ใครเป็นบ้าง? เงินเดือนออกทีไรตั้งใจไว้ว่าจะเก็บเงินให้ได้ แต่ไม่ว่าจะเดือนไหน ๆ ก็ใช้หมดไม่เหลือเก็บสักเดือน หากใครพบเจอกับปัญหานี้อยู่ ลองมาใช้สูตรบริหารเงินกันเถอะ!
วันนี้ FinSpace จะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ 3 สูตรบริหารเงิน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งจะช่วยให้เราจัดสรรเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเก็บเงินได้แบบอยู่หมัดด้วย! จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดตามไปพร้อมกันได้เลย
สูตรบริหารเงิน 50/30/20 แบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ส่วน โดยคำนวณจากรายได้หลังหักภาษีแล้ว ได้แก่
ตัวอย่างเช่น นาย A เงินเดือนหลังหักภาษี ของนาย A เท่ากับ 30,000 บาท หากใช้สูตรบริหารเงิน 50/30/20 จะแบ่งออกได้เป็น ค่าใช้จ่ายจำเป็น 15,000 บาท ค่าใช้จ่ายสำหรับความบันเทิง 9,000 บาท และเก็บออมหรือชำระหนี้ 6,000 บาท
สูตรบริหารเงิน 80/20 แบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน โดยคำนวณจากรายได้หลังหักภาษีแล้ว ได้แก่
สำหรับใครที่ไม่อยากแยกค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าใช้จ่ายสำหรับความบันเทิงให้ยุ่งยาก สามารถปรับใช้สูตร 80/20 แทนสูตร 50/30/20 ได้
ตัวอย่างเช่น เงินเดือนหลังหักภาษี ของนาย A เท่ากับ 30,000 บาท หากใช้สูตรบริหารเงิน 80/20 จะแบ่งออกได้เป็น ค่าใช้จ่าย 24,000 บาท และเก็บออมหรือชำระหนี้ 6,000 บาท
สูตรบริหารเงิน 50/15/5 แบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ส่วน โดยคำนวณจากรายได้หลังหักภาษีแล้ว ได้แก่
สูตรนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเงินระยะยาว โดยแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณอายุด้วย หลายคนอ่านแล้วอาจจะสงสัยว่า 50/15/5 บวกกันก็ไม่ครบ 100% นี่หน่า อีก 30% หายไปไหน? คำตอบคืออีก 30% ที่เหลือมีไว้สำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เราสามารถจัดสรรมันได้เอง ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายสำหรับความบันเทิงต่าง ๆ ท่องเที่ยว ชอปปิง ดูหนัง และ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น เงินเดือนหลังหักภาษี ของนาย A เท่ากับ 30,000 บาท หากใช้สูตรบริหารเงิน 50/15/5 จะแบ่งออกได้เป็น ค่าใช้จ่ายจำเป็น 15,000 บาท ออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณ 4,500 บาท เก็บออมเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน 1,500 บาท และอีก 30% หรือ 9,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/3-budget-rules/
สัปดาห์นี้ วันที่ 27 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2566 จะมีกองทุน Term Fund ออกใหม่ (IPO) กองไหนบ้าง บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
1. SCBCP3M42 – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ มุ่งรักษาเงินต้น 3 เดือน 42
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารที่มุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้น ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือ บัตรเงินฝาก และ/หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน รวมถึงหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBCP3M42_SUM.pdf
2. SCBCP1Y10 – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ มุ่งรักษาเงินต้น 1 ปี 10
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายใน ต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารที่มุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้น ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือบัตรเงินฝาก และ/หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน รวมถึงหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBCP1Y10_SUM.pdf
3. KTSUPAI58 – กองทุนเปิดกรุงไทย ธนทรัพย์ 58 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เสนอขายทั้งในและ/หรือต่างประเทศ อาทิเช่น ตราสารแห่งหนี้ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือตราสารการเงิน ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.ktam.co.th/document_fund/fundfactsheet/Factsheet_th_KTSUPAI58.pdf
4. KFJGB6M6 – กองทุนเปิดกรุงศรีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น 6M6
นโยบายลงทุน: ลงทุนในพันธบัตร หรือตราสารหนี้ภาครัฐ ที่รัฐบาล หรือกระทรวงการคลังของประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ออกโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝากธนาคาร และ/หรือตราสารทางการเงิน และ/หรือศุกูก และ/หรือตราสารหนี้อื่นใดที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Issue rating) หรือของผู้ออกตราสาร (Issuer rating) อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade)
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KFJGB6M6_TH.pdf?rnd=20231127120353
5. PRINCIPAL FI6M2AI – กองทุนเปิดพรินซิเพิล ตราสารหนี้ 6M2 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย
นโยบายลงทุน: ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือเงินฝากที่เสนอขายในประเทศที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ/หรือภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment grade) และ/หรือตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออก (Issue/Issuer) ตํ่ากว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade)
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
6. SCBCP3M43 – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ มุ่งรักษาเงินต้น 3 เดือน 43
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายทั้งใน และ/หรือต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารที่มุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้น ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือบัตรเงินฝาก และ/หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน รวมถึงหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
7. SCBCP6M29 – กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ มุ่งรักษาเงินต้น 6 เดือน 29
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยจะลงทุนในตราสารที่มุ่งให้เกิดการรักษาเงินต้น ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือบัตรเงินฝาก และ/หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน รวมถึงหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนแบบครั้งเดียว และถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบอายุโครงการ
วันนี้นักลงทุนสามารถทำรายการซื้อกองทุน Term Fund ด้วยตัวเองผ่านแอปฯ FINNOMENA โดยกดเพิ่มรายการคำสั่งซื้อที่พอร์ต DIY ได้เลย หรือสอบถามรายละเอียดได้ผ่านที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวของท่าน
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงใกล้เคียงระดับเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อย่างต่อเนื่อง หนุน sentiment risk on ในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหุ้นขนาดกลางและเล็ก รวมไปถึงหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain ที่เคยถูกกดดันด้วยภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงในอดีต และแนวโน้มการจัดตั้ง Spot Bitcoin ETF หลังจาก Grayscale Investments ชนะคดีต่อ SEC ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็เป็นอีกปัจจัยสนับสนุนราคาสินทรัพย์ดิจิทัลในวงกว้าง
รูปที่ 1: กราฟดัชนี DAPP ETF TF Day
Source: Tradingview as of 27/11/2023
ส่งผลให้ DAPP ETF ซึ่งเป็น ETF ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สามารถทำ Pattern Higher High พร้อมกับทะลุยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วัน (MA 100D) ได้สำเร็จ
รูปที่ 2: ข้อมูล Correlation ของกับกองทุน ASP-DIGIBLOC กับ DAPP ETF
Source: Bloomberg as of 27/11/2023
FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำลงทุนภายใต้คำแนะนำ Tactical Call ในกองทุน ASP-DIGIBLOC ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนใน DAPP ETF 78% มีค่า Correlation กับ DAPP ETF ที่ 0.97 สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวตาม DAPP ETF โดยมีคำแนะนำดังนี้
1. แนะนำเข้าลงทุนที่ไม่เกินระดับ 6.60 ดอลลาร์ (+1.23% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 24/11/2023) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1
