แจ้งเตือน

คุณทำ 4 เรื่องนี้แล้วยัง? ชวนสำรวจตัวเอง ในการวางแผนการลงทุน

FINNOMENA FUNDS

การวางแผนการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับที่มันเป็นเรื่องยาก คนไม่น้อยเคยลองตั้งเป้าหมายการลงทุน แต่กลับเป็นอันต้องล้มเลิกไปกลางทาง เพราะไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ถูกต้องไหม หรือจะไปถึงเป้าหมายได้จริงไหม

ในบทความนี้ เราอยากชวนทุกคนมาวางอิฐก้อนแรก ผ่าน 4 เช็กลิสต์ในการวางแผนการลงทุน หรือหากใครเคยทำแล้วเราก็อยากชวนมาสำรวจตัวเองกันอีกสักรอบในการวางแผนการลงทุน

ถ้าไม่ลำบากเกินไปนัก เราอยากชวนทุกคนมาขีดเขียนเป้าหมายการลงทุนไปพร้อม ๆ กัน … ถ้าพร้อมแล้วก็หยิบปากกา คีย์บอร์ด แล้วไปลองดูกัน หรือใครจะทดในใจก็ตามแต่สะดวกเลย

4 เช็กลิสต์วางแผนการลงทุน คุณทำสิ่งเหล่านี้หรือยัง?

✅ เช็กลิสต์ที่ 1 … แผนการลงทุนมีเป้าหมายที่ชัดเจนไหม?

โดยทั่วไปแล้วหลายคนน่าจะวางเป้าหมายการลงทุนเอาไว้เป็นตัวเลขผลตอบแทนต่อปี ซึ่งทำให้แผนการลงทุนมีภาพไม่ชัดเจนว่าชีวิตเราต้องการเงินกี่ก้อน เพื่ออะไร และจะใช้เงินตอนไหน เราเรียกแผนแบบนี้ว่า Return-Driven ซึ่งยากกว่าในการวางแผนการลงทุนที่ชัดเจน

สิ่งที่เราอยากให้ลองทำในข้อแรกคือ ให้ลองคิดให้ชัดเจนว่าจะแบ่งเงินเป็นก้อนย่อย ๆ กี่ก้อน แต่ละก้อนใช้ทำอะไรบ้าง ที่จะตอบโจทย์ชีวิตของเรา เช่น เที่ยวรอบโลก ส่งลูกเรียน หรือใช้ยามเกษียณ เพื่อจะได้ตอบคำถามต่อไปได้ว่าจะกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์แบบไหนบ้าง เราเรียกการวางแผนแบบนี้ว่า Success-Driven คือวางแผนตามเป้าหมาย ไม่ใช่ผลตอบแทน

✅ เช็กลิสต์ที่ 2 … ลองลิสต์เป้าหมายของตัวเองดูหรือยัง?

หลังจากวางเป้าหมายแล้ว ต่อมาเราอยากให้ลองลิสต์เป้าหมายออกมาให้ชัดเจน โดยพยายามตอบให้ได้ว่ามีเป้าหมายอะไรบ้าง ใช้งบเท่าไหร่ และต้องใช้เงินก้อนนี้ตอนไหน เช่น เที่ยวรอบโลกในงบ 5 แสนบาทในอีก 5 ปี ซื้อบ้านในงบ 5 ล้านบาท ในอีก 10 ปี หรือเก็บเงินเกษียณในอีก 25 ปี เป็นต้น

✅ เช็กลิสต์ที่ 3 … จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายหรือยัง?

เชื่อว่าชีวิตของแต่ละคนมีความต้องการ (เป้าหมาย) ที่หลากหลายและแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนการลงทุนสำเร็จคือการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายให้ได้ตามความเป็นจริง

หลังจากได้ลองลิสต์เป้าหมายออกมาเป็นข้อ ๆ ถึงตรงนี้ เราอยากให้ทุกคนจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายเป็น 4 แบบ คือ Need, Want, Wish และ Dream โดยเรียงตามลำดับความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตพื้นฐานของตัวเอง เพื่อให้สามารถจัดสรรเงินลงทุนตามลำดับความสำคัญของเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันท่วงทีหากสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นใจ

✅ เช็กลิสต์ที่ 4 … ปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดหรือไม่?

ข้อสุดท้าย พึงระลึกเอาไว้เสมอว่าการทำตามแผนลงทุนที่วางไว้เป็นเหมือนการวิ่งระยะไกล ซึ่งอาจพบเจอสิ่งที่ไม่คาดฝันได้ระหว่างทาง บางครั้งตลาดอาจไม่เป็นใจ บางคราวเราอาจมีความต้องการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จของทุกเป้าหมายทางการลงทุน เราต้องมีความสม่ำเสมอในการปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์ตลาดและช่วงชีวิตของเรา

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องวางแผนการลงทุนและวิ่งฟันฝ่าเส้นทางชีวิตไปด้วยตัวคนเดียว เพราะจริง ๆ แล้ว มี 2 พลังที่จะช่วยให้ไปถึงฝั่งฝันได้ง่ายขึ้น นั่นคือพลังใจและนวัตกรรม

2 พลัง ที่จะทำให้แผนการลงทุนของคุณไปถึงเป้าหมายได้แบบไม่หลงทาง 

ปัจจัยแรกที่จะช่วยให้แผนการลงทุนไม่หลงทาง คือ ที่ปรึกษาการลงทุน ที่เป็นเหมือน ‘พลังใจ’ ซึ่งจะมาเป็นหัวใจในการวางแผนการลงทุนและจัดการกลยุทธ์ในการลงทุนด้วยประสบการณ์และคุณวุฒิเฉพาะด้าน ช่วยให้สามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างมั่นใจ

อีกหนึ่งปัจจัยคือ ‘พลังนวัตกรรม’ เช่น FINNOMENA FUNDS Goals Navigator™”ที่ทาง FINNOMENA FUNDS และ Franklin Templeton ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมาย ผ่าน 4 มิติ ของการวางแผนการลงทุน คือ

  • Success Driven: วางแผนการลงทุนเพื่อให้ชีวิตบรรลุทุกเป้าหมายที่ต้องการ
  • Multi-Goal: วางแผนการลงทุนตามความต้องการอันหลากหลายของแต่ละคน
  • Multi-Priority: วางแผนโดยจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย
  • Lifetime Visualization: ติดตามผลและหมั่นปรับพอร์ตตามสถานการณ์อยู่เสมอ

 

“ถ้าคุณเริ่มวางแผนทางการเงินวันนี้ อีก 20 ปีข้างหน้าคุณจะขอบคุณตัวเอง” 

– Gigs Kasin Suthammanas (The Asset Allocation Investors)

ไม่ว่าคุณจะมีเป้าหมายชีวิตแบบไหน ลองให้ “FINNOMENA FUNDS Goals Navigator” พาคุณมุ่งสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน ด้วยนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทาง FINNOMENA FUNDS และ Franklin Templeton ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน*

“FINNOMENA FUNDS Goals Navigator™” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน

👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web 

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

สรุปงบ Q2/23 หุ้น FAANG แบบเห็นภาพชัด ๆ

fruhling
หุ้น FAANG FANG

สารบัญ (คลิกอ่านส่วนที่สนใจก่อนได้เลย)


รู้จัก FAANG หุ้นเทคยักษ์ฆ่าไม่ตาย

ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นช่วงปางตายของหุ้นเทคฯ ก็ไม่ผิด แม้แต่หุ้นตัวแบกในกลุ่ม FAANG ก็พากันติดลบแบบไม่สนใคร แต่ก็จะมีหุ้นอยู่บางตัวที่ติดลบมากกว่าใครเพื่อน 

เช่น META บริษัทแม่ของ Facebook ที่ทำมูลค่าหล่นหายไประหว่างปี 2022 เกือบ 2 ใน 3 จนถูกสื่อและนักลงทุนค่อนแคะขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการผลาญเงินลงทุนไปกับธุรกิจ Reality Labs หรือ VR/AR

นักวิเคราะห์บางคนถึงกับพูดว่า “ถึงเวลาที่จะทบทวนว่าใครกันแน่ ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่ Big Tech” 

ก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าเรื่องของหุ้น MATANA และหุ้นกลุ่มนี้เองก็คือกลุ่มใหม่ที่ถูกยกขึ้นแทนที่ FAANG โดยเป็นการตัดหุ้นคนป่วย (ณ ตอนนั้น) อย่าง Meta ออก รวมถึง Netflix ที่เจอคำถามเรื่องการเติบโต และแทนด้วย Microsoft, Tesla, และ Nvidia

อย่างไรก็ตาม META กลับมีผลประกอบการแข็งแกร่งในปี 2023 จนราคาหุ้นตอนนี้วิ่งขึ้นมาเกือบ 137% ตั้งแต่ต้นปี ถ้าจะพูดว่าหุ้น FAANG ฆ่าไม่ตาย ก็ไม่ใคร่จะผิดนัก

FINNOMENA FUNDS ชวนทุกคนมาตามติดงบหุ้น FAANG ใน Q2/23 กันอีกครั้ง ลองมาดูกันว่า Big Tech ยักษ์ใหญ่ที่กำลังครองโลกปัจจุบัน มีรายได้จากไหน กำไรเป็นอย่างไร และยังแข็งแกร่งอยู่อีกหรือไม่


Meta (META)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Meta | Source: Financial Statement ของ Meta as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Meta Q2/23

  • รายได้ : 32.0 พันล้านเหรียญ +11% (YoY)
  • กำไรขั้นต้น : 26.1 พันล้านเหรียญ +10%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 9.3 พันล้านเหรียญ +8%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 9.4 พันล้านเหรียญ +12%
  • กำไรสุทธิ : 7.8 พันล้านเหรียญ +16% (อัตรากำไรสุทธิ 24%)

รายได้แยกธุรกิจ

  • 📱 Family of Apps เช่น Facebook, Instagram, Threads, Messenger และ WhatsApp – 31.7 พันล้านเหรียญ
  • 🥽 Reality Labs เช่น Horizon Worlds, Oculus และ Meta Quest – 0.3 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Q2/23

  • Daily Active User (DAU) อยู่ที่ 3.07 พันล้านคน รวมกันทุกแอปฯ ในเดือนมิถุนายน 2023 เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน
  • Ad impressions ช่วงQ2/2023 เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อนเมื่อนับรวมทุกแอปฯ ส่วน price per ad ลดลงจากปีก่อน 16%
  • Meta ซื้อหุ้นคืนเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 793 ล้านเหรียญ

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “เรามีไตรมาสที่ดี เรายังคงเห็นการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในทุกแอปฯ ของเรา แถมเรายังมีแผนงานที่น่าตื่นเต้นที่สุดเท่าที่ผมได้เห็นมาในระยะนี้ ไม่ว่าจะเป็น Llama 2, Threads, Reels ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ AI ใหม่ ๆ นอกจากนี้เราเตรียมจะเปิดตัว Quest 3 ในฤดูใบไม้ร่วงนี้” – Mark Zuckerberg, ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Meta

Amazon (AMZN)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Amazon | Source: Financial Statement ของ Amazon as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Amazon Q2/23

  • รายได้ : 134.4 พันล้านเหรียญ +11%
  • กำไรขั้นต้น : 21.8 พันล้านเหรียญ +33%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 7.7 พันล้านเหรียญ +132%
  • กำไรสุทธิ : 6.8 พันล้านเหรียญ (อัตรากำไรสุทธิ 5%)

รายได้แยกธุรกิจของ Amazon

  • 🌐 Online stores เช่น Amazon.com – 53 พันล้านเหรียญ
  • 🛒 Physical stores เช่น Amazon Books, Amazon 4-star และ Amazon Go – 5 พันล้านเหรียญ
  • 🤝 Third-party seller services – 32.3 พันล้านเหรียญ
  • 📃 Subscription services เช่น Amazon Prime, Kindle Unlimited –  9.9 พันล้านเหรียญ
  • 👁️‍🗨️ Advertising services เช่น Amazon Advertising และ Twitch – 10.7 พันล้านเหรียญ
  • ☁️ AWS – 22.1 พันล้านเหรียญ
  • 📈 Other – 1.3 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Amazon Q2/23

  • รายได้กลับมาโตสองหลัก (11%) อีกครั้ง หลังจากโตหลักเดียวมา 5 ใน 6 ไตรมาสหลังสุด
  • ลด headcount ทั่วโลกลง 4% เหลือ 1.46 ล้านคน ในช่วงสิ้น Q2/23
  • ธุรกิจคลาวด์ (Amazon Web Service: AWS) คิดเป็น 70% ของกำไรจากการดำเนินงานทั้งหมด

Apple (AAPL)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Apple | Source: Financial Statement ของ Apple as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Apple Q2/23

  • รายได้ : 81.8 พันล้านเหรียญ -1%
  • กำไรขั้นต้น : 36.4 พันล้านเหรียญ +1%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 7.4 พันล้านเหรียญ +9%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 23.0 พันล้านเหรียญ -0.3%
  • กำไรสุทธิ : 19.9 พันล้านเหรียญ +2% (อัตรากำไรสุทธิ 24%) 

รายได้แยกธุรกิจของ Apple

  • 📱 iPhone 39.7 พันล้านเหรียญ
  • 🖥️ Mac 6.8 พันล้านเหรียญ
  • ✍️ iPad 5.8 พันล้านเหรียญ
  • 🎧 Other เช่น Apple Watch, AirPods & etc. 8.3 พันล้านเหรียญ
  • 🎹 Services เช่น App Store, Apple Pay, Apple Card, Apple TV+, Apple Music และ iCloud – 21.2 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Apple Q2/23

  • ไตรมาสล่าสุดมีรายได้จาก Services สูงสุดตลอดกาล จากยอดสมาชิกรวม 1 พันล้านราย
  • ยอดขายรวมลดลง -1% YoY ยอดขายทั้ง iPhone, Mac และ iPad ลดลงจากปีก่อน

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “เรายังคงทำได้ดีในตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) อย่างต่อเนื่อง จากยอดขาย iPhone ที่แข็งแกร่ง” – Tim Cook ซีอีโอของ Apple

Netflix (NFLX)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Netflix | Source: Financial Statement ของ Netflix as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Netflix Q2/23

  • รายได้ : 8.2 พันล้านเหรียญ 3%
  • กำไรขั้นต้น : 3.5 พันล้านเหรียญ 7%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 0.7 พันล้านเหรียญ -8%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 1.8 พันล้านเหรียญ 16%
  • กำไรสุทธิ : 1.5 พันล้านเหรียญ 3%

รายได้แยกตามภูมิภาค

  • สหรัฐฯ และแคนาดา (UCAN) – 3.6 พันล้านเหรียญ
  • ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) – 2.6 พันล้านเหรียญ
  • ลาตินอเมริกา (LATAM) – 1.1 พันล้านเหรียญ
  • เอเชียแปซิฟิก (APAC) – 1.0 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Q2/23

  • Netflix ยกเลิกการหารบัญชีในกว่า 100 ประเทศ ซึ่งสร้างรายได้รวมกันกว่า 80%
  • รายได้ในแต่ละภูมิภาคสูงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับตอนยังไม่ยกเลิกการหารบัญชี
  • ตอนนี้คนสมัครบัญชีใหม่มีมากกว่าคนที่ยกเลิกบัญชีไป
  • Netflix มีสมาชิกแบบจ่ายเงินทั้งสิ้น 238.39 ราย เพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อน

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “รายได้จะทะยานในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อการยกเลิกการหารบัญชีผลิดอกเต็มที่ รวมถึงบัญชีแบบมีโฆษณาราคาย่อมเยาที่เติบโตอย่างมั่นคง” – Netflix ระบุผ่านแถลงการณ์

Alphabet (GOOGL)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Alphabet | Source: Financial Statement ของ Alphabet as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Alphabet Q2/23

  • รายได้ : 74.6 พันล้านเหรียญ +7%
  • กำไรขั้นต้น : 42.7 พันล้านเหรียญ +8%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 10.6 พันล้านเหรียญ +8%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 21.8 พันล้านเหรียญ +12%
  • กำไรสุทธิ : 18.4 พันล้านเหรียญ +15% (อัตรากำไรสุทธิ 25%)

รายได้แยกธุรกิจของ Alphabet

  • 🔎 Google Search & other – 42.6 พันล้านเหรียญ
  • 📹 YouTube ads – 7.7 พันล้านเหรียญ
  • 👁️‍🗨️ Google Network ads เช่น AdWords และ AdSense/AdMob – 7.9 พันล้านเหรียญ
  • 🎮 Google Other เช่น Youtube Premium, Google Play และโทรศัพท์ Google Pixel – 8.1 พันล้านเหรียญ
  • ☁️ Google Cloud – 8 พันล้านเหรียญ
  • 📈 Other Business – โปรเจ็กต์สตาร์ตอัป เช่น Access, Calico, CapitalG, GV, Nest, Verily และ Waymo – 2.9 ร้อยล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Alphabet Q2/23

  • รายได้หลักจากการโฆษณา (รวมทั้ง Google Search, Youtube Ads และ Google Network) เติบโตได้ราว ๆ 3% 
  • ธุรกิจคลาวด์ Google Cloud Platform ซึ่งเป็นธุรกิจที่ Big Tech หลายเจ้าให้ความสนใจ (Amazon และ Microsoft) เติบโต 24%

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “ความเป็นผู้นำที่ดำเนินมาต่อเนื่องของเราทั้งในด้าน AI วิศวกรรม และนวัตกรรม กำลังขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าในธุรกิจ Search Engine และช่วยปรับปรุงบริการของเราทั้งหมด” – Sundar Pichai ซีอีโอของ Alphabet และ Google

ลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ผ่านกองทุน MEGA10-A

สำหรับผู้ที่สนใจจะลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่สัญชาติสหรัฐฯ ที่โอบล้อมด้วยปราการสุดแข็งแกร่ง จากแบรนด์ดิ้งที่ยากจะทำลายลง และนวัตกรรมที่ช่วยสร้างช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ 

สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน MEGA10-A* กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ทรงอิทธิพลที่สุด 10 อันดับแรก ในตลาด NYSE และ NASDAQ

ทั้งนี้ หุ้นที่เข้าไปลงทุนจะต้องเป็นหุ้นที่เน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) จากการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับตราสินค้า (Brand) และมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) กับสภาพคล่องสูงสุด 10 บริษัทแรก

10 สินทรัพย์ที่ MEGA-10A เข้าไปลงทุน | Source: รายงานรายละเอียดการลงทุน 6 เดือนแรกของกองทุน MEGA-10A as of 30/06/2023

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกของกองทุน MEGA-10A | Source: Fund Fact Sheet ของกองทุน MEGA-10A as of 31/07/2023 

3 ชนิดหน่วยลงทุนของกองทุน MEGA-10

  • MEGA10-A ชนิดสะสมมูลค่า
  • MEGA10-SSF ชนิดเพื่อการออม (SSF)
  • MEGA10RMF ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

 

*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน MEGA10-A มิได้ลงทุนใน 10 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดใน NYSE / NASDAQ จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปงบ Q2/23 หุ้น FAANG แบบเห็นภาพชัด ๆ

fruhling
หุ้น FAANG FANG

สารบัญ (คลิกอ่านส่วนที่สนใจก่อนได้เลย)


รู้จัก FAANG หุ้นเทคยักษ์ฆ่าไม่ตาย

ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นช่วงปางตายของหุ้นเทคฯ ก็ไม่ผิด แม้แต่หุ้นตัวแบกในกลุ่ม FAANG ก็พากันติดลบแบบไม่สนใคร แต่ก็จะมีหุ้นอยู่บางตัวที่ติดลบมากกว่าใครเพื่อน 

เช่น META บริษัทแม่ของ Facebook ที่ทำมูลค่าหล่นหายไประหว่างปี 2022 เกือบ 2 ใน 3 จนถูกสื่อและนักลงทุนค่อนแคะขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการผลาญเงินลงทุนไปกับธุรกิจ Reality Labs หรือ VR/AR

นักวิเคราะห์บางคนถึงกับพูดว่า “ถึงเวลาที่จะทบทวนว่าใครกันแน่ ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่ Big Tech” 

ก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าเรื่องของหุ้น MATANA และหุ้นกลุ่มนี้เองก็คือกลุ่มใหม่ที่ถูกยกขึ้นแทนที่ FAANG โดยเป็นการตัดหุ้นคนป่วย (ณ ตอนนั้น) อย่าง Meta ออก รวมถึง Netflix ที่เจอคำถามเรื่องการเติบโต และแทนด้วย Microsoft, Tesla, และ Nvidia

อย่างไรก็ตาม META กลับมีผลประกอบการแข็งแกร่งในปี 2023 จนราคาหุ้นตอนนี้วิ่งขึ้นมาเกือบ 137% ตั้งแต่ต้นปี ถ้าจะพูดว่าหุ้น FAANG ฆ่าไม่ตาย ก็ไม่ใคร่จะผิดนัก

FINNOMENA FUNDS ชวนทุกคนมาตามติดงบหุ้น FAANG ใน Q2/23 กันอีกครั้ง ลองมาดูกันว่า Big Tech ยักษ์ใหญ่ที่กำลังครองโลกปัจจุบัน มีรายได้จากไหน กำไรเป็นอย่างไร และยังแข็งแกร่งอยู่อีกหรือไม่


Meta (META)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Meta | Source: Financial Statement ของ Meta as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Meta Q2/23

  • รายได้ : 32.0 พันล้านเหรียญ +11% (YoY)
  • กำไรขั้นต้น : 26.1 พันล้านเหรียญ +10%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 9.3 พันล้านเหรียญ +8%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 9.4 พันล้านเหรียญ +12%
  • กำไรสุทธิ : 7.8 พันล้านเหรียญ +16% (อัตรากำไรสุทธิ 24%)

รายได้แยกธุรกิจ

  • 📱 Family of Apps เช่น Facebook, Instagram, Threads, Messenger และ WhatsApp – 31.7 พันล้านเหรียญ
  • 🥽 Reality Labs เช่น Horizon Worlds, Oculus และ Meta Quest – 0.3 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Q2/23

  • Daily Active User (DAU) อยู่ที่ 3.07 พันล้านคน รวมกันทุกแอปฯ ในเดือนมิถุนายน 2023 เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน
  • Ad impressions ช่วงQ2/2023 เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อนเมื่อนับรวมทุกแอปฯ ส่วน price per ad ลดลงจากปีก่อน 16%
  • Meta ซื้อหุ้นคืนเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 793 ล้านเหรียญ

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “เรามีไตรมาสที่ดี เรายังคงเห็นการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในทุกแอปฯ ของเรา แถมเรายังมีแผนงานที่น่าตื่นเต้นที่สุดเท่าที่ผมได้เห็นมาในระยะนี้ ไม่ว่าจะเป็น Llama 2, Threads, Reels ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ AI ใหม่ ๆ นอกจากนี้เราเตรียมจะเปิดตัว Quest 3 ในฤดูใบไม้ร่วงนี้” – Mark Zuckerberg, ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Meta

Amazon (AMZN)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Amazon | Source: Financial Statement ของ Amazon as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Amazon Q2/23

  • รายได้ : 134.4 พันล้านเหรียญ +11%
  • กำไรขั้นต้น : 21.8 พันล้านเหรียญ +33%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 7.7 พันล้านเหรียญ +132%
  • กำไรสุทธิ : 6.8 พันล้านเหรียญ (อัตรากำไรสุทธิ 5%)

รายได้แยกธุรกิจของ Amazon

  • 🌐 Online stores เช่น Amazon.com – 53 พันล้านเหรียญ
  • 🛒 Physical stores เช่น Amazon Books, Amazon 4-star และ Amazon Go – 5 พันล้านเหรียญ
  • 🤝 Third-party seller services – 32.3 พันล้านเหรียญ
  • 📃 Subscription services เช่น Amazon Prime, Kindle Unlimited –  9.9 พันล้านเหรียญ
  • 👁️‍🗨️ Advertising services เช่น Amazon Advertising และ Twitch – 10.7 พันล้านเหรียญ
  • ☁️ AWS – 22.1 พันล้านเหรียญ
  • 📈 Other – 1.3 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Amazon Q2/23

  • รายได้กลับมาโตสองหลัก (11%) อีกครั้ง หลังจากโตหลักเดียวมา 5 ใน 6 ไตรมาสหลังสุด
  • ลด headcount ทั่วโลกลง 4% เหลือ 1.46 ล้านคน ในช่วงสิ้น Q2/23
  • ธุรกิจคลาวด์ (Amazon Web Service: AWS) คิดเป็น 70% ของกำไรจากการดำเนินงานทั้งหมด

Apple (AAPL)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Apple | Source: Financial Statement ของ Apple as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Apple Q2/23

  • รายได้ : 81.8 พันล้านเหรียญ -1%
  • กำไรขั้นต้น : 36.4 พันล้านเหรียญ +1%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 7.4 พันล้านเหรียญ +9%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 23.0 พันล้านเหรียญ -0.3%
  • กำไรสุทธิ : 19.9 พันล้านเหรียญ +2% (อัตรากำไรสุทธิ 24%) 

รายได้แยกธุรกิจของ Apple

  • 📱 iPhone 39.7 พันล้านเหรียญ
  • 🖥️ Mac 6.8 พันล้านเหรียญ
  • ✍️ iPad 5.8 พันล้านเหรียญ
  • 🎧 Other เช่น Apple Watch, AirPods & etc. 8.3 พันล้านเหรียญ
  • 🎹 Services เช่น App Store, Apple Pay, Apple Card, Apple TV+, Apple Music และ iCloud – 21.2 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Apple Q2/23

  • ไตรมาสล่าสุดมีรายได้จาก Services สูงสุดตลอดกาล จากยอดสมาชิกรวม 1 พันล้านราย
  • ยอดขายรวมลดลง -1% YoY ยอดขายทั้ง iPhone, Mac และ iPad ลดลงจากปีก่อน

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “เรายังคงทำได้ดีในตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) อย่างต่อเนื่อง จากยอดขาย iPhone ที่แข็งแกร่ง” – Tim Cook ซีอีโอของ Apple

Netflix (NFLX)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Netflix | Source: Financial Statement ของ Netflix as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Netflix Q2/23

  • รายได้ : 8.2 พันล้านเหรียญ 3%
  • กำไรขั้นต้น : 3.5 พันล้านเหรียญ 7%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 0.7 พันล้านเหรียญ -8%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 1.8 พันล้านเหรียญ 16%
  • กำไรสุทธิ : 1.5 พันล้านเหรียญ 3%

รายได้แยกตามภูมิภาค

  • สหรัฐฯ และแคนาดา (UCAN) – 3.6 พันล้านเหรียญ
  • ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) – 2.6 พันล้านเหรียญ
  • ลาตินอเมริกา (LATAM) – 1.1 พันล้านเหรียญ
  • เอเชียแปซิฟิก (APAC) – 1.0 พันล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Q2/23

  • Netflix ยกเลิกการหารบัญชีในกว่า 100 ประเทศ ซึ่งสร้างรายได้รวมกันกว่า 80%
  • รายได้ในแต่ละภูมิภาคสูงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับตอนยังไม่ยกเลิกการหารบัญชี
  • ตอนนี้คนสมัครบัญชีใหม่มีมากกว่าคนที่ยกเลิกบัญชีไป
  • Netflix มีสมาชิกแบบจ่ายเงินทั้งสิ้น 238.39 ราย เพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อน

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “รายได้จะทะยานในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อการยกเลิกการหารบัญชีผลิดอกเต็มที่ รวมถึงบัญชีแบบมีโฆษณาราคาย่อมเยาที่เติบโตอย่างมั่นคง” – Netflix ระบุผ่านแถลงการณ์

Alphabet (GOOGL)

สรุปงบการกำไรขาดทุนประจำไตรมาส 2/2023 ของ Alphabet | Source: Financial Statement ของ Alphabet as of 30/06/2023

สรุปผลประกอบการ Alphabet Q2/23

  • รายได้ : 74.6 พันล้านเหรียญ +7%
  • กำไรขั้นต้น : 42.7 พันล้านเหรียญ +8%
  • ค่าใช้จ่าย R&D : 10.6 พันล้านเหรียญ +8%
  • กำไรจากการดำเนินงาน : 21.8 พันล้านเหรียญ +12%
  • กำไรสุทธิ : 18.4 พันล้านเหรียญ +15% (อัตรากำไรสุทธิ 25%)

รายได้แยกธุรกิจของ Alphabet

  • 🔎 Google Search & other – 42.6 พันล้านเหรียญ
  • 📹 YouTube ads – 7.7 พันล้านเหรียญ
  • 👁️‍🗨️ Google Network ads เช่น AdWords และ AdSense/AdMob – 7.9 พันล้านเหรียญ
  • 🎮 Google Other เช่น Youtube Premium, Google Play และโทรศัพท์ Google Pixel – 8.1 พันล้านเหรียญ
  • ☁️ Google Cloud – 8 พันล้านเหรียญ
  • 📈 Other Business – โปรเจ็กต์สตาร์ตอัป เช่น Access, Calico, CapitalG, GV, Nest, Verily และ Waymo – 2.9 ร้อยล้านเหรียญ

ไฮไลต์ของ Alphabet Q2/23

  • รายได้หลักจากการโฆษณา (รวมทั้ง Google Search, Youtube Ads และ Google Network) เติบโตได้ราว ๆ 3% 
  • ธุรกิจคลาวด์ Google Cloud Platform ซึ่งเป็นธุรกิจที่ Big Tech หลายเจ้าให้ความสนใจ (Amazon และ Microsoft) เติบโต 24%

คำพูดที่น่าสนใจ

  • “ความเป็นผู้นำที่ดำเนินมาต่อเนื่องของเราทั้งในด้าน AI วิศวกรรม และนวัตกรรม กำลังขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าในธุรกิจ Search Engine และช่วยปรับปรุงบริการของเราทั้งหมด” – Sundar Pichai ซีอีโอของ Alphabet และ Google

ลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ผ่านกองทุน MEGA10-A

สำหรับผู้ที่สนใจจะลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่สัญชาติสหรัฐฯ ที่โอบล้อมด้วยปราการสุดแข็งแกร่ง จากแบรนด์ดิ้งที่ยากจะทำลายลง และนวัตกรรมที่ช่วยสร้างช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ 

สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน MEGA10-A* กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ทรงอิทธิพลที่สุด 10 อันดับแรก ในตลาด NYSE และ NASDAQ

ทั้งนี้ หุ้นที่เข้าไปลงทุนจะต้องเป็นหุ้นที่เน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) จากการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับตราสินค้า (Brand) และมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) กับสภาพคล่องสูงสุด 10 บริษัทแรก

10 สินทรัพย์ที่ MEGA-10A เข้าไปลงทุน | Source: รายงานรายละเอียดการลงทุน 6 เดือนแรกของกองทุน MEGA-10A as of 30/06/2023

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกของกองทุน MEGA-10A | Source: Fund Fact Sheet ของกองทุน MEGA-10A as of 31/07/2023 

3 ชนิดหน่วยลงทุนของกองทุน MEGA-10

  • MEGA10-A ชนิดสะสมมูลค่า
  • MEGA10-SSF ชนิดเพื่อการออม (SSF)
  • MEGA10RMF ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

 

*ข้อมูลบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต และการลงทุนของกองทุน MEGA10-A มิได้ลงทุนใน 10 บริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดใน NYSE / NASDAQ จะเข้าเงื่อนไขตรงกับนโยบายของกองทุน

FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ. ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
👇👇👇
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

แบ่งเงินซื้อหวยมา DCA กองทุน SSF-RMF โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี!

planet 46
แบ่งเงินซื้อหวยมา DCA กองทุน SSF-RMF โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี!

นักเสี่ยงโชคทั้งหลายคงตั้งตารอทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน เพราะเป็นวันที่จะได้ลุ้นพลิกชีวิตกลายเป็นเศรษฐีหน้าใหม่ของประเทศ แต่เคยคิดไหมว่าเดือน ๆ หนึ่งเราหมดเงินไปกับการซื้อล็อตเตอรี่เท่าไร และตั้งแต่ซื้อมาเคยถูกรางวัลไปแล้วกี่ครั้ง? เพราะเปอร์เซ็นต์ในการถูกรางวัลที่ 1 มีน้อยมาก ๆ เพียง 0.0001% เท่านั้น หรือแม้แต่กระทั่งรางวัลเลขท้าย 2 ตัวก็มีโอกาสถูกรางวัลเพียง 1%

แต่ถ้าเราลองแบ่งเงินที่ซื้อล็อตเตอรี่ทุกเดือน มาลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF-RMF ดูล่ะ? เพราะการลงทุนในกองทุน SSF-RMF นอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในอนาคตแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ด้วย

มาดูกันว่าหากเราแบ่งเงินซื้อหวยไปลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF-RMF ทุกเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี ตามเงื่อนไขของกองทุน SSF-RMF แล้ว จะทำให้เงินของเราเติบโตไปได้เท่าไรบ้าง

ลงทุน SSF RMF ได้แบบไม่ติดขัด เพราะ FINNOMENA FUNDS สามารถตั้ง DCA กองทุนภาษีแบบอัตโนมัติได้แล้ว!
👉 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/9-step-ssf-rmf-dca-web 

แบ่งเงินซื้อหวยมา DCA กองทุน SSF-RMF 10 ปีมีเงินเท่าไร?

