แจ้งเตือน

บลจ.ดาโอ: Promotion กองทุนลดหย่อนภาษี 2568

Finnomena Editor

Promotion RMF  ปี 2568

ระหว่างวันที่ 2 มกราคม – 30 ธันวาคม 2568

กองทุน DAOL-GLOBALEQRMF และ DAOL-GOLDRMF 

โปรโมชั่นสำหรับผู้ลงทุน ยอดเงินลงทุนสะสมทุกๆ 50,000 บาท รับหน่วยลงทุนกองทุน DAOL-MONEY-R มูลค่า 100 บาท

 


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

GRANOLAS 11 รวมดาวหุ้นยุโรป ผู้ท้าชิง 7 นางฟ้า และ 10 เซียน!

Finnomena Funds
GRANOLAS 11 รวมดาวหุ้นยุโรป ผู้ท้าชิง 7 นางฟ้า และ 10 เซียน

ในสนามการแข่งขันของตลาดหุ้นทั่วโลก มีทีมหนึ่งที่กำลังถูกจับตามอง พวกเขาไม่ได้เล่นแค่เพื่อชัยชนะในระยะสั้น แต่มีความแข็งแกร่งพอจะยืนหยัดในเกมระยะยาว ทีมนี้มีชื่อว่า “GRANOLAS 11” ที่รวมสุดยอดบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่ยารักษาโรค เทคโนโลยี ไปจนถึงสินค้าแบรนด์หรู ซึ่งจัดทัพมาในระบบ “4-3-3” เพื่อสร้างสมดุลระหว่างเกมรับและเกมรุกอย่างลงตัว

“GRANOLAS 11” มีที่มาจากการนำอักษรตัวหน้าของ 11 บริษัทในตลาดหุ้นยุโรป ที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง กำไรเติบโตดี และมีอัตรากำไรสูงอย่างสม่ำเสมอ มาเรียงต่อกันดังนี้

G = GSK 

R = Roche

A = ASML

NO = Novartis, Novo Nordisk และ Nestlé

L = L’Oréal และ LVMH 

A = AstraZeneca 

S = SAP และ Sanofi 

GRANOLAS 11 รวมดาวหุ้นยุโรป

แนวรุก: พลังแห่งนวัตกรรมและความหรูหรา

3 กองหน้าของ GRANOLAS 11 คือสุดยอดบริษัทที่มีศักยภาพในการทำเกมรุกให้ทีมคว้าชัยชนะ

เริ่มกันที่ LVMH จากฝรั่งเศส – ศูนย์หน้าตัวเป้า (Striker) 

กลุ่มบริษัทแบรนด์หรูที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เฉียบคมและหรูหรา ด้วยอาณาจักรแบรนด์หรูที่ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า LVMH มีความสามารถในการจบสกอร์อย่างสมบูรณ์แบบ สร้างรายได้มหาศาลให้กับทีม และเป็นหนึ่งในกองหน้าที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด

ASML จากเนเธอร์แลนด์ – กองหน้าตัวริมเส้นฝั่งซ้าย (Left Wing Forward) 

บริษัทผู้นำด้านเครื่องจักรผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ตัวจี๊ดที่มีเทคโนโลยีเป็นอาวุธเด็ด ด้วยความสามารถในการผลิตเครื่องจักรที่ใช้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ เปรียบเสมือนผู้เล่นที่สามารถทะลุทะลวงแนวรับของคู่แข่งได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

L’Oréal จากฝรั่งเศส – กองหน้าตัวริมเส้นฝั่งขวา (Right Wing Forward) 

บริษัทเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลความงามที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำหน้าที่เป็นปีกอีกฝั่ง นำความคิดสร้างสรรค์และความมีสไตล์มาสู่ทีม เปรียบได้กับนักเตะที่มีเทคนิคแพรวพราวและสามารถสร้างสรรค์โอกาสในการทำประตูได้อย่างต่อเนื่อง

แดนกลาง: ศูนย์กลางการขับเคลื่อนเกม

SAP จากเยอรมนี – กองกลางตัวรับ (Deep-Lying Playmaker) 

บริษัทซอฟต์แวร์ ERP ชั้นนำของโลก รับบทเป็นตัวคุมจังหวะเกมหรือ Deep-Lying Playmaker ด้วยความสามารถด้านซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจทั่วโลก SAP ทำให้ทีม GRANOLAS 11 มีความแม่นยำและเป็นระบบระเบียบในการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นการกระจายบอลไปยังแนวรุกหรือการสนับสนุนแนวรับให้มีความมั่นคง

Nestlé จากสวิตเซอร์แลนด์ – กองกลางตัวกลาง (Central Midfielder)

บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นกองกลางที่ช่วยเพิ่มสมดุลให้กับทีม ด้วยความสามารถในการดำเนินธุรกิจอาหารที่มีเสถียรภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือนกองกลางที่สามารถปรับเปลี่ยนเกมได้ตามสถานการณ์ 

Novo Nordisk จากเดนมาร์ก – กองกลางตัวกลาง (Central Midfielder)

บริษัทยาชั้นนำด้านโรคเบาหวานจากเดนมาร์ก เป็นตัวควบคุมจังหวะเกมอีกคนที่ช่วยให้ทีมเล่นได้อย่างเป็นระบบ ด้วยธุรกิจที่เน้นรักษาโรคเบาหวานและสุขภาพ ทำให้ Novo Nordisk มีความแข็งแกร่งในระยะยาวและช่วยให้ทีมเดินเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวรับ: กำแพงเหล็กแห่งอุตสาหกรรมยา

Roche และ Novartis จากสวิตเซอร์แลนด์ – กองหลังตัวกลาง (Center Back)

แผงกองหลังของทีมนี้จับคู่โดย 2 บริษัทยาระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยความต้องการสินค้าที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ทั้งสองสามารถปกป้องทีมจากความผันผวนของตลาดได้

AstraZeneca จากสหราชอาณาจักร – แบ็คซ้าย (Left Back)

บริษัทยาชั้นนำที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเภสัชกรรมระดับโลก เปรียบเสมือนฟูลแบ็คฝั่งซ้ายที่มีทั้งพลังเกมรับที่แข็งแกร่งและความสามารถในการเติมเกมรุก ด้วยนวัตกรรมด้านชีวเภสัชภัณฑ์ AstraZeneca ช่วยเสริมความมั่นคงให้กับทีม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกิดการเติบโตในระยะยาว

Sanofi จากฝรั่งเศส – แบ็คขวา (Right Back)

อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชกรรมที่รับบทเป็นฟูลแบ็คฝั่งขวา ทำหน้าที่เป็นแนวรับที่เหนียวแน่นและสามารถดันขึ้นไปมีบทบาทในเกมรุกได้ Sanofi มีจุดเด่นในด้านวัคซีนและยารักษาโรคเรื้อรัง ทำให้บริษัทมีความมั่นคงและสามารถช่วยทีมรับมือกับความผันผวนของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปราการสุดท้าย: ผู้รักษาประตูที่ไว้ใจได้

GlaxoSmithKline (GSK) จากสหราชอาณาจักร – ผู้รักษาประตู (Goalkeeper)

ด้วยประสบการณ์และความมั่นคงในอุตสาหกรรมยา ทำให้ GSK มีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงและช่วยให้ทีมไม่เสียประตูง่าย ๆ ความแข็งแกร่งในเชิงการเงินและการเติบโตของธุรกิจทำให้มั่นใจได้ว่า ทีม GRANOLAS 11 จะมีแนวรับที่เหนียวแน่นเสมอ

แทคติคการเล่น: สมดุลระหว่างเกมรับและเกมรุก

ทีม GRANOLAS 11 ไม่ใช่ทีมที่เน้นเกมรุกหรือเกมรับเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นทีมที่เล่นอย่างสมดุล พวกเขามีแนวรับที่แข็งแกร่งจากอุตสาหกรรมยา มีแดนกลางที่คอยควบคุมจังหวะเกมอย่างเป็นระบบ และมีแนวรุกที่พร้อมทำประตูจากพลังของเทคโนโลยีและแบรนด์หรู

สิ่งที่ทำให้ GRANOLAS 11 เป็นทีมที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนคือ ความสามารถในการกระจายความเสี่ยง ทีมนี้ไม่ได้พึ่งพาเพียงแค่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่กระจายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว ทำให้สามารถรับมือกับภาวะตลาดที่ผันผวนได้ดีกว่าทีมที่มีโครงสร้างกระจุกตัว

พร้อมครองเกมในระยะยาว

GRANOLAS 11 ไม่ใช่ทีมที่หวือหวาแบบทีมเทคโนโลยีล้วน ๆ แต่เป็นทีมที่สร้างขึ้นเพื่อให้เล่นได้อย่างมั่นคง มีแทคติคที่ยืดหยุ่น และสามารถยืนระยะได้ในระยะยาว การมีทั้งหุ้นกลุ่มสุขภาพ อาหาร แบรนด์หรู และเทคโนโลยี ทำให้ GRANOLAS 11 เป็นทีมที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ตลาดที่หลากหลาย

โอกาสลงทุนกองทุนหุ้นยุโรป

  • Mr.Messenger Call แนะนำเข้าลงทุน ONE-EUROEQ กองทุนหุ้นยุโรปที่บริหารจัดการโดย ELEVA Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความชำนาญในการลงทุนในหุ้นยุโรป
  • มีกระบวนวิเคราะห์หุ้นลักษณะ Bottom up โดยลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตระยะยาวและมีความสามารถในการแข่งขัน
  • เศรษฐกิจยุโรปกำลังฟื้นตัว พร้อมทั้งตลาดหุ้นยุโรปที่ Outperform ตลาดหุ้นสหรัฐฯในช่วงนี้ ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงพร้อมทั้งยังถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น

📌 อ่านคำแนะนำ Mr.Messenger Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call/mr-messenger/europe-mar-2025


อ้างอิง: The Irish Times, Cboe Global Markets, Money Lab

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

จีนเอาจริง! เปิดศึกชิงเจ้า AI เมื่อยักษ์ใหญ่ลงสนามเต็มตัว

Finnomena Funds
AI จีน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกของ AI ดูเหมือนจะถูกครอบงำโดยยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น OpenAI, Google หรือ Meta แต่ในวันนี้ภาพนั้นกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อจีนไม่ได้เลือกที่จะเล่นตามหลังอย่างเงียบ ๆ อีกต่อไป แต่กลับเปิดเกมรุกเต็มสูบด้วยทรัพยากรและความมุ่งมั่น กลายเป็นผู้ท้าชิงที่ไม่อาจมองข้ามในเวทีเทคโนโลยีโลก แล้วเราในฐานะนักลงทุนจะมองเห็นโอกาสอะไรจากปรากฏการณ์นี้บ้าง?

ยักษ์ใหญ่จากจีนในสนาม AI

จีนกำลังแสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการพัฒนา AI ผ่านการเคลื่อนไหวของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ที่พร้อมทุ่มทุนและนวัตกรรมเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการนี้ 

เริ่มจาก Baidu กับแชตบอทอย่าง Ernie Bot โดยมีโมเดลเรือธงคือ Ernie X1 ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ DeepSeek-R1 และ GPT-4 โดย Baidu ยังคงปรับปรุงพัฒนา Ernie X1 อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสามารถและความแม่นยำในการทำงาน

Baidu ยังเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ ผ่าน Apollo แพลตฟอร์มที่ใช้ AI ในการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ

ขณะเดียวกัน Alibaba ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซและคลาวด์คอมพิวติ้ง ก็ไม่ยอมน้อยหน้าด้วยการประกาศทุ่มเงินลงทุนในเทคโนโลยี AIถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.68 ล้านล้านบาท) โดยเฉพาะโมเดล Qwen ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกอย่าง ChatGPT และ DeepSeek

นอกจากนี้ ยังมี Alibaba Cloud ที่ใช้ AI เพื่อให้บริการโซลูชั่น AI ให้กับธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการใช้ AI ในการวิเคราะห์ Big Data 

ในฝั่งของ Tencent บริษัทที่ครองใจผู้ใช้ผ่าน WeChat และเกมออนไลน์ยอดฮิตเช่น League of Legends และ PUBG Mobile ก็เร่งเครื่องพัฒนา Cloud AI โดยเตรียมใช้งบลงทุนกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 370,000 ล้านบาท) 

โดยเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Tencent ได้เปิดตัว Yuanbao แชตบอทที่ผสานเทคโนโลยี Hunyuan ซึ่งพัฒนาโดย Baidu เข้ากับโมเดลการให้เหตุผลจาก DeepSeek เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่การแชตไปจนถึงการช่วยเหลือในงานที่ซับซ้อน 

ด้านผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง DeepSeek ก็ได้สร้างความฮือฮาไปก่อนหน้านี้ ด้วยการปล่อยโมเดล AI ใหม่ที่เน้นประสิทธิภาพสูงในราคาที่ต่ำกว่าอย่าง DeepSeek-R1 ที่ถูกยกย่องว่าสามารถเทียบชั้นกับโมเดลชั้นนำอย่าง GPT-4 ได้ในต้นทุนเพียง 5.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถูกกว่าถึง 95% เมื่อเทียบกับคู่แข่งจากสหรัฐฯ ที่ใช้เงินในการพัฒนาถึง 100 ล้านดอลลาร์

AI จีนจะไปได้ไกลแค่ไหน?

สิ่งที่ทำให้ AI สไตล์จีนแตกต่างคือแนวทางการพัฒนาที่เน้นประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการถูกคว่ำบาตรชิปจากสหรัฐฯ หรือการต้องพึ่งพาทรัพยากรภายในประเทศ ความท้าทายเหล่านี้กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้จีนคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ 

เช่น การใช้สถาปัตยกรรม MoE (Mixture of Experts) ในโมเดลของ DeepSeek ที่ช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการพัฒนาเฟรมเวิร์กอย่าง Chitu ที่เพิ่มความเร็ว AI ได้ถึง 315% พร้อมลดการพึ่งพา GPU ลงครึ่งหนึ่ง

ทิศทางของ AI จีนอาจไม่ได้หยุดแค่การแข่งขันในระดับเทคโนโลยี แต่ยังมีโอกาสขยายอิทธิพลไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งต้องการโซลูชันราคาถูกแต่ทรงพลัง

กองทุนหุ้นจีนแนะนำโดย Finnomena Funds

  • Mr.Messenger Call แนะนำ SCBMLCAA กองทุนหุ้นจีนที่ลงทุนใน All China (A-Shares และ H-Shares) บริหารแบบ Active โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) และเทคนิคทาง Machine Learning มาประกอบการคัดเลือกหุ้น
  • FundTalk Contrarian Call แนะนำ MEGA10CHINA-A กองทุนหุ้นจีนที่คัดเฉพาะหุ้นผู้ชนะเพียง 10 ตัวเน้น ๆ และนำมาจัดพอร์ตแบบ Equal Weight โดยบริษัทเหล่านั้นจะต้องมีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ สภาพคล่องสูง และเน้นความเป็นผู้นำในด้าน Brand Value เช่น Xiaomi, Baidu, Alibaba และ Tencent 

อ้างอิง: Business Today, Reuters, South China Morning Post

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปกองทุน MEGA10 Series คัดสรรหุ้นชั้นนำเพียง 10 ตัว

Finnomena Funds
MEGA10 Series

ทำความรู้จักกับกองทุนในกลุ่ม MEGA10 Series ได้แก่ MEGA10 หุ้นอเมริกา, MEGA10AI หุ้นเอไอ, MEGA10CHINA หุ้นจีน และ MEGA10EURO หุ้นยุโรป เปรียบเทียบชัด ๆ ลงทุนหุ้นอะไรบ้าง กลยุทธ์แตกต่างกันอย่างไร?