และหากหลังจาก FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ Tactical Call แล้ว DAPP ETF ปรับตัวลงต่ำกว่า 6.60 ดอลลาร์ ยังคงแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ให้คำแนะนำครั้งแรก
2. แนะนำ Take Profit หรือขายทำกำไร เมื่อ DAPP ETF ปรับตัวขึ้นถึง 7.40 ดอลลาร์ (Upside 13.50% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 24/11/2023) ซึ่งเป็นระดับ fibonacci 50% ของรอบขาลงที่ผ่านมา
3. แนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อ DAPP ETF ปิดตลาดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (200 MA) ซึ่งเป็นเส้นที่บ่งบอกถึงการเป็นแนวโน้มขึ้น (Downside 11.04% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 24/11/2023 )
รูปที่ 3 : ASP-DIGIBLOC Top Holding
Source: Fund Fact Sheet ของกองทุน ASP-DIGIBLOC as of 31/10/2023
ASP-DIGIBLOC เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets Companies) และ/หรือบริษัทที่มีรายได้จากการดำาเนินธุรกิจและ/หรือมีความเกี่ยวข้องกับระบบสินทรัพย์ดิจิทัล และ/หรือบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน (Blockchain) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนในการดำเนินงาน เป็นต้น และ/หรือลงทุนในหน่วย CISและ/หรือ ETF ที่มีการลงทุนในตราสารทุนตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นด้วย
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
FINNOMENA FUNDS Investment Team
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
ปี 2023 กำลังผ่านพ้นไป ได้เวลาที่ Thematic Investor ต้องเรียนรู้จากอดีต ค้นหาบทเรียนจากการลงทุน เพื่อมองไปถึงปีหน้า
สำหรับปีนี้ จากดัชนีธีมลงทุนที่ผมติดตามอยู่กว่า 200 แบบ ธีมที่ทำผลงานได้ดีที่สุดคือ Magnificent 7, FANG+, Semiconductors, Blockchain, และ Next Generation Internet ส่วนธีมที่ทำผลงานย่ำแย่คือ Cannabis, Hydrogen, Thai Industrials, Solar และ China Real Estate
บทเรียนสำคัญจากปี 2023 ชัดเจนในสามเรื่อง (1) ถ้าใครไม่มีหุ้นใหญ่สหรัฐ ในปีที่แนวโน้มไม่ชัดเจนมีโอกาสทำผลงานแพ้ตลาดอย่างมาก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างธีมอนาคตกับตัวแปรตลาด อาจไม่เป็นไปตามแนวคิดของอุตสาหกรรมเก่า และ (3) ฟองสบู่ทางการเงิน อยู่รอดได้นานขึ้นในยุคข้อมูลข่าวสาร
สำหรับปี 2024 ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว เงินเฟ้อจะลดลง และหลายประเทศเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ตลาดมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบกว้าง ผมจึงเลือก 5 ธีมลงทุน ประกอบด้วย Magnificent 7, AI, Technology, Clean Tech, และ Health Care รวมเป็น M-A-T-C-H ผสมผสานธีมผลงานดี และธีมที่มีโอกาสกับตัว มาให้ทุกคนได้คิด และเลือกลงทุนในปี 2024
ผลตอบแทนของ Bloomberg Magnificent 7 ตั้งแต่ต้นปีบวกไปถึง 102% จุดสำคัญของการลงทุนในกลุ่มนี้ไม่ใช่กำไรที่เติบโตสูงจากเทคโนโลยีเช่น NVDIA เพียงอย่างเดียว แต่มีแรงหนุนหลักจากหุ้น Quality Growth อย่าง META Microsoft รวมถึง Alphabet
หุ้นใหญ่พื้นฐานมั่นคง ควรทำผลงานได้ดีช่วงปลายของเศรษฐกิจ (Late Cycle) ธีมนี้จึงเป็นธีมที่ไม่มีไม่ได้ในปีหน้า หรือใครที่กังวลความเสี่ยงเรื่องมูลค่า อาจเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นบางบริษัทที่ไม่แพงได้เช่นกัน
Indexx Artificial Intelligence ทำผลงานได้ดีถึง 47% ในขณะที่ P/E เฉลี่ยของหุ้นอยู่ที่ระดับ 34x ถือว่าไม่ได้แพงมาก
เปรียบเทียบกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอดีต ผู้ชนะที่แท้จริงในธีม AI กำลังจะถือกำเนิดขึ้น จึงเป็นธีมที่มีโอกาสไปต่อได้ในระยะยาว
ในปี 2024 ผมมองว่าการลงทุนในธีม AI จะขยับไปสู่การนำเทคโนโลยีไปเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริงมากขึ้น อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือซอฟต์แวร์ ค้าปลีก บริการ และการขนส่ง ผู้ชนะตัวจริง คือผู้ที่สามารถนำ AI ไปเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจตัวเองได้มากที่สุด
MSCI ACWI Information Technology ทำผลงานบวก 42%
ในปีที่ผ่านมา ความแตกต่างจากสองธีมแรก คือการกระจายการลงทุนออกนอกสหรัฐมากกว่า 20% ทำให้มีโอกาสรับแรงหนุนจาก Valuation เพิ่มเติม
ผมเชื่อว่าปี 2024 จะเป็นปีที่ Tech เอเชีย ปรับตัวขึ้นได้มากกว่าฝั่งตะวันตก จากแรงหนุนด้านการฟื้นตัวของภาคการผลิต และบริโภค นอกจากนี้การปรับตัวลงของเงินเฟ้อ จะเพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางลดดอกเบี้ย และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดถ้านโยบายการเงินผ่อนคลาย
สำหรับปีนี้ Indexx Global CleanTech ปรับตัวลงถึง 33% ค้านกับความเชื่อว่าธีมที่เป็นตัวแทนพลังงานใหม่ควรได้แรงหนุนถ้าราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น
บทเรียนในปี 2023 สอนเราว่า ราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นสร้างแรงหนุนให้การลงทุนในกลุ่มพลังงานเก่า (Old Energy) ในช่วงที่สภาพคล่องไม่เพิ่มขึ้น พลังงานทางเลือกจึงเป็นหลุ่มที่ถูกลดความสำคัญลง และถูกขายมากที่สุด
หลังจากราคาปรับตัวลงมาก Long-term P/E เหลือเพียง 17x ถ้าราคาน้ำมันลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ Clean Energy ก็มีโอกาสฟื้นในปี 2024 ได้เช่นกัน
MSCI ACWI Information Technology ทำผลงานไม่ดี -2.5% ในปี 2023 ผิดจากที่ตลาดมองไว้มาก
ประเด็นสำคัญคือเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา บวกกับรายได้ที่ปรับตัวลดลงจากช่วงวิกฤตโควิด ทำให้ดีนี้หมดความน่าสนใจ
อย่างไรก็ดี ผมมองว่าเหตุผลการลงทุนจะกลับทิศในปี 2024 ถ้าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ช่วงทดถอย กลุ่มบริการสุขภาพที่มี Beta ต่ำจะมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ Health Care เป็นธีมที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับในอดีตและธีมอื่น ๆ ล่าสุดมี LTPE เพียง 27x บนการเติบโตของรายได้ที่คาดว่าจะกลับมาสูงกว่า 10%
ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า Thematic Investor คงมองเห็นโอกาสสำหรับการลงทุนในปี 2024 บ้างไม่มากก็น้อย
ไม่ว่าพอร์ตปัจจุบันของเราจะเป็นแบบไหน ส่วนประกอบของ M-A-T-C-H สามารถนำไปปรับผสมเข้ากับพอร์ตของทุกท่านได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การผสมผสานให้มีทั้งธีมไปต่อและธีมกลับตัว กระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาวครับ
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
“เก็บเงินล้าน” ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ หลาย ๆ คนคงคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะไปถึงเป้าหมาย แต่หากมีการวางแผนการเงินที่ดีแล้ว เป้าหมายเก็บเงินล้านก็ไม่ยากอย่างที่คิด
วันนี้ FINNOMENA FUNDS ขอชวนมนุษย์เงินเดือนทุกท่าน มาพิชิตเงินล้านด้วยการลงทุนในกองทุน SSF แบบ DCA ภายในระยะเวลา 10 ปีร่วมกัน มาดูกันว่าเส้นทางพิชิตเงินล้านจะต้องทำยังไงบ้าง
กองทุนลดหย่อนภาษีปีนี้ มาซื้อที่ฟินโนมีนา ฟันด์ เปิดบัญชีที่เดียว ซื้อ SSF-RMF ได้หลากหลาย บลจ. พร้อมโปรโมชันพิเศษ ดูรายละเอียดได้ที่ https://finno.me/tsf-23-ws
ตัวอย่างในภาพเป็นแบบจำลองการลงทุนในกองทุน SSF แบบ DCA อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนที่ 5,500 บาท โดยไม่มีการถอนออกจนกว่าจะครบระยะเวลาลงทุน 10 ปี คำนวณจากผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นที่ 8% ต่อปี และไม่นับรวมปัจจัยอื่นที่อาจทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ด้วยการลงทุนภายใต้จำนวนเงินดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้เราสามารถพิชิตเงินล้านภายในระยะเวลา 10 ปี
ทั้งนี้สามารถปรับเพิ่มเงินลงทุนได้ตามเงื่อนไขของเรา เพราะปกติแล้วยิ่งเวลาผ่านไป รายได้ของเราก็ควรเพิ่มขึ้นตาม และหากรายได้เพิ่มขึ้นก็สามารถแบ่งเงินมาออมได้มากขึ้น ซึ่งเงินลงทุนต่อเดือนที่มากขึ้นก็จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายเงินล้านเร็วได้ขึ้น
“DCA เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนที่ไม่มีเวลาหรือไม่ถนัดจับจังหวะตลาด เพราะวินัยการลงทุนและความสม่ำเสมอของผลตอบแทน ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้ แม้เงินลงทุนตั้งต้นไม่สูง แต่ความมหัศจรรย์ ของดอกเบี้ยทบต้นจะช่วยให้เงินลงทุนของเราเติบโตขึ้นได้ค่ะ
ลงทุน SSF RMF แบบ DCA กับ FINNOMENA FUNDS วันนี้ จะทำให้ การจัดการภาษีเป็นเรื่อง Easy แถมมีเงินออมด้วยค่ะ” – Aoei Thananit, CFP® (The Financial Planner)
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี FINNOMENA FUNDS ได้ที่
.
ลงทุน SSF RMF ได้แบบไม่ติดขัด เพราะ FINNOMENA FUNDS สามารถตั้ง DCA กองทุนภาษีแบบอัตโนมัติได้แล้ว!
👉 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/9-step-ssf-rmf-dca-web
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Fed เริ่มมีทีท่าในการดำเนินนโยบายผ่อนคลายมากขึ้น ตามตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ดูชะลอตัวลง อันส่งผลบวกต่อตราสารหนี้ระยะยาวและสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นเติบโต (ผลงานปีนี้ underperform หุ้นกลุ่ม Value มาโดยตลอด) รวมทั้ง Dollar Index เริ่มแสดงทิศทางอ่อนค่าในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่พรรคคอมมิวนิสต์ยังอยู่ในอำนาจคอยจัดการเรื่องต่าง ๆ โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการบูรณาการและมีส่วนร่วมในข้อตกลงเศรษฐกิจโลก ทั้งการเข้าร่วมข้อตกลงทางการค้า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการค้าระหว่างประเทศ ในช่วงที่ผ่านมาเวียดนามมีการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาของบริษัทอสังหาริมทรัพย์และลดดอกเบี้ยนโยบายและลดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาโดยตลอด
ทั้งนี้ถือเป็นโอกาสลงทุนของบริษัทข้ามชาติหลายแห่งที่ต่างก็จับจ้องมาที่เวียดนามจากข้อดีหลายด้านดังที่เราทราบกัน ประเด็นสำคัญคือเรื่องของ “การยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตและความร่วมมือในระดับสูงสุดของเวียดนามและสหรัฐ” (Comprehensive Strategic Partnership) ขึ้นมาเทียบเท่ากับรัสเซียและจีน
สำหรับสหรัฐฯ นั้น ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่ถ่วงดุลทางภูมิรัฐศาสตร์กับจีน และช่วยให้บริษัทข้ามชาติของตนสามารถเข้าถึงต้นทางการผลิตทั้งนโยบายสนับสนุน แรงงานที่มีทักษะ และค่าแรงที่อยู่ในระดับต่ำ และเวียดนามเองก็ยังได้กระจายห่วงโซ่อุปทานของตนนอกเหนือจากประเทศจีนอีกด้วย
Source: CLSA, JETRO, Vinacapital, Julius Bear as of 20/11/2023
สิ่งสำคัญในข้อตกลงครั้งนี้คือ การสนับสนุนต่อยอดความร่วมมือทางเทคโนโลยีเพื่อขยายห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ แรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานในเวียดนาม ซึ่งจะเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำเป็นอย่างมากสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในระยะยาว รวมถึงการสร้างงานและพัฒนาทักษะแรงงานและบริษัทท้องถิ่น อย่างเช่นทุกวันนี้ที่กว่า 50% ของ Samsung smartphone และกว่า 45% ของ Airpods นั้นมีการผลิตในเวียดนาม และในอนาคตทั้ง Macbook และ Apple Watch ก็มีแผนจะเข้าไลน์การผลิตที่นี่ในอีก 2 ปีข้างหน้าอีกด้วย
ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงจากการเลื่อนร่างกฎหมายที่ดินที่ได้ยื่นต่อรัฐสภา ยังไม่ได้รับการอนุมัติและจะถูกยืดเวลาในการพิจารณาไปอีกทีในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2024 ซึ่งจะทำให้ภาคอสังหาฯ และการปล่อยสินเชื่อภาคธนาคารชะลอออกไป
Source: Bloomberg, Julius Bear as of 20/11/2023
อย่างไรก็ตาม เราเห็นโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามด้วยมุมมองระยะยาวเชิงบวก ซึ่งคาดว่าดัชนี VNINDEX ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ปัจจุบันมี forward P/E 9.3 เท่า ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ที่ระดับ 12.2 เท่า
ดังนั้น QGO จะมีการปรับพอร์ตรอบนี้โดยสับเปลี่ยนกองทุนตลาดเงินที่มีอยู่ 20% (ASP-DPLUS) เข้าไปยัง PRINCIPAL VNEQ-A ทำให้สัดส่วนของพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน จะเป็นดังนี้
ปั้นพอร์ตเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมเฟ้นหาโอกาสในทุกช่วงเวลา Quantum Global Opportunity
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/quantum-wealth-ws
บทความโดย Quantum Wealth สำหรับพอร์ต Quantum Global Opportunity (QGO) ที่ FINNOMENA FUNDS เท่านั้น
ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2023
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ซื้อกองทุน ThaiESG ดีไหม ใครบ้างที่เหมาะกับกองทุนนี้ อะไรคือจุดเด่นจุดด้อยของ ThaiESG และเงื่อนไขแบบไหนควรลงทุน ThaiESG บ้าง?
บทความนี้ได้สรุปเรื่องสำคัญของกองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่ ซึ่งกำลังจะเปิดขายเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2023 นี้ ยิ่งรู้ก่อน ยิ่งดีกว่า จะได้มีเวลาเตรียมตัวทัน
– คลิกอ่านบทความ 👉 กองทุน ThaiESG คืออะไร? ลดหย่อนภาษีแบบใหม่ เทียบกับ SSF RMF ต่างกันอย่างไร
หากคุณตรงกับเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งในนี้ อาจแปลได้ว่าคุณเหมาะที่จะลงทุนในกองทุน ThaiESG และยิ่งมีข้อที่ติ๊กถูกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งตอกย้ำว่าคุณไม่ควรพลาดการลงทุนครั้งนี้
1. มีรายได้สุทธิที่หักลบค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว มากกว่า 150,000 บาท
2. ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุน เพราะไม่อยากจ่ายภาษีเป็นจำนวนมาก หรือโดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แต่อยากขอเงินภาษีคืน
3. เป็นคนที่ฐานภาษีสูง เช่น 20% 25% ขึ้นไป ยิ่งฐานภาษีสูงเท่าไหร่ การลดหย่อนภาษียิ่งคุ้มค่าขึ้นเท่านั้น เช่น คนฐานภาษี 20% การซื้อ TESG จำนวน 100,000 บาท จะช่วยประหยัดภาษีถึง 20,000 บาท แต่คนฐานภาษี 5% แม้จะซื้อ 100,000 บาทเท่ากัน จะนำไปลดภาษีได้เพียง 5,000 บาท
4. ยังลดหย่อนภาษีไม่พอ ต้องการวงเงินเพิ่ม ซึ่งการลงทุนใน SSF กับ RMF ให้สิทธิลดหย่อนภาษีรวมกันแค่ 500,000 บาท แต่หากใครที่ต้องการวงเงินมากกว่านั้น การซื้อ TESG จะให้วงเงินลดหย่อนเพิ่มอีก 100,000 บาท รวมสูงสุดเป็น 600,000 บาท
5. ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่อยากซื้อ RMF เพราะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และต้องถือถึงอายุ 55 ปี ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะขายได้ สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 45 ปี
6. ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่อยากซื้อ SSF เพราะมองว่าการถือลงทุนถึง 10 ปี ยังยาวนานเกินไปหน่อย
7. มีเป้าหมายการลงทุนระยะยาว สามารถถือกองทุน ThaiESG อย่างน้อย 8 ปีขึ้นไป
8. เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของหุ้นไทยยั่งยืน ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG
9. เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของตราสารหนี้ไทยยั่งยืน หรือ ESG Bond ที่ผู้ระดมทุนมีเป้าหมายนำเงินไปใช้กับโครงการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมองค์กรในระยะยาว
10. มีเงินเย็นปล่อยทิ้งไว้นิ่ง ๆ กำลังมองหาช่องทางนำไปลงทุนให้งอกเงย พร้อมลดหย่อนภาษีไปด้วยเลย
แล้วเงื่อนไขแบบไหนบ้างล่ะที่ไม่ควรซื้อ ThaiESG หรือยังไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น เพราะมีทางเลือกการลงทุนประเภทอื่น ๆ ที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายได้ดีกว่า
1. รายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องจ่ายภาษีเหมือนกันหมด หากปีนี้คำนวณออกมาแล้ว รายได้ของเราไม่ต้องเสียภาษี หรือไม่มีความต้องการที่จะขอเงินภาษีคืน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี หากอยากลงทุนแนะนำให้ซื้อกองทุนรวมทั่วไปจะเหมาะกว่า
2. ปีนี้ค่าลดหย่อนภาษีเพียงพอแล้ว เช่น คนที่วางแผนซื้อกองทุน SSF RMF หรือประกันลดหย่อนภาษี จนค่าลดหย่อนเพียงพอความต้องการไปแล้ว
3. กำลังชักหน้าไม่ถึงหลัง หากกำลังประสบปัญหาทางการเงิน แบบนี้การยอมจ่ายภาษีน่าจะเหมาะกว่าการทุ่มเงินก้อนซื้อ TESG เพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี แต่ต้องมานั่งปวดหัวเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน
4. ยังไม่มีเงินออมสำรองฉุกเฉิน เราควรจะมีเงินออมก่อนเริ่มต้นลงทุน สำหรับกันไว้ใช้จ่ายประมาณ 6 เดือน โดยเฉพาะ TESG ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว แปลว่าถ้าเรานำเงินทั้งหมดไปเก็บไว้ในกองทุน หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา เราจะไม่มีเงินก้นถุงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
5. ลงทุนแล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ ถ้ารู้ตัวว่ากลัวความเสี่ยงจากการลงทุน ทนเห็นตัวเลขเงินในพอร์ตที่ผันผวนขึ้นลงไม่ได้ การมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีอื่น ๆ น่าจะเหมาะกว่า เช่น ประกันออมทรัพย์ ประกันสุขภาพ
6. หากต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ThaiESG ไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายนี้ได้ ซึ่งถ้าคุณอยากลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ แบบนี้ต้องซื้อ SSF กับ RMF
7. ถ้าอายุเกิน 55 ปีแล้ว และกำลังวางแผนเกษียณในเร็ว ๆ นี้ แนะนำให้ซื้อ RMF มาลดหย่อนภาษีจะเหมาะกว่า เนื่องจากถือแค่ 5 ปีเท่านั้น
รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA FUNDS ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
👉 ลงทะเบียน คลิก https://finno.me/taxplanner-services
ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่: 20 พฤศจิกายน 2023
บลจ. ทิสโก้
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ในช่วงที่สถานการณ์ตลาดมีความไม่แน่นอนเช่นนี้ สินทรัพย์เสี่ยงสูงต่างผันผวน ทำให้หลายคนมองหาสินทรัพย์เสี่ยงต่ำแต่ยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก วันนี้ FINNOMENA Funds ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ “กองทุน Term Fund” ซึ่งเป็นหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่เหมาะกับสถานการณ์ตลาดตอนนี้
กองทุน Term Fund คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีการกำหนดระยะเวลาลงทุนไว้ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เน้นบริหารกองทุนเพื่อให้สร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากประจำ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุนที่กำลังมองหาสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยสูงกว่าเงินฝากประจำ ในขณะที่ความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยผู้ลงทุนจะทราบผลตอบแทนโดยประมาณก่อนลงทุนได้จากหนังสือชี้ชวนกองทุนรวม
กองทุน Term Fund จะมีการเสนอขายเป็นรอบ รอบละประมาณ 1-2 สัปดาห์ สามารถซื้อได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยมีการกำหนดเงินลงทุนเริ่มต้น เช่น 500 บาท หรือ 1,000 บาท เป็นต้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาลงทุนจะมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
ลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากของสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ระบุผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยไว้อยู่แล้ว โดยตราสารหนี้ที่กองทุน Term Fund เข้าลงทุนส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) คือระดับ AAA ไปจนถึง BBB- จึงมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ซึ่งหากไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ และผู้ลงทุนถือหน่วยลงทุนครบตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้รับผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ข้อมูลผลตอบแทน ณ พฤศจิกายน 2023 ตัวเลขอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนอาจจะยังสงสัยว่ากองทุน Term Fund ต่างจากเงินฝากประจำอย่างไร FINNOMENA Funds เลยสรุปความเหมือนต่างของทั้ง 2 สินทรัพย์นี้มาให้ 5 เรื่อง ดังนี้
.
ใครสนใจลงทุนกองทุน Term Fund ทาง FINNOMENA Funds มีกองทุน IPO มาอัปเดตทุกสัปดาห์ ติดตามได้ที่นี่
ซึ่งวันนี้นักลงทุนสามารถทำรายการซื้อกองทุน Term Fund ด้วยตัวเองผ่านแอปฯ FINNOMENA โดยกดเพิ่มรายการคำสั่งซื้อที่พอร์ต DIY ได้เลย หรือสอบถามรายละเอียดได้ผ่านที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวของท่าน
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ในวันเงินเดือนออก ใครเคยเปิดดูในสลิปเงินเดือนบ้างว่าเราโดนหักภาษีไปเท่าไร? ใครที่ไม่เคยให้ลองเปิดอีเมลเช็กดู เพราะหากเอามารวมดูจริง ๆ แล้ว ปีหนึ่งเราอาจจะเสียภาษีมากกว่าที่คิดไว้ก็ได้
ได้ยินแบบนี้ หลายคนอาจจะกังวล และเริ่มสนใจการวางแผนภาษี อยากรู้ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้?
บทความนี้ FINNOMENA ขอไขข้อสงสัยเหล่านั้นให้ พร้อมรวบรวมรายการลดหย่อนภาษี ปี 2566 ที่ทุกคนต้องรู้มาไว้ให้แล้ว หาคำตอบได้ที่นี่ ครบจบในที่เดียว!
อ่านเพิ่มเติม สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?
รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services
ขอแบ่งเป็น 2 เหตุผลหลัก ๆ ดังนี้
ทั้งนี้ค่าลดหย่อนภาษีที่กฎหมายได้ระบุไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นเราในฐานะผู้เสียภาษีจึงควรหมั่นติดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในทุกปี เพื่อที่จะได้วางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเซฟงบในกระเป๋าไปได้อีกมาก
ประกอบด้วย
ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา บุตร หรือคู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)
ประกอบด้วย
*** สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชนิดต่าง ๆ และสิทธิประโยชน์ทางการลดหย่อนภาษีได้ที่ สรุป ซื้อประกันแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี? สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่ต้องรู้
ประกอบด้วย
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ที่ บริจาคอะไร ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า !
ประกอบด้วย
รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
และทั้งหมดนี้ก็คือ รายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี พ.ศ. 2566 ที่ทาง FINNOMENA ได้รวบรวมมาให้
การวางแผนภาษีมีความสำคัญเพราะจะช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมและเป็นระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตามรายการลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ลดหย่อนภาษีเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น กองทุนประหยัดภาษี SSF และ RMF ที่นอกจากจะนำค่าซื้อไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนได้ด้วย
สุดท้ายแล้ว อยากจะฝากไว้ว่าการวางแผนภาษีไม่จำเป็นต้องทำทีเดียวตอนสิ้นปี เราสามารถเริ่มวางแผนภาษีได้เลยตั้งแต่ต้นปี ซึ่งตอนนี้ FINNOMENA FUNDS เปิดให้ลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีอย่าง SSF และ RMF แบบ DCA ได้แล้ว สร้างแผน DCA ครั้งเดียว ลงทุนให้ทุกเดือนอัตโนมัติ ไม่ต้องตั้งรายการใหม่ทุกเดือน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/9-step-ssf-rmf-dca-web
กองทุนลดหย่อนภาษีปีนี้ มาซื้อที่ฟินโนมีนา ฟันด์ เปิดบัญชีที่เดียว ซื้อ SSF-RMF ได้หลากหลาย บลจ. พร้อมโปรโมชันพิเศษ ดูรายละเอียดได้ที่ https://finno.me/tsf-23-ws
FINNOMENA Admin
ถ้ามองในมุม The Trend Following Investor หรือนักลงทุนที่ชอบลงทุนในตลาดที่เป็นเทรนด์ขาขึ้น จะเห็นว่าตอนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา กำลังเห็นสัญญาณกลับตัวสู่เทรนด์ขาขึ้นชัดเจน และนี่อาจจะเป็นจังหวะสำคัญในการทยอยสะสมกองทุนสหรัฐฯ อย่าง AFMOAT-HA เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ต เหตุผลเป็นเพราะอะไรนั้น มาดูกันครับ
FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=afmoat-trend-following-investor/
นโยบายการลงทุนของ AFMOAT-HA จะเน้นลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่มีปราการทางธุรกิจ หรือความได้เปรียบด้านการแข่งขันสูง โดยเคลื่อนไหวตามดัชนี Morningstar Wide Moat Focus Index เพื่อคาดหวังการเติบโตที่มั่นคงในระยะยาว
หลักคิดการคัดเลือกหุ้นที่มีปราการทางธุรกิจ (MOAT) มีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่
แม้ว่าตลาดจะคลายความกังวลไปมากแล้ว แต่ความผันผวนยังอาจสูง จากอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่ยุติการขึ้นแบบสมบูรณ์ ดังนั้น การทยอยสะสม AFMOAT-HA ซึ่งลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ พื้นฐานดี มีปราการป้องกันคู่แข่งสูง และทนทานต่อปัจจัยภายนอก จึงช่วยลดแรงกดดันไปได้อีกทาง รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงก็คุ้มค่าต่อการลงทุนในช่วงนี้
Source: VanEck Morningstar Wide Moat ETF Fact Sheet as of 31/10/2023
*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน AFMOAT-HA มิได้ลงทุนในบริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดจะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน
ถ้ากางรายชื่อหุ้นที่กองทุนหลักของ AFMOAT-HA ลงทุน 10 อันดับแรก จะเห็นว่ามีหลากหลาย ทั้งหุ้นบิ๊กแคปที่แกร่งด้วย Moat เช่น Alphabet, Nike, Wells Fargo & Co, และ Walt Disney เป็นต้น ขณะเดียวกันยังกระจายพอร์ตไปยังหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่มี Valuation น่าดึงดูด
นอกจากนี้ กองทุนมีน้ำหนักการลงทุนใน Magnificent-7 น้อยมาก จากกลยุทธ์เลือกหุ้นที่เน้นมูลค่าสมเหตุสมผล จึงได้ปรับพอร์ตลดน้ำหนักหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นแรงในปีนี้อย่าง Nvidia และ Meta ออกไป
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 06/10/2023
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
Morningstar Wide Moat Focus Index สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้มากกว่าดัชนี S&P 500 อย่างสม่ำเสมอทั้งในปีที่ดีและปีที่แย่ของตลาดหุ้น ซึ่งผ่านการพิสูจน์มายาวนานถึงจุดเด่นของนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน และเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
Source: Bloomberg, FINNOMENA FUNDS as of 06/11/2023
ภาพรวมผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ทั้ง S&P 500 และ Russel 2000 ในงวด Q3/23 ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และดีกว่าคาดทุก sector พร้อมทั้งยังถูกปรับประมาณการกำไรขึ้นในปีหน้า สะท้อนถึงแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง
Source: FINNOMENA FUNDS Macrobond, Federal Reserve Bank of New York , CME Group, U.S. Department of Treasury as of 06/11/2023
หลัง Fed มีแนวโน้มที่จะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดคาด Fed Fund Rates ขึ้นไปพีคแล้วที่ระดับ 5.25-5.50% แล้วจะค่อย ๆ ลงในช่วงกลางปี 2024 ซึ่งจะทำให้ภาพ Inverted Yield Curve หายไปโดยธรรมชาติ
หลังรายงาน GDP Q3/23 ขยายตัว 4.9% ถือว่าสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.7% ด้วยเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น นำโดยภาคการบริโภคที่ยังแข็งแกร่ง แม้ภาคการผลิตจะยังอ่อนแอ ซึ่งเกิดจากการระบายสต็อกสินค้า
Source: CNN.com as of 20/11/2023
Fear & Greed Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ดูอารมณ์ของตลาดว่ากำลังกลัวหรือโลภ โดยก่อนหน้านี้ลงไปถึง Extreme Fear (กลัวสุดขีด) แต่ตอนนี้ตลาดเริ่มกลัวน้อย และกำลังดีดกลับเข้าสู่โหมด Greed (โลภ) แล้ว
Source: Tradingview.com as of 20/11/2023
เมื่อพิจารณาในเชิงเทคนิค ดัชนี S&P 500 กลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (MA200) ได้อีกครั้ง พร้อมทะลุแนวต้าน downtrend line ประกอบกับการเกิด Bullish Divergence ในเส้น RSI บ่งชี้ถึงแนวโน้มการกลับตัวเป็นขาขึ้น
สุดท้ายนี้ เมื่อวิเคราะห์ด้วยกรอบ MEVT ของ FINNOMENA FUNDS Investment Team บอกว่ามีโอกาสสูงที่นับตั้งแต่ Q4/23 ถึง Q1/24 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะกลับมาสดใสอีกครั้ง เมื่อประกอบกับ Valuation ที่คลายความตึงตัวลง จึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าทยอยสะสมกองทุนหุ้นสหรัฐฯ พื้นฐานแกร่ง AFMOAT-HA เพื่อรับ Santa Claus Rally ที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะปรับตัวขึ้นโดดเด่น ตั้งแต่ช่วงหลังเทศกาลคริสต์มาส จนถึงช่วงวันปีใหม่
ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
นักลงทุนสาย Trend Following เรามีความเชื่อว่าราคาสินทรัพย์จะเคลื่อนที่เป็นแนวโน้ม คือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) แนวโน้มขาลง (Downtrend) และแกว่งตัวออกข้าง (Sideway) จุดเด่นของกลยุทธ์ Trend Following คือเราจะเข้าลงทุนก็ต่อเมื่อเห็นสัญญาณและแนวโน้มว่ามีโอกาสเป็นขาขึ้นเท่านั้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องลงทุนถือในระยะยาวที่ยาวเกินไป เพราะมองว่ามีต้นทุนค่าเสียโอกาส
Bank – The Trend Following Investor
แจกฟรีคูปอง 10,000 FINT* ใช้แลก Cashback ส่วนลดค่าธรรมเนียมซื้อกองทุนแบบจัดเต็มสูงสุด 20,000 บาท* เมื่อลงทุนภายในวันที่ 16 – 30 พ.ย. 2566 เข้าร่วมกิจกรรม คลิก https://finno.me/10000-fint-ws
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงบางส่วน | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
การเป็น Single Mom – Single Dad ไม่ง่ายเลย เพราะต้องทำหน้าที่หลายอย่างไปพร้อมกันในคนเดียว โดยเฉพาะเรื่องการเงินที่ต้องวางแผนดูแลทั้งครอบครัวให้ดี วันนี้เราจึงจะมาแชร์วิธีการวางแผนการเงินฉบับพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวยุคใหม่ โดยใช้ FINNOMENA FUNDS Goals Navigator ที่จะช่วยดูแลทั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูก พร้อมกับไม่ลืมเป้าหมายเกษียณสุขของตัวเอง
พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวหลายคน มักจะเต็มไปด้วยปัญหามืดแปดด้าน มองไม่เห็นทางออกว่าจะผ่านจากสถานการณ์ที่ยากลำบากไปได้อย่างไร ดังนั้นแล้วสิ่งแรกที่ควรทำ คือต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งก่อน พยายามมองในแง่บวก แล้วค่อยมองไปข้างหน้าว่าระหว่างคุณกับลูก จะต้องวางแผนชีวิตกันอย่างไร หัวใจสำคัญคือเมื่อคุณเข้มแข็ง การเงินเราจะมั่นคง
เมื่อใจเข้มแข็ง การเงินก็ต้องมั่นคงด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าการต้องดูแลครอบครัวคนเดียวนั้นเต็มไปด้วยภาระมากมาย ไหนจะต้องทำงานหาเงิน ไหนจะต้องดูแลบ้าน ดูแลลูก หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การจัดสรรเวลาในแต่ละวันให้ดี และหากสามารถขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างในครอบครัว ก็จะช่วยบรรเทาภาระลงไปได้บ้าง แต่สิ่งที่เราต้องจัดการด้วยตัวเองให้ดีที่สุด คือ
วิธีวางแผนการเงินฉบับพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เมื่อลูกก็ต้องเลี้ยง ตัวเองก็ต้องสตรอง แล้วจะรับผิดชอบหลายอย่างไปพร้อมกันได้อย่างไร คำแนะนำคือให้แยกเป้าหมายออกมาให้ชัดก่อน เพื่อให้เห็นภาพว่าเราต้องใช้เงินเท่าไหร่ให้เหมาะสม เพราะหลายคนอยากจะส่งลูกเรียนสูง ๆ เท่าที่กำลังไหว แต่ก็ต้องไม่ลืมเผื่อเงินมาดูแลตัวเองด้วยในอนาคต
เช่น เงินเพื่อการศึกษา, ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูในแต่ละปี, เงินสำรองการเจ็บป่วย, เงินขวัญถุงสำหรับสร้างรากฐานในอนาคต เป็นต้น
เช่น เงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ, ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ, เงินก้อนสำหรับเติมเต็มความสุขในชีวิต เป็นต้น
พยายามแยกเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อย ๆ แล้วกำหนดจำนวนเงินให้ชัดเจน เพราะเมื่อเราเห็นจำนวนเงินที่ต้องเก็บ จะทำให้เห็นภาพในอนาคต และเข้าใจถึงความสำคัญของการวางแผนการทางการเงิน
คุณสามารถนำเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ ลงมือทำให้สำเร็จได้จริงผ่าน Goals Navigator นวัตกรรมวางแผนการลงทุนที่ FINNOMENA FUNDS พัฒนาร่วมกับ Franklin Templeton ซึ่งจะช่วยออกแบบแผนการลงทุนที่เหมาะกับคุณโดยเฉพาะ ทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้ง่ายขึ้น
โดยเราสามารถนำแต่ละเป้าหมาย (วางแผนพร้อมกันได้หลายเป้าหมาย) มาวางแผนผ่าน Goals Navigator ได้เลย เพียงกำหนดความสำคัญของแผนลงทุน, จำนวนเงินลงทุนครั้งแรก, เงิน DCA, เงินที่จะ DCA เพิ่มในแต่ละปี, จำนวนเงินที่ต้องใช้ในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ ยังกำหนดให้คำนวณเงินเฟ้อได้ด้วย
FINNOMENA FUNDS Goals Navigator นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web
ยกตัวอย่างเช่น แผนการลงทุน Single Mom ที่มีเป้าหมาย Kid’s Education กับ Retirement
ตัวอย่างแผนการลงทุน Single Mom บน Goals Navigator | Source: FINNOMENA FUNDS as of 6/11/2023
จะเห็นว่า Goals Navigator วิเคราะห์ผลลัพธ์ออกมาให้เลยว่าสิ่งที่เราต้องการ มีโอกาสบรรลุเป้าหมายแค่ไหน หรือหากเป็นเป้าหมายที่เกินจริง (Goal is not realistic) ก็จะแสดงข้อความแจ้งเตือนให้เราปรับรายละเอียดเป้าหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด เช่น เพิ่มเงิน เพิ่มระยะเวลาลงทุน เป็นต้น
เช่นในกรณีข้างต้นเป็นแผนของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่มีเงินลงทุนตั้งต้น 1 ล้านบาท และตั้งใจจะ DCA 30,000 บาทต่อเดือน เพื่อ 2 เป้าหมาย หนึ่งคือเงินเพื่อการศึกษาลูก จำนวนประมาณ 2.5 ล้านบาทในอีก 15 ปีข้างหน้า สองคือเงินเพื่อเกษียณอายุ จำนวนประมาณ 27 ล้านบาทในอีก 35 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ Goals Navigator จึงจัดสรรเงินลงทุนออกเป็น 2 พอร์ต ดังนี้
ตัวอย่างแผนการลงทุน Single Mom บน Goals Navigator | Source: FINNOMENA FUNDS as of 6/11/2023
เงินก้อนแรกสำหรับการศึกษาลูก: เริ่มด้วยเงินตั้งต้น 650,000 บาท ลงทุนต่อเดือน 7,000 บาท และคิดอัตราเงินเฟ้อที่ 5% ต่อปี (เงินเฟ้อการศึกษาสูงกว่าเงินเฟ้อทั่วไป) ซึ่งหากลงทุนตามเงื่อนไขดังกล่าว จะมีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมาย 79%
เงินก้อนที่สองเงินสำหรับเกษียณอายุ: เริ่มด้วยเงินตั้งต้น 350,000 บาท ลงทุนต่อเดือน 23,000 บาท และคิดอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี ซึ่งหากลงทุนตามเงื่อนไขดังกล่าว จะมีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมาย 62%
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินผ่าน Goals Navigator เท่านั้น ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จของเป้าหมายได้ด้วยการวางแผนที่ถูกต้อง ไม่ยุ่งยาก ชัดเจน และเป็นไปตามความจริง อย่างไรก็ดี หากอยากเจาะลึกรายละเอียดมากกว่านี้ ลงทะเบียนรับบริการ คลิกเลย
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ถ้าตลาดหุ้นคือแหล่งรวมของฝูงชน จิตวิทยาการลงทุนก็เป็นศาสตร์ที่นักลงทุนต้องรู้เพื่อให้มีสติและภูมิคุ้มกันจากพฤติกรรมของคนหมู่มาก (ซึ่งบ่อยครั้งก็นำไปสู่การลงทุนที่ไม่ดี) ได้มากขึ้น
วันนี้ FinSpace จะแนะนำหนังสือจิตวิทยาการลงทุน 8 เล่ม ที่เป็นเหมือนวัคซีนที่จะช่วยให้คุณมีสติและลดข้อผิดพลาดในตลาดหุ้นได้มากขึ้น แล้วจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
สำรวจความบกพร่องในการตัดสินใจของมนุษย์ ผ่านมุมมองของนักคิดและนักจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค
โดย Daniel Kahneman
บทเรียนเหนือกาลเวลาเรื่องความมั่งคั่ง ความโลภ และความสุข ที่คุณไม่ควรพลาด หนึ่งในหนังสือการเงินที่ดีที่สุดและสดใหม่ที่สุดในรอบหลายปี
โดย Morgan Housel
หนังสือหุ้นที่ว่าด้วยอคติอันเจ้าเล่ห์ซึ่งซุกซ่อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน แม้ว่าเราจะไม่รู้ตัวว่ามันมีอยู่ แต่มันมักจะเผยตัวออกมาเสมอเวลาที่มีเรื่องของ การลงทุน เข้ามาเกี่ยวข้อง และทุกครั้งที่มันเผยตัว เจ้าอคติตัวร้ายนี้เองมักทำให้นักลงทุนหลายคนเจ็บตัวมานักต่อนัก
โดย John R. Nofsinger
เล่าถึงขบวนการตัดสินใจของสมองของคุณว่าเหตุผลใดจึงตัดสินใจไปแบบนั้น ทำไมถึงสมองของเราจึงตัดสินใจผิดด้วยการซื้อตอนราคาแพงและขายตอนราคาถูก ทำไมสมองถึงสั่งให้คุณซื้อหุ้นตามคนส่วนใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่นี้ก็คือผู้ที่ขาดทุนนั่นเอง คุณจะได้เรียนรู้และเข้าใจกับระบบการตัดสินใจของมนุษย์ที่เรียกว่า X-System และ C-System
โดย James Montier
Burton Malkiel นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชื่อในทฤษฎีความมีประสิทธิภาพของตลาด เขียนอธิบายรวมถึงยกตัวอย่างแบบละเอียดว่าทำไมทั้งปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคอลจึงอาจใช้ไม่ได้ผล รวมถึงอคติในการลงทุนต่างๆ ว่าทำไมเราถึงเชื่อได้ขนาดนั้นว่าการเอาชนะตลาดทำได้ง่าย
โดย Burton G. Malkiel
ในโลกที่หาคนประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าการหาคนธรรมดา เราอาจเชื่อกันว่า ความสำเร็จของใครสักคนมันเกิดขึ้นได้เพราะความเก่งและความขยันของเขาที่มากกว่าคนทั่วไป แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง แล้วทำไมคนอีกตั้งมากมายที่ขยันเหมือนกัน เก่งเหมือนกันกลับไม่ประสบความสำเร็จได้อย่างที่ควรจะเป็น
โดย Nassim Nicholas Taleb
Robert J. Shiller ศึกษาประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลามากกว่า 100 ปี กลั่นกรองออกมาเป็นองค์ความรู้แก่นแท้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของตลาดฟองสบู่ ภูมิปัญญาชั้นสูงว่าด้วยวงจรชีวิตของฟองสบู่ทั้งหมดนี้ สรุปรวบยอด อยู่ในบทนิพนธ์คลาสสิก “เอาชนะฟองสบู่ หยั่งรู้สัญญาณตลาดล่ม”
โดย Robert J. Shiller
ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ กายวิภาคของวิกฤตการณ์ และความคลั่งไคล้ในการเก็งกำไร ในห้วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาซึ่งดูเหมือนว่าจะซ้ำรอยอยู่เนือง ๆ
โดย Charles P. Kindleberger
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/8-best-investment-psychology-books/
ช่วงเร็ว ๆ นี้ ผู้กำกับหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาตลาดทุน หรือตลาดหุ้น อาทิเช่น ตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. ต่างก็ถูกโจมตีจากนักเล่นหุ้นว่าไม่ได้ทำอะไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนที่เข้าไปเล่นหุ้นที่กำลังขาดทุนอย่างหนักเพราะตลาดหุ้น “ตกเอา ๆ” อันเนื่องจากการที่ตลาดปล่อยให้มีการทำชอร์ตเซล โดยเฉพาะแบบที่คนทำไม่ได้มีหุ้นหรือที่เรียกว่า “Naked Short” หรือมีการปล่อยให้นักลงทุนบางกลุ่มทำการซื้อขายหุ้นโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า “Robot Trading” ที่สามารถทำการซื้อขายอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนการซื้อขายที่ถูกมาก ซึ่งทำให้ได้เปรียบนักลงทุนส่วนบุคคลทั่วไป
ดูเหมือนว่าทั้งผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต. ต่างก็แถลงแก้ว่าได้ตรวจสอบดูข้อมูลอย่างละเอียดแล้วพบว่า ไม่มีการทำ Naked Short และการทำชอร์ตเซลที่ต้องยืมหุ้นก็มีระดับปกติ เช่นเดียวกับ Robot Trade ซึ่งก็ทำมานานแล้วก่อนที่ตลาดหุ้นจะตกลงมาแรงในช่วงนี้ ส่วน ก.ล.ต. เองก็มองว่า ชอร์ตเซลเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการลงทุน และก็ได้กำหนดแนวทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อควบคุมการทำชอร์ตเซลไม่ให้ตลาดหุ้นผันผวนเกินไป รวมถึงการที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ
เช่นเดียวกัน การซื้อขายด้วย AI หรือหุ่นยนต์เองนั้น ก็เป็นวิวัฒนาการที่ตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วใช้มานานแล้วและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงตอนนี้มีปริมาณการซื้อขายมากกว่าที่ทำโดยคนไปแล้ว ถ้าไปห้ามก็คงทำให้ตลาดหุ้นไม่พัฒนา ส่วนเรื่องว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยอื่นนั้น แม้ ก.ล.ต.จะไม่ได้พูดถึง แต่ก็ได้พูดว่านักลงทุนแต่ละกลุ่มเองนั้นก็มีมุมมองไม่เหมือนกัน นัยยะก็อาจจะเป็นว่า คนที่ลงทุนระยะยาวก็อาจจะไม่ได้คิดว่าการเทรดที่เร็วกว่าโดยหุ่นยนต์เป็นเรื่องที่ทำให้ตนเองเสียเปรียบ พวกเขาอาจจะชอบด้วยซ้ำถ้าทำให้หุ้นมีสภาพคล่องที่ดี เวลาขายจะได้มีคนมารับ เป็นต้น
ผมเองคงไม่ถกเถียงว่าใครผิดหรือถูก เพราะเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” ระยะสั้นที่จะผ่านไปในไม่ช้า โดยเฉพาะถ้าหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาก แต่สิ่งที่ผมจะพูดก็คือ บทบาทหรือหน้าที่ที่ผู้กำกับตลาดทุนหรือตลาดหุ้นควรจะต้องทำในระยะยาวคืออะไรที่จะทำให้ตลาดทุนของไทยดีขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการระดมทุนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ประเด็นแรกก่อนที่จะเข้าเรื่องก็คือ ผมคิดว่า “ผู้ดูแลหรือกำกับ” ตลาดทุนหรือตลาดหุ้นนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นและ ก.ล.ต. เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหน่วยงานเก็บภาษีการลงทุนในหุ้นและเครื่องมือลงทุนอื่น ๆ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ รัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย
เรื่องต่อมาที่ควรจะต้องเข้าใจให้ตรงกันก็คือ การกำกับและพัฒนาตลาดทุนและตลาดหุ้นนั้น ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญอย่างน้อย 2 ครั้งใหญ่ ๆ คือครั้งแรก ประมาณปี 2530 ที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มสามารถเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ และครั้งที่สองก็คือเมื่อประมาณ 7-8 ปีมาแล้วหรือประมาณปี 2558 ที่นักลงทุนส่วนบุคคลไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศได้ เหตุการณ์ทั้งสองดังกล่าวนั้น ทำให้นิยามของการกำกับและพัฒนาตลาดหุ้นควรจะต้องเปลี่ยนไปนั่นก็คือ เดิมทีเมื่อเราพูดถึงการพัฒนาตลาดหุ้นหรือตลาดทุนนั้น เราจะพูดถึงสิ่งเดียวคือ “ตลาดหุ้นไทย” โดยปรัชญาหรือนโยบายอะไรต่างก็ผูกอยู่กับตลาด ตัวอย่างเช่นเรื่องภาษีที่บอกว่าถ้าจะพัฒนาตลาดก็จะต้องงดเก็บภาษีบางอย่าง เช่น ภาษีกำไรจากการลงทุน เป็นต้น
แต่ถึงวันนี้ เวลาที่พูดถึงการพัฒนาตลาดทุนหรือตลาดหุ้น ผมคิดว่าเราจะต้องเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่างนั่นก็คือ “นักลงทุน” ซึ่งจะมีความสำคัญพอ ๆ กัน หรือมากกว่าตลาดหุ้นด้วยซ้ำ และจะต้องแยกแยะว่า “นักลงทุนไม่ใช่ตลาดหุ้น” นโยบายหรือเกณฑ์อะไรต่าง ๆ ที่จะออกมานั้นจะต้องคำนึงถึงนักลงทุนด้วย เพราะบางครั้งนโยบายที่ดีต่อตลาดอาจจะเป็นผลเสียต่อนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนที่ได้ไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ
พูดง่าย ๆ ต่อจากนี้ไป เราต้องคิดว่านักลงทุนมีโอกาสไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ และเราก็ควรจะต้องส่งเสริม อย่าไปคิดว่าถ้าส่งเสริมแล้วพวกเขาก็จะขนเงินไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยเหงาและราคาหุ้นจะตก เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า ถ้าพื้นฐานของหุ้นในตลาดไม่ดี มันก็จะต้องตก ฝืนยากมาก เลิกหรืองดเว้นการทำชอร์ตเซลในช่วงนี้อาจช่วยให้หุ้นขึ้นบ้างเหมือนตลาดหุ้นเกาหลีที่กำลังทำอยู่ แต่ถ้าพื้นฐานแย่ลงเพราะเศรษฐกิจไม่ดี หุ้นที่ขึ้นไป “ชั่วคราว” ก็จะตกลงมาใหม่
การส่งเสริมหรืออย่างน้อยไม่ไป “กีดกัน” การลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนนั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีในเชิงเศรษฐกิจ อย่างน้อยมันเป็นโอกาสให้คนที่มีเงินออมไปหาผลตอบแทนที่ดี และในไม่ช้าเขาก็จะนำกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเมื่อเขาคิดว่าหุ้นไทย “น่าลงทุน” อาจจะเพราะว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นแล้ว หรืออาจจะเพราะราคาหุ้นหรือดัชนีตกลงมามากจนคุ้มค่าที่จะลงทุน “แบบ VI” แล้ว เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ยังไงเราก็เป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เราก็อยากที่จะมีรายได้หรือได้ผลตอบแทนในประเทศไทยมากกว่าจากต่างประเทศถ้าปัจจัยอย่างอื่นเท่ากันหรือเหมือนกัน
ด้วยหลักการหรือแนวทางการกำกับและพัฒนาโดยคำนึงถึงประเด็นที่ว่าตลาดกับนักลงทุนนั้น ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแล้ว จากนั้นผมคิดว่าเวลาจะกำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์จะต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้คือ
หนึ่ง กฎเกณฑ์จะต้อง Fair and Transparent หรือยุติธรรมและโปร่งใส ตัวอย่างของความยุติธรรมก็เช่น นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศควรจะเสียภาษีเหมือนตลาดหุ้นไทย การกำหนดให้กำไรจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาที่สูงสุดถึง 35% เวลานำเงินกลับมาจึง “ไม่แฟร์”
ความโปร่งใสหรือการเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด ตัวอย่างที่ตลาดเคยทำก็คือ การเปลี่ยนการเปิดเผยชื่อนักลงทุนรายใหญ่จากที่ถือหุ้นถึง 0.5% เป็นเปิดเฉพาะ 10 อันดับแรก ซึ่งเป็นการ “ลด” การเปิดเผยลงนั้น ไม่สอดคล้องกับทิศทางที่ควรจะเป็น แต่ในช่วงนั้นก็มีคนต้านน้อยมาก ตรงกันข้ามกับช่วงนี้ที่ดูเหมือนว่า ตลาดพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลเรื่องการชอร์ตเซลมากขึ้น
สองก็คือเรื่อง Competitiveness หรือความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับต่างประเทศ เหตุผลก็ชัดเจนว่าปัจจุบันตลาดไม่ได้เป็น “ผู้ผูกขาดการลงทุนหุ้นในตลาด” อีกต่อไป ดังนั้น การที่จะออกเกณฑ์อะไรก็ตามก็จะต้องดูว่าออกมาแล้ว นักลงทุนจะยอมรับแค่ไหน เพราะถ้าไม่เป็นผลดีต่อนักลงทุน พวกเขาก็แค่ย้ายไปลงทุนในตลาดอื่น และประเทศก็จะไม่ได้อะไรจากเม็ดเงินที่ออกไปรวมถึงภาษีบางอย่างที่ควรจะได้
สามก็คือ เราจะต้องคำนึงถึง Efficiency หรือความมีประสิทธิภาพของตลาดในการซื้อขายลงทุนในหุ้น ก็อย่างที่ได้กล่าวแล้วในกรณีตัวอย่างของการใช้ AI และ Robot Trade ที่เป็นทิศทางของนักลงทุนระดับโลก ถ้าเราห้าม เขาก็อาจจะไม่มาปริมาณซื้อขายรายวันน่าจะหายไปมาก ตลาดไทยที่เป็นตลาดหุ้นที่คึกคักก็อาจจะกลายเป็นตลาดหุ้นที่เหงา และ Valuation หรือการตีมูลค่าก็จะลดลง กระทบไปถึงบริษัทจดทะเบียนที่จะระดมทุนในอนาคต
สุดท้ายที่ผมเห็นว่าเป็นปัญหามากสำหรับตลาดหุ้นไทยก็คือ Predictability นั่นก็คือ นักลงทุนควรจะสามารถคาดการณ์เรื่องของ Regulation หรือกฎเกณฑ์ที่ออกมาได้ในระดับที่ดี นี่เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่านักลงทุนไม่ชอบความเสี่ยงโดยเฉพาะด้านลบ ถ้าคิดว่ามีความเสี่ยงมากเขาก็จะให้มูลค่ากับหุ้นในตลาดนั้นต่ำลง ตัวอย่างเช่น การประกาศเก็บภาษีในตลาดหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นแบบ “กระทันหัน” อย่างการเก็บภาษีการลงทุนในต่างประเทศที่ประกาศแล้ว ไม่ให้เวลาปรับตัว คนที่ออกไปลงทุนแล้วถ้านำเงินกลับมาก็จะต้องเสียภาษีทันที เป็นต้น
ตัวอย่างของตลาดหุ้นอื่นเช่น มาเลเซีย เขาให้เวลาหลายปีเพื่อให้โอกาสคนที่ไม่อยากเสียภาษีนำเงินกลับมา ตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ออสเตรเลีย ที่เคยประกาศเก็บภาษีกำไรจากหุ้น สิ่งที่ทำก็คือ เขาให้ปรับต้นทุนใหม่หมดก่อนที่จะเก็บภาษี ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุติธรรมสำหรับคนที่ถือหุ้นมานานและมีกำไรในพอร์ตมากที่จะไม่ต้องเสียภาษีที่เกิดขึ้นในอดีต เป็นต้น
ทั้งหมดนั้นผมก็หวังว่าต่อจากนี้ไป ผู้กำกับและผู้คุมกฎเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่รวมไปถึงผู้เก็บภาษีและรัฐบาลจะยึดถือเป็นหลักในการทำงาน ผมเชื่อว่าถ้าทำแบบนั้น ทุกคนเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนก็จะเข้าใจ และก็คงไม่มาประท้วงว่าทำไมผู้กำกับหรือผู้มีอำนาจไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างมีเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อทำให้ตลาดดีในระยะยาว
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
“ทองคำ” คือสินทรัพย์ยอดนิยมที่เป็นความฝันของคนไทยทั้ง 70 ล้านคน ไม่ว่าใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของทองคำแท่งซึ่งเป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก แต่รู้หรือไม่? มีคนซื้อ-ขายทองคำกว่า 99% ไม่รู้ 9 เรื่องนี้!
วันนี้ FINNOMENA ขอมาแชร์ “9 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนซื้อขายทองคำ” จะมีอะไรบ้าง? ลองมาดูกัน
โดยเฉลี่ยของทุก ๆ ปี ทองคำมักจะราคาขึ้นช่วงต้นเดือนมกราคมและต้นเดือนกรกฏาคม และมักจะราคาลงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม ดังนั้นถ้าใครคิดจะซื้อทองช่วงที่ดีที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและมกราคม นอกจากนั้นราคาทองคำยังไม่ค่อยลงต่ำกว่าราคาของเดือนมกราคม ดังนั้นถ้าปีไหนราคาทองตกลงมาเท่าราคาของเดือนมกราคม โอกาสที่คุณจะซื้อทองแล้วขาดทุนมีน้อยมาก (ข้อมูลจาก BundesBank)
ราคาทองนั้นสมาคมไม่ได้อัปเดตตลอดเวลา แต่จะอัปเดตเป็นช่วง ๆ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสำหรับคนที่กำลังจะซื้อหรือขายทองคำ พลาดราคาไปชั่วโมงเดียวมีโอกาสขาดทุนหลายหมื่นได้ตามปริมาณการซื้อมากน้อยต่างกันไป ใครอยากดูราคาทองคำที่อัปเดตแบบ Real-Time สามารถเปิดเว็บไซต์ FINNOMENA แล้วเข้าไปที่หน้า GOLD ได้เลย ติดตามไว้ก่อนซื้อขายทองจะได้ไม่ต้องขาดทุน
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการลงทุนช่วงตลาดผันผวนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อย่างพันธบัตรรัฐบาลและใกล้เคียงกับหุ้นในระยะยาวเลยทีเดียว ถ้าถือทองคำ 10-20 ปี จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนต่อปี 5-10% เลยทีเดียว
ถ้าเงินถึง ควรซื้อทองแบบเป็นแท่งมากกว่าแบบที่แปรรูปเป็นเครื่องประดับแล้ว เรียกกันในวงการว่า “ทองรูปพรรณ” การซื้อทองคำแท่งจะโดนค่ากำเหน็จในการแปรรูปที่ต่ำกว่า นอกจากนั้นการเก็บเป็นแท่งยังเก็บง่ายกว่ามากด้วย ด้วยเหตุนี้ทองคำจึงออกมาเป็นรูปแบบของแท่งที่สามารถตั้งซ้อน ๆ กันได้
ยิ่งซื้อทองที่มีมูลค่าสูง ยิ่งมีค่ากำเหน็จต่ำลง แต่ก็มีข้อเสียคือ แบ่งขายลำบาก หาคนซื้อต่อได้ยาก และมีโอกาสเจอของปลอมสูงขึ้น เนื่องจากคนที่ทำทองปลอมก็มักจะทำออกมาเป็นแท่งขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มูลค่ามาก ๆ นั่นเอง นอกจากนั้นการขายทองแท่งใหญ่ ๆ ยังจำเป็นต้องมีการตรวจสอบก่อนซื้อ และแน่นอนตามมาด้วยค่าตรวจสอบ
เอาทองคำไทยไปขายต่างประเทศจะโดนกดราคา เพราะไม่ได้มาตรฐานตามบ้านเขา ทองไทยบริสุทธิ์ 96.5% ทองต่างประเทศบริสุทธิ์ 99.99% ที่สำคัญถ้าอยากนำไปขายต่างประเทศต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับการรองรับจาก LBMA หรือสมาคมตลาดทองคำแห่งลอนดอน
กฎเหล็กในการซื้อ-ขายทองคือซื้อที่ไหนควรขายที่นั่นเพื่อไม่ให้เจอปัญหาการกดราคา
ตามหลักการแล้วทองคำแท่งเป็นสินค้าที่ “ต้องห้าม” ในการนำออกไปขายต่างประเทศ แต่ก็มีการนำออกไปกันบ้าง โดยถ้าอยากขายทองในต่างประเทศ ที่ที่ขายง่ายที่สุดคือ China Town ของแต่ละประเทศนั่นเองครับ
ทองลงทุนเป็นทองคำดิจิทัลได้แล้ว คล้าย ๆ กับการซื้อ-ขายสัญญาส่งมอบทองคำ ค่าธรรมเนียมถูกกว่าค่ากำเหน็จเยอะ ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและลง แถมยังมั่นใจได้ว่าเป็นทองคำแท้ ๆ แน่นอน
.
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ประเภทอื่นต่ำและมีสภาพคล่องสูง จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ราคาทองคำมักปรับตัวขึ้นสวนทางกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ที่ปรับตัวลดลงท่ามกลางความกังวลของนักลงทุน
นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์กระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุน พอร์ตการลงทุนที่มีสัดส่วนทองคำที่เหมาะสมจะทำให้เผชิญความเสี่ยงต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนที่ไม่มีทองคำอยู่ ดังนั้นพอร์ตใครที่ยังไม่มีทองคำแนะนำให้มีทองคำติดพอร์ตไว้บ้าง โดยสัดส่วนที่เหมาะสมคือ 5-10% ของพอร์ต
แม้ว่าทองคำจะเหมาะกับการใช้เป็นสินทรัพย์กระจายความเสี่ยง แต่ทองคำก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในตัวเองเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ฯลฯ ประโยคที่กล่าวว่า “ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย” อาจจะใช้ไม่ได้ในทุกสภาวะตลาด การศึกษาและทำความเข้าใจในสินทรัพย์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนลงทุนในทุกสินทรัพย์
พิเศษ! ติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ทั้งทองไทยและทองโลก บนเว็บไซต์ FINNOMENA ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย https://finno.me/gold-web
FINNOMENA Admin
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 11 – 17 พ.ย. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
1. KFSMART-A – กองทุนเปิดกรุงศรีสมาร์ทตราสารหนี้-สะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +3.65%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.67%
2. KASF – กองทุนเปิด เคเอ ชอร์ท เทอม ฟิกซ์ อินคัม
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +3.62%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.78%
3. KKP S-PLUS – กองทุนเปิดเคเคพี สมาร์ท พลัส
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +3.52%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +3.16%
4. PRINCIPAL DPLUS-A – กองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ อินคัม พลัส A
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +3.38%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.56%
ซื้อกองทุน PRINCIPAL DPLUS-A คลิก
5. K-SF-A – กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ระยะสั้น ชนิดผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +3.09%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.70%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: KFSMART-A, KASF, KKP S-PLUS, PRINCIPAL DPLUS-A, K-SF-A
หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 16 พ.ย. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงหลังนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังไม่สิ้นสุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2007 แต่ล่าสุดเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น หลังสหรัฐฯ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนตุลาคม ต่ำกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ความกังวลดังกล่าวลดลง ส่งผลให้ Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.5% และเริ่มเห็นการฟื้นตัวของภาพรวมตลาดหุ้นมากขึ้น
จนกระทั่งในวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดัชนี VN30 ปรับตัวขึ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (MA200D) ทะลุขึ้นเหนือเส้น downtrend line เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน และเกิด MACD buy signal ตามมา ซึ่งสัญญาณดังกล่าวเป็นการสะท้อนการฟื้นตัวของดัชนี หลังจากเกิดการปรับฐานในช่วงที่ผ่านมา
FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำลงทุนภายใต้คำแนะนำ Tactical Call ในกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนหุ้นเวียดนามที่มีนโยบายการลงทุนแบบ Active ให้ผลการดำเนินงานเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนี VN30 ซึ่งมีค่า Correlation กับดัชนี VN30 ที่ 0.9 สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นเวียดนาม โดยมีคำแนะนำดังนี้
รูปที่ 1: กราฟดัชนี VN30 TF Day
Source: Tradingview as of 16/11/2023
รูปที่ 2: ข้อมูล Correlation ของกับกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A กับดัชนี VN30
Source: Bloomberg as of 16/11/2023
1. แนะนำเข้าลงทุนที่ไม่เกินระดับ 1,150 จุด (+1.6% จากระดับราคาปิดตลาดวันที่ 16/11/2023) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1
และหากหลังจาก FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ Tactical Call แล้วดัชนี VN30 ปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (MA200D) แนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Tactical Call เนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่ให้คำแนะนำครั้งแรก
2. แนะนำ Take Profit หรือขายทำกำไร เมื่อดัชนี VN30 ปรับตัวขึ้นถึง 1,260 จุด (Upside 9.6% จากจุดหยุดเข้าซื้อที่ 1,150 จุด) ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงจุดสูงสุดเดิมในเดือนกันยายน 2023
3. แนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อดัชนี VN30 ปิดตลาดต่ำกว่าระดับ 1,040 จุด (Downside 9.6% จากจุดหยุดเข้าซื้อที่ 1,150 จุด) ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดเดิมในเดือนพฤศจิกายน 2023
นักลงทุนที่เหมาะกับ Tactical Call ระยะสั้นนี้ควร…
รูปที่ 3: PRINCIPAL VNEQ-A Top Holding
Source: Fund Fact Sheet ของกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A as of 30/09/2023
PRINCIPAL VNEQ-A เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลัก ในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวม
สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.finnomena.com/fund/
FINNOMENA FUNDS Investment Team
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ทำความรู้จักกับกองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่ ‘กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน’ หรือ Thailand ESG Fund: ThaiESG (TESG) มีเงื่อนไขอย่างไร ซื้อได้เท่าไหร่ ลดหย่อนปีไหน เมื่อเปรียบเทียบกับกองทุน SSF และ RMF อะไรดีกว่ากัน แล้วใครกันที่เหมาะกับการลงทุนใน T้haiESG
FINNOMENA FUNDS สรุปทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกองทุน ThaiESG มาให้แล้วในบทความนี้ ไปดูกันเลย
รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA FUNDS ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
👉 ลงทะเบียน คลิก https://finno.me/taxplanner-services
ThaiESG หรือ Thailand ESG Fund คือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีสิทธิพิเศษให้ผู้ลงทุนสามารถนำจำนวนเงินลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเหมือนกับการลงทุนใน RMF, SSF, SSFX หรือ LTF ที่ออกมาก่อนหน้านี้
นโยบายการลงทุนของ ThaiESG กำหนดให้สามารถลงทุนในหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย ที่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ตามหลัก ESG ซึ่งประกอบด้วยมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) อาทิ หุ้นไทยยั่งยืน SET ESG Ratings หรือตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน ESG Bond
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้มีการจัดทำดัชนีหุ้นยั่งยืนที่เรียกว่า SET ESG Ratings สำหรับประเมินผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนไทย ล่าสุดในปี 2023 มีบริษัทที่ผ่านการคัดเลือก 193 บริษัท แบ่งเป็น
ขณะที่ ESG Bond มีรูปแบบคล้ายกับตราสารหนี้ปกติทั่วไป ต่างกันที่วัตถุประสงค์ของการระดมทุนที่ต้องการนำเงินไปใช้เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) สังคม (Social Bond) และความยั่งยืน (Sustainability Bond)
กองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ
วงเงินลงทุนของ ThaiESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ปัจจุบันกำหนดเพดานลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
เท่ากับว่าเราจะได้วงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจาก ThaiESG ไปเลย 100,000 บาท และเมื่อนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ก็จะลดหย่อนได้สูงสุดถึง 600,000 บาท
ระยะเวลาการลงทุน ThaiESG ต้องถือลงทุนเป็นเวลา 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ (นับแบบวันชนวัน ไม่ใช่นับแบบปีปฏิทิน) ซื้อปีไหน ลดหย่อนปีนั้น และไม่บังคับว่าต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
เช่น ถ้าซื้อ ThaiESG ในวันที่ 25 ธันวาคม 2023 วันที่ครบกำหนด 8 ปี คือวันที่ 25 ธันวาคม 2031 แปลว่าเราจะขายกองทุนโดยไม่ผิดเงื่อนไขได้ในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 26 ธันวาคม 2031
ความเหมือนของ ThaiESG กับ SSF และ RMF ถือเป็นกองทุนรวมลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่มีจุดที่แตกต่างกันหลัก ๆ ดังนี้
1.) ระยะเวลาการลงทุน
ThaiESG: ถือลงทุน 8 ปีนับจากวันที่ซื้อ ไม่บังคับซื้อทุกปี
SSF: ถือลงทุน 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ ไม่บังคับซื้อทุกปี
RMF: ต้องถือจนถึงอายุ 55 ปี และครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีหรือปีเว้นปี
2.) สินทรัพย์ที่ลงทุนได้
ThaiESG: หุ้นไทยและตราสารหนี้ไทยที่เข้าหลักเกณฑ์ ESG
SSF กับ RMF: ลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.) สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ThaiESG: ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 100,000 บาท
SSF: ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
RMF: ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
– คลิกอ่านบทความ 👉 กองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG เหมาะกับใคร คนแบบไหนที่ควรซื้อ
กองทุนลดหย่อนภาษีปีนี้ มาซื้อที่ฟินโนมีนา ฟันด์ เปิดบัญชีที่เดียว ซื้อ SSF-RMF ได้หลากหลาย บลจ. พร้อมโปรโมชันพิเศษ
ดูรายละเอียดได้ที่ https://finno.me/tsf-23-ws
ทั้งนี้ ปัจจุบันที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง จัดตั้งกองทุน ThaiESG แล้ว โดยให้มีผลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2032 เพื่อสนับสนุนการออมระยะยาวในตลาดทุนไทย
ดังนั้น คาดว่าเราจะสามารถเริ่มซื้อกองทุน ThaiESG ได้ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ สำหรับใช้ลดหย่อนภาษีงวดประจำปี 2023 ที่จะใช้ยื่นภาษีระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2024
สุดท้ายแล้ว หากมีการเปิดให้ซื้อกองทุน ThaiESG ผ่าน FINNOMENA FUNDS เมื่อไหร่ จะมีการอัปเดตให้ทราบกันอีกครั้งแน่นอน