ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้าที่เราอธิบายถึงข้อเสียของการตัดสินใจช้าในการเข้าลงทุน ซึ่งต่อให้มีกลยุทธ์ที่ดีแค่ไหน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นแล้วเรา Take Action ช้าเกินไป ไม่ว่าจะซื้อหรือจะขาย ก็ทำให้ผลลัพธ์ในการลงทุนของเราแย่ลงเช่นเดียวกัน ในบทความนี้เราจะมาแชร์ต่อว่าถ้าหากเราไม่มีวินัยในการลงทุนหรือไม่มีความ “สม่ำเสมอ” ในการลงทุน ช่วงไหนอารมณ์ดีก็เข้าตลาด ช่วงไหนอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าง ก็พักการลงทุนไปเฉยๆ จะมีความแตกต่างกับผู้ที่ลงทุนต่อเนื่องสม่ำเสมออย่างไร
ในระยะสั้นๆสินทรัพย์แต่ละชนิดอาจจะมีความผันผวนขึ้นลงบ้าง บางครั้งอาจลงแรงบ้าง แต่ถ้ามันมีอนาคต มีโอกาสในการเติบโต ท้ายที่สุดสินทรัพย์นั้นมักจะปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะยาว นั่นทำให้การเปลี่ยนแปลงของราคาจะเป็นบวกมากกว่าลบ พูดง่ายๆคือ ใน 365 วัน สินทรัพย์นั้นจะราคาขึ้นมากกว่าราคาลง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการลงทุนแบบไหนก็จะสามารถสร้างกำไรได้โดยมีข้อแม้ว่า เราจะต้องถือครองสินทรัพย์นั้นๆเอาไว้ แต่อาจจะลดพอร์ตลงบ้างถ้าความผันผวนสูงหรือมีแนวโน้มขาลงระยะสั้น ก็จะสามารถทำให้พอร์ตของเราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เราจึงขอหยิบสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่าง Bitcoin ที่ราคาตอนนี้เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 Bitcoin ไปแล้ว มาทดสอบอะไรให้นักลงทุนหลายท่านได้ดูกัน แต่ก่อนอื่นเราไปดูผลตอบแทน “รายเดือน” ของ Bitcoin กันดีกว่าว่าย้อนหลังไปสัก 6 ปีจะเป็นอย่างไร
ากภาพด้านบนคือผลตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ มกราคม 2015 จนถึง ธันวาคม 2020 ทุกคนจะสังเกตุเห็นว่าแม้ผลตอบแทนรายปีของ Bitcoin จะสูงแค่ไหนแต่ระหว่างก็มีการติดลบให้เห็นตลอดทาง (ช่องสีแดงคือเดือนที่ติดลบ ยิ่งลบมากสียิ่งเข้มมาก) อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่าถ้าสินทรัพย์ใดมีการเติบโต นักลงทุนมอบ Value ให้กับมัน ในท้ายที่สุดมันก็จะสามารถให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกกับพอร์ตเราได้ จากข้อมูลตรงนี้ เดือนที่ให้ผลตอบแทนติดลบ (พูดง่ายๆคือลงนั่นแหละ555) คือเดือนมกราคม มีนาคม กันยายน สังเกตุได้จากช่อง Avg. ซึ่งคือค่าเฉลี่ยในแต่ละเดือนของข้อมูล แต่ผมไม่ได้มาใบ้ว่าให้หลีกเลี่ยงเดือนเหล่านั้นเพื่อให้ผลตอบแทนของพอร์ตดีขึ้นนะครับ เพราะนี่คือข้อมูลในอดีต เหตุการณ์ในอนาคตไม่มีใครสามารถบอกได้หรอกครับ แต่เราจะมาชี้ให้เห็นว่าในแต่ละปีที่เราลงทุนไป ถ้าเราพลาดหรือละเลยการลงทุนในเดือนใดๆก็ตาม แล้วเดือนนั้นกลับให้ผลตอบแทนที่สูงมากๆ ผลลัพธ์ของพอร์ตเราจะยังคงดีอยู่หรือไม่ โดยเราแบ่งสมมติฐานดังต่อไปนี้ครับ
เรามาดูกันครับว่าหน้าตาพอร์ตและตารางผลตอบแทนรายเดือน โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยในแต่ละเดือนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เมื่อเราทำการตัดเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปีนั้นออกไปสักหนึ่งเดือน ประมาณว่าเราอาจจะขี้เกียจไม่ยอมลงทุน มีสัญญาณแล้วไม่ยอมเข้าซื้อ ไปพักร้อน ไปทะเล ว่ายน้ำ ดูภูเขา หรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้เราพลาดผลตอบแทนเดือนนั้นไป เราจะสังเกตุเห็นว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนรายเดือนในบางเดือนลดลงพอสมควร ยกตัวอย่างเช่นเดือนธันวาคม จากตารางที่หนึ่งจะได้อยู่ที่ 20.67 แต่พอเราพลาดโอกาสไป 2 ครั้งก็ทำให้ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนเดือนธันวาคมลดลงมาอยู่ที่ 7.99 เท่านั้นเอง หรือหากต้องการเห็นภาพให้ชัดเจนขึ้นเราก็นำมาพล็อตเป็นกราฟใต้ตารางให้ดูง่ายขึ้นครับ
ตัดหนึ่งเดือนก็หนักแล้ว ทีนี้เราขอตัดเพิ่มอีกหนึ่งเดือนแล้วกันประมาณว่าพักร้อนนานไปหน่อย ไม่ยอมเข้าลงทุน ไม่ดูตลาด แต่ดันโชคร้ายเป็นเดือนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด 2 เดือนในปีนั้นๆครับ
ยิ่งเราไม่มีความสม่ำเสมอในการลงทุนมากแค่ไหน เลือกที่จะตามใจมากกว่าตามแพลน ผลลัพธ์ก็จะยิ่งห่างจากสิ่งที่ควรจะได้ พูดง่ายๆคือถ้าสินทรัพย์นั้นให้ผลตอบแทนโดยรวมสูง เราอาจจะเก็บเกี่ยวจากมันได้แค่บางส่วนเท่านั้นเองครับ จากรูปนี้ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนโดยรวมก็ลดน้อยลง ตารางด้านล่างก็ผันผวน แถมเติบโตช้าอีกด้วย คือจาก 100 โตไปเป็น 280 และพอร์ตผันผวนหรือมี Drawdown ที่สูงมากด้วย
ในวันที่เราเข้าลงทุน เราไม่มีทางรู้เลยว่าผลลัพธ์ของเรา เงินของเราจะเป็นอย่างไรในอนาคต เราวิเคราะห์ได้ คาดการณ์ได้ แต่ไม่มีทางฟันธงได้ ฉะนั้นกฎของความโชคดีในการลงทุน คือ Take Action เมื่อเราเห็นว่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสม เมื่อมันคุ้มค่า เราต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ตรงจุดนั้น มีคำๆนึงที่ฟังทีไรก็จี๊ดทุกทีคือ “ไม่ว่าเราจะซื้อหรือไม่ซื้อมันก็ตาม ถ้ามันจะขึ้นมันก็ขึ้นอยู่ดี” จากรูปนี้จะสังเกตุได้ว่าการตัดผลตอบแทนออกไปแค่ 1-2 เดือนเท่านั้นกลับส่งผลกระทบต่อพอร์ตและการเติบโตของเงินเรามากมายเหลือเกิน จาก 100 โตเป็น 800 , 500 , 300 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็น Error จากความไม่มีวินัย ไม่มีความสม่ำเสมอ ที่ราคาแพงมากครับ
สิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปจากบทความนี้รวมถึงบทความก่อน คือต้องการนำเสนอว่าวินัยการลงทุน มีผลต่อพอร์ตของเรามากแค่ไหน ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร ให้ข้อมูลดีหรือไม่ดีแค่ไหน สุดท้ายคนที่ตัดสินใจลงทุนก็คือตัวเราเอง เราสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้จากการเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น มีหลักการ มีความสม่ำเสมอ แล้วผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดขึ้นแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยครับ
ZIPMEX
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปทุกวัน ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ นั้นได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากการระบาดของ COVID-19 ในปี 2020 ที่ผ่านมาก็ทำให้เราต้องปรับตัวในการใช้ชีวิตหลาย ๆ อย่าง รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ฯลฯ
รูปที่ 1 การเติบโตแบบทวีคูณของเทคโนโลยี
ที่มา: arcgis.com
โดยการเติบโตแบบทวีคูณของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า “Disruptive Innovation” ที่จะเข้าไป “ก่อกวน” คู่แข่งเดิมที่อยู่ในตลาดจนสามารถก้าวขึ้นมาแทนที่คู่แข่งนั้นได้ และด้วยนวัตกรรมก่อกวนนี้เองจึงนำไปสู่ธีมการลงทุนของกองทุน TMB-ES-GINNO ที่จะแนะนำให้ได้รู้จักกันในบทความนี้ เพราะกองทุน TMB-ES-GINNO ไม่เพียงแต่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมธรรมดา แต่เป็นกองทุนที่ “มองไปข้างหน้า” กับการลงทุนใน 5 กลุ่ม “นวัตกรรมแห่งอนาคต”
กองทุน TMB-ES-GINNO หรือ กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง Global Innovation จาก บลจ. ทหารไทย (TMB) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ในหน่วยลงทุนชนิด Class A USD (Class ที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนผ่านการลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในหุ้น 5 กลุ่มนวัตกรรมหลักที่เกี่ยวข้องหรือได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Disruptive Innovation theme)
รูปที่ 2 5 กลุ่มนวัตกรรมหลักที่กองทุน Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ลงทุน
ที่มา: nikkoam.com.sg/
เนื่องจากกองทุน TMB-ES-GINNO เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund จึงขอหยิบยกขั้นตอนการลงทุนที่น่าสนใจของกองทุน Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund ที่เป็น Master Fund มากล่าวถึงในหัวข้อนี้ โดยเทคนิควิเคราะห์การลงทุนจะใช้ทั้งแบบ Top-down และ Bottom-up เพื่อคัดสรรบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตและได้เปรียบในการแข่งขัน
รูปที่ 3 ขั้นตอนการลงทุนของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund
ที่มา: emea.nikkoam.com
ตรวจสอบว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและกำลังมุ่งหน้าไปที่ใด เพื่อทำความเข้าใจกับรูปแบบของนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยทำการรวบรวมข้อมูลจาก Open Research Ecosystem เพื่อปรับขนาดโอกาส
เริ่มต้นด้วยการคัดสรรการลงทุนในกลุ่มที่มีศักยภาพ โดยการให้คะแนนบริษัท พร้อมทั้งประเมินมูลค่าผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี เพื่อจัดพอร์ตการลงทุนและบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน
รูปที่ 4 สัดส่วนการลงทุนแบ่งตามภาคอุตสาหกรรมของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Class A USD (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2020)
ที่มา: Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Factsheet
ตามชื่อบทความที่ได้กล่าวไว้ว่ากองทุนนี้เป็น “กองทุนแห่งนวัตกรรมสู่การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่” สัดส่วนการลงทุนจึงเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรม Healthcare และ Information Technology เป็นหลัก โดยให้น้ำหนักการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมทั้งสองนี้เกินกว่าครึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่กองทุนนี้เข้าไปลงทุน
รูปที่ 5 Top 10 Holdings ของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2020)
ที่มา: Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Factsheet
ส่วนหุ้นที่ Master Fund เข้าไปลงทุนจะขอเลือกมา 4 บริษัทให้ได้รู้จักกันมากขึ้นว่าถ้าลงทุนในกองทุน TMB-ES-GINNO แล้วเราจะได้ลงทุนในนวัตกรรมแห่งอนาคตอะไรกันบ้าง
รูปที่ 6 10 อันดับบริษัทผลิตรถยนต์ที่มี Market Cap สูงที่สุดในโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 31/12/2020)