MEGA10 Series คือกลุ่มกองทุนรวมจาก บลจ. ทาลิส ที่มีคอนเซปต์ชัดเจน จำง่าย และน่าสนใจ ด้วยการคัดสรรหุ้นเพียง 10 ตัว เน้นไปที่บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จัก สามารถตามข่าวสารได้สม่ำเสมอ สบายใจที่จะลงทุน พร้อมกับการเลือกธีมที่สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ของโลก

กลยุทธ์การลงทุนของ MEGA10 Series จะเป็นแบบ Rule-based คือ กำหนดกฏการลงทุนที่ชัดเจน และอาศัยข้อมูลทางการเงิน ตัวชี้วัดทางสถิติต่าง ๆ มาเป็นปัจจัยช่วยคัดเลือกหุ้น โดยลดอารมณ์จากการลงทุนออกไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะมีการปรับพอร์ตทุก ๆ ครึ่งปี

ทำให้กองทุนมีความเป็น Semi-Active เป็นลูกผสมระหว่าง Passive ที่ล้อไปกับดัชนีอ้างอิงบางอย่าง และ Active ที่ต้องการเอาชนะตลาดจากความสามารถของผู้จัดการกองทุน 

แต่ MEGA10 Series จะตัด Bias เรื่องการคัดหุ้นออกไป จากการออกแบบเกณฑ์เพื่อหาหุ้นเฉพาะกลุ่ม และไม่ได้มีการปรับพอร์ตที่บ่อยเหมือนกับ Active Fund ทั่วไป ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นทั้งหมดในดัชนีแบบ Passive Fund แต่เลือกเอาเฉพาะหุ้นคุณภาพดีที่สุดเพียง 10 ตัวเท่านั้น แล้วลงทุนแบบน้ำหนัก เท่า ๆ กัน ตัวละ 10% (Equal Weight)

สรุปกองทุน MEGA10 Series


เปรียบเทียบกองทุน MEGA10 Series

เปรียบเทียบกองทุน MEGA10 Series

Source: Talis Asset Management as of Mar 2025

MEGA10-A MEGA10RMF

ลงทุนใน 10 หุ้นที่เป็น Global Brands ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, Meta, Nvidia, Oracle, Visa, Mastercard และ J.P. Morgan

MEGA10AI-A MEGA10AIRMF

ลงทุนใน 10 หุ้นชั้นนำด้านเทคโนโลยี AI และได้ประโยชน์จากการเติบโตของ AI ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, Meta, Nvidia, Oracle, TSMC, Broadcom, Salesforce

MEGA10EURO-A MEGA10EURORMF

ลงทุนใน 10 หุ้นยุโรปที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูง ซึ่งอยู่ในดัชนี EuroStoxx50 ได้แก่ LVMH, ASML, L’Oreal, Hermès, Inditex, EssilorLuxottica, Sanofi, SAP, Schneider Electric, ABInBev

MEGA10CHINA-A MEGA10CHINARMF

ลงทุนใน 10 หุ้นจีนที่มี Brand อันทรงอิทธิพลในประเทศจีน และไม่ถูกครอบเงาโดยทางการจีน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ Tencent, Alibaba, Ping An Insurance, BYD, Xiaomi, Baidu, Maituan, NetEase, Nongfu Spring, JD.com

หมายเหตุ: ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุนมิได้ลงทุนใน 10 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวการณ์การลงทุน ณ ขณะนั้น

กองทุน MEGA10 Series เหมาะกับใคร?

  1.  นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ของโลก ที่มี Theme เฉพาะกลุ่ม
  2.  นักลงทุนที่ต้องการเน้นการลงทุนในหุ้นเป็นตัว ๆ และทราบว่าลงทุนในหุ้นอะไรอยู่
  3. นักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นแบบกระจุกตัวได้

 

เปรียบเทียบกองทุน MEGA10 Series

Source: Talis Asset Management as of Mar 2025

สุดท้ายนี้ การลงทุนใน MEGA10 Series เราสามารถออกแบบการลงทุนในลักษณะผสมกองทุนด้วยตัวเองได้ เช่น การนำ MEGA10-A มาจัดพอร์ตร่วมกับ MEGA10CHINA-A เพื่อแบ่งครึ่งการลงทุนใน 2 มหาอำนาจของโลก หรือกระจายการลงทุนในภูมิภาคขนาดใหญ่ที่สำคัญของโลก ผ่าน MEGA10-A หรือ MEGA10AI-A ร่วมกับ MEGA10CHINA-A และ MEGA10EURO-A เป็นต้น


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เกษียณ FIRE ลุก! จุดไฟรวยก่อนแก่ ต้องทำอย่างไร?

Finnomena

แนวคิดเกษียณแบบ (Financial Independence, Retire Early) หรือการเกษียณเร็วไฟลุก! ก่อนอายุ 40 หรือ 50 ปี เพื่อมีอิสรภาพทางการเงิน ด้วยการทุ่มเททำงาน ออมอย่างบ้าคลั่ง และเลือกลงทุนขั้นสูง จนมี Passive Income ใช้หลังเกษียณทุกเดือน

แต่การจะรวยก่อนแก่แบบนี้ได้ ต้องวางแผนและลงมือทำอย่างจริงจังตามขั้นตอนเหล่านี้

FIRE1.ตั้งเป้าหมายเงินที่ต้องมี ด้วยกฎ 25 เท่า
คำนวณรายจ่ายต่อปีแล้วคูณด้วย 25 เท่า เช่น ถ้าต้องการใช้เงินปีละ 500,000 บาท ต้องมีเงินสะสม 12.5 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอย่างมั่นคง

2. ออมเงินให้ได้ในสัดส่วน 50-70% ของรายได้
ออมเงินให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อเร่งความเร็วในการเก็บเงินและสร้างความมั่นคงในอนาคต

3. คุมค่าใช้จ่ายอย่างหนัก ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
โดยเริ่มจากการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าเงินไหลเข้าหรือไหลออกทางไหน 

4.หนักแน่นและมีสติทุกครั้งในการใช้เงิน
ไม่หวั่นไหวกับสิ่งล่อตาล่อใจ และต้องถามตัวเองทุกครั้งก่อนใช้จ่ายว่า “สิ่งที่ซื้อนั้นจำเป็นจริงหรือไม่?”

5.เพิ่มแหล่งรายได้ด้วยอาชีพเสริม
สร้างแหล่งรายได้อื่นนอกจากงานประจำโดยอาจจะเป็นงานพาร์ทไทม์หรืองานฟรีแลนซ์ตามที่เราถนัด

6.ลงทุนเพื่อให้เงินเติบโตระยะยาว
เงินเฟ้อพุ่งแรงแบบนี้ แค่การออมเงินอาจไม่ทำให้เราไปถึงเป้าหมายเกษียณเร็วได้ตามที่ตั้งใจ เราจึงต้องต่อยอดเงินให้เติบโตด้วย “การลงทุน” เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

 7.กล้าลงทุนในความเสี่ยงสูงโดยใช้กฎ 100-อายุ
หมายความคือ หากอายุ 30 ปี 100-30 =70 คือสัดส่วนของทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงในพอร์ต และ 30 ที่เหลือคือทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ

8. บริหารเงินเกษียณด้วยกฎ 4%
เมื่อเกษียณให้นำเงินออกมาใช้ได้ไม่เกินปีละ 4% ของเงินเก็บทั้งหมด เพื่อไม่ให้กระทบเงินต้นหรือกระทบให้น้อยที่สุด โดยเงินที่เหลือสามารถต่อไปต่อได้เรื่อยๆ


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน  

รีวิวกองทุน ONE-EUROEQ ตีตั๋วสู่หุ้นยุโรป กับสถิติเด่นเหนือตลาด

Finnomena Funds
ONE-EUROEQ

Highlight


ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากภาวะเงินเฟ้อ นโยบายการเงินที่ตึงเครียด และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ 

“อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ตลาดหุ้นยุโรปกำลังแสดงสัญญาณการฟื้นตัวที่น่าสนใจ”

ONE-EUROEQ

ตลาดหุ้นยุโรปในช่วงต้นปี 2025 แสดงถึงการฟื้นตัว โดยเฉพาะหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2025 ซึ่งนับเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 6 ในรอบ 9 เดือน การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมของทั้งสองฝั่ง

เศรษฐกิจยุโรป

เศรษฐกิจยุโรป (เส้นสีเหลือง) มีแนวโน้มฟื้นตัวเมื่อเทียบกับตลาดอื่น ๆ | Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 03/03/2025

ปัจจุบันยุโรปไม่ได้เป็นเพียงศูนย์กลางของอุตสาหกรรมดั้งเดิมหรือเศรษฐกิจยุคเก่าอีกต่อไป แต่กำลังปรับตัวสู่อนาคตด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น เทคโนโลยีสีเขียว พลังงานสะอาด และนวัตกรรมด้านสุขภาพ รวมถึงการนำ AI มาปรับใช้ในภาคการผลิต ซึ่งทำให้หลายบริษัทในภูมิภาคนี้มีโอกาสเติบโตท่ามกลางโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

สำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงจากตลาดใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐฯ หรือจีน หุ้นยุโรปอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าจับตามอง ด้วยแนวโน้มการฟื้นตัวและโอกาสเติบโตในระยะยาว

ตีตั๋ว ONE-EUROEQ สู่โอกาสลงทุนในหุ้นยุโรป

กองทุน ONE-EUROEQ หรือกองทุนเปิด วรรณ ยูโรเปี้ยน อิควิตี้ เป็นกองทุนหุ้นยุโรปที่มีกองทุนหลักคือ Eleva European Selection Fund ซึ่งบริหารโดย ELEVA Capital บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการเลือกลงทุนในหุ้นยุโรปผ่านการบริหารแบบเชิงรุก (Active Management)

นอกจากนี้ ยังใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นการคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตสูง แต่ยังไม่สะท้อนในราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน โดยมองหาบริษัทที่มีโอกาสสร้าง Upside ในระยะยาว และเน้นลงทุนในหุ้นที่อยู่นอกเรดาร์ของตลาด รวมถึงมีศักยภาพเติบโตในระยะ 3 – 5 ปี 

เช่น Novo Nordisk ที่เป็นผู้นำในการผลิตอินซูลินรักษาเบาหวาน หรือ ASML Holding ที่ครองตลาดเครื่องฉายแสง EUV ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยี AI

ทั้งนี้ แม้ตลาดยุโรปอาจไม่มีหุ้นที่มีขนาดใหญ่เท่ากับ Big Tech ในสหรัฐฯ แต่ยุโรปยังคงเป็นแหล่งรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทั่วโลก

กลยุทธ์การลงทุนกองทุนหลัก

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ ELEVA Capital น่าสนใจคือ การลงทุนที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) ซึ่งไม่ได้แค่เป็นคำโฆษณา แต่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการลงทุนของบริษัท ทุกการตัดสินใจลงทุนจะคำนึงถึงความยั่งยืน และเชื่อว่าบริษัทที่ทำได้ดีในด้านนี้มีโอกาสเติบโตในระยะยาวและสามารถรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตได้ดีกว่า

โดยกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลักแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. เลือกบริษัทด้วยเกณฑ์ที่รอบคอบ

สัดส่วนการลงทุน ONE-EUROEQ

สัดส่วนการลงทุนของกองทุนหลัก แยกตามประเทศและอุตสาหกรรม | Source: ELEVA European Selection’s Factsheet as of 28/02/2025

จากบริษัทเกือบ 13,000 แห่งในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA), สวิตเซอร์แลนด์, และสหราชอาณาจักร ELEVA จะคัดเลือกบริษัทที่ตรงตาม 3 เกณฑ์หลัก ได้แก่

  • สภาพคล่องที่ดี
  • มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านยูโร
  • มีคะแนน ESG สูง

หลังจากนั้น จะเลือกบริษัทที่มีคะแนน ESG สูงและคัดบริษัทที่มีคะแนนต่ำออก 20% ก่อนจะทำการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ เพื่อตัดสินใจเลือกบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว

  1. เลือกลงทุนใน 4 ธีมหลัก

ลงทุนใน 4 ธีมหลัก

4 ธีมบริษัทที่กองทุนเข้าไปลงทุน | Source: ELEVA European Selection
As of 06/03/2025

บริษัทที่กองทุนหลักของ ONE-EUROEQ ลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ธีมหลัก ได้แก่

  • บริษัทที่เป็นมรดกตกทอดของตระกูล หรือมีมูลนิธิเป็นเจ้าของ
  • บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เริ่มอิ่มตัว แต่มีโมเดลธุรกิจที่แตกต่างและทันสมัย
  • บริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด
  • บริษัทที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงและกำลังพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่

การลงทุนในทั้ง 4 ธีมนี้ทำให้กองทุนสามารถเลือกบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง แม้บางบริษัทอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดหรือต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตที่มั่นคงในระยะยาว

ตัวอย่างหุ้นเด่น Top 10 Holdings กองทุนหลัก

*หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2025 สัดส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลง

Top 10 Holdings ONE-EUROEQ

ELEVA European Selection Top 10 Holdings | Source: Financial Times
As of 07/03/2025

  1. Novo Nordisk A/S – 4.50%
    บริษัทยาชั้นนำของเดนมาร์ก เชี่ยวชาญด้านยาเบาหวานและการรักษาโรคเมแทบอลิซึม รวมถึงยาลดน้ำหนักที่มีชื่อเสียง
  2. ASML Holding NV – 3.24%
    บริษัทเทคโนโลยีจากเนเธอร์แลนด์ ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์โดยเฉพาะเทคโนโลยี Lithography ที่ใช้แสงหรือรังสีพิเศษฉายลงบนแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน
  3. SAP SE – 3.11%
    บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่จากเยอรมนี ผู้ให้บริการระบบ enterprise software และโซลูชั่นธุรกิจ
  4. Schneider Electric SE – 2.81%
    บริษัทจากฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น
  5. 3i Group – 2.69%
    บริษัทการลงทุนและบริหารสินทรัพย์จากสหราชอาณาจักร เน้นการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและโครงสร้างพื้นฐาน
  6. Shell – 2.62%
    บริษัทพลังงานและน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีสำนักงานใหญ่ในสหราชอาณาจักร ดำเนินธุรกิจด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทน
  7. NatWest Group – 2.53%
    ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จากสหราชอาณาจักร (เดิมคือ Royal Bank of Scotland)
  8. Flutter Entertainment – 2.44%
    บริษัทเกมและการพนันออนไลน์จากไอร์แลนด์/สหราชอาณาจักร เจ้าของแบรนด์การพนันกีฬาและโป๊กเกอร์ออนไลน์หลายแห่ง
  9. Barclays – 2.40%
    ธนาคารและบริษัทบริการทางการเงินขนาดใหญ่จากสหราชอาณาจักร
  10. Sanofi SA – 2.37%
    บริษัทยาข้ามชาติจากฝรั่งเศส เชี่ยวชาญด้านวัคซีน ยาตามใบสั่งแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทั่วไป

พอร์ตโฟลิโอนี้มีการกระจายตัวในหลายอุตสาหกรรมและประเทศในยุโรป โดยมีสัดส่วนการลงทุนใน Top 10 รวมกันคิดเป็น 28.72% ของพอร์ตทั้งหมด

ผลการดำเนินงานในอดีต (กองทุนหลัก)

ผลการดำเนินงานในอดีต ONE-EUROEQ

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนหลักตั้งแต่ ตั้งแต่วันที่ 26/01/2015 ถึง 08/03/2025
Source: ELEVA European Selection’s Factsheet as of 10/03/2025

*คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

กราฟนี้แสดงผลตอบแทนการลงทุนของกองทุน ELEVA European Selection (กองทุนหลัก) เปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัด Stoxx Europe 600 NR ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2015 ถึง 8 มีนาคม 2025 โดยแสดงผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง

จากข้อมูลที่ปรากฏในกราฟ กองทุน ELEVA European Selection (เส้นสีฟ้า) มีแนวโน้มผลตอบแทนดีกว่าดัชนี Stoxx Europe 600 NR (เส้นสีเทา) ตลอดช่วงระยะเวลาที่นำเสนอ (26 มกราคม 2015 ถึง 8 มีนาคม 2025) 

ในช่วงระหว่างปี 2015 – 2018 ทั้ง 2 เส้นมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่หลังจากนั้น ELEVA European Selection เริ่มแสดงผลตอบแทนที่สูงกว่าอย่างชัดเจน

ในช่วงต้นปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการปรับฐานลงอย่างรุนแรงแต่หลังจากจุดต่ำสุดนั้น ทั้งกองทุน ELEVA European Selection และดัชนี Stoxx Europe 600 NR ก็ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ELEVA European Selection มีการฟื้นตัวที่เร็วและแข็งแกร่งกว่า

เมื่อมาถึงปี 2022 เริ่มเห็นความแตกต่างของผลตอบแทนที่ชัดเจนมากขึ้น และความแตกต่างนี้ยังคงเพิ่มขึ้นจนถึงช่วงสิ้นสุดของกราฟในเดือนมีนาคม 2025 

ณ จุดสิ้นสุดของกราฟ กองทุน ELEVA European Selection มีผลตอบแทนสะสมประมาณ 130 – 140% ในขณะที่ดัชนี Stoxx Europe 600 NR มีผลตอบแทนสะสมประมาณ 80 – 90%

แสดงให้เห็นว่ากองทุน ELEVA European Selection มีผลการดำเนินงานที่สูงกว่าดัชนีชี้วัด Stoxx Europe 600 NR อย่างโดดเด่นในช่วงระยะเวลาที่แสดงในกราฟ แม้ว่าจะมีช่วงที่ตลาดผันผวนอย่างรุนแรงในปี 2020 ก็ตาม

ผลการดำเนินงานในอดีต ONE-EUROEQ

ทางด้านผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน ONE-EUROEQ ก็ไม่น้อยหน้า โดยมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (Peer Avg) สูงถึง 4 ปีจาก 5 ปีย้อนหลัง

ผลการดำเนินงานในอดีต ONE-EUROEQ

ผลการดำเนินงานในอดีต ONE-EUROEQ | Source: ONE-EUROEQ’s Factsheet
As of 31/01/2025

*คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

จากข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีของกองทุน ONE-EUROEQ เมื่อเปรียบเทียบกับ ดัชนีชี้วัด (Benchmark) และ ค่าเฉลี่ยในกลุ่มเดียวกัน (Peer Avg) สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ปี 2563ONE-EUROEQ ทำผลตอบแทนได้ 1.08% ซึ่งสูงกว่าดัชนีชี้วัด (0.02%) แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่ม (4.62%)
  • ปี 2564 – กองทุนทำผลงานโดดเด่นที่สุดที่ 27.53% ซึ่งสูงกว่าทั้งดัชนีชี้วัด (26.74%) และค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (24.32%) ถือเป็นปีที่กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างยอดเยี่ยม
  • ปี 2565 – ตลาดเผชิญแรงกดดันและปรับตัวลง กองทุนติดลบ -11.00% ซึ่งแม้จะเป็นการขาดทุน แต่ยังดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (-19.18%) และใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัด (-9.9%) สะท้อนถึงความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงที่เหนือกว่าตลาด
  • ปี 2566 – กองทุนให้ผลตอบแทน 13.65% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (12.78%) แต่ต่ำกว่าดัชนีชี้วัด (14.67%) เล็กน้อย
  • ปี 2567 – กองทุนทำผลตอบแทน 7.34% ซึ่งเหนือกว่าทั้งดัชนีชี้วัด (7.24%) และค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (6.42%)

สรุปภาพรวม ONE-EUROEQ มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น โดยให้ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (Peer Avg) สูงถึง 4 ปีจาก 5 ปีที่ผ่านมา (ยกเว้นปี 2563) และทำผลตอบแทนได้ดีกว่าดัชนีชี้วัด (Benchmark) ถึง 3 ปี (2563, 2564 และ 2567) 

โดยเฉพาะในปี 2564 ที่ทำผลตอบแทนสูงถึง 27.53% และปี 2565 ที่ตลาดปรับตัวลง กองทุนยังสามารถจำกัดความเสียหายได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนถึงศักยภาพในการบริหารความเสี่ยง

สรุปจุดเด่นของกองทุน ONE-EUROEQ

  1. กลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรุกโดยผู้เชี่ยวชาญ บริหารโดย ELEVA Capital ที่มีความชำนาญในการคัดเลือกหุ้นยุโรปที่มีศักยภาพเติบโตสูงแต่ยังไม่สะท้อนในราคาปัจจุบัน โดยเน้นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตในระยะ 3-5 ปี
  2. ลงทุนอย่างยั่งยืนด้วยเกณฑ์ ESG คัดเลือกบริษัทที่มีคะแนน ESG สูงและตัดบริษัทที่มีคะแนนต่ำออก 20% พร้อมกับพิจารณาปัจจัยด้านสภาพคล่องและมูลค่าหลักทรัพย์ที่เหมาะสม
  3. โฟกัสใน 4 ธีมการลงทุนที่มีศักยภาพ ได้แก่ บริษัทที่เป็นมรดกตกทอดของตระกูล บริษัทที่มีโมเดลธุรกิจทันสมัย บริษัทที่มีพื้นฐานดีแต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก และบริษัทที่อยู่ในช่วงพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่
  4. ลงทุนในผู้นำนวัตกรรมยุโรป เช่น Novo Nordisk (ยาเบาหวานและลดน้ำหนัก) และ ASML Holding (เทคโนโลยีการผลิตชิปสำหรับ AI) พร้อมกระจายความเสี่ยงในหลายประเทศ หลายอุตสาหกรรม
  5. สภาวะเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังฟื้นตัว จึงเหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหลีกหนีจากความผันผวนของตลาดหุ้นใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐฯ หรือจีน

ONE-EUROEQ เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนที่มีวิสัยทัศน์

กองทุน ONE-EUROEQ เหมาะกับผู้ที่มองเห็นโอกาสในธุรกิจที่ยังไม่ถูกค้นพบเต็มที่หรือถูกมองข้ามในตลาด โดยกองทุนนี้เลือกลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว (3 – 5 ปี) แต่ยังไม่สะท้อนในราคาหุ้นปัจจุบัน ทำให้สามารถสร้าง Upside ได้ในอนาคต

  1. ผู้ที่มองหาโอกาสเติบโตแบบมีธีม

กองทุน ONE-EUROEQ เน้นลงทุนในบริษัทที่มีความพิเศษ เช่น เป็นมรดกตกทอดของตระกูล มีโมเดลธุรกิจใหม่ทันสมัย พื้นฐานดีแต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือบริษัทอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ การลงทุนใน 4 ธีมนี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือกบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง แม้บางบริษัทอาจยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด

  1. ผู้ลงทุนที่ให้ความสำคัญกับ ESG

กองทุนนี้ไม่ได้สนใจเพียงแค่โอกาสสร้างผลตอบแทน แต่ยังใส่ใจถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยคัดเลือกบริษัทที่มีคะแนน ESG สูง และมุ่งมั่นเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความยั่งยืน

  1. ผู้ที่มองหาการลงทุนในนวัตกรรมและเทคโนโลยี

กองทุน ONE-EUROEQ กระจายการลงทุนในบริษัทที่อยู่ในวงการนวัตกรรม เช่น เทคโนโลยีการผลิตชิป, เทคโนโลยี AI หรือพลังงานสะอาด โดยเน้นไปที่ผู้นำนวัตกรรมในยุโรป เช่น ASML และ Novo Nordisk

  1. ผู้ที่มองหาทางเลือกหลบภัยจากตลาดผันผวน

กองทุนนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการทางเลือกหลบภัยจากความผันผวน โดยเฉพาะจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุโรปหนุนโอกาสเติบโต

รายละเอียดอื่น ๆ

  • ความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมตราสารทุน)
  • นโยบายปันผล ไม่จ่าย
  • ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 1 บาท
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป 1 บาท
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee) 1.5%
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee) ยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) 1.07% ต่อปี
  • รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1.2910% ต่อปี
  • ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31/01/2025

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ Finnomena Funds


อ้างอิง: ONE-EUROEQ’s Factsheet, ELEVA European Selection’s Factsheet, Financial Times, Finnomena

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 17 – 21 March 2025

Merkle Capital
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 17 - 21 March 2025

หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

MACROECONOMICS

Key Takeaways

  • Core Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • FED Interest Rate Decision มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม
  • Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น

WEEKLY TONE: MONITOR WEEK

ในสัปดาห์นี้มีตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างการตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่มีการคาดการณ์ว่าจะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยแต่จะคงอัตราดอกเบี้ย และอีกทั้งนโยบายการเงินในหลายประเทศมีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนทำให้สัปดาห์นี้ควรเฝ้าดูตลาด และเฝ้าดู FED Dot Plot เพื่อดูโอกาสในการลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในการประชุมครั้งถัดไป


Important Economic Data this week :

1. Core Retail Sales MoM

Core Retail Sales หรือ ดัชนียอดค้าปลีก เป็นการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายอดขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญมากที่สุดที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับ Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core Retail Sales มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก -0.4% เป็น 0.2%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/retail-sales-ex-autos
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ Core Retail Sales แสดงให้เห็นถึงการ Rebound ของ Core Retail Sales ในระยะสั้น หรือการที่มียอดการค้าปลีกบยกเว้นรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยการที่ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นเยอะ ทำให้ยังมีความผันผวนในระยะสั้นบนตลาดสินทรัพย์เสี่ยง

2. FED Interest Rate Decision

FED Interest Rate Decision หรือ สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินแห่งสหรัฐฯ หรือ FOMC ได้มีการลงคะแนนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ย นักเก็งกำไรต่างเฝ้าติดตามคำพูดของเขาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดค่าเงินตราและความผันผวนของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: FED Interest Rate Decision มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิมที่ 4.25% – 4.50%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-inflation-rate-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การคงที่เท่าเดิมของ FED Interest Rate แสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่เข้าเป้าในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED อาจทำให้ตลาดมีความผันผวนในระยะสั้น โดยที่สินทรัพย์เสี่ยงจะได้รับผลกระทบโดยตรง

3. Unemployment Claims

Initial Jobless Claims หรือ Unemployment Claims คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าใช้จ่ายของรัฐได้ชัดกว่าอัตราการว่างงาน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงขึ้นนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หรือ Government Expenditure ถูกใช้ไปในการช่วยเหลือกลุ่มคนว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว และยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศอีกด้วย โดยตัวเลขนี้จะมีประกาศทุก ๆ วันพฤหัสบดี

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 220K เป็น 225K

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/jobless-claims
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ Unemployment Claims แสดงให้เห็นถึงพลเมืองของสหรัฐฯ ที่ยื่นขอสวัสดิการการว่างงานเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีนี้ไม่ได้ส่งผลต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยงโดยตรง


CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK

Credit from LayerGG

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

18 มีนาคม

    • การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น

19 มีนาคม

    • การประชุม FOMC

Weekly Crypto Must Watch

Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แสดงถึงมุมมองของนักลงทุนต่อตลาดที่ยังคงเป็นเชิงลบ และทำการเปิดสถานะชอร์ตมากกว่าสถานะลอง โดยรวมแล้ว บ่งบอกถึง Sentiment ของตลาดที่ไม่ค่อยดี

Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย บ่งบอกถึงการเปิดความเสี่ยงของนักลงทุนที่ทะยอยเพิ่มขึ้นมา แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่น้อย โดยในสัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องจับตา BOJ และ FED ซึ่งเตรียมแสดงจุดยืนเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต

Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลออกสุทธิที่ 921.4 ล้านเหรียญ หลังตัวเลข CPI ประกาศต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสให้ FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน และนักลงทุนจับตาการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้ อย่างใกล้ชิด

Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลออกสุทธิที่ 189.9 ล้านเหรียญซึ่งยังคงเป็นอีกหนึ่งอาทิตย์ที่ไม่มีการไหลเข้าของเงินทุน และยังคงเผชิญแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนรอปัจจัยบวกจาก Ethereum หรือสัญญาณเชิงบวกจากภาวะเศรษฐกิจ

Ethereum DEX Market Declines While Stablecoin Usage Continues to Grow

จำนวนกระเป๋าเงินที่ซื้อขายบน DEXs ของ Ethereum แบบรายวันลดลงเหลือเพียง 39,900 กระเป๋าซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่พฤศจิกายน 2023 และลดลง 45% จากช่วงต้นปีที่เคยเฉลี่ย 78,000 กระเป๋าต่อวัน แนวโน้มขาลงนี้ดำเนินมา 3 เดือน โดยลดลงเฉลี่ย 0.58% ต่อวันขณะเดียวกัน Uniswap ซึ่งเป็น DEX ที่ใหญ่ที่สุดบน Ethereum มีปริมาณการซื้อขายลดลง 19% เดือนต่อเดือน จากมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2025 และจากแนวโน้มปัจจุบัน มีโอกาสสูงที่ปริมาณการซื้อขายในเดือนมีนาคมจะลดลงอีก

แม้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงจะเผชิญแรงกดดัน แต่ ระบบนิเวศของ Stablecoin บน Ethereum ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยปริมาณการโอนบนเครือข่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 800,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่จำนวนกระเป๋าเงินที่ทำธุรกรรมก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดแตะ 600,000 กระเป๋าต่อสัปดาห์ USDC และ USDT ยังคงครองตลาด Ethereum ยังคงเป็นเครือข่ายหลักของ Stablecoin โดยมี USDC มูลค่า 35,000 ล้านดอลลาร์ และ USDT มูลค่า 67,000 ล้านดอลลาร์

ขณะเดียวกัน ด้านกฎระเบียบเริ่มมีความชัดเจนขึ้น โดยรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังผลักดันร่างกฎหมาย Stablecoin เพื่อกำหนดมาตรฐานและกำกับดูแล ซึ่งจะช่วยเสริมความน่าเชื่อถือให้กับผู้ให้บริการ Stablecoin เช่น Circle (USDC), Paxos (USDP) และ PayPal (PYUSD) แม้ว่าตลาดคริปโตจะมีความผันผวน แต่ปริมาณการใช้งาน Stablecoin ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง


WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS

by Cryptomind Advisory

BTC/USDT

$BTC ยังคงมี Momentum ขาลงอยู่ในกรอบขาลง โดยในระยะสั้นก่อนหน้านี้ได้มีการดีดตัวขึ้นมาเล็กน้อย แต่อาจเป็นการขึ้นเพื่อย่อต่อไปก่อนในช่วงข้างหน้านี้ มุมมองในการกลับตัวนั้นราคาควรจะมีการ Sideway ก่อนหรือออกจากกรอบขาลงก่อน ในฝั่ง RSI เริ่มมี Divergence ให้เห็นบ้างแล้วซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่เราได้เข้าใกล้กับ Local Bottom มากขึ้นแล้ว

แนวต้าน : $87,000 | $92,000 | $100,000

แนวรับ : $78,000 | $72,000 | $67,000

ETH/USDT

$ETH ยังคงเกาะอยู่บนแนวรับในกรอบขาลง ระยะสั้นในส่วน RSI มีการทำ Bullish Divergence เกิดขึ้นแล้วทำให้อาจมีโอกาสที่จะทำราคาขึ้นในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตามในภาพรวมก็ยังมีโอกาสที่จะเป็นการขึ้นเพื่อลงต่ออยู่ในตอนนี้

แนวต้าน : $2,100 | $2,800 | $3,400

แนวรับ : $1,500 | $1,200 | $870


ASSET ALLOCATION

by Cryptomind Advisory
Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้และสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังไม่สู้ดีนัก จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดี และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

BITCOIN 60%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP 10%
STABLECOINS 30%

คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน
ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต
 

Merkle Capital

ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-17-21-March-2025


คำเตือน

สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

Bloomberg ตัดเกรดหุ้นไทย “สอบตก” เป็นที่โหล่ในโลก! กองทุนวายุภักษ์, แจกเงินหมื่น, Thai ESG ปลุกตลาดฟื้นไม่ได้

Definit
ตัดเกรดหุ้นไทย “สอบตก” เป็นที่โหล่ในโลก

ตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ หลังดัชนี SET ปรับตัวลดลงกว่า 16% ตั้งแต่ต้นปี ทำให้ไทยกลายเป็นตลาดหุ้นที่ผลงานแย่ที่สุดจาก 92 ดัชนีทั่วโลก ตามรายงานของ Bloomberg ความพยายามฟื้นฟูตลาดผ่านกองทุนวายุภักษ์มูลค่า 150,000 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถสร้างแรงกระตุ้นได้ ขณะที่เงินทุนจากต่างชาติไหลออกไปแล้วกว่า 140,000 ล้านบาท ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เปรียบเทียบหุ้นไทย กับตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกัน

Source: Bloomberg as of 18/3/25

เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่มีการปรับเป็นค่าที่เทียบเคียงกันได้ (Normalized) ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2024 จะเห็นว่า ตั้งแต่ปลายปี 2024 ถึงมีนาคม 2025 ดัชนี SET ของไทย (เส้นสีดำ) ลดลงกว่า -17% ซึ่งแย่กว่าตลาดหุ้นประเทศเพื่อนบ้านที่ปรับลดลงเพียง -5% ถึง -10% เท่านั้น สะท้อนถึงวิกฤตความเชื่อมั่นที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะ

ทำไมตลาดหุ้นไทยร่วงหนัก?

  1. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจลดลง – นักลงทุนกังวลว่าไทยจะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้ไกลกว่าภาคการท่องเที่ยว
  2. หนี้ครัวเรือนสูงเป็นประวัติการณ์ – กระทบการใช้จ่ายของประชาชนและธุรกิจ
  3. ปัญหาการเมืองและคดีอื้อฉาว – ส่งผลให้ต่างชาติขาดความมั่นใจ
  4. ดอลลาร์แข็งค่า – ทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไทย
  5. ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนต่ำกว่าคาด – กดดันดัชนีอย่างต่อเนื่อง

แผนกระตุ้นยังไม่เห็นผล

รัฐบาลพยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น

  • กองทุนวายุภักษ์
  • แจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.5 แสนล้านบาท (เงินดิจิทัล 10,000 บาท)
  • กองทุนลดหย่อนภาษี Thai ESG และ Thai ESGX
  • ส่งเสริมค่าเงินบาทอ่อนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

แต่ถึงตอนนี้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็ยังไม่กลับมา Goldman Sachs ถึงกับปรับลดอันดับตลาดหุ้นไทย โดยชี้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ดีและมูลค่าหุ้นสูงเกินไป “เมื่อแรงสนับสนุนจากกองทุนวายุภักษ์เริ่มจางหายไป พื้นฐานไม่ดีของไทยก็กลับมาให้เห็นอีกครั้ง” ทีมวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ระบุ

หุ้นไทยร่วงหนัก แตะระดับโควิด

หุ้นไทยแตะระดับโควิด

Source: Bloomberg as of 18/3/25

จากกราฟด้านบน จะเห็นได้ว่าดัชนี SET ของไทยกำลังซื้อขายที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ในปี 2020 โดยดัชนีลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2024 จนถึงต้นปี 2025 หลังจากที่เคยฟื้นตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ประมาณ 1,700 จุดในช่วงปี 2021 – 2022 ปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ประมาณ 1,200 จุด ซึ่งต่ำกว่าช่วงเริ่มต้นของปี 2024 อย่างชัดเจน

ในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับภาวะท้าทายเช่นนี้ เราคงต้องหันกลับมามองถึงโอกาสในความยากลำบากที่อาจซ่อนอยู่ แม้ว่าภาพรวมจะยังคงหม่นหมองและความเชื่อมั่นจากนักลงทุนจะลดลง แต่ราคาหุ้นที่ตกลงอย่างรุนแรงอาจเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่สามารถมองข้ามความผันผวนระยะสั้นไปได้ การที่รัฐบาลยังคงดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การแจกเงินและการส่งเสริมการท่องเที่ยว แม้ผลลัพธ์ในปัจจุบันอาจไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่ก็ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความพยายามที่ไม่หยุดยั้งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สิ่งสำคัญคือการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างรอบคอบในช่วงเวลาที่ตลาดปรับฐาน หากมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว เราจะเห็นการเติบโตที่สดใสของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง

Definit Set Select

 Definit SET Select พลิกกลยุทธ์ลงทุนหุ้นไทย ช่วยคัดเลือกหุ้นไทยเน้น ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พิจารณา 3 ปัจจัย

 Earnings หุ้นที่ถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น
Valuation หุ้นที่มูลค่าถูกกว่าอุตสาหกรรม
Technical หุ้นที่มีโมเมนตัมเชิงบวกของราคาในระยะสั้น

สนใจรับบริการ คลิกเลย
https://finno.me/dss-moment


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด (บริษัท) ไม่สามารถยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขาย หลักทรัพย์ใดใดของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากวิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับ บริษัท

ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ “ชมรมหุ้นกู้” ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

Finnomena
ไม่พลาดทุกข่าวสารในวงการหุ้นกู้ กับรายการ "ชมรมหุ้นกู้" ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น.

ชมรมหุ้นกู้รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!

ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 . ที่ Youtube & Facebook Finnomena

รับชมตัวอย่างรายการ

สรุปกองทุน Thai ESGX เงื่อนไขพิเศษ โยก LTF เดิม ลดหย่อนภาษี 5 แสนบาท

Finnomena Funds
สรุปกองทุน ThaiESGX คืออะไร ลดหย่อนเท่าไหร่

Thai ESGX หรือ Thai ESG Extra กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ มาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีใหม่ของปี 2568 สามารถสับเปลี่ยนกองทุน LTF มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 500,000 บาท พร้อมเปิดโอกาสให้ลงทุนใหม่ได้อีก 300,000 บาท กำหนดให้ซื้อ 2 เดือน ในระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนนี้

รายงานข่าวล่าสุด (วันที่ 11 มีนาคม 2568) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX) หรือเรียกว่ากองทุน “Thai ESG Extra” สำหรับรองรับเงินลงทุนของผู้ที่ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ปัจจุบันคงค้างอยู่ประมาณ 180,000 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนโยกเงินจาก LTF มาอยู่ใน Thai ESGX โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท แบ่งเป็นใช้สิทธิในปี 2568 จำนวน 300,000 บาท และทยอยลดหย่อนอีก 200,000 บาทที่เหลือในปีที่ 2-5 จำนวนปีละไม่เกิน 50,000 บาท

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่ต้องการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน Thai ESGX เพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทในปี 2568 และถือเป็นวงเงินใหม่ ไม่ต้องนำไปนับรวมกับกองทุน Thai ESG ปกติ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คาดว่าจะสามารถเปิดให้ บลจ. ยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุน Thai ESGX ได้ภายในเดือนเมษายน 2568 เพื่อเปิดให้ลงทุนได้ในระยะเวลา 2 เดือนที่กำหนด คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2568

สรุปกองทุน ThaiESGX คืออะไร ลดหย่อนเท่าไหร่


กองทุน Thai ESGX คืออะไร?

Thai ESGX คือ กองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งออกมาพิเศษเฉพาะปี 2568 นี้เท่านั้น เพื่อรองรับการสับเปลี่ยนจาก LTF และเงินลงทุนใหม่ ภายในช่วงระยะเวลา 2 เดือน พร้อมสนับสนุนมาตรการทางภาษีของภาครัฐให้ได้รับประโยชน์คุ้มค่ายิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริม responsible investment และสนับสนุนความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและตลาดทุนไทยในระยะยาว

เงื่อนไขสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ของ Thai ESGX จะใช้ตามหลักเกณฑ์เดียวกับ Thai ESG ซึ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV แต่ Thai ESGX จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าต้องลงทุนในหุ้นยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV ด้วย ส่วนเงินลงทุนอื่น ๆ เช่น เงินสด หรือหลักทรัพย์ต่างประเทศ Thai ESGX สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 20% ของ NAV

สรุปประเภทสินทรัพย์ที่ Thai ESGX ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ประกอบด้วย

  1. หุ้นกลุ่มความยั่งยืนใน SET หรือ mai ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV
  2. ตราสารหนี้ในกลุ่มความยั่งยืน
  3. โทเคนดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน

 

สรุปกองทุน Thai ESGX คืออะไร

สรุปกองทุน Thai ESGX คืออะไร

Thai ESGX ลดหย่อนภาษีเท่าไร?

สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของกองทุน Thai ESGX แบ่งวงเงินลดหย่อนออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. วงเงินสำหรับการลงทุนใหม่ที่ซื้อ Thai ESGX ในปี 2568 ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน

2. วงเงินสำหรับผู้ลงทุนที่โยก LTF มาเข้า Thai ESGX ลดหย่อนได้สูงสุด 500,000 บาท แบ่งเป็น

  • ปีที่ 1 (2568): สูงสุด 300,000 บาท
  • ปีที่ 2 – 5: สูงสุดปีละ 50,000 บาท

 

ทั้งนี้ วงเงินลดหย่อนภาษีทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวของ Thai ESGX จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุน Thai ESG ปกติ

สรุปแล้วปี 2568 จะมีกองทุนกลุ่ม Thai ESG ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 3 วงเงิน รวมสูงสุดไม่เกิน 900,000 บาท

1.) เงินลงทุนใหม่ของผู้ลงทุนทุกรายที่ซื้อ Thai ESG ลดหย่อนไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 300,000 บาท

2.) เงินลงทุนใหม่ของผู้ลงทุนทุกรายที่ซื้อ Thai ESGX ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนที่เปิดขายในปี 2568 ลดหย่อนไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 300,000 บาท

3.) สำหรับผู้ที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF ทุกกองทุนไป Thai ESGX มีวงเงินลดหย่อนปีแรก (2568) สูงสุด 300,000 บาท และปีที่ 2-5 (2569-2572) สูงสุดปีละ 50,000 บาท

สรุปกองทุน Thai ESGX คืออะไร

ระยะเวลาถือครอง Thai ESGX 

กำหนดระยะเวลาถือครอง ≥ 5 ปี นับแบบวันชนวัน ตั้งแต่วันเริ่มต้นลงทุน หรือตั้งแต่วันที่แจ้งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน

ตอบคำถามยอดฮิตอื่น ๆ ของ Thai ESGX 

Q : Thai ESGX ต่างจาก Thai ESG เดิมอย่างไร

A : Thai ESGX มีเงื่อนไขการลงทุนเพิ่มเติม คือ ต้องลงทุนหุ้นกลุ่มความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV และเปิดรับสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม สูงสุด 500,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไข 30% ของเงินได้
พึงประเมิน

Q : Thai ESGX สามารถลงทุนหุ้นไทยที่ไม่ใช่ ESG ได้หรือไม่

A: ได้ เพราะส่วนการลงทุนที่เหลืออีก 20% ของ NAV สามารถลงทุนหุ้นไทยที่ไม่ใช่ ESG ได้

Q: มาตรการนี้เป็นการบังคับผู้ถือหน่วยลงทุน LTF หรือไม่?

A: ไม่ได้บังคับ เปิดโอกาสให้สับเปลี่ยนได้ตามสมัครใจ

Q: หากเลือกที่จะสับเปลี่ยน LTF มา Thai ESGX จะต้องย้ายมาทั้งหมด หรือโยกเพียงบางส่วนได้?

A: ผู้ลงทุนจะต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมด ทุกกองทุน ทุก บลจ. ที่ถือครอง ณ วันที่ 11 มีนาคม 2568 หากสับเปลี่ยนไม่ครบ จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

Q : มี LTF เดิมอยู่หลายกองทุน สามารถโอนไป Thai ESGX กองทุนเดียวได้หรือไม่

A : ได้

Q : สามารถสับเปลี่ยน LTF ไป Thai ESGX ข้าม บลจ. ได้หรือไม่

A : เงื่อนไขเพื่อให้ได้รับการลดหย่อนภาษีไม่ได้ห้ามการโอนข้าม บลจ. อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับข้อกําหนดการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของ LTF และ Thai ESGX ของแต่ละ บลจ. ทั้งนี้ ขอให้ผู้ลงทุนติดต่อสอบถาม
ไปยัง บลจ. ที่สนใจ หรือพิจารณาข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนของกองทุนข้างต้นอีกครั้งหนึ่งก่อนดําเนินการสับเปลี่ยน

Q : หลัง 11 มี.ค. 2568 สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ไปยัง LTF อื่น ภายใต้ บลจ. เดียวกัน หรือต่าง บลจ. ได้หรือไม่

A: ไม่ได้ ถ้าผู้ถือหน่วยลงทุน LTF ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีวงเงินลดหย่อนที่ 2 ต้องไม่ขาย และไม่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ถึงแม้กองทุนปลายทางจะเป็นกองทุน LTF เหมือนกัน จะทําให้กองทุน LTF ต้นทางต้องขายหลักทรัพย์ที่ถือครองออกมาตามมูลค่า NAV ของหน่วยลงทุนที่สับเปลี่ยนและโอนเงินสดไปให้กองทุน LTF ปลายทางเพื่อนําไปลงทุนต่อ

Q: เงินลงทุนของ LTF ส่วนที่เกินจาก 500,000 บาท หากสับเปลี่ยนมา Thai ESGX จะต้องถือครองตามเงื่อนไขหรือไม่?

A: เงินลงทุนทั้งหมดต้องถือตามเงื่อนไข Thai ESGX คือ ≥ 5 ปี ตั้งแต่วันที่แจ้งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน 

Q : ถ้าลงทุน Thai ESGX ไม่ครบระยะเวลา 5 ปี ต้องทําอย่างไร

A : หากมีการขายหน่วยลงทุนก่อนครบระยะเวลา 5 ปี จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้นและอาจมีเบี้ยปรับตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์กําหนด นอกจากนี้ หากมีกําไรจากการขายหน่วยจะต้องนํากําไรนั้นมาคํานวณภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ทางภาษีด้วย

Q: ถ้าไม่สับเปลี่ยน ทนถือ LTF ไว้เหมือนเดิม อนาคตจะเป็นอย่างไร?

A: หลังจากหมดช่วงสับเปลี่ยน LTF จะถูกเปลี่ยนเป็นกองทุนผสม โดยมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทย ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV และจะเปิดขายให้เหมือนกองทุนรวมทั่วไปแทน


ที่มา: สำนักงาน ก.ล.ต.

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นจีนพุ่งแรง นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

Finnomena Funds
หุ้นจีนติดปีก Lead โดยกลุ่มเทคฯ

วันนี้ (18 มีนาคม 2025) ดัชนี HSCEI (หุ้นจีน H-Share) ปรับตัวขึ้นกว่า 2.3% และดัชนี Hangseng Tech ปรับตัวขึ้นราว 3.3% นำโดยหุ้น Baidu +11.90% Alibaba +5.39% Tencent 4.72 และ JD.com +4.50%

ขณะที่จีนเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ทั้งยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นจาก 3.7% YoY  ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 4.0% YoY ในเดือนก.พ ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 3.8%  และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นจาก 3.2% YoY ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 4.1% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ที่ 3.2% ทั้งนี้ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงเล็กน้อยจาก 6.2% YoY  ในเดือนมกราคมสู่ระดับ 5.9% YoY ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 5.3%

นอกจากนี้เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2025 รัฐบาลจีนได้ประกาศแผนมาตรการกระตุ้น โดยจะดำเนินการเพื่อฟื้นฟูการบริโภค เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชน และจะมีการออกมาตรการกระตุ้นอย่างการรักษาเสถียรภาพของตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งเสนอแรงจูงใจ เพื่อเพิ่มอัตราการเกิดของประเทศ นอกจากนี้ยังมีมาตรการกระตุ้นอื่น ๆ เช่น ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แก้ปัญหาหนี้ค้างชำระของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยี AI และ Trade-in Program โดยการประกาศมาตรการกระตุ้นในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลจีนได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 5% สำหรับปี 2025 ในที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC)

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2025 ทางการจีนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้านในการประชุม NPC  โดยขยายเพดานขาดดุลงบประมาณเป็น 4% ของ GDP หรือประมาณ 5.66 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี พร้อมออกพันธบัตรระยะยาวพิเศษมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านหยวน โดยจัดสรร 300,000 ล้านหยวนเพื่อสนับสนุนโครงการกระตุ้นการบริโภคของประชาชน ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความจริงจังของรัฐบาลจีนในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่เงินที่เหลือจากพันธบัตรดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมออกพันธบัตรพิเศษเพิ่มเติมอีก 500,000 ล้านหยวน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเสริมเสถียรภาพของภาคการเงิน

Finnomena Funds มองว่า จากการประกาศมาตรการกระตุ้นสะท้อนว่ารัฐบาลจีนยังคงมุ่งมั่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่น โดยเรามองว่าเป็นโอกาสลงทุนในระยะสั้น ตามคำแนะนำ FundTalk Contrarian ซึ่งแนะนำการลงทุนระยะสั้นในกองทุน MEGA10CHINA-A ที่เน้นลงทุนใน 10 หุ้นจีนขนาดใหญ่ H-Share อย่างไรก็ดี ในระยะยาวยังมีความไม่แน่นอน แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมที่ฟื้น

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

หรือ “ทศวรรษที่หายไป” จะเป็นโอกาสใหม่ของนักลงทุน?

Finnomena Funds
ทศวรรษที่หายไป โอกาสใหม่นักลงทุน

Highlight


“ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจไม่ได้เติบโตเสมอไป” นี่คือแนวคิดที่สะท้อนอยู่ในบทความ “ตลาดหุ้นอเมริกากำลังเข้าสู่ทศวรรษที่หายไป?” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ซึ่งกล่าวถึงวัฏจักรของตลาดหุ้นที่ไม่ได้มีแค่ช่วงขาขึ้น แต่ยังมีช่วงซบเซาอย่างยาวนานที่เรียกว่า “Lost Decade”  ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นแทบไม่เติบโตเลย หรือแม้กระทั่งให้ผลตอบแทนติดลบนานเป็น 10 ปี

ดร.นิเวศน์ เขียนบทความพาย้อนดูประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กว่า 75 ปี ผ่านดัชนี S&P 500 ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงที่ถือว่าเป็น “Lost Decade” นั่นคือปี 1968 – 1982 และปี 2000 – 2009 ซึ่งทั้งสองช่วงนี้มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและวิกฤติสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการลงทุนในตลาดหุ้น 

ปัจจุบันตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ค่อนข้างท้าทาย โดยดัชนี S&P 500 ได้ปรับตัวลงมาหลุดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ซึ่งเป็นจุดที่หลายคนมักใช้เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของตลาด หลายคนเริ่มตั้งคำถามถึงทิศทางของตลาดในอนาคตว่าจะเป็นเช่นไร จะเป็นการปรับฐานชั่วคราวหรือมีความเสี่ยงที่จะรุนแรงกว่านั้น?

อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมตลาดสหรัฐฯ ก็ยังคงเติบโตและมีโอกาสอยู่เสมอ

มองหาโอกาส เมื่อสหรัฐฯ ปรับฐาน

S&P500 หลุด 200 วัน

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/03/2025

เมื่อ S&P500 หลุดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน นักลงทุนมักกังวลว่า ตลาดจะปรับตัวลงต่อมากน้อยแค่ไหน?

จากกราฟแสดงให้เห็นว่า หากการหลุดเส้น 200 วันเกิดขึ้นและในอีก 12 เดือนข้างหน้าเกิด Recession ตามมา ตลาดมักจะเผชิญกับการปรับฐานที่รุนแรงกว่า โดยมีค่าเฉลี่ยของการลดลงสูงสุด (Max Drawdown) ที่ -5.62% และบางช่วงเวลาอย่างในปี 1929 หรือช่วง Dot-Com Bubble ปี 2000 ตลาดเคยดิ่งหนักถึง -80%

ในทางกลับกัน หาก S&P500 หลุดเส้น 200 วันแต่ ไม่เกิด Recession ใน 12 เดือนข้างหน้า การปรับตัวลงมักไม่รุนแรงมาก โดย Max Drawdown อยู่ที่เพียง -2.06% และส่วนใหญ่แล้ว (ประมาณ 88.38%) ราคาจะลดลงไม่เกิน 5%

S&P500 ซื้อหลังหลุดเส้น 200 วัน

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/03/2025

*ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

อีกหนึ่งคำถามสำคัญที่นักลงทุนสงสัยก็คือ จังหวะแบบนี้ควรเข้าซื้อหรือไม่? ซึ่งคำตอบขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตว่า จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเปล่า?

หากมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยใน 12 เดือนข้างหน้า ตลาดมีแนวโน้มฟื้นตัวได้น้อย โดยผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 200 วันถัดไปหลังจากหลุดเส้น 200 วันอยู่ที่เพียง 2.67% และมีโอกาสทำกำไรเพียง 40.22% ซึ่งหมายความว่าความเสี่ยงยังคงสูงและอาจไม่ใช่จังหวะที่ดีในการเข้าซื้อ

ในทางกลับกัน หากไม่มีภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา นี่อาจเป็นโอกาสลงทุน เพราะค่าเฉลี่ยผลตอบแทนใน 200 วันข้างหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 7.75% และโอกาสทำกำไรก็สูงถึง 70.71% บ่งชี้ว่าตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้มากกว่า

S&P500 เริ่มมี Valuation ที่แพงน้อยลง

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 14/03/2025

ในมุมมองของปัจจุบัน ดัชนี S&P 500 อยู่ที่ระดับ 5,639 จุด โดย P/E Ratio ปัจจุบันอยู่ที่ 20.5 เท่า ซึ่งดูเหมือนจะกำลังเคลื่อนไปสู่การประเมินมูลค่าที่เหมาะสมมากขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้อยู่ในช่วงราคาสูงเกินไป ด้านคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ก็สะท้อนการเติบโตที่มีแนวโน้มค่อนข้างมั่นคง

Valuation คลายตัวลง

หุ้น Mag7 มี Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 14/03/2025

จากการปรับฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้กลุ่ม “7 นางฟ้า” หรือ “Magnificent 7” ซึ่งประกอบไปด้วย Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, Meta, Tesla และ Nvidia กำลังซื้อขายที่ระดับ P/E Ratio 25.9 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทางประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าการประเมินมูลค่าของหุ้นเหล่านี้อาจสมเหตุสมผลขึ้น

Russell 2000 มี valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 14/03/2025

ขณะที่ดัชนี Russell 2000 ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นขนาดเล็ก ปัจจุบันมี P/E Ratio ที่ 24.2 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเช่นกัน และมีการคาดการณ์กำไรที่เติบโตได้ดี สะท้อนโอกาสในการลงทุนหุ้นขนาดเล็กที่ยังไม่ถูกประเมินมูลค่าสูงเกินไป

กระสุนจาก Fed ปลุกพลังเศรษฐกิจ

Fed ยังมีกระสุน

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/03/2025

อย่างไรก็ตาม หากอนาคตสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงมี “กระสุน” หรือเครื่องมือทางการเงินเพียงพอที่จะเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจหากจำเป็น

การคาดการณ์จากกราฟเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2025 และ 25 มีนาคม 2025 สะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของนโยบายการเงิน จากเดิมที่คาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง มาเป็นการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดถึง 3 ครั้ง ตามข้อมูลจาก Fed Funds Futures

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันยังคงอยู่ที่ระดับ 4.50% และอัตราที่ตลาดคาดการณ์ในอนาคต (Implied Overnight Rate) ลดลงจาก 3.951% (ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์) มาอยู่ที่ 3.603% (ณ วันที่ 25 มีนาคม) พร้อมการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะทยอยลดลงไปสู่ระดับประมาณ 3.5% ภายในกลางปี 2026

โอกาสยังมี แม้ความเสี่ยงยังอยู่

แม้ว่าดัชนี S&P500 จะเผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนตัว แต่ปัจจัยหลายอย่างยังคงสนับสนุนตลาด เช่น เงินเฟ้อที่ยังไม่น่ากังวล ซึ่งอาจเปิดทางให้ Fed ส่งสัญญาณ Dovish มากขึ้น

ขณะเดียวกัน Valuation ของหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่ม Mag-7 และหุ้นขนาดเล็กเริ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งสะท้อนว่าความเสี่ยงด้านราคาถูกจำกัดลง หากไม่เกิด Recession ในช่วงที่ S&P500 หลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ข้อมูลทางสถิติชี้ว่านี่อาจเป็นโอกาสสะสมหุ้นมากกว่าจุดที่ต้องตื่นตระหนก

Finnomena Funds ยังคงมุมมอง Neutral ต่อดัชนี S&P500 หลังจากปรับลดมุมมองในช่วงต้นเดือน แต่ยังมองว่าเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการ Selective Buy โดยเน้นไปที่ หุ้นขนาดกลางและเล็กที่มี Valuation ไม่แพง เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว

โอกาสลงทุนกองทุนหุ้นสหรัฐฯ

  • MEGA10-A กองทุนที่เน้นลงทุนใน 10 หุ้นสหรัฐอเมริกาขนาดใหญ่ที่มีแบรนด์อันแข็งแกร่ง โดยมองเป็นจังหวะย่อซื้อในช่วงตลาดปรับฐานแรง แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ถึงขั้นเข้าสู่ Recession ในระยะเวลาอันใกล้
  • ASP-USSMALL-A กองทุนหุ้นขนาดกลาง-ขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกา ที่ยังไม่ถูกประเมินมูลค่าสูงเกินไป โดยคัดหุ้นเพียง 15-35 ตัวที่มั่นใจว่าดี ด้วยกลยุทธ์แบบ Bottom-Up มีเป้าหมายเอาชนะดัชนีชี้วัด Russell 2000

อ้างอิง: ตลาดหุ้นอเมริกากำลังเข้าสู่ทศวรรษที่หายไป?, Finnomena Live

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. โทร. 02-026-5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะทุกสภาวะตลาด

planet 46

คุณกำลังมองหาวิธีจัดพอร์ตที่จะช่วยให้ผ่านพ้นทุกสภาวะตลาดได้อย่างมั่นใจอยู่หรือเปล่า? หากใช่บทความนี้ถูกสร้างมาเพื่อคุณ! เพราะเราจะมาเผยเคล็ดลับการจัดพอร์ตที่ไม่ว่าตลาดจะผันผวนแค่ไหนก็ช่วยให้พอร์ตของคุณเอาชนะตลาดได้มาฝากกัน รายละเอียดพอร์ตจะเป็นอย่างไร? ติดตามไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

จัดพอร์ตอย่างไรให้ชนะทุกสภาวะตลาด

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว’ หากพูดในความหมายของโลกการลงทุน ประโยคนี้ก็หมายความว่า ‘การกระจายความเสี่ยง’ นั่นเอง คงไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในทุกช่วงเวลา และเราก็ไม่อาจรู้อนาคตแน่นอนได้ว่าโลกจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนพอร์ตมีแต่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นอยู่เต็มพอร์ต แต่พอเกิดขึ้นสถานการณ์ที่ทำให้หุ้นปรับตัวลดลงกลายเป็นว่าเปิดพอร์ตมาแดงแจ๋ติดดอย  หรือบางคนพอร์ตมีแต่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ในช่วงที่ตลาดขึ้นก็อาจจะเสียโอกาสที่จะทำให้พอร์ตของเราเติบโตไปได้อีก

