หัวใจสำคัญของการจัดพอร์ตสไตล์ Jet – Contrarian Investor ผ่าน FundTalk Contrarian Portfolio คือการกระจายจัดพอร์ตให้ใกล้เคียงกับ Market Cap ของหุ้นแต่ละประเทศในโลก
สัดส่วนการลงทุน FundTalk Contrarian Portfolio
ศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
หมายเหตุ: พอร์ตนี้ไม่ได้อยู่ใน Model Port ของ Finnomena Funds
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2024) ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีน และดัชนี Hang Seng (HSI) ของฮ่องกงปรับตัวขึ้นกว่า 2% หลังสำนักงานศุลการกรจีน (GA) เปิดเผยยอดส่งออกของจีนขยายตัวจาก 2.4% YoY ในเดือนกันยายน สู่ระดับ 12.7% YoY ในเดือนตุลาคม ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.0% YoY
อย่างไรก็ตามจีนอาจได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯเพิ่มเติม หลังสหรัฐฯได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดย Donald Trump ได้คว้าชัยชนะเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ซึ่งหนึ่งในนโยบายของทรัมป์ระบุว่าจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนถึง 60% หรือมากกว่านั้น จากนโยบายดังกล่าวอาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน และจะเพิ่มแรงกดดันให้กับประเทศจีนในอนาคต
ขณะที่ในจีนมีการประชุมของคณะรัฐมนตรีจีนในสัปดาห์นี้ โดยทางการจีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีของจีน Li Qiang ได้ระบุว่ามาตรการกระตุ้นที่เศรษฐกิจที่ออกมากำลังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี Li Qiang ได้ยอมรับว่าเศรษฐกิจจีนยังคงเผชิญกับความท้าทายและต้องปรับนโยบายการเงินและการคลังต่อไป
Finnomena Funds มองว่า หลังจากที่ Donald Trump ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นจีนในอนาคต อย่างไรก็ดีรัฐบาลจีนได้ระบุว่าเตรียมพิจารณามาตรการกระตุ้นเพิ่ม จึงต้องจับตามองการประชุมของคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์นี้ ขณะที่ Valuation ของตลาดหุ้นเริ่มกลับมาเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย
เราจึงปรับคำแนะนำจาก “ทยอยขาย” เป็น “คงสัดส่วน” ในตลาดหุ้นจีนเพื่อติดตามการประกาศมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมจากรัฐบาลจีน
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สถิติในอดีตบอกเราว่า ตลาดจะผันผวนสั้น ๆ ในช่วงการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากนั้นตลาดหุ้นอเมริกา มักจะวิ่งไปต่อได้ยาว ๆ อย่างโดดเด่น
ภาพนี้แสดงการเคลื่อนไหวของ VIX (Volatility Index) ซึ่งสะท้อนความผันผวนของตลาดหุ้น โดยกราฟนี้นำค่าของ VIX แบบเฉลี่ย 2 สัปดาห์ ในรอบช่วงวันเลือกตั้งของสหรัฐฯ เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังวันเลือกตั้ง ประกอบไปด้วยเส้นแสดงข้อมูลของปีที่มีการเลือกตั้งต่าง ๆ ได้แก่ 2020, 2016, 2012, 2008, และ 2004
ข้อมูลบ่งชี้ว่าความผันผวนมักเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้ง และลดลงหลังจากวันเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนต่อการตัดสินใจของนักลงทุน
ภาพนี้แสดงภาพรวมของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500
เส้นสีดำ คือ median ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปีที่มีการเลือกตั้ง (Election Year)
เส้นสีเทา คือ median ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปีที่ไม่มีการเลือกตั้ง (Non-Election Year)
จะเห็นว่า S&P 500 มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะในปีที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่โดดเด่นกว่าปีที่ไม่มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีล่าสุดที่มีการเลือกตั้ง คือปี 2020 (เส้นสีฟ้า), ปี 2016 (เส้นสีส้ม) และ ปี 2012 (เส้นสีเหลือง) ดัชนี S&P500 ปรับตัวได้โดดเด่นอย่างชัดเจน
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา หุ้นไทยของเรายังคงทำผลงานดีอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่านักลงทุนน่าจะกำไรกันไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะหากท่านใดที่ลงทุนกับ Definit Quant Port (DQP) เพราะ Performance ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาพอร์ตสร้างผลตอบแทนได้บวกถึง 5.50% (ผลดำเนินการหลังหักค่า commission fee)*
เราขอชวนส่องหุ้น Top 3 ที่ทำผลตอบแทนได้ดีในพอร์ต DQP กันว่ามีหุ้นตัวไหนบ้าง
อันดับ 1 ยังคงเป็นหุ้นตัวเดิม นั่นคือ หุ้น AAV รอบนี้ยังคง Top form ถูกคัดเลือกเข้าลงทุนในพอร์ตอีกครั้ง โดยสามารถทำผลตอบแทนสูงสุดถึง 15.30% หุ้นตัวนี้หากนักลงทุนท่านใดอยากทำความรู้จักกับธุรกิจของ AAV สามารถตามอ่านย้อนหลังได้จาก Link ด้านล่างนี้ค่ะ
เจาะลึกหุ้น AAV: ดาวเด่นแห่ง Definit Quant Portfolio เดือนกรกฎาคม 2567
ไปต่อที่หุ้นตัวถัดไป นั่นคือ หุ้น AURA หลายท่านที่เป็นนักลงทุนในสินทรัพย์ประเภททองคำน่าจะพอคุ้นชื่อกันมาบ้าง เพราะ AURA คือ ชื่อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีกทองรูปพรรณ เครื่องประดับเพชรและอัญมณี และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นที่มีบริการแบบครบวงจร (One Stop Service)
โดยถ้าหากกล่าวถึงชื่อร้านขายทอง “AURORA” ทุกท่านน่าจะนึกออกกันมากยิ่งขึ้น เพราะมีสาขาทั่วประเทศรวมกันถึง 204 สาขา จึงทำให้น่าจะมีโอกาสผ่านตากันไม่มากก็น้อย
สำหรับหุ้น AURA ให้ผลตอบแทนใน Definit Quant Port ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาสูงถึง 12% (ราคาที่ระบบทำการเข้าซื้ออยู่ที่ 14.20 บาท และขายทำกำไรอยู่ที่ 15.90 บาท)*
Source: TradingView
มาดูกันว่าปัจจัยใดบ้าง ที่เป็นตัวเกื้อหนุนให้ราคาหุ้น AURA ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
มาถึงหุ้นตัวถัดไปที่ทำกำไรให้ Definit Quant Port เป็นอันดับ 3 สำหรับเดือนกันยายน นั่นคือ หุ้น III มาดูกันว่าบริษัทนี้ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร โดย หุ้น III ให้ผลตอบแทนในเดือนกันยายนสูงถึง 10.80% (โดยราคาที่ระบบทำการเข้าซื้ออยู่ที่ 6.50 บาท และขายทำกำไรอยู่ที่ 7.20 บาท)*
Source: TradingView
บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการโลจิสติกส์อย่างครบวงจร ที่ครอบคลุมการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทางอากาศ ทางทะเลและทางบก การให้บริการด้านพิธีการศุลกากร และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Supply Chain Management) ซึ่งครอบคลุมการให้บริการทั้งกลุ่มสินค้าทั่วไปและสินค้าที่ต้องการความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับกลุ่มสินค้าเคมีและสินค้าอันตราย เป็นต้น
โดยในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ปัจจัยบวกที่หนุนราคาหุ้น III มีดังนี้
นอกจากนี้เราลองมาดูปัจจัยที่ทาง Definit Quant Port ใช้ในการคัดเลือกลงทุนในหุ้นทั้ง 3 ตัวนี้ กันสักนิด ว่าทำไมเราถึงเลือกหุ้นตัวนี้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
เหตุผลในการคัดเลือกหุ้นดังกล่าว มีดังนี้
ดังนั้นเมื่อทำการ scoring เรียบร้อยแล้วหุ้นทั้ง 3 จึงติดโผ 10 อันดับของเดือนกันยายนนั่นเองค่ะ
ทางทีม Definit ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านที่ติดตามข่าวสารและสาระดีดีจากทาง Page เรานะคะ พบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ
หากท่านใดสนใจเปิดบัญชีเพื่อลงทุนใน Definit Quant Port สามารถสแกน QR Code เพื่อเริ่มขั้นตอนการสมัครได้เลยค่ะ
Source:
*หมายเหตุ การลงทุนอาจมีการกระจุกตัวสูงทั้งในรายหุ้นและรายอุตสาหกรรม | การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลตอบแทนในอดีตปี 2013-2022 เป็นการ Back test ไม่สามารถเป็นการันตีถึงผลตอบแทนในอนาคต | ผลตอบแทนในปี 2013-2023 คำนวนโดยใช้ราคาปิดวันที่ 1 | Live test เริ่มตั้งแต่ปี 2023 | ผลตอบแทนที่แสดงอาจไม่ตรงกับผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจริงเนื่องจากผลของค่าธรรมเนียม ราคาซื้อขายหุ้นที่เกิดขึ้นจริง และปัจจัยอื่นๆ | ผลตอบแทนเดือนม.ค. – ก.ค. ปี 2024 คำนวนโดยราคาซื้อใช้ราคาปิด (ATC) ของวันที่ออกบทความ และราคาขายใช้ราคาเปิด (ATO) ของวันที่ออกบทความ ณ เดือนถัดไป เนื่องจากช่วงดังกล่าว Definit ให้คำแนะนำแบบ Subscription | ผลตอบแทนตั้งแต่เดือน ส.ค. ปี 2024 คำนวนโดยราคาซื้อใช้ราคาปิดของวันทำการที่ 3 ของเดือน และราคาขายใช้ราคาปิดของวันทำการที่ 2 ของเดือนถัดไป | ผลตอบแทนสุทธิ (net return) ของโมเดลพอร์ตหักค่า commission ที่ 0.25%+VAT โดยคิด turnover ที่ 80%, ค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fee) คิด 0.75% ต่อปี, ค่าธรรมเนียมตามกำไร (performance fee) คิด 15% ของผลตอบแทนที่สูงกว่า high water mark ซึ่งคิดเป็นรายปี
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้
Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)
หุ้น Tesla (TSLA) ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 14% หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีออกมาว่า Donald Trump จะหวนกลับคืนสู่เนียบขาวอีกครั้ง สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่า Tesla จะได้รับโอกาสทางธุรกิจและเติบโตภายใต้การนำของประธานาธิบดีคนใหม่
Tesla มีแนวโน้มที่จะได้รับผลดีจากนโยบายของ Trump ที่อาจลดการสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน สำหรับธุรกิจพลังงานทางเลือกและรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อคู่แข่งรายเล็ก ๆ
นอกจากนี้ แผนการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนยังเป็นเกราะป้องกันทำให้รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้ง่าย ๆ
ราคาหุ้น Tesla ตั้งแต่ต้นปี 2024 | Source: CNBC as of 7/11/24
Dan Ives นักวิเคราะห์จาก Wedbush สะท้อนมุมมองนี้ผ่านบทวิเคราะห์ถึงนักลงทุนว่า “Tesla มีขนาดและศักยภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน”
พร้อมชี้ว่าสถานการณ์นี้จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Tesla และ Elon Musk ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีเงินอุดหนุน EV และมีกำแพงภาษีสูงสำหรับผู้เล่นจากจีน
สะท้อนผ่านราคาหุ้น TSLA ที่พุ่งทะยาน +14% ทำลายสถิติ 52 สัปดาห์ ขณะที่คู่แข่งจากจีนและสหรัฐฯ ร่วงยกแผง โดย Nio จากจีนร่วงลง -5.3%, Rivian -8.3% และ Lucid Group ปรับตัวลง -5.3%
ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น TSLA ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินของ Musk พุ่งขึ้นเกือบ 20,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 6.87 แสนล้านบาท
ความสัมพันธ์ระหว่าง Musk และ Trump ดูจะแน่นแฟ้นขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้จากการกล่าวสุนทรพจน์แห่งชัยชนะของ Trump ที่ระหว่างนั้นได้กล่าวชื่นชม Musk ว่าเป็น “ยอดอัจฉริยะ” และ “ดาวดวงใหม่” หลังจากที่ Musk ใช้เวลาหลายสัปดาห์สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของ Trump ในเพนซิลเวเนียเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม Wedbush Securities ได้ระบุไว้เมื่อต้นปีว่าการที่ Trump กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 อาจไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรม EV โดยรวม แต่กลับเป็นโอกาสทองสำหรับ Tesla ที่มีความพร้อมทั้งด้านขนาดและศักยภาพ โดยเฉพาะเมื่อนโยบายภาษีนำเข้าจะช่วยสกัดการบุกตลาสหรัฐฯ ของ BYD และ NIO จากจีน
Elon Musk เป็นผู้สนับสนุนหลักในการรณรงค์หาเสียงของ Trump โดยได้ใช้ทรัพยากรและแพลตฟอร์ม X ของเขาอย่างเต็มที่ รวมถึงการทุ่มทรัพยากรกว่า 119 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4,000 ล้านบาท) Super PAC หรือกลุ่มรณรงค์ทางการเมืองของ Trump และการจัดแคมเปญแจกของรางวัลในรัฐ Swing State ที่เป็นสมรภูมิสำคัญ ทำให้ Elon Musk กลายเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของแคมเปญนี้
นอกจากนี้ Trump ยังประกาศว่าในสมัยที่ 2 ของเขา เขามีแผนจะเชิญ Musk เข้าร่วมการบริหารงานเพื่อลดภาระการใช้จ่ายภาครัฐ โดย Musk ได้กล่าวไว้ในงานชุมนุมที่ Madison Square Garden ว่าเขาสามารถลดงบประมาณรัฐบาลได้ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ หากได้รับตำแหน่งดังกล่าว
ด้วยตำแหน่งพันธมิตรที่ใกล้ชิดในทำเนียบขาวอาจเปิดโอกาสให้ Musk ขยายธุรกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะ SpaceX ที่ปัจจุบันครองตลาดการส่งดาวเทียมของรัฐบาลสู่อวกาศ และมีโอกาสได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากความสัมพันธ์ทางการเมืองนี้
ท้ายที่สุด นโยบายลดภาษีสำหรับบริษัทและผู้มีความมั่งคั่งสูงของ Trump ยิ่งเป็นปัจจัยบวกที่ Musk และนักลงทุนต่างจับตามอง ซึ่งอาจส่งผลดีต่อทั้งมูลค่าหุ้นและความมั่งคั่งส่วนตัวของมหาเศรษฐีอัจฉริยะรายนี้ในอนาคต
ผลประกอบการของ Tesla ไตรมาส 3/2024 | Source: App Economy Insights as of 7/11/24
Tesla เผยผลประกอบการไตรมาส 3/2024 ด้วยรายได้และยอดส่งมอบรถยนต์เติบโต 7.5% และ 6.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้จะต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด แต่อัตรากำไรจากการดำเนินงานกลับเติบโตดีกว่าคาดที่ 7.5% พร้อมคาดยอดส่งมอบรถยนต์ปี 2025 จะเติบโต 20-30% สะท้อนการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและควบคุมต้นทุน
รายได้หลักในไตรมาส 3/2024 เพิ่มขึ้นเป็น 21,670 ล้านดอลลาร์ เติบโต 17% จากปีก่อน ซึ่งมาจากยอดส่งมอบรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของธุรกิจพลังงานและการจัดเก็บพลังงาน การรับรู้รายได้ของระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Full Self-Driving) และเครดิตทางกฎหมายที่สูงขึ้น ส่วนรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 27,170 ล้านดอลลาร์ด้วยอัตรากำไร 10.8% และกำไรต่อหุ้น 0.72 ดอลลาร์
Tesla มีการขยายกำลังการผลิตในหลายภูมิภาคทั้งแคลิฟอร์เนีย เซี่ยงไฮ้ เบอร์ลิน เท็กซัส และเนวาดา พร้อมเตรียมผลิต Cybercab รถยนต์ไร้คนขับเชิงพาณิชย์ในปี 2026 ด้วยเป้าหมาย 2 – 4 ล้านคัน คาดว่าจะมีราคาเริ่มต้นประมาณ 30,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1 ล้านบาท) และวางแผนเปิดให้บริการในเท็กซัสและแคลิฟอร์เนียปี 2025
อัปเดตข้อมูลโดย Finnomena Funds และ Bloomberg ณ วันที่ 07/11/2024
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
TMBAM Quality Mega Theme เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO)
GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ไว้เล็กน้อย แต่ก็ยังคงแสดงถึงการเติบโตที่ แข็งแกร่ง โดยขยายตัว 2.8% ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ครัวเรือนและธุรกิจยังคงใช้จ่ายได้ดีท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก จุดที่น่าสนใจคือการใช้จ่ายของผู้บริโภคเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2023 ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับที่เฟดควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกสุทธิกลับลดลง เนื่องจากผู้นำเข้าเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการประท้วงของคนงานท่าเรือจะยืดเยื้อ แม้ GDP จะต่ำกว่าคาด แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของธุรกิจยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจ ตัวเลข GDP นี้เป็นข้อมูลสำคัญก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขณะที่ดัชนี PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดจับตามอง พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหลายเดือน ทำให้เฟดมีแนวโน้มชะลอการลดดอกเบี้ยในอนาคต แต่คาดการณ์ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยในการประชุม 6-7 พ.ย. นี้
และด้วยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะภาคการผลิต จะสนับสนุนให้เฟดสามารถค่อยๆ ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างช้าๆ ได้ โดยเรามองว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนพฤศจิกายน และมีโอกาสที่จะ pause ในการประชุมเดือนธันวาคม หรือในช่วงต้นปี 2025 และคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถเกิด soft landing ได้ ขณะที่งบไตรมาส 3/24 ประกาศออกมาแล้วประมาณ 352 บริษัท ยอดขายเติบโตเฉลี่ย 5.1% และกำไรเติบโต 8.33% ซึ่งเราคาดว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลต่อตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ระยะสั้น และ เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ
ขณะที่จีนมีการประกาศ GDP ไตรมาส 3/24 และตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญออกมา โดยที่ GDP ไตรมาส 3/24 ของจีนขยายตัว 4.6% จากปีก่อนหน้า มากกว่าคาดการณ์เล็กน้อยที่ 4.5% ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนกันยายนขยายตัว 3.2% มากกว่าคาดที่ 2.5% ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 5.4% มากกว่าคาดที่ 4.6% การลงทุนในสินทรัพย์คงทนขยายตัว 3.4% ในช่วง 9 เดือนแรก มากกว่าคาดที่ 3.3% GDP 9 เดือนแรก ขยายตัว 4.8% YoY ต่ำกว่าคาดที่ 4.9% ราคาบ้าน (ประกาศก่อน GDP) ตัวหดตัว -5.8% ในเดือนกันยายน มากกว่าเดือนก่อนที่ -5.3% ขณะเดียวกัน PBOC ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลักต่อเนื่อง หลังจาก PBOC ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลักเมื่อปลายเดือนกันยายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่มุ่งฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจและกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีระยะเวลา 1 ปี (LPR 1Y) ปรับลดลงจาก 3.35% เหลือ 3.10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว 5 ปี (LPR 5Y) ปรับลดลงจาก 3.85% เหลือ 3.60% การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว ซึ่งกำหนดโดยกลุ่มธนาคารใหญ่ของจีน เกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีนได้กำหนดขั้นตอนในการส่งเสริมให้ครัวเรือนและบริษัทกู้เงินในช่วงปลายเดือนกันยายน มาตรการดังกล่าวรวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยและปลดล็อกสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นการปล่อยกู้ของธนาคาร ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงทรงตัวแต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ตลาดหุ้นจีนได้มีการปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างมากในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังคงต้องติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดกว่านี้ ทำให้เรายังคงมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นจีน
ในส่วนของไทย กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในการประชุมครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่าจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ซึ่งเราประเมินว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ มีส่วนช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับภาคครัวเรือนรวมถึงช่วยสนับสนุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้เริ่มกลับมาอ่อนค่าลง ซึ่งจะเป็นแรงหนุนต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย
ภาพรวมการลงทุนประจำเดือนพฤศจิกายนถึงแม้จะเป็นช่วงประกาศผลประกอบการและเป็นช่วงการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐฯ รวมถึงจะมีการประชุม FOMC ที่จะประชุมกันในเดือนนี้ แต่เรายังประเมินว่าภาพรวมการลงทุนยังคงมีแนวโน้มที่น่าสนใจ โดยเฉพาะฝั่งสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจและงบไตรมาส 3/24 ยังออกมาค่อนข้างดีกว่าที่คาด
ตารางแสดงสัดส่วนการลงทุนพอร์ต Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2024
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีหลักการที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายแต่ละบุคคล การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การลงทุนไปเรื่อย ๆ ตามกระแสหรือข่าวลือที่ได้รับมา เปรียบเสมือนการขับรถโดยไม่มีแผนที่หรือเข็มทิศนำทาง อาจทำให้หลงทางและไม่สามารถควบคุมทิศทางการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาคือพอร์ตการลงทุนยากที่จะแก้ไขในระยะยาว บทความนี้จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “FVMR Framework” โมเดลการลงทุนที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์สินทรัพย์รอบด้าน เพื่อสร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืน
“FVMR Framework” คือการวิเคราะห์สินทรัพย์รอบด้าน ทั้ง Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk โดยมีรายละเอียดดังนี้
FVMR Framework เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ การนำ FVMR Framework ไปปรับใช้จะช่วยให้สามารถสร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งและทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับใครที่อยากลงทุนแบบวิเคราะห์ให้ครบรอบด้านตามโมเดล FVMR Framework แต่ไม่มีเวลาหรือความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สินทรัพย์ พอร์ต All Weather Strategy (AWS) คือคำตอบ! พอร์ตกองทุนที่พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด ใช้โมเดล FVMR Framework เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน มีการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ตอบโจทย์คนที่ต้องการลงทุนแบบนอนหลับสบาย เพราะมีอดีตนักวิเคราะห์อันดับ 1 ของประเทศไทยอย่างคุณ Andrew Stotz มาช่วยดูแลพอร์ตให้คุณ
พอร์ต All Weather Strategy (AWS) เป็นพอร์ตการลงทุนที่ทางทีมงานของ Dr. Andrew Stotz จับมือร่วมกับ Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้นมา โดยพอร์ต AWS นี้ มุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยปกป้องพอร์ตให้พร้อมลุยทุกสภาวะตลาด (All Weather) นอกจากนี้พอร์ต AWS ยังเน้นลงทุนในกองทุน Passive ที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำและสมเหตุสมผล เพื่อเน้นสะท้อนผลตอนแทนเทียบกับตลาด และไม่ฉุดรั้งผลตอบแทนระยะยาวของนักลงทุน โดยพอร์ต AWS จะมีการปรับพอร์ต (Rebalance) ปีละ 2-4 ครั้ง
สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ในขณะที่หลายคนกังวลว่าทองคำอาจแพงเกินไป แต่สัญญาณในตลาดการเงินกลับบ่งชี้ว่าราคาทองคำอาจพุ่งทะลุ 3,000 ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศไทยอาจมีโอกาสได้เห็นโซน 50,000 บาท มาดูกันว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นสูงขนาดนั้น
นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs คาดว่าราคาทองคำอาจแตะระดับสูงสุดที่ 3,000 ดอลลาร์ แม้ว่าเป้าหมายนี้จะเพิ่งปรับขึ้น จากเป้าหมายเดิมที่ระดับ 2,500 ดอลลาร์เมื่อไม่กี่เดือนก่อน
กราฟราคาทองคำไทย | Source Finnomena/gold as of 6/11/24
ปัจจัยสำคัญที่หนุนราคาทองคำมาจากความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะสัญญาณเงินเฟ้อที่อาจกลับมาอีกครั้ง สะท้อนจากการร่วงหนักของราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพุ่งสูงขึ้น
นักลงทุนระดับตำนานอย่าง Paul Tudor Jones และ Stanley Druckenmiller ต่างมองว่า การลดดอกเบี้ยของ Fed อาจเป็นความผิดพลาด และแนะนำให้ถือครองสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
จีน ตุรกี และอินเดีย กำลังเร่งสะสมทองคำสำรองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีนที่กำลังเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจ และต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อพยุงตลาดหุ้น สถานการณ์นี้อาจผลักดันให้ทองคำยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น
ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบขณะที่นักลงทุนจับตาเหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุม Fed โดยความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจมักเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำ ซึ่งปีนี้ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 33% จาก Fund Flow ที่ไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย
กราฟราคาทองคำโลก | Source Finnomena/gold as of 6/11/24
ในแง่เทคนิค แม้แนวโน้มหลักยังเป็นขาขึ้น แต่โมเมนตัมระยะสั้นอ่อนแรงลง อาจทำให้ราคาย่อตัวลงทดสอบแนวรับ 2,708-2,697 ดอลลาร์ ส่วนแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 2,749 ดอลลาร์ หากผ่านได้มีโอกาสพุ่งขึ้นทดสอบจุดสูงสุดประวัติการณ์ที่ 2,790 ดอลลาร์
คาดว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งจะเป็นการลดครั้งที่สองของปี แม้โดยปกติการลดดอกเบี้ยจะหนุนราคาทองคำ แต่ผลกระทบอาจจำกัด เนื่องจากตลาดให้น้ำหนักกับผลการเลือกตั้งมากกว่า
การที่ Bitcoin ทำจุดสูงสุดใหม่อาจเป็นสัญญาณบวกสำหรับทองคำ เนื่องจาก Bitcoin ถูกมองว่าเป็นญาติห่าง ๆ ของทองคำ โดยทั้งสองสินทรัพย์ได้ชื่อว่าเป็นทางเลือกของสกุลเงิน (Currency) แบบดั้งเดิม ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ Bitcoin สะท้อนว่านักลงทุนกำลังมองหาสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการอ่อนค่าของเงินสกุลหลัก
หาก Trump ชนะ อาจจะกดดันราคาทองคำในระยะสั้นจากความคาดหวังว่าดอลลาร์จะแข็งค่าและผลตอบแทนพันธบัตรจะเพิ่มขึ้น โดยนโยบายของ Trump ที่เน้นการลดภาษี การเก็บภาษีศุลกากร และการลดการใช้จ่ายภาครัฐมักจะสนับสนุนดอลลาร์ ซึ่งอาจลดความน่าสนใจของทองคำ
หลังจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วในปี 2016 ดอลลาร์และหุ้นต่างพากันดีดตัวขึ้น ขณะที่ทองคำเกิดการถอยตัวอย่างมีนัยสำคัญ นักวิเคราะห์คาดว่าอาจจะเกิดการตอบสนองของตลาดคล้าย ๆ กัน หากนโยบายของ Trump ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
ในทางกลับกัน หาก Kamala Harris ชนะ คาดจะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป และดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอาจสร้างปัจจัยสนับสนุนทองคำ เนื่องจากนโยบายเศรษฐกิจของ Harris เน้นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้น้อยลง ซึ่งจะเพิ่มความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย
อ้างอิง: Investing.com, RYT9, FXEmpire
ลดหย่อนภาษีปีนี้ ซื้อกองทุนอะไรดี? สรุปมาให้แล้วแบบครบ ๆ ทั้งกองทุน SSF กองทุน RMF และกองทุน Thai ESG จากหลากหลาย บลจ. ด้วยคำแนะนำการลงทุนที่เป็นกลาง
มุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds ณ เดือนพฤศจิกายน 2024
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน B-ASIASSF
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน UOBSA-SSF
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
มุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds ณ เดือนพฤศจิกายน 2024
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
มุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds ณ เดือนพฤศจิกายน 2024
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
การคัดเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2024 ทั้ง RMF SSF และ Thai ESG เราได้พิจารณาจากกองทุน F-Pick ในปัจจุบัน และทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Screening) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Screening) เพื่อให้ได้กองทุนลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนในระยะยาวจากกองทุนที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เราพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลังระยะยาว (Long-Term Past Performance) ของกองทุนหลักในต่างประเทศเพื่อให้เห็นถึงผลการดำเนินงานในระยะยาวอย่างแท้จริง ทั้งในแง่ของผลตอบแทนและความเสี่ยงที่สอดคล้องกับระยะเวลาลงทุนในกลุ่มกองทุนลดหย่อนภาษี
แม้ว่าผลตอบแทนในอดีตจะไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต แต่ผลการดำเนินงานย้อนหลังในระยะยาวได้พิสูจน์ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนผ่านวัฏจักรเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่ากองทุนดังกล่าวเหมาะสมสำหรับการลงทุนในระยะยาวอย่างแท้จริง
นอกเหนือจากผลการดำเนินงานในอดีตที่เป็นหลักฐานของความสำเร็จในอดีตของกองทุนแล้ว เราได้พิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพของกองทุนเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าความสามารถในอดีตจะสามารถส่งต่อไปยังผลการดำเนินงานในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง
โดยพิจารณาในเรื่องของปรัชญาการลงทุน (Investment Philosophy) และกระบวนการการลงทุน (Investment Process) เพื่อดูว่าภาพรวมการบริหารของกองทุนจะสามารถสร้างผลการดำเนินงานได้ดีต่อเนื่องไปในระยะยาวได้หรือไม่
อีกทั้งได้เพิ่มการพิจารณาในส่วนของนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging Policy) เนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินที่ผันผวนและต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินในปัจจุบันเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงก่อนการลงทุนในกองทุนรวม และส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นว่าเราให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพในหลายมิติ เพื่อที่จะทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนสามารถสะท้อนออกมาสู่นักลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน Thai ESG ซื้อเท่าไหร่ให้คุ้มค่าที่สุด? รายได้เท่านี้ ลงทุน Thai ESG ได้เท่าไหร่ ประหยัดภาษีได้กี่บาท? ใครที่ปีนี้ลงทุนกับ SSF RMF ไปเยอะแล้ว ยังควรซื้อ Thai ESG เพิ่มอีกไหม? บทความนี้จะสรุปให้เห็นภาพแบบชัด ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปวางแผนภาษีปีนี้ได้อย่างเหมาะสม
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
ทั้งนี้ กองทุน SSF กับ RMF เมื่อนำมาคำนวณรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และประกันชีวิตแบบบำนาญ จะลงทุนรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
หากคำนวณตามเงื่อนไขรายได้ เราจะสามารถซื้อกองทุน Thai ESG หรือ ‘กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน’ ในแต่ละช่วงรายได้ โดยวงเงินลดหย่อนของ Thai ESG จะไม่นับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ดังนี้
หมายเหตุ: เงินเดือน 15,000 บาท 20,000 บาท และ 25,000 บาท ไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุน Thai ESG เนื่องจากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
ตัวเลขข้างต้นนั้นเป็นจำนวนเงินสูงสุดที่เราสามารถลงทุนได้ แต่ถ้าอยากรู้ว่าควรซื้อกี่บาทถึงจะเหมาะสมและพอดีกับการวางแผนภาษี สิ่งที่ต้องทำก็คือการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อหาฐานภาษีตามขั้นบันได
โดยใช้สูตร เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ตัวอย่างเช่น: เราเป็นพนักงานออฟฟิศ รายได้ต่อเดือน 50,000 บาท รวมเป็นรายได้ต่อปี 600,000 บาท
จากนั้นให้นำไปหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท (รายได้ประจำสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท) และหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี ซึ่งพื้นฐานเลยก็อย่างเช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท เป็นต้น
คิดตามนี้ แปลว่าเงินได้สุทธิ เท่ากับ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 บาท
แล้วค่อยนำเงินได้สุทธิจำนวนนี้ไปคำนวณตามเงื่อนไขของ ThaiESG ที่ลงทุนได้สูงสุด 30% และไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งในกรณีนี้เราจะลงทุนได้ที่จำนวน 180,000 บาท
– อ่านเพิ่มเติม สรุปวิธีคำนวณภาษี ปี 2567: จับมือสอนตั้งแต่เริ่มต้น ครบจบทุกขั้นตอน
อย่างไรก็ดี แม้การซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะช่วยเปลี่ยนภาษีที่ต้องจ่ายเป็นเงินออมได้มากเท่านั้น และยังตอบโจทย์เป้าหมายการเงินในระยะยาว แต่อย่าลืมพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ในชีวิตควบคู่กันไปด้วย อาทิ
1. สภาพคล่องทางการเงิน: ถ้าลงทุนแล้วจะทำให้เงินขาดมือ หรืออาจเกิดปัญหาทางการเงินตามมาหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่า Thai ESG รวมทั้ง SSF RMF เป็นการลงทุนระยะยาวในการรอคอย
2. ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่รับได้: ควรเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง ถ้ารู้ตัวว่ารับความเสี่ยงจาก Thai ESG ไม่ได้ การมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีอื่น ๆ น่าจะเหมาะกว่า
3. ฐานภาษีของตัวเอง: ยิ่งฐานภาษีสูง การลดหย่อนยิ่งจำเป็นและคุ้มค่า แต่ถ้าไม่ได้มีกระแสเงินสดที่เพียงพอขนาดนั้น แนะนำให้ซื้อเพื่อลดฐานภาษีตัวเองลงก็ได้ เช่น ตอนนี้เสียภาษีที่ฐาน 15% เราก็ซื้อ Thai ESG เพื่อให้ฐานภาษีเหลือ 10% เพื่อจะได้จ่ายภาษีเบาลง
สุดท้ายนี้ Finnomena Funds สรุปออกมาเป็นตารางให้เห็นภาพชัด ๆ ว่าเราสามารถซื้อ SSF-RMF ควบคู่กับ Thai ESG ได้เท่าไหร่ แบบเต็มแม็ก โดยคิดจากเงินได้สุทธิ พร้อมเปรียบเทียบกับฐานภาษีในแต่ละช่วง เพื่อให้ทุกคนนำไปวางแผนต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น
คำอธิบายตารางเพิ่มเติม
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Thai ESG Hub ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Thai ESG ซื้อจบได้ที่นี่ คลิกเลย 👉https://finno.me/thaiesg-hub-ws
คำเตือน
ปีนี้ Finnomena Funds ได้คัดสุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษี เลือกอย่างเข้มข้นโดย “แบงค์” สายเทคนิค Mr.Messenger The Trend Follower “เจ็ท” สายสวน FundTalk The Contrarian และ “หยง” สายถือยาว MEVT The Long-Term Growth คัดสรรแบบ Exclusive จาก 5 ธีมการลงทุนเด่นของกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2024
สำหรับลูกค้า Finnomena สามารถเข้าถึงโพยลับกองทุนภาษี 2024
ได้ที่อีเมล และการแจ้งเตือนบนแอปพลิเคชัน Finnomena
หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้แนะนำการลงทุนของท่าน
เปิดบัญชีลงทุนกองทุนรวมกับ Finnomena เพื่อดูรายชื่อโพยลับกองทุนภาษี SSF RMF และ Thai ESG คัดเน้น ๆ แบบ Exclusive! คลิกเลย
เทรนด์การเติบโตของกำไร สร้างโอกาสทำผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ในระยะยาว จากแนวโน้มการเติบโตของกำไรในระยะยาวของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ทั้งในอดีตที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงเติบโตต่อไปได้จากหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ การเติบโตของบริษัทเทคโนโลยี, เทรนด์ AI และ Semiconductor รวมถึงวัฏจักรของอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขาลง จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนให้ยังคงเติบโตต่อไปได้
ข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุน JPMorgan Funds – US Growth Fund เทียบกับดัชนี RUSSELL 1000 Growth และ S&P500 ย้อนหลัง 10 ปี จาก Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 2024)
จากการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ทำให้การลงทุนหุ้นเติบโตสหรัฐฯ ที่มีอัตราการเติบโตสููงมีความน่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการการเติบโตของพอร์ตใน Tax Saving Fund ตามมุมมองของ Mr.Messenger
ธีมเทคโนโลยียังมีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว แต่ต้องเน้นไปที่การเติบโตแบบมีกระแสเงินสดที่ดี (Quality Growth) การลงทุนในกลุ่ม Technology ยังคงเป็น Theme หลักของโลกซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง อย่างไรก็ตาม การพิจารณาในเรื่องของการเน้นไปที่การเติบโตแบบมีกระแสเงินสดที่ดี (Quality Growth) มากกว่าการเติบโตแบบ Futuristic Growth เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการลงทุนในบริษัทที่มี High Quality Growth จะเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าบริษัทที่เข้าไปลงทุนเป็นบริษัทที่ยังคงมีพื้นฐานดี สามารถไปต่อได้ เนื่องจากไม่ใช่ทุกบริษัทจะมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะสามารถเป็นผู้ชนะในตลาด
จากสไตล์การลงทุนที่เน้นไปทาง Contrarian และเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีโอกาสเติบโตสูง จึงต้องการกองทุนที่ให้ความสำคัญในเรื่องของความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้นเติบโตอื่น ๆ และมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนใน Tax Saving Fund ที่ FundTalk The Contrarian แนะนำ
การเติบโตของอินเดียมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่แข็งแกร่ง ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนมาจาก 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
จากประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นปัจจัยหนุนสำคัญทั้งในด้านการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาวต่อจากนี้ จึงเป็นหนึ่งในธีมการลงทุนที่ FundTalk The Contrarian แนะนำจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียที่มาจากพื้นฐานอันแข็งแกร่ง จึงมีความน่าสนใจสำหรับลงทุนระยะยาว
เวียดนามระยะยาวปัจจัยหนุนรอบด้าน The Hidden Gem of ASEAN ด้วยขนาดและลักษณะของตลาดที่ยังคงเป็น “ตลาดชายขอบ (Frontier Market)” ทำให้นักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่อาจจะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการลงทุนในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของการเติบโตและปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “Hidden Gem” ที่อาจจะสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างคาดไม่ถึงสำหรับการลงทุนในระยะยาว โดยความน่าสนใจของการลงทุนในเวียดนามมีอยู่หลากหลายมิติ อาทิ
ข้อมูลแสดงความเคลื่อนไหวดัชนี VN Index, Earning Momentum และ Bloomberg Estimate P/E Ratio ย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 2024) สะท้อนว่า Earning Momentum ในช่วงที่ผ่านมายังคงเติบโต แต่ดัชนีเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ถูก
จากโอกาสการเติบโตระยะยาวทั้งในแง่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและบริษัท รวมถึง Valuation ที่อยู่ในระดับน่าสนใจ เวียดนามน่าสนใจทั้งในมิติ Macroeconomic, Earning และ Valuation สอดคล้องกับกรอบการวิเคราะห์ MEVT ที่ทาง Finnomena ใช้สำหรับการวิเคราะห์การลงทุนในระยะยาว
5. ลดหย่อนเต็มที่ โอกาสล็อก Yield ตราสารหนี้ โดย MEVT The Long-Term Growth
เปิดโอกาสล็อก Yield ตราสารหนี้ ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยไทยที่สูงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี เนื่องจากปลายปี 2022 จนถึงปลายปี 2023 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (BOT) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของหลาย ๆ ประเทศในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงกดดันต่อเสถียรภาพของค่าเงิน จึงมีความจำเป็นที่แบงก์ชาติต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อรักษาระดับของเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนและควบคุมเงินเฟ้อ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยภาพรวม
ข้อมูลแสดงความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยย้อนหลัง 10 ปี จาก Trading Economics (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. 2024) ชี้ให้เห็นว่าระดับของอัตราดอกเบี้ยไทยในปัจจุบันอยู่สูงกว่าในอดีต
จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มปรับลดลงตามเงินเฟ้อที่ชะลอตัว ทำให้กองทุน Thai ESG ตราสารหนี้ มีความน่าสนใจเนื่องจากรับโอกาสจากการล็อก Yield ที่สูง และโอกาสในเรื่องของราคาตราสารหนี้ในพอร์ตที่ปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ
เปิดบัญชีลงทุนกองทุนรวมกับ Finnomena เพื่อดูรายชื่อโพยลับกองทุนภาษี SSF, RMF และ Thai ESG คัดเน้น ๆ แบบ Exclusive! คลิกเลย
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
การลงทุนโดยทั่วไปแล้วมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา โดยเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทก็จะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนั้น ๆ แตกต่างกัน อย่างเช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนในระยะยาว สินทรัพย์ที่มักให้ผลตอบแทนสูงที่สุดจากค่าสถิติย้อนหลังที่ผ่านมาก็มักจะเป็นการลงทุนใน “ตราสารทุน” หรือ “หุ้น” เปรียบเสมือนเป็นการลงทุนในบริษัทซึ่งเราเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ นั่นหมายความว่ายิ่งบริษัทมี “กำไร” (Earnings) ที่สามารถเติบโตขึ้นมาได้ในระยะยาวก็จะทำให้การลงทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนขึ้นมาได้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการลงทุน
ข้อมูลแสดงการเติบโตของดัชนีตลาดหุ้นต่าง ๆ ย้อนหลัง 10 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ส.ค. 2024)
ข้อมูลแสดงการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในดัชนีต่างๆย้อนหลัง 10 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ส.ค. 2024)
จากกราฟข้างต้นจะเห็นว่ากลุ่มการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ รองลงมาเป็นอินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น ซึ่งสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่การเติบโตของราคาหุ้นหรือมูลค่ากิจการที่เติบโตขึ้นมาได้ในระยะยาว ล้วนสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาด้วย
ดังนั้น กลุ่มกองทุนลดหย่อนภาษี (Tax Saving Fund) ที่ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การลงทุนในระยะยาว Finnomena Funds จึงคัดสุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีที่แนะนำโดย Mr.Messenger The Trend Follower, FundTalk The Contarian และ MEVT The Long-Term Growth คัดสรรแบบ Exclusive เพื่อลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 นี้ สำหรับเป็นทางเลือกประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนในสไตล์ที่แตกต่าง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการบริหารภาษีและสร้างการเติบโตที่ดีได้ในระยะยาวไปพร้อม ๆ กัน
กองทุน B-USALPHARMF และ B-USALPHASSF เน้นลงทุนในกองทุนหลักอย่าง JPMorgan Funds – US Growth Fund ซึ่งมีปรัชญาการลงทุนโดยเน้นไปที่การลงทุนในหุ้นกลุ่มเติบโตที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ และเน้นเอาชนะดัชนีชี้วัดหุ้นกลุ่ม Growth อย่างดัชนี Russell 1000 Growth ในระยะยาว
ข้อมูลแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ของกองทุนหลัก JPM US Growth I (acc) – USD จาก Fund Fact Sheet (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 67) สะท้อนให้เห็นว่ากองทุนมีผลการดำเนินงานโดดเด่นเหนือ Benchmark
จากแนวโน้มการเติบโตของกำไรในระยะยาวของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ทั้งในอดีตที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงเติบโตต่อไปได้จากหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ การเติบโตของบริษัทเทคโนโลยี, เทรนด์ AI และ Semiconductor รวมถึงวัฏจักรของอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขาลง จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนให้ยังคงเติบโตต่อไปได้
ข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุน JPMorgan Funds – US Growth Fund เทียบกับดัชนี RUSSELL 1000 Growth และ S&P500 ย้อนหลัง 10 ปี จาก Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 2024)
จากการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ทำให้การลงทุนหุ้นเติบโตสหรัฐฯ ที่มีอัตราการเติบโตสููงมีความน่าสนใจ กองทุนหลักของ B-USALPHARMF และ B-USALPHASSF สามารถทำผลการดำเนินงานได้โดดเด่นเหนือ Russell 1000 Growth ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้น Growth และเหนือกว่า S&P500 ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทขนาดใหญ่ จึงเป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างการเติบโตของพอร์ต Tax Saving Fund ตามมุมมองของ Mr.Messenger
กองทุน B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF ลงทุนผ่านกองทุน Fidelity Funds – Global Technology Fund ซึ่งจะเน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง แต่มีจุดเด่นในเรื่องของการคัดเลือกบริษัทที่มีคุณภาพและมีราคาเหมาะสม
ข้อมูลแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ของกองทุนหลัก Fidelity Funds – Global Technology Fund จาก Financial Times (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ต.ค. 2024) สะท้อนให้เห็นว่ากองทุนมีผลการดำเนินงานโดดเด่นเหนือ Peer Group
การลงทุนในกลุ่ม Technology ยังคงเป็น Theme หลักของโลกซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง อย่างไรก็ตาม การพิจารณาในเรื่องของการเน้นไปที่การเติบโตแบบมีกระแสเงินสดที่ดี (Quality Growth) มากกว่าการเติบโตแบบ Futuristic Growth เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการลงทุนในบริษัทที่มี High Quality Growth จะเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าบริษัทที่เข้าไปลงทุนเป็นบริษัทที่ยังคงมีพื้นฐานดี สามารถไปต่อได้ เนื่องจากไม่ใช่ทุกบริษัทจะมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะสามารถเป็นผู้ชนะในตลาด
ข้อมูลแสดงการเปรียบเทียบ FCF Margin ของกองทุนหลัก B-INNOTECH เทียบกับกองทุนหุ้นเติบโตอื่น ๆ และข้อมูล 1-Yr EPS Growth และ Forward P/E ที่สะท้อนว่ากองทุน B-INNOTECH เน้น High Quality Growth
ข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลังของ Fidelity Funds – Global Technology Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2024) ซึ่งเน้นสไตล์ Contrarian มีผลการดำเนินงานเหนือ Peer Group ได้ในระยะยาว
จากสไตล์การลงทุนที่เน้นไปทาง Contrarian และลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่มีโอกาสเติบโตสูง กองทุน B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF จึงเหมาะกับนักลงทุนที่อยากสร้างการเติบโต แต่ให้ความสำคัญในเรื่องความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้นเติบโตอื่น ๆ และมูลค่าที่เหมาะสมของการลงทุน จึงเป็นทางเลือกในกองทุน Tax Saving Fund ที่ FundTalk The Contrarian แนะนำ
กองทุน B-INDIAMRMF ลงทุนในกองทุนหลัก Kotak Funds – India Midcap Fund ซึ่งจะลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นอินเดีย แต่เน้นไปที่บริษัทนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ เพื่อรับอานิสงค์กลุ่ม Middle-Class ที่กำลังเติบโตในประเทศ
Kotak เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในประเทศอินเดีย ซึ่งมีทีมบริหารที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีความเชี่ยวชาญในตลาด ทั้งนี้ กองทุนหลักมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นมากว่า 10 ปี และกองทุน B-INDIARMF มีนโยบายการบริหาร FX Hedging Policy อย่าง Active ทำให้ผลการดำเนินงานส่งต่อมาได้อย่างเต็มที่ในระยะยาว
กองทุน KKP INDIA-UH-SSF เน้นลงทุนไปในกองทุน Robeco Indian Equities ซึ่งมีปรัชญาการลงทุนที่เรียกว่า Flexi-Cap เน้นสร้างผลตอบแทนเหนือกว่าดัชนีชี้วัดอย่างดัชนี MSCI India Total Net Return ได้ในระยะยาวจากการกระจายลงทุนไปยังหุ้นอินเดียที่มี Market Cap แตกต่างกัน
โดยกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้เฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปีเมื่อเทียบกับ Benchmark นับตั้งแต่เริ่ม Strategy และมีทีมนักวิเคราะห์เป็นชาวอินเดียที่ On-site อยู่ Mumbai รวมถึงผู้จัดการกองทุนคุณ Abhay Laijawala บริหาร Strategy ของกองทุนตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งกอง ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงความเชี่ยวชาญและความต่อเนื่องในการบริหารจัดการกองทุนในช่วงที่ผ่านมา
ข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน Kotak Funds – India Midcap Fund เทียบกับดัชนี MSCI India Mid Cap ย้อนหลัง 10 ปี จาก Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 2024)
ข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน Robeco Indian Equities เทียบกับดัชนี MSCI India ย้อนหลัง 10 ปี จาก Bloomberg (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 2024)
การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนมาจาก 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.ปัจจัยเรื่องโครงสร้างประชากร ซึ่งยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นและส่วนใหญ่ยังคงเป็นวัยทำงานซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
2.การเข้าสู่ Digitalization ช่วยเปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3.การเติบโตของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การก่อสร้างถนนและทางรถไฟ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถและสร้างฐานที่มันคงให้กับเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาว
จากประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นปัจจัยหนุนสำคัญทั้งในด้านการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจอินเดียในระยะยาวต่อจากนี้ กองทุน B-INDIAMRMF และ KKP INDIA-UH-SSF จึงเป็นหนึ่งในกองทุนที่ FundTalk The Contrarian แนะนำจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียที่มาจากพื้นฐานอันแข็งแกร่ง จึงมีความน่าสนใจสำหรับลงทุนระยะยาว
กองทุน PRINCIPAL VNEQ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเวียดนามกองแรกของประเทศไทย จัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2016 และในปี 2018 กองทุน K-VIETNAM ก็เป็นหนึ่งในกองทุนที่มีการจัดตั้งตามขึ้นมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน และจากผลการดำเนินงานย้อนหลังสะท้อนให้เห็นว่าผู้จัดการกองทุนมีความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมในระยะยาว
กองทุน PRINCIPAL VNEQRMF มีการจัดการและวิเคราะห์โดยผู้จัดการกองทุนไทยร่วมกับผู้จัดการกองทุนเวียดนามที่มีความเชี่ยวชาญในการเลือกหุ้น และ Sector ที่มีโอกาสการเติบโตระยะยาว มีมูลค่าเหมาะสม รวมถึงใช้กลยุทธ์ Core-Satellite Port เน้นผลตอบแทนระยะยาว และสับเปลี่ยนหุ้นบางส่วนตามสภาวะตลาดเพื่อเพิ่มผลตอบแทนระยะสั้น
กองทุน K-VIETNAM-SSF เน้นลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม บริหารกองทุนโดยทีมผู้จัดการกองทุนชาวไทยที่มีประสบการณ์ ลดการเสียค่าธรรมเนียมหลายต่อจากการลงทุนผ่าน Feeder Fund ทั้งนี้ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา กองทุนนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นลำดับต้น ๆ ของกองทุนเวียดนามในไทย และมีค่าธรรมเนียมต่ำ
ข้อมูลแสดงผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี ของกองทุน PRINCIPAL VNEQ และ K-VIETNAM เทียบดัชนี VN Index และ MSCI Vietnam (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 2024)
เมื่อนำกองทุน PRINCIPAL VNEQ และ K-VIETNAM เทียบกับดัชนีชี้วัดอย่าง VN Index ซึ่งเป็นดัชนีที่เป็น Local Index จะเห็นได้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่าน กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างผสมผสาน โดยในบางช่วงเวลา กองทุนก็สามารถที่จะเอาชนะดัชนีชี้วัดได้ แต่บางช่วงก็ถือว่า Underperform ซึ่งสาเหตุดังกล่าว เกิดจากข้อจำกัดในเรื่องของการลงทุนแบบ Foreign Investment ซึ่งติดข้อจำกัดในเรื่องของ Foreign Limit ทำให้ผู้จัดการกองทุนไม่สามารถที่จะลงทุนได้ตามสัดส่วนที่ต้องการได้ 100% ในบางบริษัท
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัดอย่าง MSCI Vietnam ก็จะเห็นได้ว่ากองทุนมีผลการดำเนินที่สามารถเอาชนะดัชนีชี้วัดได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ MSCI Vietnam เป็นพอร์ตที่มองในมิติของ Foreign Investment ซึ่ืงจะเป็นพอร์ตที่พิจารณาในเรื่องของข้อจำกัดเรื่อง Foreign Limit ทำให้ผลการดำเนินงานในเชิงเปรียบเทียบจะสะท้อนออกมาได้ดีกว่า
ด้วยขนาดและลักษณะของตลาดที่ยังคงเป็น “ตลาดชายขอบ (Frontier Market)” ทำให้นักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่อาจจะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการลงทุนในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของการเติบโตและปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “Hidden Gem” ที่อาจจะสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างคาดไม่ถึงสำหรับการลงทุนในระยะยาว โดยความน่าสนใจของการลงทุนในเวียดนามมีอยู่หลากหลายมิติ อาทิ
ข้อมูลแสดงความเคลื่อนไหวดัชนี VN Index, Earning Momentum และ Bloomberg Estimate P/E Ratio ย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 2024) สะท้อนว่า Earning Momentum ในช่วงที่ผ่านมายังคงเติบโต แต่ดัชนีเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ถูก
จากโอกาสการเติบโตระยะยาวทั้งในแง่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและบริษัท รวมถึง Valuation ที่อยู่ในระดับน่าสนใจ กองทุน PRINCIPAL VNEQRMF และ K-VIETNAM-SSF จึงเป็นกองทุนที่แนะนำเมื่อพิจารณาในมิติ Macroeconomic, Earning และ Valuation สอดคล้องกับกรอบการวิเคราะห์ MEVT ที่ทาง Finnomena ใช้สำหรับการวิเคราะห์การลงทุนในระยะยาว จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนในกองทุน Tax Saving Fund
กองทุน KKP GB ThaiESG เป็นกองทุนตราสารหนี้ จากผู้จัดการกองทุนมากรางวัล เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน (ESG) เพื่อสอดคล้องกับระยะเวลาในการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี (ระยะเวลาการลงทุน Thai ESG ต้องถือลงทุนเป็นเวลา 5 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ)
คาดการณ์อายุตราสารหนี้เฉลี่ยในพอร์ต 9 ปี บริหารโดยผู้จัดการกองทุนของ บลจ. เกียรตินาคินภัทรมากประสบการณ์ที่เคยได้รับรางวัล Morningstar Awards ถึง 2 ปีซ้อน สร้างผลการดำเนินงานกองตราสารหนี้อื่น ๆ โดดเด่น และคว้ารางวัลการบริหารกองทุนตราสารหนี้มาอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างการลงทุนในตราสารหนี้ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ได้แก่ หมวดหมู่การดูแลสุขภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) หมวดหมู่การสร้างงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการสนับสนุนงานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต (Decent Work and Economic Growth) หมวดหมู่คมนาคมและการขนส่งที่สะอาด เพื่อเกิดเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) และลดภาวะโลกร้อน (Climate Action)
ข้อมูลแสดงผลการดำเนินงานย้อนหลังกองทุน KKP GB ThaiESG นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนวันที่ 15 ธ.ค. 2023 จนถึงวันที่ 1 พ.ย. 2024
ข้อมูลแสดงนโยบายการลงทุน กลยุทธ์การลงทุน และตัวอย่างการลงทุนของกองทุน KKP GB ThaiESG
ปลายปี 2022 จนถึงปลายปี 2023 ที่ผ่านมาธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (BOT) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของหลาย ๆ ประเทศในช่วงที่ผ่านมาก็สร้างแรงกดดันในเรื่องของเสถียรภาพของค่าเงิน จึงมีความจำเป็นที่แบงก์ชาติต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อรักษาระดับของเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนและควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและการลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยภาพรวม
ข้อมูลแสดงความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยย้อนหลัง 10 ปี จาก Trading Economics (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. 2024) ชี้ให้เห็นว่าระดับของอัตราดอกเบี้ยไทยในปัจจุบันอยู่สูงกว่าในอดีต
จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มปรับลดลงตามเงินเฟ้อที่ชะลอตัว กองทุน KKP GB THAIESG จึงมีความน่าสนใจเนื่องจากรับโอกาสจากการล็อก Yield ที่สูง และโอกาสในเรื่องของราคาตราสารหนี้ในพอร์ตที่ปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง จึงเป็นหนึ่งกองทุนที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนใน Thai ESG ที่มีกรอบการลงทุน 5 ปี เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ลดหย่อนภาษีปีนี้ ซื้อกองทุนอะไรดี? สรุปมาให้แล้วแบบครบ ๆ ทั้งกองทุน SSF กองทุน RMF และกองทุน Thai ESG จากหลากหลาย บลจ. ด้วยคำแนะนำการลงทุนที่เป็นกลาง
สำหรับสายจัดพอร์ตห้ามพลาด!! ดูโพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ประจำปี 2024 คัดให้ครบทั้งความเสี่ยงสูง กลาง ต่ำ ได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomenafunds/ssf-rmf-series-package
พิเศษสุด! โค้งสุดท้ายฤดูกาลลดหย่อนภาษี 2024 เรามีโพยลับกองทุนภาษี SSF RMF และ Thai ESG คัดเน้น ๆ แบบ Exclusive เฉพาะลูกค้า Finnomena เท่านั้น
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย
มุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds ณ เดือนพฤศจิกายน 2024
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน B-ASIASSF
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน UOBSA-SSF
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
มุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds ณ เดือนพฤศจิกายน 2024
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
มุมมองการลงทุนโดย Finnomena Funds ณ เดือนพฤศจิกายน 2024
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
สรุปรายละเอียดและจุดเด่นกองทุน
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิกเลย
การคัดเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2024 ทั้ง RMF SSF และ Thai ESG เราได้พิจารณาจากกองทุน F-Pick ในปัจจุบัน และทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Screening) และวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Screening) เพื่อให้ได้กองทุนลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนในระยะยาวจากกองทุนที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เราพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลังระยะยาว (Long-Term Past Performance) ของกองทุนหลักในต่างประเทศเพื่อให้เห็นถึงผลการดำเนินงานในระยะยาวอย่างแท้จริง ทั้งในแง่ของผลตอบแทนและความเสี่ยงที่สอดคล้องกับระยะเวลาลงทุนในกลุ่มกองทุนลดหย่อนภาษี
แม้ว่าผลตอบแทนในอดีตจะไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต แต่ผลการดำเนินงานย้อนหลังในระยะยาวได้พิสูจน์ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนผ่านวัฏจักรเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่ากองทุนดังกล่าวเหมาะสมสำหรับการลงทุนในระยะยาวอย่างแท้จริง
นอกเหนือจากผลการดำเนินงานในอดีตที่เป็นหลักฐานของความสำเร็จในอดีตของกองทุนแล้ว เราได้พิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพของกองทุนเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าความสามารถในอดีตจะสามารถส่งต่อไปยังผลการดำเนินงานในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง
โดยพิจารณาในเรื่องของปรัชญาการลงทุน (Investment Philosophy) และกระบวนการการลงทุน (Investment Process) เพื่อดูว่าภาพรวมการบริหารของกองทุนจะสามารถสร้างผลการดำเนินงานได้ดีต่อเนื่องไปในระยะยาวได้หรือไม่
อีกทั้งได้เพิ่มการพิจารณาในส่วนของนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging Policy) เนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินที่ผันผวนและต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินในปัจจุบันเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงก่อนการลงทุนในกองทุนรวม และส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นว่าเราให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพในหลายมิติ เพื่อที่จะทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนสามารถสะท้อนออกมาสู่นักลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เลือกลงทุนกองทุนประหยัดภาษีทั้ง SSF RMF และ Thai ESG จากหลากหลาย บลจ. บนแพลตฟอร์มการลงทุนที่เป็นกลาง ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
อัตราเงินเฟ้อของไทยยังคงต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งสร้างความกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 0.83% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.9% ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวยังคงต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยวางไว้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 ซึ่งอยู่ระหว่าง 1% ถึง 3% ขณะที่รัฐบาลมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%
โดยกระทรวงพาณิชย์ยังระบุอีกว่า ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) อยู่ที่ 0.8% คงที่จากเดือนกันยายน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลง 0.06% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม
อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย | Source: Commerce Ministry, Bank of Thailand as of 6/11/24
ภาวะเงินเฟ้อที่ต่ำทำให้เกิดความกดดันต่อธนาคารแห่งประเทศไทยให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งเพิ่งจะลดไป 0.25% เมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลพยายามหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการโต้แย้งกันในเรื่องนโยบายการเงินและเป้าหมายเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวบางอย่างเพื่อประนีประนอมกัน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลได้ยอมรับคำขอของธนาคารแห่งประเทศไทยในการคงเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 1 – 3% เป็นเวลาอีกหนึ่งปี โดยมีเงื่อนไขว่าแบงก์ชาติจะต้องดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้อัตราเงินเฟ้อกลับไปอยู่ที่ประมาณ 2% กลาง ๆ
ขณะที่เงินเฟ้อไทยในปีนี้ยังต่ำกว่าเป้าหมายของ ธปท. โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.26% แม้ว่า ธปท. จะคาดว่าภายในปลายปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะกลับไปอยู่ที่ขอบล่างของกรอบเป้าหมาย
ด้านคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อต่ำในปัจจุบันไม่ได้แสดงถึงสัญญาณของภาวะเงินฝืด เนื่องจากไม่ได้มีการลดลงของราคาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง จึงคาดว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นและเฉลี่ยที่ 1.2% ในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นตึงเครียดระหว่าง ธปท. และกระทรวงการคลัง โดยล่าสุดมีการประชุมเพื่อคัดเลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ แต่คณะกรรมการสรรหาได้ตัดสินใจเลื่อนการประชุมออกไป โดยให้เหตุผลว่าต้องใช้เวลาในการพิจารณาข้อมูลอย่างรอบคอบและครบถ้วน เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่น่าเป็นห่วงก็คือเศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเติบโตเฉลี่ยน้อยกว่า 2% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถูกกดดันจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนและภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีน
อ้างอิง: Bloomberg
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
สัปดาห์ต้นเดือนของเดือนพฤศจิกายน 2024 ไม่ได้มีตัวชขี้วัดที่สำคัญออกมามากนัก แต่สิ่งที่น่าจับตามองคือ FED Interest Rate Decision โดยที่มีการคาดการณ์ว่า FED จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 4.50% – 4.75% หรือลดลง 50 BPS และด้วยการที่ปัจจัยในเรื่องของการเลือกตั้งในฝั่งของ US และ Trump นั้นมีโอกาสที่จะชนะมากกว่า 50% และด้วยการที่ Trump นั้นเป็นคนที่สนใจในโลกของคริปโทฯ อยู่แล้ว ทำให้การที่ Trump ชนะการเลือกตั้งสามารถส่งผลดีต่อตลาดคริปโทฯ อีกทั้งตอนนี้ตลาดคริปโทฯ ได้เหมือนมีการรอการยืนยันทั้งผลเลือกตั้งอยู่ และยังไม่ได้มีการ price in ในราคาของคริปโทฯ เท่าที่ควร บ่งบอกถึง upside ที่อาจจะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต
รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต หรือ Non-Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI) จากสถาบัน Institute of Supply Management (ISM) ที่ยังเป็นที่รู้จักในนามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Service PMI) นั้นเป็นดัชนีรวมที่ได้คำนวณในฐานะเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมสำหรับธุรกิจภาคบริการ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต นี้เป็นดัชนีรวมที่ได้จากดัชนีการกระจายต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยดัชนีจำนวนสี่ประเภทที่มีน้ำหนักความสำคัญเท่าเทียมกันก็คือดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว การจ้างงานที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว และการจัดส่งสินค้าของผู้จัดหา
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: ISM Services PMI มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 54.9 เป็น 54.8
การคาดการณ์การลดลงของ ISM Services PMI แต่ยังอยู่ในระดับที่มากกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่มีโอกาสที่จะชะลอตัวในระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตาม ค่า ISM Service PMI ที่มากกว่า 50 ยังแสดงให้เห็นถึงพลังเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ด้วยการที่มีการคาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 0.1 จึงไม่น่ามีผลกระทบแบบมีนัยสำคัญต่อตลาดคริปโทฯ
สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินแห่งสหรัฐฯ หรือ FOMC ได้มีการลงคะแนนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ย นักเก็งกำไรต่างเฝ้าติดตามคำพูดของเขาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดค่าเงินตราและความผันผวนของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: FED มีแนวโน้มที่จะคงที่ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 4.75% – 5.00% เหลือ 4.50% – 4.75%
ในปีนี้มีการคาดการณ์ว่า FED จะลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 100 BPS โดยที่ได้มีการลดแล้ว 50 BPS ในเดือนกันยายน 2024 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการลดอีก 25 BPS หรือลดลงเหลือ 4.50% – 4.75% ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2024 และจะลดอีกครั้งในการประชุมในเดือนธันวาคม 2024 หาก FED ได้มีการลดถึง 100 BPS ในปีนี้คาดว่าจะส่งผลต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยง เพราะเหล่านักลงทุนจะเอาเงินฝากออกมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น
Initial Jobless Claims หรือ Unemployment Claims คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าใช้จ่ายของรัฐได้ชัดกว่าอัตราการว่างงาน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงขึ้นนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หรือ Government Expenditure ถูกใช้ไปในการช่วยเหลือกลุ่มคนว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว และยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศอีกด้วย โดยตัวเลขนี้จะมีประกาศทุก ๆ วันพฤหัสบดี
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 216K เป็น 221K
การคาดการณ์การเพิ่มของขึ้นของ Unemployment Claims แสดงให้เห็นถึงผู้คนที่เข้ามาสวัสดิการการว่างงานของรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นด้วยตัวเลขที่ไม่ได้เยอะมาก ทำให้ตัวชี้วัดนี้อาจไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยง
Credit from LayerGG
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
5 พฤศจิกายน
8 พฤศจิกายน
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Spot Bitcoin ETF มีเม็ดเงินไหลเข้าเป็นจำนวนมากกว่า 2 พันล้านเหรียญ แต่ในทางกลับกัน Spot Ethereum ETF ยังคงได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ Ethereum มีผลตอบแทนที่ Underperform ตลาด ถึงแม้ว่ามูลค่าตลาดคริปโทฯ โดยรวมจะมีการเพิ่มสูงขึ้นถึง 9% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในทางกลับกัน ปริมาณ Stablecoin ที่มีอยู่ในระบบไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม Stablecoin บน Aave และ Funding rates กลับบ่งบอกว่า การเพิ่มขึ้นของราคา Altcoins ส่วนใหญ่ มาจากการเปิด Leverage และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนที่มากขึ้นตามมา
โดยสรุป คือ Bitcoin ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันที่มากกว่าเหรียญอื่น ประกอบกับปัจจัยบวกอย่างการเลือกตั้งสหรัฐฯ และ FOMC Meeting ที่จะตามมา ในขณะเดียวกัน Altcoins ก็ยังคงน่าจับตามอง เพราะมีราคาที่ค่อนข้างต่ำแล้ว แต่อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องของการใช้ Leverage หรือสัญญา Futures ที่อาจจะทำให้เกิดความผันผวนมากกว่าปกติได้
by Cryptomind Advisory
$BTC ได้ย่อตัวกลับลงมาทดสอบแนวรับบริเวณ $66,000 – $67,000 อีกครั้งหลังจากดีดตัวขึ้นไปในสัปดาห์ที่แล้ว มุมมองในช่วงข้างหน้านั้น หากราคาของ $BTC ยังคงยืนเหนือแนวรับดังกล่าวได้ก็จะมีแนวโน้มที่ BTC นั้นสามารถจะขึ้นต่อไปได้ ในอีกมุมหนึ่งหากราคามีการย่อตัวลงมาปิดต่ำกว่าแนวดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่ราคาอาจจะ Sideway Down ออกไปในช่วงข้างหน้านี้ได้
แนวต้าน : $73,000 | $76,500 | $83,000
แนวรับ : $67,000 | $61,500 | $57,500
แนวต้าน : $2,700 | $2,870 | $3,300
แนวรับ : $2,400 | $2,250 | $2,100
by Cryptomind Advisory
ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทโดยรวม ในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-29th-2nd-August-2024
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
เรื่องจริงที่ว่า “คนเราเกิดมาเพื่อใช้ชีวิต” แต่เพราะเราไม่ได้ใช้ชีวิตแค่วันนี้ ดังนั้นแล้ว จึงต้องมีการวางแผนจัดการการเงินที่ดี เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตในวันนี้และวันข้างหน้าตามที่ใจหวัง
แผนการเงินที่ดี คือ แผนที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายที่เราพอใจได้ ซึ่งความพอใจของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน แต่ต้องมีความมั่นคงและช่วยไปให้ถึงเป้าที่เราตั้งไว้ได้ อย่างเช่นการวางแผนตาม “ปิรามิดทางการเงิน”
ปิรามิดทางการเงิน (Financial Pyramid) คือการเปรียบเทียบการวางแผนการเงินให้ออกมาในรูปแบบของปิรามิด โดยเป็นการเรียงลำดับความสำคัญจากฐานไปสู่ยอด ว่าควรวางแผนอะไรก่อน-หลัง เปรียบเสมือนการสร้างบ้านที่ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานให้มั่นคงก่อน แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
อันดับแรกต้องมาจัดการกับรายรับ – รายจ่ายที่มี เพื่อสร้างฐานการเงินของเราให้มั่นคง แข็งแรงก่อน โดยอาจแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ส่วน ตามแนวคิด 50/30/20 ของ Elizabeth Warren นักวิชาการและนักการเมืองชาวสหรัฐอเมริกา ดังนี้
โดยเงินออมก้อนแรกที่ควรมีคือ เงินสำรองฉุกเฉิน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน
เป้าหมายของสูตรดังกล่าว เป็น “เข็มทิศนำทาง” ให้เราจัดระเบียบการใช้จ่ายของตัวเองให้เข้าที่เข้าทางได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับใช้เพื่อให้เข้ากับรายรับ-รายจ่ายของแต่ละคนได้ อีกทั้งยังเป็นการตรวจสอบว่าที่ผ่านมานั้นเราใช้จ่ายเงินเกินตัวในเรื่องไหนบ้างหรือไม่
ฐานถัดมาคือการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับแผนการเงินของเรา โดยการโอนย้ายความเสี่ยงไปไว้ที่อื่น ด้วยเครื่องมือที่มีชื่อว่า “ประกัน” นั่นเอง โดยประกันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
2.1 ประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) คือ การคุ้มครองสินทรัพย์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิต เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ประกันการโจรกรรม
2.2 ประกันชีวิต (Life Insurance) คือ การคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ ด้วยโรคหรืออุบัติเหตุ ซึ่งประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 5 แบบ ดังนี้
จะเห็นได้ว่า ประกันแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ควรศึกษาและเลือกให้ตรงกับโจทย์ชีวิตของแต่ละคน ซึ่งบางคนอาจไม่ค่อยให้ความสำคัญ และมองว่าเป็นภาระ แต่มันอาจช่วยปกป้องหายนะในอนาคตของเราก็เป็นได้
เมื่อส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 มั่นคงแล้ว ก็มาต่อกันที่การต่อยอดโจทย์ชีวิตของแต่ละคนกัน ว่ามีเป้าหมายในชีวิตอย่างไรบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่
แผนการเงินที่ดี จะต้องครอบคลุมไปจนถึงการวางแผนภาษีด้วย เพราะเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีที่ต้องยื่นภาษีทุกปี ซึ่งเราสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อลดการจ่ายภาษีให้น้อยลง หรือไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ทำได้ โดยวิธีคำนวณภาษี มีดังนี้
4.1 คำนวณเงินได้สุทธิ ตามสูตร รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
4.2 เทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ตามสูตร (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด = ภาษีที่เราต้องจ่าย หรือได้คืนนั่นเอง
อีกวิธีที่ในการวางแผนภาษี ที่ง่ายมาก ๆ คือการใช้โปรแกรมหรือแอปฯ ในการคำนวณภาษี ซึ่งมีอยู่หลายเว็บด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์ : https://www.set.or.th/project/caltools/www/html/tax/index.html?theme=default
และยิ่งถ้าเราวางแผนภาษีได้เป็นอย่างดี เงินที่ประหยัดได้นี้ ก็สามารถนำไปต่อยอดให้งอกเงย สร้างเงินกลับมาให้เราได้อีกต่อหนึ่งด้วย
ฐานสุดท้ายของปิรามิดทางการเงิน จำเป็นต้องมีการส่งต่อมรดก เพราะจะช่วยให้สิ่งที่เราสร้างและเก็บรักษามาตลอดชีวิตถูกจัดสรรให้แก่คนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง โดยการวางแผนมรดกจะช่วยส่งผ่านความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น แถมยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่เราหามาด้วยน้ำพักน้ำแรงนั้น จะถูกสืบทอดไปตามเจตนารมณ์ของเรา ซึ่งวิธีการวางแผนมรดกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
5.1 สำรวจทรัพย์สินในปัจจุบัน โดยทำการรวบรวมทรัพย์สินและหนี้สินของเราที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ให้มารวมอยู่ใน “งบดุลส่วนบุคคล” เพื่อนำมาสรุปว่าเรามีทรัพย์สินและหนี้สินอยู่จำนวนเท่าไหร่
5.2 ทำพินัยกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินจะถูกส่งต่อไปยังบุคคลที่เราต้องการมอบให้อย่างแน่นอนและครบถ้วน แต่ควรอัปเดตรายละเอียดในพินัยกรรมอย่างน้อยทุก ๆ 3 – 5 ปี
5.3 วางแผนภาษีมรดก เนื่องจากประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 แต่หากมีการวางแผนมอบมรดกที่ดี อาจช่วยให้คนที่เรารักไม่ต้องเสียภาษีมรดกมากเกินไปก็เป็นได้
จะเห็นว่าการวางแผนชีวิตด้วยปิรามิดทางการเงิน ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถวางแผนจัดสรรการเงินได้อย่างมีระบบ แต่ก็มีความยากในเรื่องของการลงทุนเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ เพราะด้วยพื้นฐานของคนเราแล้ว มักไม่ได้มีแค่เป้าหมายเดียวในชีวิต มีทั้งแต่งงาน ค่าเทอมลูก ซื้อบ้าน หรือเกษียณ
ดังนั้นแล้ว เพื่อให้เราสามารถทำตามปิรามิดทางการเงินได้ง่ายขึ้น Finnomena Funds ขอแนะนำ Goals Navigator นวัตกรรมที่สามารถวางแผนทุกช่วงชีวิตให้ครบจบในที่เดียว รวมทั้งสามารถคาดการณ์ผลตอบแทน เพื่อจัดสรรเงินลงทุนตามลำดับความสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพได้สูงสุด
“Goals Navigator นำพาคุณ สู่เป้าหมายการลงทุน ทุกสถานการณ์ และช่วงจังหวะของชีวิต”
“Finnomena Funds Goals Navigator” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก เพราะด้วยความที่สหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารอันดับ 1 ของโลก การเปลี่ยนแปลงผู้นำในแต่ละครั้งจึงส่งผลกระทบต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจระดับโลกอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของการเลือกตั้งสหรัฐฯ Finnomena ได้สรุป 10 ข้อน่ารู้ที่จะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับการตั้งสหรัฐฯ ได้ดียิ่งขึ้น
1. ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐฯ จะเป็นแบบ Electoral College คือประชาชนเลือกคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) เพื่อเป็นตัวแทนไปเลือกประธานาธิบดี (Electoral Vote) โดยผู้ที่จะเป็นประธานาธิบดีต้องได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งของรัฐต่าง ๆ รวมกันอย่างน้อย 270 เสียง จากจำนวนทั้งสิ้น 538 เสียง
2. Donald Trump เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 27 และเป็นบุคคลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 536 ของโลก
3. Kamala Harris เป็นผู้หญิงชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรก และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันคนแรก ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนีย
4. ประวัติศาสตร์และจุดยืน 2 พรรคการเมือง
เป็นพรรคเก่าแก่ของอเมริกา ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากพรรคเดโมแครต-รีพับลิกัน ในยุคแรก ๆ พรรคเน้นสิทธิของรัฐและต่อต้านการแทรกแซงจากรัฐบาลกลาง
ปัจจุบันพรรคเดโมแครตเน้นไปที่นโยบายเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความยุติธรรมทางสังคม ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการปรับปรุงความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางและชนกลุ่มน้อย
ก่อตั้งขึ้นในปี 1854 โดยกลุ่มที่คัดค้านการค้าทาสในสหรัฐฯ พรรคนี้ยืนหยัดเพื่อการเลิกทาส มีแนวทางที่เน้นค่านิยมแบบอนุรักษ์นิยม และสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี
ปัจจุบันพรรครีพับลิกันได้มุ่งเน้นการอนุรักษ์นิยมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความมั่นคงของชาติ และเน้นการเพิ่มศักยภาพทางการตลาด
5. รัฐ Swing State เป็นรัฐที่ผลการเลือกตั้งสามารถออกได้ทั้ง 2 หน้า มี 7 รัฐ ดังนี้ แอริโซนา, จอร์เจีย, มิชิแกน, เนวาดา, นอร์ทแคโรไลนา, เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซิน
6. ไทม์ไลน์การเลือกตั้ง เลือกวันไหน รู้ผลเมื่อไหร่
7. สรุปนโยบายสำคัญ
Kamala Harris
Donald Trump
8. ความเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของตลาดหุ้นราย Sector ในช่วงของการเลือกตั้งไม่ได้มี Pattern ที่ชัดเจนอย่างมีนัยยะสำคัญ
9. ตลาดหุ้นมักมีความกังวลในระยะสั้นระหว่างการเลือกตั้ง แต่ความผันผวนจะกลับสู่ระดับปกติเมื่อเหตุการณ์นี้ผ่านพ้นไป
10. แต่หลังเลือกตั้ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักปรับตัวขึ้นต่อ และโดดเด่นกว่าปีที่ไม่มีเลือกตั้ง
อ้างอิง: BBC, Forbes, U.S. Embassy, Finnomena, The Standard
ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!
ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena
Finnomena Funds คัดกองทุนเด่น เจาะกลยุทธ์เดือนพฤศจิกายน เมื่อผลการเลือกสหรัฐฯ อาจทำตลาดผันผวน ต้องเน้นการ Selective หาจังหวะสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว
อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 โดย Finnomena Funds
ภาพรวมภาวะการลงทุนในช่วงเดือนตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา พบว่าหุ้นกลุ่ม Emerging Market ปรับตัวลดลงแทบทั้งหมด หลัง Fund Flow ไหลออก Dollar Index กลับมาแข็งค่า ตรงกันข้ามกับหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา และกลุ่ม Magnificent-7 ที่ยังคงเป็นบวกได้ ซึ่งถูกหนุนด้วยการถูกปรับประมาณการกำไรที่ออกมาดูดี
ส่วน Bond Yield ก็ปรับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยอายุ 3 เดือน อยู่ที่ 4.50% 2 ปี อยู่ที่ 4.21% และ 10 ปี อยู่ที่ 4.28% เป็นการเด้งขึ้นมาจากมุมมองเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เพราะตลาดคิดว่ามีโอกาสสูงที่ Trump จะชนะเลือกตั้ง เกิดการใช้นโยบายขาดดุล
ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแกร่งกว่าคาด แต่ Valuation ปัจจุบันเริ่มตึงตัวแล้ว จึงแนะนำเน้นการ Selective และใช้จังหวะความผันผวนช่วงเลือกตั้งนี้ เข้าสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) K-APB-A(A)
กองทุนตราสารหนี้เอเชีย กระจายลงทุนในหลากหลายประเทศ เช่น อินเดีย ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ซึ่งสามารถให้ Yield ที่สูงกว่า 7.39% ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเข้าสู่ช่วงขาลง และเข้าซื้อในจังหวะที่ Bond Yield ดีดตัวขึ้น
2.) DAOL-KOREAEQ
กองทุนหุ้นเกาหลีใต้แบบ Active Fund เป็นตลาดเอเชียที่มีโอกาสให้เข้าทยอยสะสม ด้วยมูลค่าที่ยังไม่แพง ช่วงที่ผ่านมาราคาปรับตัวลงแรงกว่าปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงแข็งแกร่ง และเติบโตตามเทรนด์ของชิปเซมิคอนดักเตอร์
3.) KT-ENERGY
กองทุนหุ้นพลังงานทั่วโลก เน้นลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมัน ซึ่งกำลังอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง โดยมีโมเมนตัมหนุนจากกระแส Trump Trade
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) ES-USBLUECHIP
กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยเน้นคัดเลือกบริษัทที่เติบโตทั้งรายได้ กำไร และกระแสเงินสด ตลอดจนมีความสามารถทางการแข่งขันสูง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อโอกาสการลงทุนตามเทรนด์ขาขึ้น รับการประกาศงบที่สดใสในไตรมาส 3
2.) SCBSEMI(A)
กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมการประกาศผลประกอบการหุ้นชิปอเมริกาที่คาดว่าจะออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คิด อาทิ Nvidia, Broadcom และ Qualcomm เป็นต้น
กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (Unhedged) มองเป็นจังหวะเก็งกำไร USDTHB ผ่านตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ จากทิศทางของค่าเงินบาทที่น่าจะกลับมาเกิน 34 บาทต่อดอลลาร์
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ซึ่งมีปัจจัยหนุนให้เดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับ Catalyst จากการเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปีหน้า
2.) B-INNOTECH
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี ซึ่งเน้นการคัดเลือกหุ้น Value Play ตามปรัชญาของผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญในการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง พร้อมรับอานิสงส์จากงบหุ้นบิ๊กเทคที่คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง
3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A
กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมในช่วงที่ Bond Yield ดีดขึ้นมาในระยะสั้น เพื่อถือรับโอกาสในระยะยาว แม้จะมีความเสี่ยงจากนโยบายของ Trump แต่ก็เป็นกองทุน Active ที่ปรับ Duration ได้อย่างยืดหยุ่นตามสถานการณ์ตลาด
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์กำลังเกิดขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อ Nvidia (NVDA) ผู้นำด้านชิป AI จะเข้ามาแทนที่ Intel (INTC) อดีตผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก ในดัชนี Dow Jones Industrial Average โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้
ดัชนี Dow Jones มีชื่อเต็มว่า Dow Jones Industrial Average (DJIA) เป็นดัชนีทางการเงินเก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงมีการเผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน โดยถือกำเนิดขึ้นในปี 1896 จาก Charles Dow และ Edward Jones สองนักหนังสือพิมพ์ด้านการเงิน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัด “สุขภาพ” ของเศรษฐกิจอเมริกา
ในช่วงเริ่มต้นดัชนี Dow Jones ประกอบไปด้วยด้วยหุ้น 12 บริษัท และต่อมาในปี 1928 ก็ได้ขยายตัวเป็น 30 บริษัทจนถึงปัจจุบัน
ดัชนี Dow Jones มีการเกณฑ์ที่เข้มงวดในการคัดเลือกหุ้นเข้าดัชนี โดยจะต้องเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้อย่างแม่นยำ
โดยบริษัทที่จะเข้าสู่ดัชนี Dow Jones ต้องมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง โดยทั่วไปบริษัทได้รับการพิจารณามักมี Market Cap มากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.38 ล้านล้านบาท)
นอกจากนี้ ยังต้องมีประวัติการดำเนินงานที่ยาวนาน มีความมั่นคงทางการเงิน และมีกำไรติดต่อกันมาหลายไตรมาส ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหุ้น Blue Chip ในกลุ่มเทคโนโลยี การเงิน และค้าปลีกที่สะท้อนโครงสร้างเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นที่สำคัญของดัชนี Dow Jones คือการถ่วงน้ำหนักด้วยราคา (Price-weighted) ไม่ใช่ Market Cap เหมือนดัชนีอื่น ๆ เช่น S&P 500 หรือ Nasdaq 100 นั่นหมายความว่าหุ้นที่มีราคาสูงจะส่งอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีมากกว่า แม้ว่าบริษัทดังกล่าวอาจมี Market Cap น้อยกว่า
วิธีการคำนวณดัชนี Dow Jones นั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา คือ นำราคาปิดของหุ้นทั้งหมดที่อยู่ในดัชนีมาบวกกัน แล้วนำผลรวมนั้นไปหารด้วยตัวเลขที่เรียกว่า “Dow Divisor” ซึ่งตัวหารนี้จะถูกปรับเปลี่ยนอยู่เสมอเพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การแตกหุ้น การรวมกิจการ หรือการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของดัชนี
ตลอด 128 ปีที่ผ่านมา Dow Jones มีการปรับเปลี่ยนหุ้นในดัชนีมาแล้วกว่า 50 ครั้ง สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านจากยุคอุตสาหกรรมหนักสู่ยุคดิจิทัล และการที่ Nvidia เข้ามาแทนที่ Intel ในครั้งนี้ ถือเป็นสัญญาณของการก้าวสู่ยุค AI อย่างเต็มตัว
หลังจากอยู่ในตำแหน่งมากว่า 25 ปี Intel จะต้องอำลาดัชนี Dow Jones ในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ขณะที่ Nvidia ได้ก้าวขึ้นเป็นสมาชิก “3 Trillion Dollar Club” กลุ่มบริษัทชั้นนำที่มี Market Cap เกิน 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 100 ล้านล้านบาท) ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft และ Apple
ปี 2024 นับเป็นปีทองของ Nvidia เมื่อราคาหุ้นพุ่งทะยานกว่า 180% และหากนับตั้งแต่ต้นปี 2023 ราคาหุ้นของ Nvidia ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า โดยมีแรงหนุนหลักจากกระแส AI ที่กำลังร้อนแรงไปทั่วโลก
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 พฤศจิกายน 2024) ราคาหุ้น Nvidia ปิดที่ 135.37 ดอลลาร์สหรัฐ ตรงข้ามกับ Intel ที่เผชิญภาวะซบเซามากว่าหนึ่งปี และยังคงดิ้นรนกับการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดชิป AI โดยราคาหุ้นของ Intel ได้ปรับตัวลงมากว่า -50% ในปีนี้
และในไตรมาส 3/2024 Intel ได้รายงานผลขาดทุนมหาศาลถึง 16,600 ล้านดอลลาร์ แม้ว่าหุ้นจะฟื้นตัวขึ้น 8% หลังประกาศคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 4/2024 ก็ตาม
ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังจับตารอผลประกอบการไตรมาส 3/2024 ของ Nvidia ที่จะประกาศในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งกระแส AI Boom ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของ Nvidia โดยบริษัทได้เร่งกำลังการผลิตชิป AI รุ่นใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันตลาดยังคงผันผวนจากปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ โดย Apple บริษัท Big Tech ที่มี Market Cap สูงสุดในโลก เผชิญกับแรงเทขายจนราคาร่วง 2% แม้รายได้จะดีกว่าคาด แต่กำไรไตรมาส 4/2024 กลับดิ่งลงถึง 36% เทียบปีก่อน จากเหตุถูกปรับภาษีในยุโรปกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 338,000 ล้านดอลลาร์)
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนล้อไปตามดัชนี Dow Jones ปัจจุบันมีกองทุนให้เลือกคือ SCBDJI(A) และ SCBDJI(SSF) ซึ่งเป็น Passive Fund ที่ลงทุนผ่าน SPDR Dow Jones Industrial Average ETF Trust
ด้วยการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 30 ตัวของอเมริกา โดยมีส่วนผสมทั้งธุรกิจขนาดใหญ่แบบดั้งเดิม และหุ้นเติบโตแห่งอนาคต
อ้างอิง: Edge Middle East, Finnomena, Settrade
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299