Tesla ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทที่มี Market Cap สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในบรรดาอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ภายในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี ด้วยมูลค่ามากถึง 668.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่ามากกว่า Toyota ที่เป็นอันดับ 2 ด้วยมูลค่า 215.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกือบ 3 เท่าเลยทีเดียว
รูปที่ 7 ผลิตภัณฑ์จัดเก็บพลังงาน Powerwall ของ Tesla
ที่มา: tesla.com/powerwall
รูปที่ 8 Roku Streaming Player
ที่มา: roku.com/
รูปที่ 9 ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ที่มา: forbes.com
รูปที่ 10 ผลการดำเนินงานของกองทุน TMB-ES-GINNO เทียบ MSCI World Net Total Return Index (ข้อมูล ณ วันที่ 08/01/2021)
ที่มา: tmbameastspring.com/funds/mutual-funds/funddetails?fundcode=I33f
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
มาดูกันที่ผลตอบแทนย้อนหลังกันบ้าง เนื่องจากกองทุน TMB-ES-GINNO เพิ่งเข้าจดทะเบียนกองทุนในวันที่ 29 ต.ค. 2563 จึงยังไม่มีผลตอบแทนย้อนหลังให้ดูมากนัก แต่จากข้อมูลที่มีนับตั้งแต่วันที่กองทุนจดทะเบียนมาจนถึงปัจจุบัน กองทุน TMB-ES-GINNO สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 45.60% (ข้อมูล ณ วันที่ 08/01/2021) ท่ามกลางยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤตที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจมากมายแต่กองทุนนี้สามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้ในอัตราที่ถือว่าดีมากสำหรับกองทุนที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนได้เพียงแค่ 2 เดือนกว่า ๆ เท่านั้น
ส่วนผลการดำเนินงานของกองทุน TMB-ES-GINNO เปรียบเทียบกับ MSCI World Net Total Return USD Index (Benchmark ของ Master Fund) จากรูปที่ 10 จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกที่กองทุนเข้าจดทะเบียนอาจสร้างผลตอบแทนได้ต่ำกว่า Benchmark แต่หลังจากนั้นเพียง 1 เดือนก็สามารถเอาชนะ Benchmark ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งนี้ก็สามารถพิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งของกองทุนนี้ได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 11 ผลการดำเนินงานของ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund เทียบ Benchmark (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2020)
ที่มา: Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
สำหรับผลการดำเนินงานของ Master Fund อย่าง Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund เปรียบเทียบกับ MSCI World Net Total Return USD Index (Benchmark) พบว่า Master Fund สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีได้ถึง 118.83% ในขณะที่ Benchmark สร้างผลตอบแทนไปได้เพียง 14.52% ถือว่า Master Fund เอาชนะได้แบบขาดลอยเลยทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลาย ๆ คนคงเริ่มมีความสนใจในกองทุน TMB-ES-GINNO กันบ้างแล้ว แต่เรื่องค่าธรรมเนียมกองทุนก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนใด ๆ สำหรับกองทุน TMB-ES-GINNO มีค่าธรรมเนียมการจัดการที่ 1.605% ต่อปี ส่วนค่าธรรมเนียมการขายและ switching in อยู่ที่ 1.5% โดยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวมจะเท่ากับ 1.7881% ต่อปี และไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมากในการลงทุน เพราะด้วยมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1 บาท ก็สามารถลงทุนในกองทุนแห่งนวัตกรรมสู่การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อย่างกองทุน TMB-ES-GINNO ได้
กองทุน TMB-ES-GINNO จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีค่าความผันผวนของผลการดำเนินงานสูงมากกว่า 25% และเนื่องจากกองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศจึงต้องพบกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนจึงมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน นอกจากความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในกองทุน TMB-ES-GINNO จะต้องเจอคือความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว ทั้งความเสี่ยงจากการกระจุกตัวที่เกิดจากการลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว และความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เนื่องจากกองทุนนี้มีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare และ Information Technology ดังนั้นผู้ลงทุนควรกระจายความเสี่ยงในการจัดพอร์ตการลงทุนของผู้ลงทุนเองด้วยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในส่วนนี้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
และทั้งหมดนี้ก็เป็นรีวิวกองทุน TMB-ES-GINNO ที่นำมาฝากกัน หากผู้ใดสนใจกองทุนนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนกองทุน หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.finnomena.com/fund/TMB-ES-GINNO ส่วนผู้ที่ศึกษาข้อมูลของกองทุนนี้โดยละเอียดแล้วและพร้อมที่จะเติบโตไปกับนวัตกรรมแห่งอนาคตกับกองทุน TMB-ES-GINNO ก็สามารถเปิดบัญชีกับ FINNOMENA เพื่อเริ่มลงทุนได้เลย
— planet 46.
—————————-
เปิดบัญชีซื้อกองทุนรวมกับ FINNOMENA ผ่านทางออนไลน์ เปิดไว เปิดง่าย ไม่ต้องใช้เอกสารให้ยุ่งยาก ภายใน 1 วัน หมดปัญหาการเปิดบัญชีหลาย บลจ. ปรับเปลี่ยนกองทุนได้ทันท่วงที ทุกสถานการณ์การลงทุน เปิดครั้งเดียวซื้อ-ขายได้ 19 บลจ.
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน FINNOMENA เพื่อเริ่มต้นเปิดบัญชี
Google Play Store: https://link.finnomena.com/android-download
App Store: https://link.finnomena.com/ios-download
—————————-
อ้างอิง:
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
หากคุณกำลังมองหาหุ้น Big Data สักตัว ที่เติบโตไปตาม Big Data Boom … MongoDB (MDB) คือหนึ่งในตัวเลือกที่ตรงไปตรงมา และต้นน้ำที่สุด
เคยคิดไหมว่า Big Data … มัน Big ขนาดไหน?? และมันมีอะไรที่ต่าง จนเราเรียกว่า Data เฉย ๆ ไม่ได้
คำตอบทางทฤษฎี ช่างมันเถอะ คำตอบในชีวิตจริงคือ มันไม่ใช่แค่ปริมาณข้อมูลเยอะ แต่รวมถึงรูปแบบ ลักษณะข้อมูล ส่งผลให้การจัดเก็บ วุ่นวายมากขึ้น
ลองนึกถึงโกดังเก็บของที่มีคุณภาพ หรืออย่างเช่น Supermarket จะระบุชัดเจน หรือแยกกันชัดเจน ว่า แถวไหน มีอะไรบ้าง อยู่ตรงไหน
การเก็บ Data ก็เช่นเดียวกัน จะต้องระบุให้ครบ ยกตัวอย่างแบบง่ายที่สุดก็พวกตาราง !!! โดยหากเราเอาแบบแผนการจัดเก็บของมากรอกในตาราง (จะใช้ Excel ก็ได้เนอะ) ก็จะระบุได้หมด แบบนี้เรียก Relational Database หรือ SQL Database คือจะต้องกำหนด Schema ก่อน
แต่หาก Supermarket นั้นมีคนจัดชั้นสินค้าลวก ๆ หรือมีของไม่เข้าพวกมา เขาจะทำอย่างไร? หรือหากนำของใหญ่ขนาดชั้นวางมา?? ทำได้เพียง กอง ๆ มันไว้ก่อนที่พื้น รอคอยเพิ่มช่องในการจัดเก็บ
ในโลกดิจิทัล ก็เช่นเดียวกัน การเก็บข้อมูลอย่างละเอียด และเปลี่ยนไว เรียกกันว่าเก็บเป็นเหตุการณ์เลย เรากดคลิกปุ่มในเว็บทีนึง เก็บทีนึง และหากมันมีอะไรไม่เข้าพวก จะทำอย่างไร
หรือข้อมูลจำพวก วิดิโอ รูป มันคงเก็บเป็นตารางไม่ได้ ก็ต้องให้ทีมนักพัฒนา แบบ Samsan Tech ในเรื่อง Startup จัดการเพิ่มตาราง !!
เมื่อโลกดิจิทัล ไม่ได้มีสินค้าวางกอง ๆ กันจริง ๆ จึงมีการพัฒนาการเก็บข้อมูล แบบกอง ๆ ไว้ก่อน ที่เรียกว่า Non Relational Database หรือ NoSQL ไม่ต้องกำหนด Schema มีทั้ง Document Based, Graph Based, Key Balue Pair, Wide Column
ซึ่งนี่แหละตอบโจทย์ยุค Big Data เก็บ Event Action ต่าง ๆ ก่อนนำไปให้ AI ประมวลผล
MDB เป็นผู้นำเทคโนโลยี ในการจัดเก็บข้อมูล แบบ NoSQL แถมยัง Open Source คือโหลดไปใช้ได้ฟรี และทุกคนร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาได้ แบบนี้ผู้ถือหุ้นยิ้มเลยครับ เพราะมี Service หลายอย่าง ที่เหมาะสำหรับองค์กรนำไปใช้งาน (หากไม่ใช้บริการของ MongoDB ก็ต้องจ่ายเองอยู่ดีครับให้กับเจ้าอื่น ๆ แถมยุ่งยากกว่า) ตรงนี้ลึกไปนิด ขอเว้นไว้
MDB มียอด Download ไปแล้วกว่า 100 ล้านครั้ง และมีบริการ Atlas ช่วยจัดการ Deploy & Manage Mongodb บน Big 3 Cloud ทั้ง AWS, Azure, GCP ซึ่งเหล่า Dev บอกว่ายังไล่ตามไม่ทัน
รายได้โดยประมาณ (FY เค้าตัดจบเดือนมกราฯ นะจ๊ะ)
ปี FY2020 รายได้ 12,600 ล้านบาท
ปี FY2019 รายได้ 7,900 ล้านบาท
ปี FY2018 รายได้ 5,000 ล้านบาท
กำไรไม่มี ขาดทุนตามสไตล์
โมเดลรายได้คือ ได้เพิ่มตามปริมาณ Data !! ซึ่งเราทราบกันดีว่า Data เติบโตเป็น Exponential ดังนั้นรายได้ก็จึงโตเป็น Exponential ไปโดยปริยาย โดยเฉพาะข้อมูลจำพวกวิดิโอ พุ่งกระหน่ำมาก ๆ ครับ รถยนต์ไร้คนขับที่เรากรี๊ดกร๊าดกันอยู่ บ้างว่ากันว่า 1 คัน สร้าง Data 5-20 Terabyte ต่อวัน !! (ยิ่งกว่าดูหนังซีรีย์ 1 เรื่องแบบ 4k อีกนะเธอออ)
คู่แข่ง ก็เห็นจะเป็น Big 3 Cloud ด้วยกัน ส่วน พวก Snowflake, Alteryx นั้นไม่เรียกว่าคู่แข่งเพราะมันคนละลักษณะการใช้งาน เรียกว่ามาต่อกับอันนี้อีกทีก็ได้ครับ
5G IoT Edge Computing และโลกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ทั้ง Autonomous Car และสิ่งต่าง ๆ จะเชื่อมต่อ Internet จำต้องยกระดับ Infrastructure และอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด เพราะเกิด Data ขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้ MDB จะเป็นกุญแจสำคัญของยุค Big Data และ 5G
BottomLiner – บทสรุปการลงทุน
ที่มาบทความ: https://bottomliner.co/stock/mongodb-database-as-a-service-daas/
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ … 3 ธุรกิจดาวรุ่ง ที่เรียกได้ว่ามีศักยภาพด้านการเติบโตในอนาคต และกำลังจะกลายเป็นตัวแปรสำคัญ ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในแบบที่คุณกำลังตามหา ได้ถูกรวบรวมอยู่ในบทความนี้แล้ว ธุรกิจนั้น คืออะไร ??
สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 กลับมาน่ากังวลอีกครั้ง ในช่วงปลายปี 2563 เห็นได้จากตัวเลขยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทั่วโลกที่พุ่งขึ้นถึง 7.6 แสนราย ในวันที่ 31 ธ.ค. แค่เพียงวันเดียว…ก็ถือว่าน่าตกใจอย่างมาก
แต่ภายใต้บรรยากาศที่เกิดขึ้นนี้ “คุณวรสินี เศรษฐบุตร” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ อธิบายว่า ยังมี 3 ธุรกิจดาวรุ่ง ซึ่งมีศักยภาพสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหากเริ่มลงทุนในเดือนม.ค.นี้
นวัตกรรมการแพทย์ด้านการถอดรหัสพันธุกรรม (Genomics) เป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพอันซับซ้อนและหลากหลายของมนุษย์ โดยเฉพาะการยกระดับใน 3 ด้านสำคัญ คือ การรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized) การคาดการณ์ การวินิจฉัยโรค (Predictive) และการออกแบบการรักษา (Preventive) ซึ่งตอนนี้ ต้องยอมรับว่า ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมาก เพราะธุรกิจนี้ได้กลายเป็นความหวังใหม่ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรกว่าพันล้านคนให้มีชีวิตยืนยาวและมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่สนใจธุรกิจนี้ ต้องทำความรู้จักกับ ARKG (ARK – Genomic Revolution ETF) เพราะกองทุนนี้เรียกได้ว่า เป็นดาวเด่นของ Genomics ซึ่งทั่วโลกกำลังจับตา ไม่เพียงเท่านี้กองทุน ARKG ยังมีจุดแข็งที่น่าสนใจในด้านการบริหารจัดการอีกด้วย เนื่องจากมีคุณ Cathie Wood และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในบริษัทที่ทำ “Disruptive Innovation” ทำหน้าที่คัดเลือกหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำ เข้ามาอยู่ในกองทุน
ด้วยความสามารถของทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ผสานกับโอกาสการเติบโตของธุรกิจ ส่งผลให้ในปี 2020 กองทุน ARKG สามารถสร้างผลตอบแทนสูงถึง 179% เติบโตสูงที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรม Biotech ที่ให้ผลตอบแทน 50% (อ้างอิงจาก SPDR S&P Biotech ETF) และมากกว่ากลุ่ม Healthcare (อ้างอิงจาก Healthcare Sector SPDR Fund) ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 12% ถึงแม้จะได้รับประโยชน์จากการคิดค้นและพัฒนาวัคซีน
สำหรับธุรกิจ Genomics นี้ เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว โดยคาดการณ์ว่า นับจากนี้ไปจะยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากความต้องการใช้บริการรักษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรม “เกม” เติบโตอย่างก้าวกระโดด หลังจากที่เกิดการพัฒนาของสมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความนิยมของการเล่นเกมผ่านมือถือเพิ่มขึ้นแบบเร่งสปีด จนสามารถจัดแข่งขันเป็นกีฬาระดับสากล หรือ E-Sport ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนเทียบเท่า 30% ของ GDP ประเทศไทยเลยทีเดียว
ปัจจุบันเกมในกลุ่ม E-Sport สามารถเล่นได้โดยผ่าน 3 อุปกรณ์หลัก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC), เครื่องคอนโซล (Console) และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต (Mobile) ซึ่งตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ คือ ตลาด Mobile เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีรูปแบบรายได้ที่น่าสนใจแตกต่างจากทั้ง PC และ Console
และเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมของตลาด “ธุรกิจผู้ผลิตเกม” จึงได้ออกกลยุทธ์การขายด้วยการให้ “บริการ” โดยเน้นการพัฒนาหรือเพิ่มเติมเนื้อหาภายในเกม ต่อยอดจากเกมเดิม เพื่อไม่ให้เนื้อหาการเล่นจำเจ และหากผู้เล่นต้องการเข้าถึงเนื้อหาใหม่ ก็จะต้องจ่ายแพ็กเกจเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงได้ ซึ่งเป็นรูปแบบรายได้ที่เรียกว่า Subscription-Based ส่งผลให้มีต้นทุนการพัฒนาเกมที่ต่ำกว่า เพราะเป็นการต่อยอดจากฐานข้อมูลเดิม
ขณะเดียวกันยังทำให้ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นเล่นเกมใหม่ เพราะผู้เล่นบางกลุ่มอาจจ่ายแพ็กเกจเพื่อเข้าถึงเนื้อหาพิเศษไปแล้ว การเปลี่ยนเกมเล่นจะทำให้เกิด Switching-Cost ได้ ซึ่งวิธีการพัฒนาเกมและเก็บรายได้รูปแบบนี้เป็นการเพิ่ม Customer Loyalty ทำให้รายได้ของเกม Mobile เติบโตโดดเด่น
ที่สำคัญคือ แม้ทั้งโลกยังต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้หลายคนต้องกักตัวอยู่บ้าน หรือต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) เป็นระยะเวลานาน อุตสาหกรรมนี้ ก็จะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพิสูจน์มาแล้ว กับการระบาดของโควิดในรอบก่อนหน้านี้
ดังนั้นธุรกิจ “เกม” จึงเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว เป็นเมกะเทรนด์ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในอนาคต
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเติบโตของกำไร จะผลักดันให้ตลาดหุ้นในปี 2021 ปรับตัวขึ้นต่อ นำโดยหุ้นกลุ่มหุ้นวัฏจักร (Cyclicals) ที่ราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials) สถาบันการเงิน (Financials) ฯลฯ ซึ่งกำไรจะฟื้นตัวขึ้นแรง
โดยในปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มนี้มีการ ขยับขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับทั้งตลาด ทำให้ราคาหุ้นกลุ่ม Cyclicals มีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น
นอกจากนี้ ในช่วงปี 2017 ที่ภาวะเศรษฐกิจและตลาดคล้ายกับปัจจุบัน หุ้น Cyclicals ก็มีการปรับตัวขึ้นแรงเช่นกัน โดยกลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) เพิ่ม ขึ้น +25%, ตามด้วยกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) +22% และ กลุ่มพลังงาน (Energy) +21% ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับตลาด (S&P500) ที่ +19%
ดังนั้น ประเทศที่เศรษฐกิจมีความผันผวนต่อวัฏจักรเศรษฐกิจมาก เช่น กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (EM) ก็มักจะฟื้นตัวได้เร็วกว่ากลุ่มที่พัฒนาแล้ว (DM) โดย ในปี 2017 ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิด ใหม่ (EM) เพิ่มขึ้นถึง 25% มากกว่าตลาด ประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ที่ +17%
ด้วยเหตุนี้เอง สำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะสั้น-กลาง จึงแนะนำให้เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM) และหุ้นวัฏจักร (Cyclical stocks)
“จีโนมิกส์”- “เกมออนไลน์”(อีสปอร์ต) – “หุ้นเกิดใหม่” จึงเป็น 3 กลุ่มธุรกิจดาวเด่น ที่ธนาคารทิสโก้แนะนำ ในเดือนม.ค.นี้
TISCO Advisory
ที่มา : https://www.tisco.co.th/th/advisory/2021-01-11-3-interesting-businesses-in-covid-19-crisis.html
ดูไลฟ์ฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/cRX9NqWkWpA
คุณ Andrew Stotz เป็นผู้มีประสบการณ์เรียนรู้ สอน ทำงานในแวดวงการเงิน รวมไปถึงการลงทุนมาแล้ว 35 ปี
มีประสบการณ์การสัมภาษณ์เกี่ยวกับการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ผ่าน Podcast กว่า 300 บทสัมภาษณ์ ซึ่งทำให้คุณ Andrew Stotz ตระหนักถึงความสำคัญในการจำกัดและจัดการความเสี่ยงในการลงทุน
Fundamentals
ศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทนั้น ๆ และทีมบริหาร
Valuation
ดูความถูกแพงของหุ้นหากเทียบกับมูลค่าเนื้อแท้ของกิจการ
Momentum
เลือกหุ้นและสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่เริ่มมีแนวโน้มเกี่ยวกับกำไร รวมไปถึงแนวโน้มทางด้านราคา
Risk
ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุด โดยหลัก ๆ แล้วจะดูความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ รวมไปถึงความเสี่ยงทางด้านราคาที่อาจก่อให้เกิดความผันผวนขึ้นได้
หลัก ๆ แล้วพอร์ต AWS จะเน้นการสร้างผลตอบแทนผ่านหุ้นเป็นแกนหลัก และเลือกใช้สินทรัพย์อื่น ๆ ในการลดความผันผวนในช่วงตลาดขาลง
Global – พอร์ต AWS ไม่จำกัดการลงทุนในที่ใดที่หนึ่ง แต่ในทางกลับกันสามารถหาโอกาสลงทุนได้จากทั่วโลก
Long-term – เน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และลดความเสี่ยงในช่วงขาลง
Diversified – ใช้สินทรัพย์ทางเลือกในการช่วยลดความเสี่ยง เช่น ตราสารหนี้ และโภคภัณฑ์ต่าง ๆ
พอร์ต AWS มีการแบ่งสัดส่วนลงทุนในทองคำตั้งแต่ต้นปี 2020 เพื่อลดความเสี่ยง
ลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 25% ในเดือนมีนาคม หลังตลาดเกิดการพักฐานรุนแรง
ปรับเพิ่มสัดส่วนหุ้นอีกครั้งหลังทาง Fed ทำ QE สนับสนุนช่วยเหลือ
เพิ่มสัดส่วนหุ้นอีกครั้งหลัง Fed ยืนยันที่จะทำมาตรการ QE ต่อไปและลดการถือครองตราสารหนี้ลง
เพิ่มสัดส่วนหุ้นสูงสุดจากทิศทางการมาของวัคซีน และแนวโน้มการลงทุนที่เป็นไปแบบ Risk-On มากขึ้นจึงลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
พอร์ต AWS มีการปรับฐานน้อยกว่าดัชนีหุ้นโลกอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ผลตอบแทนยังไม่เทียบเท่า
สัดส่วนกำไร 15% ของ 5,000 บริษัทในสหรัฐเป็นของหุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงการผูกขาด
ในส่วนของคำแนะนำหุ้นเทคฯ อาจลงทุนได้ในระดับปานกลาง จากการขึ้นมาของโจ ไบเดน ที่ไม่ได้มีมาตรการกดดันเรื่องของการผูกขาดเท่ากับ โดนัลด์ ทรัมป์
การที่ดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักและใช้กันอย่างแพร่หลายในโลก ทำให้สหรัฐมีอำนาจในการต่อรองกับบริษัทต่าง ๆ ให้ออกจากระบบการค้าได้ เนื่องมาจากการที่ดอลลาร์ใช้ในการค้าขายกันอย่างแพร่หลาย เช่น ในสมัยบารัค โอบามา ทำกับรัสเซีย
แต่การทำแบบนี้อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากประเทศต่าง ๆ อาจใช้วิธีรวมตัวกันค้าขาย โดยปราศจากดอลลาร์ ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ถูกลดอำนาจการต่อรองลง จากปริมาณหมุนเวียนที่ลดลงนั่นเอง ตัวอย่างเช่น การที่จีนและรัสเซียลดการค้าขายผ่านสกุลเงินดอลลาร์ หรือการที่อังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศสค้าขายกับอิหร่านโดยปราศจากสกุลเงินดอลลาร์
จากภาพตัวอย่างข้างต้น รัสเซียงดการสำรองเงินดอลลาร์ครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2018 ถึงปี 2019 และหันมาสำรองเงินยูโรและทองคำมากขึ้น
