net/world-news/news-1232124 

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

ลงทุนแบบ William O’Neil คว้าหุ้นโตทะยานฟ้า ด้วย 7 เคล็ดวิชาพื้นฐานผสานเทคนิค

fruhling

ในยุทธจักรมังกรหยก ก๊วยเจ๋ง ขึ้นเป็นหนึ่งในใต้หล้าด้วยการผสานวิชาจากหลายสำนักมากกว่าที่จะเรียนเคล็ดความสำเร็จจากสำนักใดเพียงสำนักหนึ่ง เขาเติบโตในทัพมองโกล เรียนลมปราณจากนักพรตนิกายช้วนจิน สืบทอด 18 ฝ่ามือพิชิตมังกรจากประมุขพรรคกระยาจก ถกวิชากับเฒ่าทารก ก่อนจะบรรลุยอดวิทยายุทธจากคัมภีร์เก้าอิม

ทอดตาไปในยุทธจักรการลงทุน 2 สำนักใหญ่ที่ทรงอิทธิพลประกอบด้วยสำนักพื้นฐาน (fundamental analysis) และสำนักเทคนิค (technical analysis) ทว่ายอดฝีมือบางคนกลับสามารถผสานวรยุทธสองแนวทางออกมาเป็นการลงทุนแบบ “พื้นฐานผสานเทคนิค” หรือ Techno-fundamental analysis ที่นำปัจจัยทั้งสองแบบเข้ามาเป็นตัวกำหนดการลงทุน

ยอดยุทธผู้นั้นมีนามว่า William J. O’Neil

ประวัติชีวิต นักลงทุนเลือดผสม

1930 คือปีที่ปรากฏการณ์ Dust Bowl พายุฝุ่นครั้งใหญ่เริ่มกระหน่ำทำลายที่ราบตอนกลางอันแห้งแล้งของสหรัฐฯ ต่อเนื่องยาวนาน 6 ปี และก่อนหน้านั้นหนึ่งปีที่วอลสตรีท ตลาดหุ้นได้ถล่มลงมาจากการเก็งกำไรของนักลงทุนหลายล้านชีวิต นำไปสู่ภาวะตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ซึ่งเป็นเหมือนพายุลูกใหญ่ที่ม้วนกลืนเอาเศรษฐกิจสหรัฐฯ (และโลกที่กำลังฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1) เข้าสู่ช่วงเวลาอันแสนลำบาก

มหันตภัยทั้งหมดคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่นานก่อนที่ WIlliam O’Niel ชายผู้ที่จะเป็นอีกหนึ่งสุดยอดนักลงทุนในอนาคตจะเกิดมาในปี 1933 ณ โอคลาโฮมา หนึ่งในรัฐที่ได้รับผลกระทบหนักหนาจาก Dust Bowl และความยากลำบากเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นภูมิหลังของแรงผลักดันในการทำงานอันเข้มข้นและการเห็นถึงความสำคัญด้านการเงินของตัว O’Neil เอง

ปี 1955 คือปีที่มี 3 สิ่งเกิดขึ้นกับตัว William O’Neil ในวัย 21 ปี นั่นคือ 1) การจบการศึกษาด้านธุรกิจจาก Southern Methodist University 2) การเข้าสู่กองทัพอากาศสหรัฐฯ และที่สำคัญคือ 3) การชิมลางการลงทุนด้วยการซื้อหุ้นตัวแรกคือ Procter & Gamble จำนวน 5 หุ้น

แต่เส้นทางการเติบโตอันเร้าใจของเขาจะเริ่มขึ้นในอีก 3 ปีให้หลัง…

O’Neil เข้าสู่โลกการลงทุนเต็มตัวในปี 1958 ด้วยเลือดของนักสวนตลาดที่ไหลเวียนอยู่เต็มตัว เขาว่ายทวนกระแสของฝูงชนที่มุ่งหน้าสู่วอลสตรีทด้วยการเริ่มต้นเส้นทางอาชีพที่แคลิฟอร์เนียในฐานะนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ Hayden, Stone & Company 

เขาเคยกล่าวเอาไว้ถึงสาเหตุตนที่ปฏิเสธเส้นทางอาชีพในวอลสตรีทว่า “ผมต้องการไปยังแอลเอเพราะผมคิดว่าที่นั่นมีอนาคตมากมาย”

แล้วก็เป็นที่นั่นเองที่เขาพบว่า การวิเคราะห์ข้อมูล คือกุญแจดอกสำคัญของความสำเร็จในการลงทุน และเขาก็กลายเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่นำคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลเข้ามาใช้ในการเทรดหุ้น

Charles Harris ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอจาก O’Neil Capital Management อธิบายถึงจุดเด่นของ “บิล” จากประสบการณ์ที่เคยทำงานร่วมกันว่า

สิ่งที่ทำให้บิลต่างไปจากคนอื่นคือความสามารถในการวางอารมณ์เอาไว้ห่างตัว แล้วทุ่มความสนใจทั้งหมดไปที่ความเคลื่อนไหวของหุ้นและข้อมูลจริง

ความน่าสนใจก็คือว่า เมื่อพูดถึง “ข้อมูล” ในสารบบความคิดของ O’Neil เขาไม่ได้หมายถึงแค่ข้อมูลทางเทคนิคเท่านั้นแต่ยังนับรวมปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ เช่น ยอดขาย อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือแม้แต่ทีมบริหาร เข้าไปในการวิเคราะห์อีกด้วย 

และในเวลาต่อมาแนวคิดของเขาก็ถูกพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงด้วยผลงานการลงทุนที่อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าสะท้านยุทธภพ

แนวคิดการลงทุนแบบพื้นฐานผสานเทคนิค

การลงทุนแบบผสมผสานผลิดอกบานสะพรั่งในปี 1962 ถึง 1963 เมื่อ William O’Neil สามารถลงทุนและเปลี่ยนเงิน 5,000 เหรียญให้กลายเป็น 200,000 เหรียญ (คิดเป็นเงินปัจจุบัน 1.5 ล้านเหรียญ) คิดเป็นการเติบโต 400% ภายในเวลาแค่ 1 ปี ด้วยขายชอร์ตหุ้น Korvette ลองหุ้น Chrysler และ ลองหุ้น Syntex

เขาต่อยอดความสำเร็จครั้งนี้ด้วยการก่อตั้ง William O’Neil + Co. บริษัทโบรกเกอร์เพื่อทำการวิจัยโดยมีการสร้างฐานข้อมูลรายวันที่ติดตามบริษัทกว่า 70,000 แห่งทั่วโลกเพื่อบริการแก่กลุ่มนักลงทุนสถาบัน ส่วนผลงานอื่น ๆ ของบริษัทคือการก่อตั้งกองทุนรวมที่ใช้เวลาแค่ 2 ปีก็กลายเป็นหนึ่งในกองทุนที่มีผลงานระดับท็อปในสหรัฐฯ แถมบริษัทของเขาก็ยังได้รับความไว้วางใจจากวาติกันให้จัดการสินทรัพย์บางส่วนให้อีกด้วย

รูปภาพของ William J’ O’Neil Source: www.williamoneil.com

O’Neil ย้อนกลับไปอธิบายถึงงานอย่างแรกที่บริษัทของเขาทำ ในการให้สัมภาษณ์ในวาระครบรอบ 50 ปี William O’Neil + Co. เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมาว่า

ผลงานแรกที่ผมสร้างขึ้นคือชาร์ตที่ไม่ได้พูดถึงเพียงราคาและปริมาณหุ้นทั้งหมด แต่ยังรวมเอาปัจจัยพื้นฐานทุกแบบเข้าไปด้วยทั้งยอดขาย กำไร ไปจนถึงผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ David Saito-Chung รองบรรณาธิการสายตลาดหุ้นของ Investor’s Business Daily (IBD คือหนังสือพิมพ์ด้านการลงทุนซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของ O’Neil) เคยเขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญาชีวิตและการลงทุนของ O’Neil โดยช่วงหนึ่งของบทความมีการอธิบายว่าทำไมนักลงทุนผู้นี้ถึงให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งสองแบบเอาไว้อย่างแจ่มแจ้ง ดังนี้

เขาเป็นคนแรกๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญของหุ้น และยังเป็นคนแรกๆ ที่เอาปัจจัยพื้นฐานและแนวโน้มการซื้อขายมารวมเอาไว้ในกราฟหุ้น เพราะเขามองว่าปัจจัยพื้นฐานคือสิ่งสำคัญในการคัดเลือกบริษัทที่ดี และมองว่าปัจจัยเทคนิคจะช่วยให้เข้าหุ้นเหล่านั้นได้ในจังหวะที่เหมาะเจาะ

CANSLIM กฎเหล็กการลงทุน ของสำนักพื้นฐานผสานเทคนิค

ตลอดเส้นทางในยุทธจักรการลงทุน William O’Neil ได้พบพานกับ 7 สิ่งที่มักจะมีร่วมกันในหุ้นชั้นยอดก่อนที่ราคาจะพุ่งทะยาน และสิ่งเหล่านั้นก็กลายมาเป็นกฎเหล็กการลงทุน 7 ข้อที่เขาตราเอาไว้ในชื่อ CANSLIM ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมา

และกฎเหล็กประจำสำนักที่ว่า มีดังนี้

C = Current earnings
มองหาบริษัทที่ประกาศผลการดำเนินงานเป็นกำไรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 25% แต่ถ้าเป็นการเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่งจะยิ่งเป็นสัญญาณที่ดี

A = Annual earnings
บริษัทที่มีการเติบโตติดต่อกัน 3 ปี และโตไม่น้อยกว่า 25% ต่อปี และ ROE ควรสูงกว่า 17%

N = New product, service or highs
หุ้นที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆ เช่น สินค้าใหม่ นวัตกรรม ที่เป็นผลดีต่อธุรกิจ เช่น iPhone เป็นต้น

S = Supply and Demand
หาหุ้นขนาดเล็กที่มีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นสูงๆได้

L = Leader or laggard
เลือกหุ้นที่เป็นผู้นำจากอุตสาหกรรมที่เป็นผู้นำ 2-3 บริษัท โดยอาจใช้ Relative price strength

I = Institutional Sponsorship
หาหุ้นที่ถือโดยสถาบันในสัดส่วนที่พอดี เช่น กองทุนและธนาคาร แต่เราควรจะซื้อหุ้นในช่วงที่สถาบันกำลังเริ่มเข้าซื้อเนื่องจากจะได้หุ้นในราคาที่ไม่แพงเกินไป

M = Market direction
ภาวะตลาดโดยรวมควรเป็น uptrend ซึ่งจะช่วยผลักดันราคาหุ้นให้สูงขึ้นตามด้วย เขากล่าวว่าในภาวะที่ตลาดเป็นขาขึ้น สามในสี่ของหุ้นในตลาดจะมีทิศทางขาขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ CANSLIM ได้ที่: การเลือกหุ้นด้วยวิธี CANSLIM

สรุปสั้น ๆ ว่าหลัก CANSLIM มองว่าปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสามารถในการเติบโตของหุ้นจะประกอบไปด้วยผลประกอบการรายไตรมาสและรายปี ความเปลี่ยนแแปลงใหม่ ๆ ของธุรกิจ ปริมาณการซื้อขาย สถานะในอุตสาหกรรม การลงทุนจากสถาบัน ไปจนถึงเทรนด์ตลาดโดยรวม ซึ่งเป็นเรื่องของทั้งพื้นฐานและเทคนิคผสมผสานกันไป

พูดถึงปัจจัยพื้นฐาน O’Neil จะมองข้ามปัจจัยบางอย่างไปและให้ความสำคัญกับปัจจัยบางส่วนที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เช่น การเติบโตของกำไรและยอดขายที่แข็งแกร่ง การเป็นผู้นำในวงการในแง่ของผลกำไรด้วยสินค้าชิ้นใหม่ที่เหนือกว่าคนอื่น เป็นต้น ซึ่งในแง่นี้แนวทางของเขาก็ดูจะละม้ายคล้ายกับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัยพื้นฐานบางตัวที่เขาค่อนข้างตั้งคำถาม ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าทางบัญชีของบริษัท เงินปันผล หรือ P/E ratio ที่เขาระบุว่ามีค่าทางการพยากรณ์น้อยมากในการระบุบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอเมริกาในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

มรดกถึงจอมยุทธ์นักลงทุนยุคใหม่

แนวคิดการลงทุนแบบพื้นฐานผสานเทคนิคในระบบ CANSLIM ถูกส่งผ่านถึงนักลงทุนรุ่นต่อมาอย่างเป็นระบบในหนังสือที่ William O’Neil เขียนขึ้นเมื่อ 35 ปีก่อน (และยังเป็นตำราการลงทุนขึ้นหิ้งจวบจนปัจจุบัน) เรื่อง How to Make Money In Stocks หรือที่แปลเป็นฉบับไทยในชื่อ คัดหุ้นชั้นยอด ด้วยระบบชั้นเยี่ยม ซึ่งตอนนี้มียอดขายกว่า 4 ล้านเล่มทั่วโลก

พูดได้ว่า William O’Neil เป็นต้นธารของการลงทุนแบบไฮบริดอย่างแท้จริง จนถึงขั้นที่ว่า Mark Minervini เทรดเดอร์ระดับเซียนเจ้าของตำแหน่งแชมป์ U.S. Investing Championship 2 สมัย (และแน่นอนเขาคืออีกหนึ่งนักลงทุนสายพื้นฐานผสานเทคนิค) ก็ยังออกมายกย่อง O’Neil ในปี 2019 ว่าเป็นตำนานผู้สร้างคุณูปการให้กับศาสตร์แห่งการเทรดหุ้นที่ยิ่งใหญ่กว่าใครคนไหนในประวัติศาสตร์

คุณก็ลงทุนแบบผสานได้ง่าย ๆ ผ่าน MEVT Call โดย FINNOMENA

สำหรับใครที่สนใจการลงทุนแบบผสมผสานแต่ไม่มีเวลาคัดเลือกสินทรัพย์เอง ขอแนะนำ MEVT Call คำแนะนำการลงทุนรูปแบบใหม่จาก FINNOMENA Investment Team ที่ผ่านการพิจารณาผ่านกรอบการลงทุน 4 ด้านประกอบไปด้วย

 

ตารางที่ 1 MEVT Call Source: FINNOMENA as of 03/03/2023

Macro – ปัจจัยเชิงมหภาค เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมบนปัจจัยมหภาคที่สนับสนุนการเติบโต

Earnings – วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ เพื่อพิจารณาถึงการรับรู้ของนักวิเคราะห์ต่อแนวโน้มที่ดีหรือแย่ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยการลงทุนในแง่อื่นๆ เช่น เชิง valuation และ fund flow เป็นต้น

Valuation – การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีความน่าสนใจมากเพียงใด เพื่อนำไปสู่คำแนะนำเข้าลงทุนในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้

Technical – ปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis เพื่อพิจารณาให้รอบด้าน ซึ่งจะช่วยนำไปสู่โอกาสการลงทุนที่ดีกว่า

MEVT Call ต่างจาก Tactical Call อย่างไร

ตารางที่ 2 ความแตกต่างของ MEVT Call และ Tactical Call Source: FINNOMENA as of 03/03/2023

ความแตกต่างของ MEVT Call และ Tactical Call

ความแตกต่างของ MEVT Call และ Tactical Call

MEVT Call จะเน้นเจาะโอกาสการลงทุนตาม MEVT Framework ที่มองทั้งเรื่องของปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค โดยจะเป็นมุมมองการลงทุนในระยะกลาง 6-12 เดือน ส่วนการ Take Profit หรือตัดขาดทุนจะมาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิค ส่วน Tactical Call จะเป็นการเน้นหาสัญญาณการเข้า-ออกการลงทุนผ่านปัจจัยทางเทคนิคเป็นหลัก โดยจะเป็นการลงทุนระยะสั้นกว่า MEVT Call อยู่ที่ 1-3 เดือน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEVT Call ได้ที่นี่: MEVT Call by FINNOMENA Investment Team

Reference

https://www.investors.com/author/william-j-oneil/
https://www.investors.com/news/management/leaders-and-success/bill-oneil-ibd-founder-and-stock-investor-success-tips/
https://www.investors.com/news/william-oneil-legendary-investor-ibd-founder-canslim-creator/
https://www.investors.com/ibd-university/can-slim/case-studies/
https://www.investopedia.com/terms/w/william-j-oneil.asp
https://finance.yahoo.com/news/william-oneil-fundamental-technical-analyses-192511729.html

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ปรับพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมีนาคม​ 2023: เพิ่มสัดส่วนในหุ้นยุโรป-ญี่ปุ่น และลดสัดส่วนตราสารหนี้-โภคภัณฑ์

Andrew Stotz
ปรับพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมีนาคม​ 2023: เพิ่มสัดส่วนในหุ้นยุโรป-ญี่ปุ่น และลดสัดส่วนตราสารหนี้-โภคภัณฑ์

ปรับพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมีนาคม​ 2023

เพิ่มสัดส่วนในหุ้นยุโรป-ญี่ปุ่น และลดสัดส่วนตราสารหนี้-โภคภัณฑ์ กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

Andrew Stotz

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA Investment Team
ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด (จำนวนจำกัด)

     Weekly Market Insight ประจำสัปดาห์  13/03/66 – 17/03/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

FINNOMENA Tactical Call : Stop Loss S&P 500 หลังดัชนีปรับตัวลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน

FINNOMENA Investment Team

ในวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา FINNOMENA Investment Team ได้แนะนำลงทุนในรูปแบบการเก็งกำไรระยะสั้นในดัชนี S&P 500 ผ่านกองทุน SCBS&P500A, AFMOAT-HA และ MEGA10-A โดยตั้งจุด Stop loss ไว้เมื่อดัชนี S&P 500 มีราคาปิดลงมาต่ำกว่าระดับ 3,970 จุด (Downside 1.26%) ก่อนที่วันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 จะลงมาปิดที่ระดับ 3,918 จุด ต่ำกว่าจุด Stop Loss ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน บ่งชี้ถึงโอกาสกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลง

รูปที่ 1 : ดัชนี S&P 500 TF Day, Source Tradingview As of 10/03/2023

จากการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าคาด และการแถลงการณ์ครึ่งปีของนายเจอโรมม์ พาเวลล์ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อสภาครองเกรสที่ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะวางใจเงินเฟ้อ เมื่อประกอบกับข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะตลาดแรงงานส่งผลให้ Fed ยังคงมีพื้นที่ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา

FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำให้ Stop Loss การลงทุนในกองทุน SCBS&P500A, AFMOAT-HA และ MEGA10-A สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำ Tactical Call เพื่อรักษาวินัยและรักษาเงินต้นเพื่อการเก็งกำไรครั้งต่อไปในอนาคต

—————————————————————————————————————————

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

7 พฤติกรรมทางจิตวิทยาในโลกการลงทุน

TechToro
7 พฤติกรรมทางจิตวิทยาในโลกการลงทุน

วันนี้แอดมินจะพามาทำความรู้จักกับ “7 พฤติกรรมทางจิตวิทยาในโลกการลงทุน” ซึ่งสามารถสร้างผลลัพธ์ให้กับเราได้ทั้งทางบวกและทางลบ ดังนั้น ถ้าเรารู้จักพฤติกรรมเหล่านี้ดีพอจะช่วยให้เราสังเกตตัวเองได้ว่ากำลังมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงกับการลงทุนหรือไม่

1. กลัวความเสี่ยง (Snake Bite Effect)

ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายพฤติกรรม ‘กลัวความเสี่ยง’ ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากการขาดทุนอย่างหนัก เปรียบเหมือนการถูก ‘งูฉก’ (Snake Bite) ในพงหญ้า ก็จะทำให้เราไม่กล้าเดินเข้าไปใกล้ ๆ พงหญ้าอีกต่อไป

2. กล้าเสี่ยงเมื่อมีกำไร (House Money Effect)

House Money หมายถึง เงินของเจ้ามือ ซึ่งมักถูกใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการพนันหรือคาสิโน โดยนักลงทุนจะมีแนวโน้มลงทุนแบบเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไร เพราะเหมือนกับนำเงินของคนอื่นมาลงทุน

3. พยายามเอาคืน (Trying to Break Even Effect)

การพยายามเอาคืนหลังจากขาดทุนอย่างหนัก จะทำให้นักลงทุนพยายามที่จะเพิ่มความเสี่ยง เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้นแต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เนื่องจากทำการซื้อขายด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล จิตวิทยาข้อนี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของบ่อนการพนัน

4. ต้นทุนจม (Sunk Cost Effect)

เมื่อนักลงทุนขาดทุนมาก ๆ จะไม่ยอมขาย ซึ่งตรงกับจิตวิทยาเรื่องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด (ข้อถัดไป) โดยเมื่อนักลงทุนเริ่มขาดทุน ความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อขาดทุนมากขึ้นและนานขึ้น ความเจ็บปวดจะลดลง ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ทนถือส่วนที่ขาดทุนได้อย่างยาวนาน

5. หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด (Disposition Effect)

จิตวิทยาข้อนี้อธิบายการขาดทุนของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี โดยธรรมชาติ ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิด ‘ความเสียใจ’ และแสวงหาการกระทำที่ทำให้เกิด ‘ความภูมิใจ’ (Regret and Pride) ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายสินทรัพย์ที่ได้กำไรทิ้งเพื่อสร้างความภูมิใจ และถือตัวขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด

6. ปรากฏการณ์หุ้นขึ้นเดือนมกราคม (January Effect)

ทฤษฎีที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคม เนื่องจากนักลงทุนจะขายทำกำไรจากการลงทุนช่วงสิ้นปีก่อนหยุดยาว และช่วงเดือนมกราคมจะกลับเข้ามาลงทุนใหม่อีกครั้งในสินทรัพย์ที่ราคายังไม่แพง คำอธิบายที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ นักลงทุนซื้อคืนภาษีช่วงต้นปี หรืออาจจะนำเงินโบนัสช่วงสิ้นปีมาลงทุนในช่วงเดือนถัดไป

7. การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ (Snowball Effect)

ผลกระทบที่เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ จนกลายเป็นผลกระทบขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนลูกบอลหิมะที่กลิ้งจากยอดเขา จากลูกบอลเล็ก ๆ เมื่อเคลื่อนตัวลงมาทั้งความสูงและการรวมตัวของหิมะที่เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถกลืนทุกสิ่งทุกอย่างให้รวมอยู่ในลูกบอลหิมะลูกเดียวที่มีขนาดมหึมา และสร้างหายนะได้ (ในโลกการลงทุนอาจหมายถึงสร้างผลกำไรก็ได้เช่นกัน)

บทความโดย คุณานันต์ TechToro

เจาะโมเดลธุรกิจนางงาม เมื่อ 3 เวทีใหญ่เป็นของคนไทย! I POCKET MONEY EP67

FINNOMENA CHANNEL
เจาะโมเดลธุรกิจนางงาม เมื่อ 3 เวทีใหญ่เป็นของคนไทย! I POCKET MONEY EP67

รับชมบน YouTube: https://youtu.be/hWYSkKIry-I

เมื่อบริษัท JKN Global Group เข้าซื้อกิจการเวทีนางงามระดับโลกอย่าง Miss Universe ก็ทำให้ปัจจุบันมีเวทีนางงามระดับโลกถึง 3 เวทีแล้วที่อยู่ภายใต้การบริหารของคนไทย แต่ความน่าสนใจของธุรกิจเวทีนางงามมีเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร ติดตามได้ในคลิปนี้

ภาพรวมธุรกิจนางงามที่อยู่ภายใต้การบริหารของคนไทย

  • การเข้าซื้อกิจการองค์กรนางงามจักรวาล หรือ Miss Universe Organization โดยบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ด้วยมูลค่า 800 ล้านบาท คงเปรียบเสมือนฝันที่ไม่กล้าฝันของแฟนนางงามหลายคน
  • เพราะจากเดิมเพียงตั้งความหวังไว้ที่การคว้ามงกุฎ แต่กลับกลายเป็นการได้ปาดเวทีนางงามระดับโลกทั้งเวทีมาอยู่ในมือนักธุรกิจคนไทยไปจนได้
  • นอกจากนี้ยังมีเวทีมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล และมิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน รวมเป็น 3 เวทีนางงามระดับโลกที่อยู่ภายใต้การบริหารของคนไทยในปัจจุบัน

ความเป็นมาของเวทีประกวดนางงาม

  • เวทีประกวดนางงามนับว่าเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นมาอย่างยาวนาน
  • เวทีที่นับว่าประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมมากที่สุดจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Big 4” แห่งวงการนางงามได้แก่ เวที Miss World ซึ่งนับว่าจัดการประกวดอย่างยาวนานที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เวที Miss Universe เวที Miss International และ Miss Earth
  • แต่ละเวทีจะมีบริบทในการเฟ้นหาสาวงามที่แตกต่างกันออกไป
  • เช่น การเป็นกระบอกเสียงเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • สาวงามผู้ชนะนอกจากจะได้ดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรติเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามเจตจำนงของเวทีประกวดแล้วก็ยังจะได้รับรางวัลมูลค่ามหาศาลอีกมากมาย
  • อย่าง Harnaaz Sandhu (ฮะนาซ ซันดุ) ที่นอกจากจะได้รับตำแหน่ง Miss Universe ปี 2021 ก็ยังได้ครองมงกุฎที่คาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 180 ล้านบาทอีกด้วย 

เบื้องหลังของเวทีประกวดนางงาม

  • เบื้องหลังความหรูหราเจิดจรัสของเวทีนางงามคือแผนธุรกิจที่ต้องถูกวางแผนอย่างรอบคอบ
  • จากการเปิดเผยโดยคุณแอน – จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ทำให้เห็นว่าช่องทางโกยรายได้ของธุรกิจเวทีนางงามอาจมีหลากหลายช่องทาง อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    • 1. รายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ เช่น Franchise Fee รายได้จากการให้สิทธิแต่ละประเทศจัดประกวดนางงาม, Hosting Fee รายได้จากการอนุญาตให้ประเทศต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพจัดการประกวด, Merchandising Fee รายได้จากการให้สิทธิผลิตสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ของเวทีนางงาม และ Broadcast Fee รายได้จากการให้สิทธิถ่ายทอดสดการประกวด
    • รายได้จากขายสินค้าและบริการ เช่น Production Fee รายได้จากการรับจ้างผลิตงานการประกวด, Talent Management Fee รายได้จากการบริหารงานนางงามผู้ชนะการประกวด, รายได้จากการขายสินค้าลิขสิทธิ์ และรายได้จากการขายบัตรเข้าชมการประกวด
    • 3. รายได้จากผู้สนับสนุนการประกวด

รายได้ของเวทีประกวดนางงาม

  • จากการจัดการประกวดในปีที่ผ่านมา คาดว่า Miss Universe Organization สามารถสร้างรายได้ได้ถึงปีละ 1.4 พันล้านบาท
  • ส่วนบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี 2564 มีรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท
  • บริษัท ทิฟฟานีโชว์พัทยา จำกัด มีรายได้ประมาณ 4 ล้านบาท ในปีเดียวกัน 

ความเสี่ยงสำคัญของธุรกิจนางงาม

  • สำหรับความเสี่ยงสำคัญของธุรกิจนางงาม แน่นอนว่าจะได้แก่ทัศนคติและค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
  • ธุรกิจเวทีนางงามถูกตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเฉพาะประเด็นการสร้าง Beauty Standard ซึ่งอาจกลายเป็นการกดทับความงามที่แตกต่างไปจากมาตรฐานดังกล่าว
  • รวมถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อบันเทิงของผู้คนที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
  • อย่างที่ช่อง Fox ได้รายงานว่าผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดการประกวดนางงามในสหรัฐอเมริกาลดลงต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2560
  • จึงต้องติดตามกันต่อไปว่าภายใต้การกุมบังเหียนของเหล่านักธุรกิจไทยจะพลิกชีวิตให้ธุรกิจเวทีนางงามกลับมาคึกคักได้อย่างไรบ้าง

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

FINNOMENA Investment Team
FINOMENA PORT Strategy.

FINNOMENA’s Capital Market Expectations (CME)

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 1 : กระบวนการสร้าง CME และการนำ CME มาใช้ใน Black Litterman Model: Source FINNOMENA As of 08/09/2022

Black Litterman Model ถูกกำหนดรอบให้รีวิวทุก ๆ 6 เดือน โดยจะรีวิวทั้งโมเดลการคำนวณ, สมมติฐานต่อผลตอบแทนสินทรัพย์ และกองทุนที่แนะนำลงทุน ซึ่งครบรอบการรีวิวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่ง FINNOMENA Investment Team ได้ดำเนินการตามหลักการอย่างเข้มข้น พร้อมกันนั้นยังได้พัฒนาปรับปรุงกระบวนการรีวิวผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละสินทรัพย์ให้เป็นระบบมากขึ้นและเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ใช้ในบริษัทกองทุนระดับโลก ด้วยการจัดทำ FINNOMENA’s Capital Market Expectations (CME) 

CME คือกระบวนการคาดการณ์ผลตอบแทนระยะยาวของสินทรัพย์ต่าง ๆ ในระยะยาว (10 ปี) โดยการประเมินผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์จะมี framework ที่แตกต่างกันไปตามสมติฐานที่เหมาะกับสินทรัพย์นั้น ๆ 

จากนั้นจึงนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้ไปคำนวณใน Black Litterman Model เพื่อนำไปคำนวณตัวเลข Strategic Asset Allocation (SAA) เพื่อบรรลุเป้าหมายผลตอบแทนระยะยาวของแต่ละระดับความเสี่ยง ซึ่งการใช้ CME ใน Black Litterman Model เป็นการยกระดับในการคาดการณ์ผลตอบแทนระยะยาวโดยใช้มาตรฐานเดียวกับบริษัทจัดการกองทุนระดับโลก

โดยผลที่ได้คือ Black Litterman Model ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น เป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนที่คาดหวังในหลากหลายสินทรัพย์ ทำให้โอกาสไปถึงเป้าผลตอบแทนเป็นไปได้มากขึ้น โดยความเสี่ยงพอร์ตลดลงได้ ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ FINNOMENA Investment Team ดังนี้

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 2 : อัตราผลตอบแทนหุ้นกู้ในสหรัฐฯ ตามอันดับความน่าเชื่อถือ Source: Bloomberg, FINNOMENA as of 02/03/2023

ตราสารหนี้ ในช่วงที่ผ่านมาหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแข็งแกร่งทำให้นักลงทุนมองว่า Fed อาจจะเร่งการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ทำให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 2 ปี ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี ที่ 4.9% ส่งผลให้ yield ของตราสารหนี้อยู่ในระดับที่น่าสนใจ อาทิ หุ้นกู้อันดับความน่าเชื่อถือ Aaa อยู่ในระดับ 4.8% และ หุ้นกู้อันดับความน่าเชื่อถือ Baa อยู่ที่ระดับ 5.9% ส่งผลให้ตราสารหนี้มีความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 3 : S&P 500 and Global Aggregate Bond Drawdown since 1990 Source: Bloomberg, FINNOMENA as of 02/03/2023

เมื่อพิจารณาด้านสถิติพบว่า ในปี 2022 การพุ่งขึ้นของเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว กดดันให้ธนาคารกลางหลัก ๆ ทั่วโลก ต้องเปลี่ยนแปลงการใช้นโยบายการเงินอย่าง aggressive เพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ (yield) ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และแรงเทขายตราสารหนี้ทำให้มูลค่าของตราสารหนี้ติดลบแรงที่สุดในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตราสารหนี้มีความน่าสนใจมากขึ้น

ส่วนการปรับเพิ่มเวียดนาม เข้ามาเป็นอีกสินทรัพย์แทนการลงทุนในหุ้นไทย โดยเป็นการกระจายการลงทุนและเพิ่มความคาดหวังผลตอบแทนเพิ่มเติม เข้ามาเป็นมุมมองในระยาว (SAA) และสะท้อนให้เห็นจากตัว CME ที่ตลาดหุ้นเวียดนามจะให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุดในระยะยาว

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 4 : ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเปรียบเทียบระหว่างเศรษฐกิจเวียดนามในปัจจุบัน กับ เศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

Source:  FINNOMENA, Bloomberg as of 02/03/2023

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น มีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจเวียดนามที่อาจจะลุกลามกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจคล้ายประเทศไทยในช่วงปี 2540 ซึ่ง FINNOMENA Investment Team ได้พิจารณาตัวเลขทางเศรษฐกิจของเวียดนามและไทยในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง และเห็นความแตกต่างของตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอย่างชัดเจน เช่น จำนวนหนี้ต่างประเทศเมื่อเทียบกับ GDP ปัจจุบันเวียดนามมีสัดส่วนเพียง 37% เมื่อเทียบกับไทยในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งที่ 62% ขณะที่หนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนเมื่อเทียบกับ GDP มีเพียง 13% เมื่อเทียบกับไทยที่สูงถึง 26% อีกทั้งสัดส่วนสินเชื่อการบริโภคในประเทศเทียบกับภาคธุรกิจต่อ GDP ของเวียดนามยังอยู่ในระดับที่น้อยกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของไทยเกือบเท่าตัว สะท้อนความเสี่ยงที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 5 : ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเปรียบเทียบระหว่างเศรษฐกิจเวียดนามในปัจจุบัน กับ เศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

Source:  FINNOMENA, Bloomberg as of 02/03/2023

โดยกองทุนที่เราเลือกลงทุนใน FINNOMENA Goal และ 1st Million นั้น คือ กองทุน TMB-ES-VIETNAM เป็นกองทุนที่เป็น fund of fund ในกองทุนเวียดนามชั้นนำผ่าน 2 กองทุนหลัก ดังนี้

Dragon Capital Vietnam Equity Fund นักลงทุนสถาบันแห่งแรกของประเทศเวียดนาม มีทีมบริหารดี และมีข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และกองทุนต่างชาติหลายแหล่ง และเน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโตที่มีขนาดใหญ่และกลางเป็นหลัก

Lumen Vietnam Fund โดดเด่นในการเลือกลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นหลัก ซึ่งช่วยเสริม Alpha ของพอร์ตการลงทุนโดยรวม อีกทั้งเป็นการกระจายความเสี่ยงไปยังหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กตัวอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน Dragon Capital Vietnam Equity Fund ได้

ซึ่งการลงทุนใน 2 กองทุนนี้ เป็นการกระจายการลงทุนได้ทั่วทั้งตลาดเวียดนามทั้งหุ้นขนาด เล็ก กลาง และใหญ่  และมีขั้นต่ำในการลงทุนกองทุนในระดับต่ำ ซึ่งเหมาะกับการทำ DCA ทำให้ FINNOMENA Investment Team เลือกกองทุน TMB-ES-VIETNAM มาเป็นตัวแทนของการลงทุนในหุ้นเวียดนามในการปรับพอร์ตครั้งนี้

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 6 : ตัวเลขทางสถิติของกองทุน TMBGQG และ KKP GNP-H  : Source FINNOMENA As of 08/03/2023

พร้อมกันนั้น ในการรีวิวพอร์ตการลงทุน FINNOMENA Investment Team ยังได้มีการตรวจสอบกองทุนที่แนะนำ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า กองทุนที่แนะนำนั้นจะเหมาะสมกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์อยู่เสมอ

ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการแนะนำเปลี่ยนคำแนะนำในกองทุนหุ้นทั่วโลกอย่าง TMBGQG เป็น KKP GNP-H แทน เนื่องจาก KKP GNP-H เป็นกองทุนที่มีความสม่ำเสมอสามารถสร้าง Alpha ได้มากกว่า มี tracking error ที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่ากองทุน KKP GNP-H มีความผันผวนน้อยกว่าแต่ให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกันกับกองทุน TMBGQG ด้านการลงทุนกองทุน KKP GNP-H มีการกระจายตัวมากกว่าทั้งในด้านสัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวและการกระจายในแต่ละประเทศ โดยมี top 10 holdings คิดเป็น 18% เมื่อเทียบกับ TMBGQG ที่ 25% และเมื่อพิจารณาในด้านทีมบริหารกองทุน KKP GNP-H ทีมบริหารที่มีประสบการณ์ยาวนาน ประกอบด้วย fund manager 9 คน ซึ่งแตกต่างจาก TMBGQG ที่มีการบริหารเพียงคนเดียว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้าน fund manager risk ลงได้ในระยะยาว

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 7 : FINNOMENA 3D Diagram : Source FINNOMENA As of 08/03/2023

เช่นเดียวกับกองทุน B-ASIA เป็นอีกกองทุนหุ้นเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น ที่มีความสม่ำเสมอของผลตอบแทนและความเสี่ยง ที่ติดอยู่ในระดับที่ดีมาก จากการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งกองทุน B-ASIA นั้นมีการบริหารกองทุนด้วยแนวการลงทุนแบบ Top-Down ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยมหภาคเป็นส่วนสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการลงทุนปัจจุบัน จึงทำให้ B-ASIA มีโอกาส Outperform ต่อไปในอนาคต อีกทั้งสัดส่วนการลงทุนของ B-ASIA ที่มีลักษณะ Fully Invested หรือถือครองเงินสดในระดับที่ต่ำตลอดเวลา สะท้อนว่าการปรับพอร์ตที่เหมาะสม แม้จะมีสัดส่วนเงินสดที่ต่ำ ก็สามารถที่จะ Outperform ได้ รวมถึงทีมงานบริหารของกองทุน B-ASIA มีผลงานโดดเด่นติดอันดับโลก อยู่กับกองทุนมานาน ทำให้ FINNOMENA Investment Team จึงถือโอกาสการปรับพอร์ตในครั้งนี้แนะนำ B-ASIA ทดแทนกองทุนหุ้นเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่นอย่างกอง TMBAGLF ในพอร์ตการลงทุน Goal ที่มียอด DCA ต่ำกว่า 20,000 บาทด้วย 

ซึ่งนำไปสู่การปรับพอร์ตลงทุนดังนี้

Goal DCA Below 20,000 Baht

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 8 : FINNOMENA Goal Portfolio DCA Below 20,000 Baht  : Source FINNOMENA As of 08/03/2023

Goal Lv.1

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 5% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 15%

Goal Lv.2

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 15% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 5% 
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 15%

Goal Lv.3

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 25% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 10% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TSF-A 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 20%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBGOLDH 5%

Goal Lv.4

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 30% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 20% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TSF-A 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 20%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 15%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 20%

Goal Lv.5

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 40% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 25% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TSF-A 5% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 25%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 20%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 15%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน UGIS-N 5%

Goal Lv.6

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 45% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 35% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 40%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 25%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน UGIS-N 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBPIPF 5%

Goal Lv.7

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 50% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 45% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 30%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 50%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBGOLDH 10%

Goal DCA Above 20,000 Baht

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 9 : FINNOMENA Goal Portfolio DCA Above 20,000 Baht  : Source FINNOMENA As of 08/03/2023

Goal Lv.1

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน B-ASIA 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 5% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 15%

Goal Lv.2

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 15% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน B-ASIA 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 5% 
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 15%

Goal Lv.3

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 25% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TSF-A 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 20%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBGOLDH 5%

Goal Lv.4

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 30% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน B-ASIA 5% 
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TSF-A 5% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBPIPF 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 20%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 20%

Goal Lv.5

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 40% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน  B-ASIA 5% 
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TSF-A 5% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 25%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFAFIX-A 15%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน UGIS-N 5%

Goal Lv.6

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 45% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน B-ASIA 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 40%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน UGIS-N 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMBPIPF 5%

Goal Lv.7

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 50% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 30%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน TMB-ES-VIETNAM 5%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBGOLDH 10%

1st Million 

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 10 : FINNOMENA 1st Million Portfolio DCA : Source FINNOMENA As of 08/03/2023

1st Million Lv.4

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 35% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 25% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 35%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 25%

1st Million Lv.5

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 45% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 35% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 45%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 35%

1st Million Lv.6

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 55% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 40% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน UGIS-N 5% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 55%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 45%

1st Million Lv.7

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBGQG 50% (ทั้งหมด)
  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน TMBAGLF 50% (ทั้งหมด)
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KKP GNP-H 35%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน B-ASIA 65%

All Balance

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 11 : FINNOMENA All Balance Portfolio : Source FINNOMENA As of 08/03/2023 

FINNOMENA Investment Team แนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนตามรอบ rebalance ในเดือนนี้ โดยมีคำแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนและลักษณะกองทุนใหม่ โดยเราแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุน TMBGQG ทั้งหมดและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน KKP GNP-H แทน หลังจากการประเมินแนวทางบริหารของกองทุนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

แนะนำปรับเปลี่ยนการลงทุนในหุ้นไทยเป็นเวียดนามแทนทั้งหมด จากแนวโน้มการเติบโตในระยะกลางจากปัจจัยเชิงมหภาคที่ดีกว่า อีกทั้งยังมี valuation ที่ถูกกว่า

และแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เล็กน้อยและคงน้ำหนักในสินทรัพย์ทางเลือกตาม “Capital Market Expectation” ที่มีการประมาณการผลตอบแทนของสินทรัพย์อย่างเป็นระบบ พร้อมจัดสัดส่วนการลงทุนด้วย Black-Litterman Model

Retirement Income Solution (RIS)

ถึงเวลาปรับสมดุลพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance หลังยกระดับ CME

รูปที่ 12 : FINNOMENA Retirement Income Solution Portfolio: Source FINNOMENA As of 08/03/2023

RIS มีความผันผวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับภาวะการลงทุนโดยรวมทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอได้ แม้ในปีที่แล้วทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายอยู่เล็กน้อยจากสภาพตลาดทั้งตลาดสารหนี้และหุ้นที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม FINNOMENA Investment Team ได้พิจารณาถึงสภาพตลาดในปีนี้เชื่อว่าการสร้างกระแสเงินสดจะมีการฟื้นตัวและมีโอกาสกลับเข้าสู่สภาวะปกติให้กลับมาสร้างกระแสเงินได้ตามเป้า

สัดส่วนหลักของพอร์ตการลงทุนในกองทุน SCBWINR ยังคงสร้างกระแสเงินสดออกมาได้อย่างสม่ำเสมอและมีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนหุ้นโลก อีกทั้งมีผลการดำเนินงานฟื้นตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

อีกทั้งสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และสภาพคล่องสูงอย่าง KFSPLUS พร้อมต่อการปรับเข้าสู่สินทรัพย์อื่นๆ ที่จะทำให้พอร์ตสามารถจ่ายกระแสเงินสดออกมาได้สม่ำเสมอและตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้มากขึ้น หาก FINNOMENA Investment Team เห็นโอกาสที่น่าสนใจและประเมินว่าความเสี่ยงคุ้มค่าต่อการลงทุนจึงยังคงแนะนำสัดส่วนการลงทุน

FINNOMENA Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุนตามรอบในเดือนนี้ เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนตรงกับสัดส่วนการลงทุนแนะนำ เนื่องจากผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมามีความผัวผวนสูงทำให้สัดส่วนการลงทุนอาจแตกต่างไปจากคำแนะนำ เพื่อที่จะให้ผลตอบแทนตรงกับเป้าหมายพอร์ตการลงทุนในระยะยาว


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT

FINNOMENA Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียเผชิญแรงขาย ก่อนสหรัฐฯ รายงานข้อมูลจ้างงานคืนนี้

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียเผชิญแรงขาย ก่อนสหรัฐฯ รายงานข้อมูลจ้างงานคืนนี้

วันนี้ (10 มีนาคม 2023) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง โดยเผชิญแรงขายในเช้าวันนี้ก่อนที่สหรัฐฯรายงานตัวเลขการจ้างงานประจำเดือนกุมภาพันธ์ในช่วงค่ำของวันนี้ อาทิ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payroll) อัตราการว่างงานเดือนกุมภาพันธ์ และตัวเลขค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง (Average Hourly Earnings) ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกไป

นอกจากนี้ตลาดหุ้นเอเชียยังได้รับ sentiment ลบกดดันจาก SVB Financial Group (ซึ่งเป็นธนาคารที่เน้นปล่อยสินเชื่อในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี) ออกมาประกาศขายหุ้นมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากเผชิญปัญหาสภาพคล่องหลังจากยอดเงินฝากจากสตาร์ทอัปลดน้อยลง ส่งผลให้หุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐฯปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (9 มีนาคม 2023)

โดยตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวลง 2.5% ตลาดหุ้นเกาหลี (Kospi) ลดลง 1.3% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Nikkei) ลดลง 1.2% หุ้นจีน (CSI300) ลดลง 0.9% และตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ลดลง 0.6%

FINNOMENA Investment Team มองว่าในระยะสั้นภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียจะยังคงมีความผันผวนต่อไปจนถึงการประชุมเฟดในวันที่ 21-22 มีนาคม โดยอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่จะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเอเชียคือการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม

ในภาพระยะกลางถึงยาวเรามองภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังทางจีนรายงานดัชนี PMI ที่แข็งแกร่งซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณยืนยันว่าการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ของจีน ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นได้ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชีย นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นการปรับประมาณการกำไรขึ้นของตลาดหุ้นจีน (CSI300) และฮ่องกง (HSI) ประมาณ 14.8% และ 15.5% ตามลำดับหลังจากรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ขณะที่การปรับประมาณการกำไรของตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆอยู่ในทิศทางทรงตัว ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ถูกปรับลดประมาณการกำไรลง ในแง่ของ Valuation ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในระดับถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ยกเว้นเกาหลีใต้และอินเดียที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

เรามีมุมมองเป็นกลางต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเนื่องจากมีบางประเทศที่มีความเสี่ยงด้านผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย แต่เราชื่นชอบตลาดหุ้นจีนมากกว่า โดยแนะนำทยอยสะสมในกองทุน KT-ASHARES-A และ K-CHINA-A(A) และชื่นชอบตลาดหุ้นเวียดนามโดยแนะนำกองทุน PRINCIPAL-VNEQ-A

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

รู้จักกับ FINT Halving เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อปริมาณการผลิตของ FINT จะลดลงครึ่งหนึ่ง

FINT
รู้จักกับ FINT Halving เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อปริมาณการผลิตของ FINT จะลดลงครึ่งหนึ่ง

ไม่น้อยหน้า Bitcoin กันเลยทีเดียว เพราะ FINT Token เองก็มีกลไกในการลดปริมาณการผลิตลงเรื่อย ๆ เหมือนกัน ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้ FINT หายากขึ้นในอนาคต!

แล้วปรากฏการณ์นี้จะส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไรบ้าง มีอะไรที่ควรรู้ก่อน มาติดตามกันได้ในบทความนี้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม FINT คืออะไร? 5 เรื่องไม่รู้ไม่ได้ กับเหรียญ FINT โดย FINNOMENA พร้อมคุณประโยชน์จุก ๆ สำหรับนักลงทุน

มาทำความรู้จักกันก่อนว่า Halving คืออะไร?

Halving แปลว่า “ลดลงครึ่งหนึ่ง”

อยากให้ทุกคนลองจินตนาการว่าถ้าอยู่ ๆ วันหนึ่งบริษัท Apple ประกาศว่าจะลดกำลังการผลิต iPhone 14 ลงครึ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่จำนวนคนอยากได้ iPhone ยังมีเท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้มูลค่าหรือราคาของ iPhone เพิ่มสูงขึ้นทันที เพราะหายากขึ้นนั่นเอง

การทำ Halving เป็นแนวคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ถูกคิดค้นและริเริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 2009 โดยสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) สกุลแรกของโลกอย่างบิทคอยน์ (Bitcoin)

สำหรับการทำ Halving ในสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) คือ การลดจำนวนอุปทาน (supply) ของเหรียญลง โดยการปรับลดอัตราการสร้างเหรียญลงครึ่งหนึ่ง หลาย ๆ ท่านคงจะคุ้นเคยกับคำว่า Bitcoin Halving หรือก็คือการลดจำนวน BTC ที่จะถูกสร้างออกมาลงครึ่งนึงทุก ๆ 4 ปี เริ่มจาก 50 BTC → 25 BTC → 12.5 BTC → 6.25 BTC ตามลำดับ

เครือข่ายบิทคอยน์จะให้รางวัลตอบแทนแก่นักขุดบิทคอยน์ หรือ Miner เพื่อตอบแทนที่ช่วยตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่าย ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว บิทคอยน์เริ่มต้นด้วยการแจกรางวัลต่อการสร้างบล็อก 1 ครั้งเท่ากับ 50 BTC แต่ปัจจุบันรางวัลที่นักขุดบิทคอยน์ได้รับจะมีเพียง 6.25 BTC ลดลงตามกลไกการ Halving

แต่ถึงแม้จำนวน Bitcoin ที่นักขุด Miner ได้รับจะลดลงมาก (จาก 50 → 6.25 BTC) แต่ในทางกลับกันมูลค่าของ Bitcoin กลับสูงขึ้นมากเช่นกัน

เพื่อสนับสนุนให้มูลค่าของเหรียญ FINT คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน FINT จึงได้รับแรงบันดาลใจจาก Bitcoin ในการออกแบบกลไกในการจัดการอุปทานของโทเคน โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการทำ Halving หรือการลดปริมาณโทเคนด้วยเช่นเดียวกัน

แล้ว FINT Halving คืออะไร?

รู้จักกับ FINT Halving เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อปริมาณการผลิตของ FINT จะลดลงครึ่งหนึ่ง

FINT Halving คือ การลดจำนวน FINT ที่จะแจกในโครงการ Invest-to-Earn ลงครึ่งหนึ่ง ปัจจุบัน FINT ถูกแจกเป็นรางวัลตอบแทนให้แก่นักลงทุนที่ซื้อกองทุนผ่าน FINNOMENA โดยเมื่อลงทุน 5,000 บาท ก็จะได้รับ 1 FINT

แต่ด้วยกลไกของ FINT Halving จะทำให้จำนวน FINT ที่จะแจกนั้นลดลงครึ่งหนึ่ง แปลง่าย ๆ ก็คือในอนาคตถ้าลงทุน 5,000 บาทเท่าเดิม จะได้รับ 0.5 FINT แทน

แล้วทำไมต้องมี FINT Halving ด้วยล่ะ?

จากปัญหาของสกุลเงินในปัจจุบันที่ไม่สามารถคงมูลค่าเอาไว้ได้ในระยะยาว เนื่องจากการรวมศูนย์ (centralized) เช่น การที่หน่วยงานกลางพิมพ์เงินใหม่มาโดยไม่มีสินทรัพย์มาพยุงมูลค่าเอาไว้ ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา และสุดท้ายส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินนั้นลดลงในระยะยาว

FINT เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และให้ความสำคัญอย่างมากกับการคงมูลค่าของเหรียญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดียวกันกับที่สกุลเงินพบเจอ จึงเป็นที่มาของการประยุกต์ใช้กลไกที่ชื่อว่า Halving

วัตถุประสงค์ของการทำ FINT Halving คือ เพื่อคงมูลค่าของ FINT ให้คงอยู่เอาไว้ได้ในระยะยาว และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการการเฟ้อของเหรียญ FINT (anti-inflation)

กลไกของ FINT เหมือนกับ Bitcoin ไหม?

กลไกการ Halving ของ FINT จะมีความแตกต่างจาก Bitcoin อยู่นิดนึง เนื่องจากโมเดลในการแจกรางวัลของ FINT และ Bitcoin แตกต่างกัน

Bitcoin ใช้ระบบที่ชื่อว่า Proof-of-Work เพื่อหาผู้ที่จะได้รับรางวัลเป็น BTC ส่วน FINT ใช้ระบบที่ชื่อว่า “Proof-of-Investment” เพื่อหาผู้ที่จะได้รับรางวัลเป็น FINT

โดยกลไกของ Bitcoin จะยึดตาม “รอบเวลา” ทุก ๆ 4 ปี จะทำการลดจำนวน BTC ที่จะผลิตลงครึ่งหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น

  • ปี 2008 ได้ 50 BTC
  • ปี 2012 จะได้ 25 BTC
  • ปี 2016 จะได้ 12.5 BTC

แล้วกลไก Halving ของ FINT ทำงานอย่างไร?

ส่วนของ FINT จะเป็นกลไกที่ยึดตามจำนวน FINT ที่ถูกแจกออกไปจากระบบ Proof-of-Investment

FINT ที่จะถูกแจกในระบบ Proof-of-Investment หรือ Invest-to-Earn จะมีทั้งหมด 75,000,000 FINT หรือ 25% ของจำนวนอุปทานทั้งหมด (total supply)

ตัวอย่างเช่น

  • 30,000,000 FINT แรก จะได้รับ 1 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท
  • 22,500,000 ล้าน FINT ต่อไป จะได้รับ 5 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท
  • 15,000,000 ล้าน FINT ต่อไป จะได้รับ 25 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท
  • 7,500,000 ล้าน FINT สุดท้าย จะได้รับ 125 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท

โดยจะขึ้นอยู่กับจำนวน FINT ที่ถูกแจก แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเหมือนกับของ Bitcoin

ใครได้ประโยชน์จาก FINT Halving บ้าง?

FINT Halving จะส่งผลโดยตรงต่อจำนวนอุปทาน (supply) ของ FINT ซึ่งจำนวนอุปทานก็ส่งผลโดยตรงต่อมูลค่าของ FINT ในระยะยาว ดังนั้นกลไก FINT Halving จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ถือโทเคน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป FINT ก็ยิ่งหายากมากขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้นยิ่งถือเหรียญ FINT ไว้นานเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับประโยชน์จากกลไก FINT Halving มากเท่านั้น

โดยสรุปแล้ว…

การทำ Halving เป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญมากในโลกคริปโตฯ เพราะจะช่วยรักษามูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทีมงาน FINT Token เองก็ให้ความสำคัญกับมูลค่าของโทเคนในระยะยาว จึงได้ประยุกต์ใช้แนวคิดนี้เข้ามาประกอบในการออกแบบ Tokenomics ของ FINT Token ด้วยอุปทานที่มีจำกัด และกลไกที่ช่วยให้มูลค่าของโทเคนคงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้น Halving จึงเป็นกลไกที่สำคัญมากต่อ FINT ครับ

FINT Token Team

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://docs.fint.finance/fint-token/earn-fint-fint/purchasing-mutual-funds

เปิดบัญชีกับ FINNOMENA เดือนมีนานี้รับฟรี 100 FINT

*เงื่อนเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด :
ทางบริษัทขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อ่านเพิ่มเติม https://www.fint.finance/terms

ข้อสงวนสิทธิ

  1. บริษัท ฟินท์ โทเคนส์ จำกัด (“บริษัท“) เป็นผู้ออกเหรียญ FINT โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือเหรียญที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของบริษัท หรือกิจกรรมอื่นใดตามเงื่อนไขที่บริษัทระบุเท่านั้น
  2. เหรียญ FINT ไม่มีมูลค่าเป็นเงินตรา ไม่อาจก่อตั้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ถือและไม่สามารถซื้อ ขาย โอน หรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ไม่ว่าภายใต้เหตุการณ์ใดเหรียญ FINT จะไม่สามารถซื้อ ขาย โอน แลกเปลี่ยนหรือให้แก่ผู้ใช้ สำหรับการให้ที่มีมูลค่า เป็นเงินตรา หรือการกระทำอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
  3. ผู้ถือจะต้องดำเนินการศึกษาข้อมูลของเหรียญ FINT ชนิดดังกล่าวก่อนการดำเนินการรับ หรือใช้สิทธิประโยชน์อย่างใดก็ตามอย่างครบถ้วน ทั้งนี้หากเกิดข้อบกพร่อง ผิดพลาด จากการกรณีที่ศึกษาข้อมูล หรือเข้าใจวัตถุประสงค์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญบิดเบือนจากข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัทจะไม่รับผิดชอบในความประมาทของผู้ถือแต่อย่างใด
  4. บริษัทขอสงวนสิทธิในการยกเลิก แก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และให้ถือว่าการตัดสินใจใดๆ ของบริษัทถือเป็นที่สุด

News Update: BlackRock เชื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีโอกาสพุ่งแตะ 6% มองหุ้นยุโรปแข็งแกร่ง เริ่มน่าสนใจ

THE OPPORTUNITY
News Update: BlackRock เชื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีโอกาสพุ่งแตะ 6% มองหุ้นยุโรปแข็งแกร่ง เริ่มน่าสนใจ

BalckRock บริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในโลก คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแตะระดับสูงสุด 6% พร้อมมองว่า มูลค่าหุ้นบางตัวของยุโรปน่าลงทุนกว่าในสหรัฐฯ

หลังประธาน Fed ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงกว่าที่เฟดเคยคาดการณ์ไว้ เพื่อทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลงสู่เป้าหมายที่เฟดกำหนดไว้ BalckRock จึงคาดการณ์ว่า มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 6% และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวต่อไประยะหนึ่งเพื่อชะลอเศรษฐกิจ และเพื่อทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลงใกล้ 2%

โดยอินโฟเควสต์รายงานว่า BlackRock มองว่า เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากกว่าคาด เนื่องจากไม่ได้มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยเหมือนกับในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และความยืดหยุ่นดังกล่าวได้ทำให้การแก้ไขปัญหาของเฟดมีความซับซ้อนมากขึ้น

ขณะที่ นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนนี้ และเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแตะระดับสูงสุดในกรอบ 5.50-5.75% ในเดือนมิ.ย. รวมทั้งเฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

นอกจากนี้ BlackRock ยังมองว่า ผลประกอบการของบริษัทในยุโรปมีความยืดหยุ่นอย่างน่าประหลาดใจในไตรมาส 4 ของปี 2022 แถมยังมีผลงานที่ดีกว่าหุ้นของบริษัทในตลาดวอลล์สตรีทของสหรัฐอเมริกา

The Standard Wealth รายงานว่า BlackRock ระบุว่า หุ้นในอุตสาหกรรมธนาคารกลางและพลังงานของยุโรปปรับตัวมากที่สุดในไตรมาส 4 ขณะที่รายได้จากดัชนี STOXX 600 ทั่วยุโรปเพิ่มขึ้นประมาณ 8% ต่อปีภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ แม้จะยังไม่รวมภาคพลังงานก็ตาม

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ยุโรปเป็นภูมิภาคเดียวของโลกที่การปรับประมาณการผลประกอบการในปี 2024 สามารถกลับมาอยู่ในแดนบวก อีกทั้งรายได้ในสหราชอาณาจักรยังสร้างความประหลาดใจในเชิงบวก แม้จะมีการปรับตามขนาดของภาคการเงินและพลังงานแล้วก็ตาม

อ้างอิง: https://www.cnbc.com/2023/03/08/blackrock-says-the-federal-reserve-could-hike-interest-rates-to-a-peak-of-6percent.html 

https://www.cnbc.com/2023/03/07/blackrock-european-companies-showing-surprise-resilience-and-better-value-than-the-us.html 

https://www.ryt9.com/s/iq27/3404444 

https://thestandard.co/blackrock-some-stocks-worth-investing/

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

FINNOMENA Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียเปิดแดนลบถ้วนหน้า หลังพาวเวลขู่เร่งขึ้นดอกเบี้ยอีก หากคุมเงินเฟ้อไม่อยู่

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียเปิดแดนลบถ้วนหน้า หลังพาวเวลขู่เร่งขึ้นดอกเบี้ยอีก หากคุมเงินเฟ้อไม่อยู่

วันนี้ (8 มีนาคม 2023) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง นำโดยตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวลง 2.5% หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมาย 2% แม้เงินเฟ้อจะชะลอลงจากจุดสูงสุดมาแล้วแต่การทำให้เงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายยังคงต้องใช้เวลาและไม่ได้ราบรื่น ขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งกว่าที่คาด ซึ่งยังเปิดโอกาสให้เฟดสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

ข้อมูลจาก CME FedWatch Tools บ่งชี้ว่านักลงทุนคาดหวัง 72% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเฟดวันที่ 21-22 มีนาคม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาซึ่งนักลงทุนคาดหวังเพียง 9% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50%

นอกจากนี้ความกังวลดังกล่าวยังเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆให้ปรับตัวในแดนลบเช้านี้เช่นกัน ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) ลดลง 1.3% ตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ลดลง 0.8% ตลาดหุ้นจีน (CSI300) ลดลง 0.65% ข้อมูล ณ เวลา 9:05 น.

FINNOMENA Investment Team มองว่าในระยะสั้นภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียจะยังคงมีความผันผวนต่อไปจนถึงการประชุมเฟดในวันที่ 21-22 มีนาคม โดยอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่จะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเอเชียคือการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม

ในภาพระยะกลางถึงยาวเรามองภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังทางจีนรายงานดัชนี PMI ที่แข็งแกร่งซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณยืนยันว่าการผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ของจีน ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นได้ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชีย นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นการปรับประมาณการกำไรขึ้นของตลาดหุ้นจีน (CSI300) และฮ่องกง (HSI) ประมาณ 14.8% และ 15.5% ตามลำดับหลังจากรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ขณะที่การปรับประมาณการกำไรของตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆอยู่ในทิศทางทรงตัว ยกเว้นเกาหลีใต้ที่ถูกปรับลดประมาณการกำไรลง ในแง่ของ Valuation ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในระดับถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ยกเว้นเกาหลีใต้และอินเดียที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

เรามีมุมมองเป็นกลางต่อภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียเนื่องจากมีบางประเทศที่มีความเสี่ยงด้านผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย แต่เราชื่นชอบตลาดหุ้นจีนมากกว่า โดยแนะนำทยอยสะสมในกองทุน KT-Ashares-A และ K-CHINA-A(A)

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน