แจ้งเตือน

How to วางแผนชีวิตให้ครบครัน ด้วย 4 ประเภทเป้าหมายทางการเงิน

NM

เคยฝันกันมั้ยว่า อยากให้ชีวิตตัวเองเป็นแบบไหน ?

“อยากมีเงินเก็บหลักล้าน

อยากมีบ้านหลังใหญ่

อยากมีเงินใช้ไม่ขาดมือ

อยากถือกระเป๋าเที่ยวรอบโลก”

ซึ่งหลาย ๆ ความฝันเหล่านี้สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ เพียงวางแผนการเงิน แต่เหตุผลที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนไม่ได้วางแผนการเงินอาจจะเป็นเพราะไม่รู้จะวางแผนไปทำไม เพราะทุกวันนี้ก็ใช้เงินเดือนชนเดือนอยู่แล้ว หรือรู้สึกว่ามันยุ่งยาก ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ..

ถ้าอย่างนั้นมาเริ่มต้นวางแผนการเงินแบบง่าย ๆ สำหรับคนที่อยากทำให้ฝันเป็นจริง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนชีวิตและจัดระเบียบการเงินของตัวเองจากตรงไหน ลองเริ่มจาก 2 Step ง่าย ๆ ดังนี้

Step 1 : แยกประเภทเป้าหมายออกเป็น 4 ประเภทตามความสำคัญ

เริ่มต้นวางแผนการเงินง่าย ๆ อย่างการเปลี่ยน Mindset จาก “อยากมี” ให้กลายเป็น “เป้าหมาย” และที่สำคัญต้องแบ่งแยกประเภทของเป้าหมายตามความสำคัญ เพื่อให้แผนการเงินของเรานั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป้าหมายออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Need คือ เป้าหมายที่จำเป็นและสำคัญต่อชีวิต เช่น การเกษียณอายุ การศึกษาลูก เก็บเงินแต่งงาน
  • Want คือ เป้าหมายที่เราต้องการหรืออยากได้ เช่น การมี Passive income เดือนละ 100,000 บาท
  • Wish คือ เป้าหมายที่เราอธิษฐานอยากให้เป็นจริง อาจจะเป็นการให้รางวัลตัวเอง เช่น เที่ยวต่างประเทศประจำปี
  • Dream คือ เป้าหมายที่ใฝ่ฝันถึงแต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เช่น ซื้อรถหรู ซื้อบ้านพักตากอากาศ

ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละคนอาจจะให้คำจำกัดความต่างกันสำหรับแต่ละเป้าหมายก็ได้ เช่น บางคนอาจจะมองว่า การมี Passive income เป็นเพียง Wish หรือการเก็บเงินแต่งงาน เป็นเพียง Want ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร เพียงเราสามารถกำหนดประเภทเป้าหมายของเราได้ก็เพียงพอแล้ว

Step 2 : จับคู่สินทรัพย์ทางการเงินให้เหมาะกับเป้าหมาย

เมื่อเราแบ่งเป้าหมายตามความสำคัญออกเป็น 4 ประเภทเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้นำเป้าหมายแต่ละประเภทมาระบุว่าเป็นเป้าหมายระยะเวลาขนาดไหน โดยเราอาจจะระบุระยะเวลาได้ตามนี้ คือ ระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี, ระยะกลาง 3-7 ปี และระยะยาวมากกว่า 7 ปี ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้จับคู่กับสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมอีกที ดังนี้

1. เป้าหมายสำคัญ

หากเป็นเป้าหมายที่สำคัญ อย่าง Need และ Want อาจจะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง เพื่อให้เป้าหมายมีความเป็นไปได้จริง ๆ แต่ก็ต้องให้สอดคล้องกับระยะเวลาของเป้าหมายนั้น ๆ ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น หากมีเป้าหมายเกษียณอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว มีเวลาลงทุนมาก สินทรัพย์ที่เหมาะสม คือ สินทรัพย์ที่สามารถเสี่ยงได้มากขึ้นแต่ก็ยังมีความมั่นคง เช่น หุ้นพื้นฐานดี, กองทุนหุ้นไทย/หุ้นต่างประเทศ, กองทุน SSF/RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ, กองทุนการออมแห่งชาติ, ประกันบำนาญ, ประกันควบการลงทุน

แต่หากเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีระยะสั้นลงมา เช่น เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน หรือเก็บเงินเรียนต่อ อาจพิจารณาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ปลอดภัยสูง และมีสภาพคล่องที่หยิบดึงมาใช้ได้ง่าย เช่น เงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น

2. เป้าหมายไม่สำคัญ

หากเป็นเป้าหมายที่ไม่สำคัญแต่ถ้ามีก็ดี อย่าง Wish และ Dream อาจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้มากขึ้น เพราะถึงไม่สำเร็จ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสำเร็จก็ดี ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ก็จะต้องมาแยกระยะเวลาอีกเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น หากมีเป้าหมายเก็บเงินไปเที่ยว (Wish) ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะกลาง ที่มีเวลาลงทุนมากขึ้นอีกหน่อย อาจพิจารณาผสมสินทรัพย์เสี่ยงเข้ามาได้บ้าง เช่น กองทุนรวมผสม หรือพอร์ตการลงทุนที่ผสมทั้งตราสารหนี้และหุ้น

แต่ถ้าหากเป็นเป้าหมายซื้อบ้านพักตากอากาศในอนาคต แล้วเราจำแนกเป็นเป้าหมายระยะยาว ก็อาจจะสามารถเพิ่มสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงเข้ามาในพอร์ตได้ เช่น กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นต้น

อย่างที่เห็นไปแล้วว่า ชีวิตคนเราไม่ได้มีแค่เป้าหมายเดียว และนอกจากเป้าหมายของตัวเองแล้ว บางคนอาจจะมีเป้าหมายที่อยากจะทำเพื่อคนที่เรารักรวมอยู่ด้วย ซึ่งบางทีอาจจะเยอะจนไม่รู้ว่าควรแบ่งเงินลงทุนอย่างไร เท่าไร ในสินทรัพย์อะไรดี ทาง FINNOMENA ขอเสนอนวัตกรรมดี ๆ ที่จะช่วยให้แต่ละเป้าหมายชีวิตของเราเป็นเรื่องง่ายขึ้น นั่นคือ Goals Navigator

Goals Navigator คืออะไร ?

Goals Navigator คือ นวัตกรรมระดับโลกที่ช่วยออกแบบทุกความสำเร็จในทุกช่วงชีวิต ช่วยวางแผนการลงทุนในทุกช่วงเวลา รองรับทุกสถานการณ์ โดยทาง FINNOMENA และ FRANKLIN TEMPLETON ได้ร่วมมือกันและพัฒนาแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลา มีการคำนวณแผนการลงทุนที่ดีที่สุดและคำนวณปรับเปลี่ยนโมเดลพอร์ตให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะตลาด เพื่อให้นักลงทุนถึงเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจไว้ 

ตัวอย่างการจัดพอร์ตของ Goals Navigator

แค่เพียงระบุว่าเป้าหมายของเราเป็น Need, Want, Wish, Dream และระบุระยะเวลาที่ต้องการให้เป้าหมายสำเร็จ ระบบก็จะแสดงผลในรูปแบบ Life path โดยจะคิดคำนวณให้อัตโนมัติว่าควรลงทุนในอะไรบ้าง และควรปรับการลงทุนเมื่อไร เพื่อให้สอดคล้องกับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย พร้อมทั้งคาดการณ์ผลตอบแทนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

และนอกจากนี้ ยังจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้แนะนำการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงผ่านการอบรมเพื่อแนะนำการใช้งาน Goals Navigator

“FINNOMENA Goals Navigator™” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน 👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA Investment Team
ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด (จำนวนจำกัด)

     Weekly Market Insight ประจำสัปดาห์  06/06/66 – 09/06/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

(ถ้าเปิดจากโทรศัพท์แล้วดูแบบ preview ไม่ได้ ให้กดดาวน์โหลดมุมขวาบน)

JAPAN – Land of Rising Stock Market

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
JAPAN - Land of Rising Stock Market

หุ้นญี่ปุ่นเป็นการลงทุนขวัญใจนักลงทุนไทยมาโดยตลอด และปี 2023 กำลังจะเป็นปีพิเศษที่ดัชนี TOPIX ปรับตัวขึ้นจนมีโอกาสทดสอบระดับสูงสุดตลอดกาล 2884 จุด ที่เคยทำไว้ในปี 1989 หรือกว่า 3 ทศวรรษก่อน จึงมีคำถามมาอย่างต่อเนื่องว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้หุ้นญี่ปุ่นฟื้น พื้นฐานของตลาดแตกต่างจากเดิมมากน้อยแค่ไหน และยังทันหรือไม่ที่จะเข้าลงทุนตอนนี้

ผมจึงชวนนักลงทุนมารู้ให้ทันจุดสูงสุดใหม่ของหุ้นญี่ปุ่นรอบนี้พร้อมกัน

เริ่มด้วยการเปรียบเทียบหุ้นญี่ปุ่นในอดีตกับปัจจุบัน

แม้ตลาดกำลังทำ New High จุดเดียวกัน แต่ความตื่นเต้นและความยิ่งใหญ่ในสมัยก่อนสูงกว่าปัจจุบันมาก

ย้อนกลับไปช่วงจุดสูงสุดในอดีต ครึ่งหนึ่งของขนาดตลาดการเงินทั้งโลกนั้นมาจากญี่ปุ่น เหตุผลที่ทุกคนเข้าลงทุน นอกจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตสูงแล้ว ก็มีแรงส่งเพิ่มเติมจาก Plaza Accord ปี 1985 ที่ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า นักลงทุนทั่วโลกจึงแห่นำเงินลงทุนมาพัก

ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่นมีขนาดโดยรวมใหญ่กว่าสหรัฐถึงสี่เท่าทั้งที่มีขนาดเพียง 4% เมื่อเทียบกับพื้นที่ของสหรัฐ

ส่วนหุ้นญี่ปุ่นก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ซื้อขายในระดับ Long-term P/E (LT P/E) ราว 100 เท่า ทุกอย่างฟุ้งเฟ้อ ก่อนที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ย บริษัทเริ่มผิดนัดชำระหนี้ และฟองสบู่การเงินแตกในช่วงต้นทศวรรษ 1990

แน่นอนว่าการกลับมาทดสอบจุดสูงสุดของตลาดหุ้นญี่ปุ่นครั้งนี้แตกต่างจากเดิมทุกอย่าง

หนึ่ง ไม่ใช่เงินเยนแข็งแต่เป็นเงินเยนอ่อนที่หนุนตลาด 

ย้อนกลับไป ต.ค. ปี 2022 จะเห็นได้ชัดว่าเงินเยนผันผวนทำสถิติอ่อนค่าที่สุดในรอบ 33 ปี ทะลุ 150เยน/ดอลลาร์ ทิศทางที่ปักหัวลงของเงินเยน เกิดจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น สวนกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดทั่วโลก ชัดที่สุดคือความต่างของดอกเบี้ยนโยบายกับธนาคารกลางสหรัฐที่กำลังทำสถิติห่างที่สุดถึง 525bps

สอง ไม่ใช่นักลงทุนต่างชาติ แต่เป็นคนญี่ปุ่นเองที่กำลังซื้อหุ้น

ตลาดกลับมาได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทางการญี่ปุ่นปรับโครงการลงทุนเพื่อลดภาษีสำหรับชาวญี่ปุ่นหรือ Nippon Individual Saving Account (NISA) ใหม่สำหรับปี 2024

ขนาดการลงทุนจะใหญ่ขึ้นถึง 125% เป็น 3.6 ล้านเยน/คน/ปี เพิ่มการลงทุนในโครงการได้ถึง 18ล้านเยน/คน โครงการดังกล่าวจะเพิ่มกำลังซื้อหุ้น เพื่อการออมสำหรับอนาคต และลดแรงขายระยะสั้นไปพร้อมกัน

สาม นโยบายไม่ใช่ให้บริษัทกู้เงินไปเติบโต แต่เติบโตจากการนำเงินที่มีออกมาใช้หรือคืนให้กับสังคม

ด้วยนโยบายทุนนิยมรูปแบบใหม่ของนายก Kishida (New Form of Capitalism) ที่ต้องการปรับเศรษฐกิจ 5 ประเด็นประกอบด้วย ลดการกระจุกตัวของธุรกิจ เพิ่มการลงทุน สนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ส่งเสริมความหลากหลาย และ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์

ทั้งหมดเป็นรูปธรรมเมื่อตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียน ต้องส่งแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ ต้นทุนทางการเงิน ไปจนถึงมีคำอธิบายธุรกิจที่ชัดเจน และมีงบการเงินเป็นภาษาอังกฤษ บริษัทที่มูลค่าตลาดต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีต้องหาทางแก้ไข ไม่ว่าจะไปลงทุนในธุรกิจใหม่ หรือไม่ก็ต้องจ่ายปันผล

ผมมองว่าทั้งหมดนี้ กำลังเป็นโอกาสและแรงส่งสำคัญที่จะหนุนให้เกิดการลงทุนในอนาคต

เมื่อพื้นฐานสนับสนุน ก็ต้องรู้ทันกันต่อไปว่า New High จะ Higher ได้อย่างไร

สำหรับผม Valuation ต้องสูงขึ้นได้ และต้องมีธีมใหม่ให้ลงทุนด้วย

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมากำไรของ TOPIX เติบโตเฉลี่ย 6.3% ต่อปี ปัจจุบันบนระดับการเติบโตของกำไรที่ราว 5-10% ต่อปี ขณะที่ LT P/E 19 เท่า ตีความได้ว่าหุ้นญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นไม่ใช่กลุ่มเติบโตสูง แต่มีราคาถูกกว่าหุ้นทั่วโลกที่ LT P/E 21 เท่า ถือว่าไม่ได้แพงจนต้องกังวล

ด้านธีมลงทุน ช่วงที่ผ่านมาธีม Tech และ Growth เป็นสองธีมขนาดใหญ่ที่นำตลาด

อนาคตถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทั้งสองกลุ่มมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นได้ต่อ นักลงทุนอาจเลือกหุ้นใน Nikkei 225 หรือกลุ่มเทคโนโลยีโดยตรงก็ได้

แต่ถ้าใครมองว่าตลาดจะเปลี่ยนธีม อาจเน้นไปที่กลุ่มเศรษฐกิจญี่ปุ่นในประเทศ มักเป็นหุ้นขนาดเล็กและธุรกิจ Health Care

นอกจากนั้นก็มีกระแสลงทุนตาม Value Investor คนดังอย่าง Warren Buffett ที่เน้นบริษัทคุณภาพสูงที่ Valuation ถูกซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นมูลค่าและหุ้นปันผลมี LT P/E ต่ำกว่าตลาดเพียง 14-18เท่า

แม้จะใช้เวลาถึงกว่า 33 ปี และไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต แต่ในที่สุดหุ้นญี่ปุ่นก็มีโอกาสทำ New High อีกครั้ง และผมมองว่าครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะ Higher ได้ ไม่ปีนี้ ก็ปีหน้าครับ

JAPAN - Land of Rising Stock Market

ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น Tokyo Stock Price Index (TOPIX)
ที่มา: Bloomberg และ CGS Macro and Wealth Research

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

มุมมองการลงทุน BottomLiner Optimal Megatrend Opportunities มิถุนายน 2023: กองทุน Semiconductor พุ่งแรงตามเทรนด์ AI

BottomLiner
มุมมองการลงทุน BottomLiner มิถุนายน 2023

จัดทำโดย Bottomliner วันที่ 31/05/2023 ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน Semiconductor ที่เราถือเป็นสัดส่วนหลักพุ่งแรงตามเทรนด์ AI

การมาของ ChatGPT และ Google Bard ที่ทำให้ Generative AI สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้หลายบริษัทในหลายอุตสาหกรรมก็นำมาพัฒนาต่อเป็นของตัวเอง เช่น กราฟฟิก, การเงิน, Healthcare, E-commerce และ Autonomous เป็นต้น

ทำให้ชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนา AI อย่าง Semiconductor ที่รวมถึง GPU, Memory และบริษัทที่เกี่ยวกับ Data center มีความต้องการสูงขึ้นอย่างมาก โดยเมื่อดูจากภาพจะเห็นว่าดัชนี S&P 500 ที่นำหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI ออกไป จะเห็นว่าผลตอบแทนต่างกันถึงราว ๆ 9%

Source: Datastrean, SG Cross Asset Research/Equity Strategy as of 11/05/2023

ล่าสุดกองทุน KKP-SEMICON-H ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Semiconductor (SOXX) พุ่งขึ้นกว่า 10% ในอาทิตย์เดียว เนื่องจากหุ้น NVIDIA ประกาศงบออกมา และคาดการณ์รายได้ Data Center โตแรงเกือบ 2 เท่าในไตรมาสหน้า ซึ่งเทรนด์ AI ผลักดันให้ NVIDIA เปลี่ยนจากหุ้นที่ Growth กำลังจะหมดกลายเป็นหุ้นที่เติบโตสูงอีกครั้ง ทำให้ราคาหุ้นเด้งแรงกว่า 28% เพียงอาทิตย์เดียว

เมื่อดูหุ้นที่อยู่ในกองทุน SOXX ถืออยู่นั้นจะมีหุ้นที่ได้ประโยชน์ AI ตรง ๆ เช่น Nvidia, AMD ที่เป็น Top Holding ของกองทุน เพียงแค่ 2 ตัวนี้ก็มีสัดส่วนมากถึง 20% เลย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกองทุน SOXX ถึงขึ้นแรงในอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยผลตอบแทนของกองทุน SOXX +41% ตั้งแต่ต้นปี และ +14.8% 1 ปีย้อนหลัง

Source: ishares.com as of 31/05/2023

ซึ่งตอนแรกกลยุทธ์ OMO ของเราเริ่มซื้อกองทุน Semiconductor เข้ามาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2022 10% เนื่องจากที่จีนเริ่มกลับมาเปิดเมืองและจะมีความต้องการใช้ชิพเพิ่ม หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นอีก เป็นสัดส่วน 22% ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมเนื่องจากสังเกตุเห็นเทรนด์ AI ที่มาแรงในช่วงนั้นอีกเช่นกัน

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐจะยังฟื้นได้ยากในเร็วๆนี้ เพราะ FED ต้องค้างดอกเบี้ยไว้เพื่อกดเงินเฟ้อให้ลงมาต่ออีก แล้วถึงจะสามารถเริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายต่อเศรษฐกิจได้

ฝั่งหุ้นจีน ยังไม่มีวี่แววที่ดีนัก หลังจากที่เปิดเมืองมาตั้งแต่สิ้นปีที่แล้วแต่รัฐบาลยังไม่มีประกาศงบสนับสนุนที่มากพอ เพราะ ติดปัญหาหนี้รัฐบาลท้องถิ่นที่สูง ทางด้านกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีภาคบริการ เช่น ecommerce, local consumption ยังไม่ฟื้นดีนักเพราะนักลงทุนยังกังวลเรื่องการถูกควบคุมอยู่ (แต่ฝั่ง Hardware ดีขึ้นเพราะรัฐเข้ามากระตุ้นแล้ว)

สรุปมุมมอง Bottomliner

แม้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะฟื้นได้ช้าจากเหตุที่กล่าวมาจากข้างต้น แต่กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเทรนด์ AI นั้นก็ยังมีโอกาสเติบโตต่อได้ในบาง Sector เช่น semiconductor เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องรีบลงทุนเพราะการมี AI ที่ล้ำหน้าจะช่วยให้บริษัทสร้างช่องทางหารายได้อีกเพียบ

Source: Tradingview as of 31/05/2023

ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner

Bottomliner


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

FINNOMENA ยกระดับความแข็งแกร่ง ระดมทุน Series B+ กว่า 5.5 ล้านดอลลาร์ ตอกย้ำการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนชั้นแนวหน้าของไทย

FINNOMENA
FINNOMENA ระดมทุน Series B+

FINNOMENA (ฟินโนมีนา) ประกาศความสำเร็จระดมทุนรอบ Series B+ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย Openspace Ventures, Finnoventure Private Equity Trust และ Gobi Partners มุ่งขยายสินทรัพย์ใหม่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตและความท้าทายของตลาดทุนโลก

นายเจษฏา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA Group เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกจะยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้านในปีนี้ ทาง FINNOMENA ยังคงได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบันเพื่อพัฒนาแพลต์ฟอร์มบริหารเงินลงทุน ทั้งในส่วนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคลที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง และสินทรัพย์ใหม่ ๆ ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นหุ้นกู้ Crowdfunding และ Investment Token 

“ในอีก 5 – 10 ปีข้างหน้า หน้าตาสินทรัพย์ลงทุนในพอร์ตของเราจะไม่เหมือนกับ 10 ปีที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว เรากำลังอยู่ในคลื่นของความเปลี่ยนแปลงของโลกการลงทุน ที่มีสินทรัพย์ชนิดใหม่ ๆ (New Asset Classes) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ FINNOMENA มุ่งหวังว่าจะตอบโจทย์การเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำที่มีสินทรัพย์ใหม่ ๆ ที่นักลงทุนต้องการ โดยใช้จุดแข็งของทีมแนะนำการลงทุน และทีม Content Creation ที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่สิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ให้กับนักลงทุนไทย” นายเจษฎา กล่าว

FINNOMENA สามารถปิดรอบการระดุมทุนรอบใหม่ Series B+ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่า 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีนักลงทุนสถาบันหลัก ได้แก่ 1) OSV Multiply Holdings โดย Openspace Ventures 2) Finnoventure Private Equity Trust โดย Krungsri Finnovate และ 3) Meranti Asean Growth Fund L.P. โดย Gobi Partners

“Openspace Ventures มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุน FINNOMENA ในฐานะ Lead investor ของการระดมทุนรอบ Series B+ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ด้วยความสนใจเรื่องการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นของคนไทย โดยเชื่อว่าการระดมทุนครั้งนี้จะช่วยให้ FINNOMENA ยืนหยัดในการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีบริหารความมั่งคั่ง ตลอดจนช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนไทย” นาย Matt Windsor Vice President, Openspace Ventures กล่าวเสริม

“ตลอด 5 ปีที่เราเข้าลงทุนใน FINNOMENA บริษัทฯ มีฐานนักลงทุนเติบโตต่อเนื่องจนแตะหลักแสนคน คิดเป็นมากกว่า 5% ของจำนวนนักลงทุนกองทุนในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรามั่นใจว่าบริษัทฯ มีศักยภาพขยายฐานนักลงทุนเป็นหลักล้านคนในระยะยาว จากความสนใจเรื่องการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของคนไทย และความตอบโจทย์ของ FINNOMENA ที่มีต่อสังคมนักลงทุนในเรื่องการสื่อสารให้ความรู้ ให้มุมมองการลงทุนต่อนักลงทุนในวงกว้าง รวมถึงนำเสนอบริการใหม่ ๆ อย่าง Goals Navigator ที่ให้บริษัทชั้นนำระดับโลกมาจัดพอร์ตให้กับนักลงทุน” นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต กล่าวทิ้งท้าย


เกี่ยวกับ FINNOMENA

FINNOMENA เป็นแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนชั้นนำของเมืองไทย โดยเป้าหมายหลักขององค์กรคือเพื่อปลดล็อกศักยภาพของนักลงทุนไทย ให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางเงินได้ตามที่คาดหวัง ปัจจุบัน FINNOMENA ดูแลนักลงทุนไทยกว่า 120,000 คน ด้วยเงินลงทุนรวมจากนักลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566) การให้บริการของ FINNOMENA ประกอบด้วย แพลตฟอร์มความรู้และมุมมองการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญที่มียอดเข้าชมถึงกว่า 3 ล้านครั้งต่อเดือน แพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาการลงทุนโดยที่ปรึกษาการลงทุนกว่า 2 พันคน และแพลตฟอร์ม Fund Supermart ของบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด

5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน

Finspace
5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน

“วอร์เรน บัฟเฟตต์” (Warren Buffett) บุคคลที่ได้รับการยอมรับในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาดหุ้น และยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับ 6 โดยมีมูลค่าสินทรัพย์มากกว่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยชื่อเสียงของบัฟเฟตต์จากปรัญชาการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) ทำให้หลายคนยกย่องเขาให้เป็นไอดอลด้านการลงทุนและนำปรัญชาของเขามาประยุกต์ใช้

วันนี้ FinSpace จึงขอมาแนะนำ 5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน จะมีหนังสือเล่มไหนบ้าง? ติดตามไปพร้อมกันได้เลย

5 หนังสือการลงทุนที่ Warren Buffett อยากให้ทุกคนอ่าน

1. The Intelligent Investor

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “Benjamin Graham” ผู้ที่ได้รับสมญานามให้เป็นบิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) โดยหนังสือเล่มนี้ Warren Buffett ชื่นชอบมากจนยกให้เป็นคัมภีร์แห่งการลงทุนเลยทีเดียว

หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยบทเรียนพื้นฐานที่เราต้องรู้เกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะเน้นไปที่ความสำคัญของการลงทุนในระยะยาว เครื่องมือวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อความสำเร็จทางการเงิน รวมถึงเทคนิคการควบคุมอารมณ์หุนหันพลันแล่นที่ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงเป้าหมาย

2. Security Analysis

หนังสือเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งในหนังสือที่ “Benjamin Graham” เขียนเช่นกัน โดยเป็นหนังสือที่จะทำให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐานที่จำเป็นในการประเมินการลงทุน มุ่งเน้นไปที่บทบาทของมูลค่าที่แท้จริงในการวิเคราะห์เป็นหลัก รวมถึงอธิบายถึงหลักการ Margin-of-Safety ของเบนจามินด้วยว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำกำไรได้อย่างไร ในหนังสือเล่มนี้เบนจามินจะแบ่งปันเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เทคนิคการเลือกหุ้นเด่นสำหรับลงทุน การวิเคราะห์งบดุลและบัญชีรายได้ รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยปันผลในหุ้นสามัญ

3. The Little Book of Common-Sense Investing

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “John C. Bogle” ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของ “The Vanguard Group” บริษัทจัดการลงทุนที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ ปี 2022) และเขายังเป็นผู้คิดค้นกองทุนดัชนี (Index Fund) อีกด้วย

ในหนังสือเล่มนี้เขาได้เผยกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนดัชนี และความมหัศจรรย์ของการทบต้น โดยเป็นหนังสือที่อธิบายว่าทำไมการลงทุนระยะยาวจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น

4. Common Sense on Mutual Funds

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี 1999 เขียนโดย “John C. Bogle” ตำนานแห่งวงการกองทุนรวมอีกเช่นกัน รูปแบบการนำเสนอของหนังสือเล่มนี้มีความตรงไปตรงมาและเข้าถึงได้ง่าย  โดยเนื้อหาจะพูดถึงการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของกองทุนรวมกับสภาพตลาดที่ผันผวนในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในอุตสาหกรรมกองทุนรวม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการสร้างพอร์ตการลงทุนที่นักลงทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกช่วงเวลา

5. Common Stocks and Uncommon Profits

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย “Philip Fisher” ผู้มีชื่อเสียงในด้านการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทที่เขาจะเข้าไปลงทุน เป็นหนังสือที่สอนให้นักลงทุนวิเคราะห์คุณภาพของธุรกิจ โดยฟิชเชอร์กล่าวว่าการดูเพียงงบการเงินนั้นไม่เพียงพอ เราต้องตรวจสอบการดำเนินงานและการจัดการของบริษัท ไปจนถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทด้วย นอกจากนี้ฟิชเชอร์ยังแบ่งปันกลยุทธ์ในการหาหุ้นเติบโต พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ต้องดูก่อนซื้อหุ้น และข้อควรระวังเพื่อการเป็นนักลงทุนที่ดีในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข่าใจในปรัญชาการลงทุนของเขามากขึ้น

อ้างอิง:

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/5-books-warren-buffett-want-everyone-read/

FINNOMENA Tactical Call : ดัชนีหุ้นเวียดนาม VN30 กลับเข้าเก็งกำไรได้อีกครั้ง หลังเริ่มมี Momentum ที่แข็งแกร่ง

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Tactical Call VN30

ความกังวลในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ผิดนัดชำระหนี้ การใช้เงินทุนผิดวัตถุประสงค์ การกำจัดการคอรัปชั่นในเวียดนาม เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง สร้างแรงกดดันให้ดัชนี VN30 ซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดหุ้นเวียดนาม และเป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับคำแนะนำ Tactical Call ของ FINNOMENA Investment Team เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวในกรอบแคบนานกว่า 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในเชิง Technical พบว่าการเคลื่อนไหวของราคายังคงอยู่ในกรอบแคบ Sideway ยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน (MA20) ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่ยืนยันถึงแนวโน้มระยะสั้น พร้อมด้วยการทำ Pattern Higher Low ท่ามกลางปัจจัยเชิงลบจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่องสะท้อนความแข็งแกร่งของตลาด

FINNOMENA Tactical Call VN30รูปที่ 1 กราฟดัชนี VN30 TF Day Source: Tradingview as of 02/06/23

จนกระทั่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี VN30 สามารถปรับตัวขึ้นเหนือ MA 200 วัน ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่ยืนยันถึงแนวโน้มระยะยาว สะท้อนการฟื้นตัวของ Momentum หรือมุมมองเชิงบวกของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นเวียดนามที่มากขึ้น

FINNOMENA Investment Team จึงเปลี่ยนแปลงคำแนะนำของการเก็งกำไร Tactical Call ดังนี้

1. เปลี่ยนคำแนะนำจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ”

2. พร้อมทั้งเปลี่ยนจุดแนะนำชะลอเข้าลงทุนเป็น ที่ระดับราคาไม่เกิน 1,120 จุด (+3.0% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 02/06/2023) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1 

และหากหลังจาก FINNOMENA Investment Team แนะนำ Tactical Call แล้ว ดัชนี VN30 ปรับตัวลงต่ำกว่า 1,120 จุด และปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,120 จุดอีกครั้ง FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำให้ ชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ให้คำแนะนำครั้งแรก

3. แนะนำ Take Profit 2 ระดับ

– โดยมีเป้าหมายแรกที่แนะนำขายทำกำไรบางส่วน เมื่อดัชนี VN30 ปรับตัวขึ้นถึง 1,230 จุด (Upside 13.62% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 02/06/2023)  ซึ่งตรงกับแนวต้าน Fibonacci Retracement 50.0% ของรอบขาลงและใกล้เคียงกับแนวรับสำคัญในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2022

– และขายทำกำไรทั้งหมด เมื่อดัชนี VN30 ปรับตัวขึ้นถึง 1,310 จุด  (Upside 20.52% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 02/06/2023)  ซึ่งตรงกับแนวต้าน Fibonacci Retracement 61.8% ของรอบขาลงและใกล้เคียงกับแนวสะสมกำลังในช่วงพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2022

4. และแนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อดัชนีปิดตลาดต่ำกว่า 1,000 จุด (Downside 8.00%) ซึ่งเป็นระดับที่ดัชนีกลับมาปรับตัวหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน และต่ำกว่า Higher Low ในช่วงครั้งแรกในช่วงเดือนพฤษภาคม

นักลงทุนที่เหมาะกับ Tactical Call ระยะสั้นนี้ควร…

  1. เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง
  2. ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
  3. นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนระยะยาวตามคำแนะนำ MEVT Call ซึ่งจะเน้นเสาะหาโอกาสการตาม MEVT Framework ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยเชิงมหภาค (Macro), กำไร (Earnings), มูลค่า (Valuation) และปัจจัยเชิงเทคนิค (Technic) โดยจะเป็นมุมมองการลงทุนในระยะกลางราว 6-12 เดือน ส่วนการขายทำกำไรหรือขายตัดขาดทุน จะมาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิค ยังคงบ่งชี้ว่าเวียดนามมี Upside ที่สูงจาก Valuation ที่ซื้อขายกันที่ระดับ PE 9.01x หรือเท่ากับ -1.5 SD เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจยังถูกคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยใกล้เคียง 6% เหนื่อค่าเฉลี่ยทั่วโลก เราจึงยังคงแนะนำลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้ดัชนี VN30 จะปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,120 จุดตาม Tactical call ในครั้งนี้ก็ตาม เนื่องจาก 

ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของรูปแบบการลงทุน อาทิ

  • วัตถุประสงค์การลงทุน : MEVT Call เป็นไปเพื่อลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานที่ดี Valuation ที่เหมาะสม เพื่อสะสมลงทุนในระยะ 6 – 12 เดือน ขณะที่ Tactical Call เป็นไปเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
  • เงื่อนไขการลงทุน : MEVT Call เป็นการเข้าลงทุนเพื่อสะสมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ซึ่งลดความเสี่ยงผ่านการซื้อเมื่อดัชนีมีมูลค่าถูกเมื่อเทียบกับการเติบโตในระยะยาว ขณะที่ Tactical Call เป็นการเข้าลงทุนตามสัญญาณทางเทคนิค(Technical Analysis) และคุมความเสี่ยงโดยการ Stop Loss

PRINCIPAL VNEQ-A

FINNOMENA Tactical Call VN30

รูปที่ 2 สัดส่วนการลงทุนของ PRINCIPAL VNEQ-A | Source: PRINCIPAL.th. as of 02/06/23 Fund Data As of 30/04/2023

กองทุนเป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลัก ในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟตราสารทุนต่างประเทศ ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

รู้จัก Trillion Dollar Club บริษัทล้านล้านเหรียญ

Park Kathawut
Trillion Dollar Club

Trillion Dollar Club คือชื่อเรียกของบริษัทชั้นนำของโลก ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) เกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 35 ล้านล้านบาท 

พูดอีกอย่างคือเป็นกลุ่มบริษัทซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของตลาดทุน และเศรษฐกิจโลก เพราะตัวเลข 1 ล้านล้านดอลลาร์ นั้นสูงกว่าทั้งมูลค่า SET Index รวมทั้งมูลค่าเศรษฐกิจไทย ที่อยู่ประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

วันนี้เราจึงได้สรุป 5 บริษัท Trillion Dollar Club (อัปเดตข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2023) พร้อมเกร็ดข้อมูลธุรกิจสนุก ๆ มาฝากกัน

1. Apple (AAPL)

ผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น iPhone iPad Mac รวมถึงระบบปฏิบัติการ iOS

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $2.83 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $2.94 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อสิงหาคม 2018
  • ใช้เวลา 44 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

2. Microsoft (MSFT)

ผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายซอฟแวร์สำหรับการทำงาน Microsoft Office และระบบปฏิบัติการ  Windows นอกจากนี้ ยังได้เข้าลงทุนในบริษัท OpenAI เจ้าของ ChatGPT อีกด้วย

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $2.47 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $2.94 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อเมษายน 2019
  • ใช้เวลา 33 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

3. Saudi Aramco (2222 : Tadawul)

บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการสำรวจและขุดเจาะ กลางน้ำอย่างโรงกลั่น ไปจนถึงปลายน้ำอย่างปิโตรเคมี

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Tadawul ซาอุดีอาระเบีย
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $2.06 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $2.45 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อธันวาคม 2019
  • มีมูลค่าแตะ $1 Trillion ทันทีหลัง IPO

4. Alphabet (GOOGL)

บริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในธุรกิจหลักอย่าง Google ผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินเบอร์หนึ่งของโลก แพลตฟอร์มวิดีโอ YouTube และระบบปฏิบัติการ Android

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $1.58 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $1.98 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อกรกฎาคม 2020
  • ใช้เวลา 22 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

5. Amazon (AMZN)

ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ช และให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง Amazon Web Services (AWS)

Fun Facts

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐฯ
  • มูลค่าบริษัท ณ ปัจจุบัน $1.26 Trillion
  • มูลค่าบริษัทที่เคยขึ้นจุดสูงสุด $1.88 Trillion
  • เข้าร่วม Trillion Dollar Club ครั้งแรกเมื่อเมษายน 2020
  • ใช้เวลา 26 ปีหลัง IPO กว่าจะมีมูลค่าแตะ $1 Trillion

หมายเหตุ : อ้างอิงมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2023

Trillion Dollar Club

อย่างไรก็ตาม มีหลายบริษัทที่มีโอกาสเข้ามาสัมผัสทำเนียบ Trillion Dollar Club แต่ไม่สามารถยืนระยะได้อย่างมั่นคง 

ล่าสุดก็คือกรณีของ Nvidia (NVDA) ผู้ผลิตชิป GPU ที่มีแรงหนุนจากการเติบโตของเทคโนโลยี AI จนสร้างปรากฎการณ์มีมูลค่าตลาดเกิน $1 Trillion ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2023 แต่สุดท้ายราคาก็ค่อย ๆ ปรับตัวลดลง จนหลุดตำแหน่งในที่สุด

เช่นเดียวกันบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่ง เช่น Tesla (TSLA), Meta Platforms (META) และ Petro China (0857 : HK) ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีมูลค่าพีททะลุ $1 Trillion

รวมถึงตัวแทนจากจีนอย่าง Tencent และ Alibaba ครั้งนึงก็เคยมีลุ้นเข้ามาทำเทียบบริษัทล้านล้านเหรียญ แต่ก็ได้เพียงเฉียดไปเฉียดมา พอให้นักลงทุนได้ลุ้นกันเป็นระยะ 

สรุปบริษัทที่เคยเข้าร่วม Trillion Dollar Club ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

บริษัท วันที่เข้าร่วม มูลค่าสูงสุดที่เคยไปถึง
Apple Aug 2018 $2.94
Microsoft Apr 2019 $2.58
Aramco Dec 2019 $2.45
Alphabet Jul 2020 $1.98
Amazon Apr 2020 $1.88
Meta Jun 2021 $1.07
Tesla Oct 2021 $1.23
Nvidia May 2023 $1.02

แหล่งข้อมูล

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

FINNOMENA
รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

กองทุนไหนดี? รวบรวม 10 อันดับกองทุนผลตอบแทนดีในแต่ละเดือนของปี 2566 มาไว้ที่นี่แล้ว!

สารบัญ

รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนมกราคม 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: ASP-DIGIBLOC, KFINNO-A, TMB-ES-INTERNET, T-ES-GINNO, TMB-ES-GINNO, SCBNEXT(A), SCBINNO(A), ONE-GECOM, SCBFINTECH(A), TMB-ES-FINTECH

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: MEGA10-A, BCAP-DISRUPT, KT-WTAI-A, TNEXTGEN-A, SCBFST, ABAG, TCYBER, T-ES-GTECH, KWI EE EURO, KF-EUROPE

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน MEGA10: โอกาสลงทุนใน 10 บริษัท ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนมีนาคม 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: DAOL-GOLD, LHESPORT-A, LHESPORT-D, DAOL-PLAY, SCBGOLDH, KT-PRECIOUS, UOBSG – H, PRINCIPAL IGOLD-A, K-GOLD-C(A), KF-HGOLD, KT-GOLD

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนเมษายน 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: ONE-GLOBFIN-RD, ONE-GLOBFIN-RA, ASP-DIGIBLOC, ASP-OIL, KT-ENERGY, TUSOIL, TOIL6, TFINTECH, KWI EE EURO, I-OIL, KT-OIL

10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนพฤษภาคม 2023

รวม 10 อันดับ กองทุนผลตอบแทนดี ประจำเดือนปี 2023

คลิกที่ชื่อกองทุนเพื่อดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม: KKP SEMICON-H, SCBSEMI(A), KFGTECH-A, KKP TECH-H, ONE-METAVERSE, ASP-DIGIBLOC, ES-USTECH, M-META, KKP NDQ100-H, K-USXNDQ-A(A), K-USXNDQ-A(D)

สามารถกรองการจัดอันดับได้เอง พร้อมข้อมูลอัปเดตล่าสุดที่ FINNOMENA Fund Filter

รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน  จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 66)

premiums
สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 66)

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 66)

1. TISCOSTF – กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรระยะสั้น

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.64%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.37%

ซื้อกองทุน TISCOSTF คลิก

2. MMGOVMF – กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตรตลาดเงิน ชนิดเพื่อการลงทุน

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.55%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.38%

ซื้อกองทุน MMGOVMFลิ

3. TCMFENJOY – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย 

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.50%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.60%

4. TCMF – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.46%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.53%

ซื้อกองทุน TCMF คลิก

5. BCAP-MONEY – กองทุนเปิดบีแคป มันนี่ มาร์เก็ต

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.46%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.61%

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: TISCOSTF, MMGOVMF, TCMFENJOY, TCMF, BCAP-MONEY

หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 1 มิ.ย. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมตลาดเงิน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น 2.14% หลัง PMI จีนดีกว่าคาด ฟื้นความมั่นใจ

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น 2.14% หลัง PMI จีนดีกว่าคาด ฟื้นความมั่นใจ

เช้านี้ (2 มิถุนายน 2023) ดัชนี Hang Seng ปรับตัวขึ้นกว่า 2% ตามทิศทางการปรับตัวขึ้นของดัชนี S&P 500 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น 0.99% จากความคาดหวังการผ่านร่างงบประมาณที่คาดว่าจะสิ้นสุดได้ก่อนวันที่ 6 มิถุนายน ขณะที่ดัชนี STOXX50 ตลาดหุ้นยุโรป ปรับตัวขึ้น 0.94% จากตัวเลขเงินเฟ้อ 6.1% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์นักวิเคราะห์ที่ 6.3% ช่วยลดแรงกดดันความเข้มงวดในการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป

นอกจากนั้นแล้วยังได้แรงหนุนจาก Caixin Manufacturing PMI ที่ยังอยู่ในโซนขยายตัวที่ 50.9 มากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 50.3 และกลับมาขยายตัวจากเดือนที่ผ่านมาที่ 49.5 สวนทางดัชนี Manufacturing PMI ที่จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลการขนส่งของจีนที่ประกาศออกมาในวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่ออกมาที่ระดับ 48.8 ทำให้ตลาดกลับมามีความมั่นใจมากขึ้น

โดยเมื่อพิจารณาในรายอุตสาหกรรม พบว่ากลุ่มที่ปรับตัวขึ้นมากที่สุดเป็นกลุ่ม Technology ที่ปรับตัวขึ้น 2.81% กลุ่ม Consumer Cyclicals ปรับตัวขึ้น 3.30% และ Financials ปรับตัวขึ้น 1.65%