คุณ Andrew Stotz มองว่าภายในไม่กี่ปีนี้อาจเกิดสงครามขึ้นได้ จากการที่ประเทศอื่น ๆ ในโลกลดการใช้เงินดอลลาร์ลง ในขณะที่ทางสหรัฐยังคงต้องการรักษาอำนาจของเงินดอลลาร์ให้คงไว้ แต่ถึงอย่างนั้นในตอนนี้เงินดอลลาร์ยังมีความต้องการสูงและใช้กันอย่างแพร่หลาย
มุมมองตลาดหุ้นจีน: มีการควบคุมโรคระบาดที่ดี มีการฟื้นตัวของการบริโภคภายในที่ดี และในปีข้างหน้าตลาดเอเชียและจีนอาจเป็นไปในทิศทางที่ดี
มุมมองตลาดหุ้นยุโรป: อาจมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้น แต่ยังมีแรงกดดันจากเรื่องของ Brexit
สรุปสัดส่วนหุ้น ณ ปัจจุบันของ All Weather Strategy
สัดส่วนหุ้นของ AWS ยังคงเน้นหุ้นเอเชียเป็นหลัก จากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐมีมูลค่าเกินตัวค่อนข้างสูง และหนี้สินของทางรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีแรงกดดันทางการเมือง รวมถึงการว่างงานที่ยังสูงอยู่
ดูไลฟ์ฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/cRX9NqWkWpA
เรียบเรียงโดย
Mr. Serotonin
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
สิ้นปี 2562 หุ้นเดลต้ามีราคา 53.5 บาท ต้นปี 2563 เกิดวิกฤติโควิด-19 และต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ที่ 15 มกราคม 2564 เป็นเวลาประมาณ 1 ปีเศษ หุ้นเดลต้ามีราคา 580 บาท มูลค่าหุ้นทั้งหมดหรือ Market Cap. เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาทเป็น 7.2 แสนล้านบาท คิดแล้วเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 เท่าในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นเดลต้ากลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากหุ้นขนาดกลางที่ยังไม่ติดเข้ามาในดัชนี SET 50 ที่ไม่ไปไหนมาหลายปี
ในเวลาเดียวกันนั้น หุ้นเทสลา มีราคาประมาณ 86 เหรียญสหรัฐและก็ไม่ได้ไปไหนมานานก็ขยับขึ้นฝ่าวิกฤติโควิด-19 มาจนถึงวันนี้มีราคา 826 เหรียญหรือโตขึ้นเกือบ 10 เท่า ในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นมี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดประมาณ 7.8 แสนล้านเหรียญหรือ 23.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นหุ้นใหญ่ประมาณอันดับ 5-6 ของตลาดหุ้นอเมริกาและของโลกจากบริษัทระดับกลาง ๆ ที่ยังไม่ถูกคำนวณในดัชนี S&P 500 และนี่ก็คือความเหมือนกันของหุ้นทั้งสองตัวที่ทุกคนต่างก็ “ตะลึง” แต่นั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ทั้งสองบริษัทหรือสองหุ้นยังมีอะไรเหมือนกันมากกว่านั้น เรามาดูกัน
เทสลาเป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแสหรือเมกาเทรนด์ใหม่ของโลก อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ของบริษัทก็ยังน้อยมากเพียงประมาณ 500,000 คัน ในปีที่ผ่านมาเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้าที่ขายถึงประมาณ 10 ล้านคันต่อปี กำไรของบริษัทก็น้อยมากและเพิ่งจะเริ่มกำไรหลังจากที่ขาดทุนมานานและก่อนหน้านั้นแค่ 1-2 ปี ยังทำให้อีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัทต้องประกาศขายอสังหาริมทรัพย์และอื่น ๆ เพื่อ “พยุง” ตัวให้รอดจากภาวะยากลำบากทางการเงิน แต่ภายหลังหุ้นเทสลาดีดตัวขึ้นมาแรงกลับทำให้เขากลายเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกเพราะถือหุ้นเทสลาประมาณ 25% ของบริษัท
หุ้นเทสลาขึ้นมาแรงมากในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะมาจากสตอรี่หรือข่าวดีต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่บริษัทเริ่มมีกำไรและโรงงานที่จีนประสบความสำเร็จในการผลิตอย่างสูง นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่าคนหรือนักลงทุนเริ่มเห็นว่าบริษัทจะเริ่ม “Take of” หรือตั้งตัวได้เต็มที่พร้อมที่จะ “ออกบิน” แล้วจึงเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างหนักซึ่งส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นอย่างแรงหลังจากที่หุ้นนิ่งและประสบกับอุปสรรคมานานไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นแรง นักเก็งกำไรก็คงตามแห่เข้ามาซื้อเพราะกลัว “ตกรถ” กลัวจะพลาดโอกาสในการทำเงินจาก “กระแสใหม่” ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของรถยนต์ไปตลอดกาลคล้าย ๆ กับกระแสของการ “ปฏิวัติดิจิตอล” ที่ทำให้ผู้นำโลกอย่างเฟซบุคและอะเมซอนมีมูลค่าหุ้นสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ในสายตาของนักวิเคราะห์จำนวนมากรวมทั้งผมเองนั้นคิดว่าเทสลาอาจจะมีความแตกต่างในแง่ที่ว่ามันเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จับต้องได้ที่มักจะไม่สามารถทำกำไรได้แบบ “ทวีคูณ” เมื่อยอดขายมากขึ้น เหตุผลก็เพราะว่าทุกครั้งที่ยอดขายเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็จะเพิ่มตามในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับของเดิม ดังนั้น กำไรก็จะเพิ่มตามกันไปในอัตราส่วนใกล้เคียงกับของเดิม ในขณะที่หุ้นดิจิตอลนั้น เวลามีคนใช้บริการมากขึ้น ต้นทุนที่เพิ่มจะน้อยมากเพราะต้นทุนในการทำระบบนั้นได้จ่ายไปหมดแล้ว ทำให้เมื่อถึงจุดเริ่มกำไรแล้ว หลังจากนั้นกำไรจะโตมากเป็นทวีคูณ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเสียเปรียบก็คือ มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “Network Effect” นั่นก็คือ คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันได้เสมอตราบที่สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ในขณะที่หุ้นดิจิตอลอย่างเฟซบุคเองนั้น คู่แข่งจะเข้ามายากมากเพราะผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการของบริษัทที่มีเครือข่ายที่ใหญ่กว่า มากกว่าเรื่องของคุณภาพและราคา
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว มีคนจำนวนมากไม่เชื่อว่าราคาหุ้นเทสลาที่ขึ้นไปนั้นสอดคล้องกับ “พื้นฐาน” ที่ควรเป็นของเทสลา คนเชื่อว่านี่เป็นราคาที่เกิดจากการเก็งกำไรสุดโต่งอานิสงส์ส่วนหนึ่งจากการที่สภาพคล่องทางการเงินของโลกสูงลิ่ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครคิดว่าหุ้นตัวนี้มีคนปั่นหรือหุ้นถูก “Corner” อย่างตั้งใจโดยคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าหุ้นเทสลานั้นมีผู้ถือหุ้นกระจายตัวมากและประวัติเรื่องการคอร์เนอร์หุ้นในอเมริกานั้นมีน้อยมาก
บริษัทเดลต้ามีความคล้ายกับเทสลาในแง่ที่ว่าเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ให้แก่บริษัทผู้ผลิตสินค้า “ไฮเท็ค” ทั่วโลก โดยเฉพาะด้านของการสำรองพลังงาน ว่าที่จริงเทสลาก็น่าจะเป็นลูกค้าด้วยเพราะชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือพลังงานจากแบตเตอรี่ที่ถูกสำรองไว้ ดังนั้น สตอรี่ของเดลต้าก็คือการเกาะไปกับเมกาเทรนด์ส่วนนี้ด้วย ข่าวที่ว่ารายได้และกำไรของบริษัทกำลังจะโต “ก้าวกระโดด” หลังจากที่นิ่งมาไม่น้อยกว่า 4-5 ปีจึงไป “ปลุกหุ้น” ให้วิ่งขึ้นมาและก็คงคล้าย ๆ กับเทสลาที่เมื่อนักลงทุนเห็นหุ้นวิ่งขึ้นมารุนแรงก็แห่กันเข้ามาซื้อส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นไปอีกและวิ่งขึ้นไปมากเสียยิ่งกว่าหุ้นเทสลา ซึ่งคนดูว่า “ไม่น่าเป็นไปได้” เพราะเทสลานั้นเป็นผู้นำที่ขายความไฮเท็ค ในขณะที่เดลต้านั้นเป็นแค่ผู้ผลิตชิ้นส่วน ไม่ได้เป็นคนที่จะ “เปลี่ยนโลก”
แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ หุ้นเดลต้านั้นมีหุ้น Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือนักลงทุนที่พร้อมขายน้อยมาก ในขณะที่หุ้นเทสลาอาจจะมีฟรีโฟลท 75% หุ้นเดลต้าน่าจะมีฟรีโฟลทไม่เกิน 25% ดังนั้น โอกาสที่หุ้นเดลต้าจะถูก Corner ทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจจึงสูงกว่ามาก ว่าที่จริงก่อนเริ่มวิ่งนั้น หุ้นเดลต้าหรือหุ้นฟรีโฟลทของเดลต้านั้นไม่ได้สูงเลย และอยู่ในวิสัยที่นักลงทุนรายใหญ่ของไทยสามารถที่จะคอร์เนอร์ได้อย่างไม่ยากเย็น ว่าที่จริงหุ้นตัวอื่นที่มีฟรีโฟลทระดับเดียวกันหลาย ๆ ตัวก็น่าจะเคยหรือกำลังถูกคอร์เนอร์กันมาแล้วจนมีมูลค่าหุ้นเป็นแสนล้านบาท หุ้นเดลต้าก็อาจจะเป็นเพียงอีกตัวหนึ่งที่ถูกคอร์เนอร์เหมือนกัน เพียงแต่ว่าการคอร์เนอร์อาจจะรุนแรงกว่ามาก อาจจะเนื่องจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการเป็นหุ้นของ “ต่างชาติ” ที่ทำให้ราคาหุ้น “หลุดโลก”
หุ้นเทสลากับหุ้นเดลต้ายังมีความคล้ายกันในแง่ที่ว่า หลังจากที่หุ้นขึ้นไปสูงมากและปริมาณการซื้อขายสูงลิ่วอานิสงส์จากการเก็งกำไรกันอย่างรุนแรง ทำให้เข้าเกณฑ์ที่จะถูกรวมอยู่ในดัชนี S&P 500 และ SET 50 ตามลำดับ ผลจากการนั้นจะทำให้กองทุนอิงดัชนีทั้งหลายที่มีจำนวนมากต้องเข้ามาซื้อหุ้นไม่ว่าจะมีราคาเท่าไร กองทุนจะต้องซื้อหุ้น “ตามสัดส่วน” ของ Market Cap. ซึ่งในขณะนี้มูลค่าของหุ้นทั้งสองก็สูงมากเมื่อเทียบกับดัชนี ผลก็คือ จะมี “แรงซื้อ” หุ้นทั้งสองตัวเข้ามามหาศาลในวันที่มันถูกนำเข้ามาคำนวณ ผลก็คือ ถ้าหุ้นถูกคอร์เนอร์อยู่แล้ว มันก็จะถูกคอร์เนอร์แน่นเข้าไปอีก ราคาหุ้นก็อาจจะต้องวิ่งขึ้นไปอีกจนกว่าคอร์เนอร์จะ “แตก” และเมื่อถึงวันนั้น ความเสียหายหรือกำไรที่จะได้รับสำหรับบางคนก็จะมหาศาล
หุ้นเทสลานั้น กำลังถูกชอร์ตอย่างแรงโดยคนที่คิดว่าหุ้นเทสลานั้น “แพงหลุดโลก” และจะต้องตกลงมาอย่าง “หายนะ” ปริมาณการขายชอร์ตในขณะนี้น่าจะ “มากที่สุดในโลก” ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านเหรียญหรือกว่า 1 ล้านล้านบาท เซียนหรือ “ตำนานนักชอร์ต” ที่เคยทำกำไรมหาศาลจากการชอร์ตตราสารซับไพร์มคือ Michael Burry กำลังพนันอย่างเต็มที่ว่าหุ้นเทสลาจะต้อง “พังทลาย” เราคงต้องดูกันว่าใครจะพัง ว่าที่จริงคนที่เคยชอร์ตหุ้นเทสลาในปีก่อน “เจ๊ง” ไปแล้วประมาณ 3.8 หมื่นล้านเหรียญเพราะหุ้นขึ้นไปเรื่อยและแพงเวอร์มาทั้งปี นักวิเคราะห์หลายคนรวมถึงอีลอน มัสก์ บอกว่าคนที่ชอร์ตต่างหากที่จะต้องพังเพราะจะถูก “บี้” ให้ต้องกลับไปซื้อหุ้นที่ราคาแพงขึ้นไปอีก คนทั่วโลกกำลังหลงรักเทสลา
