การวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่ใช่สิ่งใหม่ ใครๆก็รู้จัก นักลงทุนหลายคนใช้เทคนิคอลประกอบการตัดสินใจ บางคนใช้เป็นหลักยึดในการลงทุนเสียด้วยซ้ำ หรือมากกว่านั้นคือสามารถนำเทคนิคอลมาทำเป็นระบบการลงทุนเชิง Quantitative มีจุดเข้า จุดออก จุดตัดขาดทุนที่ชัดเจนเหมือนใน EP เก่าๆ ที่เราเคยนำเสนอให้ทุกคนติดตามอยู่ตลอด แต่ในบทความนี้อยากจะ Deep Diving หรือดำลึกลงไปถึงต้นกำเนิดของเทคนิคอลรวมถึง Tips & Tricks ในการเล่นแร่แปรธาตุในเทคนิคอลที่หลายคนนึกไม่ถึงกันครับ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคทุกชนิด ทุกเครื่องมือ ทุกรูปแบบที่มีการพัฒนาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันล้วนมีที่มาจากการนำ Data ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาทำการคำนวณด้วยวิธีการต่างๆ จนเกิดเป็นรูปแบบราคา อินดิเคเตอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ข้อมูลเหล่านั้นมาจากการนำราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด ราคาปิด และปริมาณการซื้อขาย นั่นแปลว่าต่อให้การคำนวณซับซ้อนแค่ไหน ที่มาที่ไปของผลลัพธ์ที่ได้ก็มาจากการบีบเค้นข้อมูลชุดนี้เท่านั้น ทำให้เวลาเอาเครื่องมือใดๆ ในเทคนิคอลมาปรับใช้ก็จะเริ่มตันและไม่สามารถพัฒนาไปต่อได้ เราจึงอยากจะลองทดสอบเล่นแร่แปรธาตุ Data พวก Open High Low Close ให้ดูว่ายังสามารถไปได้อีกเยอะ ถ้าเราเข้าใจมันมากขึ้น
การซื้อขายสินทรัพย์โดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยในอดีต สิ่งที่นักลงทุนมักจะพัฒนาและให้ความสำคัญคือการหาเส้น หาค่าที่ดีที่สุด ว่าเส้นไหนดีกว่ากัน นั่นทำให้เราจะต้องไป Optimization เพื่อหาค่าที่ดีที่สุด “ในอดีต” ทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องเหตุการณ์ในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ก็จะไม่ได้ดีอย่างที่คิดเอาไว้ แต่หากลงลึกอีกหน่อย เราจะรู้ว่าเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้นำมาคำนวณนั้น มาจากการนำราคาปิดสิ้นวันหรือ Close มาคำนวณ นั่นทำให้เราสามารถทดสอบดูได้ว่า ถ้าหากนำค่าอื่นมาคำนวณล่ะ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ไปดูกันเลยครับ
จากภาพประกอบของการซื้อขาย Bitcoin ย้อนหลัง 5 ปีที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 50 วัน (EMA50) มาทดสอบและเปลี่ยนจากการใช้ราคาปิด เป็นราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด มาคำนวณแทน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นะแอบตกใจพอสมควรเลยครับ การใช้ค่า Default จากแพลตฟอร์มดูกราฟทั่วไปที่ใช้ราคาปิด จากเงิน 1 ล้านสามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลังได้ต่อปีถึง 116.37 % มี Max DD ที่ 55.61% ความแม่นยำในการเทรด 37.84% กำไรโดยเฉลี่ยต่อครั้ง 58% ขาดทุนโดยเฉลี่ย 3.8% คิดเป็น Payoff 15.4 เท่า ต่อรอบที่กำไรถูกประมาณ 58 วัน รอบที่ขาดทุนถือประมาณ 5.7 วัน แต่ลองสังเกตุผลลัพธ์จากการใช้ค่าอื่นๆ มาคำนวณ จะได้ Stat ที่แตกต่างกันพอสมควร
กรอบราคาที่เราใช้ทดสอบให้ทุกคนดูอย่างต่อเนื่องนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนการคำนวณเล็กๆ น้อยๆ แบบเส้นค่าเฉลี่ยได้เช่นเดียวกัน โดยเราแบ่งสมมติฐานออกเป็น 3 ข้อ
ซึ่งผลลัพธ์ทั้ง 3 แบบมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ไม่มีมีนัยยะมากเท่าการใช้เส้นค่าเฉลี่ยมากคำนวณ พวกเราลองค่อยๆไล่ดูตัวเลขจากตารางข้างบนดูก็ได้ครับ
หากเราสงสัยว่าแค่ช่วงเวลา 5 ปีในการทดสอบเท่านั้นแถมทดสอบแค่ Bitcoin ตัวเดียวด้วย อาจจะฟันธงไม่ได้ว่ามีนัยยะทางสถิติจริงรึเปล่า เราจึงทำการทดสอบในตลาดหุ้นไทยย้อนหลังไป 21 ปี โดยใช้วิธีการลงทุนแบบ Hybrid คือผสมทั้งปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคเข้ามาตัดสินใจ แต่แบ่งสมมติฐานเป็น 2 ข้อดังนี้ครับ
โดยเราจะเห็นว่าผลลัพธ์แตกต่างกันพอสมควร CAGR คือ 34.7% กับ 27.74% ยิ่งพอทบต้นถึง 21 ปีแล้วทำให้เม็ดเงินลงทุนรวมต่างกันถึง 400 ล้านบาทโดยประมาณ!!
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นลองไปดูกราฟเงินทุนของระบบนี้กันครับ
(Data & Template จาก www.siamquant.com)
เพียงแค่เราศึกษาให้ลึกลงไปอีกสักนิด เข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งที่เราหยิบยกมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เราน่าจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างได้ เพราะในยุคนี้ที่ข้อมูลเยอะแยะไปหมด เวลานักลงทุนคนหนึ่งอยากจะศึกษาเรื่องการลงทุน ก็มักจะพยายามหาทางลัด Short Cut หรือวิธีใช้งานเลยซึ่งง่ายในการทำความใจแต่ยากในการพยายามสร้าง Alpha ในอนาคต เราจึงพยายามหยิบยกมุมแปลกๆ ใหม่ๆ ที่นึกไม่ถึงหรืออาจจะง่ายไปจนเรามองข้ามมาทดสอบให้ดูว่าความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะตามมาด้วยผลลัพธ์ที่แตกต่างจริงๆ ครับ
ZIPMEX
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ในประเทศหลัก ๆ ของโลกเช่นในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างรุนแรงมากในปีที่แล้ว กำลังเริ่มลดลงเพราะการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยกลับเลวร้ายลง “อย่างมาก” เนื่องจากเรากำลังประสบกับการระบาดของโรค “โควิดรอบ 3” ที่มีการกระจายและติดเชื้อในหมู่คนค่อนข้างกว้างขวางเมื่อเทียบกับการระบาดรอบแรกที่เกิดจากสนามมวยและรอบสองที่เกิดในหมู่คนงานต่างชาติและในตลาดสดที่อยู่ในต่างจังหวัด แต่การระบาดรอบนี้เริ่มจากสถานบันเทิงระดับหรูที่เกี่ยวข้องกับคนที่มีสถานะทางสังคมสูงที่มักจะมีการติดต่อกับผู้คนจำนวนมาก และยังรวมถึงผู้ให้บริการเช่นนักร้องนักดนตรีที่มักจะเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ และพบกับผู้คนจำนวนมากด้วย การกระจายตัวของการติดเชื้อรอบนี้จึงมีมากและการติดตามและป้องกันก็คงจะยากขึ้นมาก ผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญบางคนถึงกับบอกว่า โควิดรอบนี้อาจจะรุนแรงกว่ารอบก่อนหน้าเป็น 10 หรือ 100 เท่า ผมเองก็รู้สึกว่าคงเป็นอย่างนั้น ว่าที่จริง ใน 2 รอบก่อนนั้น ผมไม่เคยมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ติดจริง ๆ เลย แต่รอบนี้มีและพบว่ามีคนแทบทุกวงการที่ติดเชื้อ มันคง “ใกล้ตัว” เข้ามาทุกทีแล้ว ก่อนหน้านี้ผมเคยคิดว่าเรื่องวัคซีนเราจะรอ ๆ ไปก่อนเพื่อความมั่นใจว่ามันจะไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจริง ๆ ตอนนี้ผมคิดว่าผมอยากฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้ฉีดเมื่อไร
ตลาดหุ้นของแต่ละประเทศนั้น เป็น “เทอร์โมมิเตอร์” หรือเป็น “เครื่องวัด” ที่ทรงประสิทธิภาพมากว่าผลงานการบริหารหรือการจัดการโดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศนั้นทำได้ดีแค่ไหน ปรากฏการณ์โควิด-19 นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกและมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด แม้แต่สายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งก็สามารถกระจายไปยังอีกประเทศหนึ่งได้ง่าย ในช่วงแรกที่เกิดกรณีโควิด-19 นั้น เราคิดว่าเรามีความสามารถในการจัดการที่ดีมากจนทำให้เกิดกรณีการติดเชื้อน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย แต่นั่นก็เป็นแค่ในเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อ แต่สำหรับผมแล้ว วิกฤติโควิด-19 นั้น แท้ที่จริงมี 2 มิตินั่นก็คือ เรื่องของการติดเชื้อที่ทำลายสุขภาพของคนกับเรื่องของเศรษฐกิจที่มีการทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งในมิติหลังนี้ ก็ต้องถือว่าไทยเราจัดการไม่ดีเลย เห็นได้จากการที่เศรษฐกิจไทยติดลบไปถึงประมาณ 6% ในปีที่แล้วซึ่งเลวร้ายที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง นอกจากนั้น IMF รวมถึงหน่วยงานของไทยก็ยังประเมินว่าปี 2564 ไทยก็จะเติบโตเพียง 2-3% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ไม่ต้องพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียตนามที่มีภูมิศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับไทยที่ปีที่แล้วยังเติบโตถึง 2-3% และปีนี้คาดว่าจะโตไม่น้อยกว่า 6-7% ขึ้นไปและเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่งในช่วง “ปีโควิด”
ตลาดหุ้นของประเทศเฉพาะอย่างยิ่งที่มีปัญหารุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 แต่สามารถผลิตหรือมีการฉีดวัคซีนค่อนข้างแพร่หลายมากแล้วอย่างอเมริกาหรืออังกฤษนั้น ในช่วงเร็ว ๆ นี้ต่างก็ปรับตัวขึ้นอย่างแรงและหลายแห่งก็เป็น “All Time High” กันแล้ว ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้าคนทั้งประเทศก็จะได้รับการป้องกันจากการติดเชื้อโควิดและทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติ แต่สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้น นอกจากประเด็นเรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อานิสงส์จากการที่มีการ “ปิดเมือง” ที่ทำให้แทบไม่มีนักท่องเที่ยวหรือการเดินทางเข้ามาติดต่อหรือทำธุรกิจ ได้ทำให้ตลาดหุ้นยังไม่สามารถที่จะปรับตัวขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การระบาดรอบ 3 ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนก็ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ “สะดุด” ลงอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะเริ่มตระหนักว่ามิติทางเศรษฐกิจนั้นมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องของสุขภาพ ดังนั้น การระบาดรอบนี้ที่รุนแรงกว่าสองครั้งแรกมากแต่รัฐบาลก็ไม่ปิดเมืองหรือปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่า ผลก็คือ ตลาดหุ้นที่ตกลงมาประมาณ 2.5% ใน 2 วันจึงหยุดตกต่อ นักลงทุนคงจะรอดูว่าหนทางการแก้ปัญหาโควิดแบบ “ยั่งยืน” ซึ่งก็คือการฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างทั่วถึงจะทำได้เมื่อไร?
แต่เดิมดูเหมือนว่าเราจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัคซีนซึ่งเป็นเรื่อง “ระยะยาว” เท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่ไทยมีกรณีติดเชื้อน้อยและทีมงานที่แก้ปัญหาของโควิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะไม่ได้มองมิติทางด้านเศรษฐกิจมากนัก จึงมุ่งเน้นการ “ต่อสู้” โควิดที่เป็นเรื่องเร่งด่วนระยะสั้น ประเด็นสำคัญสำหรับทีมงานก็คือ ต้องไม่ให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มหรือเพิ่มมากโดยอาศัยการเว้นระยะห่างและการป้องกันการติดเชื้อโดยการสัมผัส ส่วนวัคซีนนั้นก็มีการเตรียมผลิตหรือจัดซื้อ เพียงแต่ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดของการจัดการโควิดในช่วงเวลา “หน้าสิ่วหน้าขวาน” ในตอนนั้น ผลก็คือ เมื่อการคิดค้นและผลิตวัคซีนของโลกประสพผลสำเร็จ เรากลับต้องรอประเทศอื่นใช้ก่อนหรือไม่ก็ไม่สามารถใช้ยี่ห้อที่ดีหรือผลิตได้สำเร็จก่อน ทั้งหมดนั้นดูเหมือนเราจะทำเพราะต้องการ “ประหยัด” ไม่ยอมทุ่มเงินเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อวัคซีนของโลกมาถึง เราจะได้ใช้ก่อนหรือได้ใช้เร็วเพื่อที่จะแก้ปัญหาทางสุขภาพและเศรษฐกิจที่ถูกกระทบอย่างหนัก เราอาจจะลืมไปว่าความล่าช้าในการแก้ปัญหามี “ต้นทุนแอบแฝง” มหาศาล ความเสียหายทางเศรษฐกิจแต่ละวันที่เราจะต้องเผชิญกับโควิดนั้นสูงกว่าค่าวัคซีนอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
วิธีที่จะแก้ปัญหาการฉีดวัคซีนล่าช้าในขณะนี้ก็คือ การเปิดให้เอกชนนำเข้าวัคซีนมาให้บริการแก่คนที่ต้องการฉีดและพร้อมที่จะจ่ายเงินเอง ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลจะเริ่มยอมรับและสนับสนุนโดยการประกาศเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนว่าจะอนุญาตให้นำเข้ามาประมาณ 10 ล้านโดสหรือฉีดได้ประมาณ 5 ล้านคน คงจะต้องดูว่าจะทำได้เร็วแค่ไหน ส่วนตัวผมเองคิดว่าเป็น “ข่าวดี” และนี่ก็ส่งผลให้หุ้นของโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวขึ้นกันทั่วหน้าประมาณ 5-6% ซึ่งรวมถึงหุ้นของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุด นอกจากนั้น หุ้นบางตัวที่เคยพยายามนำเข้าวัคซีนแต่ไม่สำเร็จเพราะถูก “บล็อก” โดยหน่วยงานรัฐก็ปรับตัวขึ้นไปกว่า 10% ในวันเดียว
อีกครั้งที่ตลาดหุ้นนั้น “ส่งสัญญาณ” ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี นโยบายแบบไหนที่จะช่วยให้เศรษฐกิจและธุรกิจดีขึ้น แค่ประกาศแต่ไม่รู้ว่าในทางปฏิบัติจะเป็นแบบนั้นและเร็วแค่ไหน หุ้นก็ขึ้นไปแล้ว ผมเองก็หวังว่าวัคซีนจะมาเร็วพอ ข่าวที่บอกว่า “เกณฑ์” การนำเข้าจะเสร็จภายใน 1 เดือนนั้น ผมคิดว่านานเกินไป ผมคิดว่า “ของ” ควรจะต้องมาพร้อมฉีดภายใน 1 เดือนน่าจะเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเรียกว่า “ฉุกเฉิน” อย่างเวลานี้ ยิ่งไปกว่านั้น ผมเองอยากจะเห็นการ “เปิดเสรี” ไม่จำกัดจำนวนแค่ 10 ล้านโดส จริงอยู่รัฐเองอาจจะเสียเงิน “จอง” วัคซีนไปแล้วจำนวนมาก ถ้าใช้ไม่หมดก็อาจจะเกิดความเสียหาย แต่ผมเองคิดว่า เวลาที่โรคหายและเศรษฐกิจเปิดเต็มที่และสามารถรับนักท่องเที่ยวเดินทางจากต่างประเทศนั้น มีค่ามากกว่าเงินค่าวัคซีนมาก ลองคิดดู ขนาดแค่ประกาศว่าจะให้นำเข้าวัคซีน 10 ล้านโดสหุ้นโรงพยาบาลก็ตอบสนองขนาดนี้แล้ว ถ้าบอกว่าภายใน 3-4 เดือนจะฉีดให้ครบ 80 ล้านโดส หุ้นทั้งตลาดซึ่งจะได้ประโยชน์มหาศาลจะวิ่งกันขนาดไหน?
นอกจาก “ภาพใหญ่” ของเรื่องวัคซีนแล้ว ผมเองก็คิดว่า “ภาพเล็ก” เช่นที่เกี่ยวกับยี่ห้อก็อาจจะมีความสำคัญเช่นกัน เพราะผมเองก็เพิ่งจะเข้าใจจริง ๆ หลังจากอ่านความเห็นของหมอคนหนึ่งว่า วัคซีนแต่ละยี่ห้อนั้นมีคุณสมบัติหรือคุณภาพต่างกันมาก โดยสิ่งที่วัคซีนป้องกันนั้นจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1) ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งก็ปรากฏว่าวัคซีนที่ดูเหมือนป้องกันได้มีแค่ 2-3 ตัวเท่านั้น และป้องกันได้ประมาณ 60-90% วัคซีนส่วนใหญ่ป้องกันการติดเชื้อโควิดไม่ได้เลย พูดง่าย ๆ ฉีดแล้วก็ติดเชื้อได้เท่า ๆ กับคนที่ไม่ได้ฉีดและสามารถเป็นตัวแพร่เชื้อได้ ระดับที่ 2) ก็คือ ป้องกันการเป็นโรคหรือมีอาการ นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่ฉีดวัคซีน แต่ก็ไม่ได้ 100% ส่วนใหญ่ป้องกันได้ประมาณ 50-60% แต่ตัวที่เด่น ๆ ใช้มากในอเมริกานั้น ป้องกันได้ถึง 90% ขึ้นไป ดังนั้น จึงน่าจะเป็นตัวที่ดีที่สุด ส่วนระดับที่ 3) ซึ่งก็สำคัญมากหรืออาจจะมากที่สุดก็คือ ความสามารถในการป้องกันอาการรุนแรงซึ่งอาจจะทำให้คนไข้ตายได้นั้น ปรากฏว่า วัคซีนตัวหลัก ๆ ของโลกที่ฉีดกันไปมากมายแล้วในประเทศต่าง ๆ สามารถป้องกันอาการรุนแรงถึงตายได้ 100% ซึ่งแปลว่าถ้าฉีดแล้วก็ค่อนข้างสบายใจได้ว่าถึงเป็นโรคก็คงไม่ตายแน่นอน ดังนั้น ก่อนที่จะฉีดวัคซีนจึงควรศึกษาประสิทธิผลของมันเสียก่อน ที่ต้องระวังก็คือ มีวัคซีนหลายตัวที่ไม่มีข้อมูลเหล่านี้ที่เป็นทางการและเผยแพร่ในเอกสารทางการแพทย์เลย ฉีดไปแล้วก็ไม่รู้ว่าป้องกันอะไรได้มากน้อยแค่ไหนจริง ๆ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/04/12/2491
ณ ตอนที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ ดัชนี Dow Jones ปิดทำการอยู่ที่ระดับ 33,800.06 จุด S&P 500 ปิดที่ระดับ 4,128.80 จุด อยู่ในจุดที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่จัดตั้งดัชนีขึ้นมา
การทะยานตัวขึ้นมาของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในรอบนี้ ต่างจากการบูมของตลาดหุ้นในช่วงปีที่แล้วที่ตอนนั้นพระเอกของรอบคือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งได้แรงซื้อในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาด และทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ Internet Platform กันมากขึ้น ทำให้ NASDAQ บวกขึ้นมาแล้วมากกว่า 100% นับตั้งแต่ดัชนีเจอจุดต่ำสุดเมื่อปลายเดือนมี.ค. ปีที่แล้ว
ขณะที่ดัชนี S&P 500 ถ้าจะนับจากช่วงเดียวกัน กลับบวกขึ้นมาได้เพียง 82% โดยหลัก ๆ เกินกว่า 12% เป็นการบวกนับตั้งแต่ต้นปี 2021 ขณะที่ฝั่ง NASDAQ นั้น นับตั้งแต่ต้นปีนี้ บวกได้ 8% (Underperform นิด ๆ)
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นกลุ่มเทค (มองผ่านดัชนี NASDAQ) ในปีนี้ดูจะแพ้ S&P 500 อยู่หน่อย ๆ ก็เพราะ เจ้าตัวที่แรกว่า “Bond Yield”
นับตั้งแต่คุณลุงโจ ไบเดน เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็เล่นใหญ่มาตลอด ตามนโยบาย American Rescue Plan ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเยียวยาจากวิกฤต COVID-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ผ่านเป็นกม.ไปแล้ว)
รวมไปถึงแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Plan) ซึ่งลุงโจเพิ่มแย้ม ๆ บอกเราเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยขนาดวงเงินมากกว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (น่าจะเป็นร่างกม.เสร็จภายในเดือนเม.ย.นี้)
ยังไม่นับรวมกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว 10 ปี ตามที่เคยได้หาเสียงไว้เมื่อปีที่แล้วด้วยขนาดวงเงิน 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ !!
เนื่องจาก Private Sector ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก ประกอบกับอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับที่สูง รัฐบาลสหรัฐฯ จึงต้องหยิบแผนกระตุ้นเบอร์ใหญ่ขนาดนี้มาแทน
และเพราะมันต้องการวงเงินการลงทุนจำนวนมหาศาล สิ่งที่ตลาดกังวลตามมาก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” ซึ่งเมื่อตลาดเชื่อว่าเงินเฟ้อจะมา มันเลยไปกระทบชิ่งทำให้นักลงทุนมีการเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ อายุยาว ๆ ส่งผลให้ Bond Yield หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย Bond Yield 10Y ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 1.75% ก่อนย่อลงมาตรงนี้ที่ 1.66% แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าวันเลือกตั้งสหรัฐฯ ปีที่แล้วที่อยู่แค่ 0.76% ค่อนข้างมากทีเดียว
ตัว Bond Yield นี้เอง ซึ่งถือเป็น Risk Free Rate ในการคำนวนหา Valuation ของราคาหุ้นในตลาด เมื่อมันปรับตัวขึ้น Cost of Capital ที่สูงขึ้น มันเลยทำให้หุ้นเทคฯ รวมถึงหุ้นสไตล์ Growth Play มีมูลค่าทางปัจจัยพื้นฐานสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันก็ขึ้นมาแพงอยู่ก่อนแล้ว
แรงขายหุ้นกลุ่ม Growth Play ซึ่งกระจุกอยู่ในหุ้นเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นนับตั้งแต่กลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา
มีตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ในการตรวจสอบตลาดหุ้นว่าแพงไปหรือยัง ฟองสบู่กำลังจะแตกหรือเปล่า นั่นก็คือ Buffett Indicator ซึ่งวิธีคำนวนของดัชนีตัวนี้ ก็ไม่ได้ยากอะไร วิธีก็คือ นำเอามูลค่าตลาด (market capitalization) มาหารกับ GDP ของสหรัฐฯ หรือ เรียกง่าย ๆ ก็คือ Market-cap-to-GDP ratio
ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปก่อนเกิดวิกฤตดอทคอมปี 2000 ดัชนี Buffett Indicator ขึ้นไปถึง 71% แล้วก็ตามมาด้วยฟองสบู่ดอทคอมแตกไม่นานหลังจากนั้น
มาวันนี้ Buffett Indicator เทรดอยู่ที่ 88% สูงกว่าช่วงวิกฤตดอทคอมไปเรียบร้อย ดังนั้น มันก็น่ากังวลอยู่พอสมควรนะว่า นับจากนี้ไป ตลาดหุ้นมันยังเหลือ Upside ให้ไปได้อีกไกลแค่ไหน?
ไม่ใช่แค่สัญญาณจาก Buffett Indicator เท่านั้นที่เตือนเราตอนนี้
สิ้นเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ปู่เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อ Bridgewater Associates ให้สัมภาษณ์กับทาง Yahoo Finance ว่า ตอนนี้ตลาดหุ้นกำลังก่อฟองสบู่มาได้ “ครึ่งทาง” ภาพคล้าย ๆ กับภาพการปรับฐานวิกฤต Dotcom และ Great Depression
โดยให้ความเห็นว่า หุ้นที่มีผลตอบแทนสูง ๆ หลาย ๆ ตัวได้รับประโยชน์จากการซื้อขายเก็งกำไร สภาพคล่องที่ล้นระบบอยู่ตอนนี้และเริ่มมีการไหลของเม็ดเงินลงทุนย้ายไปยังหุ้นที่ไม่ได้รับประโยชน์ดังกล่าว แต่ราคาก็ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วไม่แพ้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ซึ่งปู่เรย์ ก็ได้เตือนว่า สภาวะตลาดในอดีตที่เริ่มเห็นการเทรดหรือการลงทุนใด ๆ ที่ไม่ให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านราคาความถูกแพง เมื่อนั้นเอง มันกำลังเป็นสัญญาณของฟองสบู่ว่าใกล้จะแตกแล้วหรือเปล่า
ด้านคุณไมเคิล เบอร์รี นักลงทุนชาวอเมริกันผู้สร้างชื่อเสียงจากการทำกำไรมหาศาลจากการคาดการณ์วิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ได้ถูกต้องจนมีการเอาไปสร้างเป็นภาพยนต์เรื่อง The Big Short ก็ได้ออกมาเตือนผ่าน Twitter Account ของตัวเองมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังอยู่ในจุดที่เป็นอันตรายที่จะเกิดการปรับฐานรุนแรง รวมถึงตลาดฝั่ง Cryptocurrency ด้วย ก่อนที่จะลบข้อความของตัวเองทั้งหมดทิ้งในเวลาต่อมา
ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 เม.ย. มีคนไปลอง search Twitter Account ของไมเคิลดู พบว่า ถูกลบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เราก็ต้องมาดูกันต่อว่า ที่แกทำนายไว้ จะแม่นยำเหมือนกับตอนวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 หรือเปล่า
Bear Camp ไม่ได้มีแค่นี้ ฝั่งที่เป็นนักวิเคราะห์อยู่กับสถาบันการเงิน ก็มีเช่นเดียวกัน
Chief U.S. equity strategist จากซิตี้กรุ๊ป ได้ออก Research Paper มาเมื่อวันพุธว่า ตลาดหุ้นตอนนี้ไม่มีความน่าสนใจในการลงทุนเลย มันชวนให้นึกถึงภาพตลาดก่อนฟองสบู่แตกในปี 2000 ยังไงก็ไม่รู้
โดยมีการเปิดเผยตัวเลขดัชนี Panic/Euphoria sentiment indicator และอัตราส่วน S&P 500 market cap to sales ratio พบว่า อยู่ในระดับจุดที่สูงกว่าวิกฤตเดิม ๆ ไปไกลมากแล้ว รวมถึงแสดงความกังวลว่า นักลงทุนในตลาด ณ ตอนนี้ ให้น้ำหนักกับโอกาสที่ ปธน.โจ ไบเดน จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งนโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนอย่างมาก และทำให้ตลาดมีโอกาสปรับฐานได้รุนแรง
อ่านมาจนถึงตอนนี้ เราก็อาจจะเริ่มกลัวขึ้นมาแล้วว่า เฮ้ย! หรือว่า ฟองสบู่กำลังจะแตกจริง ๆ ?
งั้นมาอ่านมุมมองของฝั่ง Bull Camp กันบ้างนะครับ
คนแรกคือคุณจิมมี่ ไดมอน CEO ของ JPMorgan เพิ่งเขียนจดหมายให้นักลงทุนและถูกเปิดเผยเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา โดยเขาเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีโอกาสเติบโตไปได้ถึงปี 2023
เหตุผลที่ CEO แห่ง JPMorgan ให้ไว้ ก็คือ ขนาดของการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มหาศาล และการแจกเงินเข้ากระเป๋าประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนที่เคยมีหนี้ในระดับสูงสามารถลดภาระหนี้ลงแตะสัดส่วนที่ต่ำสุดในรอบ 40 ปี ทำให้มีอุปสงค์ต่อการบริโภคตามมาแน่นอนหากกระบวนการฉีดวัคซีนเสร็จสิ้น
ขณะที่ โครงการ QE ก็ทำให้มีเงินฝากในระบบธนาคารมากกว่า $3 Billion ซึ่งทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้และเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ตราบใดที่เฟดยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
ฝั่ง Double “J” คือ คุณเจอโรม พาวเวล และ คุณเจเนต เยลเลน ให้ความเห็นต่อ House Financial Services Committee เมื่อปลายเดือนมี.ค. ให้ความเห็นตรงกันว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ณ ระดับปัจจุบัน มูลค่าอาจจะดูแพงในบางกลุ่มหรือหุ้นบางตัวจริง แต่ก็เป็นหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายที่จะเข้าไปดูแลเสถียรภาพของตลาดในระยะยาว ซี่งในตอนนี้ถือว่า ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
ส่วนประธานเฟด คุณเจอโรม พาวเวล กล่าวว่า เฟดยังไม่ได้เริ่มหารือว่าจะเริ่มลดการซื้อสินทรัพย์รายเดือนที่ใช้เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเมื่อไหร่ และจากรายงานการประชุมเฟดที่เพิ่งเปิดเผยออกมา คณะกรรมการส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า กว่าที่เฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้ก็คือ ปี 2023 เลย
อีกคนที่มองมุมบวกต่อตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ ศาสตราจารย์เจอเรอมี ซีกาล จากมหาวิทยาลัย Wharton มองว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะวิ่งต่ออย่างน้อย ๆ ก็จนถึงสิ้นปี 2021 นี้
โดยศาสตราจารย์ให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นมี Upside จากจุดนี้อีก 30%-40% ก่อนจะมีการปรับฐานซัก 20% เกิดขึ้น และการปรับฐาน ถ้าจะเกิดขึ้น ก็น่าจะเกิดขึ้นเพราะเฟดถอนคันเร่ง จะลอการทำ QE หรือ เมื่อมีสัญญาณว่าจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้กับสัญญาณเงินเฟ้อหากเกิดขึ้นหลังจากนี้ โดยแกคาดการณ์ว่า เงินเฟ้ออาจพุ่งแรงกว่าที่เฟดคาดการณ์ไว้ได้อยู่ที่ระดับ 4%-5% ทีเดียว
ในส่วนของข้อมูลทางด้านตัวเลขสถิติที่น่าสนใจ ก็มีอีกตัวที่อยากให้ดู ก็คือ Shiller PE Ratio คำนวนโดยการเอาราคาตลาด หรือ Price หารด้วยกำไรต่อหุ้น หรือ EPS แต่ไม่ใช่แค่ปีเดียว มองเฉลี่ยย้อนหลังไปถึง 10 ปี
สาเหตุที่ Shiller PE Ratio ต้องหารด้วยกำไรย้อนหลัง 10 ปี เพราะระยะเวลา 10 ปีมันน่าจะครอบคลุม 1 รอบ Business Cycle แล้ว กำไรน่าจะนิ่งพอ
จะพบว่า ตอนนี้ Shiller PE Ratio อยู่ที่ 37.09x ถามว่าสูงไหม ก็สูงกว่าวิกฤตรอบอื่น ๆ แต่หากเทียบกับตอนวิกฤตซับไพรม์ปี 2008 ซึ่งพุ่งขึ้นไปเกือยแตะระดับ 45x แล้วก็ยังนับว่าห่างอยู่
แต่เห็นค่านี้แล้ว นักลงทุนอาจจะยิ่งไม่ Comfort เพราะมันดูเหมือนแพงมากนะเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นรอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ช่วง Dotcom
งั้นมาดูความเห็นคนดังในโลกการลงทุนอีกหนึ่งคนกันครับ
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา คุณอีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla ได้ทวีตถามความเห็นคุณแคที วู้ด CEO ของ ARK Invest ว่า “What do you think of the unusually high ratio of S&P market cap to GDP?” แปลไทยก็คือ คุณคิดว่ายังไงที่ Buffett Indicator มันสูงอยู่อย่างที่เราเห็นในตอนนี้?
มาดามแคที ตอบไว้น่าสนใจมากครับว่า GDP นั้นไม่ได้สะท้อนถึงการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีในปัจจุบัน เพราะมันไม่ได้คำนึงถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้และในอนาคต ซึ่งกำลังผลักดันระดับราคาสินค้าในภาพรวมลดลง และทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงตามไปด้วย
และมาดามยังตอบต่ออีกว่า “ในตอนเกิดวิกฤต Dotcom นั้น นักลงทุนไล่ตามความฝันก่อนที่เทคโนโลยีจะพร้อม และมันล่มสลายไปก็เพราะต้นทุนที่สูงเกินไปในขณะนั้น” โดยมาดามกล่าวเสริมอีกว่า “หลังจากเริ่มต้นใหม่ได้ 20-30 ปีความฝันก็กลายเป็นความจริง ณ วันนี้”
น่าสนใจครับว่า เราควรใช้ Framework ในการลงทุนแบบเดิมที่มันเคยเวิร์คในอดีต หรือ จริง ๆ แล้ว สถานการณ์โควิด-19 มันเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไปแล้วจริง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ขนาดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็น การเกิดขึ้นมาของเทคโนโลยีที่หลากหลายและรวดเร็ว การท้าทายอำนาจเก่าของสหรัฐฯ จาก Cryptocurrency อย่าง Bitcoin ที่หวังจะเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากถือดอลล่าร์ หรือ จากเบอร์สองของโลกอย่างจีนที่กำลังจะก้าวมามี GDP ใหญ่ที่สุดในโลกภายในไม่เกิน 10 ปี หลังจากนี้
ยังไม่รวมถึง โลกกำลังเข้าสู่ยุค Aging Society ซึ่งผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะใช้จ่ายชะลอลงหลังจากที่ตัวเองไม่มีรายได้เหมือนเดิม
ส่วนความเห็นส่วนตัวของผม คือ Go with The Flow ไปครับ พร้อมจัด Asset Allocation กระจายความเสี่ยงให้ดี ไม่มีใครรู้อนาคตอย่างแน่นอน เราต้องพร้อมทุกสถานการณ์
Mr.Messenger รายงาน
แหล่งที่มาข้อมูล :-
https://www.teamblind.com/post/buffett-indicator-breaks-200-UdLsNenR
https://finance.yahoo.com/news/ray-dalio-current-bubble-halfway-to-2000-and-1929-131918391.html
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”
พิเศษ
หากท่านสนใจเปิดบัญชีลงทุนเพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริง กรุณากรอกรายละเอียดสั้น ๆ ได้ ที่ www.finnomena.com/nter-exclusive-club เพื่อรับบริการพิเศษจากเรา (จำนวนจำกัด))
กรุงเทพฯ – 8 เมษายน 2564 FINNOMENA (ฟินโนมีนา) แพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนครบวงจรสำหรับนักลงทุน และที่ปรึกษาการลงทุนชั้นนำ ประกาศเซอร์ไพรส์แจกโบนัสวันหยุด หรือ Recharge Week ให้พนักงานเกือบ 200 คนได้หยุดพักผ่อนเต็มที่ 9 วันรวดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเป็นการชาร์จพลัง หลังจากทำงานท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 มาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี
นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA Group กล่าวว่า “FINNOMENIAN Recharge Week เป็นโบนัสพิเศษให้พนักงาน FINNOMENA (ชาว FINNOMENIAN) ได้วันหยุดเพิ่มอีก 2 วัน คือ ในวันจันทร์ที่ 12 และวันศุกร์ที่ 16 เมษายน เพื่อให้พนักงานได้มีเวลาให้ตัวเอง ได้พักผ่อน ทำกิจกรรมที่ชอบ และได้ใช้เวลากับครอบครัวและคนที่รักได้อย่างเต็มที่”
โดยพนักงานประจำเกือบทั้งหมดของบริษัทฯ จะได้รับโบนัสวันหยุดนี้ แต่จะยังมีทีมหลักๆ บางทีมที่ต้องเข้ามาดูแลระบบและให้บริการลูกค้า แต่ทุกคนที่มาทำงานช่วงวันหยุดพิเศษทางบริษัทจะชดเชยเป็นจำนวนวันลาพักร้อนเพิ่มจากเดิมที่เคยได้ เพื่อลดภาวะ Burnout หรือ ภาวะหมดไฟของคนทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่บริษัทไม่สามารถมองข้ามได้ และอ้างอิงจากผลสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติพนักงานทั่วโลก Gallup Poll พบว่าในปี 2561 พนักงานออฟฟิศ 2 ใน 3 ประสบกับภาวะ Burnout และมีแนวโน้มสูงมากขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วยรูปแบบการทำงานแบบ Work from Home ที่ทำให้พนักงานหลายคนทำงานนานขึ้นในแต่ละวันและเผชิญความเครียดสูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่ Burnout syndrome จึงทำให้ FINNOMENA มองเห็นความสำคัญในครั้งนี้และมอบ Recharge Week เป็นโบนัสพิเศษให้แก่พนักงาน