แบ่งเงินซื้อหวยมา DCA กองทุน SSF-RMF โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี!

ตัวอย่างเช่น แบ่งเงินซื้อหวยมาลงทุนแบบ DCA ทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาท หรือปีละ 12,000 บาท และใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 20,000 บาท ในกองทุน SSF-RMF ที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยปีละ 5% ในระยะเวลา 10 ปีจะทำให้เรามีเงิน 191,059.34 บาท โดยผลตอบแทนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้จะเท่ากับ 71,059.34 บาท โดยเงินก้อนนี้สามารถนำไปต่อยอดวางแผนการเงินในอนาคตได้อีก เช่น การวางแผนเกษียณ  ทั้งนี้ตัวอย่างในตารางเป็นการคำนวณจากผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้น ณ สิ้นปี โดยไม่นับรวมปัจจัยอื่นที่อาจทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง 

อย่างไรก็ตาม การซื้อหวยสามารถทำได้ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสีสันให้ได้ลุ้นพลิกชีวิตเป็นเศรษฐีหน้าใหม่เดือนละ 2 ครั้งแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้ให้รัฐบาลเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปด้วย แต่อย่าลืม! แบ่งเงินมาลงทุนในแต่ละเดือนด้วยการลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF-RMF ให้เงินงอกเงย แถมได้นำไปลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ

“ผิดหวังจากหวย เราช่วยคุณได้”

แม้ว่า “หวย” จะเป็นการลงทุนที่ใช้เงินน้อยและมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงมาก ๆ แต่อย่าลืมนะคะ ว่าเวลาไม่เป็นดั่งใจหวัง เงินลงทุนของเราจะเท่ากับ 0 ทันที เรียกได้ว่า มือทำรวย หวยทำจน แถมเรายังไม่สามารถ หาความรู้หรือใช้ความเชี่ยวชาญในการลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสได้กำไร เหมือนสินทรัพย์อื่น ๆ อีกด้วย ใช้ดวงและบุญเก่าล้วน ๆ ดังนั้นเล่นพอประมาณ แล้วอย่าลืมแบ่งเงินมาลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF ที่ได้ประโยชน์แน่นอนจากเงินคืนภาษี และระยะเวลาการลงทุนที่ยาว ก็จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนในตัว มั่นใจได้ว่ามีเงินใช้หลังเกษียณแน่นอนค่ะ

– Aoei Thananit, CFP® (The Financial Planner)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี FINNOMENA FUNDS ได้ที่

เปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี กับ FINNOMENA FUNDS วันนี้ รับฟรี ! 30 FINT* ได้ฟิน 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนภาษี และสะสม FINT 

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ง่าย ๆ ทั้งกองทุน SSF และ RMF มีให้เลือกกว่า 21 บลจ. ในที่เดียว และยังมีความเป็นกลางในการคัดสรรกองทุนมาแนะนำให้กับนักลงทุน ที่ FINNOMENA FUNDS เท่านั้น

เปิดบัญชี คลิก : https://finno.me/fint-tax-oa-ws

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 30 กันยายน 2566

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

เติบโตไปพร้อมกับ Thematic มาแรง ‘Gaming & E-sport’ จับจังหวะลงทุนอย่างไรดี?

Bank - The Trend Following Investor
FINNOMENA Together E-sport

ตั้งแต่ต้นปี 2023 เกมและอีสปอร์ต (Games & E-sport) เป็นธีมการลงทุน Thematic ที่ปรับตัวขึ้นร้อนแรง และมีโอกาสวิ่งกลับมาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นรอบใหม่

ทั้งนี้ VanEck Video Gaming and eSports ETF (ESPO ETF) ซึ่งเป็น ETF ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการเกมและอีสปอร์ตให้ผลตอบแทนสูงถึง 35% นับตั้งแต่ต้นปี

ก่อนหน้านี้ หุ้นเกมและอีสปอร์ตทั่วโลกเคยวิ่งเป็นขาขึ้นรอบใหญ่มาแล้ว เมื่อปี 2020 ในช่วงการระบาดของ covid-19 ที่ผู้คนไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้ เกมจึงกลายเป็นความบันเทิงยอดนิยมในตอนนั้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตสร้างการเติบโตอย่างโดดเด่น

อย่างไรก็ดี ช่วงนี้เป็นจังหวะที่หุ้นเกมและอีสปอร์ตเริ่มกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Trend Following ที่เน้นจับสัญญาณและแนวโน้มตลาดขาขึ้นด้วยการวิเคราะห์แบบ Technical Analysis ไปพร้อมกับค้นหาธีมการลงทุนที่ถูกต้อง

สัญญาณทาง Technical ของหุ้น E-Sport 

ในแง่ของปัจจัยทางเทคนิค เราได้เห็นการกลับตัวขึ้นของกราฟราคา ESPO ETF สะท้อนว่าโมเมนตัมระยะสั้นฟื้นตัว และเกิดสัญญาณซื้อเก็งกำไร ดังนี้

กราฟรายสัปดาห์ (Time Frame Week)

FINNOMENA Together E-sport

Source: FINNOMENA FUNDS, Tradingview as of 15/09/2023

  • กราฟราคา ESPO ETF ทะลุเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (MA200D) ได้สำเร็จ
  • RSI ขยับขึ้นมาเกิน 50 บ่งบอกสัญญาณแนวโน้มขาขึ้น
  • แม้ MACD จะวกกลับลงมาต่ำกว่า Signal line แต่จะเห็นว่าแท่ง Histogram เริ่มติดลบน้อยลง
  • แปลได้ว่าการเคลื่อนไหวของ ESPO ETF อยู่ในโซนของการฟื้นตัว

กราฟรายวัน (Time Frame Day)

FINNOMENA Together E-sport

Source: FINNOMENA FUNDS, Tradingview as of 15/09/2023

  • กราฟราคา ESPO ETF ทะลุเส้นค่าเฉลี่ย MA20D และ MA100D ได้พร้อมกันอีกครั้ง  สะท้อนโมเมนตัมระยะสั้นที่ฟื้นตัว 
  • สอดคล้องกับ MACD ที่ตัดเหนือ Signal line ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ชี้ถึงโอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้น
  • ครั้งล่าสุดที่เกิดสัญญาณนี้คือช่วงเดือนตุลาคม 2022 ซึ่งเป็นเทรนด์ขาขึ้นระยะยาวของ ESPO ETF

จะเห็นว่าปัจจัยทางเทคนิคแสดงสัญญาณซื้อ และเหมาะกับการเข้าลงทุนเพื่อเก็งกำไรไปกับเทรนด์ขาขึ้นของหุ้น E-Sport แต่ว่าการลงทุนจริงเราต้องวิเคราะห์ควบคู่ไปกับปัจจัยพื้นฐานด้วย เพื่อย้ำคำตอบว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตจริง ๆ

LHESPORT-A กองทุนเกมและอีสปอร์ตเต็มรูปแบบ 


FINNOMENA Together E-sport
Source: FINNOMENA FUNDS as of 15/09/2023

สำหรับกองทุนแนะนำในธีมนี้ก็คือ LHESPORT-A เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตอย่างเต็มรูปแบบ โดยลงทุนผ่านกองทุนหลัก ESPO ETF เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ซึ่งมีความน่าสนใจ ดังนี้

1. ลงทุนในหุ้นของบริษัทเกมและอีสปอร์ตทั่วโลก 

LHESPORT-A มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของบริษัทในวงการเกมและอีสปอร์ตแบบครบทั้ง Ecosystem ตั้งแต่ผู้พัฒนาเกม, ผู้ผลิตเครื่องเกม อุปกรณ์ และชิปประมวลผลต่าง ๆ, ผู้จัดจำหน่ายเกม, ผู้จัดการแข่งขัน ไปจนถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 50% มาจากเกมหรืออีสปอร์ต และหุ้นต้องมีมูลค่าตลาดเกิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

FINNOMENA Together E-sport

ภาพแสดงอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต Source: Newzoo Esport Report as of 29/06/2019

หน้าตาของหุ้นที่มีสัดส่วนสูงในพอร์ตจึงประกอบไปด้วย “Nvidia” ผู้ผลิตชิป GPU ชั้นนำของโลก “Tencent” ผู้พัฒนาเกมยักษ์ใหญ่จากจีน อาทิ League of Legends, Arena of Valor, Fornite และเป็นบริษัทที่จัดรายการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลก “Activision Blizzard” ผู้ผลิตซีรีส์เกมชื่อดัง Call of Duty, Guitar Hero, Warcraft, Overwatch “Nintendo” ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมคอนโซลรายใหญ่ของญี่ปุ่น เป็นต้น 

*กองทุนมิได้ลงทุนในบริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดจะเข้าหลักเกณฑ์ตรงกับนโยบายของกองทุน

FINNOMENA Together E-sport

Source: Fund Fact Sheet VanEck Video Gaming and eSports ETF as of 31/07/2023 

อีกหนึ่งความน่าสนใจของ LHESPORT-A คือเป็นเพียงไม่กี่กองทุนรวมในไทย ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น Nvidia เป็นสัดส่วนที่เยอะถึงเกือบ 10% 

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นและลงของราคาหุ้นในกลุ่มเกมและอีสปอร์ต นั้นมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน ทำให้เมื่อแรงกดดันด้านการดำเนินนโยบายทางการเงินผ่อนคลายลง จึงเป็นโอกาสของการเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง

2. เกมและอีสปอร์ตจัดว่าเป็น Thematic แห่งอนาคต

ภาพรวมอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 13.4% (CAGR ตั้งแต่ 2023 – 2030) ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงมากเมื่อเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก

FINNOMENA Together E-sport

Source: Grandview Research as of 01/06/2023

เห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยหนุนอุตสาหกรรมนี้ ทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันก็ยังมีแรงส่งเสริมจากภาครัฐ จากการที่อีสปอร์ตถูกยอมรับให้เป็นกีฬาที่มีการแข่งขันระดับโลก 

จับจังหวะเข้าลงทุนอย่างไรดี? 

สำหรับคำแนะนำการลงทุน LHESPORT-A แนะนำให้เข้าลงทุนตามกลยุทธ์ Tactical Call เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาในระยะสั้น โดยเน้นการใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ดังนี้

1. แนะนำเข้าลงทุนที่ ESPO ETF ไม่เกินระดับ 57.0 ดอลลาร์

หากเกินระดับราคานี้ เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ เนื่องจากทำให้ Risk/Reward เข้าใกล้ระดับ 1:1

2. แนะนำ Take Profit หรือขายทำกำไร 2 ระดับ

ระดับแรก Upside +8.4%* ขายทำกำไรบางส่วนเมื่อ ESPO ETF ปรับตัวขึ้นเหนือ 59.20 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของรอบขาขึ้นล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 

ระดับที่สอง Upside +13.80%* ขายทำกำไรทั้งหมดเมื่อ ESPO ETF ปรับตัวขึ้นเหนือ 62.10 ดอลลาร์ ซึ่งตรงกับ Fibonacci Retracement 61.8 ของรอบขาลงตั้งแต่ปี 2021

3. แนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที

เมื่อ ESPO ETF ปิดตลาดต่ำกว่า 51.80 ดอลลาร์ (Downside -5.07%*) ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของรอบการปรับฐานปัจจุบันในช่วงเดือนสิงหาคม 2023 สะท้อนถึงการไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้นได้

*เทียบจากราคาปิดตลาดวันที่ 01/09/2023

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

ทั้งนี้ การลงทุนภายใต้คำแนะนำ Tactical Call อาจจะไม่ได้เหมาะกับนักลงทุนทุกคน แต่สามารถตอบโจทย์นักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน สามารถรับความผันผวนได้สูง และสามารถยอมรับการตัดขาดทุนได้ทันที 

จุดเด่นของกลยุทธ์ Trend Following คือเราจะเข้าลงทุนก็ต่อเมื่อเห็นสัญญาณและแนวโน้มว่ามีโอกาสเป็นขาขึ้นเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนถือในระยะยาวเกินไป เมื่อสินทรัพย์มีแนวโน้มเป็นขาลง เราก็ลด position หรือขายออก แล้วไปหาโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นแทน

Bank – The Trend Following Investor


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงบางส่วน | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เติบโตไปพร้อมกับ Thematic มาแรง ‘Gaming & E-sport’ จับจังหวะลงทุนอย่างไรดี?

Bank - The Trend Following Investor
FINNOMENA Together E-sport

ตั้งแต่ต้นปี 2023 เกมและอีสปอร์ต (Games & E-sport) เป็นธีมการลงทุน Thematic ที่ปรับตัวขึ้นร้อนแรง และมีโอกาสวิ่งกลับมาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นรอบใหม่

ทั้งนี้ VanEck Video Gaming and eSports ETF (ESPO ETF) ซึ่งเป็น ETF ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการเกมและอีสปอร์ตให้ผลตอบแทนสูงถึง 35% นับตั้งแต่ต้นปี

ก่อนหน้านี้ หุ้นเกมและอีสปอร์ตทั่วโลกเคยวิ่งเป็นขาขึ้นรอบใหญ่มาแล้ว เมื่อปี 2020 ในช่วงการระบาดของ covid-19 ที่ผู้คนไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้ เกมจึงกลายเป็นความบันเทิงยอดนิยมในตอนนั้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตสร้างการเติบโตอย่างโดดเด่น

อย่างไรก็ดี ช่วงนี้เป็นจังหวะที่หุ้นเกมและอีสปอร์ตเริ่มกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Trend Following ที่เน้นจับสัญญาณและแนวโน้มตลาดขาขึ้นด้วยการวิเคราะห์แบบ Technical Analysis ไปพร้อมกับค้นหาธีมการลงทุนที่ถูกต้อง

สัญญาณทาง Technical ของหุ้น E-Sport 

ในแง่ของปัจจัยทางเทคนิค เราได้เห็นการกลับตัวขึ้นของกราฟราคา ESPO ETF สะท้อนว่าโมเมนตัมระยะสั้นฟื้นตัว และเกิดสัญญาณซื้อเก็งกำไร ดังนี้

กราฟรายสัปดาห์ (Time Frame Week)

FINNOMENA Together E-sport

Source: FINNOMENA FUNDS, Tradingview as of 15/09/2023

  • กราฟราคา ESPO ETF ทะลุเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (MA200D) ได้สำเร็จ
  • RSI ขยับขึ้นมาเกิน 50 บ่งบอกสัญญาณแนวโน้มขาขึ้น
  • แม้ MACD จะวกกลับลงมาต่ำกว่า Signal line แต่จะเห็นว่าแท่ง Histogram เริ่มติดลบน้อยลง
  • แปลได้ว่าการเคลื่อนไหวของ ESPO ETF อยู่ในโซนของการฟื้นตัว

กราฟรายวัน (Time Frame Day)

FINNOMENA Together E-sport

Source: FINNOMENA FUNDS, Tradingview as of 15/09/2023

  • กราฟราคา ESPO ETF ทะลุเส้นค่าเฉลี่ย MA20D และ MA100D ได้พร้อมกันอีกครั้ง  สะท้อนโมเมนตัมระยะสั้นที่ฟื้นตัว 
  • สอดคล้องกับ MACD ที่ตัดเหนือ Signal line ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ชี้ถึงโอกาสกลับตัวเป็นขาขึ้น
  • ครั้งล่าสุดที่เกิดสัญญาณนี้คือช่วงเดือนตุลาคม 2022 ซึ่งเป็นเทรนด์ขาขึ้นระยะยาวของ ESPO ETF

จะเห็นว่าปัจจัยทางเทคนิคแสดงสัญญาณซื้อ และเหมาะกับการเข้าลงทุนเพื่อเก็งกำไรไปกับเทรนด์ขาขึ้นของหุ้น E-Sport แต่ว่าการลงทุนจริงเราต้องวิเคราะห์ควบคู่ไปกับปัจจัยพื้นฐานด้วย เพื่อย้ำคำตอบว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตจริง ๆ