หุ้นเดลต้านั้น ตั้งแต่มีประเด็นว่าอาจจะถูกปั่นหรือคอร์เนอร์หุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็มีการปรับตัวลงมาบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงมาก ตลาดหลักทรัพย์และคนที่เกี่ยวข้องเองต้องออกมาเสนอมาตรการเกี่ยวกับเรื่องฟรีโฟลทเพื่อป้องกันไม่ให้การเกิดการคอร์เนอร์หุ้นอย่างง่าย ๆ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ในเวลาเดียวกัน ดูเหมือนว่าคนก็ยังเล่นกันอย่างหนัก ราคาหุ้นผันผวนวันละเป็น 10% บวกลบเป็นเรื่อง “ปกติ” ผมเองไม่แน่ใจว่าเมื่อมาตรการออกมาจะทำให้หุ้นสงบลงและราคาสะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงเมื่อไร และเคยสงสัยว่าเราจะ “ขายชอร์ต” หุ้นเดลต้าได้ไหม เพราะผมรู้สึกว่าราคานี้ยังไงก็รับไม่ได้ แต่เมื่อตรวจสอบกับโบรกเกอร์ของผมดูแล้วก็พบว่า ในกรณีของหุ้นเดลต้าไม่น่าจะทำได้ เพราะไม่มีคนให้ยืมหุ้นหรือถ้าให้ยืมแล้วมาขอคืนเราก็ “ตาย” ดังนั้น สำหรับผมแล้ว กรณีของหุ้นเดลต้าก็ไม่ต้องสนใจที่จะเข้าไป “หาเงินจากความผิดพลาดของตลาด” แต่แค่เอาไว้ศึกษาว่าความคิดของเราถูกต้องไหม แค่นั้น
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/01/18/2449
ดาวน์โหลดฟรี! Presentation – เจาะลึกกองทุน ARK ทั้งหมดในประเทศไทย
ดูผ่าน Facebook ได้ที่ :
https://www.facebook.com/finnomenaopportunity/videos/2559202231045987/
ดูผ่าน Youtube ได้ที่ :
https://youtu.be/HyTY8jwQzYc
กดติดตามเพจ The Opportunity ได้ที่ : https://www.facebook.com/finnomenaopportunity/
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี 2020 ที่ผ่านมานั้น เป็นปีที่เต็มไปด้วยความผันผวน จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ลุกลามทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งกรณีการเมืองระหว่างประเทศที่ตึงเครียดมากขึ้น รวมไปถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์เหล่านั้นล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อมุมมองการลงทุนของ FINNOMENA Investment Team อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทำให้ Goal, 1st Million และ All Balance Port ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนแบบ Strategic Asset Allocation ที่จัดสัดส่วนการลงทุนด้วย Black-Litterman Model หัวใจของ FINNOMENA Robo-Advisor ที่ผสมผสานระหว่างโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยคำนวณค่าสถิติในอดีต กับ มุมมองการลงทุนในอนาคตจากผู้แนะนำการลงทุนนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับสัดส่วน เพื่อสะท้อนมุมมองดังกล่าว
พร้อมดัวยการ Rebalance ซึ่งคือการเข้าซื้อเพิ่มในกรณีที่สินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งในพอร์ตราคาปรับลงมาก การขายทำกำไรในกรณีที่สินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก หรือเป็นกลไกการ “ซื้อถูกขายแพง” นั่นเอง ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำให้ปรับสัดส่วนการลงทุน ดังนี้
ที่สำคัญนักลงทุนทุกท่าน นอกจากปรับสัดส่วนการลงทุนแล้ว อย่าลืมปรับแก้คำสั่งซื้อแบบ DCA ให้เป็นไปตามสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนแนะนำสำหรับแผนการลงทุน 1st Million และ Goal โดยสามารถศึกษาวิธีการปรับเปลี่ยนได้จากลิ้งค์นี้
แอปพลิเคชัน: https://www.youtube.com/watch?v=wOyQnLiePNI
เว็บไซต์: https://www.youtube.com/watch?v=Q6T1wIpShQ4
โปรดคลิกที่รูป เพื่อดูรูปภาพขนาดเต็ม
โดยการแจ้งเตือนปรับพอร์ตการลงทุน ระบบจะแจ้งเตือนลูกค้าอีกครั้งภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ต่อจากนี้ โดยพิจารณาถึงสภาวะตลาดในระยะสั้นอันใกล้นี้ด้วย ซึ่งจะทำให้พอร์ตการลงทุนแต่ละระดับความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในเวลาที่ไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนต้องการที่จะปรับพอร์ตตามคำแนะนำดังกล่าวก่อนล่วงหน้า สามารถที่จะทำรายการได้ด้วยตนเองผ่าน Website, Mobile Application ได้
ที่สำคัญนักลงทุนทุกท่านอย่าลืมปรับแก้คำสั่งซื้อแบบ DCA ให้เป็นไปตามสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนแนะนำสำหรับแผนการลงทุน 1st Million และ Goal โดยสามารถศึกษาวิธีการปรับเปลี่ยนได้จากลิ้งค์นี้แอปพลิเคชัน:https://www.youtube.com/watch?v=wOyQnLiePNI
เว็บไซต์:https://www.youtube.com/watch?v=Q6T1wIpShQ4
FINNOMENA Investment Team
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”
มาจะกล่าวบทไป ตอนที่แล้วผมเล่าเรื่องว่ากองทุนคืออะไรในบทความ “คัมภีร์มหากาพย์ กองทุนรวม คืออะไร? มือใหม่อ่านที่นี่ ครบจบที่เดียว“
ทีนี้ก็เริ่มมีคนสงสัยครับว่าถ้าจะลงทุนกองทุนเนี่ย ต้องไปลงที่ไหน อะไรยังไง เริ่มเปิดบัญชีอย่างไรดี ก็เลยจะมาสรุปคร่าว ๆ ให้ฟังว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง แล้วจะลองพาไปเปิดกันออนไลน์เลย
1. เปรียบเทียบทุกแง่มุม เปิดบัญชีกองทุนที่ไหนดี ?
2. ลองพาไปเปิดบัญชีกับ FINNOMENA PORT ดู กรอกเต็มที่ไม่เกิน 5 นาที
ตัวเลือกแรกๆ ที่คนมักจะนึกถึง ปัจจุบันเกือบทุกธนาคารก็มักจะมีบริการให้นักลงทุนทุกท่านเข้าไปเปิดบัญชีกองทุนรวมได้ง่ายๆ เพียงแค่เดินเข้าไปที่สาขาธนาคารและแจ้งความประสงค์กับพนักงานสาวสวยที่รอต้อนรับทุกท่านอยู่
อย่างไรก็ตามการเปิดบัญชีกับธนาคารนั้นบางแห่งยังสามารถซื้อขายได้เฉพาะกับกองทุนของ บลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) ในสังกัดเท่านั้น (ในสังกัดเช่น Kbank กับ KAsset)
SCBS Easy Invest Application
TISCO Wealth Advisory
อย่างไรก็ตามบางธนาคารก็เริ่มที่จะเปิดตัว Platform ที่สามารถซื้อได้ต่างธนาคารมากขึ้น เช่น TISCO Wealth , หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS), และอื่นๆ ซึ่งในที่นี้ถ้าใครยังคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมการเงินกับธนาคาร มีการเข้าออกธนาคารบ่อยๆ ก็อาจจะเลือกทางเลือกนี้ได้ทันที
KBank Private Banking
TMB Smart Port
นอกเหนือไปจากนั้นบางธนาคารก็เริ่มจะมีการให้คำแนะนำในการลงทุนด้วยทั้งสำหรับลูกค้าที่มีสินทรัพย์สูง (High Net Worth) ระดับหลายล้านขึ้นไปอย่างของ Kbank Private Banking , KTB Precious หรือบางเจ้าอย่าง TMB Smart Port ก็เริ่มลงมาให้คำแนะนำสำหรับลูกค้าทั่วไป เงินลงทุนขั้นต้น 10,000 บาทเป็นต้น อย่างเจ้าหลังมีการงดเว้นค่าธรรมเนียมการซื้อเข้า ออก (Front/Backend Fees) ให้ลูกค้าด้วยนะครับ เรียกได้ว่าแข่งขันกันดุเดือดเลย แต่ผลประโยชน์ก็มาตกที่นักลงทุนอย่างพวกเรานี่แหละ 🙂
เปิดบัญชีที่เดียว มั่นใจได้ว่าซื้อได้ครบ จบทุกบลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) อันนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจครับ โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ๆ ที่ผู้เขียนรู้จักอย่าง Nomura iFund, Phillip Fund Supermart และอื่นๆ รวมไปถึง FINNOMENA ที่ผู้อ่านกำลังอ่านอยู่นี่ด้วยครับ
ข้อดีของการเปิดบัญชีลงทุนกับบริษัทเหล่านี้ ที่แน่ๆ นอกเหนือจากซื้อได้หลายบลจ. (ยังไงเช็กแต่ละเจ้าอีกที อาจจะมีแตกต่างกันบ้าง 2-3 บลจ.) แบบไม่มีข้อกังขาแล้ว ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นก็เท่ากับที่เราซื้อกับธนาคารหรือบลจ. เป๊ะๆ เลย เพราะบริษัทเหล่านี้ทำรายได้จากการขอแบ่งค่าธรรมเนียมด้านหลังกับ บลจ. อีกที ตัวอย่างแบบจำลองตัวเลขขึ้นมา ดังนี้ครับ
ปกติซื้อกอง A ผ่านบลจ. A ค่าธรรมเนียม 1 บาท บลจ. A ได้ค่าธรรมเนียมเต็มๆ
พอเรามาซื้อที่บล.เหล่านี้กอง A ค่าธรรมเนียม 1 บาทเหมือนกัน แต่ 50 สตางค์ไปอยู่ที่บล. และ อีก 50 สตางค์แบ่งเข้าบลจ.ไป
เรื่องความปลอดภัยหลายคนอาจจะมองว่าไม่มั่นคงเท่าธนาคาร แต่ความจริงคือ บริษัท บล. เหล่านี้มีหน้าที่รับคำสั่งจากลูกค้าและสิ้นวันส่งเงินไปให้ธนาคารพาณิชย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนต่างๆ ที่นักลงทุนได้เลือกลงทุนไป ไม่ได้เก็บที่บล.เหล่านี้แต่อย่างใด
ถ้า บล. พวกนี้มีอันเป็นไป ต้องปิดกิจการ เงินเราก็ไม่หายไปไหน อยู่ที่ บลจ. ปลายทางครับ ไม่ต้องห่วง
ระบบคัดเลือกกองทุนและให้คำแนะนำของ Nomura
ระบบคัดเลือกกองทุนและให้คำแนะนำของ Phillip
ระบบคัดเลือกกองทุนและให้คำแนะนำของ FINNOMENA
สำคัญที่สุดทุกที่ก็ดูเหมือนจะมีคำแนะนำแถมให้ทุกที่เลย และผู้เขียนก็คิดว่าดีกรีความเป็นกลางของแต่ละแห่งนั้นน่าจะสูงพอตัว กองไหนดีบอกดี กองไหนไม่ดีบอกไม่ดี เพราะธรรมชาติของธุรกิจ ไม่ว่าเขาแนะนำไปลงกองทุนที่ไหนก็ได้ค่าธรรมเนียมเหมือนกัน หลายๆแห่งจึงสร้างระบบให้คำแนะนำในการลงทุนขึ้นมาเป็นส่วนเสริม เพิ่มเติมช่วยเหลือนักลงทุนด้วยว่า ควรลงกองทุนใดดี ควรจัดพอร์ตอย่างไร ของ Nomura จะชื่อ NOMURA IWEALTH ส่วนของ FINNOMENA ชื่อ FINNOMENA PORT นั่นเองครับ
กลับมาที่คำถามหลักของเรา แล้วเราจะรู้ว่าแบบไหนจะเหมาะกับเรา? ส่วนตัวผมคิดว่าตรงนี้อาจจะต้องลองเข้าไปศึกษาในเว็บไซต์/ขอข้อมูลจากพนักงานของแต่ละที่ดูได้ครับ แต่ละที่ก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป มีคุณภาพคำแนะนำที่แตกต่างกันออกไป หรือบางท่านลองใช้วิธีเปิดบัญชีแล้วลองโหลดแอพมาเล่นดูเลยก็ได้ครับ เพราะหลายๆที่สามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องเสียเงิน หรือลงทุนก่อนแต่อย่างใด ผมรวบรวมลิ้งค์มาให้แล้วข้างล่างครับ
Nomura iFUND | Phillip Fund SuperMart | FINNOMENA |
![]() |
![]() |
ก็ไหนๆ มาเขียนที่ FINNOMENA เลยอยากจะพาลองใช้ FINNOMENA PORT ดูครับ โดยเบื้องต้นเนี่ย
ใครกดผ่านเว็บเข้าไปที่ finnomena.com/port แล้วกด “ลองใช้งาน PORT” ได้เลยครับ
ส่วนใครกดผ่านแอพ โหลดมา แล้วเลือก Tab ที่ 2 “Port” แล้วกด “ลองใช้ FINNOMENA PORT” ได้เลยครับ
ตรงนี้แนะนำถ้าเป็นไปได้โหลดแอพมาตั้งแต่เนิ่นๆจะดีกว่าครับ เพราะว่าปัจจุบันการเปิดบัญชีแบบไม่ต้องส่งเอกสารเนี่ย ทำได้เฉพาะในแอพพลิเคชันอยู่ เพราะต้องมีการให้เซ็นชื่อลงในแอพด้วยครับ
แต่ถ้าใครไม่สะดวก ยังอยากใช้ผ่านเว็บก็ยังทำได้อยู่ แต่ต้องส่งเอกสารเข้ามาทางไปรษณีย์นะครับ 🙂
โดยแผนพวกนี้จะปรับตามเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุน และคอยบอกว่าควรซื้อ ขาย กองทุนในเวลาใดด้วย แต่ ณ ตอนนี้ เราข้ามไปก่อน เราเน้นซื้อขาย บลจ. ตามใจเราต้องการ เลื่อนมาล่างสุดจะเจอแผนที่ชื่อว่า DIY ครับ กดเข้าไปเลย
เข้ามาจะมีให้ใส่ เงินที่พร้อมลงทุน ก็ใส่คร่าวๆ ที่ประมาณไว้ก็ได้ครับ ตรงนี้แก้ไขทีหลังได้ ไม่ซีเรียส