สำหรับทิศทางการขับเคลื่อนองค์กร ของ FINNOMENA ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2654 นี้ คือ “FINNOMENA Delight” มุ่งเน้นการสร้างความสุขทางใจให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน หรือ stakeholders ของ FINNOMENA ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนทั่วไปที่ใช้งานแพลตฟอร์ม, กลุ่มลูกค้าและนักลงทุน, กลุ่มที่ปรึกษาการลงทุน รวมถึงพนักงานของบริษัทฯ
“เพราะพนักงานถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัท เราต้องเริ่มจากการสร้างความสุขใจ หรือ delight ให้กับพนักงาน เมื่อพนักงานมีความสุขก็จะสามารถทำให้ผู้ชม นักลงทุน และที่ปรึกษาการลงทุนกว่าพันคนที่เป็นพันธมิตรกับ FINNOMENA มีความสุขต่อไป ซึ่งการทำให้ Stakeholders ทุกฝ่ายมีความสุข ถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายระยะยาว ตาม Mission ที่เราวางไว้” นายเจษฎา กล่าว
เกี่ยวกับ FINNOMENA
FINNOMENA เป็นหนึ่งในผู้นำด้านแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนครบวงจรสำหรับนักลงทุน และที่ปรึกษาการลงทุน โดยเป้าหมายหลักขององค์กรคือเพื่อปลดล็อกศักยภาพของนักลงทุนไทย ให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางเงินได้ตามที่คาดหวัง ปัจจุบัน FINNOMENA ดูแลนักลงทุนไทยกว่า 40,000 คน ด้วยยอดเงินลงทุนกว่า 16,000 ล้านบาท หรือประมาณ 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563) การให้บริการของ FINNOMENA ประกอบด้วย แพลตฟอร์มความรู้การลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญที่มียอดเข้าชมถึง 3.4 ล้านครั้งต่อเดือน แพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาการลงทุน และแพลตฟอร์ม Fund Supermart สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม finnomena.com
ล่าสุดเราได้เห็นการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ (US Dollar Index) จาก 89 ขึ้นมาสู่ 93 ในเวลา 1 เดือน จนทำให้นักลงทุนเริ่มมั่นใจในสกุลเงินดอลลาร์อีกครั้ง แต่ล่าสุดนายเรย์ ดาลิโอ เจ้าของกองทุนเก็งกำไรที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg.com โดยเค้าได้ย้ำเตือนนักลงทุนอยู่เหมือนเดิมว่า “การถือสกุลเงินดอลลาร์มีความเสี่ยง” ซึ่งเค้าได้พูดมาตลอด จนทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมากังวลอีกครั้ง
1. ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมาก ๆ จนทำให้ภาพการลงทุนโดยรวมไม่ว่าจะเป็นลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ดูเหมือนจะเป็นการลงทุนที่ไม่ฉลาดเอามาก ๆ เพราะเหมือนลงทุนตอนนี้ แต่กว่าจะได้คืนทุนคาดว่าต้องใช้เวลาอีก 500 ปี และนอกจากนั้นยังมีผลกระทบจากเงินเฟ้อเข้าไปด้วย จากการคาดการณ์เงินเฟ้อที่กำลังจะมาถึง ส่งผลให้นักลงทุนรายใหญ่ตอนนี้พากันแห่เทขายตราสารหนี้สหรัฐกันยกใหญ่
2. การ “Overspending and Overborrowing” หรือก็คือการที่รัฐฯ ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง ซึ่งก็ต้องมาควบคู่กับการกู้ยืมเงินมหาศาล แต่ปัญหาก็คือการกู้ยืมมหาศาล รัฐฯ ก็จะต้องออกตราสารหนี้มหาศาลเช่นกัน แต่ประเด็นก็คือ “ดันมาออกตราสารหนี้จำนวนมาก ในช่วงเวลาที่ไม่มีใครอยากจะซื้อมากที่สุด” ประกอบกับจากข้อ 1 จะเห็นว่าคนแห่กันเทขาย ทำให้ตราสารหนี้เกิด Oversupply อย่างหนัก
3. จากข้อ 1 และข้อ 2 ที่นำมาสู่ปัญหา Oversupply ของตราสารหนี้ หรือพูดให้ง่ายคือ ตราสารหนี้ออกมาไม่มีใครอยากซื้อ กองอยู่เป็นภูเขา ซึ่งนายเรย์เค้าบอกว่าวิธีการแก้ปัญหานี้มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีครับ
4. นายเรย์ ยังได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นภาษีของสหรัฐในอนาคตอีกด้วย โดยกล่าวว่า “เมื่อรัฐบาลกู้เงินจำนวนมาก ภาระดอกเบี้ยจำนวนมากก็จะตามมาในอนาคต และรายได้หลัก ๆ ของรัฐบาลที่จะเอามาจ่ายดอกเบี้ยก็คือภาษีจากประชาชนนั้นแหละซึ่งจุดนี้จะทำให้เกิดสภาวะการขึ้นภาษีบวกกับเกิดเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้จะทำให้เงินทุนไหลออก เพราะบรรยากาศไม่เอื้อแก่การลงทุนซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นรัฐบาลต้องพยายามออกมาตรการบางอย่างเพื่อกันเงินไหลออกจากประเทศแน่ ๆ”
จากเหตุผลข้างต้นทั้ง 4 ประการแล้ว อาจจะสรุปได้ว่า ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะถัดไปแน่ ๆ นั่นแปลว่าอาจส่งผลให้ราคาทองคำขึ้นในลำดับถัดไป
เทรดเดอร์ อินเตอร์โกลด์
Apple ประกาศจ้างพนักงานทางด้านวิศวกรรมเพื่อวิจัยระบบ 5G และ 6G ประจำสำนักงานที่ San Diego และ Silicon Valley
หลังจาก Apple เปิดตัว iPhone 12 ที่รองรับ 5G ก็เริ่มส่งสัญญาณว่าจะหันมาพึ่งพาชิปที่สร้างเองมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักคงมาจากการที่ Apple พิจารณาแล้วว่าบริษัทพึ่งพาชิป RF และ 5G Modem จากทาง Qualcomm มากเกินไป
(เกร็ดความรู้: ชิพ RF หรือ Radio Frequency เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สายที่ทำให้มือถือสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ โดยเฉพาะในยุค 5G ที่ชิพ RF มีราคาแพงมากเพราะต้องรองรับความถี่สูงกว่า 4G)
ในอดีต Apple และ Qualcomm มีการฟ้องร้องกันเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรมากมาย (มีเคสที่ Apple ฟ้องศาลว่า Qualcomm ขายชิปแพงเกินไป!!) ซึ่งสุดท้ายศาลตัดสินให้ Qualcomm ชนะ และบังคับ Apple ต้องจ่ายเงินค่าปรับด้วย
หลังจูบปากกันได้ Apple ก็ขอทำสัญญาระยะยาวรับมอบชิป RF และ 5G Modem จาก Qualcomm ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ เมษายน 2019 (มีเงื่อนไขให้ต่ออายุได้อีก 2 ปีด้วย ลากยาวไปได้ถึง 2027)
ในอดีต Intel เคยพยายามคิดค้น 5G Modem ให้ Apple เพื่อลดการพึ่งพา Qualcomm แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่รอด ส่งผลให้ Intel ต้องยอมขายธุรกิจนี้ให้ Apple ไปพัฒนาต่อ จึงมีแนวโน้มว่าถ้าทำสำเร็จ จะได้ใช้ชิปในเครือตัวเองจริง ๆ
อย่างไรก็ตาม Qualcomm และกองเชียร์ก็ยังไม่ต้องเสียวสันหลังมากกับข่าวนี้ เพราะว่าดีลกับ Apple ยังมีสัญญาระหว่างกันอีกหลายปี และสุดท้าย Apple อาจวิจัยชิปเองไม่สำเร็จก็ได้
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/4357214534293647
“Hello! IPO รายการที่จะพาทุกคนพบกับกองทุนเปิดใหม่แกะกล่องประจำสัปดาห์ พร้อมแนะนำกองทุน IPO ที่น่าสนใจ”
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
องค์ประกอบที่สำคัญในการลงทุนอีกหนึ่งอย่างที่หลายคนมักจะนึกไม่ถึงคือตะกร้าหุ้นหรือตะกร้าสินทรัพย์ที่เราสนใจเข้าลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึงแต่กลับเป็นสิ่งท้ายๆ ที่นักลงทุนจะพูดถึงมัน เราจึงอยากจะหยิบมาขยายความและตีแผ่ในบางมุมที่เรามองข้ามไปครับ
หากพูดถึงเรื่องการสร้างตะกร้าสินทรัพย์ที่เราสนใจหรือบางท่านจะเรียกว่า Watch List คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการคัดสินทรัพย์ที่เราสนใจเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อจับตาดูอย่างใกล้ชิดแล้วเข้าซื้อขายเมื่อมีโอกาส ส่วนดัชนีคือการเอาหุ้นหลายตัวมารวมกันแล้วคำนวณเป็นภาพรวมอย่างเช่น SET Index , SET50 , SETHD เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงทั้ง “วิธีการและวัตถุประสงค์” มีความคล้ายคลึงกันหรืออาจเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้
ในยุคแรกนักลงทุนพยายามสร้างดัชนีหุ้นเพื่อมาดูว่าในวันนั้นสินทรัพย์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ขึ้นหรือลง จนเป็นที่มาของการเอาหุ้นในตลาดมาคำนวณด้วยสูตรต่างๆ จนกลายเป็นดัชนีหลายประเภทแบบทุกวันนี้ ซึ่งในการคัดสินทรัพย์มาทำเป็นดัชนีก็จะเริ่มมี Condition ที่หลากหลาย ไม่ใช่เอาหุ้นทั้งตลาดมาคำนวณแบบเดิมอีกต่อไป เช่นการคัดตามขนาดหรือ Market Cap การคัดที่ Dividend หรือคัดตามรายได้หลักของธุรกิจ (เป็นที่มาของการแบ่ง Sector)
สำหรับแฟนพันธุ์แท้กองทุนจะทราบดีว่ากองทุนรวมดัชนีมีเยอะมากๆ ทั่วโลก เราลองมาทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกสักนิดว่ากองทุนรวมดัชนีคืออะไร
กองทุนดัชนี หรือ Index Fund คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นดัชนี หรือก็คือกองทุนที่ลงทุนโดยพยายามเลียนแบบให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี จากความหมายข้างต้นนี้แปลว่าถ้าเราเลือกสินทรัพย์หรือหุ้นเข้ามาประกอบเป็นดัชนีได้ดีแล้วเราลงทุนตามดัชนีนั้นไป ผลลัพธ์ของการลงทุนก็จะดีขึ้นตามไปโดยอัตโนมัติ จนมีนักลงทุนและสถาบันที่พยายามพัฒนาดัชนีใหม่ๆ จาก Condition ใหม่ๆ อยู่เสมอ ที่มีการพูดถึงกันเยอะก็เช่น MSCI
เป็นดัชนีอ้างอิงของบริษัท Morgan Stanley Capital International (MSCI) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำดัชนีราคาหุ้นชั้นนำของโลก มีขึ้นมาเพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ในการคัดเลือกหุ้นและดูผลตอบแทน โดยมีการแบ่งเป็นสินทรัพย์หลายประเภท เช่นหุ้น ก็จะแยกเป็นอเมริกา จีน ไทย หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ยังไม่พัฒนา ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ตลาดเงิน เป็นต้น และมีเกณฑ์การคัดในมิติที่หลากหลาย เช่น สภาพคล่อง , Free Float , Market Cap พอได้เป็นดัชนีมาแล้ว กองทุนประเทศต่างๆ ก็มักจะลงทุนตามดัชนีเหล่านั้น เปรียบเหมือนว่าเรามีตัวกรองมาแล้วส่วนหนึ่ง จากนั้นจะจับจังหวะหรือซื้อขายตามดัชนีไปเลยก็ทำได้เช่นเดียวกัน
เมื่อเรามีดัชนีที่แบ่งประเภทสินทรัพย์ แบ่งตามขนาด ตามรายได้หลัก ตามประเทศ ตามภูมิภาค จุดเปลี่ยนที่ 2 ของการพัฒนาดัชนีให้หลากหลายมากกว่าเดิมคือ จัดตาม Factor หรือปัจจัยที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น
ซึ่งการทำดัชนีสินทรัพย์ตาม Factor แบบนี้ทำให้มีความแตกต่างของดัชนีเป็นอย่างมาก พูดง่ายๆ คือทุกดัชนีจะมีคาแรคเตอร์เป็นของตัวเอง การเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงก็อาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าในช่วงเวลานั้นนักลงทุนให้น้ำหนักกับปัจจัยใด หรือธีมใดมากเป็นพิเศษ นั่นทำให้เวลาที่เราลงทุนตามดัชนีพอร์ตของเราก็จะแตกต่างกันพอสมควร
จากภาพประกอบด้านบนเป็นการจัดพอร์ต 2 แบบคือ Low Beta และ High Beta ซึ่งจะสังเกตุเห็นว่าผลลัพธ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้จะไม่นำเรื่องจังหวะการซื้อขาย น้ำหนักการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย เพียงแค่จัดตะกร้าให้เหมาะสมกับสินทรัพย์และเหมาะสมกับความเชื่อของตัวเราเองก็สร้างความแตกต่างได้ถึงขนาดนี้
ถ้าหากว่าเราลองนำ Factor ดังกล่าวข้างต้นมาทดสอบกับตลาดหุ้นไทยบ้าง ผลลัพธ์จะแตกต่างกันมากขนาดไหน เราจึงทำการทดสอบให้ดูง่ายๆ โดยใช้ปัจจัยเรื่องของขนาดหรือ Size เป็นตัวแบ่ง ซึ่งเราแบ่งแบบหยาบๆ คือ
โดยกลยุทธ์และวิธีการลงทุนทั้ง 2 แบบจะเหมือนกัน ต่างกันแค่เกณฑ์ในการคัดตะกร้าหุ้นเท่านั้นเอง ลองมาทายกันดูครับว่ากลุ่มที่ 1 หรือ 2 จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากันหรือไม่ อย่างไร
(Data & Template จาก www.siamquant.com)
ช่วงเวลาที่เราทำการทดสอบคือปี 2010 จนถึง 2021 ใช้วิธีการลงทุนแบบผสมทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งให้ผลลัพธ์ของพอร์ตที่ดีมากๆ คือมี CAGR 34% , Max DD 24% , %Win 52 , Longest DD 35 เดือน แล้วหากเทียบกับการซื้อถือยาวในดัชนีอย่าง SET Index (เส้นสีดำ) จะเห็นว่ามีความโดดเด่นกว่าเป็นอย่างมาก
(Data & Template จาก www.siamquant.com)
จากภาพนี้ผมเชื่อว่าทำให้หลายท่านแอบตกใจกับผลลัพธ์ ว่าแค่แบ่งกลุ่มจาก Size แบบหยาบๆ ยังสามารถทำให้พอร์ตแตกต่างได้ขนาดนี้เลยเหรอ คือมี CAGR 8.7% , Max DD 24.5% , %Win 45 , Longest DD 54 เดือน เมื่อเทียบกับการ Buy and Hold ในดัชนีอย่าง SET Index จึงมีการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงกัน เพราะตลาดบ้านเราคำนวณดัชนีตาม Market Cap ยิ่งเราทดสอบและจัดกลุ่มหุ้นที่ราคาสูงกว่า 100 บาท ทำให้หุ้นในกลุ่มที่เราคัดกับดัชนีภาพรวมตลาดอาจจะเป็นตัวเดียวกันนั่นเองครับ
สิ่งที่เราต้องการสื่อในบทความนี้ก็คือ การคัดตะกร้าหุ้นหรือตะกร้าสินทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึงในเชิงของการลงทุนแบบ Quantitative จากผลลัพธ์ที่เราแสดงให้เห็นนี้ผมเชื่อว่านักลงทุนทุกคนจะหันมาให้ความสำคัญและไม่ละเลยมันเหมือนที่เราเคยทำกันในอดีตครับ
เมื่อวิธีคิดเปลี่ยน วิธีการก็จะเปลี่ยน
เมื่อวิธีการเปลี่ยน ผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยน
ขอให้ทั้งวิธีคิด วิธีการ และผลลัพธ์ของพอร์ตทุกคนเปลี่ยนไปในทางที่ดีหลังจากที่ติดตามเรามาอย่างยาวนานครับ
Appendix
ภาพประกอบจากกลยุทธ์ซื้อหุ้นปันผล
ZIPMEX
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
รายได้รวม Xiaomi เติบโต +24% YoY ซึ่งธุรกิจที่โตแรงที่สุดยังมาจากการขายมือถือทั้งจากแบรนด์ Mi และ Redmi ที่จำนวนเครื่องขายได้มากขึ้น 31% YoY (รวมขายได้ 43.4 ล้านเครื่อง) เป็นแบรนด์จีนเบอร์ 1 ไปแล้ว ไล่ตาม Apple, Samsung ใกล้ขึ้นเรื่อย ๆ
และที่น่าสนใจคือตลาดในจีน Xiaomi สามารถพลิกกลับมาเติบโตได้แล้ว ซึ่งในช่วงเทศกาล 11.11 Single day มียอดขายอันดับ 2 เป็นรองเพียง iPhone เท่านั้น
ผู้บริหารให้ความสำคัญกับตลาด Premium มากขึ้น (มือถือราคาเกิน 12,000 บาท) โดยจากตัวเลขในปี 2020 สามารถขายมือถือกลุ่มนี้ได้ 10 ล้านเครื่อง เป็นตัวช่วยเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อเครื่องได้อย่างมาก พา Gross margin เพิ่มไปด้วย
จากการเก็บข้อมูลยอด Search ใน WeChat ช่วงเปิดตัวมือถือ Mi 11 พบว่ามีการค้นหามากกว่า 200 ล้านครั้งภายในวันเดียว แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ Xiaomi เริ่มติดกระแสในจีน
เริ่มบุกตลาดขาย Offline ในจีนมากขึ้นด้วยการเร่งเปิด Mi Store เพิ่มขึ้น 2,200 สาขาภายในเวลาเพียงแค่ 3 เดือน ซึ่งเป้าหมายคือจะต้องมี Mi Store ทุกเมืองในจีน แต่ความลับคือบริษัทใช้การ Partner ให้บริษัทอื่นลงทุนสร้างสาขา ส่วน Xiaomi จะเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีในสาขาให้สามารถ operate ได้มีประสิทธิภาพ (ได้เงินลงทุนใหม่ฟรี ๆ)
ขณะที่การขายในต่างประเทศก็สามารถโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดยุโรปตะวันตกที่คนมีกำลังซื้อสูง ปัจจุบันมี Market share อยู่อันดับที่ 3 แล้ว และมือถือที่ขายได้เยอะในโซนนี้คือแบรนด์ Premium ที่มี Gross margin สูง
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าการที่ Huawei ถูกแบนเป็นตัวช่วยให้ Xiaomi แย่งตลาดตรงนี้มาได้เยอะมาก
ธุรกิจที่ค่อนข้างโตช้าคือ IoT ยอดขายเพิ่มเพียง 8% YoY ชะลอจากปีก่อนมาก แต่สินค้าที่มีแนวโน้มจะสร้างประโยชน์ให้บริษัทได้มากอย่าง Smart TV ยังคงครองแชมป์ market share อันดับ 1 ในจีนเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากระบบ Smart TV และ Mi box (กล่องทีวี) สามารถเป็นตัวคุมช่องทางโฆษณา connect TV ได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมี MAU (Monthly active user) 41 ล้านคน เป็นน้อง ๆ Roku ของฝั่งสหรัฐเลย (นักวิเคราะห์ยังแทบไม่พูดถึงเรื่องนี้)
ธุรกิจส่วนสุดท้าย Internet Services ได้ประโยชน์จากการที่ยอดขายมือถือเพิ่มขึ้นหนุนรายได้จากโฆษณาให้โต 23% YoY ดัน Gross margin รวมของธุรกิจนี้ขึ้นมาเป็น 68% และเริ่มมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
Gross margin รวมทั้งบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้นทีเดียว ล่าสุดเพิ่มมาเป็น 16% ส่วนใหญ่มาจากการขายมือถือราคาแพงได้มากขึ้น และรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น
Xiaomi ลงทุนในบริษัทอื่นรวม 310 บริษัท เน้นที่บริษัทสัญชาติจีน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วลูก ๆ เหล่านี้มีตัวดังที่เข้า IPO แล้วด้วย เช่น Roborock, Kingsoft Cloud, Xpeng และการที่ตลาดหุ้นจีนกับฮ่องกงพุ่งแรงในไตรมาส 4 ช่วยให้เงินลงทุนของ Xiaomi เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลดีต่อราคาหุ้นด้วย (แต่ตอนนี้หุ้นจีน ฮ่องกงก็ถล่มลงมาค่อนข้างเยอะ)
สถานการณ์คำสั่งแบนเป็นอย่างที่รู้กันคือ ศาลสหรัฐปลดแบนให้ Xiaomi ชั่วคราว และบริษัทกำลังพยายามยื่นเรื่องให้เป็นคำสั่งถาวร
ปัญหาหลักในช่วง 3 เดือนนี้เป็นเรื่องชิปขาดแคลน ซึ่งกระทบทั้งอุตสาหกรรมมือถือ แบรนด์ดังทุกเจ้าทั้ง Apple, Xiaomi, Oppo, Vivo ต่างมีสินค้ามาขายลดลง แต่แน่นอนเรื่องนี้มีคนได้ประโยชน์ถ้าเราหาเจอ
Question: การแข่งขันจากเครือ BBK Electronics (เจ้าของ Oppo, Vivo, Realme, Oneplus) มองยังไงบ้าง ?
Answer: ตลาดมือถือคงแบ่ง ๆ กันไป แต่ Xiaomi ได้เปรียบในกลุ่มมือถือราคาแพงพอสมควร เพราะวางตัวแบรนด์ให้เด่นในตลาดนี้ตั้งแต่ Huawei โดนแบน เช่นเดียวกับ IoT ที่มี partner เยอะกว่าแบรนด์อื่น
Question: ชิปขาดตลาดแล้วผู้บริหาร Xiaomi บอกว่าส่วนต้นทุนที่ขึ้นมาจะผลักภาระให้ผู้บริโภคจะทำได้ไหม ?
Answer: คิดว่าได้บางส่วนแต่ต้องยอมรับว่าตลาดแข่งขันกันหนัก ราคาอาจขึ้นได้ไม่เยอะ (แต่หลังจาก BottomLiner มาทบทวนเพิ่ม คิดว่ามีโอกาสที่ Xiaomi จะฉวยโอกาสเปิดตัวมือถือราคาแพงช่วงนี้ อาศัยจังหวะที่ตลาดมือถือผลิตไม่ทันทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกไม่มากนัก)
หลังจากนี้มีการถามไปถึงหุ้น Intel, Twitter, หุ้นจีน ซึ่งมีผู้รู้ท่านอื่นเข้ามาช่วยตอบด้วย เพจ BottomLiner ต้องขอขอบคุณสังคมนักลงทุนดี ๆ แบบนี้ด้วยนะครับ
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/4379278235420610
ผมเข้าใจว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ของบริษัทจดทะเบียนตั้งแต่ต้นปี 2564 จากที่เคยรายงานชื่อผู้ถือหุ้นทุกคนที่ถือหุ้นตั้งแต่ 0.5% ขึ้นไป เป็นการรายงานเฉพาะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเพียง 10 อันดับ ผมเองไม่รู้ว่าเหตุผลจริง ๆ คืออะไร แต่ก็รู้สึกว่าข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นคงจะ “น้อยลง” เพราะ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” 10 อันดับแรกนั้น ส่วนใหญ่จะมีหุ้นมากกว่า 0.5% ของบริษัท ที่จะมีน้อยกว่า 0.5% ก็มักจะเป็นบริษัทที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนไม่นานและ/หรือเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่เจ้าของเดิมไม่ขายหุ้นออกมา เช่นหุ้น AOT OR หรือ BCPG เป็นต้น
การ “ลด” การเปิดเผยข้อมูลชื่อผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ปรากฏขึ้นหลังจากบริษัทปิดสมุดทะเบียนเพื่อกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จะมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้นและการจ่ายปันผล ได้ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยรู้สึก “หงุดหงิด” และเห็นว่าตลาดไม่ควรเปลี่ยน เพราะสำหรับนักลงทุนแล้ว ข้อมูลรายชื่อ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” มีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนอยู่ไม่น้อย แม้แต่ในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ เวลาที่มีการรายงานว่าบัฟเฟตต์เข้าไปลงทุนในบริษัทไหน หุ้นตัวนั้นก็มักจะวิ่งกระฉูด เช่นเดียวกับเวลาที่กองทุนของอาร์คอินเวสเม้นต์เข้าไปลงทุนในหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็ปรับตัวขึ้นแรงเหมือนกัน เพราะคนที่ “เล่นหุ้นตามเซียน” นั้น มีมากมายโดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นมีการเก็งกำไรสูงมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้
นอกจากคนที่ตั้งใจจะ “ลอกหุ้น” เพราะคิดว่าเป็นกลยุทธ์ที่จะทำกำไรได้ดีและเร็วมากแล้ว ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มและหลายคนที่อยากจะให้ตลาดนำข้อมูลเดิมกลับมาด้วย เพราะเขาได้ใช้ข้อมูลนั้นในการศึกษาและตัดสินใจลงทุนโดยไม่ใช่เป็นการลอกหุ้น แต่เป็นเรื่องของการนำมาศึกษาต่อ พวกเขาอาจจะคิดหาเหตุผลว่าทำไม “เซียน” ซึ่งรวมถึงนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่หรือผู้บริหารกองทุนรวมจึงสนใจและเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น นี่เป็นแค่จุดตั้งต้นให้พวกเขาได้ศึกษาต่อไปว่าเขาควรจะลงทุนตามไหม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พวกเขาเคยติดตาม “เซียน” เหล่านั้นมานานพอจะรู้ว่าแต่ละคนมีสไตล์การลงทุนอย่างไร และถ้าเขามีความชื่นชอบหรือมีสไตล์แบบเดียวกัน เขาก็สามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไรกับหุ้นตัวนั้น
คนที่เป็นสื่อทางด้านการเงินและการลงทุนเองนั้น การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งนี้ก็อาจจะพบว่ารายงานและการศึกษาเกี่ยวกับ “ความมั่งคั่งของนักลงทุน” ที่คิดจากการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีความถูกต้องน้อยลงไปอีกเนื่องจากคนที่ถือหุ้นเกิน 0.5% แต่ต่ำกว่า 10 อันดับแรกของผู้ถือหุ้นสูงสุดจะไม่ถูกรายงาน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มีลักษณะ “มหาชน” จริง ๆ นั้น รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 อันดับมักจะเป็นสถาบันหรือเป็นคัสโตเดียนหรือนอมินีที่ถือหุ้นแทนผู้ถือหุ้นอื่นจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
ส่วนตัวผมเองที่เป็นนักลงทุนแบบ VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและไม่เคยคิดที่จะใช้ข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นตัวตัดสินว่าหุ้นดีหรือไม่ดีหรือควรซื้อหรือไม่นั้น ผมเองก็สนใจ “รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่” หรือรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นอย่างมี “นัยสำคัญ” ซึ่งรวมถึงคนที่ถือหุ้นตั้งแต่ 0.5% อย่างที่เคยเป็นด้วย ที่จริง แนวทางที่ควรจะเป็นก็คือ ให้รายงานแบบเดิมแต่ถ้าบริษัทไหนมีผู้ถือหุ้นที่ถือถึง 0.5% น้อยกว่า 10 รายก็ให้รายงานผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ราย ด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้ไม่ต้องตัดรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แบบเดิมออก และการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะดูดีขึ้นเพราะมันเพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลง
เหตุผลที่ผมสนใจข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีนัยสำคัญก็คือ ผมดูเพื่อเอาไว้ “อ่านหุ้น” ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ถือหุ้นหลัก ๆ จำนวนมากก็คือสถาบันโดยเฉพาะจากต่างประเทศโดยที่มีนักลงทุนส่วนบุคคลที่เป็นคนไทยน้อย แบบนี้ผมก็บอกได้ว่าหุ้นของบริษัทจะเป็นหุ้นที่ทุกอย่าง “อิงกับพื้นฐานที่แท้จริง” ราคาหุ้นจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานและผลประกอบการของบริษัทและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องภาวะดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อในท้องตลาด เป็นหลัก เราจะสบายใจได้ว่าไม่มีใครไปเชียร์ สร้างสตอรี่หรือปั่นหุ้น ราคาหุ้นโดยทั่วไปก็จะไม่หวือหวาขึ้นลงแรงโดยไม่มีเหตุผลพิเศษเช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
หุ้นขนาดกลางและอาจจะรวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดเป็นบุคคลธรรมดาและผู้ถือหุ้นรอง ๆ ลงมาส่วนใหญ่ก็เป็นบุคคลธรรมดา โดยมีผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันอยู่บ้างแต่มักจะไม่ใช่ที่เป็นคัสโตเดียนหลัก ๆ ที่เป็นตัวแทนของนักลงทุนต่างประเทศ ในกรณีแบบนี้ผมก็จะต้องระมัดระวังเวลาวิเคราะห์หุ้น เนื่องจากเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่หรือแม้แต่นักลงทุนรายใหญ่อาจจะเป็นคน “เล่นหุ้น” และหุ้นอาจจะถูก “จัดการ” หรือ “ปั่น” ให้มีราคาที่สูงกว่าพื้นฐานที่ควรเป็น เพราะนั่นคือผลประโยชน์ของเขา โดยวิธีที่จะทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงนั้น ก็มักจะรวมถึงการทำให้กิจการดูดี มีสตอรี่และการเติบโตทั้งปัจจุบันและอนาคตโดยที่ความเป็นจริงอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรือน้อยกว่ามาก นอกจากเรื่องของสตอรี่แล้ว ราคาหุ้นก็มักจะเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการชี้นำให้คนมีความลำเอียงว่าบริษัทเป็นกิจการที่ดีเยี่ยมกว่าความเป็นจริงได้โดยเฉพาะกรณีที่หุ้นวิ่งขึ้นไปรุนแรงในเวลาอันสั้น
ข้อมูลผู้ถือหุ้นใหญ่ยังบอกถึงระดับของการ “Corner” หุ้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นใครหรืออยู่กลุ่มเดียวกันหรือเปล่า คนใหม่ที่เข้ามาน่าจะเป็นนักลงทุนแนวไหน หลังจากนั้นราคาหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร เช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถึงจะไม่ได้นำมาใช้แต่ผมก็พยายามมองให้ออกว่าเกิดอะไรกับหุ้นและหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร แน่นอนว่าบางครั้งผมก็เข้าไปวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทบ้างเพื่อจะอ่านว่าเกิดอะไรขึ้นและอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป นี่เป็น “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ได้เอามาใช้ แต่ช่วยให้ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทำนองอย่างที่ ชาร์ลี มังเกอร์ พูดว่า “ผมอยากรู้ว่าผมอาจจะตายที่ไหนเพื่อที่ผมจะได้ไม่ไปที่นั่น”
ทั้งหมดที่พูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ผมเองก็ไม่รู้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย “ความเป็นส่วนตัว” ของข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังออกมาใหม่หรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่ต้องปรับแก้เรื่องรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีกฎหมายแบบนั้น ถ้าหากว่าตลาดต้องการที่จะคงการเปิดเผยข้อมูลแบบเดิมเอาไว้ ผมคิดว่าก็น่าจะมีทางแก้ได้ บางทีตลาดอาจจะต้องกำหนดเกณฑ์ของการจดทะเบียนซื้อขายหุ้นว่าบริษัทจะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นที่ถือเกิน 0.5% ของบริษัท คนที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นก็อาจจะต้องยอมตามนั้น อะไรทำนองนี้ เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ถือตั้งแต่ 0.5% ขึ้นไปก็คือ ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปไม่รู้ แต่ผมเข้าใจว่าบริษัทเองหรือผู้บริหารบริษัทกลับสามารถขอรายชื่อผู้ถือหุ้นได้ทุกเวลาจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งนี่ก็ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของคนภายในบริษัทกับบุคคลภายนอก
ประเด็นสำคัญที่อาจจะต้องถกเถียงกันก็คือ ข้อมูล “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” นั้น เป็นสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของกิจการที่จะมีผลต่อราคาหุ้นหรือไม่? และแค่ไหนถึงจะถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้นแค่ 0.2% แต่อยู่ใน 10 อันดับผู้ถือหุ้นใหญ่สุดนั้นถือว่าเป็นรายใหญ่หรือไม่? สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผมก็ไม่รู้ว่าเคยมีการพูดคุยถกเถียงกันหรือไม่ และส่วนตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง อย่างเช่นเรื่องของพื้นฐานของกิจการนั้น ถ้าคิดเร็ว ๆ ผมเองก็คิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวว่าใครเป็นผู้ถือหุ้น แต่พอมาคิดอีกทีก็ไม่แน่ใจ อย่างหุ้นเทสลานั้น ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ อีลอน มัสก์ หรือเขาขายหุ้นไปจนเหลือไม่ถึง 10% หรือ 5% แบบนี้ เราจะไม่คิดหรือว่าพื้นฐานของกิจการอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว เพราะถ้าไม่มี อีลอน มัสก์ เทสลาอาจจะไม่โดดเด่นอีกต่อไปก็เป็นได้
พูดถึงเรื่องของข้อมูลที่เปิดเผยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยรวมเองนั้น ผมมีความรู้สึกว่าเราเคยเปิดเผยค่อนข้างมากและดีแม้ว่าข้อมูลบางอย่างอาจจะ “ช้า” บ้าง แต่ในระยะหลัง ๆ หลาย ๆ ปีมาแล้วที่ไม่ค่อยมีอะไรเคลื่อนไหว ข้อมูลบางอย่างคนใช้จะต้อง “ซื้อ” อาจจะเนื่องจากความต้องการที่จะสร้างรายได้ให้กับตลาดซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตก็อาจจะต้องปรับตัวเป็นบริษัท “ธุรกิจ” และในที่สุดก็อาจจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เหมือนกับอีกหลายแห่งในโลก แต่ผมเองกลับคิดว่า เรื่องของข้อมูลนั้น ตลาดควรยอมจ่ายหรือให้ฟรี เพื่อสร้างให้ตลาดมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากกว่า
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://blog.settrade.com/blog/nivate/2021/04/05/2488
“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”
หัวข้อ
0:00 Start
1:15 ประวัติคร่าว ๆ เกี่ยวกับ Benjamin Graham
2:50 แนวคิดและกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจของ Benjamin Graham
8:40 สูตรการคิดมูลค่าหุ้นอันเลื่องชื่อของ Benjamin Graham
11:47 ผลตอบแทนการลงทุนย้อนหลังของ Benjamin Graham
วิลเลียม โอนีลเป็นนักลงทุนหุ้นลูกผสมกึ่งกลางระหว่างสายพื้นฐานและเทคนิคอล เป็นคนแรก ๆ ที่บุกเบิกการลงทุนผสานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในการวิจัยและใช้ในการตัดสินใจ และเริ่มต้นเส้นทางชีวิตผ่านการเป็นโบรคเกอร์หุ้น
อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการทำกราฟราคารายวันให้กับนักลงทุน โดย William O’Neil มีสไตล์การลงทุนที่เป็นแรงบันดาลใจมาจาก Gerald Loeb ผู้ที่เชื่อว่าตลาดหุ้นนั้นมีความเสี่ยงเกินไป เกินกว่าที่จะลงทุนไปในระยะยาว ซึ่งเป็นมุมมองตรงข้ามกับสไตล์การลงทุนแบบนักลงทุน VI
Bernard Baruch นักลงทุนผู้เติบโตมากับตลาดขาขึ้นในยุคหลังสงคราม และทำการขายหุ้นก่อนที่จะเกิดการสิ้นสุดของตลาดขาขึ้นในรอบดังกล่าว
รวมถึง Jesse Livermore นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสังเกตพฤติกรรมราคา ทำการ short จน JPMorgan จนถึงกับต้องรอขอชีวิตให้ Jesse Livermore ช่วยปิดสถานะดังกล่าวลง
หากพูดถึง วิลเลียม โอนีล ถ้าไม่พูดถึงกลยุทธ์อันเลื่องชื่อของเขาก็คงจะไม่ได้
วิลเลียม โอนีล เป็นเจ้าของผู้คิดค้นโมเดลการลงทุนอย่าง CANSLIM โมเดลการลงทุนอันโด่งดัง ที่ใช้เฟ้นหาหุ้นเติบโตที่ใช้ส่วนผสมระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคอลเข้ามาช่วย
โดยโมเดล CANSLIM เป็นโมเดลกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเน้นการหาหุ้นให้เจอ ก่อนที่นักลงทุนสถาบันจะเข้าไปลงทุนอย่างเต็มสูบซึ่งส่งผลหาราคาถูกผลักดันขึ้นไปอย่างรวดเร็ว
CANSLIM นั้นจะถูกแยกออกมาเป็นรายละเอียดยิบย่อยตามตัวอักษรที่มีเป็น 7 ตัวอักษร ซึ่งจะใช้เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะมีรายละเอียดดังนี้
ข้อดี
ข้อเสีย
วิลเลียม โอนีล เคยสร้างผลตอบแทนสูงถึง 5,000% ในระยะเวลาเพียง 25 ปี หรือคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 200% ต่อปี
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
รูปที่ 1: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 2: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และ MSCI World ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 8: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
คำสั่งล่าสุดที่หนึ่งในบริษัทลูกอย่าง “UC browser” ถูกลบออกจากมือถือหลายค่ายในจีน และประเด็นที่สำนักข่าวรายใหญ่ “South China Morning Post” กำลังถูกรัฐบาลจีนบังคับให้ Alibaba ขายทิ้ง ยิ่งเป็นการตอกย้ำการคุมเข้มธุรกิจหลักของ Alibaba อย่าง e-commerce ในจีน แน่นอนว่าพื้นฐานยังแข็งแกร่ง รายได้ไตรมาส 4 โตถึง 39% YoY ขณะที่แผนหันมาทำแพลตฟอร์มเป็น first-party seller มากขึ้น (Alibaba ขายเอง เก็บ Margin ได้เยอะกว่า) สามารถเติบโตแรงตามเป้า
รายได้รวมทั้งเครือ Alibaba เริ่มชะลอลงต่อเนื่อง โดยถ้าตัดการควบรวมบริษัทลูก Sun Art เข้ามา รายได้จะโตเพียง 27% YoY เท่านั้น และนี่จะเป็นสิ่งที่เราจะเห็นเรื่อย ๆ ต่อจากนี้ คือ Alibaba จะเข้าซื้อหุ้นบริษัทลูกตัวสำคัญให้เกิน 50% เพื่อที่จะได้บันทึกงบแบบ consolidate ให้รายได้ที่เห็นในงบการเงินมี Growth เยอะอยู่
(เกร็ดความรู้ทางบัญชี: ถ้าบริษัทแม่ถือหุ้นลูกเกิน 50% จะสามารถบันทึกรายได้และรายจ่ายทั้งหมดเข้าตัว (consolidate) ซึ่งเราก็จะเห็นรายได้แม่โตแรงนั่นเอง ถ้าถือน้อยกว่า 50% บันทึกรายได้ไม่เต็ม)
ธุรกิจที่ดูจะเป็น s-curve ใหม่ให้ Alibaba ได้ก็คือ Cloud ซึ่งยังโตถึง 50% YoY และทำกำไรทางบัญชีให้บริษัทได้แล้ว แต่คิดเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 7% เท่านั้น
ขณะที่ประเด็น Ant Group ที่นักลงทุนจับตามอง จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน แต่การตัด UC browser หรือบังคับขาย South China Morning Post อาจเป็นการบอกใบ้ว่าในอนาคต Ant Group จะต้องกลับไปทำเพียงระบบการชำระเงินออนไลน์เท่านั้น (ซึ่งก็จะเหลือแต่ธุรกิจ Alipay) ส่วนธุรกิจการปล่อยกู้หรือนายหน้าการลงทุนและประกันอาจไม่ยอมให้บริษัทขยายเข้าไปแล้ว
เรื่องนี้คนวงนอกก็ได้แต่เดา ๆ ตามข้อมูลที่มีอยู่นะครับ
ประเด็นที่พอจะเป็นข่าวดีได้หน่อยก็คือผู้บริหารอนุมัติเงินซื้อหุ้นคืนรวมทั้งหมด 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คงช่วงพยุงให้ราคาไม่ไหลลงมากจากนี้ หรืออาจมองไปถึงว่าราคาหุ้นผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วหรือไม่ ?
หุ้น Alibaba เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สอนนักลงทุนว่าแค่บริษัทพื้นฐานดีแล้วไปไล่ซื้อหุ้นโดยไม่วิเคราะห์ให้ครอบคลุม ก็อาจจะต้องขาดทุนกลับมา
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/4363827663632334