LHESPORT-A กองทุนเกมและอีสปอร์ตเต็มรูปแบบ 


FINNOMENA Together E-sport
Source: FINNOMENA FUNDS as of 15/09/2023

สำหรับกองทุนแนะนำในธีมนี้ก็คือ LHESPORT-A เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตอย่างเต็มรูปแบบ โดยลงทุนผ่านกองทุนหลัก ESPO ETF เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ซึ่งมีความน่าสนใจ ดังนี้

1. ลงทุนในหุ้นของบริษัทเกมและอีสปอร์ตทั่วโลก 

LHESPORT-A มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของบริษัทในวงการเกมและอีสปอร์ตแบบครบทั้ง Ecosystem ตั้งแต่ผู้พัฒนาเกม, ผู้ผลิตเครื่องเกม อุปกรณ์ และชิปประมวลผลต่าง ๆ, ผู้จัดจำหน่ายเกม, ผู้จัดการแข่งขัน ไปจนถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 50% มาจากเกมหรืออีสปอร์ต และหุ้นต้องมีมูลค่าตลาดเกิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

FINNOMENA Together E-sport

ภาพแสดงอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต Source: Newzoo Esport Report as of 29/06/2019

หน้าตาของหุ้นที่มีสัดส่วนสูงในพอร์ตจึงประกอบไปด้วย “Nvidia” ผู้ผลิตชิป GPU ชั้นนำของโลก “Tencent” ผู้พัฒนาเกมยักษ์ใหญ่จากจีน อาทิ League of Legends, Arena of Valor, Fornite และเป็นบริษัทที่จัดรายการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลก “Activision Blizzard” ผู้ผลิตซีรีส์เกมชื่อดัง Call of Duty, Guitar Hero, Warcraft, Overwatch “Nintendo” ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมคอนโซลรายใหญ่ของญี่ปุ่น เป็นต้น 

*กองทุนมิได้ลงทุนในบริษัทข้างต้นนี้เสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดจะเข้าหลักเกณฑ์ตรงกับนโยบายของกองทุน

FINNOMENA Together E-sport

Source: Fund Fact Sheet VanEck Video Gaming and eSports ETF as of 31/07/2023 

อีกหนึ่งความน่าสนใจของ LHESPORT-A คือเป็นเพียงไม่กี่กองทุนรวมในไทย ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น Nvidia เป็นสัดส่วนที่เยอะถึงเกือบ 10% 

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นและลงของราคาหุ้นในกลุ่มเกมและอีสปอร์ต นั้นมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน ทำให้เมื่อแรงกดดันด้านการดำเนินนโยบายทางการเงินผ่อนคลายลง จึงเป็นโอกาสของการเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง

2. เกมและอีสปอร์ตจัดว่าเป็น Thematic แห่งอนาคต

ภาพรวมอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 13.4% (CAGR ตั้งแต่ 2023 – 2030) ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงมากเมื่อเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก

FINNOMENA Together E-sport

Source: Grandview Research as of 01/06/2023

เห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยหนุนอุตสาหกรรมนี้ ทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันก็ยังมีแรงส่งเสริมจากภาครัฐ จากการที่อีสปอร์ตถูกยอมรับให้เป็นกีฬาที่มีการแข่งขันระดับโลก 

จับจังหวะเข้าลงทุนอย่างไรดี? 

สำหรับคำแนะนำการลงทุน LHESPORT-A แนะนำให้เข้าลงทุนตามกลยุทธ์ Tactical Call เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาในระยะสั้น โดยเน้นการใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ดังนี้

1. แนะนำเข้าลงทุนที่ ESPO ETF ไม่เกินระดับ 57.0 ดอลลาร์

หากเกินระดับราคานี้ เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ เนื่องจากทำให้ Risk/Reward เข้าใกล้ระดับ 1:1

2. แนะนำ Take Profit หรือขายทำกำไร 2 ระดับ

ระดับแรก Upside +8.4%* ขายทำกำไรบางส่วนเมื่อ ESPO ETF ปรับตัวขึ้นเหนือ 59.20 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของรอบขาขึ้นล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 

ระดับที่สอง Upside +13.80%* ขายทำกำไรทั้งหมดเมื่อ ESPO ETF ปรับตัวขึ้นเหนือ 62.10 ดอลลาร์ ซึ่งตรงกับ Fibonacci Retracement 61.8 ของรอบขาลงตั้งแต่ปี 2021

3. แนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที

เมื่อ ESPO ETF ปิดตลาดต่ำกว่า 51.80 ดอลลาร์ (Downside -5.07%*) ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของรอบการปรับฐานปัจจุบันในช่วงเดือนสิงหาคม 2023 สะท้อนถึงการไม่สามารถเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้นได้

*เทียบจากราคาปิดตลาดวันที่ 01/09/2023

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

ทั้งนี้ การลงทุนภายใต้คำแนะนำ Tactical Call อาจจะไม่ได้เหมาะกับนักลงทุนทุกคน แต่สามารถตอบโจทย์นักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน สามารถรับความผันผวนได้สูง และสามารถยอมรับการตัดขาดทุนได้ทันที 

จุดเด่นของกลยุทธ์ Trend Following คือเราจะเข้าลงทุนก็ต่อเมื่อเห็นสัญญาณและแนวโน้มว่ามีโอกาสเป็นขาขึ้นเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนถือในระยะยาวเกินไป เมื่อสินทรัพย์มีแนวโน้มเป็นขาลง เราก็ลด position หรือขายออก แล้วไปหาโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นแทน

Bank – The Trend Following Investor

– อ่านเพิ่มเติม บทความ Tactical Call: ถึงเวลาเข้าร่วมเกม หุ้น E-Sport ส่งสัญญาณฟื้นตัว

FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=esport-trend-following-investor


แหล่งข้อมูล

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงบางส่วน | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ถึงเวลา Rebalance: ปรับสมดุลพอร์ต All Balance, Goal, 1st Million เดือนกันยายน 2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team
ปรับพอร์ต FINNOMENA

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 1: กระบวนการสร้าง CME และการนำ CME มาใช้ใน Black Litterman Model | Source: FINNOMENA FUNDS as of 08/09/2022

FINNOMENA FUNDS Investment Team ได้แนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต All Balance, Goal, 1st Million ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตามรอบการปรับพอร์ตปกติทุก ๆ 6 เดือนด้วยการจัดทำ CME และการเปลี่ยนกองทุนในพอร์ตให้เหมาะสม และเพื่อรับกับสถานการณ์ความกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี อาทิ ความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ, ความกังวลเรื่องสภาพคล่องในธนาคารท้องถิ่นสหรัฐฯ รวมทั้งโอกาสการลงทุนที่เกิดขึ้น เช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาในระดับสูง เป็นต้น

ประกอบกับกระบวนการรีวิวผลตอบแทนคาดหวัง (CME) สัดส่วนการลงทุน และการรีวิวกองทุนในพอร์ต อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักลงทุน

โดยในรอบการรีวิวครั้งนี้ FINNOMENA FUNDS Investment Team ยังแนะนำนักลงทุนในแผน All Balance, GOAL, 1st Million คงสัดส่วนการลงทุนเดิม แต่แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน เพื่อให้ความเสี่ยงพอร์ตสมดุลกับเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 2: ประโยชน์ของการ rebalance พอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2022

ซึ่งการ rebalance พอร์ตการลงทุนตามรอบระยะเวลาจะส่งผลดีต่อพอร์ต โดยการช่วยลดอคติการลงทุนจากสถานการณ์ตลาดที่มีความผันผวนในทุก ๆ วัน อีกทั้งปรับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุนในระยะยาว และกระจายการสัดส่วนการลงทุนอย่างเหมาะสมในสินทรัพย์ทั้งในแและต่างประเทศ ทำให้การลงทุนเป็นระบบและลดการใช้อารมณ์ในการลงทุน เพื่อวัตถุประสงค์การลงทุนในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 3: ผลตอบแทนรายสินทรัพย์ ปี 2008 – 2022 | Source: FINNOMENA FUNDS, Novel Investor as of 14/09/2022

ผลตอบแทนจากการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์จะให้ผลตอบแทนมากน้อยสลับกันไปในทุก ๆ ปี ซึ่งพอร์ตการลงทุนแบบ DCA และการทำ Asset Allocation จะช่วยให้นักลงทุนสามารถลงทุนโดยมีผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ พร้อมด้วยการควบคุมความผันผวนในพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 4: ผลตอบแทนของกองทุนหลังจากคำแนะนำปรับพอร์ต | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 14/09/2022

หลังการปรับพอร์ตการลงทุน All Balance ให้ผลตอบแทน 1.7% จาก

  • กองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ที่ปรับเข้ามาแทนกองทุน TSF-A สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 1.1% และให้ผลตอบแทนมากกว่าการถือกองทุนเดิม 22.1% 
  • กองทุน KKP GNP-H ที่ปรับเข้ามาแทน TMBGQG สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 3.0% และให้ผลตอบแทนมากกว่าดัชนีหุ้นโลก 0.3% 
  • กองทุน B-ASIA ที่ปรับเข้ามาแทน TMBAGLF สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 0.5% และให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีชี้วัด
  • กองทุน UGIS-N สร้างผลตอบแทนต่อพอร์ตที่ 0.1% และให้ผลตอบแทนดีกว่าดัชนีตราสารหนี้โลก (Global Agg Bond Total Return) 2.3%

โดยที่ FINNOMENA FUNDS Investment Team ประเมินแล้วว่ากองทุนในพอร์ตการลงทุนยังเหมาะสมแก่การถือครองในระยะยาวดังนี้

KKP GNP-H

  • ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีหุ้นโลก พร้อมด้วยการบริหารความเสี่ยงที่ต่ำกว่า
  • ทีมบริหารการลงทุนที่มีประสบการณ์ยาวนาน และประกอบด้วยทีมผู้จัดการกองทุนถึง 9 คน สามารถติดตามข้อมูลการลงทุนทั่วโลกได้อย่างครอบคลุม
  • มีการกระจายตัวของสัดส่วนการลงทุนแต่ละบริษัทและแต่ละประเทศที่ดี

B-ASIA

  • ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI Asia Ex Japan
  • ซึ่งแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่ยังผันผวน แต่กองทุนยังรักษาความผันผวนได้ดี
  • ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงโดดเด่นกว่า โดยเฉพาะในปีที่มี drawdown แรง จากความเป็น contrarian และ valuation discipline ของบลจ. Invesco 
  • Fund Manager อยู่กับกองทุนมายาวนาน และมีผลงานที่ข้างเสถียรและอยู่ใน 1st Quartile (CITYWIRE) 

TMB-ES-VIETNAM / PRINCIPAL VNEQ-A

  • TMB-ES-VIETNAM กองทุนหลักอย่าง Dragon Capital มีชื่อเสียงในการบริหารเงินลงทุนในเวียดนามมาอย่างยาวนาน โดยเป็นนักลงทุนสถาบันแห่งแรกของประเทศเวียดนาม มีทีมงานที่ดี ซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญ และมีข้อมูลเชิงลึก รวมถึงการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และกองทุนต่างชาติหลายแหล่ง และเน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโตที่มีขนาดใหญ่และกลางเป็นหลัก เราแนะนำลงทุนในกองทุน TMB-ES-VIETNAM ในพอร์ตการลงทุนแบบ DCA เพื่อความยืดหยุ่นในการลงทุนที่ใช้เงินเริ่มลงทุนที่น้อย
  • Principal VNEQ-A กองทุนเวียดนามที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนไทย ที่มีความเข้าใจและมีทีมงานที่ติดตามตลาดหุ้นเวียดนามอย่างใกล้ชิด เน้นลงทุนในหุ้นเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตที่ดีในระยะยาว ล้อไปกับเศรษฐกิจเวียดนามที่มีการเติบโตที่สูง

UGIS-N

  • กองทุนหลักอย่าง PIMCO GIS Income Fund ยังสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง จากกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นกระแสเงินสด จึงทำให้ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และการหาโอกาสการลงทุนผ่านการ short ค่าเงินเยน ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่ใกล้สิ้นสุดเป็นผลดีกับกองทุน UGIS-N รวมถึงสภาวะการลงทุนของตราสารหนี้ทั่วโลก

KFAFIX-A

  • กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง มี duration เฉลี่ยที่ 1.67 ปี และมีอันดับความน่าเชื่อถือตราสารที่ระดับ A- ขึ้นไป ซึ่งแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ที่มีมุมมองเข้มงวดลดลงเป็นผลดีต่อการลงทุนใน KFAFIX-A

TMBPIPF

  • REIT ไทยได้รับผลกระทบเฉพาะตัวของ CPNIREIT และ DIF และธรรมชาติของ REIT ที่มีสภาพคล่องต่ำ ทั้งนี้ระดับ valuation ที่น่าสนใจและอัตราการปันผลที่ฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศ ทำให้เรายังแนะนำลงทุนใน TMBPIPF

SCBGOLDH

  • เรามีสัดส่วนการลงทุนในทองคำประมาณ 10% เพื่อ hedging ความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน

GOAL

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 5: พอร์ตการลงทุน Goal | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน GOAL โดยไม่มีคำแนะนำเปลี่ยนน้ำหนัก และกองทุนในพอร์ตการลงทุนรอบนี้

1st Million

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 6: พอร์ตการลงทุน 1st Million | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน 1st Million โดยไม่มีคำแนะนำเปลี่ยนน้ำหนัก และกองทุนในพอร์ตการลงทุนรอบนี้

All Balance Port

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 7: พอร์ตการลงทุน All Balance | Source: FINNOMENA FUNDS as of 14/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำ rebalance พอร์ตการลงทุน All Balance โดยไม่มีคำแนะนำเปลี่ยนน้ำหนัก และกองทุนในพอร์ตการลงทุนรอบนี้ เพื่อการกระจายการลงทุนตาม Black-Litterman Model BLM และปรับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนในระยะยาว

สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในพอร์ต All Balance Port หรือ สนใจลงทุนเพิ่มเติม FINNOMENA FUNDS Investment Team แนะนำสามารถลงทุนได้ จากมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนดังนี้

มุมมองการลงทุน

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 8: Citi Economic Surprise Index | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 11/09/2023

กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น หลัง Citi Economic Surprise Index ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนถึงความแตกต่างระหว่างตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับตัวเลขคาดการณ์ของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดในเดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ด้านจีนและยุโรป ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาแย่ลงกว่าที่คาดเล็กน้อย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 9: Conference Board Leading Economic Indicator | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

ด้าน Conference Board Leading Economic Indicator (CB LEI) ซึ่งเป็น leading indicator บ่งชี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ พร้อมกับการปรับตัวขึ้นของ Manufacturing PMI ในเดือนล่าสุด ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มคลายความกังวลจากเศรษฐกิจถดถอย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 10: Inverted yield curve และ Maximum drawdown ของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 04/09/2023

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นดูเหมือนจะว่า price-in ข้อมูลการชะลอตัวเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่าง ๆ ลงไปมากแล้ว เมื่อการเกิด Inverted yield curve ครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับดัชนี S&P 500 ทำจุดต่ำสุดใหม่ของรอบ ซึ่งต่างจากครั้งก่อนที่จุดต่ำสุดใหม่ของรอบ จะเกิดขึ้นตามหลัง Inverted yield curve

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 11: คาดการณ์กำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 01/09/2023

หลังจากผลประกอบการ 2Q23 ของสหรัฐออกมาดีกว่าที่คาดเป็นส่วนใหญ่ กำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 ได้ถูกปรับประมาณการขึ้น หนุนให้ตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกมี sentiment ดีขึ้นตาม โดย Estimate EPS ในปี 2024 เท่ากับ 243.6 ดอลลาร์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ 218.7 ดอลลาร์ต่อหุ้นและถูกปรับประมาณการขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.8%

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 12: PE ของดัชนีหุ้นทั่วโลก เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตและดัชนีหุ้นโลก | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 04/09/2023

ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ มี valuation ที่ผ่อนคลายลง โดยดัชนี S&P 500 มี มี FWD P/E ที่ 20.2 เท่า หรือประมาณ 1 S.D. เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวเอง 10 ปีย้อนหลัง ดัชนี MSCI Asia ex Japan อยู่ที่ระดับค่าเฉลี่ยของตัวเองในรอบ 10 ปี และตลาดหุ้นเวียดนามมี FWD P/E ที่ 10.1 เท่า หรือที่ระดับประมาณ -1.0 S.D.

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 13:  ผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนของ S&P 500 นับตั้งแต่ปี 1928 | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

ด้านสถิติย้อนหลังของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บ่งชี้ว่าดัชนี S&P 500 มีผลตอบแทนต่ำที่สุดในรอบปีในเดือนกันยายน โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ -1.5% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนติดลบถึง 54.7% ซึ่งเป็นจังหวะที่น่าเข้าลงทุนสะสม เนื่องจากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 14: สถิติผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 หลัง Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

เมื่อขาขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ใกล้สิ้นสุด ส่งผลให้แรงกดดันต่อตลาดหุ้นลดลง ดัชนี S&P 500 มักให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 21% ในรอบ 500 วัน หลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย

ปรับพอร์ต FINNOMENA

รูปที่ 15: สถิติผลตอบแทนของตราสารหนี้โลกหลัง Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย | Source: FINNOMENA FUNDS, Macrobond as of 04/09/2023

เช่นเดียวกับตราสารหนี้โลกที่ได้รับประโยชน์จากแรงกดดันของดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลง โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12% หลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้กองทุนที่เราแนะนำลงทุนอย่าง UGIS-N จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยในปัจุบันที่อยู่ในระดับสูงด้วยอีกทางหนึ่ง จึงให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้โลกทั่วไป

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 

FINNOMENA FUNDS investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะสั้นเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Ray Dalio จาก Cash is trash แต่ตอนนี้กลายเป็น Cash is good

Park Kathawut
Ray Dalio Cash is Good

นักลงทุนน่าจะรู้จัก Ray Dalio ในฐานะผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates บริษัทบริหารเงินลงทุนขนาดใหญ่ของโลก และโด่งดังสุด ๆ กับกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ All-Weather Portfolio ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างผลตอบแทนในทุกภาวะตลาดที่เปลี่ยนไป

หรือหลายคนอาจจะรู้จักชายผู้นี้ผ่านงานเขียน Principles : Life and Work หนึ่งในสุดยอดหนังสือขายดีที่สุดของโลก ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวหลักการในการดำเนินชีวิตและการทำงานของตนเอง

แม้ว่าปัจจุบัน Ray Dalio จะวางมือจากการบริหารการลงทุนไปแล้ว แต่เราก็มักจะเห็นเขาออกมาให้ความเห็น และแชร์มุมมองเกี่ยวกับการลงทุนอยู่เสมอ โดยเฉพาะสินทรัพย์อย่าง “เงินสด” ที่ เขาออกมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง 

ในช่วงปี 2021 Ray Dalio เคยเตือนว่าการถือเงินสดไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัย ยิ่งในช่วงที่โลกการเงินกำลังเผชิญกับความผันผวน มูลค่าของเงินสดจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อรุนแรง

Ray Dalio เคยพูดด้วยว่าเงินสดคือขยะ (Cash is trash) เมื่อเดือนเมษายน 2022 เพราะมองว่าตอนนั้นค่าเงินดอลลาร์นั้นไร้ค่า จากอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้ศูนย์และปริมาณที่ล้นทะลัก 

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าเวลานี้เขาได้เปลี่ยนความคิดเรื่องการถือเงินสดไปแล้ว

ผมคิดว่าการถือเงินสดไปก่อนในช่วงนี้เป็นอะไรที่ดีที่สุด (Cash is good) และมองว่าตราสารหนี้ระยะยาวอาจไม่ใช่การลงทุนที่ดีนัก

Ray Dalio กล่าวในงาน Milken Institute Asia Summit วันที่ 14 กันยายน 2023

ภายใต้บรรยากาศการลงทุนในปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

โดยยังระบุว่าหลายประเทศกำลังมีสัดส่วนหนี้ที่สูง ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาที่รุนแรงตามมาในอนาคต ความท้าทายจึงอยู่ที่การรักษาสมดุลของอัตราดอกเบี้ยระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งทั่วโลกกำลังหาจุดสมดุลของเรื่องนี้

Ray Dalio กล่าวทิ้งท้ายว่าหนึ่งในข้อผิดพลาดของนักลงทุนทั่วไป คือการคิดว่าสินทรัพย์ที่เคยทำผลงานได้ดีในอดีต จะเป็นการลงทุนที่ดีในอนาคต ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมูลค่ามันอาจจะสูงเกินไปแล้วก็ได้ 

ส่วนการลงทุนที่ดี ควรจะมีการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย เลือกลงทุนในภูมิภาคที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกใบนี้

FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=ray-dalio-cash-is-good


แหล่งข้อมูล

Ray Dalio Says He Doesn’t Want to Hold Bonds, Cash ‘Is Good. Bloomberg

Tactical Call: Stop Loss NASDAQ Bank หลังดัชนีหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน

FINNOMENA FUNDS Investment Team
Stop Loss Nasdaq Bank

FINNOMENA FUNDS Investment Team ได้แนะนำลงทุนในรูปแบบการเก็งกำไรระยะสั้นในดัชนี NASDAQ Bank ผ่านกองทุน KWI USBANK-A เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคมที่ผ่านมา โดยตั้งจุด Stop loss เมื่อ NASDAQ Bank ปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) 100 วัน ซึ่งสะท้อนถึงโมเมนตัมในเชิงเทคนิคที่แย่ลง และมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลงต่อในอนาคต

โดยวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา ดัชนี NASDAQ Bank ปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่าเส้น MA 100 วัน ซึ่งเป็นจุด Stop Loss ที่กำหนดไว้ 

Stop Loss Nasdaq Bank

รูปที่ 1 : Nasdaq BANK TF Day, Source Tradingview as of 18/09/2023

FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำให้ Stop Loss การลงทุนในกองทุน KWI USBANK-A สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำ Tactical Call  วันที่ 25 กรกฏาคม 2566 เพื่อรักษาวินัยและรักษาเงินต้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในครั้งต่อไปในอนาคต

FINNOMENA FUNDS Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ฟินโนมีนา ฟันด์ มุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนอาชีพที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่ ขยายฐานกว่า 2,100 คน จัดงาน FA SUMMIT 2023 “Navigating the Next Era of Financial Advisory with FINNOMENA”

FINNOMENA FUNDS
ฟินโนมีนา ฟันด์ มุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนอาชีพที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่ ขยายฐานกว่า 2,100 คน จัดงาน FA SUMMIT 2023 “Navigating the Next Era of Financial Advisory with FINNOMENA”

กรุงเทพฯ – ฟินโนมีนา ฟันด์ กลับมาอีกครั้งกับงานสุดยิ่งใหญ่ประจำปีของวงการที่ปรึกษาการลงทุน ที่ชื่อว่า “Navigating the Next Era of Financial Advisory with FINNOMENA” FA SUMMIT 2023 ก้าวสู่ความสำเร็จ ก้าวสู่การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่กับฟินโนมีนา ฟันด์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน

งานนี้จัดขึ้นเพื่อนำทางที่ปรึกษาการลงทุนก้าวสู่ความสำเร็จในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่กับฟินโนมีนา ฟันด์ ด้วยนวัตกรรมระดับโลกที่จะช่วยให้ที่ปรึกษาการลงทุนสามารถสร้างฐานลูกค้าได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน เมื่อไรก็ตาม

ภายในงาน มีการเจาะลึกเทคโนโลยีการจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยอย่าง “FINNOMENA FUNDS Goals Navigator” ที่ทางฟินโนมีนา ฟันด์ ร่วมกันกับ Franklin Templeton องค์กรบริหารสินทรัพย์ชั้นนำระดับโลก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของที่ปรึกษาการลงทุนโดยเฉพาะ ผ่านแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งซึ่งที่ปรึกษาการลงทุนสามารถต่อยอดนำไปใช้ให้บริการวางแผนการลงทุนแก่ลูกค้าได้อย่างมั่นใจ หมายเหตุ: Franklin Templeton ให้บริการการให้คำแนะนำทั่วไปแก่ฟินโนมีนา ฟันด์ ในการออกแบบพอร์ตการลงทุน (Asset Allocations)

คุณ Chetan Karkhanis SVP Digital Strategy and Wealth Management ของ Franklin Templeton กล่าวว่า “การลงทุนโดยมีเป้าหมายเป็นพื้นฐานอย่างแท้จริง จะทำให้ที่ปรึกษาการลงทุนทำงานได้ง่ายได้ขึ้น และโดดเด่นกว่าคู่แข่ง พวกเราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จับมือกับ FINNOMENA FUNDS ผู้นำแพลตฟอร์มด้านการลงทุน ในการนำนวัตกรรมอย่าง Goals Navigator มาสู่ประเทศไทยเป็นเจ้าแรก”

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีที่ปรึกษาการลงทุนมืออาชีพจากหลากหลายเจนเนอเรชั่นและสายอาชีพ พร้อมทั้ง FINNOMENA Co-founders ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์จริง บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางสู่ความสำเร็จในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่กับ ฟินโนมีนา ฟันด์

ฟินโนมีนา ฟันด์ ยังคงมุ่งพัฒนาติดอาวุธให้กับที่ปรึกษาการลงทุน ก้าวเดินสู่ความสำเร็จในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่ไปด้วยกัน ด้วยแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกให้ที่ปรึกษาการลงทุนสามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และยืดหยุ่น พร้อมส่งเสริมทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงมืออาชีพด้วยคอร์สเรียนจาก BeFin Academy สถาบันสำหรับที่ปรึกษาการลงทุนโดยเฉพาะ ออกแบบหลักสูตรที่หลากหลาย ทันยุคสมัยอยู่เสมอ พัฒนาทักษะทั้งด้าน Soft skill และ Investment skill มุ่งหวังให้ที่ปรึกษาการลงทุนให้สามารถเติบโตในสายอาชีพนี้ได้อย่างมั่นคง

ปัจจุบันฟินโนมีนา ฟันด์ มีที่ปรึกษาการลงทุนเข้าร่วมเป็นครอบครัว FA กับเราแล้วกว่า 2,100 คน ด้วยมูลค่าการลงทุนภายใต้ที่ปรึกษาการลงทุนฟินโนมีนา ฟันด์ มากกว่า 15,000 ล้านบาท ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาจากสายอาชีพใด ฟินโนมีนา ฟันด์ ก็พร้อมพาคุณก้าวเดินสู่ความสำเร็จในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนยุคใหม่ร่วมกัน ด้วยระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยให้คุณสามารถทำงานได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส

นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ CEO & Co-founder ของ FINNOMENA กล่าวเชิญชวนผู้ที่สนใจในสายอาชีพนี้ว่า “อาชีพที่ปรึกษาการลงทุน จะทำให้คุณเป็นคนที่เท่าทันโลก รู้ทั้งด้านกว้าง และด้านลึกมากขึ้น มาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในสายอาชีพนี้กับเรา”

ผู้ที่สนใจเป็นที่ปรึกษาการลงทุนกับฟินโนมีนา ฟันด์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ https://www.finnomena.com/fa/ รวมทั้งสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรจาก Befin Academy ได้ที่ https://www.befin.academy/

4 หุ้นเกาหลีเกาใจ ดูซีรีส์ทีไร เจอทุกที

Finspace
4 หุ้นเกาหลีเกาใจ ดูซีรีส์ทีไร เจอทุกที

เปิดซีรีส์เกาหลีทีไร เป็นต้องเจอโทรศัพท์ซัมซุง (หรือโซจู รามยอน ไปจนถึงไก่ทอด) ทุกที

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ซีรีส์เกาหลี” คืออาวุธทางวัฒนธรรมที่ทรงพลังของเกาหลีใต้ เพราะซีรีส์ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือในการส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีสู่สากลเท่านั้น แต่ยังผลักดันแบรนด์สัญชาติเกาหลีไปสู่สายตาคนทั่วโลกจนสินค้าเหล่านี้กลายเป็นที่ต้องการในระดับโลกมากขึ้น

และแบรนด์เหล่านี้เอง เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นบริษัทที่แข็งเกร่งไม่น้อย โดยหลาย ๆ แบรนด์มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ลองมาดูกันว่าถ้าเราเชื่อในศักยภาพเติบโตของเกาหลีใต้ มีบริษัท/หุ้น ตัวไหนบ้างที่มีโอกาสเติบโตสอดคล้องไปกับกระแสเหล่านี้

4 หุ้นที่มีซีนในซีรีส์เกาหลีตลอดเวลา

1. HiteJinro ผู้ครองตลาดโซจูเกิน 60%

เชื่อว่าเวลาที่ตัวเอกในซีรีส์ต้องฉลองกับเพื่อน หรือเจอเรื่องเศร้า หลาย ๆ คนจะต้องได้เห็นแบรนด์ HiteJinro เพราะนี้คือแบรนด์โซจูที่ได้รับความนิยมสูงสุดและครอบครองตลาดโซจูเกิน 60% และนอกจากโซจูแล้ว HiteJinro ก็ยังมีธุรกิจอื่น เช่น เบียร์ วิสกี้ ไปจนถึงไวน์นำเข้า

ชื่อเต็ม: HITEJINRO Co., Ltd.

มูลค่าตลาด: 1,160

ล้านเหรียญตัวอย่างสินค้า:

  • โซจู JINRO
  • เบียร์ขวด Hite Extra Cold

2. Amorepacific เจ้าของสกินแคร์สัญชาติเกาหลีชั้นนำหลายแบรนด์

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมของเกาหลีที่สร้างชื่อไปทั่วโลกย่อมหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมความงาม และบริษัทที่ถือครองแบรนด์เครื่องสำอางค์และสกินแคร์ชั้นนำเอาไว้ในมือก็คือ Amorepacific ที่เป็นเจ้าของทั้ง Innisfree, LANEIGE ไปจนถึง Sulwhasoo และแบรนด์เหล่านี้เองก็แวะเวียนมาขึ้นโต๊ะเครื่องแป้งของบรรดาตัวเอกในซีรีส์และเผยโฉมให้ผู้ชมทั่วโลกเห็นอยู่บ่อยครั้ง

ชื่อเต็ม: Amorepacific Corporation

มูลค่าตลาด: 6,550 ล้านเหรียญ

ตัวอย่างสินค้า:

  • Innisfree green tea seed serum
  • LANEIGE water sleeping mask
  • Sulwhasoo first care activating serum
  • Mamonde rose water toner

3. Nongshim แบรนด์รามยอนอันดับ 1

สินค้าอีกอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้ถ้าพูดถึงซีรีส์เกาหลี คือ รามยอน ไม่ว่าจะเป็นฉากที่ตัวเอกกลับจากการทำงานดึก ๆ หรือโมเมนต์ชวนจิ้นระหว่างคู่ตัวเอก สินค้าชนิดนี้ต้องโผล่เข้ามามีซีนอยู่ตลอดเวลา และแบรนด์รามยอนที่ถือว่าเป็นอันดับ 1 ก็คือ Nongshim

ชื่อเต็ม: Nongshim Co., Ltd.

มูลค่าตลาด: 1,610 ล้านเหรียญ

ตัวอย่างสินค้า:

  • NONGSHIM Shin Ramyun Noodle Soup Spicy Flavor
  • NONGSHIM Chapagetti Chajang Noodle
  • NONGSHIM Neoguri Seafood & Spicy

4. Samsung บริษัทอิเล้กทรอนิกส์ระดับโลก บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้

ฉากที่หลายคนน่าจะเคยเห็นกันจนชินตาในซีรีส์เกาหลีย่อมหนีไม่พ้นคือ มีสายเข้าใครสักคนแล้วกล้องก็ไปจับที่โทรศัพท์ Samsung รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อม tie-in ฟีเจอร์ของโทรศัพท์แบบเนียน ๆ  แน่นอนอยู่แล้ว ถ้าพูดถึงบริษัทเกาหลี แล้วไม่พูดถึง Samsung เลยก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะนี่คือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ แถมยังเป็นบริษัทระดับโลก ซึ่งนอกจากมือถือแล้ว Samsung ยังมีไลน์ธุรกิจในมืออีกเป็นจำนวนมาก

ชื่อเต็ม: Samsung Electronics Co., Ltd.

มูลค่าตลาด: 322,000 ล้านเหรียญ

ตัวอย่างสินค้า

  • Samsung galaxy Z flip 4
  • Samsung galaxy S22
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหลายชนิด

นอกจาก 4 แบรนด์ที่เรายกมาให้ชมกันแล้ว ยังมีแบรนด์เกาหลีอีกหลายแบรนด์ที่เราน่าจะเคยเห็นกันอยู่บ่อยครั้งในซีรีส์ เช่น เวลาที่พระเอกขับรถมาจอดเทียบถนนและชวนนางเอกที่กำลังรอคอยอยู่ที่ป้ายรถสาธารณะ รถคันนั้นก็มักจะเป็นของ Hyundai ซึ่งเป็นอีกบริษัทที่แข็งแกร่ง

4 หุ้นเกาหลีเกาใจ ดูซีรีส์ทีไร เจอทุกที

*อ้างอิงข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566

หมายเหตุ : บทความนี้ใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้เจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

ที่มา

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/get-to-know-7-skincare-stocks/

หลักคิดของนักเลือกหุ้นระดับเซียน

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
หลักคิดของนักเลือกหุ้นระดับเซียน

ผมเป็นคนที่ชอบอ่าน Quote หรือ “คำคม” ของคนที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะในเรื่องที่ผมสนใจ ผมคิดว่ามันให้ข้อคิดที่ดีและทำให้เราจำได้เวลาที่ผมประสบกับเรื่องนั้น ผมจะได้คิดตรึกตรองอย่างลึกซึ้งขึ้น และ “คำคม” เกี่ยวกับการลงทุนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมชอบและก็มักจะจำได้ แม้ว่าจะไม่ตรงกับคำพูดของคนนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผมก็มักจะจำเนื้อหาหลักของมันได้ ลองมาดูกันว่า “เซียนหุ้น” หรือนักเลือกหุ้นชั้นนำเขาพูดหรือคิดอะไรกันบ้าง

คนแรกที่ผมคิดและจดจำเสมอเวลาจะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวก็คือคำคมของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ที่ว่า “กฎข้อแรกของการลงทุนก็คือ อย่าขาดทุน และกฎข้อสองของการลงทุนก็คือ อย่าลืมกฎข้อแรก และนั่นก็คือกฎทั้งหมดที่มี” นี่เป็นกฎที่ดูไม่ได้มีอะไรโดดเด่น เพียงแต่เป็นการเล่นคำ อย่างไรก็ตาม เพราะมันเป็นคำพูดของบัฟเฟตต์ เซียนหุ้นหมายเลข 1 ของโลก มันจึงมีความหมายและกลายเป็นคำคมที่คนรู้จักมากที่สุด-แม้ว่าน้อยคนจะปฏิบัติติตามจริง ๆ

สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่านี่เป็นหลักการที่ผมยึดถือมากที่สุด ผมเชื่อว่าเขาพูดอย่างมีความหมายและจริงจัง เบื้องหลังของมันก็คือ การลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบัฟเฟตต์ทุกครั้งจะต้องมีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะในด้านที่ว่ามันจะมีโอกาสผิดพลาดและทำให้ขาดทุนในระยะยาวหรือไม่ ถ้ามี เขาก็จะไม่ซื้อ แม้ว่าโอกาสที่จะกำไรมหาศาลจะสูงกว่า และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งว่าเขาจะลงทุนในหุ้นจำนวนน้อยตัวมากเมื่อเทียบกับนักลงทุนอื่นที่มีพอร์ตใหญ่เช่นกัน และก็แทบจะไม่ขายหุ้นเลยหลังจากซื้อแล้ว

สิ่งที่ทำให้ผมเชื่อหลักคิดของบัฟเฟตต์ข้อนี้ก็คือ สถิติการลงทุนของบัฟเฟตต์ในช่วงเวลากว่า 70 ปี ของเขานั้น มีหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เขาลงทุนและต้องขายขาดทุนน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วหุ้นแต่ละตัวจะกำไรมหาศาลเนื่องจากเขาถือมายาวนาน แน่นอนว่ามีหุ้นหลายตัวที่ “น่าผิดหวัง”และเขาต้องขายออกไป แต่ที่ขาดทุนจริง ๆ นั้นมักจะมีน้อย เหตุผลก็คือ ในหลายกิจการที่เขาไม่แน่ใจในผลประกอบการของบริษัทเนื่องจากอาจจะกำลังประสบปัญหาในยามที่เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมกำลังตกต่ำ เช่นหุ้นสถาบันการเงินหรือหุ้นการบินบางตัว เขาก็มักจะเลือกลงทุนในพันธบัตรที่สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ ซึ่งถ้าบริษัทไม่ฟื้นตัวดีแต่ก็ไม่ถึงกับเจ๊ง เขาก็สามารถถอนทุนออกมาโดยการไม่แปลงสภาพเป็นหุ้นและรับดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงแทน

หลักคิดที่สอง ก็คือของ จอร์จ โซรอส ซึ่งก็ถือว่าเป็น “เซียนนักเก็งกำไรบันลือโลก” คำคมของเขาที่นักเก็งกำไรทั่วโลกยึดถือก็คือ “มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะถูกหรือผิดในการเลือกหลักทรัพย์ลงทุน  แต่เป็นเรื่องว่าคุณจะกำไรเท่าไรถ้าคุณถูก และจะขาดทุนเท่าไรเมื่อคุณเลือกผิด”

ความหมายของโซรอสก็คือ คุณจะขาดทุนหุ้นกี่ตัวและกำไรกี่ตัวก็ไม่สำคัญ ถ้าเวลาที่ขาดทุนนั้นก็อย่าขาดทุนมาก คืออย่าไปเล่นมากถ้ายังไม่แน่ใจ เช่น ซื้อไปแล้วหุ้นก็ไม่ได้วิ่งไปไหนหรือซื้อแล้วหุ้นตกลงไปด้วยซ้ำ ในกรณีแบบนี้ ไม่ต้องคิดซื้อถัวเพื่อลดต้นทุนอะไรทั้งสิ้น ต้องขายทันที แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นวิ่งขึ้นไปแรงและมีปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงขึ้นชัดเจน ก็จะต้อง “อัดเต็มแม็ก” ทำกำไรจากหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นอย่างมหาศาลมากกว่าการขาดทุนที่ซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ผิดพลาดหลาย ๆ ตัว

และนั่นก็คือแนวทางการเลือกหรือเล่นหุ้นหรือหลักทรัพย์ของโซรอสที่มีเรื่องเล่าว่า เวลาที่ลูกน้องเสนอจะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ตัวไหน โซรอสจะลองทดสอบดูว่าหุ้นจะดีจริงหรือเปล่าโดยการชอร์ตหรือขายหุ้นตัวนั้นก่อนแบบทุ่มเข้าไปล็อตหนึ่ง ถ้าหุ้นตกอาจจะเพราะไม่ค่อยมีคนรับพอ เขาก็จะถอยจากหุ้นตัวนั้น อาจจะโดยการปิดชอร์ต และทำกำไรเล็กน้อย แต่ถ้าหุ้นไม่ตกและกลับปรับตัวขึ้นไปซึ่งก็จะทำให้เขาขาดทุนเล็กน้อยเมื่อต้องซื้อหุ้นตัวนั้นกลับ แต่หลังจากนั้น เขาก็จะซื้อหุ้นตัวนั้นแบบ “จัดเต็ม” และหวังว่าหุ้นจะวิ่งขึ้นไปอย่างแรง ทำกำไรได้มหาศาล

หลักคิดที่สาม เป็นของชาลี มังเกอร์ คู่หู วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นคน “ปากจัด” ไม่แคร์ใครหรือต้องรักษาภาพลักษณ์ของตนเอง “ซิกเนเจอร์” ของเขาก็คือ ลงทุนแต่ใน “หุ้นที่ดีเยี่ยม” ในแง่ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และที่จริงก็เป็นคนที่โน้มน้าวให้บัฟเฟตต์เปลี่ยนแนวทางการลงทุนที่เป็นแบบ VI ของเบน เกรแฮมที่เน้นหุ้นถูกมาก มาเป็นแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” ที่เน้นบริษัทที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ยุติธรรม เช่นหุ้นของ “ซีแคนดี้” บริษัทช็อกโกแล็ตยอดนิยมในแคลิฟอร์เนีย เมื่อหลายสิบปีก่อนที่ก็ยังอยู่ในพอร์ตของเบิร์กไชร์และบัฟเฟตต์ยังพูดถึงบ่อย ๆ จนทุกวันนี้

คำคมของชาลี มังเกอร์ที่เข้าใจว่าเพิ่งจะพูดไม่นาน แต่ก็น่าจะเป็นหลักคิดของเขามาหลายสิบปีแล้วและผมก็ขอลอกจากเว็บไซต์ “คลับ VI” ก็คือ “เขา (เบน เกรแฮม) ทำเงินได้หลายต่อหลายล้านเหรียญจากการลงทุนเน้นมูลค่า ในบริษัทห่วย ๆ ซึ่งราคาถูกมาก ๆ .. แต่การเฝ้ามองบริษัทห่วย ๆ ที่คุณไม่ชอบ มันไม่น่าอภิรมย์เอาซะเลย .. สู้มองบริษัทที่คุณชื่นชมประสบความสำเร็จขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ได้หรอก มันสนุกกว่ากันตั้งเยอะเมื่อเทียบกับการมองคนทุเรศ ๆ บริหารบริษัทราคาถูก ๆ แบบผิด ๆ ถูก ๆ”

หลักคิดที่สี่ เป็นของ ปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งผมอยากจะเรียกว่าเป็น “Wisdom of the Mass” หรือเป็น “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ในการเลือกบริษัทหรือหุ้นที่จะลงทุน พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นหรือหุ้นอะไรเลย แต่เป็นคนที่ทำงานหรือซื้อสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นคนที่มีข้อมูลที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์หรือประเมินว่าหุ้นตัวไหนกำลังดีหรือแย่

พวกเขาอาจจะเป็นเด็กที่กำลังเห่อรองเท้าคู่ใหม่ของไนกี้ หรือเป็นผู้หญิงที่อาจจะเป็นภรรยาเราที่มาคุยว่าชอบเสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางของยี่ห้อไหน หรือเป็นเพื่อนร่วมงานที่กำลังนิยมกินอาหารภัตตาคารใหม่ที่กำลังเติบโตกระจายไปทั่วประเทศ เป็นต้น คำคมของเขาสั้น ๆ ก็คือ “ถ้าคุณเป็นคนขับรถบรรทุก คุณก็มีความได้เปรียบในฐานะนักลงทุนที่สุดแล้ว” เพราะคุณจะรู้ว่าสินค้าอะไรที่ขายดีที่สุด

หลักคิดที่ห้า เป็นของ เรย์ ดาลิโอ “นักลงทุนจอมหลักการ” ตามชื่อหนังสือที่เขาเขียนเรื่อง “Principles”  หลักคิดของเขาก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม มันจะเคลื่อนไหวเป็นคลื่นระยะยาวที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ตัวอย่างเช่น ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวของเงินตราของประเทศผู้นำของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะทำนายว่าสหรัฐกำลังเสื่อมลงและประเทศกำลังพัฒนาอย่างจีนจะมีบทบาทมากขึ้น เขาพูดว่าระเบียบของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากการที่อเมริกาเป็นผู้กำหนดจะกลายเป็นโลกที่อเมริกาก็เป็นแค่ผู้เล่นหนึ่ง ดังนั้น การหาหุ้นลงทุนนั้นก็จะต้องมองไปในภาพใหญ่และต้องดูว่าที่ไหนหรือประเทศไหนจะเป็นแหล่งลงทุนที่ดีในอนาคต

ส่วนตัวผมเองนั้น ไม่ได้เชื่อตามการวิเคราะห์ภาพใหญ่ของ เรย์ ดาลิโอ แต่ก็คิดแบบเดียวกันในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้อง “อยู่ในตลาดหรือที่ที่ถูกต้อง” ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในช่วงอาจจะ 10 ปีนี้ ของผมก็คือเวียดนาม แต่ของเขาอาจจะเป็นจีน

หลักคิดในการลงทุนของเซียนนักเลือกหุ้นทั้ง 5 คน นี้ ครอบคลุมหลักการใหญ่ ๆ ของแทบทุกสไตล์การลงทุนหลัก ๆ ของโลกในทางปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่แนวทาง VI ก็คือ แนวของ วอร์เรน บัฟเฟตต์-ชาลี มังเกอร์ ซึ่งผมคิดว่าเราควรจะเรียกเป็นคู่แบบนี้ เหตุผลเพราะว่าความคิดของการลงทุนแบบ “ซุปเปอร์สต็อก” นั้น เป็นความคิดเริ่มต้นโดยมังเกอร์ที่บัฟเฟตต์ยอมรับและนำมาใช้และกลายเป็นซิกเนเจอร์ของเบิร์กไชร์ ไม่ใช่ของบัฟเฟตต์คนเดียว

หลักการลงทุนแบบ “เก็งกำไร” ที่ “มีหลักการ” และไม่ได้เป็นแค่การสุ่มเสี่ยงและขึ้นอยู่กับสถานการณ์แบบจอร์จ โซรอส นั้น ผมคิดว่าเป็นแนวทางให้กั  “นักเก็งกำไร” ที่หวังจะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ และอาจจะไม่ได้เสี่ยงมากอย่างที่นักลงทุนอื่นเข้าใจ เหนือสิ่งอื่นใด โซรอสไม่ได้ “เล่นทุกวัน” และ “เล่นน้อย ๆ” อย่างที่นักลงทุนแบบ “แมงเม่า” ทำ เขาเลือกเล่นและ “กินคำโต” ที่มั่นใจมาก เพราะวิเคราะห์มาแล้วอย่างดี

ปีเตอร์ ลินช์ นั้น เหมาะกับ VI ที่เน้นแนวเทรดหุ้นที่มีความขยันหาข้อมูลและหวังได้ผลตอบแทนที่ดีโดยที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ พวกเขาลงทุนในหุ้นหลาย ๆ ตัวมากซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงของพอร์ตลงโดยที่ผลตอบแทนสูงกว่ามาตรฐานหรือดัชนีได้

สุดท้ายคือ เรย์ ดาลิโอ ที่มองภาพใหญ่และความจริงของชีวิตและประเทศที่จะดำเนินไป ซึ่งจะช่วยให้เราไม่ติดกับอยู่ในภาพเล็กที่เราอาจจะคุ้นเคยและ “ไม่ตั้งคำถาม” จนถึงเวลาที่มันสายเกินไปก่อนที่จะทำอะไร

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

FINNOMENA FUNDS Investment Team

     Weekly Market Insight

ประจำสัปดาห์  18/09/66 – 22/09/66

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

 

 

เงินเดือนเท่านี้ ลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดเท่าไร?

premiums
เงินเดือนเท่านี้ ลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดเท่าไร?

อีกหนึ่งตัวช่วยประหยัดภาษีที่เราไม่ควรมองข้ามเลยคือ “กองทุน SSF-RMF” เพราะนอกจากจะช่วยเราประหยัดภาษีได้แล้วยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้อีกด้วย

บทความนี้จะขอพาทุกคนมาดูกันว่าเงินเดือนที่เราได้รับในปัจจุบันจะสามารถลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดตามเงื่อนไขเท่าไรบ้าง? ติดตามไปพร้อมกันได้เลย!

ลงทุน SSF RMF ได้แบบไม่ติดขัด เพราะ FINNOMENA สามารถตั้ง DCA กองทุนภาษีแบบอัตโนมัติได้แล้ว!
👉 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/9-step-ssf-rmf-dca-web

เงื่อนไขการลงทุนกองทุน SSF-RMF

  • SSF ลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท
  • RMF ลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท

โดยทั้งกองทุน SSF และ RMF เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ* แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

* กองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุน SSF, กองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และประกันชีวิตแบบบำนาญ

เงินเดือนเท่านี้ ลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดเท่าไร?

รายได้รวมต่อปี 360,000 บาท (30,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 108,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 108,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 480,000 บาท (40,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 144,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 144,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 600,000 บาท (50,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 180,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 180,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 720,000 บาท (60,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 216,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 840,000 บาท (70,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 252,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 960,000 บาท (80,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 288,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 1,080,000 บาท (90,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุด 200,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุด 324,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 1,200,000 บาท (เดือนละ 100,000 บาท)

  • ลงทุน SSF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • ลงทุน RMF อย่างเดียวได้สูงสุดไม่เกิน 360,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี ปี 2566: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี FINNOMENA ได้ที่

— planet 46.

เปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี กับ FINNOMENA FUNDS วันนี้ รับฟรี ! 30 FINT* ได้ฟิน 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนภาษี และสะสม FINT

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ง่าย ๆ ทั้งกองทุน SSF และ RMF มีให้เลือกกว่า 21 บลจ. ในที่เดียว และยังมีความเป็นกลางในการคัดสรรกองทุนมาแนะนำให้กับนักลงทุน ที่ FINNOMENA FUNDS เท่านั้น

เปิดบัญชี คลิก : https://finno.me/fint-tax-oa-ws

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 30 กันยายน 2566
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม  โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

premiums
ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

สำหรับการวางแผนภาษีปี 2566 นี้ หลายคนคงกำลังมองหาตัวช่วยบางอย่างที่จะทำให้เราประหยัดภาษีได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยประหยัดภาษีที่เราไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ “กองทุน SSF-RMF” เพราะการลงทุนในกองทุน SSF-RMF นอกจากจะช่วยเราประหยัดภาษีได้แล้วยังสามารถสร้างวินัยในการลงทุนได้อีกด้วย

บทความนี้จึงขอพาทุกคนมาดูว่าหากเราลงทุน SSF-RMF จำนวนเท่านี้แล้ว จะสามารถทำให้เราประหยัดภาษีไปได้มากเท่าไร? ติดตามไปพร้อมกันได้เลย!

ลงทุน SSF RMF ได้แบบไม่ติดขัด เพราะ FINNOMENA FUNDS สามารถตั้ง DCA กองทุนภาษีแบบอัตโนมัติได้แล้ว!
👉 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://finno.me/9-step-ssf-rmf-dca-web

ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

ซื้อ SSF-RMF เท่านี้ ประหยัดภาษีได้เท่าไร?

รายได้รวมต่อปี 480,000 บาท (40,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 48,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 96,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 144,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 600,000 บาท (50,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 60,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 120,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 180,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 720,000 บาท (60,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 72,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 144,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 216,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 840,000 บาท (70,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 84,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 168,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 252,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 960,000 บาท (80,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 96,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 192,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 288,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 1,080,000 บาท (90,000 บาท/เดือน)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 108,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 216,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 324,000 บาท

รายได้รวมต่อปี 1,200,000 บาท (เดือนละ 100,000 บาท)

  • ลงทุน 10% ของรายได้รวมทั้งปี = 120,000 บาท
  • ลงทุน 20% ของรายได้รวมทั้งปี = 240,000 บาท
  • ลงทุน 30% ของรายได้รวมทั้งปี = 360,000 บาท

คำอธิบายตารางเพิ่มเติม:

  • รายได้รวมทั้งปีคำนวณเฉพาะเงินเดือนเท่านั้น ไม่นับรวมโบนัส หรือเงินพิเศษอื่น ๆ
  • จำนวนภาษีที่เสียสูงสุด คำนวณจากเงินได้สุทธิที่หักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้รวมทั้งปี (ไม่เกิน 100,000 บาท) และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • จำนวนภาษีที่ประหยัดไปได้ คำนวณจากการลงทุนใน SSF-RMF เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติม

อ่านเพิ่มเติม งินเดือนเท่านี้ ลงทุน SSF-RMF ได้สูงสุดเท่าไร?

“เปลี่ยนภาษีเป็นเงินได้ เปลี่ยนรายจ่ายเป็นเงินออมเพื่อการเกษียณ พร้อมสร้างวินัยการลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่น่าพึงพอใจ มีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า ด้วยการลงทุนแบบ DCA ในกองทุน SSF RMF”

– Aoei Thananit, CFP® (The Financial Planner)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี FINNOMENA FUNDS ได้ที่

เปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี กับ FINNOMENA FUNDS วันนี้ รับฟรี ! 30 FINT* ได้ฟิน 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนภาษี และสะสม FINT

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ง่าย ๆ ทั้งกองทุน SSF และ RMF มีให้เลือกกว่า 21 บลจ. ในที่เดียว และยังมีความเป็นกลางในการคัดสรรกองทุนมาแนะนำให้กับนักลงทุน ที่ FINNOMENA FUNDS เท่านั้น

เปิดบัญชี คลิก : https://finno.me/fint-tax-oa-ws

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 30 กันยายน 2566
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TAX Saving Funds 2023

FINNOMENA

กองทุนลดหย่อนภาษีปีนี้
มาซื้อที่ฟินโนมีนา ฟันด์

เปิดบัญชีที่เดียว ซื้อ SSF-RMF
ได้หลากหลาย บลจ.

ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน – 31 ธันวาคม 2566

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน

ทำไมต้องลงทุนลดหย่อนภาษีที่ ฟินโนมีนา ฟันด์

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

*FINT เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์บนเทคโนโลยีบล๊อกเชน Ethereum ที่จะให้สิทธิ์ผู้ถือโทเคนในการรับประโยชน์จากการใช้งานแพลตฟอร์มและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมต่าง ๆ บนผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่มเรา  โดยทุกๆการลงทุน 5,000 บาท รับไปเลย 1 FINT ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม >>

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้หลากหลาย บลจ. ในที่เดียว

กองทุน SSF และ RMF แนะนำ

SSF

RMF

ชุดกองทุน SSF และ RMF แนะนำ

SSF & RMF มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

*ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนับรวมกลุ่มเกษียณ (กองทุน SSF/RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน)

ขั้นตอนกดรับคูปอง

ขั้นตอนการเปิดบัญชีกองทุนรวม

ขั้นตอนการเปิดบัญชีภาษี

บทความลดหย่อนภาษีที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

  • ลูกค้าจะต้องทำการเปิดบัญชีซี้อขายหน่วยลงทุนกับ FINNOMENA FUNDS มาก่อน และทำการเปิดบัญชีลงทุนกองภาษี (Tax Saving Funds) กับ FINNOMENA FUNDS
  • บัญชีกองภาษีหมายถึง แผน Tax Saving Funds สำหรับซื้อกองทุน SSF-RMF โดยลูกค้าสามารถเปิดบัญชีกองภาษีได้ผ่านแอปพลิเคชัน FINNOMENA และเลือก เพิ่มแผน Tax Saving Funds หลังจากเปิดบัญชีกองทุนรวมสำเร็จ
  • ผู้มีสิทธิได้รับรางวัล คือผู้ที่เปิดบัญชีกองภาษี เป็นครั้งแรก และได้รับการยืนยันเลขที่หน่วยลงทุนจาก FINNOMENA FUNDS สำหรับบัญชีกองภาษี ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน – 31 ธันวาคม 2566
  • ในกรณีที่เปิดบัญชีกองภาษี และได้รับเลขที่หน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 ส.ค. 2566 จะไม่ได้รับสิทธิ์ในโปรโมชันนี้
  • ลูกค้าจะต้องกดรับสิทธิ์ผ่านคูปองในหน้าเว็บไซต์ https://www.finnomena.com/z-admin/campaign-tsf-2023/ หรือกดรับสิทธิ์ในแอป FINNOMENA หากลูกค้าไม่กดรับสิทธิ์ในช่องทางข้างต้นจะถือว่าลูกค้าไม่ประสงค์จะรับสิทธิ์ในส่วนนี้
  • จำกัดสิทธิ์รับรางวัล ลูกค้า 1 ท่าน ต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น
  • ลูกค้ามีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการรับสิทธิ์ ต่อไปจะเรียกว่า “ผู้รับสิทธิ์” 
  • ผู้รับสิทธิ์ทราบว่าของรางวัลคือ FINT จำนวน 30 FINT  ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดรางวัลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fint.finance/
  • FINNOMENA จะดำเนินการจัดสรร FINT ให้แก่ผู้รับสิทธิ์ทุกท่านที่ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขการรับสิทธิ์ โดยกำหนดขั้นตอนดังนี้ 
    • ผู้รับสิทธิ์จะต้องกดรับสิทธิ์ก่อนการเปิดแผน Tax Saving Funds ก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2566
    • ผู้รับสิทธิ์จะได้รับ 50 FINT เมื่อแผน Tax Saving Funds ของท่านได้รับการอนุมัติภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2566
    • ผู้รับสิทธิ์จะต้องกดรับ FINT ผ่าน FINT Wallet ภายใน 180 วัน นับจากวันที่ได้รับ FINT 
  • ของรางวัลไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้
  • ลูกค้านิติบุคคลไม่สามารถร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้ได้
  • ลูกค้าที่เปิดบัญชีผ่าน Kept invest by FINNOMENA ไม่สามารถเข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้ได้
  • การพิจารณาและตัดสินใจของบริษัทไม่ว่ากรณีใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขายนี้ให้เป็นที่สิ้นสุดและไม่อาจโต้แย้งได้
  • ผู้เข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายนี้รับทราบและตกลงที่จะผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขและการตัดสินใจของบริษัทโดยไม่มีข้อจำกัด ผู้เข้าร่วมการส่งเสริมการขายยอมรับว่าการพิจารณาและตัดสินใจทั้งหมดของบริษัทจะถือเป็นที่สิ้นสุดและเด็ดขาด
  • บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเงื่อนไขและข้อตกลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และของรางวัลไม่สามารถตัดทอนเพิ่ม แลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของรูปแบบอื่นได้ และบริษัทฯ สงวนสิทธิ์พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการส่งเสริมการขายนี้แต่เพียงผู้เดียว
  • คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน
  • ในกรณีที่ซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษี จะไม่สามารถนำเงินลงทุนส่วนเกินไปลดหย่อนภาษีได้ และจะต้องนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายคืนในส่วนที่เกินสิทธินำไปรวมกับรายได้ในปีที่ขายคืนเพื่อคำนวณภาษีด้วย
  • ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT

 

รวม 11 กองทุนหุ้นโลก เฟ้นหาโอกาสที่ดีที่สุดในทุกตลาด

Park Kathawut
กองทุนหุ้นโลก

โลกนี้ช่างกว้างใหญ่ และกำลังหมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าเราจำกัดการลงทุนอยู่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยไม่เหลียวแลที่อื่นเลย เท่ากับว่าเราคงเสียโอกาสการลงทุนอีกมากมายที่รออยู่ทั่วโลก

การกระจายเงินลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์ หลากหลายภูมิภาคทั่วโลก จึงเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่ทุกคนควรทำในการจัดพอร์ต ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกที่สามารถทำได้ก็คือการเลือกลงทุนกับกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนหุ้นทั่วโลก

Highlight (คลิกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้เลย)

กองทุนหุ้นโลก คืออะไร

กองทุนหุ้นโลก (Global Equity Fund) เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนทั่วโลก พูดง่าย ๆ ว่าสามารถลงทุนได้ในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย เวียดนาม รวมถึงไทยด้วย ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนนั้น ๆ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อต้องการค้นหาการลงทุนในธุรกิจที่ดีที่สุดจากทั่วโลก 

ประเภทของกองทุนหุ้นโลก นั้นมีทั้งที่มุ่งเน้นกลยุทธ์แบบ Passive Investment และ Active Investment

สำหรับกองทุนแบบ Passive ส่วนใหญ่จะลงทุนล้อตาม 2 ดัชนีสำคัญ ได้แก่ 

  • MSCI World ที่จะรวมเฉพาะหุ้นในตลาด Developed Market เท่านั้น 
  • MSCI ACWI (All Country World Index) จะมีทั้งหุ้น Developed Market และ Emerging Market รวมอยู่ด้วยกัน 

อีกประเภทคือกองทุนแบบ Active ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายตามสไตล์ของผู้จัดการกองทุนแต่ละค่ายเลย แต่ถ้าจะแบ่งให้เห็นภาพชัดขึ้น สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 สายหลัก ๆ ได้แก่ 

  • สาย Defensive เน้นหุ้นมั่นคง ลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่งมายาวนาน เน้นอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น สินค้าอุปโภค-บริโภค, สินค้าลักชัวรีที่มีแบรนด์ดัง, ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น
  • สาย Growth เน้นหุ้นเติบโต ลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยนวัตกรรมหรืออยู่ใน Thematic แห่งอนาคต เช่น กลุ่มสินค้าเทคโนโลยี, เซมิคอนดักเตอร์, เอไอ, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, เทคโนโลยีการเงิน, แบตเตอร์รี่และอีวี, เมตาเวิร์ส, คลาวด์ และอีคอมเมิร์ส เป็นต้น
  • สาย ESG เน้นหุ้นยั่งยืน ลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางการทำธุรกิจโดยยึดหลักความยั่งยืน ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในมิติต่าง ๆ เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันในระยะยาว

ทำไมถึงควรลงทุนกองทุนหุ้นโลก

1. ช่วยกระจายพอร์ตการลงทุนไปทุกภูมิภาคทั่วโลก 

การกระจายเงินไปลงทุนในหลากประเทศ หลายภูมิภาค สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนแบบกระจุกตัวในประเทศเดียว โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดภาวะวิกฤต จนอาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของสินทรัพย์การลงทุนโดยรวม

2. เหมาะกับการเป็น Core Portfolio สำหรับการจัดพอร์ต

Core Portfolio หรือการลงทุนส่วนหลักของพอร์ตการลงทุน โดยมีเป้าหมายระยะยาว เน้นโตไปอย่างมั่นคง จึงมักจะผสมผสานระหว่างตราสารหนี้ และหุ้นขนาดใหญ่ที่ทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งกองทุนหุ้นโลกนั้นค่อนข้างเหมาะกับการเป็นกองทุนหลักในส่วนนี้

3. เป็นการแสวงหาโอกาสเติบโตใหม่ ๆ ไปกับเมกะเทรนด์ที่โลกต้องการ

เนื่องด้วย Active Fund Global Equity ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นลงทุนไปกับเมกะเทรนด์ หรือธีมการลงทุนใหม่ ๆ โดยไม่จำกัดประเทศที่ลงทุนได้ แต่ให้ความสำคัญกับบริษัทที่ดีที่สุดในทุกตลาด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เราได้ลงทุนในธุรกิจที่ประเทศไทยไม่มี

กองทุนหุ้นโลก

กองทุนหุ้นโลกที่คัดมาแล้วโดย FINNOMENA FUNDS 

FINNOMENA FUNDS Investment Team ได้คัดเลือกกองทุนหุ้นโลกแนะนำ โดยพิจารณาทั้งปัจจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ในหลากหลายกลยุทธ์เพื่อให้นักลงทุนเลือกสรรตามมุมของประเภทสินทรัพย์ และความเหมาะสมกับพอร์ตการลงทุนที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย 11 กองทุนใน 5 สไตล์การลงทุนหลัก ดังนี้

สายเติบโตระยะยาว: KKP GNP-H / KKP GNP-H-SSF / KKP GNP RMF-H

กองทุนหุ้นทั่วโลกแบบ Active ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Capital Group New Perspective Fund ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตในระยะยาว โดยใช้วิธี Bottom-up คัดเลือกหุ้นที่มีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของโลกในอนาคต 

หุ้นในพอร์ตของกองทุน KKP GNP-H จึงเน้นหนักไปที่ Growth Stock และผสมผสานด้วย Value Stock อาทิ Microsoft, Novo Nordisk, Tesla, Meta Platforms, TSMC และ ASML เป็นต้น 

ส่วนภูมิภาคที่ลงทุนมากที่สุดอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ 53.8% รองลงมาเป็นยุโรป 28.1% กลุ่มประเทศ Emerging Markets 6.4% ญี่ปุ่น 2.9% และเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) 2.2%

กองทุนหุ้นโลก

Source: Fund Fact Sheet Capital Group New Perspective Fundas of 31/07/2023

สายมั่นคงแบรนด์ดังระดับโลก: KFGBRAND-A / KFGBRAND-D

กองทุนหุ้นทั่วโลกแบบ Active ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund ด้วยคอนเซปต์หลักคือการเฟ้นหาหุ้นที่เป็นแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีอำนาจต่อรองด้านราคา และเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความมั่นคงของผลตอบแทน และทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

หุ้นในพอร์ตของกองทุน KFGBRAND จึงเน้นลงทุนในกลุ่ม Defensive Stock อาทิ Microsoft, Philip Morris International, Accenture, SAP SE, Reckitt Benckiser และ Visa เป็นต้น

บริษัทที่ลงทุนส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกามากถึง 71.55% ส่วนที่เหลือจะอยู่ในทวีปยุโรป แบ่งเป็นสหราชอาณาจักร 10.33% ฝรั่งเศส 7.11% เยอรมนี 5.69% เนเธอร์แลนด์ 2.64 และอิตาลี 0.49%

กองทุนหุ้นโลก

Source: Fund Fact Sheet Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund as of 31/07/2023

สายรักษ์โลกสร้างความยั่งยืน: K-CHANGE-SSF / KCHANGERMF

กองทุน ESG ที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Baillie Gifford Positive Change Fund​​ ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่งมุ่งเน้นให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือสนับสนุน Positive Impact ต่อสังคมโดยรวม เช่น การศึกษา ความเท่าเทียมทางสังคม การดูแลสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม 

หุ้นในพอร์ตของกองทุน K-CHANGE จึงเป็นบริษัทที่เน้นแนวคิดความยั่งยืน เพื่อการเติบโตในระยะยาว อาทิ ASML, MercadoLibre, Shopify, Tesla, TSMC และ Deere & Co

สำหรับสัดส่วนการลงทุนหลักจะอยู่ที่ภูมิภาคอเมริกาเหนือ 47.66% นอกจากนี้ จะเป็นการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ 26.53% และยุโรป 20.80% 

กองทุนหุ้นโลก

Source: Fund Fact Sheet Baillie Gifford Positive Change Fund​​ as of 31/07/2023

สายพลังงานสะอาด: MRENEW-SSF / MRENEWRMF

กองทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Blackrock Sustainable Energy ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หุ้นในพอร์ตของกองทุน MRENEW จะประกอบไปด้วย 3 ธีมหลัก คือ Clean Energy, Energy Efficiency และ Clean Transportation อาทิ NextEra Energy, Enel SPA, RWE AG,  Samsung SDI, EDP – Energias de Portugal และ Analog Devices เป็นต้น 

โดยจะกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสหรัฐฯ ประมาณ 41.64% และที่เหลือจะเป็นฝรั่งเศส 10.06% เยอรมนี 8.45% เกาหลีใต้ 5.89% โปรตุเกส 4.89% เดนมาร์ก 3.86% อิสราเอล 3.65% จีน 3.21% และเนเธอร์แลนด์ 2.03%

กองทุนหุ้นโลก

Source: Fund Fact Sheet BlackRock Sustainable Energy as of 31/07/2023

สรุปกองทุนหุ้นโลก เลือกกองไหนให้ตอบโจทย์เป้าหมาย

สุดท้ายนี้ใครยังชั่งใจไม่ได้ ตัดสินใจไม่ถูก ว่าจะปักธงเลือกกองทุนไหนดีให้ตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุนของตัวเอง เอาเป็นว่าเราจึงสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ กันไปเลย

กองทุนหุ้นโลก

ศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund


แหล่งข้อมูล

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

รวมกองทุนหุ้น Apple ลงทุนกับบริษัทนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

Park Kathawut
กองทุนหุ้น Apple

เป็นประจำของทุกปีที่บริษัทเทคโนโลยีอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Apple Inc. (AAPL) จะมีงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตลาดได้ตื่นเต้นอยู่เสมอ และในปีนี้ Apple Event 2023 มาในธีม “Wonderlust” หรือ “การโหยหาความมหัศจรรย์” โดยจัดขึ้นวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา (ตรงกับเที่ยงคืนวันที่ 13 กันยายน ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งก็คาดว่าดาวเด่นครั้งนี้ คือการเปิดตัว iPhone 15

ทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ มักจะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น Apple อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะ iPhone ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่ปฏิวัติวงการมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา 

iPhone เครื่องแรกเปิดตัวในเดือนมกราคม 2007 โดยถูกพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ กว่า 16 ปี รวมแล้วทั้งหมด 38 รุ่น และหากนับตั้งแต่วันนั้น ราคาหุ้นของ Apple เพิ่มขึ้นประมาณ 5,800% มากกว่าดัชนี S&P 500 ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 230% ในช่วงเวลาเดียวกัน

กองทุนหุ้น Apple

Source: Refinitiv Datastream, Reuters as of 04/01/2022

ขณะเดียวกัน iPhone ยังเป็นสินค้าเรือธงที่สร้างรายได้และกำไรให้กับ Apple มหาศาล อ้างอิงจากงบการเงินประจำปี 2022 บริษัทมีรายได้รวม 394.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้มาจากยอดขาย iPhone ถึง 52% หรือราว 205.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

กองทุนหุ้น Apple

Source: Apple Annual Report, Visualcapitalist as of 21/04/2023

โพยกองทุนหุ้น Apple

คำถามคือถ้าอยากซื้อกองทุนที่มีหุ้น Apple สัดส่วนเยอะ ๆ เพื่อรับโอกาสเติบโตไปพร้อมกับกระแสเปิดขาย iPhone 15 แบบนี้จะมีกองทุนไหนให้เลือกลงทุนบ้าง วันนี้ FINNOMENA FUNDS สรุปมาให้ดูแล้วแบบเน้น ๆ

กองทุนหุ้น Apple

ES-USTECH

สัดส่วนลงทุนใน Apple ประมาณ 25.67%

นโยบายการลงทุน: ลงทุนหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ผ่านกองทุนหลัก iShares S&P 500 Information Technology Sector UCITS ETF

ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 1 บาท

SCBNDQ(A), SCBNDQ(SSF)SCBRMNDA(A)

สัดส่วนลงทุนใน Apple ประมาณ 11.28%

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่อยู่ในดัชนี NASDAQ 100 ผ่านกองทุนหลัก Invesco NASDAQ 100 ETF

SCBNDQ(A) ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 1 บาท

SCBNDQ(SSF) และ SCBRMNDQ(A) ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 1,000 บาท

KFGTECH-A, KFGTECHRMF

สัดส่วนลงทุนใน Apple ประมาณ 10.13%

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในบริษัททั่วโลกที่เกี่ยวข้อง หรือได้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยี ผ่านกองทุนหลัก T. Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund

ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 500 บาท

MEGA10-A, MEGA10-SSFMEGA10RMF

สัดส่วนลงทุนใน Apple ประมาณ 9.48%

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในบริษัทแบรนด์ชั้นนำที่ทรงอิทธิพล 10 แห่งของโลก ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 1,000 บาท และครั้งถัดไป 1 บาท

M-META

สัดส่วนลงทุนใน Apple ประมาณ 8.05%

นโยบายการลงทุน: ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ผ่านกองทุนหลัก Roundhill Ball Metaverse ETF

ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 1,000 บาท

KT-OPP-A, KT-OPP-D

สัดส่วนลงทุนใน Apple ประมาณ 7.98%

นโยบายการลงทุน: กองทุนผสมต่างประเทศ (Foreign Investment Allocation)

ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกและครั้งถัดไป 1,000 บาท

รวบรวมข้อมูลสัดส่วนการลงทุนโดย FINNOMENA FUND Investment Team และ Bloomberg ณ วันที่ 01/09/2023

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.finnomena.com/fund


แหล่งข้อมูล

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept Help Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (9 – 15 ก.ย. 66)

premiums
สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (9 - 15 ก.ย. 66)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 9 – 15 ก.ย. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ

5 อันดับ กองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (9 – 15 ก.ย. 66)

สรุปกองทุนรวมตลาดเงินผลตอบแทนดี ประจำสัปดาห์ (9 - 15 ก.ย. 66)

1. LHSTPLUS-A – กองทุนเปิด แอล เอช ตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส ชนิดสะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +2.15%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.23%

ซื้อกองทุน LHSTPLUS-A คลิก

2. TMBMF กองทุนเปิดทหารไทยธนบดี

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.93%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.01%

ซื้อกองทุน TMBMF ลิ

3. TCMFENJOY กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.89%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.03%

4. KFSPLUS-A กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเพิ่มทรัพย์-สะสมมูลค่า

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.86%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +2.00%

ซื้อกองทุน KFSPLUS-A คลิก

5. TCMF กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.83%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.99%

ซื้อกองทุน TCMF คลิก

ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: LHSTPLUS-A, TMBMF, TCMFENJOY, KFSPLUS-A, TCMF

หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 14 ก.ย. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมตลาดเงิน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ประชันมุมมอง “ชาวไล่” vs “ชาวสวน” หุ้นสหรัฐฯ หรือหุ้นจีน ลงทุนอะไรดี?

FINNOMENA FUNDS
ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

จีนและสหรัฐอเมริกาเป็น 2 ตลาดการลงทุนยอดฮิตติดพอร์ตของนักลงทุนทั่วโลก รวมถึงนักลงทุนไทยด้วย อย่างไรก็ดี เวลานี้เหมือนจะเป็นทางเลือกทางแยกของทั้งหุ้นจีนและหุ้นสหรัฐฯ ด้วยหลากหลายปัจจัยสำคัญที่ถาโถมเข้ามาพร้อม ๆ กัน

คำถามคือเราควรปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรดี เพื่อรับมือกับจังหวะตลาดช่วงนี้ บทความนี้จึงอยากจะพาไปสำรวจมุมมองของนักลงทุน 2 สไตล์ นั่นคือ

1. ทีมชาวสวน JET – The Contrarian Investor ที่เชื่อมั่นสินทรัพย์พื้นฐานดีที่ราคาปรับตัวลงมามาก ชอบที่จะเฟ้นหาของดีราคาถูก

2. ทีมชาวไล่ BANK – The Trend Following Investor ที่เน้นลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น เพื่อเติบโตไปตามเทรนด์การลงทุน

กองทุนหุ้นสหรัฐฯ (US Equity)

อัปเดตตลาดตอนนี้เกิดอะไรขึ้น?

  • ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 มีการย่อตัวลงมาที่แนวรับประมาณ 4,300 จุด หลังจากวิ่งเป็นขาขึ้นมาพักใหญ่ในช่วงก่อนหน้านี้
  • Inverted Yield Curve รอบนี้มาพร้อมกับ Drawdown ของตลาดหุ้น ซึ่งต่างจากครั้งที่ผ่านมา  หรืออาจหมายความว่าจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นได้ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อช่วงปลายปี 2022

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 21/08/2023

  • การประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ส่งผลให้ Earning Revision ปรับเพิ่มได้ต่อ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าปีหน้า จะมีการปรับเพิ่ม EPS Revised up 0.7% เป็น 241.32 ดอลลาร์ต่อหุ้น แปลว่าตลาดยังคงมี Upside

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 21/08/2023

  • Forward P/E 12M ของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 18.8 เท่า ส่วนค่าเฉลี่ย P/E ย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 17.7 เท่า ทำให้การที่ดัชนีอยู่แถว 4,100-4,300 ในมุม Valuation เริ่มมีความน่าสนใจ
    ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 21/08/2023

The Contrarian Investor มองสหรัฐฯ อย่างไร?

  • หุ้นสหรัฐฯ เริ่มมี Valuation ที่น่าสนใจมากขึ้น และเริ่มไม่แพงแล้ว หลังมูลค่ากำลังเข้าสู่ Fair Value หรือเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต 
  • จึงมองว่าเมื่อดัชนี S&P 500 เข้าใกล้ 4,300 จุด จะเป็นโอกาสทยอยสะสมกองทุนหุ้นสหรัฐฯ 
  • แต่แนะนำว่าควรแบ่งไม้ในการเข้าลงทุน คือเข้าลงทุนไม้แรกที่จุดแนวรับบริเวณ 4,300 จุด และแบ่งเข้าไม้ถัดไปหากดัชนี S&P 500 หลุดเป็นขาลงมากกว่านี้ 

The Trend Following Investor มองสหรัฐฯ อย่างไร?

  • จังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ทำราคา Discount จากจุดสูงสุดค่อนข้างมาก เช่น Apple, Tesla และ Microsoft
  • ส่วนใหญ่ก็คือหุ้นนางฟ้า (The Magnificent Seven) ซึ่งปรับขึ้นอย่างร้อนแรงมาก่อนหน้านี้ และเป็นผู้ที่หนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นเทคโนโลยี สดใสมากยิ่งขึ้น
  • แม้ราคาจะย่อตัวลง แต่หุ้นเหล่านี้ยังมีคุณภาพสูง มองว่าเป็นการปรับฐานแบบ Healthy Correction และเป็นโอกาสเข้าลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ความสามารถในการแข่งขันสูง
  • แนะนำกองทุน MEGA10 ที่เน้นลงทุนในบริษัทแบรนด์ชั้นนำ 10 แห่งในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมีให้เลือกลงทุนทั้งชนิดสะสมมูลค่า MEGA10-A รวมถึงการลงทุนเพื่อเป้าหมายระยะยาวและลดหย่อนภาษี ทั้ง MEGA10-SSF และ MEGA10RMF

 

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

กองทุนหุ้นจีน (China Equity)

อัปเดตตลาดตอนนี้เกิดอะไรขึ้น?

  • ตลาดหุ้นจีนทั้ง HANG SENG และ CSI 300 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีนจะมีปัญหา โดยมีประเด็นหลักคือการยื่นล้มละลายของ Evergrande 
  • จีนเผชิญ Perfect Storm ถาโถมไม่หยุด ไล่มาตั้งแต่นโยบายควบคุมภาคอสังหาฯ, รัฐบาลท้องถิ่นก่อหนี้นอกงบดุล, ประชาชนจีนยังไม่มีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย, ความขัดแย้งเรื่อง Tech War, อัตราการว่างงานพุ่งสูง และเริ่มมีปัญหาเชิงโครงสร้างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  • เศรษฐกิจจีนไม่มาตามนัด และโตต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนถูกปรับลดลง

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 21/08/2023

  • การประชุม Politburo โดยรวมยังเป็นเชิงบวก แต่ตลาดมองว่ายายังไม่แรงพอ

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

Source : FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 07/08/2023

  • การใช้เพียงนโยบายการเงินด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย ยังไม่สามารถทำให้นักลงทุนกลับมามีความมั่นใจได้
  • Forward P/E 12M ของ CSI 300 อยู่ที่ 11 เท่า ส่วนค่าเฉลี่ย P/E ย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 12.1 เท่า
  • ในขณะที่ Forward P/E 12M ของ MSCI China อยู่ที่ 9.7 เท่า ส่วนค่าเฉลี่ย P/E ย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 11.3 เท่า

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่ ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

Source : FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 21/08/2023

The Contrarian Investor มองจีนอย่างไร?

  • ยังคงเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจีนจะมีกระสุนลูกใหญ่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต โดยจะต้องทำผ่านทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ซึ่งรัฐบาลจีนยังมีกระสุนสำรองอยู่อีกมาก
  • แนวโน้มเศรษฐกิจจีนในระยะยาวยังมีพื้นฐานที่ดี เป็นประเทศที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว และแข็งแกร่งพอที่จะรีบาวน์ได้
  • มองว่าเป็นโอกาสทยอยสะสมกองทุนหุ้นจีน K-CHINA-A(A) หรือคงสัดส่วนลงทุนในหุ้นจีน จาก Valuation ที่อยู่ในโซนถูกมาก

The Trend Following Investor มองจีนอย่างไร?

  • มองว่าแม้ตลาดหุ้นจีนจะมีโอกาสรีบาวน์กลับมาได้ แต่อาจจะไม่ได้น่าสนใจสำหรับกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาวอีกต่อไปแล้ว 
  • เนื่องจาก Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ที่จะวิ่งเข้าสู่ตลาดหุ้นจีนน้อยลงแน่ ๆ เนื่องด้วยประเด็นความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อมานาน จึงเป็นอุปสรรคที่ตลาดจะกลับมาคึกคัก
  • ส่วนความมั่นใจของนักลงทุนรายย่อย จะกลับมาก็ต่อเมื่อเห็นความชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นจริง ๆ ซึ่งการจะหวังเห็นการเติบโตจากจีนเหมือนในอดีต คงเป็นไปได้ยาก และเริ่มมีคนคิดแล้วว่าจีนอาจจะเข้าสู่ The Lost Decade ก็ได้

 

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

สรุปกองทุนแนะนำ ลงทุนอะไรดี?

แนะนำกองทุน MEGA10 ที่เน้นลงทุนในบริษัทแบรนด์ชั้นนำ 10 แห่งในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง

BANK – The Trend Following Investor

 

มองว่าเป็นโอกาสทยอยสะสมกองทุนหุ้นจีน K-CHINA-A(A) หรือคงสัดส่วนลงทุนในหุ้นจีน จาก Valuation ที่อยู่ในโซนถูกมาก

JET – The Contrarian Investor

ประชันมุมมองชาวสวน vs ชาวไล่

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน สำหรับกองทุนภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงบางส่วน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299