โดยระบบจะพาท่านไปสมัครสมาชิกกับทางเราก่อนครับ ตรงนี้ใครยังไม่เคยสมัครก็สมัครได้เลยครับ
สามารถใส่ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์และอีเมลได้เลยครับ
ผมจะขออนุญาตอธิบายการเปิดบัญชีผ่านแอพพลิเคชันก่อนนะครับ
ตรงนี้จะเป็นการยืนยันว่าโทรศัพท์มือถือเป็นของคุณจริงๆนะครับ กรอกเบอร์มือถือเสร็จ จะมี SMS ส่งรหัสเข้าไป เพียงแต่นำมากรอกลงในแอพเป็นอัพเรียบร้อย
ตรงนี้เป็นเลขรหัสที่จำเป็นต้องจำไว้นะครับ ใช้สำหรับการทำรายการซื้อ/ขายกองทุนที่จะเกิดขึ้น
ตอนนี้ FINNOMENA มีการเปิดบัญชีแบบไม่ต้องส่งเอกสาร (Paperless) ที่ให้คุณนั่งกรอกง่ายๆจากบ้านเป็นอันเรียบร้อยครับ ใครอยากลองกดที่ปุ่มสีส้มในรูปได้เลย
ส่วนใครที่ยังสะดวกเซ็นเอกสารในกระดาษแล้วส่งมาทางไปรษณีย์ก็ยังสามารถทำได้ครับผม ด้วยการคลิกตรง “หรือ ต้องการเปิดบัญชีแบบเอกสาร และส่งทางไปรษณีย์” ซึ่งจะมีให้กรอกอีเมลที่ประสงค์จะให้ทาง FINNOMENA ส่งเอกสารเปิดบัญชีไปให้ครับ
นักลงทุนสามารถดาวน์โหลดเอกสารและปริ๊นท์ออกมา เซ็นตามจุดต่างๆ และส่งไปรษณีย์กลับมาทาง FINNOMENA ตามขั้นตอนในอีเมลได้เลย
ไม่เกิน 1 อาทิตย์สามารถเปิดบัญชีได้สำเร็จ จะมีการแจ้งเตือนไปทางอีเมล์และเริ่มลงทุนได้เลยครับ
ส่วนใครที่ถนัดเข้าเว็บไซต์ ก็สามารถกรอกอีเมลเพื่อให้ทางฟินโนมีนาส่งเอกสารไปให้ได้เช่นกันครับ แต่ถ้าใครอยากกรอกออนไลน์ แนะนำให้โหลดแอปฯ เลยครับ
หลังจากกดปุ่มสีส้มเข้ามา เราจะมี 4 ขั้นตอนให้กรอกนะครับ โดย 3 ขั้นตอนแรก “ข้อมูลเปิดบัญชี”, “แบบประเมินความเสี่ยง”, “ภาพถ่ายบัตรประชาชน” เนี่ยต้องกรอกตั้งแต่แรกเลย แต่ข้อมูลบางอย่างเช่น ข้อมูลคู่สมรสและบุตร / สถานที่ทำงาน เอาไว้กรอกทีหลังได้ครับ เรารู้ว่าหลายๆคนไม่มีเอกสารเหล่านี้อยู่กับตัว เราเลยหยวนๆให้กรอกภายหลังได้ครับ
ส่วนนี้ก็จะเป็นพวกชื่อ นามสกุล ความรู้การลงทุน ธนาคารที่ต้องการใช้เพื่อซื้อขายกองทุนครับ
ตรงนี้ก็จะเป็นคำถามเพื่อวัดระดับความเสี่ยงด้านการลงทุนครับ นักลงทุนควรจะกรอกให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดครับ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม
ตรงนี้ก็แนะนำว่าควรวางบัตรประชาชนไว้บนกระดาษขาวแล้วค่อยถ่ายนะครับ เพื่อให้เห็นข้อมูลบัตรประชาชนชัดๆ ระวังเรื่องแสงด้วยนะครับ บางทีแสงจ้าๆ ทำให้อ่านข้อความบนรูปยาก และสุดท้ายก็จะเป็นการเซลฟี่กับบัตรประชาชน ข้อควรระวังคือควรถือบัตรประชาชน ไม่ให้บังหน้าตัวเองนะครับ
จนถึงตรงนี้ที่จริงก็สามารถส่งไปเปิดบัญชีก่อนได้แล้วครับ แต่เผื่อไว้สำหรับใครพร้อมก็สามารถกรอกไว้ก่อนได้เลย
ข้อดีคือสามารถเซ็นลายเซ็นผ่านแอพพลิเคชันได้เลยครับผม ไม่ต้องปริ้นออกมาให้ยุ่งยาก
มาถึงตอนนี้ก็เรียกได้ว่าส่งข้อมูลเปิดบัญชีซื้อขายเรียบร้อยแล้วครับ รอประมาณ 1-2 วันทำการ ทางทีมงานก็จะตรวจเช็คข้อมูลและแจ้งเตือนไปทาง Email และ Notification ว่าทุกอย่างเรียบร้อย แต่ทว่าอีก 1 ขั้นตอนครับ ที่จำเป็นคือต้องทำการแจ้งธนาคารว่ายินยอมอนุมัติหักเงินค่าซื้อกองทุนเสียก่อน เพื่อเวลาเราซื้อ ระบบจะได้หักเงินจากบัญชีได้เลย
ข่าวดีครับ ไม่ต้องไปธนาคาร ไม่ส่งเอกสาร ทำบนแอพเดิมนี่หล่ะ กดเข้าไปที่ “อนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS)” ได้เลย
ตัวอย่างข้างล่างก็จะเป็นการกดอนุมัติสำหรับบัญชีของธนาคารกสิกรไทยครับ สามารถกดเลือกแอปมือถือแล้วเชื่อมบัญชี ระบบก็จะส่งข้อความมายืนยันให้คุณกดผ่านแอพ K-PLUS ง่ายๆ สบายๆ ไปเลย
ตรงนี้ถ้าเป็นธนาคารอื่นอาจจะต้องเข้าไปกดใน Mobile Banking, Internet Banking, ATM แต่ไม่ต้องห่วง เราเขียนขั้นตอนไว้ให้หมดแล้วครับ
โดยระยะเวลาที่ใช้เพื่อรอให้ทีมงานเราเข้าไปอนุมัติจะขึ้นอยู่กับช่องทางที่นักลงทุนทำเข้ามานะครับ แต่บอกได้เลยถ้าเปิดบัญชีมา ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน กดอนุมัติบัญชีต่อทันที เต็มที่ อย่างช้าสุด ไม่เกิน 2-3 วันทำการ พร้อมซื้อกองทุนที่คุณชื่นชอบได้แน่นอน
ยังไงในขั้นตอนต่างๆถ้ามีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ทาง 02-026-5100 หรือ LINE ที่ @FINNOMENAPORT ได้เลยครับ มีเจ้าหน้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เดี๋ยวไว้ครั้งหน้ามาคุยกันเรื่องการให้คำแนะนำ ในการลงทุนดีกว่า ว่าแต่ละที่จะให้คำแนะนำอย่างไร บางเจ้าเป็น Robo-advisor, Smart Port, Private Wealth เอย น่าสนุกครับ ว่าที่ไหนจะมีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกันไปอย่างไร สำหรับวันนี้ลาไปก่อนครับผม
เดฟเรนเจอร์
“สรุปข่าวสำคัญ เพื่อไม่พลาดทุกโอกาสด้านการลงทุน”
“รายการที่จะมาลัดเลาะเรื่องราวของธุรกิจที่จะพลิกอนาคต ด้วยโมเดลธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทรนด์ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร ติดตามใน Common green ได้เลย”
7 ล้านตัน คือปริมาณขยะพลาสติกและของเสียที่ถูกทิ้งลงทะเลในแต่ละปี
58 ล้านตัน คือปริมาณขญะพลาสติกและของเสียที่คาดการณ์กันว่าจะถูกทิ้งลงทะเลในอีก 10 ปีข้างหน้า
และอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาในมหาสมุทร
หากการผลิตพลาสติกและแนวโน้มการกำจัดของเสียยังคงดำเนินเช่นปัจจุบัน จะมีพลาสติกปริมาณ 1.2 หมื่นล้านตันที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือมีน้ำหนักเทียบเท่ากับวาฬสีน้ำเงิน 100 ล้านตัว หรือคิดเป็น 5,000 เท่าของประชากรวาฬสีน้ำเงินที่เหลืออยู่บนโลกใบนี้
ผลกระทบจากขยะพลาสติกเหล่านี้ ส่งผลเสียต่อสัตว์ทะเลเป็นอย่างมาก เมื่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลกินชิ้นส่วนของพลาสติกเข้าไป พลาสติกชิ้นจะเข้าไปกีดขวางลำไส้ และรบกวนระบบย่อยอาหารของสัตว์ UNESCO ประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีมีนกทะเลราว 1 ล้านตัวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลราว 100,000 ชีวิต ตายจากการกินพลาสติกเข้าไปและไปรบกวนระบบย่อยอาหารและติดค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้
เนื่องด้วยผลกระทบจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลและมหาสมุทร Adidias บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกด้านผลิตภัณฑ์กีฬา ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี โดยในแต่ละปีอาดิดาส ผลิตรองเท้ากีฬามากกว่า 400 ล้านคู่ และถ้ารวมเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์กีฬาอื่น ๆ จะมีมากกว่า 900 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งจำนวนการผลิตที่สูงขนาดนี้ ย่อมก่อให้เกิดขยะพลาสติกจำนวนมาก
คุณ Jame Carnes รองประธานฝ่ายกลยุทธ์แบรนด์ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่า “เรารู้ว่าพลาสติกเป็นวัสดุส่วนใหญ่ที่เราใช้ในการผลิตเสื้อผ้า และรองเท้ากีฬา” ดังนั้นแล้ว “เราจึงตัดสินใจที่จะออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อขยะพลาสติกที่เราผลิตขึ้นมาเหล่านี้” ด้วยเหตุนี้เอง อาดิดาสจึงหันมาเอาจริงเอาจรังกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อรองรับการรีไซเคิลในอนาคต ไปจนถึงการผลิตเสื้อผ้า และรองเท้ากีฬาจากขวดขยะพลาสติกที่เก็บจากชายหาดและในมหาสมุทร
ในปี 2015 อาดิดาส ได้จับมือกับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหาผลกำไร “Parley for the Oceans” เพื่อริเริ่มโปรเจกต์การผลิตเสื้อผ้า และรองเท้ากีฬาจากขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งตามริมชายหาดและทะเล ซึ่งขวดพลาสติกเหล่านี้ เป็นขวดพลาสติกที่มีโพลีเอสเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า PET ซึ่งโพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่สามารถนำมาทำเป็นเสื้อผ้า และรองเท้ากีฬาได้ โดยวิธีการผลิตรองเท้าจากขยะพลาสติก จะเริ่มจากการที่ Parley เก็บขยะพลาสติกจากพื้นที่ชายหาดทะเล เช่นใน เกาะมัลดีฟส์ หรือฮาวาย จากนั้นจะถูกส่งไปเข้าขบวนการบีบอัด และย่อยให้เป็นเศษเล็ก ๆ เพื่อนำมาผลิตเป็นเส้นใยสังเคราะห์ และนำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา โดยในปี 2015 Adidas และ Parley for the Ocean ได้ผลิตรองเท้าจากขยะพลาสติกเหล่านี้จำนวน 7,000 คู่ เพิ่มเป็น 1 ล้านคู่ในปี 2017 และ 11 ล้านคู่ในปี 2019 และปี 2020 ที่ผ่าน ก็ผลิตได้มากกว่า 15 ล้านคู่
นอกจากรองเท้ากีฬาแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ทางกีฬาอีกหลากหลายชิ้น ที่ผลิตขึ้นจากขยะพลาสติกทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นเสื้อฟุตบอลทีมดังระดับโลกอย่าง FC Bayern Munic เสื้อฟุตบอลใน Major League ของสหรัฐอเมริกา เสื้อทีมเบสบอล และเสื้อทีมรักบี้ เป็นต้น
นอกจากอาดิดาสจะนำขยะพลาสติกมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ของแบรนด์แล้ว ในส่วนของช็อปอาดิดาสเองยังสามารถหยุดการสร้างขยะพลาสติกได้สูงถึง 40 ตันในปี 2018 และตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ช็อปอาดิดาสก็ได้เลิกใช้ถุงพลาสติกแล้วโดยสิ้นเชิง
เพื่อที่จะเอาจริงเอาจรังกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกล้นทะเล อาดิดาสตั้งเป้าหมายการจัดการขยะพลาสติกไว้สามสเต็ปด้วยกัน
สเต็ปแรกคือการ เพิ่มจำนวนการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา ด้วยขยะพลาสติกรีไซเคิลในปี 2024
โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2024 โพลีเอสเตอร์ที่บริษัทใช้ทั้งหมด จะต้องนำกลับมารีไซเคิลได้อีกครั้ง และในปัจจุบันอาดิดาสได้ริเริ่มการติดป้ายสัญลักษณ์ ซึ่งจะเป็นการบอกว่าโพลีเอสเตอร์ที่นำมาผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา มาจากไหน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีป้ายติดว่า Prime Green จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้โพลีเอสเตอร์จากขยะพลาสติกรีไซเคิล ขณะที่ถ้าเป็น Prime Blue จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้โพลีเอสเตอร์จากขยะพลาสติกในมหาสมุทร
ส่วนสเต็ปที่สองคือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ในปี 2030 โดยมีการริเริ่มโปรเจกต์ที่มีชื่อว่า FUTURECRAFT.LOOP” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Made To Be Remade” ซึ่งใช้วัสดุที่ทำมาจาก “เทอร์โมพลาสติก โพลียูรีเทน (TPU) โดยทุกชิ้นส่วนของรองเท้าสามารถนำกลับไป “รีไซเคิลได้ 100%” จึงเป็นรองเท้ากีฬาที่ไม่ก่อให้เกิดขยะ (Zero Waste) และถือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมสินค้ากีฬาครั้งใหญ่ที่สามารถคิดค้นรองเท้ากีฬาที่ทุกองค์ประกอบนำกลับไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด
Eric Liedtke ผู้บริหาร Adidas เคยให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าวไว้ว่า “หลังจากที่เราทุกคนทิ้งรองเท้าไปแล้วรองเท้าคู่นั้นก็จะไปอยู่ในพื้นที่ฝังกลบขยะหรืออยู่ในเตาะเผาเพื่อทำลายแต่การกำจัดขยะด้วยวิธีการดังกล่าวสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร” เพราะฉะนั้นเป้าหมายต่อของอาดิสดาส คือต้องการกำจัดปัญหาขยะจากการบริโภคหรือใช้สินค้าด้วยการคิดค้นนวัตกรรมการผลิตและสินค้าที่ทำให้ผู้บริโภคสวมใส่รองเท้าที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลโดยที่ประสิทธิภาพของรองเท้าต้องดีขึ้น
และสเต็ปสุดท้าย คือการผลิตผลิตภัณฑ์กีฬาที่สามารถย่อยสลายได้เอง โดยสเตปนี้ Adidas ไม่ได้มีการตั้งเป้าปีที่บรรลุไว้ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ Adidas อยากไปให้ถึง เพราะถ้าเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์กีฬาต่าง ๆ สามารถย่อยสลายได้เอง ก็จะไม่มีของเสีย หรือขยะพลาสติกลงสู่ท้องมหาสมุทรนั่นเอง
นอกการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาที่มาจากขยะพลาสติกในทะเลแล้ว ในปี 2017 อาดิดาสได้ร่วมมือกับ Parley เพื่อจัดกิจกรรม “Run For The Ocean” ขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เชิญชวนให้นักวิ่งทั่วโลก ร่วมกันวิ่งเพื่อบริจาคเงินให้กับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม โดยทุก ๆ หนึ่งกิโลเมตรจะต้องบริจาคเงินเป็นจำนวน 1 ดอลลาร์ กิจกรรมเกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น LA, New York, Shanghai, London, Berlin และเมืองอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีผู้เข้าร่วมวิ่งคิดเป็นจำนวนกิโลเมตรที่วิ่งกว่า 12 ล้านกิโลเมตร กิจกรรม Run For The Ocean ยังได้ขยายไปถึงการจัดพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงผลกระทบของขยะพลาสติกในมหาสมุทรต่อสิ่งแวดล้อม และในบางเมือง กิจกรรมนี้จะรวมถึงการวิ่งเก็บขยะตามชายหาด เพื่อรักษาชายหาดให้สะอาด ปลอดขยะพลาสติกที่จะไหลงลงสู่ท้องทะเล
เงินส่วนหนึ่งที่ได้รับบริจาคจากกิจกรรม Run For The Ocean จะถูกใช้สำหรับการจัดการโรงเรียนที่ชื่อว่า Parley Ocean School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายคือการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรุ่นใหม่ รู้จักรักและหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นมากขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ อาดิสดาสได้ออกแคมเปญที่สร้างความฮือฮารดับะหนึ่งกับแคมเปญที่ชื่อว่า “This Shoe Alone Will Not Save The Planet” โดยแคมเปญนี้ เป็นการนำเอารองเท้ารุ่นยอดฮิตอย่าง SuperStar, Stan Smith และ Continental 80 มาปักข้อความลงไป รองเท้าจากแคมเปญนี้จะทำมาจากหนังวีแกน โดยที่ 90 เปอร์เซ็นต์ของวัสดุมาจากยางธรรมชาติ และอีก 10 เปอร์เซนต์มาจากยางที่หมดอายุใช้งาน หรือถูกทิ้งเป็นของเสียแล้ว การปล่อยแคมเปญ “This Shoe Alone Will Not Save The Planet” อาจเป็นการสื่อสาร และสร้างความรับรู้ในวงกว้างว่า “การผลิตรองเท้าจากขยะของเสียอย่างเดียว” ไม่สามารถช่วยโลกได้ ถ้าปัญหาสิ่งแวดล้อมยังไม่ถูกหยิบยก และนำไปปฏิบัติกันอย่างกว้าง
เป็นเรื่องที่ต้องจับตากันต่อไปว่าภาคธุรกิจอื่น ๆ และโดยเฉพาะในธุรกิจกีฬาเอง จะออกมาขานรับเสียงเรียกร้องจากอาดิดาสมากแค่ไหนต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
Kan Surakan
แหล่งที่มาข้อมูล :
https://www.fastcompany.com/90456454/inside-adidas-ambitious-plan-to-end-plastic-waste-in-a-decade
https://www.businessinsider.com/adidas-sneakers-plastic-bottles-ocean-waste-recycle-pollution-2019-8
https://www.forbes.com/sites/afdhelaziz/2018/10/29/the-power-of-purpose-how-adidas-will-make-1-billion-helping-solve-the-problem-of-ocean-plastic/?sh=691b1335d215
https://www.parley.tv/updates/adidasxparley
https://www.good.is/articles/good10-earth-issue-the-product-parley-adidas-for-the-ocean-plastic
https://www.gameplan-a.com/2020/06/the-adidas-sustainability-story-leading-the-change/
https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/oceans/plastic-in-blue-oceans/
https://positioningmag.com/1246667
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ถือว่าเป็นธรรมเนียมของทุกต้นปี ที่ผมจะนำธีมการลงทุนที่คิดว่าท่านผู้อ่านน่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาแบ่งปันกัน
ในปีนี้ ถือว่าพิเศษสุดเนื่องจากเหตุการณ์โควิด จึงทำให้ธีมการลงทุน ออกจะมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวในแง่ของความคิดเห็นมากกว่าทุกปี ดังนี้
น่าจะถือว่าเป็น Call ที่ออกจะสวนทางกับนักกลยุทธ์ส่วนใหญ่ ผมมองว่าแม้ว่าจะมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโตเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (EM) อยู่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่เติบโตดีขึ้นจากวัคซีนโควิด ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลง และ ราคาน้ำมันดิบที่ยังถือว่าไม่สูงมากเกินไปนัก ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดเกิดใหม่ ทว่าผมยังมองว่าตลาดเกิดใหม่จะดีขึ้นมากในปี 2022 มากกว่า ที่จะเป็นในปี 2021 ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศในตลาดเกิดใหม่โดยส่วนใหญ่ ยังน่าจะไม่สามารถฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชากรในสัดส่วนที่จะทำให้เกิดภูมิต้านทานหมู่ (Herd Immunity) ได้ทันในปีนี้
สิ่งนี้จะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในส่วนของภาคบริการ ซึ่งถือเป็นส่วนหลักของเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยว ยังไม่สามารถกลับมาได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากนักท่องเที่ยวจากประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ไม่อยากที่จะมาเที่ยวในประเทศตลาดเกิดใหม่โดยยังกลัวว่าจะติดโควิดอีก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องยังคงไม่กลับมาคึกคักอย่างที่คาด แม้ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกน่าจะกลับมาเป็นบวกแล้วก็ตาม
ในปี 2021 มีสิ่งหนึ่งที่ได้เปลี่ยนไปในมิติของนโยบายการเงินและการคลังของสหรัฐ นั่นคือการโฟกัสไปที่บริษัทขนาดกลางและเล็ก ซึ่งถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดเน้นเป้าหมายการจ้างงานมากกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ โดยอย่างที่ทราบกันว่าบริษัทขนาดกลางและเล็กเป็นผู้จ้างงานหลักให้กับตลาดแรงงานสหรัฐ
อย่างไรก็ดี สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากโควิดนั้น ผู้ที่ได้ผลกระทบมากที่สุดกลับกลายเป็นบริษัทขนาดกลางและเล็ก ดังนั้นกระทรวงการคลังสหรัฐและเฟด ในปีนี้ จึงมุ่งเน้นการกระตุ้นทางเศรษฐกิจโดยให้ความช่วยเหลือไปยังบริษัทขนาดกลางและเล็กแบบเต็ม ๆ โดยปัจจัยนี้ ผมเชื่อว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวกที่มีน้ำหนักค่อนข้างมากต่อหุ้นกลุ่ม Small Cap ของสหรัฐ
จากการที่นโยบายด้านพลังงานของโจ ไบเดน จะเน้นพลังงานสะอาดด้วยงบ 2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะผ่านสภาคองเกรสที่เป็น Blue Wave ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มพลังงานทางเลือกยังมีโอกาสจะขึ้นต่อไปได้อีก
โดยไบเดนเสนอให้มีการให้อัพเกรดอาคารที่เป็นตึกสูง 4 ล้านแห่งและบ้านที่อยู่อาศัย 2 ล้านหลังให้เป็นระบบพลังงานสะอาดในอีก 4 ปีข้างหน้า ผ่านการใช้วิธี Rebate ที่รัฐจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเท่ากับเป็นการสร้างงานใหม่อีก 1 ล้านตำแหน่ง ทั้งยังมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตของพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์ 500 ล้านหน่วยและกังหันลมแบบ Wind Turbine อีก 6 หมื่นหน่วย รวมถึงมีการสร้างสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ 5 แสนแห่งทั่วสหรัฐ ทั้งนี้ ไบเดนหวังว่าสหรัฐจะสามารถใช้พลังงานสะอาดแบบเต็มร้อยภายในปี 2035
เทคโนโลยีสไตล์หุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐ ในตอนนี้ หลายคนมองว่ามีอิทธิพลที่รุนแรงเพียงพอเหมือนกับในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งหมายถึงการมาถึงของโทรศัพท์ ยานยนต์ และ ไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้ทำให้ระดับผลิตภาพของโลกในตอนนั้นสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ต้นทุนของการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้อุปสงค์ของสินค้าเพิ่มขึ้นแบบล้นทะลักคลอบคลุมทุกรายอุตสาหกรรม โดยเกณฑ์ 3 ข้อในการที่จะตัดสินว่าเทคโนโลยีใดในขณะนี้ ว่าจะมีโอกาสจะก้าวมาเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตไว้ ดังนี้
1. ต้องสามารถต้นทุนลดลงแบบเยอะ ๆ เพื่อที่จะทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นส่งต่อกันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นแบบระลอกคลื่น โดยเมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวกระโดดผ่านจุดๆหนึ่ง ตลาดของสินค้าและบริการที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็จะเติบโตทั้งแนวกว้างและหลากหลายชนิดเป็นอย่างมาก โดยกฎของ Wright ที่ระบุว่ายิ่งสินค้าผลิตเยอะ ต้นทุนก็จะถูกลงอย่างรวดเร็วในการทำความเข้าใจขอบเขตของเทคโนโลยีที่เป็นจุดกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
2. เทคโนโลยีต้องสามารถตัดข้ามรายอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในระดับที่มีนัยต่อเศรษฐกิจ จะทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ของลูกค้าหลายส่วนเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่มีต่อความเสี่ยงด้านวัฏจักรธุรกิจ