ดังนั้น ‘Asset Allocation’ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการลงทุน หากคุณกำลังมองหาพอร์ตการลงทุนที่จะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะได้ในทุกสภาวะตลาดได้ วันนี้เราขอแนะนำให้ได้รู้จักกับพอร์ต ‘All Weather Strategy (AWS)’ ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนที่ทางทีมงานของ ดร. Andrew Stotz จับมือร่วมกับทีมงาน Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้นมา โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาวให้ได้มากที่สุด สัดส่วนหุ้นในพอร์ตสามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 25-85% ตามสถานการณ์ พร้อมลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นด้วยการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยปกป้องพอร์ตในสภาวะตลาดผันผวน นอกจากนี้ ยังเน้นลงทุนในกองทุน Passive Index ที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำและสมเหตุสมผล ไม่ฉุดรั้งผลตอบแทนระยะยาวของนักลงทุน

จุดเด่นพอร์ต All Weather Strategy

  • ใช้ ‘FVMR Framework’ เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน ซึ่งประกอบไปด้วย Fundamental (พื้นฐานของสินทรัพย์), Valuation (มูลค่าของสินทรัพย์), Momentum (โมเมนตัมของสินทรัพย์) และ Risk (ความเสี่ยง)
  • กระจายการลงทุนไปทั่วโลก ไม่จำกัดเพียงแค่ในประเทศไทย
  • มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยลดความผันผวน พร้อมเฟ้นหาโอกาสลงทุนใหม่ ๆ ตามสภาวะตลาดอยู่เสมอเพื่อให้ผลตอบแทนเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
  • สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นพักฐาน
  • ใช้หลักการวิเคราะห์ทั้งเชิงประมาณ (Quantitative) ที่ใช้สูตรและโมเดลทางคณิตศาสตร์ และเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่ใช้ประสบการณ์และความรู้ของทีมงาน เพื่อให้ได้พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด
  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท และไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการจัดพอร์ตลงทุน

 

มีเงิน 500,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ชนะทุกสภาวะตลาด

สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต All Weather Strategy

อย่างที่บอกไปว่าพอร์ต ‘All Weather Strategy’ จะเน้นกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้น ด้วยสัดส่วน 65% ผ่านกองทุน ES-EG-A เป็นตัวแทนหุ้นยุโรปในสัดส่วน 25% กองทุน SCBCHAA เป็นตัวแทนหุ้นจีนในสัดส่วน 25% กองทุน K-US500X-A(A) เป็นตัวแทนหุ้นสหรัฐฯ ในสัดส่วน 5% กองทุน ASP-NGF เป็นตัวแทนหุ้นญี่ปุ่นในสัดส่วน 5% และกองทุน TLFVMR-ASIAX เป็นตัวแทนกองทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นและจีนในสัดส่วน 5%

สำหรับตราสารหนี้ พอร์ต AWS ลงทุนด้วยสัดส่วน 25% โดยเลือกใช้กองทุน KT-BOND เป็นตัวแทนตราสารหนี้ทั่วโลก และสัดส่วนที่เหลืออีก 10% จะกระจายการลงทุนไปในสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำ โดยลงทุนในทองคำด้วยสัดส่วน 5% ผ่านกองทุน ES-GOLDS และลงทุนในกองทุน SCBCOMP ที่เป็นตัวแทนสินค้าโภคภัณฑ์ในสัดส่วน 5%

เจาะลึกกองทุนในพอร์ต All Weather Strategy

ES-EG-A

สัดส่วนการลงทุน 25%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Wellington Strategic European Equity Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน ES-EG-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักมีนโยบายกระจายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศยุโรป

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

SCBCHAA

สัดส่วนการลงทุน 25%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ ChinaAMC CSI 300 Index ETF (กองทุนหลัก) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน SCBCHAA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี CSI 300 เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี CSI 300

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

K-US500X-A(A)

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-US500X-A(A) จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเป็นกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น NYSE Arca และมีนโยบายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของดัชนี S&P 500

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

ASP-NGF

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Nippon Growth (UCITS) Fund ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน ASP-NGF จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตไปกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นระยะยาว

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

TLFVMR-ASIAX

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน (ซึ่งรวมถึงเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยกองทุน TLFVMR-ASIAX จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท (ครั้งถัดไป 1 บาท)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

KT-BOND

สัดส่วนการลงทุน 25%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน PIMCO FUNDS : GLOBAL INVESTORS SERIES PLC – Global Bond Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 4

กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนรวมให้ได้มากที่สุด และสอดคล้องกับการรักษาเงินทุนและการบริหารเงินลงทุนอย่างรอบคอบ กองทุนจะลงทุนอย่างน้อยสองในสามของสินทรัพย์ของกองทุน โดยกระจายพอร์ตการลงทุนในตราสารหนี้ในสกุลเงินหลักของโลก

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

ES-GOLDS

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง (Gold Bullion) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน โดยกองทุน ES-GOLDS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

SCBCOMP

สัดส่วนการลงทุน 5%

นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน PIMCO Commodity Real Return Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBCOMP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8

กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารอนุพันธ์ รวมถึงสัญญาแลกเปลี่ยนตราสาร (swap agreement) ต่าง ๆ สัญญาฟิวเจอร์ สัญญาออปชั่น ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และ/หรือ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ จึงเพิ่มศักยภาพในการที่จะลงทุนได้ตามดัชนี รวมถึงดัชนีย่อยต่าง ๆ ที่อ้างอิงกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (ซึ่งอาจไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงดัชนีใดดัชนีหนึ่งภายใต้ตระกูลดัชนีของ Bloomberg Commodity) ตราสารเหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนของการลงทุนในการตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่จำเป็นที่จะลงทุนโดยตรงในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก

.

สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/


สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

รีวิวกองทุน SCBCHAA: มองหุ้นจีนด้วยโมเดล FVMR ผ่านสายตาลงทุน Andrew Stotz

Finnomena Funds
รีวิวกองทุน SCBCHAA

สรุปกองทุน SCBCHAA ตัวแทนของหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ A-Shares ที่บริหารแบบ Passive เคลื่อนไหวตามดัชนี CSI300 กองทุนหุ้นจีน ซึ่งกำลังมีโมเมนตัมเชิงบวก หนุนจาก Fund Flow ทั่วโลกที่ไหลเข้าจีน พร้อมได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ

ภาพของหุ้นจีนกลับมาดูดีขึ้นอีกครั้งในปี 2025 นี้ แม้ช่วงแรกตลาดจะให้ความกังวลกับการขึ้นสู่ตำแหน่งประธานธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2 ของ Donald Trump แต่กลายเป็นว่าความตึงเครียดนี้คลี่คลายลงเรื่อย ๆ ประกอบกับมีปัจจัยเชิงบวกจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ๆ และพัฒนาการด้าน AI ที่เข้ามาหนุนให้หุ้นจีนทะยานกลับมา

สำหรับใครที่เริ่มสนใจในหุ้นจีน วันนี้อยากจะพาไปรู้จักกับ SCBCHAA กองทุนหุ้นจีน A-Shares ที่มีนโยบายการลงทุนแบบ Passive เคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนี CSI300 ซึ่งเป็นกองทุนแนะนำ F-PICK ของ Finnomena Funds และเป็นหนึ่งในกองทุนที่ถูกเลือกเข้าพอร์ต All Weather Strategy ของ Andrew Stotz เพื่อสร้างโอกาสลงทุนในหุ้นจีนอีกด้วย

รีวิวกองทุน SCBCHAA


แนะนำกองทุน SCBCHAA ตัวแทนหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBCHAA ลงทุนใน ChinaAMC CSI 300 Index ETF สกุลเงินหยวน โดยมีนโยบายการลงทุนแบบ Passive ให้ผลการดำเนินงานเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนี CSI300 

เรียกว่าเป็นตัวแทนของกองทุนหุ้นจีน A-Shares ซึ่งรวมเอาบริษัทที่จดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น ซึ่งมีโอกาสเติบโตจากการบริโภค และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศจีน

ทั้งนี้ SCBCHAA เป็นกองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการ Hedged ค่าเงินแบบ CNY/THB ไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจาก Hedging Cost บนคู่สกุลเงิน CNY/THB ต่ำกว่าคู่สกุลเงิน USD/THB

Top 10 Holding กองทุนหลัก SCBCHAA

top holding SCBCHAA

Source: ChinaAMC CSI 300 Index ETF  as of 17/03/2025

รายละเอียดอื่น ๆ ของ SCBCHAA 

  • ความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมตราสารทุน)
  • นโยบายปันผล ไม่จ่าย
  • ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 1 บาท
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee) 0.50% 
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee) ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) 1.00% ต่อปี
  • รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1.10% ต่อปี
  • ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 31/12/2025

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/

กองทุนหุ้นจีนในพอร์ต All Weather Strategy

A.Stotz All Weather Strategy พอร์ตลงทุนที่พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด ด้วยการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ และปรับสัดส่วนสินทรัพย์ตามความเหมาะสมของตลาดเสมอ ซึ่งกองทุนที่ถูกหยิบเข้าพอร์ต จะผ่านการวิเคราะห์โดย FVMR Framework ประกอบด้วย Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk

SCBCHAA ถูกเพิ่มน้ำหนักเข้ามาในพอร์ต All Weather Strategy เป็นสัดส่วน 25% ตั้งแต่การปรับพอร์ตในช่วงเดือนธันวาคม 2024 เนื่องจากการวิเคราะห์ FVMR มองว่าหุ้นจีนเป็น 1 ใน 3 สินทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุดในช่วงเวลานี้ ควบคู่กับหุ้นยุโรป และตราสารหนี้โลก

วิเคราะห์หุ้นจีนแบบ FVMR

วิเคราะห์หุ้นจีนแบบ FVMR

Source: A. Stotz Investment Research as of 28/02/2025)

Valuation (มูลค่าของสินทรัพย์) คือปัจจัยอันโดดเด่นที่สุดของหุ้นจีน จาก PE และ PB ต่ำที่สุด โดยเฉพาะในฝั่ง A-Shares ที่เน้นธุรกิจแบบดั้งเดิม ได้รับประโยชน์จากการเติบโตในประเทศจีนจริง ๆ ตรงกันข้ามกับหุ้นในตลาด H-Shares ซึ่งน้ำหนักส่วนใหญ่เป็นหุ้นเทคโนโลยีที่ Valuation เริ่มแพงขึ้นมาแล้ว 

Fundamental (มูลค่าของสินทรัพย์) จะเห็นว่าทางการจีนเริ่มขยับกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการทางการคลัง และมาตรการทางการเงิน ล่าสุดเจาะจงไปที่การปรับโครงสร้างหนี้ที่ถูกซ่อนไว้ของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งน่าจะช่วยลดภาระด้านดอกเบี้ย และทำให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น อีกทั้งการเติบโตของ AI ยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น เพราะจีนมีบทบาทสำคัญด้วยสิทธิบัตรด้าน AI กว่า 61% ของทั่วโลก แม้จะตามหลังสหรัฐฯ ในแง่คุณภาพก็ตาม

Risk (ความเสี่ยง) ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจากนโยบายของ Trump ที่แข็งกร้าวต่อจีน มองว่า Trump ต้องการเจรจา ไม่ได้อยากก่อสงคราม และเหมือนว่ารัฐบาลจีนจะเตรียมรับมือเรื่องนี้ไว้แล้ว อีกทั้งบริษัทจีนก็มีประสบการณ์รับมือกับนโยบายทางภาษีของสหรัฐฯ มาก่อน จึงมีโอกาสที่จะเจรจาตกลงกันได้ จีนมีสิทธิบัตร AI มากที่สุด ซึ่งอาจสะท้อนปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่แสดงถึงความสนใจของรัฐบาลจีน

Momentum (แนวโน้มราคาสินทรัพย์) ราคาหุ้นจีนเริ่มปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง บรรยากาศเชิงลบน่าจะถูกนำไปพิจารณาในราคาหุ้นแล้ว (priced-in) ซึ่งหากย้อนดูผลตอบแทนหุ้นจีนในช่วง 1 ปีย้อนหลัง ปรับตัวขึ้นถึง 19.8%* ถือว่าโดดเด่นมาก

(Source: A. Stotz Investment Research as of 28/02/2025)

สรุปจุดเด่นกองทุน SCBCHAA

  1. ลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-shares เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจในประเทศจีน ซึ่งจะได้รับโอกาสการเติบโตเต็มที่จากความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน
  2. Valuation ยังอยู่ในระดับถูก ถือว่ามี Downside Risk ที่ต่ำ และราคาหุ้นก็ซึบซับประเด็นลบต่าง ๆ ไปมากแล้ว
  3. เป็นกองทุนหุ้นจีนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการเลือก Hedged ค่าเงินแบบ CNY/THB ซึ่งมีข้อดีเรื่องต้นทุนป้องกันความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการป้องกัน USD/THB 

 

ล่าสุด (17/03/2025) Mr.Messenger Call แนะนำเข้าซื้อหุ้นจีน A-Share ผ่านกองทุน SCBCHAA จากการเห็นสัญญาณบวกชัดเจน ดัชนี CSI 300 ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 4,000 จุด และเหนือระดับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทุกเส้น สนใจลงทุน คลิกเลย


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ทรัมป์: จาก Trade War อาจเข้าสู่ Capital War

MacroView
ทรัมป์: จาก Trade War อาจเข้าสู่ Capital War

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐมีความจริงจังสำหรับปฏิบัติการ Trade War ว่าด้วยการตั้งกำแพงภาษีแบบที่พูดจริงทำจริงในเกือบทุกครั้งในรอบนี้ โดยหากพิจารณาเปรียบเทียบกับ Trade War 1.0ในรอบที่แล้ว จะพบว่าไม่ได้เป็นเพียงกลยุทธ์หรือแท็คติคเพื่อบังคับให้ประเทศคู่ค้าเข้าสู่โต๊ะเจรจาเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นทำในสิ่งที่ทรัมป์ต้องการ อาทิ เพื่อครอบครองพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่าง Greenland หรือบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์อย่างคลองปานามาอีกต่อไป โดยมีจุดหมายเพื่อทำการลดดุลการค้าของสหรัฐต่อประเทศเหล่านั้น

โดยที่ทรัมป์ ในรอบนี้ มีความสนใจผลกระทบของ Trade War ต่อตลาดหุ้นสหรัฐน้อยลง ซึ่งทรัมป์ได้กล่าวว่าสหรัฐอาจต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดหุ้นบ้างในระยะนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐในระยะยาว พร้อมๆกับ สก็อตต์ เบสเสนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ที่กล่าวว่าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐต้องเผชิญกับช่วงถอนพิษ (Detox Period) ในตอนนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบในภาพรวมต่อประเทศอื่น ๆ ในโลก

ในขณะเดียวกัน ทรัมป์ได้ออก Executive Order ในการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) หรือ  SWF โดยได้ประกาศ 5 สกุลเงินดิจิทัลที่ SWF สามารถถือครองในกองทุนดังกล่าว เพื่อลงทุนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ พร้อมกับประกาศโครงการ Golden Visa ที่เน้นหารายได้จากผู้มีความมั่งคั่งทั่วโลก โดยทรัมป์เน้นว่าจะนำรายได้ดังกล่าวมาจ่ายหนี้สินของรัฐบาลที่มีอยู่สูงเป็นประวัติการณ์

ทั้งหมดนี้ จึงนำมาซึ่งข้อสรุปที่ว่าทรัมป์เน้นระบบ Mercantilist หรือใช้ประโยชน์จากการใช้เม็ดเงินที่พยายามจะหามาจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกซึ่งส่วนใหญ่มีดุลการค้าแบบเกินดุลต่อสหรัฐ รวมถึงทำการบริหารจัดการมาเพื่อให้ได้จากดีลทางธุรกิจกับรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ด้วยการใช้มาตรการ Tariff เป็นอาวุธขู่แกมบังคับเพื่อจะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น โดยจะนำรายได้ดังกล่าวมาชำระหนี้ของภาครัฐและทำประโยชน์อื่น ๆ ในจังหวะถัดไป

มาตรการถัดไปจากนี้ของทรัมป์หลังจาก Trade War หากประเมินจากแนวคิดนี้ น่าจะหนีไม่พ้นการหาวิธีการที่ทำให้เงินสกุลดอลลาร์มีระดับที่ค่อนข้างอ่อนค่าลงเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของสหรัฐ โดยทีมงานของทรัมป์เชื่อว่า การที่เงินดอลลาร์มีฐานะที่เป็นเงินสกุลหลักของโลก (Global Currency) นั้น แม้จะมีข้อดีที่ต้นทุนหรืออัตราดอกเบี้ยจะต่ำลงสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตที่ต่ำมากของดอลลาร์ ทว่าการที่ประเทศต่างๆมีความต้องการถือครองเงินสกุลดอลลาร์จากฐานะดังกล่าว ก็เท่ากับเป็นเพิ่มความแข็งค่าของดอลลาร์ไปในตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้สหรัฐเสียเปรียบทางด้านการส่งออกต่อประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ทำให้ทีมงานของทรัมป์ มีแนวคิดแบ่งเป็น 3 มาตรการหลักที่อาจจะนำออกมาใช้ในอนาคต เพื่อทำการลดระดับการแข็งค่าของเงินสกุลดอลลาร์ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าของสหรัฐดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ได้แก่

หนึ่ง การปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ประเทศอื่น ๆ ที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่ในขณะนี้กับรัฐบาลสหรัฐซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยทำการเปลี่ยนหนี้ในรูปของเงินสกุลดอลลาร์เป็นตราสารแนว Perpetual Bond หรือหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ที่ไม่มีกำหนดจ่ายเงินต้น ด้วยการจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆตลอดไป ซึ่งจะเท่ากับเป็นการลดหนี้ของรัฐบาลสหรัฐไปในตัว พร้อมกับเป็นการลดระดับความเป็นเงินสกุลหลักของโลกลงมา จากการที่ประเทศต่าง ๆ ไม่ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินต้นในรูปของสกุลดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีระดับที่อ่อนลงด้วย

อย่างไรก็ดี ในมิติของการจัดอันดับเครดิตของสถาบันต่าง ๆ มองว่าปฏิบัติการนี้เท่ากับว่ารัฐบาลสหรัฐได้ทำการเบี้ยวหนี้ในเชิงเทคนิค (Technical Default) ไปเรียบร้อยแล้ว

สอง เมื่อมาตรการแรกดูแล้วมีข้อด้อยที่ถือว่าเสียหายมาก ทางเลือกของมาตรการถัดไปของทรัมป์ คือการใช้ SWF เป็นกลไกในการทำการแทรกแซงเข้าซื้อเงินสกุลของประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลต่อสหรัฐเพื่อให้ค่าเงินของประเทศเหล่านี้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งจะให้ประเทศเหล่านี้มีมูลค่าเกินดุลการค้ากับสหรัฐลดลง อย่างไรก็ดี มาตรการนี้ ต้องใช้ทรัพยากรในการเข้าแทรกแซงค่าเงินของประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ ยังดูจะเป็นการแก้ปัญหาแบบจำกัดเฉพาะจุดอีกด้วย

ท้ายสุด มาตรการที่ทรัมป์และทีมงานอาจจะพยายามจะนำมาใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสมในอนาคต คือ การเก็บภาษีฟันด์โฟลว์ของเงินทุนที่ไหลเข้าสหรัฐ (Incoming Flow) เพื่อทำการหารายได้ให้ภาครัฐจากกระแสเงินทุนของต่างชาติที่มาอาศัยใช้ประโยชน์ความเป็นเงินสกุลหลักโลกของดอลลาร์ พร้อม ๆ กับการสร้างแรงกดดันให้ต่างชาติลดปริมาณการถือครองเงินสกุลดอลลาร์ไปในตัว อันจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงไปแบบทั่วถึงแทบทุกสกุลเงิน อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ต่อรัฐบาลสหรัฐเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่น ๆ ของเศรษฐกิจได้อีกด้วย

ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP

MacroView, macroviewblog.com

สรุปกองทุนแนะนำ: ใช้จังหวะตลาดปรับฐาน “ซื้อถัว” และ “ทยอยสะสม” [อัปเดต 18 มี.ค. 2025]

Finnomena Funds
สรุปกองทุนแนะนำ: ใช้จังหวะตลาดปรับฐาน “ซื้อถัว” และ “ทยอยสะสม”

สถิติชี้เมื่อตลาดปรับฐานลงลึก และเศรษฐกิจไม่เกิด Recession ถือเป็นจังหวะที่ดีของการถัวเฉลี่ย และทยอยสะสม แม้จะเริ่มเห็น Fund Flow ไหลออกจากหุ้นอเมริกา แต่ยังคงมีโอกาสในการลงทุน

Highlight


สรุปกองทุนแนะนำ: ใช้จังหวะตลาดปรับฐาน “ซื้อถัว” และ “ทยอยสะสม”

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena

การที่ตลาดเข้าสู่โหมดกลัว เริ่มกลับมากังวลเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ปรับตัวลดลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน สวนทางกับราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นทํา All-Time High เนื่องจากมีแรงแรงซื้อเข้ามาในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

ทว่าการย่อลงของตลาดหุ้น ก็ส่งผลให้ S&P500 เริ่มมี Valuation ที่แพงน้อยลง โดยที่หุ้นใหญ่ในกลุ่ม Mag-7 และหุ้นขนาดเล็ก Russell 2000 นั้นมี Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแล้ว 

&P500) ปรับตัวลดลงหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 17/03/2025

เราพบสถิติที่น่าสนใจ คือ การหลุดเส้นค่าเฉลี่ย MA 200 วัน ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะไม่น่ากังวล หากไม่ไปเจอกับ Recession โดยสรุปได้ดังนี้

  • ถ้า S&P500 หลุดเส้น 200 วัน แล้วคาดอีก 12 เดือนข้างหน้าจะเกิด Recession ไม่ควรเข้าซื้อ เพราะมีโอกาสจะได้กำไรเพียง 40.22% และมีค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนที่ 2.67%
  • ถ้า S&P500 หลุดเส้น 200 วัน แล้วคาดอีก 12 เดือนข้างหน้าจะไม่เกิด Recession เป็นจังหวะเข้าซื้อ เพราะมีโอกาสจะได้กำไรถึง 70.71% และมีค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนที่ 7.75%
  • การซื้อ S&P500 ณ วันที่หลุดเส้น MA 200 วัน โดยเฉลี่ยมี Drawdown อยู่ที่ 3.2%

 

มุมมอง Finnomena Funds เชื่อว่า Recession ยังคงห่างไกล ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อไม่น่ากังวล เปิดทางให้ Fed ยังมีกระสุนเหลือเพื่อพยุงเศรษฐกิจ แนะนำ Selective Buy สะสมในหุ้นกลางเล็กที่ Valuation ไม่แพง รวมถึงเป็นโอกาสย่อซื้อหุ้นขนาดใหญ่ที่พักฐานลงมาแรง


FundTalk Call “ได้เวลาย่อซื้อตอนตลาดปรับฐาน”

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนหาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

สรุปกองทุนแนะนำ: ใช้จังหวะตลาดปรับฐาน “ซื้อถัว” และ “ทยอยสะสม”

1.) MEGA10CHINA-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นจีนขนาดใหญ่ 10 ตัว ได้รับประโยชน์จากกระแส AI Boom ในจีน และยังมีแรงหนุนให้สร้างโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เอาจริงเอาจังของทางการจีน

2.) TISCOAI (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้น AI และ Big Data โดยลงทุนครอบคลุมธีม AI กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งจะมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต จากการที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุค Agentic AI อีกทั้งยังมัปัจจัยหนุนเรื่องเงินเฟ้อต่ำคาด ซึ่งจะดีต่อการวิ่งของหุ้น Growth

3.) MEGA10-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ 10 ตัว มองเป็นจังหวะเข้าลงทุนหลังกลุ่ม 7 นางฟ้า ปรับฐานทะลุ 20% โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้กำลังเข้าสู่ Recession ในขณะที่หุ้นขนาดใหญ่รับรู้ข่าวร้ายไปมากแล้ว


Mr.Messenger Call “กระจายออกจากอเมริกา มุ่งสู่จีนและยุโรป”

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

สรุปกองทุนแนะนำ: ใช้จังหวะตลาดปรับฐาน “ซื้อถัว” และ “ทยอยสะสม”

1.) SCBCHAA และ SCBMLCAA (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นจีน ได้เวลาเก็งกำไรจากปัจจัยทางเทคนิคที่ราคามีโมเมนตัมเชิงบวกชัดเจน ด้วย Fund Flow ของเงินทั่วโลกที่กำลังไหลเข้าจีน พร้อมกับได้ประโยชน์หลังมีการประกาศมาตรการกระตุ้นการบริโภค

2.) DAOL-KOREAEQ (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเกาหลีใต้ เริ่มมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ประกอบกับราคาหุ้นยังถูก อัพไซด์สูง พร้อมกับมีโอกาสเติบโต เนื่องจากหุ้นผู้นำในดัชนี KOSPI ล้วนเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของโลก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากกระแส AI รายถัดไป

3.) ONE-EUROEQ (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นยุโรป ซึ่งราคาหุ้นมีโมเมนตัมเชิงบวก พร้อมบริษัทจดทะเบียนถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น จึงถือเป็นแหล่งหลบภัยชั้นดีในยามที่ Trump ป่วนโลก และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดูอ่อนแอ


MEVT Call “ไม่กังวล Recession โอกาสซื้อหุ้นดีราคาถูก”

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical 

สรุปกองทุนแนะนำ: ใช้จังหวะตลาดปรับฐาน “ซื้อถัว” และ “ทยอยสะสม”

1.) B-INNOTECH (ความเสี่ยงระดับ 7)

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมากองทุนหลักได้มีการปรับพอร์ต ลดสัดส่วน Magnificent-7 และเข้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีจีนที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม AI

2.) PRINCIPAL VNEQ-A (ความเสี่ยงระดับ 6)

กองทุนหุ้นเวียดนามศักยภาพสูง เป็นตลาดที่ถูกและดี พร้อมด้วย Sentiment จากการปรับโครงสร้างระบบราชการ ลดจำนวนบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ เวียดนามยังมีปัจจัยหนุนในการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีนี้

3.) UGIS-N และ KF-CSINCOME (ความเสี่ยงระดับ 5)

กองทุนตราสารหนี้โลก ถือเป็นโอกาสเก็บสะสมในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน และ Bond Yield อยู่ในระดับสูง โดยเป็นกองทุนที่มีนโยบายการคัดเลือกตราสารหนี้แบบ Active ยืดหยุ่น สอดรับกับสถานการณ์ตลาด

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ตลาดหุ้นอเมริกากำลังเข้าสู่ทศวรรษที่หายไป?

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
ตลาดหุ้นอเมริกากำลังเข้าสู่ทศวรรษที่หายไป?

ตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์เข้ารับตำแหน่งการเมือง เศรษฐกิจและตลาดหุ้นอเมริกาดูเหมือนว่าจะปั่นป่วนไม่น้อย ทิศทางของอเมริกานั้น ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งนั่นก็ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าตลาดหุ้นอเมริกาในระยะยาวจะไปทางไหน หุ้นจะขึ้นหรือลง น่าลงทุนหรือไม่ ผมลองศึกษาข้อมูลที่เป็นประวัติศาสตร์โดยอิงกับเหตุการณ์สำคัญและดัชนี S&P 500 ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนที่ดีที่สุด โดยการมองย้อนหลังไปประมาณ 75 ปี ซึ่งเป็นยุคที่อเมริกา “เปิดประเทศ” และกลายเป็นผู้นำที่โดดเด่นของโลกในทุกด้าน ทั้งการทหาร เศรษฐกิจ การค้าและการเงินของโลก

เริ่มในปี 1949 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงโดยที่อเมริกาซึ่งเป็นฝ่ายผู้ชนะสงครามได้กลายเป็นผู้นำของประเทศ “โลกเสรี” อย่างเด็ดขาดและมีพละกำลังทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโดยตรง อเมริกาได้เข้าไปช่วยประเทศโดยเฉพาะในยุโรปตะวันตกให้ฟื้นตัวจากสงครามโดยโครงการ “Marshall Plan” ที่ใช้เงินมหาศาล

ด้วยความคิดที่ว่า ถ้าไม่ช่วย ประเทศเหล่านั้นก็จะมีปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรง ซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนและโกรธแค้นและในที่สุดอาจจะเปลี่ยนแปลงประเทศให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามอย่างโซเวียต สรุปก็คือ อเมริกาที่เคย “อยู่เฉย ๆ และไม่ยุ่งกับใคร” ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  กลายเป็นอเมริกาที่เข้าไป “ยุ่ง” หรือช่วยประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในฝ่ายของโลกเสรี เหตุผลก็เพื่อที่จะต่อต้านคอมมิวนิสต์ โลกเข้าสู่ช่วง “สงครามเย็น” ที่ไม่รบกันด้วยอาวุธ แต่รบกันด้วยเศรษฐกิจ การค้าและอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย

“โลกเสรี” เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาก เยอรมันตะวันตกเติบโตมากในยุโรป ญี่ปุ่นเติบโตมหาศาลในเอเชีย กลายเป็นเศรษฐกิจอันดับ 3 และ 2 ของโลกอย่างรวดเร็ว การค้าและเศรษฐกิจในกลุ่มโลกเสรีซึ่งรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ในฝ่ายโลกเสรีเพิ่มขึ้นมหาศาลอานิสงส์สำคัญจากการช่วยเหลือของอเมริกา  และนั่นก็ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเติบโตตามไปด้วยอย่างยาวนาน  ซึ่งสะท้อนออกมาจากดัชนี S&P 500

ในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 1949 ที่ดัชนีอยู่ในช่วง “ต่ำสุด” ที่ประมาณ 190 จุด มันปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ และมีช่วงปรับตัวลงน้อยมากจนถึงเดือนพฤศจิกายน 1968 เป็นเวลาถึง 19.5 ปี ดัชนีขึ้นไปถึง 977 จุดหรือเป็นการเพิ่มขึ้นปีละ 8.8% โดยเฉลี่ยแบบทบต้น และนี่ก็คือยุคของความมั่งคั่งหลังสงครามโลกของอเมริกา ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นเติบโตต่อเนื่องยาวนานที่สุด

หลังจากปี 1968 สงครามเย็นก็เริ่มร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เฉพาะอย่างยิ่งเกิดสงครามเวียดนามที่อเมริกาเข้าไปร่วมรบ “เต็มสตรีม” ซึ่งต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก ในตะวันออกกลางก็มีสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับซึ่งทำให้เกิดวิกฤติน้ำมันเพราะโอเปก องค์กรผู้ผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดของโลกของฝ่ายอาหรับงดส่งน้ำมันให้อเมริกาเพื่อเป็นการประท้วง

ผลก็คือน้ำมันแพงขึ้นมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และสิ่งที่ตามมาก็คือ เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงมากเป็นประวัติการณ์เป็นตัวเลขสองหลักในปี 1974-75 และกลายเป็น  “Stagflation” คือเงินเฟ้อแต่คนตกงานเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งทำให้คนเดือดร้อนกันมาก เกิดการประท้วงใหญ่ในอเมริกา คนต่อต้านสงครามและเกิดปรากฏการณ์ของคนที่ต่อต้านสังคมที่เรียกว่าพวก “ฮิปปี้” ที่ไว้ผมยาว ไม่ทำงาน  ทำตัวสกปรกและเสพกัญชาและยาเสพติดอื่น ๆ

ดัชนี S&P 500 ตกจาก 977 จุดในปี 1968 เป็นประมาณ 350 จุดในเดือนกรกฎาคม 1982 หรือตกลงมา 7.24% แบบทบต้น ในช่วงเวลา 13.7 ปี กลายเป็นช่วง “ทศวรรษที่หายไป” และในช่วงปี 1973-1974 ตลาดหุ้นก็เกิด “วิกฤติ” ด้วย  คือตกจาก 886 เหลือเพียง 400 จุด หรือเป็นการตกลงมา 55% ในเวลา 2 ปี

นับจากปี 1982  “ยุคใหม่” ก็เริ่มขึ้น สหรัฐได้ประธานาธิบดีคือโรนัลด์ เรแกน ที่ใช้

นโยบายเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “เรแกนโนมิคส์” ที่เน้นลดภาษี ส่งเสริมการค้าเสรี ลดบทบาทของรัฐในด้านเศรษฐกิจ เพิ่มงบประมาณทหารเพื่อต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์  และก็เริ่มชนะ จีนเริ่มปรับตัวเป็น “ทุนนิยม” หลังจากที่เศรษฐกิจไปไม่ไหวภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิงที่เริ่มเข้ามามีอำนาจแทนเหมาเจ๋อต๋งที่เสียชีวิตไป เติ้งประกาศว่า “แมวขาวหรือแมวดำก็ไม่สำคัญถ้ามันจับหนูได้”

ที่สำคัญก็คือ คอมมิวนิสต์โซเวียตเองก็ล่มสลายลงในปี 1991 โลกกำลังเป็น  “Globalized” หรือเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งโลกโดยมีอเมริกาเป็น “ผู้นำหนึ่งเดียว” ทุกประเทศเลิกทำสงครามแต่ทำการค้ากับทุกประเทศ  และทำผ่านการสื่อสารและการจัดการยุคใหม่ที่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นตัวนำ

ดัชนี S&P พุ่งขึ้นแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน  จาก 350 จุดในปี 1982 กลายเป็นจุดสูงสุด 2,803 จุด ในเดือนสิงหาคมปี 2000 คิดเป็นการปรับตัวเพิ่มปีละ 12.2% แบบทบต้น เป็นเวลายาวนานถึง 18.1 ปี โดยที่แทบไม่มีช่วงเวลาสะดุด  ถือว่าเป็นยุคทองของตลาดหุ้นอเมริกา

แต่เวลาดีสุดยอดก็ดับลงในชั่ว “ข้ามคืน” อาจจะเพราะมันร้อนแรงเกินไปโดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม “ไฮเทค” หรือเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกลุ่ม “Dot-com” ที่ “กำลังเปลี่ยนโลก” ที่ราคาหุ้น “ร้อนแรงเป็นไฟ” ดัชนี NASDAQ ปรับตัวขึ้น 800% ในเวลาเพียง 5 ปี ซึ่งในที่สุดฟองสบู่ก็แตก และนั่นทำให้ดัชนี S&P หลังเดือนสิงหาคม ปี 2000 ตกลงมาแบบวิกฤติเหลือ 1,437 จุด หรือลดลงมาประมาณ 49% ในเวลา 2 ปี และก็เกิดวิกฤติอีกครั้งในปี 2007 ที่ดัชนีตกลงมาจาก 2,366 จุดเหลือเพียง 1,107 จุดในเดือนมีนาคม 2009 หรือลดลง 53% จากวิกฤติซับไพร์ม

โดยรวมแล้ว ช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2000 ถึงกุมภาพันธ์ 2009 เป็นเวลา 8.5 ปี ดัชนี S&P 500 ตกจาก 2,803 เหลือ 1,107 จุด หรือลดลงปีละ 10.37% ต่อปีแบบทบต้น โดยที่ในระหว่างนั้น เกิดวิกฤติที่ทำให้ดัชนีตกลงมาประมาณ 50% ถึง 2 ครั้ง และนับเป็นช่วงเวลาที่โหดร้ายสำหรับนักลงทุนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์  และเหตุผลส่วนหนึ่งที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะดัชนีหุ้นอยู่ในระดับที่สูงเกินไปหลังจากที่ดัชนีดีต่อเนื่องมานานมาก

จากปี 2009 เป็นต้นมาจนถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2024  เป็นเวลาถึง 15.8 ปี เศรษฐกิจของสหรัฐเติบโตได้ดีและมั่นคงมาก การเติบโตนั้นนำโดยหุ้นไฮเทคและดิจิทัลที่ปฎิวัติการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้คนทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน เทคโนโลยีโดยเฉพาะ AI ที่เริ่มปรากฏตัวขึ้นมานั้น  พัฒนาขึ้นถึงจุดที่ถูกนำมาใช้งานได้จริง เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองก็เริ่มออกสู่ท้องถนน ไม่ต้องพูดถึงพลังงานสะอาดที่เกิดขึ้นแพร่หลายและจะเปลี่ยนโลกในอนาคตไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน ในขณะที่ดอกเบี้ยอยู่ในอัตราที่ต่ำเป็นประวัติการณ์อย่างยาวนาน

ทั้งหมดนั้นทำให้ดัชนี S&P ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งมาตลอดจาก 1,107 จุด เป็น 6,093 จุดที่เป็นจุดสูงสุดและให้ผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 11.44% ต่อปีติดต่อกันถึง 15.8 ปี โดยที่มีช่วงหุ้นตกน้อยมาก ยกเว้นก็เฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ดัชนีตกลงมาสั้น ๆ เพียงไม่กี่เดือนและช่วงหลังโควิดจบที่มีการปรับตัวลงบ้าง แต่โดยรวมแล้วช่วงเวลาถึงเกือบ 16 ปีหลังนี้ต้องถือว่าเป็นยุคทองของหุ้นจริง ๆ

ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้  ดัชนี S&P ตกลงมาแล้วประมาณ 7-8% ในขณะที่ดัชนี NASDAQ ลดลงมาประมาณ 11-12% ในเวลาแค่ 2-3 เดือน  หลายคนอาจจะบอกว่ามันน่าจะเป็นการปรับตัวปกติหรือ “Correction” แต่ผมเองมองว่านี่อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับ “ภาพใหญ่” ที่ดัชนีจะเปลี่ยนทิศเป็นการตกลงมาระยะยาวอาจจะเป็น 10 ปี

เพราะประเด็นก็คือ อเมริกาต่อจากนี้อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปหลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ขึ้นสู่ตำแหน่งในวาระที่สองที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญที่ดูเหมือนว่าจะคำนึงถึงอเมริกาก่อน โดยการประกาศ “สงครามการค้า” กับแทบจะทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งนั่นก็จะทำให้อเมริกาต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเหมือนสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอาจจะกระทบกับเศรษฐกิจและการเมืองของอเมริกามาก

การเจริญเติบโตจะช้าลง เช่นเดียวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจจะพ่ายแพ้แก่จีน การเป็นผู้นำที่สร้างผลดีและอำนาจให้แก่อเมริกามายาวนานอาจจะถดถอยลง แทนที่จะยิ่งใหญ่อย่างที่คิดก็กลายเป็นการด้อยลงเพราะไม่มีประเทศอื่นเป็น “ผู้ตาม” อย่างที่เคย

นั่นก็จะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยาวนานและอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติเริ่มปรับตัวลดลงและจะลดลงเรื่อย ๆ คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และอาจจะยาวเป็น 10 ปีจนกลายเป็น “Lost Decade” หรือเป็นทศวรรษที่หายไปของการลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกา

แน่นอนว่าผมมีโอกาสผิดสูง โดยเฉพาะในเรื่องของเวลาที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น แต่ถ้ามองจากสถิติที่ผมกล่าว โอกาสที่จะเกิดก็มีไม่น้อย อย่างไรก็ตาม เราคงไม่รู้จนกว่าจะถึงปี 2034 ว่าดัชนี S&P 500 จะอยู่ที่ไหน ในระหว่างนี้ก็ควรจะต้องระวังบ้างเหมือนกัน เพราะสตอรี่ที่จะเกิด Lost Decade นั้นมีน้ำหนักพอสมควร

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

Finnomena Funds

Weekly Market Insight

Weekly Market Insight

ประจำสัปดาห์ 17 – 21 มีนาคม 2025

พิเศษ! สำหรับสมาชิก Finnomena

This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดได้เลย

เวียดนามยกเครื่องระบบราชการ ยุบกระทรวง ลดคน 100,000 ตำแหน่ง ปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่

Finnomena
เวียดนามทำในสิ่งที่แตกต่าง ยกเครื่องระบบราชการ

 “เราต้องไม่ปล่อยให้หน่วยงานรัฐกลายเป็นที่หลบภัยของคนขี้เกียจ รัฐบาลควรหลีกเลี่ยงการรักษาเจ้าหน้าที่ที่ไร้ความสามารถไว้”

Nguyen Hoa Binh รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวอย่างเด็ดขาดหลังจากการประกาศแผนปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ เพื่อนำเวียดนามก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้ว

อาจจะเป็นการปฏิรูปประเทศครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของเวียดนามก็ว่าได้ เมื่อรัฐบาลเวียดนามกำลังทำในสิ่งทีท้าทายชาวโลก ด้วยการการยกเครื่องระบบราชการ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นง่าย ๆ โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนา

รายละเอียดของแผนปรับโครงสร้างครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. การลดจำนวนกระทรวงและหน่วยงานของรัฐบาลจาก 30 แห่ง เหลือ 22 แห่ง

2. จะลดตำแหน่งงาน 100,000 ตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานรัฐ ผ่านโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและเลิกจ้าง ซึ่งเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับเงินชดเชยรวมกันกว่า 5 พันล้านดอลลาร์

3. คาดว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณได้ 4.5 พันล้านดอลลาร์ ภายใน 5 ปี

เป้าหมายของการปฏิรูประบบราชการ คือการนำประเทศเวียดนามก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี 2045

แม้ว่า GDP เวียดนาม จะเติบโตอย่างรวดเร็วที่ 7.09% ในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะการถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการคอร์รัปชัน และปัญหาความสามารถของบุคลากรในระบบราชการ


ที่มา

Lazy Econ เศรษฐกิจของคนขี้เกียจ

Finspace
Lazy Econ เศรษฐกิจของคนขี้เกียจ
Gude, tama tama. Gude, tama tama. Gude, Gude, Gudetama ~ ตัวการ์ตูนที่ใคร ๆ มักรู้จักของญี่ปุ่น สะท้อนถึงความขี้เกียจมนุษย์ ที่ไม่เข้าใครออกใคร แต่เข้าแล้ว ไม่ออกเลย
และจากงานวิจัยของ “เจาะลึกอินไซต์ พิชิตใจคนขี้เกียจ”​ สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มีข้อมูลเกี่ยวกับความขี้เกียจของพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เต็มใจจ่ายและใช้เงินแก้ปัญหา เพื่อแลกกับความสบาย โดยแยกออกมาเป็น 4 พฤติกรรม ดังนี้
Lazy Econ เศรษฐกิจของคนขี้เกียจ

1. ขี้เกียจเดินทาง

เพราะการไปไหนมาไหน ทำให้เสียเงินเสียเวลา ผู้บริโภคจึงยอมจ่ายเพื่อซื้อเวลา ส่งผลให้บริการต่าง ๆ ยุคนี้ ช่วยลดการเดินทาง สามารถตอบโจทย์และเติบโตอย่างรวดเร็ว

เช่น Delivery ส่งอาหาร ส่งของ หรือบริการส่งตรงถึงบ้าน เช่น ทำสปา อาบน้ำตัดขนสัตว์เลี้ยง

2. ขี้เกียจรอ

ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างรวดเร็ว ทันใจไปหมด ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมาก ชอบอะไรที่รวดเร็ว ทันใจ และไม่อยากรอ ทำให้เกิดธุรกิจที่เน้นความรวดเร็ว สะดวกสบาย

เช่น ธุรกิจรับจ้างต่อคิวซื้อของ ต่อคิวร้านอาหาร

3. ขี้เกียจออกแรง

ผู้บริโภคยุคนี้ชอบหาวิธีหรือทางลัดต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ออกแรงน้อยที่สุด จึงมักเลือกใช้สินค้าหรือบริการที่ช่วยทุ่นแรงหรือให้คนมาทำแทนได้

เช่น บริการทำความสะอาดบ้าน ย้ายบ้าน ดูแลสัตว์เลี้ยง

4. ขี้เกียจคิด

เพราะลำพังชีวิตประจำวันก็มีเรื่องให้คิดให้ตัดสินใจเต็มไปหมด ผู้บริโภคจึงชอบที่จะอยู่ในสภาวะทิ้งตัว และมองหาสินค้าและบริการที่ช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น

เช่น บริการจัดงานแต่งงาน บริการจัดส่งสินค้าไปให้ทดลองใส่ก่อนตัดสินใจซื้อ หรือสินค้าที่จัดเป็น Set สินค้าสำเร็จรูปพร้อมใช้ เช่น ชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit)

ซึ่งถ้าลองสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 ความขี้เกียจนี้ไม่ได้เพียงแต่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย แต่ยังช่วยให้เราเสียเวลาน้อยลง และมีเวลาไปทำสิ่งที่สำคัญในชีวิตได้มากขึ้น ดังนั้นธุรกิจเหล่านี้จึงกลายเป็นความคุ้มค่าที่เรายอมจ่ายเพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/lazy-economic/