FINNOMENA Investment Team มองว่าในช่วงสั้นแนวโน้มเศรษฐกิจจีนเริ่มสะดุดจากการฟื้นตัวไม่เต็มของภาคการบริโภค ซึ่งสะท้อนจากความมั่นใจผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากระดับหนี้ของจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่เราคาดว่าในระยะถัดไปเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวได้ต่อหลังจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางฟื้นตัวมากขึ้นหลังยกเลิกมาตรการ Zero Covid และการฟื้นตัวของการบริโภคในจีนที่จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โดยดัชนีหุ้น All China มี Valuation ลดลงมาต่ำกว่า -1 S.D. และดัชนี Hang Seng ปรับตัวลงมากว่า -2 S.D. เมื่อเทียบกับหุ้นโลก เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากราคาลงมาในจุดที่ Valuation น่าสนใจ อีกทั้งเศรษฐกิจจีนยังมี upside ให้ฟื้นตัว

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

News Update: นักวิเคราะห์มองหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสบวกอีก 10% แม้ทำจุดสูงสุดรอบ 33 ปีแล้ว มองราคายังไม่แพง P/BV แค่ 1.3 เท่า เทียบกับ S&P 500 ที่ 4 เท่า

THE OPPORTUNITY
News Update: นักวิเคราะห์มองหุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสบวกอีก 10% แม้ทำจุดสูงสุดรอบ 33 ปีแล้ว มองราคายังไม่แพง P/BV แค่ 1.3 เท่า เทียบกับ S&P 500 ที่ 4 เท่า

หุ้นญี่ปุ่นมีโอกาสพุ่งขึ้นอีก 10% หลังจากเพิ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ทศวรรษ ท่ามกลางแรงหนุนจากกำไรที่เติบโต การซื้อหุ้นคืน และการประเมินมูลค่าที่ไม่แพง

มุมมองจาก CLSA Securities Japan และ Monex มองว่า แนวโน้มกำไรบริษัทที่ดี การปรับปรุงบรรษัทภิบาล รวมถึงการสนับสนุนครั้งใหม่ของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Warren Buffett เป็นตัวเร่งให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งทะยาน

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทในดัชนี Topix จะเพิ่มขึ้นประมาณ 6% ในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2024  

Takashi Hiroki หัวหน้านักกลยุทธ์ของ Monex โบรกเกอร์ออนไลน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ว่า แนวโน้มกำไรของบริษัทญี่ปุ่นดูดี มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวขาเข้าที่เพิ่มขึ้น ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ก็มีแนวน้มที่กำไรจะโตอีก 10% หรือมากกว่านั้นภายในสิ้นปีนี้

แม้จะแตะระดับสูงสุดในรอบ 33 ปี แต่นักวิเคราะห์มองว่า ราคาหุ้นญี่ปุ่นถือว่าไม่แพง เมื่อพิจารณาจาก P/BV หรืออัตราส่วนราคาตลาดของหุ้น หารกับมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นที่ 1.3 เท่า เทียบกับ ดัชนี S&P 500 ที่ 4 เท่า และ Stoxx Europe 600  ที่ 1.8 เท่า

การประเมินมูลค่าที่ถูกคือเหตุผลหลักที่ Nicholas Smith นักยุทธศาสตร์ของ CLSA คาดการณ์ว่า ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นอีก 10%

Bruce Kirk หัวหน้านักยุทธศาสตร์หุ้นของญี่ปุ่นของ Goldman Sachs Group ก็ Bullish ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเช่นกัน โดยมองว่า ตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์ของรัฐบาล ผู้กำกับดูแล และตลาดอยู่ในจุดที่เหมาะสม 

หลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงแรงเมื่อวันที่ 15 มี.ค. Topix เป็นดัชนีที่ทำผลตอบแทนได้มากสุดในตลาดหลัก โดย Topix บวกขึ้นมา 8.5% ส่วน S&P 500 +5.6% ส่วน MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้นมา 3.4% 

ที่มา: https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-16/asia-beating-japan-stocks-seen-rising-10-more-on-earnings-boost?sref=e4t2werz

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตประจำเดือนมิถุนายน 2023: ยังคงกลยุทธ์ Blend แต่เพิ่ม hedging recession

WealthGuru
Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตมิถุนายน

ก่อนจะอ่านบทความนี้ ขอให้อ่านบทความ เปิดเผยผลวิจัยการลงทุน ใครชนะ ใครแพ้ในรอบ 10 ปี !!!!!!!! ก่อน

ผลดำเนินการของ Global Asset ตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2023

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตมิถุนายน

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตมิถุนายน

Figure 1: ผลทดสอบจาก portfoliovisualizer.com ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2023

ข้อสังเกต

  • กลุ่มยุโรป ฟื้นตัวต่างจากนักวิเคราะห์คาดการณ์
  • กลุ่มจีน ไม่ได้ดีอย่างที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
  • เกิด Sector Rotation โดยกลุ่มหุ้นเติบโต เช่น technology หรือ consumer discretionary จะนำกลุ่ม value เช่น Consumer Staple และ Healthcare 

ผลดำเนินการของ Fund ใน Watch-list ในช่วง 5 ปีที่ผ่าน

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตมิถุนายน

Figure 2: จาก Fund Factsheet ของแต่ละกองทุน ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2023

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตมิถุนายน

Figure 3: จาก Fund Factsheet ของแต่ละกองทุน ณ วันที่ 20 มิถุนายน  2023

ยังคงกลยุทธ์ Blend แต่เพิ่ม hedging recession

Global Aggressive Hybrid ปรับพอร์ตมิถุนายน

  • ยังเน้นผสม Value Style และ Growth Style เพื่อไม่พลาดโอกาสตอนตลาดฟื้นตัว และไม่เสียหายมากตอนตลาดเกิด Recession โดยสัดส่วน Growth Style (K-USXNDAQ-A, T-PREMIUM BRAND ,SCBSEMI(A), B-INNOTECH ต่อ Value Style (SCBPGF, TISCOGC, KFHEALTH-A) อยู่ที่ 40% ต่อ 40% เท่ากัน
  • เพิ่มการ Hedging Recession  โดย
    • ขาย TMBGINFRA 10% แล้วไปซื้อทองคำ กองทุน SCBGOLD
    • ขาย KFVIET-A 5% ไปซื้อกลุ่มอุตสาหกรรม Healthcare กองทุน KFHEALTH-A เพิ่มจากเดิม 10% เป็น 15%

สนใจลงทุนในพอร์ต Global Aggressive Hybrid พอร์ตกองทุนที่จัดโดย WealthGuru ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้เงินสร้างความมั่งคั่งในอนาคต สามารถสร้างแผนได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-wealthguru-hybrid-create/

WealthGuru


โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน  โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองประจำเดือนมิถุนายน 2023: เน้นลงทุนในกลุ่มหุ้น Defensive

บลจ.กรุงศรี

มุมมองตลาดปัจจุบัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคมได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐ เนื่องจากการเจรจาขยายเพดานหนี้มีความยืดเยื้อ จึงมีแรงกดดันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการที่นาย James Bullard ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ ให้ความว่า เฟดควรขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ซึ่งสวนทางกับคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าเฟดใกล้จะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว

สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก โดยมีสาเหตุหลักจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองในประเทศ เนื่องจากนักลงทุนมองว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น และนโยบายของรัฐบาลใหม่อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมและส่งผลลบต่อบางธุรกิจ

ในส่วนของตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือน หลังเจ้าหน้าที่เฟดบางท่านให้ความเห็นสนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากมองว่ามีโอกาสที่เงินเฟ้อจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ คาดว่าในระยะสั้น ตลาดหุ้นจะยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองภายในประเทศ  อย่างไรก็ดี การที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐใกล้อยู่ที่จุดสูงสุดหรืออาจจะอยู่ที่จุดสูงสุดแล้ว น่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นโดยรวมในระยะถัดไป  ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงยังคงเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้น defensive เพื่อรอความชัดเจนของทิศทางการดำเนินนโยบายของเฟด และลงทุนในหุ้นจีนซึ่งมีสัญญาณฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศ รวมถึงความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน

พอร์ตการลงทุน

ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 26 พฤษภาคม 2023

ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 26 พฤษภาคม 2023

กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค

กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ

KFAFIX-A:

  • กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว  จะยังคงต้องเผชิญกับความผันผวนในระดับสูงต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 จากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทยอยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็ยค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสู่ระดับ 2.00% – 2.25%  ในปีนี้ในขณะที่มีความเป็นได้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯครั้งล่าสุดของ FED สู่ระดับ 5.00-5.25% ได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยในแถลงการณ์ภายหลังการประชุม FOMC เมื่อวันที่ 3 พ.ค. มิได้มีการระบุว่าคณะกรรมการฯเห็นควรให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป อย่างไรก็ตาม FED ยังคงปฏิเสธมุมมองของตลาดที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลังของปี 66 ดังนี้นเพื่อรองรับความผันผวนดังกล่าว ทำให้การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนยังคงสามารถช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้ โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนยังคงมีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 1.9 – 3.0 ปี

กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ

KF-SINCOME/ KF-CSINCOM:

  • เนื่องจากผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้นของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นมามาก เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนจึงเน้นลงทุนบนตราสารหนี้ที่มีอายุสั้นลง เพื่อรับประโยชน์ดังกล่าว และยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนด้านราคา หากเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับตัวลดลงเมื่อเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

กองทุนตราสารทุนในประเทศ

KFDYNAMIC

  • กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว ตามผลการดำเนินของบริษัทฯที่กองทุนคัดเลือกลงทุน

กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity

KFGBRAND-A/KFGBRAND-D:

  • กองทุนมีการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง มีรายได้และกำไรเติบโตสม่ำเสมอ ทำให้กองทุนมีความผันผวน และการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับภาวะที่ตลาดยังคงมีความผันผวน

KF-EUROPE/ KFHEUROP-A:

  • ตลาดยุโรปปรับตัวดีขึ้น หลังจากตลาดคลายความกังวลเรื่องสภาพคล่องทางการเงินของกลุ่มธนาคาร โดยภาพเศรษฐกิจของยุโรปส่งสัญญาณขยายตัวได้ดีกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ตาม ทาง ECB ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจกดดันต่อหุ้นกลุ่มการเติบโตสูง ทั้งนี้ ยังต้องระวังเรื่องราคาพลังงานที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังกลุ่ม OPEC ตัดสินใจลดการผลิต

KFACHINA-A :

  • ตลาดจีนทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยนักลงทุนมองว่าภาพเศรษฐกิจจีนจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งตาม เป้าหมายที่วางไว้ที่ 5% ได้ อีกทั้งแรงกดดันในด้านการควบคุม และกำกับดูแลของรัฐบาลจีนในกลุ่มอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีทยอยหมดลง อย่างไรก็ตามตลาดจีนยังคงมีความผันผวน โดยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีนเป็นไป ได้ช้ากว่าที่หลายฝ่ายคาด ส่วนหนึ่งมาจากการมองว่าจีนอาจไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในปีนี้อีกทั้งภาคอสังหาฯเองยังคงเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่

KFHHCARE :

  • กลุ่ม Healthcare ปรับเพิ่มขึ้น ท่ามกลางภาวะตลาดที่ผันผวน สะท้อนลักษณะ เฉพาะตัวของกลุ่ม Healthcare ที่มีความเป็นเชิงรับ ซึ่งช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม

KFUSINDX :

  • ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นหลัง FED มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps ในการประชุมเดือนพฤษภาคมและส่งสัญญาณว่าอาจมีการหยุดการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสำหรับปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นเติบโตสูงที่ได้รับแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยมาต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความผันผวนยังคงมีอยู่จากความกังวลในกลุ่มธนาคารขนาดกลางและเล็กในสหรัฐฯ

ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 26 พฤษภาคม 2023

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร  0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

รีวิวกองทุน B-ASIA: เกลียวคลื่นการเติบโตแห่งเอเชีย ลงทุนในมหาอำนาจ ทั่วแดนตะวันออก

Finspace

พูดถึงมหาอำนาจหลายคนอาจจะนึกภาพของชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ หรือประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่เอาเข้าจริงยังมีประเทศอีกมากที่ถือว่าแข็งแกร่งไม่น้อยเลย โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องเป็นชาติตะวันตกเสมอไป

“คุณพูดไม่ได้หรอกว่าคุณเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หากคุณยังไม่ได้ฝากรอยเท้าที่ยิ่งใหญ่ไว้ในเอเชีย”

Parag Khanna ผู้เขียนหนังสือ The Future Is Asian ให้สัมภาษณ์กับ McKinsey & Company

อนาคตคือเอเชีย

แม้จีนจะเป็นประเทศถัดมาที่หลายคนน่าจะนึกถึง หากเราพูดถึงอำนาจหรือเศรษฐกิจ แต่ Khanna ย้ำว่าเอเชียเป็นทวีปที่กว้างขวางที่สุด และเป็นที่อยู่ของผู้คนเกือบ 3 ใน 5 ของโลก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถึงจีนจะเป็นมหาอำนาจในเอเชีย แต่ทวีปที่กว้างใหญ่แห่งนี้ก็ไม่ได้มีแค่จีน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เอเชียยังมี เกาหลีใต้ เจ้าของบริษัทระดับโลกและมีการส่งออกวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง, ฮ่องกง ศูนย์กลางการเงินที่แม้แต่บริษัทดัง ๆ จากจีนก็ต้องมาจดทะเบียนในตลาดนี้, อินเดีย ที่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแทนจีนและแข็งแกร่งมากในด้าน STEM, อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและในบรรดาประเทศมุสลิมทั้งหมด ไปจนถึงสิงคโปร์ ที่เป็นศูนย์กลางการเงินอีกแห่งในเอเชียและผลิตสตาร์ทอัพออกมามากมาย

โอกาสแห่งอนาคตของเอเชียถูกเน้นย้ำให้ชัดเจนขึ้นไปอีกจากเรื่องราวการเติบโตที่กำลังจะมาถึง เพราะสหรัฐฯ และยุโรปจะโตได้ไม่เกิน 2% ต่อปี ในปี 2023 และ 2024 จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สวนทางจีนและอินเดียที่โตได้มากกว่า 4.5% ต่อปีในช่วง 2 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ถ้ามองภาพให้ใกล้กับปัจจุบันมากขึ้น เศรษฐกิจในฝั่งตะวันออกเดินหน้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังจากที่จีนประกาศเปิดประเทศ ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญต่อการเติบโตของตลาดหุ้นเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในปีนี้ หลังจากได้ปรับฐานลงจากจุดสูงสุดก่อนการระบาดของ Covid-19 จนมีมูลค่าที่น่าสนใจ ในขณะที่ตลาดหุ้นฝั่งตะวันตกยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อสูง แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง และการเข้าสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรป

กองทุน B-ASIA คืออะไร ลงทุนที่ไหน มีกลยุทธ์อย่างไร

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย หรือ B-ASIA เปิดโอกาสการลงทุนในตลาดเอเชียอันร้อนแรงผ่านหน่วยลงทุนของ Invesco Funds – Invesco Asian Equity Fund, Class C (AD) USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุน B-ASIA มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลักที่มีนโยบายการดำเนินงานแบบ Active Management

ทั้งนี้ กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะ ดังนี้

  1. จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย
  2. จดทะเบียนในประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียแต่ดำเนินธุรกิจหลักในประเทศภูมิภาคเอเชีย
  3. บริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การลงทุนในแถบภูมิภาคเอเชียดังกล่าวไม่รวมถึงประเทศ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

กลยุทธ์ของกองทุนหลักซึ่งบริหารจัดการโดย Invesco Management SA คือ การสร้างผลตอบแทนระยะยาวในตลาดเอเชียด้วยการเสาะหาบริษัทที่มีรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน สร้างเงินสดเก่ง มีงบดุลแข็งแกร่ง แต่อาจอยู่นอกความสนใจของตลาดชั่วครั้งชั่วคราว แล้วเข้าซื้อในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงที่สุด

ชนะขาดด้วยผลงานจับต้องได้

Invesco Asian Equity Fund เป็นกองทุนที่มีผลงานน่าประทับใจ ได้เรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar นอกจากนี้ กองทุนหลักยังสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าดัชนี MSCI AC Asia ex Japan ซึ่งเป็น benchmark ของกองทุนมาได้อย่างต่อเนื่อง

รูปที่ 1: Invesco Asian Equity Fund Cumulative Performance, Source: Invesco Asian Equity Fund Factsheet as of 30/4/2023

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

Top 10 Holdings Asian Equity Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 66)

รูปที่ 2: Invesco Asian Equity Fund Top 10 Holdings, Source: Invesco Asian Equity Fund Factsheet as of 30/4/2023

คว้าโอกาสจากบริษัทชั้นนำทั่วเอเชีย

การปรับสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนหลักสะท้อนให้เราเห็นได้ชัดเจนว่ากองทุนนี้คือกองทุนที่พร้อมรับทุกโอกาสในเอเชีย ไม่จำกัดอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป อย่างล่าสุด Invesco Asian Equity Fund มีการปรับสัดส่วนหุ้นจีนลงจากเมื่อสิ้นเดือนมกราคม 1.6% และให้น้ำหนักในตลาดอินเดียเพิ่มขึ้นผ่านการลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท Housing Development Finance Corp (HDFC) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อด้านการเคหะของอินเดีย

ในบรรดา 5 บริษัทที่ทางกองทุนหลักถือหุ้นเอาไว้มากที่สุด ก็มีเพียงกองทุนเดียวที่เป็นบริษัทจีน คือ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีทั้งแพลตฟอร์มสื่อสาร (WeChat และ QQ) ดิจิทัลคอนเทนต์ (WeTV) และธุรกิจฟินเทค ส่วนบริษัทอื่น ๆ ได้แก่ TSMC ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน และ Samsung Electronics ของเกาหลีใต้

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทชั้นนำอีกหลายบริษัทที่ทางกองทุนเข้าไปลงทุน เช่น AIA Group บริษัทประกันภัยชั้นนำจากฮ่องกง Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซจากจีนที่ยังมีธุรกิจคลาวด์และมีเดียในมือ Ping An Insurance แบรนด์ประกันจีนที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก NetEase ผู้ผลิตเกมจากจีนเจ้าของเกม Identity V และเกมอื่น ๆ Samsung Fire & Marine Insurance บริษัทประกันอัคคีภัยและประกันทางทะเลของ Samsung บริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ และ ICICI Bank อีกหนึ่งธนาคารชั้นนำจากอินเดีย

รูปที่ 3: เปรียบเทียบการจัดสรรการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนหลัก Invesco Asian Equity Fund เมื่อสิ้นสุดเดือนมกราคมและมีนาคม, Source: หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญกองทุนรวมบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) รอบกุมภาพันธ์ 2566 และรอบเมษายน 2566

รายละเอียดอื่น ๆ ของ B-ASIA (ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566)

  • กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) เป็นกองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศในกลุ่ม Asia Pacific ex Japan
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Invesco Funds – Invesco Asian Equity Fund, Class C (AD) USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
  • กองทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
  • กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะ ดังนี้ (1) จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย หรือ (2) จดทะเบียนในประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียแต่ดำเนินธุรกิจหลักในประเทศภูมิภาคเอเชีย หรือ (3) บริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ การลงทุนในแถบภูมิภาคเอเชียดังกล่าวไม่รวมถึงประเทศ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
  • มีการลงทุนใน Derivatives เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ
  • กองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.0% ของมูลค่าที่ซื้อ
  • ค่าธรรมเนียมขาย ยกเว้น
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 500 บาท
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป 500 บาท

สรุปจุดเด่นของกองทุน B-ASIA

กองทุน B-ASIA เป็นกองทุนในกลุ่ม Asia Pacific ex Japan ที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทเอเชีย บริษัทที่มีธุรกิจหลักในเอเชีย หรือบริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทเอเชีย ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันอันยั่งยืน เน้นการเติบโตระยะยาวสอดคล้องไปกับโอกาสการเติบโตในอนาคตของภูมิภาค สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://finno.me/fund-b-asia

แหล่งอ้างอิง

https://www.invesco.ch/en-ch/fund-centre/invesco-asian-equity-fund?audienceType=investor
https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/summary
https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/asia#content
https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2023/04/11/world-economic-outlook-april-2023
https://www.worldometers.info/geography/7-continents/
https://www.mckinsey.com/featured-insights/asia-pacific/why-the-future-is-asian
https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=904&language=ENG

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

5 ประโยคทองของมิจฉาชีพชวนลงทุน รู้ให้ทันก่อนหลงเชื่อ

Bitkub Exchange

เมื่อพูดถึงการลงทุนหลายคนย่อมมองเห็นข้อดีชัดกว่าข้อเสียว่าเป็นวิธีที่ได้มาซึ่งผลกำไรในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง แต่สิ่งสำคัญที่คนมักมองข้ามไปคือ การระวังตัวและรู้เท่าทันกลโกงการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมิจฉาชีพในปัจจุบันพยายามคิดแผนการใหม่ ๆ มาอยู่เสมอเพื่อหลอกล่อให้ผู้เริ่มต้นลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์หลงเชื่อ บทความนี้ขอรวบรวมประโยคทองที่มิจฉาชีพชอบใช้ไว้ชวนลงทุน พร้อมคำแนะนำในการหลีกเลี่ยงกลโกงเหล่านี้เพื่อเป็นแนวทางให้คุณเริ่มต้นการลงทุนได้อย่างปลอดภัย

1. “รับประกันผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง”

รูปแบบประโยคที่สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูง โดยไม่มีโอกาสที่จะสูญเสียเงินลงทุนเลย แท้จริงแล้วต้องจำไว้ว่าการลงทุนทั้งหมดมีความเสี่ยงในระดับหนึ่งที่ต่ำหรือสูงแตกต่างกันไป และการลงทุนจากบริษัทหรือตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องเปิดเผยเกี่ยวกับความเสี่ยงล่วงหน้าด้วย

ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:

“ลงทุน 1,000 บาทวันนี้ รับผลตอบแทน 10,000 บาทในเวลาเพียง 1 เดือน เรารับประกัน!”

วิธีหลีกเลี่ยง:

เพราะการลงทุนต่ำเพื่อได้ผลตอบแทนสูง ๆ โดยไม่มีความเสี่ยง ไม่มีอยู่จริงในโลกของการลงทุน หากคุณลองหาข้อมูลเกี่ยวกับการเชิญชวนลงทุนของบริษัท/สถาบันที่น่าเชื่อถือ จะเห็นได้ว่ามีการระบุความเสี่ยงมาด้วยทั้งนั้น นอกจากเรื่องประโยคเชิญชวนแล้ว ให้สังเกตดูความน่าเชื่อถือ ความเป็นทางการของผู้เชิญชวนก็จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้

2. “โอกาสการลงทุนสุดพิเศษที่มีให้เฉพาะคุณเท่านั้น”

สแกมเมอร์มักจะเล่นกับความต้องการของคนที่อยากจะเป็นคนพิเศษเพื่อมอบสิทธิพิเศษให้ ประโยคแบบนี้จะสร้างความรู้สึกเร่งด่วน เพื่อให้เหยื่อรู้สึกกลัวที่จะพลาดสิทธิพิเศษนี้ไป (FOMO) เพื่อจะได้รีบตอบรับการเชิญชวนโดยไม่ให้มีคำถามหรือข้อสงสัย

ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:

“เราขอมอบโอกาสในการลงทุนให้คุณโดยเฉพาะ จำกัดเพียง 10 รายเท่านั้น เปิดพอร์ตเลยทันที ก่อนที่จะสาย!”

วิธีหลีกเลี่ยง:

หากเจอประโยคเหล่านี้ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าเป็นประโยคจากมิจฉาชีพ เพราะโดยทั่วไปแล้วโอกาสในการลงทุนที่ถูกต้องตามกฎหมายจะมีเวลาให้นักลงทุนได้ศึกษา หรือเปิดเผยรายละเอียดให้เราได้หาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะตามกฏหมายผู้เชิญชวนจะไม่สามารถเร่งให้ลงทุนทันทีได้

3. “มาร่วมลงทุนในธุรกิจ/แพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังมาแรง”

เทคนิคนี้มิจฉาชีพพยายามใช้การโฆษณาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับธุรกิจใหม่ เทคโนโลโยีใหม่หรือแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน หรือเคยอาจได้ยินชื่อมาบ้าง และมีการสัญญาว่าจะได้ผลตอบแทนมหาศาลจากการลงทุนเพราะเป็นกลุ่มแรก ๆ

ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:

“มาเป็นคนแรกที่ร่วมลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ ใช้ Super AI จัดการ พร้อมรอรับผลตอบแทนมหาศาล”

วิธีหลีกเลี่ยง:

จากรูปแบบดังกล่าว เห็นได้ว่ามิจฉาชีพจะใช้ความไม่รู้ของคนเป็นช่องทางในการเชิญชวน หากเราสงสัยสิ่งที่ควรทำคือหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เพิ่มเติม ว่ามีธุรกิจหรือเทคโนโลยีแบบนั้นจริงหรือไม่ รวมถึงการค้นหาข้อมูลของผู้เชิญชวนหรือบริษัทที่ถูกอ้างถึงด้วย เพราะส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะอาจอ้างถึงสถาบันการเงินหรือบริษัทลงทุนที่มีชื่อเสียงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

4. “การลงทุนนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีชื่อเสียง”

อีกหนึ่งวิธีสุดแยบยลของมิจฉาชีพคือจะหาจุดเชื่อมโยงกับบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่คนคุ้นหน้า เพื่อเป็นสะพานไปสู่ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ รูปแบบที่พบบ่อยคือ แบนเนอร์โฆษณาที่มีประโยคเชิญชวนการันตี พร้อมกับภาพตัดต่อของผู้ที่มีชื่อเสียงเข้าไปอยู่ในนั้น ให้เหมือนกับว่าเป็นพรีเซนเตอร์เชิญชวนคนมาลงทุน

ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:

“ลงทุนกับเรา การันตีโดย (ชื่อคนที่มีชื่อเสียง) รับผลตอบแทนหลายเท่าตัว”

วิธีหลีกเลี่ยง:

ตรวจสอบจากช่องทางหลักอย่างเป็นทางการของผู้มีชื่อเสียงคนดังกล่าวว่ามีการเชิญชวนให้ลงทุนนี้หรือไม่ และสอบถามไปยังบริษัทที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์การลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

5. “ไม่ต้องมีความรู้หรือประสบการณ์ ก็ลงทุนอย่างผู้เชี่ยวชาญได้”

เทคนิคนี้สแกมเมอร์มุ่งเป้าไปที่ผู้เริ่มต้นที่อาจมีความรู้สึกหนักใจกับความซับซ้อนและข้อมูลที่มากมายประกอบการลงทุน โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีเชิญชวนพร้อมประโยคที่ทำให้รู้สึกว่าเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและจะจัดการทุกอย่างให้ โดยอ้างว่าเขาหรือบริษัทที่แอบอ้างมีความรู้และมีประสบการณ์มากมาย

ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:

“เรามีทีมที่เชี่ยวชาญจัดการพอร์ตให้ รับผลตอบแทนได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องพยายาม!”

วิธีหลีกเลี่ยง:

วิธีการนี้มิจฉาชีพจะใช้ความง่ายเข้ามาจัดการในสิ่งที่คุณคิดว่ามันยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในโลกขอวการลงทุนนั้น การหาความรู้ให้ตัวคุณเองนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ และควรหลีกเลี่ยงการพึ่งพาผู้อื่นในการจัดการการลงทุนให้ ไม่ควรมอบสิทธิ์หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นมาควบคุมการเงินของคุณด้วย

บทสรุป

เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการได้รับข้อความเชิญชวนดังที่กล่าวมาได้ แต่กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณเลี่ยงจากการสูญเสียทรัพย์สินเงินลงทุนได้นั้นคือ การหาข้อมูลและทำความเข้าใจข้อเท็จจริง ดูข้อมูลลงทุนต่าง ๆ จากแหล่งที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยใช้เวลาในการศึกษา เปรียบเทียบ และประเมินความเป็นไปได้ หากคุณรู้จักที่ปรึกษาทางการเงินก็ขอคำแนะนำได้โดยตรง อย่าปล่อยให้ความโลภหรือความกลัวที่จะพลาด มาทำให้คุณต้องตัดสินใจผิดพลาด ควรตระหนักรู้ว่าประโยคหลอกลวงมีอยู่ทั่วไปและทุกวันนี้ก็เข้าถึงตัวเราได้ง่ายขึ้น หากมีความระมัดระวังอยู่เสมอก็จะสามารถปกป้องตัวเองและทรัพย์สินให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพได้

อ้างอิง: Bitkub Blog, Investright.org

บทความโดย Bitkub.com


คำเตือน

  • คริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต
  • ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เนื้อหาข้างต้นเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาโดยใช้ข้อมูลในอดีตหรือเครื่องมือวิเคราะห์ อาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงปรับตัวลง 2.3% หลังจีนรายงาน PMI แย่กว่าคาด

FINNOMENA Investment Team
FINNOMENA Market Alert: หุ้นฮ่องกงปรับตัวลง 2.3% หลังจีนรายงาน PMI แย่กว่าคาด

วันนี้ (31 พฤษภาคม 2023) ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวลง 2.3% และตลาดหุ้นจีน (CSI300) ปรับตัวลง 1% หลังจีนรายงานดัชนี PMI ต่ำกว่าคาด โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมของจีนอยู่ในโซนหดตัวที่ 48.8 แย่กว่าตลาดคาดที่ 51.4 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 49.2 ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการบริการอยู่ที่ 54.5 ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 54.9 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 56.4 โดยภาคการผลิตจีนได้รับปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศยังอ่อนแอเนื่องจากสหรัฐฯซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

นอกจากนี้บรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงยังถูกกดดันจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลังสหรัฐฯกล่าวหาจีนว่าได้มีการซ้อมอย่างแข็งกร้าวโดยไม่จำเป็น รวมถึงจีนปฏิเสธคำเชิญจากสหรัฐฯสำหรับเข้าร่วมประชุมของฝ่ายกลาโหม ซึ่งจะมีตัวแทนจากปลายประเทศเข้าร่วมประชุมในสัปดาห์นี้

FINNOMENA Investment Team มองว่าในช่วงสั้นแนวโน้มเศรษฐกิจจีนเริ่มสะดุดจากการฟื้นตัวไม่เต็มของภาคการบริโภค ซึ่งสะท้อนจากความมั่นใจผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่  ขณะที่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากจากระดับหนี้ของจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง  แต่เราคาดว่าในระยะถัดไปเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวได้ต่อหลังจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางฟื้นตัวมากขึ้นหลังยกเลิกมาตรการ Zero Covid

ตลาดหุ้น All China มี Valuation ลดลงมาใกล้จุด -1 S.D. เมื่อเทียบกับหุ้นโลก เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากราคาลงมาในจุดที่ Valuation น่าสนใจ  อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมี Upside ให้ฟื้นตัว

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

News Update: Nvidia มูลค่าแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ Cathie Wood เตือนมูลค่าแพงเกินแล้ว

THE OPPORTUNITY
News Update: Nvidia มูลค่าแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ Cathie Wood เตือนมูลค่าแพงเกินแล้ว

บริษัทผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐฯ อินวีเดีย (Nvidia Corp) กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าถึงหนึ่งล้านล้านดอลลาร์รายล่าสุดในวันอังคาร ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ในปัจจุบัน

ทำให้มูลค่าหุ้นของ Nvidia พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว 25% เมื่อสัปดาห์ที่แล้วจนแตะระดับ 411 ดอลลาร์ต่อหุ้นในขณะนี้ และทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งพอๆ กับบริษัทเทคโนโลยี อัลฟาเบ็ต (Alphabet) เจ้าของกูเกิล (Google)

Nvidia ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งที่ 5 ที่มีมูลค่าแตะระดับหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ ต่อจาก แอปเปิล (Apple), อัลฟาเบ็ต (Alphabet)​, ไมโครซอฟต์ (Microsoft) และ แอมะซอน (Amazon)

ขณะที่ Cathie Wood ซีอีโอของ Ark Invest มองว่า หุ้น Nvidia ที่เป็นลูกรักของนักลงทุนตอนนี้มูลค่า ‘แพง’ เกินแล้ว

Cathie Wood กล่าวใน Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 พ.ค.) ว่า บริษัทชิปที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกมีราคาแพงเกินไปแล้ว หลังกองทุน ARKK ของบริษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นเมื่อต้นเดือน ม.ค. ก่อนที่ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จนมีมูลค่าตลาด 1 ล้านล้านดอลลาร์

ที่มา: https://www.voathai.com/a/nvidia-joins-trillion-dollar-club-on-booming-ai-demand/7115458.html 

https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-30/too-rich-for-cathie-wood-nvidia-shares-stretch-valuation-limits?sref=e4t2werz

——————-

👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน

แชร์ทริค แบ่งเงินออม 3 บัญชี ตามเป้าหมายระยะสั้น กลาง ยาว

NM

รู้หรือไม่ว่าสิ่งสำคัญของการออมเงิน นอกจากวินัยการออมก่อนใช้แล้ว ก็ควรแยกบัญชีเงินออมออกจากบัญชีเงินเดือนหรือบัญชีทั่วไป เพื่อจัดสรรเงินให้เป็นสัดส่วน รู้ว่าเงินส่วนไหนใช้ทำอะไรบ้าง โดยเราควรแบ่งเงินออมออกเป็น 3 ส่วนตามเป้าหมายทางการเงิน ดังนี้

  1. เป้าหมายระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน ท่องเที่ยวต่างประเทศ แนะนำพอร์ตลงทุนแบบระมัดระวัง เน้นลงทุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลางและมีสภาพคล่อง อย่างบัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน
  2. เป้าหมายระยะกลาง (3 – 7 ปี) เช่น ดาวน์รถยนต์ แต่งงาน แนะนำพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง อย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมผสม
  3. เป้าหมายระยะยาว (7 ปีขึ้นไป) เช่น การเกษียณอายุ แนะนำพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลางถึงสูง เน้นการลงทุนในรูปแบบของการสะสมทรัพย์ อย่างประกันบำนาญ RMF หุ้นพื้นฐานดีหรือหุ้นปันผล กองทุนรวมหุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือทองคำ

จะเห็นได้ว่านอกจากจะแบ่งเงินออมตามเป้าหมายของการลงทุนแล้ว ยังต้องจับคู่สินทรัพย์ให้เหมาะสมอีกด้วย เพราะถ้าเราจับคู่ไม่ถูก อย่างเช่น เก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ในบัญชีหุ้น เพราะมีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่า หากเกิดเหตุที่จำเป็นต้องรีบใช้เงินขึ้นมา จะไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที หรือถ้าตอนนั้นพอร์ตยังแดงอยู่ก็จะทำให้เราขาดทุนได้ หรืออยากซื้อบ้านด้วยเงินสดภายใน 1 ปี เลยนำเงินทั้งหมดที่มีไปลงทุนในคริปโตฯ เพื่อหวังรวยทางลัด จะได้มีเงินมาซื้อบ้านเร็ว ๆ แต่อยู่ดี ๆ โดนเจ้าทุบตลาดร่วง ขาดทุนหนักมาก บ้านที่เราฝันเอาไว้ก็คงเหลือแต่เสา

ซึ่งใครจะจัดสรรเงินออมเข้าบัญชีไหน เท่าไหร่บ้างนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับความความสำคัญ, จุดประสงค์ และเงื่อนไขทางการเงินของแต่ละคน แต่จะขอยกตัวอย่างให้ดูง่าย ๆ ตามตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างการแบ่งออมตามเป้าหมายสั้น กลาง ยาว

ตัวอย่าง หากเงินเดือน 30,000 บาท แบ่งออม 20% (6,000 บาท) ตามเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น กลาง ยาว จะสามารถแบ่งเงินออมออกเป็น 3 ส่วน ได้ดังนี้

  1. เงินสำรองฉุกเฉิน 20% (1,200 บาท) เผื่อกรณีเจ็บป่วยหรือตกงาน 3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน โดยเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที อย่างบัญชีออมทรัพย์
  2. จัดงานแต่งงาน 50% (3,000 บาท) ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง อย่างกองทุนรวมผสม
  3. เกษียณอายุ 30% (1,800 บาท) ในกองทุน RMF และประกันบำนาญ ที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าคนเราต่างมีเป้าหมายทางการเงินที่หลากหลาย ถ้าสามารถรวมทุก ๆ เป้าหมายให้อยู่ในที่เดียวกันหรือบัญชีเดียวกันได้ก็คงจะสะดวกดีไม่น้อย ดังนั้นทาง FINNOMENA ขอแนะนำ “Goals Navigator” นวัตกรรมที่สามารถวางแผนทุกช่วงชีวิตให้ครบจบในที่เดียว รวมทั้งสามารถคาดการณ์ผลตอบแทน เพื่อจัดสรรเงินลงทุนตามลำดับความสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพได้สูงสุด

“FINNOMENA Goals Navigator™” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก >> https://finno.me/gnavi-web


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

แด่ William O’Neil ผู้เป็นแรงบันดาลใจแก่นักลงทุนสายไฮบริด

Park Kathawut
William O'Neil” นักลงทุนสายไฮบริด

30 พฤษภาคม 2023 ถือเป็นวันที่เศร้าวันหนึ่งของโลกการลงทุน หลังเราได้สูญเสียนักลงทุนระดับตำนาน William O’Neil ไปในวัย 90 ปี

ตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ William O’Neil ได้ฝากมรดกแก่นักลงทุนรุ่นหลังไว้มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแนวคิดการลงทุนแบบผสมผสาน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CAN SLIM ซึ่งอยู่ในหนังสือ How to Make Money in Stocks 

นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่เป็นองค์ความรู้ต่อการลงทุนอีกหลายเล่ม เช่น How to Make Money Selling Stocks Short, The Successful Investor, 24 essential lessons for investment success และ Comment gagner avec les actions เป็นต้น  

William O’Neil ยังได้สร้างคุณูปการต่อสังคมการลงทุน ด้วยการก่อตั้ง Investor’s Business Daily หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ด้านการลงทุน เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักลงทุนทั่วโลก 

ในพาร์ทของอาชีพการลงทุนเอง William O’Neil ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง และทำกำไรได้มหาศาล โดยเริ่มต้นจากการเป็นโบรกเกอร์ให้กับ Hayden, Stone and Company 

เขาเป็นคนแรก ๆ ที่พัฒนาโมเดลการลงทุนโดยใช้คอมพิวเตอร์ จนสามารถสร้างกลยุทธ์ CAN SLIM และประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงปี 1962 – 1963 ที่สามารถทำกำไรได้ถึง 40 เท่า เปลี่ยนเงินทุนเริ่มต้น 5,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปเป็น 200,000 ดอลลาร์ ภายในเวลาเพียง 1 ปี

หลังจากนั้นจึงได้ออกมาก่อตั้ง William O’Neil and Co. บริษัทโบรกเกอร์ที่มุ่งเน้นการทำงานวิจัยและนำเสนอข้อมูลตลาดหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบัน

แนวคิด CAN SLIM เบื้องหลังความสำเร็จของ William O’Neil

CAN SLIM คือ สูตรคัดเลือกหุ้นแบบผสมผสานระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) กับ การวิเคราะห์กราฟเทคนิค (Technical) 

ประกอบด้วยหลัก 7 ข้อตามตัวอักษร แบ่งเป็นปัจจัยเชิงพื้นฐาน ได้แก่ C-A-N และเชิงเทคนิค ได้แก่ S-L-I-M ดังนี้

  • Current Earnings : กำไรในไตรมาสล่าสุดเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยหุ้นจะต้องมี Earning per Share เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20-25% 
  • Annual Earnings : ผลประกอบการประจำปี เติบโตอย่างแข็งแกร่งและสม่ำเสมอ โดยจะต้องมีกำไรปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3-5 ปี และสอดคล้องกับรายได้ที่มั่นคงด้วย
  • New Products : เป็นบริษัทที่มีปัจจัยการเติบโตใหม่ ๆ เช่น มีแผนออกสินค้าหรือบริการใหม่, เกิด Business Model ใหม่, เปลี่ยนทีมผู้บริหาร 
  • Supply and Demand : เป็นหุ้นที่ปริมาณซื้อขาย (Volume) หนาแน่น เพื่อแสดงว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นหุ้นที่มีจำนวนจำกัดด้วย
  • Leader or Laggard : เป็นผู้นำในธุรกิจที่ตัวเองทำ มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 โดยเลือกจากค่า Relative Strength ที่สูง 
  • Institutional Support : มีนักลงทุนสถาบันเข้าไปถือครอง เป็นตัวสะท้อนความแข็งแกร่งทางธุรกิจ รวมถึงมีโอกาสที่ราคาจะขยับตัวได้อย่างมีนัยะสำคัญ
  • Market Direction : เลือกจังหวะเข้าวื้อในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น โดยพิจารณาจากแนวโน้มกราฟแท่งเทียนและเส้นค่าเฉลี่ยของตลาดในช่วงนั้น ๆ  

ประโยชน์ของการค้นหาหุ้นด้วย CAN SLIM ทำให้เรามีสามารถพบเจอหุ้นดีที่สร้างการเติบโตต่อเนื่อง ในราคาที่เหมาะสม และมีโอกาสที่จะเติบโตได้ต่อไปในอนาคต

10 ลักษณะของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ในมุมมองของ William O’Neil

นอกจากจะสร้างไอเดียการลงทุนระดับโลกแล้ว William O’Neil ยังคอยฝากแนวคิดให้แก่นักลงทุนรุ่นหลังอยู่เสมอ ๆ ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในแนวคิดที่มีชื่อเสียง โดยนิยามสิ่งที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นนักลงทุนที่ดียิ่งขึ้น

  1. คิดในเชิงบวก คิดถึงความสำเร็จอยู่เสมอ
  2. กำหนดความฝันและออกแบบเป้าหมายชัดเจน
  3. คิดแล้วลงมือทำ
  4. ไม่หยุดเรียนรู้
  5. ทำงานหนักและไม่ยอมแพ้ เพราะความสำเร็จเป็นเหมือนการวิ่งมาราธอน
  6. ชอบการวิเคราะห์รายละเอียด ค้นหาความจริง เรียนรู้ข้อมูลจากความผิดพลาด
  7. มีโฟกัส ไม่ไขว้เขวจากเป้าหมาย 
  8. กล้าที่จะแตกต่าง ไม่กลัวที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่: 
  9. สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น
  10. จงซื่อสัตย์กับตัวเอง และมีจิตใจที่มั่นคง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ William O’Neil ได้ฝากความรู้ด้านการลงทุนเอาไว้แก่โลกใบนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเป็นรากฐานสำคัญให้สังคมการลงทุนเติบโตดียิ่งขึ้นต่อไป

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมลงทุนแบบ William O’Neil คว้าหุ้นโตทะยานฟ้า ด้วย 7 เคล็ดวิชาพื้นฐานผสานเทคนิค