3. ต้องสามารถทำหน้าที่เป็นเหมือนแพลตฟอร์มเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อีกมากมาย โดยแพลตฟอร์มนี้ จะส่งผลให้เกิดกรณีศึกษาที่จะนำไปใช้งานได้อีกมากอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง
ซึ่งผมมองว่าหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐถือว่าผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าว และด้วยพลังดังกล่าว ผมมองว่าน่าจะทำให้หุ้น Tech ในสหรัฐ รวมถึงจีนและยุโรปในบางส่วน จะยังคงสามารถให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีในปี 2021
หากจะมีภูมิภาคที่จะมีเซอร์ไพรส์ในเชิงบวก ผมมองว่าน่าจะเป็นยุโรป เนื่องจากภาพในทางภูมิรัฐศาสตร์ถือว่าดีขึ้นกว่าปีที่แล้วมาก จากการที่ไบเดนขึ้นมาเป็นผู้นำสหรัฐ ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศและความร่วมมือในมิติต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างหลากหลายใน 4 ปีข้างหน้า รวมถึงโควิดที่รุนแรงในช่วงนี้ น่าจะดีขึ้นในช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่สาม ปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลบวกต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปที่น่าจะดีขึ้นมาในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงตลาดหุ้นยุโรปก็น่าจะได้อานิสงส์ที่ดีตามไปด้วย
MacroView
ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/651835
หากถามว่ามีบริษัทผู้ผลิตชิปไหน ที่มีเทคโนโลยีเบอร์ต้น ๆ ของโลก และอยู่ใน Megatrend 5G, Internet of Things (IoTs), AI Edge Computing เช่น รถยนต์ไร้คนขับ แต่ยัง Market Cap เล็กกระทัดรัด เทียบกับคู่แข่งอื่น ๆ หนึ่งในตัวเลือกคงจะหนีไม่พ้น Lattice Semiconductor (LSCC)
เห็นครั้งแรกวิ่งแรงนึกว่าหุ้นปั่น Market Share ก็สู้เค้าไม่ได้ แต่พอศึกษาดี ๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะ LSCC เป็นผู้นำตลาด FPGA ในฝั่ง Low End และถือว่ามียอดขายสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก (ในเชิง Volume) ขายไปแล้วกว่า 1,000 ล้านชิ้น ใน 4 ปีที่ผ่านมา
FPGA คือ Field Programmable Gate Array เรียกภาษามนุษย์เราว่าชิปที่โปรแกรมทีหลังได้ เปลี่ยนไปมาได้ ไม่ต้องง้อโรงงาน
แต่พูดว่า FPGA เดี๋ยวนี้ไม่มีใครขาย FPGA กันทื่อ ๆ แล้ว เค้าทำเป็นสินค้าพร้อมใช้งานกันเรียบร้อย เพื่อใช้ใน IoTs และ AI ในส่วนของ Edge Computing โดยเฉพาะตรง 5G นั้นจะทำเป็นสินค้าออกมาเลยตอบโจทย์ตามการใช้งาน เช่นเพื่อใช้ใน Beamforming, Network Slicing อะไรพวกนี้
คำว่า Low End นั้น ดูเหมือนกระจอก แต่จริง ๆ แล้วนี่แหละคือสิ่งที่ตอบโจทย์ ในโลกธุรกิจนั้น ไม่ได้ต้องใช้สุดยอดความล้ำทางเทคโนโลยี 5nm 7nm ก็ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ เช่น เครื่องกรองอากาศ PM2.5 ของเรา คงไม่ต้องแสนอัจฉริยะ แสนดีเท่า Smartphone ดังนั้น คงไม่ต้องใช้ชิปดีเท่าครับ คุณคงไม่คาดหวังว่าบริษัทจะเอาชิป NVIDIA แพง ๆ หลายแสน แบบใน Data Center พร้อมระบบทำความเย็น ไปใส่ในรถยนต์ให้คุณนะ
ใช้คำว่า มันไม่ได้ ๆๆๆ มันไม่ใช่ความฉลาดทางวิศวกรรมเอาเสียเลย… แทนที่จะเล่าว่า บริษัทนี้ดีอย่างไร เทคโนโลยีเค้าดีจริงหรือ เนื่องด้วยสินค้ามีหลายหมวด มาตรวัดก็ต่างกัน มือใหม่อาจงงได้ ธีมที่ใหม่กับคนไทยขนาดนี้ ต้องเล่าว่าเอาไปใช้อะไร ทำไมมันน่าสนใจ ชวนเชื่อง่าย ๆ กับนักลงทุน เราชวนเชื่อกันที่ผลตอบแทน LSCC Turnaround ได้สำเร็จ วิ่งจาก $6.8 ตอนต้นปี 2019 มาที่ $43.7 (23/12/2020) ได้ คิดเป็นสัก 500% กว่า ๆ
แหม้ ล้อเล่นนะครับ นักลงทุนอย่างเรา ๆ ดูแค่ผลตอบแทนอย่างเดียวคงจะไม่ได้ !! มาดูเหตุผลอื่นดีกว่า
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าจะเกิด Demand มหาศาล ด้านฝั่ง Connectivity Chip, Network, Sensor อะไรพวกนี้เนอะ เล่าไปหลายทีละ
โลกเราต้องการชิปราคาน่ารัก ประหยัดพลังงาน คุมความร้อนได้ และใช้การใช้งานได้ดี แต่ไม่จำเป็นต้องสเป็กดีเท่าคู่แข่งอย่าง Xilinx และ Altera พวกนี้แบ่ง ๆ ตลาดกัน บางจุดชิปของ LSCC ก็จะไม่เหมาะ เราต้องเข้าใจว่า Component สำคัญ ๆ ไหน ใช้ชิปอะไร
LSCC มี Product Line ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้ ในยุคอนาคต ตั้งแต่ไปใช้ในฝั่ง คือเพื่อให้รับส่งสัญญาณได้ ตั้งแต่ในเสารับส่งสัญญาณ ไปจนถึง Data Center
และยังสามารถนำไปใช้ประมวลผลก็ได้เช่นเดียวกัน ทั้งในโรงงาน และในรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ รวมถึง Smart Things ต่าง ๆ ในยุค Internet of Things
หากจะลิสต์ตามอุตสาหกรรม หลัก ๆ ก็คงจะเป็น
– Communication เช่น 5G Wireless Switch/Router
– Computing ได้ทั้งฝั่ง Server และ Client (รวมถึง Edges)
– Industrial เช่น Factory Automations และ Industrial IoTs
– Automotive เช่น ADAS ระบบช่วยคนขับ และ Infotainment
– Consumer เช่น Smart Home, Smart Wearables
เรียกว่าก็แทบจะครอบจักรวาลจริง ๆ
โดยชูจุดแข็งในเรื่องการประหยัดพลังงาน ปลอดภัย ใช้ง่าย และ ราคาน่ารัก อยู่ในระดับที่บริษัทต่าง ๆ นำไปใช้ได้อย่างสบาย ๆ
เพราะธุรกิจต้องการกำไร พวก IoTs ใช้ชิป ราคาถูก ๆ ก็สั่งงาน สั่งการได้แล้ว
มาดูรายได้บริษัทกันบ้าง
ปี 2017 รายได้ 386, กำไร -70.6 ล้านดอลลาร์
ปี 2018 รายได้ 398, กำไร -26.3 ล้านดอลลาร์
ปี 2019 รายได้ 404, กำไร +43.5 ล้านดอลลาร์
เรียกว่าไม่โตเลย แต่คุม Cost ได้ดี แล้วกำลังสอดรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างดีครับ
สิ่งที่โดดเด่นนอกจาก Hardware คือการพัฒนา Lattice SenseAI มา เร่งประสิทธิภาพให้ดีขึ้น (ใครเคยเรียนไปแล้ว จะเข้าใจดีว่า ชิป แค่ Hardware มันไม่พอ ต้องมี Software มา Optimize ให้ดีขึ้นอีกด้วย และจะได้เปรียบคู่แข่ง) สะท้อน Vision ผู้นำตลาดชิปได้เป็นอย่างดี
BottomLiner – บทสรุปการลงทุน
ที่มาบทความ: https://bottomliner.co/stock/lattice-semiconductor-chip-maker-turnaround-500/
เมื่อคืนนี้ นายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ที่ชื่อว่า “American Rescue Plan” มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือภาคครัวเรือนและธุรกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19
โดยรายละเอียดของมาตรการมีดังนี้
นโยบายกระตุ้นนี้จะถูกนำเข้าสภาเพื่อรับพิจารณา โดยตลาดคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคเดโมแครตเป็นฝ่ายครองเสียงข้างมาก แต่ต้องติดตามการพิจารณาจากวุฒิสภาเนื่องจากทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างมีคะแนนใกล้เคียงกันที่ 50-48 ที่นั่ง ส่วนอีก 2 ที่นั่ง เป็นผู้สมัครอิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือนายเบอร์นี่ แซนเดอร์ อดีตผู้แข่งขันเพื่อเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายโจ ไบเดน การผ่านมาตรการดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงสนับสนุนอย่างต่ำ 60 เสียง
ล่าสุดนายเจอโรม พาวเวล ออกมาเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์ว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ขานรับมาตรการรกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่งเปิดเผย
ภาพรวมตลาดหุ้นตอบรับในเชิงลบเล็กน้อย โดยดัชนี Dow Jones ปิดลบ 0.22% ดัชนี S&P 500 ที่ปิดลบ 0.38% เช่นเดียวกับดัชนี Nasdaq ที่ปิดลบ 0.12%
เนื่องจากตลาดกำลังให้ความสนใจมาตรการกระตุ้นขนาด 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ที่เน้นลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและแพคเกจรักษาพยาบาล ซึ่งคาดว่าจะเปิดเผยออกมาในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 โดยตลาดหวังว่าวงเงินของมาตรการจะสูงกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อหักล้างผลกระทบจากนโยบายขึ้นภาษีที่อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้น
FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่ามาตรการกระตุ้นที่เพิ่งเปิดเผยออกมามีผลเชิงบวกต่อธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยเฉพาะกลุ่ม Cyclical เช่น การเงิน สาธารณูปโภค และบริโภค ที่ต่างปรับตัวขึ้นในตลาดเมื่อคืนนี้ ขานรับข่าวมาตรการดังกล่าว แต่การจะมีผลเชิงบวกต่อทั้งระบบเศรษฐกิจในระยะยาวนั้นต้องติดตามมาตรการวงเงิน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ที่จะเปิดเผยเพิ่มเติมในช่วงครึ่งปีหลัง รวมไปถึงท่าทีเพิ่มเติมจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 26-27 มกราคมนี้
FINNOMENA Investment Team
ดูผ่าน Facebook:
https://www.facebook.com/finnomena/posts/1440490116296621
ดูผ่าน Youtube:
https://youtu.be/PXRso-LS_vw
ดาวน์โหลดฟรี! Presentation – FINNOMENA LIVE ตอนล่าสุด (ลิ้งค์หมดอายุใน 7 วัน)
โดย FundTalk และ Mr. Messenger
ข่าวเด่นรอบสัปดาห์
ติดตาม FINNOMENA LIVE ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-uop
“โควิด” รอบใหม่ส่อดันเงินฝากท่วมแบงก์อีกระลอก “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินยอดเงินฝากคงค้างปีนี้เพิ่มทะลุ 15 ล้านล้านบาท
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (House) มีมติด้วยคะแนน 232 ต่อ 197 เพื่อถอดถอนประธานาธิบดี Trump ออกจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ที่มา : https://www.cnbc.com/2021/01/13/house-to-impeach-trump-for-inciting-capitol-riot.html
เค้าว่ากันว่าหุ้นเล็กโตไว หุ้นกลางเป็นหุ้นลูกผสม มาดูกันว่าหากเราต้องการดูหุ้น mid-small cap มีปัจจัยหรือกลยุทธ์ที่น่าสนใจบ้าง?
Asset Craft Podcast รายการที่จะพาคุณไปรู้จักกับสินทรัพย์ทั่วโลก!!
1:25 หุ้นเล็ก-กลาง คืออะไร?
4:50 หุ้นเล็ก กลาง ใหญ่ แตกต่างกันอย่างไร?
6:45 ตัวอย่างกลยุทธ์การเลือกหุ้นเล็กในเชิงพื้นฐาน bottom-up
10:15 กลยุทธ์การเลือกหุ้นเล็ก-กลางในเชิงพื้นฐาน top-down
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
“THE MARKET PODCAST” รายการที่ไม่ใช่แค่เล่าข่าว แต่เป็นการเจาะข่าว เจาะประเด็น เพื่อให้นักลงทุนรู้ก่อนเทรด!
ดำเนินรายการโดย คุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ Mr.Messenger เจ้าของเพจ Sinthorn
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast