แจ้งเตือน

Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นจีนร่วงแรง หลังการประชุม Central Economic Work Conference

Finnomena Funds
Market Alert

วันนี้ (13 ธันวาคม 2024) ดัชนีหุ้นจีน CSI 300 ดัชนี HSCEI หรือหุ้น H-Share ของจีน และดัชนี Hang Seng (HSI) ของฮ่องกง ปรับตัวลดลงกว่า 2% หลังการประชุม Central Economic Work Conference (CEWC) ซึ่งเป็นการประชุมสำคัญสำหรับกำหนดแนวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2025

การประชุมในครั้งนี้ส่งสัญญาณว่ารัฐบาลจีนมีแผนจะเพิ่มการกู้ยืมและการใช้จ่ายภาครัฐฯ โดยเน้นการกระตุ้นการบริโภคในประเทศและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลการคลังในปี 2025 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งที่สองในรอบกว่า 10 ปีที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ พร้อมทั้งสี จิ้นผิงยังเรียกร้องให้ใช้นโยบายการคลังแบบเชิงรุกผ่านการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณและการออกพันธบัตรระยะยาวในปีหน้า ประกอบกับทางการจีนยังยืนยันว่ามีแผนจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยมีแนวโน้มจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปรับลด Reserve Requirement Ratio (RRR) ลงในช่วงเวลาที่เหมาะสม และได้ให้คำมั่นว่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านระบบสุขภาพและบำนาญ

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีนได้ปรับตัวลง เนื่องจากการประชุมในครั้งนี้เป็นการนำเสนอนโยบายแบบกว้าง ๆ และไม่ได้มีรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งนี้เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP และเป้าหมายการออกพันธบัตรรัฐบาล จะเปิดเผยอย่างเป็นทางการในการประชุมสองสภาในเดือนมีนาคม 2025

Finnomena Funds มองว่าการประชุมในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้น จึงส่งผลให้ตลาดผิดหวังและปรับตัวลงในวันนี้

เรายังแนะนำ “ลดสัดส่วน” หุ้นจีนลง แม้ภาคอสังหาเริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมฟื้นตัว แต่ต้องใช้เวลากว่าความเชื่อมันผู้บริโภคจะฟื้นตัว นอกจากนี้ความไม่แน่นอนด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันหุ้นจีน ขณะที่ Valuation ตลาดหุ้นอยู่ในระดับถูก

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ถอดบทเรียนความสำเร็จ CEO of the Year 2024 ผู้คืนชีพ AMD

Finnomena Editor
Lisa Su AMD

Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


Lisa Su CEO หญิงที่นำ Advanced Micro Devices (AMD) กลับมาสู่ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ได้รับการยกย่องในฐานะ “CEO of the Year 2024” จาก Time Magazine รางวัลนี้ไม่เพียงแค่สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารองค์กรในระดับสูง แต่ยังเป็นการยอมรับถึงความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ที่เธอได้นำมาใช้ในการพลิกฟื้น AMD จากภาวะวิกฤติสู่การเป็นผู้นำในวงการเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก

Finnomena จะมาถอดบทเรียนจากความสำเร็จของ Lisa Su ซึ่งไม่ใช่แค่บทเรียนสำหรับผู้บริหารระดับสูง แต่ยังเป็นแนวทางที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อก้าวผ่านอุปสรรคและสร้างความสำเร็จได้ในทุกสถานการณ์

จากเด็กสาวชาวไต้หวันสู่ผู้นำวงการเซมิคอนดักเตอร์

Lisa Su เกิดที่ไต้หวันและย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ หลงใหลใน STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ตั้งแต่วัยเด็ก เธอชื่นชอบการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ Commodore 64 และสร้างโปรเจกต์วิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่ง เช่น การจำลองพายุเฮอร์ริเคนในกล่อง เธอศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ MIT จนจบปริญญาเอก และเริ่มต้นเส้นทางอาชีพที่ Texas Instruments และ IBM ก่อนจะเข้าสู่ AMD ในปี 2012

ราคาหุ้น AMD ช่วงที่ Lisa Su รับตำแหน่ง CEO

ราคาหุ้น AMD ช่วงที่ Lisa Su รับตำแหน่ง CEO | Source: Tradingview

ในปี 2014 เธอขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO ของ AMD ในช่วงเวลาที่บริษัทกำลังเผชิญวิกฤติหนัก หุ้น AMD ร่วงลงเหลือเพียงประมาณ 2 – 3 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์แทบเป็นศูนย์ จนเกิดคำถามว่า AMD จะอยู่รอดได้อีกนานแค่ไหน?”

กลยุทธ์พลิกฟื้น AMD

เมื่อเธอเข้ารับตำแหน่ง CEO ในปี 2014 เธอตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เธอเริ่มต้นด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน โดยให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก ได้แก่

1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น

Lisa Su นำทีมวิศวกรของ AMD มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแข่งขันได้ แต่ยังต้องล้ำหน้ากว่าคู่แข่ง

2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่

Lisa Su เปลี่ยนโครงสร้างการทำงานภายในบริษัท ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และความยืดหยุ่น ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเสริมความมั่นใจให้กับพนักงาน

3. การสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุน

Lisa Su ไม่เพียงแต่ฟื้นฟู AMD จากการขาดทุน แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้บริษัทเป็นผู้เล่นสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ด้วยการจัดการที่โปร่งใสและการบรรลุเป้าหมายที่ให้ไว้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ราคาหุ้นของ AMD พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 3 ดอลลาร์ในปี 2014 สู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All-Time High) ที่ระดับสูงกว่า 200 ดอลลาร์ในปี 2024 คิดเป็นการเติบโตมากกว่า 6,000% ในเวลาเพียง 10 ปี

ราคาหุ้น AMD 2014 - 2024

ราคาหุ้น AMD ช่วงปี 2014 – 2024 | Source: Tradingview

ผลลัพธ์ที่ได้คือ การเปิดตัวชิปตระกูล “Zen” ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า “Chiplets” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ชิปเหล่านี้ช่วยให้ AMD กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง จนสามารถแซงคู่แข่งอย่าง Intel ด้านมูลค่าของบริษัทได้ในปี 2022

ก้าวสู่คู่แข่งสำคัญของ Nvidia

แม้ AMD จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังต้องแข่งขันกับ Nvidia ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก โดย Nvidia มีความได้เปรียบในตลาดชิป AI ด้วยชิปที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการประมวลผล Neural Networks ส่งผลให้ Nvidia ครอบครองส่วนแบ่งตลาดชิป AI กว่า 95%

แต่ Lisa Su ก็มุ่งมั่นนำ AMD เข้าสู่การแข่งขันในตลาด AI ด้วยการพัฒนาชิป Instinct MI300X ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ El Capitan ซึ่งครองตำแหน่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน

CEO of The Year 2024

Lisa Su AMD

Lisa Su CEO of the Year 2024 | Source: Time

ล่าสุด เธอได้รับการยกย่องในฐานะผู้นำองค์กรที่เปี่ยมไปด้วยวิสัยทัศน์และความสามารถ จนได้รับตำแหน่ง CEO of The Year 2024 จาก Time Magazine รางวัลนี้เป็นการตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของเธอในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลเชิงบวกต่อทั้งพนักงาน ลูกค้า และสังคมโดยรวม

หนึ่งในความสำเร็จที่โดดเด่นในปีนี้คือการนำพาองค์กรเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data รวมถึงการเน้นย้ำความสำคัญของนโยบาย ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) จนกลายเป็นต้นแบบให้แก่องค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ด้วยการเป็นผู้นำที่มีทั้งความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์เธอได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างความสามารถในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์และความเข้าใจในความต้องการของคนในองค์กรส่งผลให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่สำคัญหลายประการ พร้อมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นจากผู้ถือหุ้นและลูกค้าในระยะยาว

5 บทเรียนความสำเร็จจาก Lisa Su

เรื่องราวของ Lisa Su ไม่เพียงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ แต่ยังเต็มไปด้วยบทเรียนที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

1. มองภาพใหญ่ แต่เริ่มจากก้าวเล็ก ๆ

เมื่อเธอเข้ามารับตำแหน่ง CEO เธอไม่ได้พยายามแก้ปัญหาทุกอย่างพร้อมกัน แต่เริ่มต้นจากการวางเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และการลดต้นทุน

2. ลงทุนในสิ่งที่สำคัญที่สุด

เธอให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) แม้ว่า AMD จะมีงบประมาณจำกัดในช่วงแรก เธอตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อโฟกัสทรัพยากรไปยังจุดที่จะสร้างความแตกต่างได้

3. วัฒนธรรมองค์กรที่ดีคือพลังสำคัญ

เธอให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน เธอเน้นการสร้างทีมที่มีความยืดหยุ่น โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และส่งเสริมให้ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และมีอิทธิพลต่อทิศทางของบริษัท 

4. ไม่ยอมแพ้แม้สถานการณ์จะย่ำแย่ที่สุด

ตอนที่เธอเข้ารับตำแหน่ง AMD อยู่ในจุดที่แทบจะล้มละลาย แต่เธอไม่เพียงก้าวข้ามอุปสรรคเหล่านั้น เธอเริ่มต้นด้วยการประเมินศักยภาพที่แท้จริงของบริษัท และเลือกมุ่งเน้นไปที่จุดแข็ง โดยเฉพาะการเปิดตัวสถาปัตยกรรม “Zen” ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

5. พิสูจน์ความสำเร็จด้วยผลลัพธ์ที่จับต้องได้

เธอไม่ได้เพียงแค่พูดถึงแผนการที่สวยงาม แต่ยังพิสูจน์ด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด การฟื้นตัวของกำไร และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนเชื่อมั่น

เกร็ดเล็ก ๆ ที่คุณอาจไม่รู้

นอกจากความสำเร็จในอาชีพการงานของ Lisa Su และ Jensen Huang ที่ทำให้ทั้งสองกลายเป็นบุคคลสำคัญในวงการเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเกร็ดเล็ก ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างทั้งสอง 

นั่นคือ “แม่ของ Jensen Huang เป็นน้องสาวของปู่ Lisa Su” ซึ่งหมายความว่า CEO ของบริษัทชิป AI ทั้งอันดับ 1 และอันดับ 2 เป็นญาติกัน!


อ้างอิง: Time

7 ความล้มเหลวของ Elon Musk ก่อนรวย 13.5 ล้านล้านบาท

Finnomena Editor
7 ความล้มเหลวของ Elon Musk

Elon Musk เป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้เขาต้องเผชิญกับความล้มเหลว ความท้าทาย และอุปสรรคมากมาย ในบทความนี้เราจะมาดูอีกด้านของความสำเร็จที่ Elon Musk ต้องเผชิญก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยกว่า 13.5 ล้านล้านบาทคนแรกของโลก

1. Zip2 จุดเริ่มต้นที่ไม่ราบรื่น

Zip2 เป็นธุรกิจแรกของ Musk ที่ร่วมก่อตั้งกับ Kimbal น้องชายของเขา ในปี 1995 เพื่อสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ 

อย่างไรก็ตาม Zip2 เผชิญกับความท้าทายมากมาย เทคโนโลยีของบริษัทมักไม่น่าเชื่อถือ มีปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่มบ่อยครั้ง และความไม่แม่นยำของระบบแผนที่สร้างความหงุดหงิดให้กับผู้ใช้งานและลูกค้า

นอกจากนี้ สไตล์การบริหารของ Musk ยังถูกอธิบายว่า “เข้มงวด” โดยอดีตพนักงานบางคนเล่าว่า Musk มักแสดงความโกรธออกมาเมื่อพนักงานไม่ได้ทำงานจนดึกดื่น และคาดหวังให้ทีมทำงานอย่างหนักหน่วง

แม้ Zip2 จะขายได้ราคา 307 ล้านดอลลาร์ แต่ Musk ก็ต้องถูกปลดจากตำแหน่ง CEO เพราะแนวทางการบริหารที่ไม่ถูกใจผู้ร่วมงาน

2. SpaceX เกือบล้มละลาย

SpaceX Falcon 1

Falcon 1 ระเบิดจากการปล่อยจรวด | Source: The Washington Post

SpaceX เคยล้มเหลวถึง 3 ครั้งในการปล่อยจรวด Falcon 1 ระหว่างปี 2006 – 2008 ส่งผลให้บริษัทแทบไม่มีเงินทุนเหลือ

แต่ในปี 2008 SpaceX ประสบความสำเร็จกับการปล่อย Falcon 1 ครั้งที่ 4 และได้รับสัญญาจาก NASA มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย

3. Tesla ในช่วงวิกฤต

Tesla เคยอยู่ในภาวะวิกฤตการเงินในปี 2008 เมื่อบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่ยอมรับ Musk ต้องใช้เงินส่วนตัวจากการขายหุ้น PayPal เพื่อช่วย Tesla จนเกือบหมดตัว 

Musk ยังเคยกล่าวถึงปัญหาท้าทายในการผลิต Tesla Model 3 ว่าเป็นช่วงเวลา “นรกแห่งการผลิต” (Production Hell) ซึ่งสะท้อนถึงความยากลำบากที่ Tesla เผชิญในการเร่งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับ Mass Market ในช่วงเริ่มต้น

Musk อธิบายว่าช่วงเวลานั้นเต็มไปด้วยความเครียดและเปรียบเสมือน “ตกนรก” พร้อมทั้งยอมรับว่าเขามักนอนที่โรงงานของ Tesla เพื่อช่วยแก้ปัญหาโดยตรง

4. SolarCity กับปัญหาทางการเงิน

SolarCity เป็นบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ที่ก่อตั้งโดยลูกพี่ลูกน้องของ Elon Musk ถูก Tesla เข้าซื้อกิจการในปี 2016 ด้วยมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์ผ่านการแลกเปลี่ยนหุ้น 

แต่การซื้อกิจการนี้เกิดข้อถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและสถานะทางการเงินของ SolarCity ในขณะนั้นที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก

ผู้ถือหุ้น Tesla หลายรายมองว่าการเข้าซื้อครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือทางการเงิน (Bailout) สำหรับบริษัทที่กำลังจะล้มละลาย ทำให้ Tesla ต้องแบกรับหนี้สินของ SolarCity ที่สูงถึงหลายพันล้านดอลลาร์

5. กระจก Cybertruck แตกกลางเวที

Cybertruck กระจกแตก

Cybertruck หลังกระจกแตกในงานเปิดตัว | Source: CNN

ในงานเปิดตัว Cybertruck ของ Tesla ในปี 2019 Elon Musk และทีมงานได้พยายามแสดงความแข็งแกร่งของกระจก “กันกระสุน” ที่ออกแบบมาให้ทนต่อแรงกระแทกสูง 

แต่เรื่องเซอรไพรส์ก็เกิดขึ่นเมื่อหัวหน้าทีมออกแบบของ Tesla ขว้างลูกเหล็กไปที่กระจกด้านข้างคนขับ กระจกกลับแตกทันที เหตุการณ์นี้สร้างความตกใจและเสียงหัวเราะในงาน และกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ในทันที

Musk อธิบายภายหลังว่า ความเสียหายของกระจกอาจเกิดจากการทดสอบทุบประตูรถด้วยค้อนก่อนหน้า ซึ่งทำให้กรอบกระจกได้รับแรงกระแทกและส่งผลต่อความแข็งแรงของกระจก​

6. เข้าซื้อ Twitter แต่มูลค่าลดลงอย่างรวดเร็ว

ราคาหุ้น Twitter

ราคาหุ้น Twitter (X ในปัจจุบัน) ช่วงก่อนและหลัง Elon Musk เข้าซื้อกิจการ | Source: Fortune

การเข้าซื้อ Twitter (X ในปัจจุบัน) ของ Elon Musk ในปี 2022 ถือเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่น่ากังขาที่สุด โดยเขาทุ่มเงินไปถึง 44,000 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อกิจการนี้ โดยตั้งเป้าเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและลดการควบคุมเนื้อหา

อย่างไรก็ตาม หลังจากการเข้าซื้อกิจการ มูลค่าของ X ลดลงกว่า 75% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ทำให้ผู้ใช้งานเก่าบางส่วนเลิกใช้ และผู้ลงโฆษณาหลายรายถอนตัวออกไป

แม้ว่ามูลค่าจะลดลงอย่างมหาศาล แต่ Musk ยังคงมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการหารายได้ใหม่ เช่น ระบบสมัครสมาชิก และการสนับสนุนคอนเทนต์

7. ออกจาก OpenAI ก่อน AI บูม

OpenAI ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดย Elon Musk และ Sam Altman โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ 

อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 Musk ตัดสินใจลาออกจากการเป็นคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และการดำเนินงานขององค์กร โดย Musk มีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาที่อาจขัดแย้งกับจุดประสงค์เดิมของ OpenAI​

4 ต่อมาหลัง Elon Musk ลาออก OpenAI ได้เปิดตัว ChatGPT ซึ่งเป็นโมเดล AI ที่มีความสามารถด้านภาษาในระดับสูง ได้รับการฝึกฝนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อให้สามารถตอบคำถาม สร้างบทสนทนา และเขียนเนื้อหาที่หลากหลายตามคำสั่งที่ได้รับ

หลังการเปิดตัว ChatGPT กลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งานและองค์กรทั่วโลก จนกลายเป็นผู้นำในวงการ AI และความสำเร็จของ ChatGPT ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการแข่งขันในวงการ AI โดยบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น Gemini ของ Google และ LLaMA ของ Meta ทำให้วงการ AI เติบโตอย่างก้าวกระโดดในด้านนวัตกรรมและความสามารถ

ความล้มเหลวเป็นแรงขับเคลื่อน

ท้ายที่สุดการที่ Musk ยังคงยืนหยัดต่อสู้และพัฒนาต่อไปหลังจากล้มเหลว ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่ยอมแพ้ การเรียนรู้จากความผิดพลาด และความกล้าที่จะเสี่ยง การเรียนรู้จากความล้มเหลวจึงไม่ใช่เพียงแค่การยอมรับข้อผิดพลาด แต่คือการนำบทเรียนเหล่านั้นไปใช้สร้างความสำเร็จในอนาคต


อ้างอิง: Webopedia, Mount Bonnell

Santa Claus Rally มีจริงไหม? ลงทุนอะไรดีรับหุ้นขึ้นช่วงคริสต์มาส

Finnomena Editor
Santa Claus Rally คืออะไร

ว่ากันว่าทุกช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Santa Claus Rally” 

คำถามคือแล้ว Santa Claus Rally คืออะไร ทำไมถึงเกิดขึ้น และนักลงทุนควรเตรียมความพร้อมอย่างไรดี เราสรุปให้แบบเข้าใจง่าย

Santa Claus Rally คืออะไร?

Santa Claus Rally เป็นปรากฏการณ์ในโลกการลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นมักจะปรับขึ้นได้ดีในช่วงสัปดาห์ท้ายของปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังเทศกาลวันคริสต์มาสไปจนถึงวันปีใหม่พอดี 

โดยมีการเก็บสถิติผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 สัปดาห์สุดท้ายของทุกปี ย้อนหลัง 10 ปี (2013-2023) พบว่าหุ้นขึ้นถึง 8 ครั้ง จากทั้งหมด 10 ครั้ง

  • ปี 2022 +0.3%
  • ปี 2022 +1.5%
  • ปี 2021 -2.2%
  • ปี 2020 +1.9%
  • ปี 2019 +2.6%
  • ปี 2018 +1.1%
  • ปี 2017 +1.6%
  • ปี 2016 +1.5%
  • ปี 2015 +1.4%
  • ปี 2014 -0.4%
  • ปี 2013 +1.0%

Santa Claus Rally

กราฟแสดงผลตอบแทนของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ในช่วง 35 วันก่อนวันคริสมาสต์ (25 ธ.ค.) 
กราฟเส้นสีแดง คือปีที่ Donald Trump ชนะเลือกตั้ง 2016 
กราฟเส้นสีดำ คือค่ากลาง (Median) ระหว่างปี 2014-2023

นอกจากนี้ จะเห็นว่าในช่วงปลายปีก่อนเกิดปรากฏการณ์ Santa Claus Rally ถือเป็น Timing ที่ดีมากในการลงทุน เนื่องจากตลาดหุ้นมักจะทะยานขึ้นก่อนวันคริสต์มาส ก่อนที่จะพักฐานลงแรงในช่วงปีใหม่

ทำไมตลาดหุ้นมักปรับขึ้นช่วงปลายปี?

แม้หลายคนอาจจะมองว่า Santa Claus Rally ดูจะเป็นเหมือนอุปาทานหมู่ซะมากกว่า แต่เอาจริง ๆ แล้ว ปรากฎการณ์นี้ก็ถือว่ามีที่มาที่ไปและเหตุผลของมันอยู่เหมือนกัน ดังนี้

  1. เทศกาลหยุดยาวปลายปี เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง ผู้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยมากกว่าปกติ ประกอบกับการได้รับโบนัสของพนักงานออฟฟิต ทำให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ สามารถเร่งยอดขายได้มากขึ้น และหนุนให้นักลงทุนคาดหวังว่าผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายของบริษัทจดทะเบียนจะออกมาโดดเด่น จึงมีการซื้อหุ้นดักไว้ในช่วงปลายปี
  2. นักลงทุนส่วนใหญ่มีความรู้สึกเชิงบวกในช่วงเทศกาล จึงมีแต่ข่าวดีที่ส่งเสริมให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น มากกว่าข่าวร้ายที่คอยกดดันราคา
  3. ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีสิ่งที่เรียกว่า Tax-Loss Harvesting คือการที่นักลงทุนพยายามจะจ่ายภาษีให้น้อยลง ด้วยการปรับพอร์ตขายหุ้นที่ขาดทุน ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงในช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นนักลงทุนที่เหลือในตลาดจะใช้จังหวะนี้เข้าซื้อหุ้น หนุนให้ตลาดดีดตัวขึ้นภายหลัง
  4. สำหรับในประเทศไทย ก็มีแรงสนับสนุนจากกองทุนลดหย่อนภาษี RMF, SSF และ Thai ESG ที่คนส่วนใหญ่ต้องการวางแผนภาษีในช่วงปลายดีผ่านการลงทุน ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

โค้งสุดท้ายลงทุนอะไรดี รับจังหวะขาขึ้น Santa Claus Rally 

หากใครอยากเข้าไปเก็งกำไรจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally แน่นอนว่าปลายปีนี้ Finnomena Funds ก็ได้คัดกองทุนแนะนำมาฝาก ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โมเมนตัมสดใส พร้อมรอรับ Santa Claus Rally

ดูสรุปกองทุนแนะนำ คลิกเลย 


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) อัปเดตมุมมองเดือนธันวาคม 2024: ทรัมป์จุดชนวนเงินเฟ้อ

Eastspring Thailand
FH ES

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้น 3.77% โดยได้แรงหนุนจากหุ้นสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้น 5.87% เป็นแรงหนุนหลักหลังจากนักลงทุนต่างโยกย้ายเม็ดเงินลงทุนกลับเข้าสู่สหรัฐฯหลังรับทราบผลการเลือกตั้ง ปธน. ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งพร้อมทั้งยังเกิด Red Sweep หรือการที่พรรค republican ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของทั้งสภาล่างและสภาบน ทำให้นักลงทุนคาดว่านโยบายต่างๆของทรัมป์จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า เพิ่มกำไรบริษัทจดทะเบียนจากการลดภาษี และทำให้ประเทศคู่ค้าทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์แม้แต่พันธมิตรกับสหรัฐฯ เอง

ในมุมมองของเรานโยบายสำคัญของทรัมป์ประกอบไปด้วยการตั้งกำแพงภาษีนำเข้า ลดภาษีนิติบุคคล ขยายการลดหย่อยภาษีบุคคลธรรมดา ปราบปรามผู้อพยพเข้าประเทศผิดกฎหมาย และหนุนการผลิตพลังงานดั้งเดิมเต็มอัตรา ซึ่งนโยบายทั้งหมดตามที่หาเสียงจะก่อให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจร้อนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามเรามองว่านโยบายกลุ่มที่จะก่อให้เกิดเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจ เช่น กำแพงภาษีคู่ค้าหรือการขับไล่ผู้อพยพผิดกฎหมาย ทรัมป์จะไม่สามารถดำเนินตามที่หาเสียงไว้อย่างเต็มรูปแบบโดยจะถูกลดทอนความก้าวร้าวลงโดย รมว. คลังคนใหม่ที่มีประสบการณ์จากตลาดทุนและนักการเมืองอาวุโสในรัฐสภา คงเหลือแค่นโยบายที่หนุนเศรษฐกิจและตลาดหุ้นอย่างเช่น การลดภาษีและการผ่อนคลายกฎระเบียบในตลาดการเงิน รวมถึงนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานดั้งเดิมที่ช่วยลดเงินเฟ้อด้านราคาน้ำมันลง ทำให้เรายังมีมุมมองเป็นบวกกับสหรัฐฯ

ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยค่อนข้างเปลี่ยนแปลงทิศทางอย่างชัดเจน โดยการประชุม FOMC ประจำเดือน พ.ย. ซึ่งจัดขึ้นในสัปดาห์นับคะแนนการเลือกตั้ง แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยลงตามที่ตลาดคาดการณ์ 0.25% ลงสู่ระดับ 4.5-4.75% พร้อมทั้งระบุว่าตลาดแรงงานผ่อนคลายลง เงินเฟ้อกำลังเข้าสู่เป้าหมาย 2% และจะติดตามผลกระทบจากนโยบาย ปธน. คนใหม่ก่อนที่จะปรับมุมมองใด ๆ แต่ตลอดเดือน พ.ย. หลังจากนั้น เราเห็นท่าทีที่เป็นกังวลมากขึ้นจากมุมมองด้านเงินเฟ้อที่ผู้ว่าฯพาวเวลล์เปิดเผยต่อสื่อต่าง ๆ ซึ่งทยอยเปลี่ยนคำพูดจากที่ “มั่นใจมาก” ไปเป็น “เงินเฟ้อกำลังอยู่ในเส้นทางขรุขระไปยังเป้าหมาย 2%” นั่นหมายถึงสัญญาณของดอกเบี้ยขาลงในปี 2025 อาจล่าช้ากว่าที่นักลงทุนคาดหวัง ทั้งนี้ทั้งนั้นเรามองว่านักลงทุนรับข่าวการลดดอกเบี้ยล่าช้ามากเกินไป โดยพิจารณาจาก Implied Rate ของตลาดซื้อขายล่วงหน้าซึ่งบ่งชี้ว่านักลงทุนคาดหวังการลดดอกเบี้ยเพียง 0.75% ตลอดปี 2025 จึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะสะสมตราสารหนี้โลก โดยเน้นไปที่ตราสารหนี้สหรัฐฯและ Credit Rating ระดับสูงจะเหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบัน

ในฝั่งของพันธมิตรดั้งเดิมของสหรัฐฯ อย่างกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เนื่องจากนักลงทุนยังไม่มั่นใจว่านโยบายตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศอื่นๆทั่วโลก 20% นอกเหนือจากจีนที่ตั้งเป้าไว้ 60% นั้นจะถูกตั้งใส่พันธมิตรด้วยหรือไม่และมากน้อยเพียงใด ขณะเดียวกันแต่ละประเทศยังเผชิญกับปัจจัยกดดันเฉพาะตัวอีกด้วย ในฝั่งของกลุ่มประเทศยุโรปยังคงปั่นป่วนการประเด็นการตั้งกำแพงภาษียานยนต์ EV จากจีนซึ่งไม่สามารถเจรจากันได้ทันตามกำหนดเวลา ทำให้จีนวางแผนที่จะตั้งกำแพงภาษีตอบโต้ ในฝั่งของรัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศเลื่อนวันเลือกตั้งมาเป็นเดือน ก.พ. 2025 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดปกติ 7 เดือนเนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลมีประเด็นผิดใจกันจนทำให้ไม่สามารถผ่านกฎหมายได้ ขณะที่การเมืองฝรั่งเศสยังมีสภาพประหนึ่งสุญญากาศต่อเนื่องจากที่รัฐสภาแบ่งออกเป็น 3 พันธมิตรพรรคการเมืองอย่างเท่า ๆ กัน โดยที่พรรครัฐบาลยังไม่สามารถรวมเสียงเพื่อผ่านงบประมาณประจำปี 2025 ได้ ด้านญี่ปุ่นเองก็เผชิญควันหลงจากการเลือกตั้งในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาที่พรรครัฐบาลไม่สามารถครองเสียงข้างมากในสภาอย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้การผ่านงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาได้งบประมาณต่ำกว่าที่ตลาดคาดหวัง ด้วยปัจจัยกดดันทั้งหมดที่กล่าวมา เราค่อนข้างกังวลกับยุโรปเป็นพิเศษและแนะนำชะลอการลงทุน ขณะที่ในฝั่งญี่ปุ่นแนะนำถือครองเพื่อจับตาทิศทางของปัจจัยกดดันต่าง ๆ

ภูมิภาคเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาปรับตัวลง 3.26% และ 3.58% ตามลำดับจากนโยบายที่เสียประโยชน์ของ ปธน. สหรัฐฯ คนใหม่อย่างทรัมป์ ทั้งในเรื่องกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจีนซึ่งมีน้ำหนักของตลาดหุ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค ร่วมกับนโยบายต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อภายในสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเงินเฟ้อสหรัฐฯยังคงร้อนแรง ธนาคารกลางสหรัฐฯย่อมลดดอกเบี้ยล่าช้า ทำให้ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาไม่สามารถปรับลดดอกเบี้ยได้เช่นกัน ขณะที่เศรษฐกิจโดยเฉลี่ยยังค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเทียบกับก่อนเกิด covid-19 ในฝั่งเอเชียหากไม่นับประเทศจีน ดูเหมือนจะมีทิศทางที่ดีกว่าเนื่องจากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในหลายประเทศใหญ่อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ และหลายประเทศเป็นคู่ค้าเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ ที่ต้องการขยายอำนาจมายังเอเชีย เราจึงมีมุมมองเป็นกลางกับกลุ่มประเทศเอเชีย แนะนำถือครองการลงทุน ขณะที่ประเทศที่เรามองว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่งและจะเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลชุดใหม่คืออินเดียกับอินโดนีเซีย แนะนำให้น้ำหนักมากกว่าตลาด

ภาพรวมการลงทุนประจำเดือนธันวาคม คาดว่าตลาดหุ้นโลกจะเคลื่อนไหวไร้ทิศทางเพื่อติดตามแนวโน้มการดำเนินนโยบายที่ก้าวร้าวของทรั้มป์ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในช่วงวันที่ 20 ม.ค. 2025 โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯอาจเป็นตลาดเดียวที่เคลื่อนไหวในแดนบวกเนื่องจากคาดว่านโยบายของทรั้มป์จะส่งผลเป็นบวกสุทธิกับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขณะที่การประชุม FOMC ที่จะประชุมกันครั้งสุดท้ายของปีจะเป็นที่จับตาเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนค่อนข้างกังวลการลดดอกเบี้ยจะล่าช้าจากนโยบายที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อของทรั้มป์ อีกทั้งยังเป็นการประชุมที่จะมีการประกาศ Dot Plot ฉบับใหม่ที่รับรู้ผลการเลือกตั้งอีกด้วย แนวโน้มการลดดอกเบี้ยที่มากกว่าคาดใดๆอาจช่วยพลิกฟื้นทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา

ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 4 ธันวาคม 2024

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น

2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ตัวเลขที่น่าสนใจ เพิ่มมุมมองสำหรับคนที่สนใจลงทุนหุ้นไทย

Daddy trader
daddy trader

บทความนี้ผมขอเริ่มด้วยการแสดงข้อมูลที่น่าสนใจให้ดูก่อนเป็นลำดับแรก หากผู้อ่านสนใจการสรุปผลและรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถอ่านต่อได้จากเนื้อหาในลำดับถัดไป

โดยบทความนี้ผมมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงมุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงผลตอบแทนจากการลงทุนบนดัชนี SET เปรียบเทียบกับระยะเวลาในการลงทุนซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทรัพย์สินอื่น ๆ ได้ และผมเชื่อว่ามุมมองนี้จะช่วยให้ผู้อ่านปรับแต่งความคาดหวังเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ควรจะได้รับจากการลงทุนได้ดีขึ้น

หมายเหตุ: ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวแทนหุ้นไทย ใช้ข้อมูล SET TRI ในช่วงเวลาเริ่มต้นวันที่ 16/08/2011 ถึง 17/9/2024 จาก www.investing.com กรณีลงทุนหุ้นเป็นรายตัว หรือเลือกใช้ช่วงของข้อมูลที่แตกต่างจากบทความนี้ จะทำให้ผลลัพท์ที่ได้แตกต่างออกไป

ถือยาวน่าจะปิดประตูขาดทุน ถือสั้น ๆ คาดเดาผลตอบแทนได้ยาก

คนที่ลงทุนดัชนีหุ้นไทยแบบสุ่มวันเริ่มต้นซื้อแล้วถือนาน 10 ปี แทบทุกคนไม่น่าจะขาดทุน

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 22/05/2013 แล้วถือนาน 10 ปี จะเป็นจังหวะที่โชคร้ายที่สุด โดยจะได้รับผลตอบแทน 1.4% ต่อปี แบบทบต้น

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 04/10/2011 แล้วถือนาน 10 จะเป็นจังหวะที่โชคดีที่สุด โดยจะได้รับผลตอบแทน 10.4% ต่อปี แบบทบต้น

ค่าเฉลี่ยของข้อมูลผลตอบแทนแบบทบต้นจากการลงทุนดัชนีหุ้นไทยแล้ว ถือนาน 10 ปี อยู่ที่ 5.2% ต่อปี

คนที่ลงทุนดัชนีหุ้นไทยแบบสุ่มวันเริ่มต้นซื้อแล้วถือนาน 5 ปี ยังมีโอกาสขาดทุนได้ โดยมีความน่าจะเป็นที่ผลการลงทุนจะออกมาเป็นขาดทุนประมาณ 12% และมีความน่าจะเป็นที่ผลการลงทุนออกมาเป็นกำไรประมาณ 88% (สุ่มวันเริ่มต้นลงทุนมา 100 วัน น่าจะเจอกรณีที่ขาดทุน 12 ตัวอย่าง และกรณีที่กำไร 88 ตัวอย่าง)

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 25/11/2014 แล้วถือนาน 5 ปี จะเป็นจังหวะที่โชคร้ายที่สุด โดยจะได้รับผลขาดทุน -5.3% ต่อปี แบบทบต้น

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 04/10/2011 แล้วถือนาน 5 จะเป็นจังหวะที่โชคดีที่สุด โดยจะได้รับผลตอบแทน 17.1% ต่อปี แบบทบต้น

ค่าเฉลี่ยของข้อมูลผลตอบแทนแบบทบต้นจากการลงทุนดัชนีหุ้นไทยแล้ว ถือนาน 5 ปี อยู่ที่ 4.9% ต่อปี

คนที่ลงทุนดัชนีหุ้นไทยแบบสุ่มวันเริ่มต้นซื้อแล้วถือเพียง 2 ปี มีโอกาสขาดทุนสูง โดยมีความน่าจะเป็นที่ผลการลงทุนจะออกมาเป็นขาดทุนประมาณ 27% และมีความน่าจะเป็นที่ผลการลงทุนออกมาเป็นกำไรประมาณ 73% (สุ่มวันเริ่มต้นลงทุนมา 100 วัน น่าจะเจอกรณีที่ขาดทุน 27 ตัวอย่าง และกรณีที่กำไร 73 ตัวอย่าง)

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 01/02/2018 แล้วถือเพียง 2 ปี จะเป็นจังหวะที่โชคร้ายที่สุด โดยจะได้รับผลขาดทุน -22.1% ต่อปี แบบทบต้น

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 04/10/2011 แล้วถือเพียง 2 ปีจะเป็นจังหวะที่โชคดีที่สุด โดยจะได้รับผลตอบแทน 33.2% ต่อปี แบบทบต้น

ค่าเฉลี่ยของข้อมูลผลตอบแทนแบบทบต้นจากการลงทุนดัชนีหุ้นไทยแล้ว ถือนาน 2 ปี อยู่ที่ 5.5% ต่อปี

คนที่ลงทุนดัชนีหุ้นไทยแบบสุ่มวันเริ่มต้นซื้อแล้วถือเพียง 1 ปี  มีโอกาสขาดทุนสูง มีความน่าจะเป็นที่ผลการลงทุนจะออกมาเป็นขาดทุนประมาณ 34% และมีความน่าจะเป็นที่ผลการลงทุนออกมาเป็นกำไรประมาณ 66% (สุ่มวันเริ่มต้นลงทุนมา 100 วัน น่าจะเจอกรณีที่ขาดทุน 34 ตัวอย่าง และกรณีที่กำไร 66 ตัวอย่าง)

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 25/02/2019 แล้วถือเพียง 1 ปี จะเป็นจังหวะที่โชคร้ายที่สุด โดยจะได้รับผลขาดทุน -35.5 % ต่อปี แบบทบต้น

คนที่ซื้อดัชนีหุ้นไทยในวันที่ 04/10/2011 แล้วถือเพียง 1 ปีจะเป็นจังหวะที่โชคดีที่สุด โดยจะได้รับผลตอบแทน 59.3% ต่อปี แบบทบต้น

ค่าเฉลี่ยของข้อมูลผลตอบแทนแบบทบต้นจากการลงทุนดัชนีหุ้นไทยแล้ว ถือนาน 1 ปี อยู่ที่ 6.76% ต่อปี

สรุปสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือ

1. ถ้าเราลงทุนได้นานพอในหุ้นไทย (จากตัวอย่าง คือ 10 ปี ขึ้นไป) พอมั่นใจได้ว่าโอกาสขาดทุนน่าจะน้อยมาก ๆ  ดังนั้นคำแนะนำที่บอกว่าซื้อหุ้นควรถือยาวเป็นคำแนะนำที่มีความน่าเชื่อถือได้ในมุมมองด้านความเสี่ยง

2. ถ้าระยะเวลาในการลงทุนยิ่งน้อยโอกาสที่ผลของการลงทุนจะออกมาเป็นขาดทุน จะยิ่งมีมากขึ้น เรื่อย ๆ เช่น ถือ 1 ปี, 2 ปี, 5ปี, 10ปี  โอกาสที่ผลการลงทุนจะออกมาเป็นขาดทุน คือ 34%, 27%, 12% และ 0% ตามลำดับ แปลว่ากรณีที่เราลงทุนในดัชนีหุ้นไทยแล้วประสบกับผลขาดทุน เป็นเหตุการณ์ที่ปกติสามารถเกิดขึ้นได้

3. การเริ่มลงทุนในจังหวะเวลาที่ต่างกัน และระยะเวลาในการลงทุนที่ต่างกัน ส่งผลให้ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น ผู้ที่ลงทุนในทรัพย์สินเดียวกันแต่ได้ผลตอบแทนที่ต่างกันจึงเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอ ๆ  จึงขอเสนอข้อแนะนำเพิ่มเติม คือ ก่อนที่จะใช้ตัวเลขผลตอบแทนจากแหล่งใดก็ตามในการอ้างอิง เพื่อตั้งความคาดหวังของผลตอบแทนจากการลงทุนของตนในอนาคต เราควรทำความเข้าใจถึงสมมติฐานของการได้มาซึ่งตัวเลขผลตอบแทนเหล่านี้ก่อน

สมมติฐานและวิธีในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ทดลองดึงข้อมูล SET TRI จากเว็บไซต์ investing.com จากตัวอย่างวันเริ่มต้นคือวันที่ 16/08/2011จนถึงวันที่ 17/09/2024 (ประมาณ13 ปี ย้อนหลัง)

2. เนื่องจากจังหวะในการเริ่มลงทุนและกลยุทธ์ของผู้ลงทุนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงคาดเดาได้ยากว่าผู้ลงทุนแต่ละคนจะมีการลงทุนในวันไดบ้าง จึงทดลองหาข้อมูลผลตอบแทนจากการลงทุนจากวันเริ่มลงทุนที่แตกต่างกันที่จะเป็นไปได้ทั้งหมด

3. กำหนดวันทำการระยะเวลา 1 ปี คือ 260 วัน

4. นำราคาในอีก 260 วันข้างหน้า มาเปรียบเทียบ เพื่อหาผลตอบแทน 1 ปี

จะเห็นได้ว่า ถ้าเริ่มต้นวันที่ 16/08/2011 ผ่านไป 260 วันทำการ จะเป็นวันที่ 03/09/2012 เป็นข้อมูลตัวที่ 1
ถ้าเริ่มต้นวันที่ 17/08/2011 ผ่านไป 260 วันทำการ จะเป็นวันที่ 04/09/2012 เป็นข้อมูลตัวที่ 2
ถ้าเริ่มต้นวันที่ 18/08/2011 ผ่านไป 260 วันทำการ จะเป็นวันที่ 05/09/2012 เป็นข้อมูลตัวที่ 3

จากข้อมูลชุดที่ดาวน์โหลดเริ่มต้นวันที่ 26/08/2011 จนถึง 17/09/2024 ถ้าต้องการเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการถือครอง 1 ปี จะได้ตัวเลขข้อมูลผลตอบแทน 2,934 ตัว

5. กรณีต้องการระยะเวลาการถือครอง 2 ปี 5 ปี 10 ปี เลือกใช้วันทำการเท่ากับ 520 วัน 1,300 วัน และ 2,600 วันตามลำดับเพื่อจับคู่ตามขั้นตอนในข้อที่ 3 และคำนวณผลตอบแทนด้วยสูตรคำนวณผลตอบแทนรายปีแบบทบต้น

6. นำข้อมูลผลตอบแทนที่ได้มาคำนวณ ค่าทางสถิติตามมุมมองที่สนใจ

7. ทดลองวาดกราฟการแจกแจงความถื่ แล้วพบว่า ข้อมูลผลตอบแทนจากระยะเวลาถือคอรง 1 ปี และ2 ปี ที่มีจำนวนข้อมูลมาก กราฟแสดงความถี่ มีรูปร่างคล้าย ๆ มีการกระจายตัวแบบ Normal Distribution แต่กกราฟแจกแจงความถี่ของข้อมูลผลตอบแทนระยะเวลาถือครอง 5 ปี และ 10 ปี มีจำนวนน้อย รูปร่างของกราฟยังไม่ชัดเจนมากนัก

8. จากข้อมูลข้อ 6 จึงตั้งสมมติฐานว่าข้อมูลผลตอบแทนมีการกระจายตัวแบบ Normal Distribution โดยเชื่อว่าถ้าข้อมูลมากพอข้อมูลผลตอบแทนระยะเวลาการถือครอง 5 ปี และ 10 ปี มีมากพอ ก็น่าจะมีการกระจายตัวแบบ Normal Distribution ด้วยเช่นเดียวกัน จากนั้นลองวาดกราฟการกระจายตัวด้วยโปรแกรม Excel ได้ตามรูป

9. ตัวเลขผลตอบแทนที่คำนวณได้แต่ละตัว เป็นผลตอบแทนจากการลงมือซื้อเพียงครั้งเดียว จากวันเริ่มต้นลงทุนและสิ้นสุด ณ วันที่ครบกำหนดถือครอง เท่านั้น

ที่มาในการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยมุมมองตามบทความ

การทดลองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยมุมมองตามบทความนี้ มาจากการที่ผมพบว่ามีผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยประสบกับเหตุการณ์ได้รับผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือไม่เป็นไปตามตัวเลขผลตอบแทนที่ตนเองนำมาใช้อ้างอิง หรือนำผลตอบแทนของตนเองไปเทียบกับบุคคลอื่นแล้วเกิดผลที่แตกต่างกันมาก ส่งผลต่อความมั่นใจในการลงทุน

ผมจึงลองตั้งสมมติฐานว่า ปัจจัยด้านกลยุทธ์ที่ผู้ลงทุนเลือกที่แตกต่างกัน ระยะเวลาเริ่มลงทุนแตกต่างกัน และระยะเวลาในการถือครองที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่แตกต่างกันของผู้ลงทุนแต่ละคน จะส่งผลหรือไม่อย่างไรต่อผลตอบแทนที่จะได้รับ ภายหลังการทดสอบข้อมูลด้วยมุมมองนี้ ช่วยสนับสนุนให้ผมสามารถอธิบายความแตกต่างของผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนแต่ละคนได้รับได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนไอเดียของประโยชน์จากการลงทุนตราสารทุนระยะยาวที่มากพอ ในด้านการลดความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม การทดลองครั้งนี้ผมมีข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ผลการทดลองในครั้งนี้เป็นการนำข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ มาทดสอบ การเลือกช่วงข้อมูลที่ยาวขึ้น หรือสั้นลง หรือช่วงของข้อมูลที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลให้ผลการทดลองแตกต่างกัน และข้อมูลของผลตอบแทนจากการลงทุนโดยใช้ข้อมูลดัชนีซึ่งเป็นตัวแทนของตลาดรวม ไม่น่าจะนำมาใช้ประโยขน์ในการอ้างอิงไปยังผลตอบแทนจากการลงทุนของหุ้นรายตัว

Daddy Trader


ที่มาของข้อมูล: คลิกดาวน์โหลดไฟล์เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

อัปเดตพอร์ต All Weather Strategy ธันวาคม 2024: เพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน มองปัจจัยลบผ่านไปแล้ว!

Andrew Stotz
AWS Dec 2024

All Weather Strategy by A. Stotz Investment Research ประจำเดือนธันวาคม 2024

กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

สรุปมุมมองการลงทุน

  • หุ้นฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ทองคำปรับตัวลง
  • ผลงานพอร์ต AWS ปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนพฤศจิกายน 2024
  • เพิ่มน้ำหนักหุ้นเป็น 65% โดยเป็นการเพิ่มสัดส่วนหุ้นจีนเป็น 25% และถอนการลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน)
  • เพิ่มน้ำหนัก 5% ในสินค้าโภคภัณฑ์ คงน้ำหนักทองไว้ที่ 25% และลดน้ำหนักพันธบัตรเหลือ 5% 

 

AWS Dec 2024

Andrew Stotz

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/port/andrew/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

Alphabet เปิดตัวชิปควอนตัมสุดล้ำ เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 10,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี

Finnomena Editor
Alphabet เปิดตัวชิปควอนตัม

หุ้นของ Alphabet (GOOG, GOOGL) ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 6% หลังจากบริษัทแม่ของ Google เปิดตัว “Willow” ชิปคอมพิวเตอร์ควอนตัมรุ่นใหม่ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็น “ก้าวสำคัญของมนุษยชาติ”

Alphabet ได้เปิดตัว “Willow” ชิปควอนตัมรุ่นล่าสุดประสิทธิภาพล้ำสมัย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวงการควอนตัมคอมพิวเตอร์ โดยสามารถแก้ไขความท้าทายในด้านการแก้ไขข้อผิดพลาดของควอนตัม ที่มีมานานเกือบ 30 ปี พร้อมแสดงศักยภาพการคำนวณที่ไม่เคยมีมาก่อน

Google อธิบายว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีสมรรถนะสูง โดย Willow ถือเป็นก้าวที่ 2 ในแผนการพัฒนา 6 ขั้นตอนของ Google เพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่สามารถใช้งานได้จริง

การลดข้อผิดพลาดแบบทวีคูณ

หนึ่งในความสำเร็จของ Willow คือความสามารถในการลดข้อผิดพลาดของระบบควอนตัมแบบทวีคูณเมื่อขยายจำนวนควอนตัมบิต (Qubit) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ 

ทีมวิจัยจาก Google Quantum AI ได้ทดสอบ Willow บนตารางควอนตัมบิตขนาด 3×3, 5×5 และ 7×7 และพบว่าสามารถลดอัตราข้อผิดพลาดลงครึ่งหนึ่งในทุกขั้นตอนการเพิ่มขนาด 

นี่เป็นครั้งแรกที่การลดข้อผิดพลาดอยู่ในระดับ “Below Threshold” หรือการลดข้อผิดพลาดในขณะขยายระบบ ขณะที่เพิ่มจำนวน Qubit ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถใช้งานได้จริง

เหนือกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์

Willow ยังสร้างมาตรฐานใหม่ด้วยการทดสอบ Random Circuit Sampling (RCS) ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดที่ได้รับการยอมรับในวงการควอนตัม โดยชิป Willow สามารถดำเนินการคำนวณที่ใช้เวลาเพียง 5 นาที ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในปัจจุบันต้องใช้เวลาถึง 10,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี (1025 ปี) ซึ่งยาวนานกว่าช่วงอายุของจักรวาล แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถเลียนแบบได้ในคอมพิวเตอร์ระบบคลาสสิก

ประสิทธิภาพระดับโลก

Willow มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของระบบมากกว่าการเพิ่มจำนวนควอนตัมบิตเพียงอย่างเดียว ด้วยจำนวน 105 Qubits ชิปนี้มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการแก้ไขข้อผิดพลาดควอนตัมและการคำนวณแบบ RCS 

นอกจากนี้ อายุการใช้งานของ Qubit แต่ละตัวใน Willow ยังเพิ่มขึ้นเป็น 100 ไมโครวินาที ซึ่งเป็นการพัฒนาที่สำคัญจากรุ่นก่อนหน้าถึง 5 เท่า

ก้าวต่อไปของ Willow

เป้าหมายถัดไปของทีมวิจัยคือการพัฒนาความสามารถของควอนตัมคอมพิวเตอร์ให้สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้ ไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบที่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์คลาสสิก 

Willow จะถูกนำไปใช้ในการสร้างอัลกอริทึมที่ช่วยแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์และสังคม เช่น การพัฒนายารักษาโรค การออกแบบแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูง และการเร่งนวัตกรรมด้านพลังงานทางเลือก

การเปิดตัว Willow ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของควอนตัมคอมพิวเตอร์ในฐานะเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ซึ่งพร้อมจะปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ การคำนวณ และยกระดับชีวิตของผู้คนทั่วโลก

กองทุนหุ้นหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุนหุ้นเทคโนโลยี B-INNOTECH ที่เน้นบริษัทพื้นฐานดีทั่วโลก กระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง รวมทั้งยังทนทานต่อความผันผวนในระยะสั้นได้ดี 

B-INNOTECH เป็นกองทุนหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกแบบ Active จาก Fidelity Funds ที่เน้นการเสาะหาหุ้นเติบโต (Growth) สูงภายใต้ Valuation ที่เหมาะสม พร้อมรับอานิสงส์จากงบหุ้น Big Tech ที่คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง 

โดยปัจจุบัน B-INNOTECH มีสัดส่วนการถือหุ้น GOOGL อยู่ประมาณ 3.23% (ข้อมูล ณ วันที่ 11/12/24)


อ้างอิง: Google Blog

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 9 – 13 December 2024

Merkle Capital
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 9 - 13 December 2024

หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

Key Takeaways

  • Core CPI มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม
  • Core PPI มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม
  • Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

 

WEEKLY TONE: BUY WEEK

ในสัปดาห์นี้มีตัวชี้วัดออกมาไม่มาก ทั้ง Core CPI MoM และ Core PPI MoM มีการคาดการณ์ว่าจะคงที่ทั้งคู่ และแสดงให้เห็นถึงการที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างช้า ๆ และตลาดมีการตอบรับในการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธันวาคม ลง 25 BPS ถึง 85.1% และคงอัตราดอกเบี้ยที่ 14.9% ในตลาดคริปโทฯ แน่นอนว่าการลงทุนใน Bitcoin ยังสามารถมี Upside ได้อีก แต่ในทางกลับกัน Altcoins ประเภท Blockchain ยังมีการ Undervalue ของราคาอยู่ ทำให้การเปิดความเสี่ยงสามารถทำได้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้


Important Economic Data this week :

1. Core CPI MoM

Core CPI หรือ Core Consumer Price Index จะสามารถใช้ชื่อเรียกอีกอย่างได้คือ Core Inflation Rate หรือแปลว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด

คาดการณ์จาก Tradingeconomics: Core CPI MoM มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.3%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-inflation-rate-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การคงที่ของ Core CPI MoM เป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่อัตราเงินเฟ้อของ US ได้มีการชะลอตัวหรือคงที่มากขึ้น แม้การคงที่ของ Core CPI จะไม่ได้สร้างผลดีอย่างมากให้กับนักลงทุน แต่ด้วยการที่ตลาดมีการเห็นชอบว่าในเดือน ธันวาคม FED จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้ง ซึ่งจะครบใน FED Dot Plot ที่บอกว่าจะลดทั้งหมด 100 BPS

2. Core PPIg

Core PPI หรือ Core Producer Price Index คือ จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาขายสำหรับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตได้ขายโดยที่ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตจะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาจากมุมองของผู้ขาย เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการนั้นก็น่าจะเป็นไปได้มากว่าผู้ผลิตจะให้ผู้บริโภคแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นแทน ดังนั้น ดัชนีราคาผู้ผลิตนี้จึงเชื่อว่าเป็นดัชนีสำคัญที่จะชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของผู้บริโภค

คาดการณ์จาก Tradingeconomics: Core PPI มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 0.3%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-producer-prices-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์ในการคงที่ของ Core PPI แสดงให้เห็นถึงการคงที่ของเศรษฐกิจ และสามารถเป็นหนึ่งแรงผลักดันและสร้างความมั่นใจเพิ่มขึ้นให้นักลงทุนที่กำลังรอจังหวะในการเข้าซื้อสามารถเปิดความเสี่ยงได้ อีกทั้งการคงที่ของ Core PPI ยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ อีกด้วย

3. Unemployment Claims

Initial Jobless Claims หรือ Unemployment Claims คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าใช้จ่ายของรัฐได้ชัดกว่าอัตราการว่างงาน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงขึ้นนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หรือ Government Expenditure ถูกใช้ไปในการช่วยเหลือกลุ่มคนว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว และยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศอีกด้วย โดยตัวเลขนี้จะมีประกาศทุก ๆ วันพฤหัสบดี

คาดการณ์จาก Tradingeconomics: Unemployment Claims มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 224K เป็น 225K

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/jobless-claims
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ Unemployment Claims แสดงให้เห็นถึงการขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวเศรษฐกิจอาจกำลังโตก็เป็นได้ แต่ด้วยการที่มีการคาดการณ์เพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียว อาจไม่มีผลกระทบต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้นและคริปโทฯ อย่างมีนัยสำคัญ


CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK

Credit from LayerGG

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

10 ธันวาคม

  • $ME – Magic Eden TGE
  • $HSK – แอร์ดรอป

11 ธันวาคม

  • การประกาศตัวเลข US CPI

12 ธันวาคม

  • $APT – ปลดล็อคเหรียญ 2.10% ของอุปทานหมุนเวียน
  • การประกาศตัวเลข US PPI
  • $NYM – ซื้อเหรียญคืนมูลค่า $1M

 

Weekly Crypto Must Watch

Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding Rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ และมีบางวันที่ Funding Rate ขึ้นไปสูงเทียบเท่ากับช่วงเดือนมีนาคมเลยทีเดียว แสดงถึงความร้อนแรงของตลาด เนื่องจากนักลงทุนมีการเปิดสถานะ Long มากกว่า Short ความร้อนแรงในระดับนี้ อาจจะนำมาซึ่งความผันผวนที่สูงในอนาคต และมีโอกาสที่จะเกิด Liquidation สูง หากเกิดการปรับตัวลงของราคาอย่างรวดเร็ว

 

Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Futures Open Interest มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนทะลุ All Time High อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงการเก็งกำไรของนักลงทุนผ่านสัญญา Futures ที่เพิ่มขึ้น ตลาดมีความร้อนแรงหลังจากข่าวดีเรื่องการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่การใช้ Leverage ของตลาดในปริมาณมาก ก็อาจจะทำให้เกิดความผันผวนที่ตามมาเช่นกัน

 

Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,729.7 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นสัปดาห์ที่มีแรงซื้อสุทธิติดต่อกันทุกวัน จนผลักดันให้ราคาของ Bitcoin พุ่งทะลุ $100,000 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเป็นตัวเลขทางจิตวิทยาที่สำคัญ ถึงแม้ว่าช่วงที่ราคาปรับตัวขึ้นที่ผ่านมา นักลงทุนระยะยาวจะมีการเทขายออกมาบ้าง แต่แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันก็ยังเป็น Demand ที่สำคัญในการผลักดันราคาต่อไป

Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลเข้าทั้งสิ้น 836.8 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแรงซื้อมหาศาลจากนักลงทุนสถาบัน จนทำให้ปัจจุบันเม็ดเงินสุทธิที่ไหลเข้ามาใน Spot Ethereum ETF ทะลุ 1,000 ล้านเหรียญแล้ว ส่งผลให้ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Ethereum มีผลตอบแทนที่แข็งแกร่งกว่า Bitcoin และเหรียญอื่นๆ

Growing On-chain Activities

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Bitcoin พุ่งทะลุ $100,000 ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขสำคัญทางจิตวิทยา โดยหลังจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ ราคา Bitcoin ได้มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 45% เลยทีเดียว ส่งผลให้เกิดการปรับตัวขึ้นของหลายๆ เหรียญตามมา และกิจกรรม On-chain ก็มีความร้อนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อุปทานของ Stablecoin มีการพุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อยู่เรื่อยๆ จนปัจจุบันสูงถึง $192B บ่งบอกถึงเม็ดเงินและ Demand ที่เข้ามาจากนักลงทุนหน้าใหม่

นอกจากนี้ ยังมีสถิติ On-chain ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น

    • ปริมาณการเทรดบน DEX ทั้งหมด มีการปรับตัวขึ้นกว่า 78% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จาก $10.4B เป็น $18.5B
    • อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม Stablecoin สูงถึง 10-20% บ่งบอกถึง Demand ของ Stablecoin ที่สูงขึ้น และความสามารถในการให้ผลตอบแทนที่มากกว่าโลกการเงินดั้งเดิม
    • Total Value Locked (TVL) หรือมูลค่าเงินที่ถูกล็อคอยู่บนโปรโตคอลเพื่อการกู้ยืม มีการทำจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า Cycle ที่แล้ว โดยปัจจุบันอยู่ที่ $54B

 

     อย่างไรก็ตาม การที่สภาพตลาดมีความร้อนแรงขนาดนี้ นักลงทุนควรระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากอาจจะมีความผันผวนที่รุนแรงและการปรับฐานที่ไม่คาดคิดตามมา โดยตัวชี้วัดหลายตัวในปัจจุบัน ได้อยู่ในโซนของ High Risk เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หมายความว่า อาจจะไม่ใช่จุดที่ดีในเข้าเก็บสะสมในระยะสั้น

ยกตัวอย่างเช่น หากพิจารณาจากปริมาณ Supply ที่มีกำไรในตอนนี้ จะพบว่า คนในตลาดกว่า 95% กำลังถือสถานะที่มีกำไร ซึ่งมีแนวโน้มที่นักลงทุนเหล่านั้น จะทำการขายเพื่อรับรู้กำไร อาจจะทำให้เกิด Redistribution Phase ที่เกิดการเปลี่ยนมือของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม หากมี Demand ที่เข้ามารองรับมากพอ การปรับฐานก็อาจจะไม่ได้มีผลกระทบที่รุนแรงเหมือนครั้งก่อนๆ


WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS

by Cryptomind Advisory

BTC/USDT

$BTC Sideway Up ขึ้นมาจนทำราคา $100,000 ได้สำเร็จ ในระยะสั้นราคาอาจมีการปรับตัวลงแบบ Sideway Down จาก RSI ที่ไต่ระดับลดลงโดยมีแนวรับอยู่บริเวณ $91,000 อย่างไรก็ตามในมุมมองระยะยาวนั้นก็ยังมีโอกาสที่ราคาจะทำ Higher High ต่อไปได้ จุดสำคัญคือการยืนราคาเหนือ $100,000 ที่หากทำได้อาจจะมี Rally ขาขึ้นของ $BTC อีกครั้งหนึ่งได้

แนวต้าน : $100,000 | $120,000 | $150,000

แนวรับ : $91,500 | $86,000 | $83,000

ETH/USDT

  $ETH นั้นมีการทำขาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและในปัจจุบันติดอยู่ที่แนวต้านสำคัญบริเวณ $4,000 ที่ในช่วงปีนี้นั้นมีการทดสอบมาแล้ว 2 ครั้ง โดยในภาพระยะยาวแล้วก็มีแนวโน้มที่ดีที่ราคามีโอกาสจะ Break ขึ้นไปในบริเวณ $4,000 ได้แต่อาจมีการพักตัวก่อนในระยะสั้น โดยแนวรับแรกจะอยู่บริเวณ $3,700 – $3,800 ที่อาจจะเป็นจุดเด้งขึ้นจากบริเวณนี้ได้

แนวต้าน : $4,000 | $4,800 | $6,000

แนวรับ : $3,700 | $3,450 | $3,000


ASSET ALLOCATION

by Cryptomind Advisory

ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทโดยโดนัล ทรัมป์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%

คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน

ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

Merkle Capital

ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-29th-2nd-August-2024


คำเตือน

สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

รับโอกาสจากดอกเบี้ยขาลง พร้อมลดหย่อนภาษี กับ UTSB-ThaiESG

บลจ.ยูโอบี
ลดหย่อนภาษี กับ UTSB-ThaiESG

ดอกเบี้ยนโยบายไทยในปี 2024-2025 มีแนวโน้มว่าจะทรงตัวหรือลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้ ที่มีโอกาสได้รับประโยชน์ในช่วงดอกเบี้ยขาลง

ขณะเดียวกันในปี 2023 บลจ.ยูโอบี (UOBAM) ได้คว้า 3 รางวัลด้าน ESG จากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและเชี่ยวชาญในการนำหลักความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

เราจึงขอนำเสนอกองทุน IPO จาก บลจ.ยูโอบี (UOBAM)

UTSB-THAIESG

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด ตราสารหนี้ไทย ซัสเทนเนเบิล – ชนิดหน่วยลงทุนไทยเพื่อความยั่งยืน ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและไม่จ่ายเงินปันผล

  • เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐไทย ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับด้านความยั่งยืน
  • มีความน่าเชื่อถือสูง
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน = 3 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)
  • ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ
  • เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ-ปานกลาง

เสนอขายครั้งแรก IPO ตั้งแต่วันที่ 9-13 ธันวาคม 2567

สามารถดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.uobam.co.th/th/mutual-fund/00842/UTSB-THAIESG

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตัวแทนจำหน่าย บลจ.ยูโอบี หรือที่ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด

โทร 02-786-2222

https://www.uobam.co.th/th/home

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผู้ลงทุนควรศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย
  • ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดข้อมูลต่างๆ ในหนังสือชี้ชวน SRI Fund ก่อนการลงทุน เพื่อให้รับทราบถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ ก่อนการลงทุน อาทิ นโยบายการลงทุน หลักทรัพย์ที่กองทุนนั้นได้ไปลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนค่าธรรมเนียม รวมถึงสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนที่ได้รับอนุญาตก่อนการซื้อขาย ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบรายชื่อของกองทุน SRI Fund ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ทุกครั้งก่อนการตัดสินใจลงทุน

UTSB-THAIESG

กว่าจะเป็น Nvidia…เคยเกือบล้มละลาย หุ้นร่วง -80%

Finnomena Editor

Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


ความมุ่งมั่นที่จะเอาชีวิตรอดของฉัน แข็งแกร่งกว่าความตั้งใจฆ่าของคนอื่น – Jensen Huang 

เมื่อ 30 ปีที่แล้ว Jensen Huang ได้ก่อตั้งบริษัท Nvidia (NVDA) ท่ามกลางบริษัทผลิตการ์ดจอเกือบ 100 แห่งที่ก่อตั้งในเวลาใกล้เคียงกัน และแม้การแข่งขันจะดุเดือด แต่ Nvidia กลับสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้เหนือคู่แข่งทั้งหมด

ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา Jensen Huang และ Nvidia ได้สร้างความเป็นผู้นำในตลาด GPU อย่างมั่นคง ด้วยการพลิกโฉม GPU ให้กลายเป็นเครื่องมือสำหรับการประมวลผลทั่วไป พร้อมกับพัฒนาระบบที่รองรับการใช้งานร่วมกันระหว่างเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์และซอฟต์แวร์ จนกลายเป็นบริษัทสำคัญที่สุดในโลกสำหรับการประมวลผลสมรรถนะสูง (High-Performance Computing)

และเมื่อ “ยุค ChatGPT” มาถึงในปี 2022 ความเหนือชั้นของ Nvidia ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น

แต่เส้นทางของ Nvidia ก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่ใครหลายคนคิด เมื่อในช่วงปลายยุค 1990 บริษัท Nvidia เคยเกือบล้มละลาย และราคาหุ้นก็เคยร่วงลง 50% ถึงหลายครั้ง

นี่คือเรื่องราวของ Nvidia กับการเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระแส AI บทความนี้จะเล่าถึงเส้นทางที่ผ่านมา ความท้าทายที่ต้องเผชิญ อีกทั้งยังเผยมุมมองในอนาคตสำหรับการพัฒนาของ Nvidia

เส้นทางของ Nvidia

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา Nvidia เติบโตขึ้นเป็นผู้นำในตลาด GPU และการประมวลผลสมรรถนะสูง (High-Performance Computing) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่รองรับการประมวลผลแบบขนาน (Parallel Computing) ผ่าน GPU ที่มีความสามารถในการประมวลผลหลายอย่างพร้อมกันได้ แตกต่างจาก CPU ที่ทำงานทีละขั้นตอน เทคโนโลยีนี้ทำให้ Nvidia กลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระแส AI ที่เฟื่องฟูในปัจจุบัน

Nvidia ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดย Jensen Huang ร่วมกับ Chris Malachowsky และ Curtis Priem หลังจากมองเห็นโอกาสในการพัฒนาการ์ดกราฟิกแยก (Dedicated Graphics Card) ในยุคที่ PC กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และ CPU ไม่สามารถรองรับกราฟิกที่ซับซ้อนได้ดีเท่าที่ควร

เพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น บริษัทผลิตการ์ดจอก็เกิดขึ้นมากเกือบ 100 แห่ง แต่ Nvidia ก็สามารถระดมทุนรอบแรกได้สำเร็จ เป็นเงินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์ ด้วยมูลค่าบริษัท 6 ล้านดอลลาร์ 

หลังจากนั้น Nvidia ก็สามารถก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 1999 พร้อมด้วยการเปิดตัว GPU ตัวแรกของโลก ด้วยมูลค่าบริษัท 600 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้การลงทุนในรอบแรกเติบโตถึง 100 เท่าในเวลาไม่กี่ปี

GeForce 256 GPU ตัวแรกของโลก

GeForce 256 GPU ตัวแรกของโลก | Source: NVIDIA Blog

ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 Nvidia เผชิญกับความท้าทายในการทำให้นักพัฒนายอมรับและใช้งานชิปของบริษัท ทำให้การออกแบบชิปของ Nvidia ยังไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ และบริษัทเกือบจะหมดเงินไปกับการพัฒนา 

อย่างไรก็ตาม ด้วยการเปิดตัวชิป RIVA 128 และการมุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐาน API และ SDK สำหรับนักพัฒนา Nvidia จึงสามารถกลับมาแข่งขันในตลาดได้ และเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 1999 Nvidia สร้างรายได้ไปประมาณ 370 ล้านดอลลาร์ ต่อมาในปี 2002 รายได้ของบริษัทก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,900 ล้านดอลลาร์

จุดเปลี่ยนสำคัญ

แม้ในช่วงปลายยุค 2000 ถึงต้น 2010 Nvidia จะประสบปัญหาทางการเงินและราคาหุ้นตกต่ำถึง 80% แต่บริษัทก็ได้ลงทุนในเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น CUDA ซึ่งต่อมาทำให้ Nvidia กลายเป็นผู้นำในตลาด AI และ Deep Learning ที่เฟื่องฟูในช่วงหลังปี 2012

NVDA ร่วง 80%

ราคาหุ้น NVDA ร่วง 80% | Source: TradingView

จุดเปลี่ยนสำคัญในของ Nvidia คือการเปิดตัว CUDA ในปี 2006 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การประมวลผลแบบขนานบน GPU สามารถทำได้ง่ายขึ้นและเริ่มรองรับการใช้งานที่ไม่ใช่แค่กราฟิก เช่น AI และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่

นอกจากนี้ การเติบโตของ Deep Learning และ AI ยังทำให้ Nvidia ได้รับประโยชน์จากการประมวลผลที่ต้องการ GPU จำนวนมาก โดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวข้องกับการฝึกโมเดล AI ขนาดใหญ่ เช่น GPT-1 และ Transformer ที่ใช้ใน ChatGPT

ก้าวเข้าสู่ยุค AI

Nvidia ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในโลก AI ด้วยการพัฒนาธุรกิจ Data Center โดยเริ่มต้นจากการพัฒนา GPU ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับ Data Center ตั้งแต่สถาปัตยกรรม Tesla ในต้นทศวรรษ 2010 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านขนาด ความเร็ว และหน่วยความจำ 

นอกจากนี้ยังเปิดตัว NVLink ในปี 2014 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันระหว่าง GPU และ CPU 

อีกทั้งในปี 2020 บริษัทได้ซื้อกิจการ Mellanox ซึ่งเป็นบริษัทเครือข่ายจากอิสราเอล ทำให้สามารถครองทั้งชิปและอุปกรณ์เครือข่ายที่เร็วที่สุด และทำให้ธุรกิจเครือข่ายของ Nvidia มีรายได้สูงกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

Nvidia มีทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับงานด้าน AI ตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์, ระบบเครือข่าย, GPU ไปจนถึงซอฟต์แวร์ที่รองรับการทำงานของ AI บนอุปกรณ์เหล่านี้

หลังจากเตรียมการมานานกว่า 15 ปี ตลาด AI ก็เริ่มเฟื่องฟูอย่างจริงจังเมื่อ ChatGPT เปิดตัวในปี 2022 โดยใช้เวลาเพียง 2 เดือนก็สามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้ถึง 100 ล้านคน

ผู้ใช้งาน ChatGPT

แต่ละแฟลตฟอร์มใช้เวลากี่เดือนถึงจะมีผู้ใช้งาน 100 ล้านคน | Source: App Economy Insights

นอกจากนี้ ในช่วงต้นปี 2023 Microsoft ได้เข้าลงทุนในบริษัท OpenAI ด้วยเม็ดเงินกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ และ OpenAI เองก็ระดมทุนเพิ่มได้อีกหลายหมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัท OpenAI พุ่งสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับรายได้ของ Nvidia ที่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ภายใน 6 ไตรมาสถัดมา

Nvidia ในปัจจุบัน

Nvidia กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AI โดยเน้นการเสนอผลิตภัณฑ์ที่รวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งาน AI อย่างครบวงจร 

รายได้ Nvidia

รายได้ของ Nvidia แบ่งตามหมวดธุรกิจ | Source: Generative Value, App Economy Insights

As of 30/08/24

โดยผลิตภัณฑ์หลักของ Nvidia คือ เซิร์ฟเวอร์ H100 ซึ่งประกอบด้วย

  • GPU หน่วยประมวลผลหลักที่ทำงานหลักในการคำนวณ
  • Interconnects NVLink ซึ่งช่วยเชื่อมต่อ GPU เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
  • Switches NVSwitch ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่าง GPU และเซิร์ฟเวอร์
  • Data Processing Units (DPUs) Bluefield DPUs ช่วยย้ายภาระงานต่าง ๆ จาก CPU เพื่อให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • CPU สำหรับการจัดการงานทั่วไป เช่น การจัดการทรัพยากรและระบบ

นอกจากนี้ Nvidia ยังพัฒนาแพลตฟอร์ม Edge AI เช่น Jetson สำหรับหุ่นยนต์, Clara สำหรับการแพทย์, และ Drive AGX สำหรับยานยนต์อัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน AI บนอุปกรณ์ต่าง ๆ

Nvidia ยังขยายการลงทุนในซอฟต์แวร์ AI เช่น CUDA และ Nvidia Inference Microservices (NIMs) และได้เข้าซื้อกิจการ OctoAI เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม GenAI ของตนเอง 

อย่างไรก็ตาม Nvidia ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งที่พัฒนาเซมิคอนดักเตอร์สำหรับ AI โดยเฉพาะ เช่น AMD รวมถึงการพัฒนาของ Hyperscalers ที่อาจลดการพึ่งพา Nvidia ในอนาคต

คู่แข่งในอุตสาหกรรม

การเติบโตของ Nvidia ยังคงดูดีอย่างมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ และการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

โดย Nvidia ต้องเผชิญกับการแข่งขันจาก 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

คู่แข่ง Nvidia

คู่แข่ง Nvidia ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ | Source: Generative Value

  1. คู่แข่งในตลาด GPU เช่น AMD ที่แข่งขันในตลาดชิปกราฟิก
  2. โปรแกรมซิลิคอนภายในของ Hyperscalers ผู้ให้บริการคลาวด์ที่พัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ของตนเอง
  3. ASICs (Application-Specific Integrated Circuits) ใช้สำหรับการทำ Inference และสถาปัตยกรรมโมเดลเฉพาะ
  4. ผู้ให้บริการซิลิคอน Edge AI ที่เน้นการประมวลผล AI แบบ Edge Computing

ในระยะสั้นถึงกลาง Nvidia อาจเผชิญกับการแข่งขันจาก Hyperscalers ที่พัฒนาเทคโนโลยีและเซมิคอนดักเตอร์ของตนเอง เพื่อลดการพึ่งพา Nvidia โดยเฉพาะจาก AMD ที่มีความสามารถในการทำ Inference ได้ดีกว่า Nvidia ในบางกรณี 

ปราการของผู้นำตลาด AI

Nvidia Moat

Nvidia Moat | Source: Substack

Nvidia ยังคงรักษาความโดดเด่นในตลาด AI อย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินกลยุทธ์ที่ช่วยให้ครองตลาดได้ยาวนานกว่า 20 ปี โดยเฉพาะในตลาด GPU สำหรับ Data Center ที่ Nvidia มีส่วนแบ่งมากกว่า 90% เป็นเวลาหลายปี ความสำเร็จนี้เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

สำหรับ Moat หรือกำแพงป้องกันจากคู่แข่งนั้น สามารถมองได้จาก 2 มุมมอง ดังนี้

1. การขยายธุรกิจในซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐาน 

Nvidia ไม่ได้แค่ทำธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์ แต่ยังขยายไปสู่ซอฟต์แวร์ AI, โครงสร้างพื้นฐาน, โมเดล และบริการคลาวด์อย่างมั่นคง การลงทุนในเครือข่ายและการรวมธุรกิจในแนวดิ่ง ทำให้ Nvidia สามารถรักษาความแข็งแกร่งและตำแหน่งผู้นำในตลาดได้

2. การแข่งขันที่รุนแรงจากหลายฝ่าย

แม้ Nvidia จะมีความแข็งแกร่ง แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งจากหลายฝ่ายที่ต้องการแย่งส่วนแบ่งจากรายได้ของ Nvidia โดยเฉพาะจากการลงทุนมหาศาลใน AGI (Artificial General Intelligence) และลูกค้ารายใหญ่ที่พยายามลดการพึ่งพา Nvidia ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง

อนาคตของ Nvidia

ปัจจุบัน Nvidia ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าตลาดที่สูงถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI และการประมวลผลกราฟิก 

และแม้จะมีสถานะที่แข็งแกร่งในตลาด แต่ Nvidia ก็ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงที่นักลงทุนควรพิจารณา ดังนี้

ความเสี่ยงที่ควรพิจารณา

  • ช่วงพักตัวของตลาดในระยะสั้นถึงกลาง
    รายได้บางส่วนของ Nvidia ในช่วงนี้อาจถูกดึงมาใช้ล่วงหน้า เนื่องจากการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อการลงทุนดังกล่าวชะลอตัวหรือหยุดลง รายได้ของ Nvidia อาจลดลงหรือเติบโตช้าลงในอนาคต
  • การแข่งขันจากระบบประมวลผลขนาดเล็ก
    หากโมเดล AI ขนาดเล็กและหน่วยประมวลผลเฉพาะงาน (NPU) พัฒนาจนมีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจดึงส่วนแบ่งการประมวลผล AI ออกจากศูนย์ข้อมูลไปสู่ระบบที่เล็กลง และกระจายตัวมากขึ้น
  • การลดบทบาทของ Nvidia จากผู้ให้บริการ Hyperscalers
    ผู้ให้บริการ Hyperscalers เช่น Amazon หรือ Google อาจพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของตัวเองที่มีต้นทุนต่ำกว่าและประสิทธิภาพดีกว่า ซึ่งอาจทำให้พวกเขาลดการพึ่งพา Nvidia
  • ความท้าทายด้านธุรกิจระหว่างประเทศ
    ธุรกิจในประเทศจีนของ Nvidia อาจได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ความสัมพันธ์กับ TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจลดโอกาสการเติบโตในตลาดนี้

ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงเหล่านี้ นักลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับศักยภาพในระยะยาวของ Nvidia โดยเฉพาะในด้าน AI และเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต

โอกาสของ Nvidia ในอนาคต

  • AI ต้องเป็นเรื่องง่าย Nvidia กำลังก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน AI โดยมุ่งมั่นทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชัน AI กลายเป็นเรื่องง่ายและราคาไม่แพง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง AI ได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าให้ฮาร์ดแวร์ แนวคิด “Commoditize Your Complement” ในเชิงธุรกิจหมายถึงการลดความพิเศษหรือทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเสริม (Complement) กลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายหรือใช้งานได้ฟรี เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มเติมให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการหลักของบริษัท เช่น หาก Nvidia แจกซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ GPU ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ให้ใช้งานได้ฟรี ๆ จะทำให้ความต้องการใน GPU ของ Nvidia เติบโตขึ้นตามไปด้วย
  • ไม่หยุดอยู่แค่ AI แม้ Nvidia จะเป็นผู้นำในด้าน AI แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทรนด์อื่น ๆ เช่น Metaverse, หุ่นยนต์, การค้นหายา, การออกแบบชิป, และการสร้างแบบจำลองดิจิทัล (Digital Twins) ซึ่งต้องการการคำนวณที่ใช้ทรัพยากรสูง ทำให้ Nvidia อาจกลายเป็นผู้นำในคลื่นต่อไปของเทคโนโลยีที่ใช้ทรัพยากรสูง

สรุปได้ว่าแม้ Nvidia จะเผชิญกับความท้าทายในหลายๆ ด้าน แต่ศักยภาพในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI และการประมวลผลกราฟิกยังคงทำให้บริษัทมีอนาคตที่สดใส ด้วยการลงทุนในซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยี Nvidia ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิด

กองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์แนะนำโดย Finnomena Funds

Finnomena Funds แนะนำกองทุน SCBSEMI(A) กองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ ที่คัดมาเฉพาะผู้นำในอุตสาหกรรมจำนวน 25 บริษัท โดยโฟกัสที่ธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call

SCBSEMI(A) เป็นกองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ ที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบกระจุกตัว ทำให้เมื่อตลาดหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวดีขึ้น กองทุนนี้จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์อื่น ๆ โดยปัจจุบัน SCBSEMI(A) มีสัดส่วนการถือหุ้น NVDA ประมาณ 12.38% (ข้อมูล ณ วันที่ 11/12/24)


อ้างอิง: Generative Value

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปกองทุนแนะนำ: รอรับ Santa Claus Rally [อัปเดต 11 ธ.ค. 2024]

Finnomena Funds
สรุปกองทุนแนะนำ: รอรับ Santa Claus Rally

Finnomena Funds เฟ้นกองทุนเด่นรับโค้งสุดท้ายปลายปี 2024 ก่อนตลาดจะเข้าสู่ช่วงพีค Santa Claus Rally! ลงทุนอะไรดีที่ยังมีโอกาสเติบโต

Highlight


สรุปกองทุนแนะนำ: รอรับ Santa Claus Rally

Santa Claus Rally คือ ปรากฏการณ์ในโลกการลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นได้ดีในสัปดาห์ท้ายของปี หรือช่วงหลังเทศกาลวันคริสต์มาสไปจนถึงวันปีใหม่พอดี ซึ่งหากย้อนดูสถิติที่ผ่านมาก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P 500 สัปดาห์สุดท้ายของทุกปี ย้อนหลัง 10 ปี พบว่าหุ้นขึ้นถึง 8 ครั้ง จากทั้งหมด 10 ครั้ง 

Santa Claus Rally

กราฟแสดงผลตอบแทนของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ในช่วง 35 วันก่อนวันคริสมาสต์ (25 ธ.ค.) 
กราฟเส้นสีแดง คือปีที่ Donald Trump ชนะเลือกตั้ง 2016 
กราฟเส้นสีดำ คือค่ากลาง (Median) ระหว่างปี 2014-2023

นอกจากนี้ จะเห็นว่าในช่วงปลายปีก่อนเกิดปรากฏการณ์ Santa Claus Rally ถือเป็น Timing ที่ดีมากในการลงทุน เนื่องจากตลาดหุ้นมักจะทะยานขึ้นก่อนวันคริสต์มาส ก่อนที่จะพักฐานลงแรงใ่นช่วงปีใหม่

คำถามคือแล้วจังหวะแบบนี้ ควรจะซื้อกองทุนอะไรดี? Finnomena Funds คัดมาให้แล้วกับกองทุนแนะนำจาก FundTalk Call สำหรับนักลงทุนสายสวน, Mr.Messenger Call สำหรับนักลงทุนสายเติบโตตามเทรนด์ขาขึ้น และ MEVT Call สำหรับนักลงทุนที่มีเป้าหมายระยะยาว

สรุปมุมมองการลงทุนปี 2025 

ตลาดหุ้น Developed Markets สหรัฐอเมริกายังดูดีสุด จากภาพเศรษฐกิจที่โตต่อได้ ไม่เกิด Recession แนวโน้มเงินเฟ้อเป็นขาลง ส่วน Dollar Index ก็มีโอกาสกลับตัวอ่อนค่า แต่ที่ต้องระวังคือ Valuation ตึงมาก จึงควร Selective ไปที่หุ้นขนาดกลาง-ขนาดเล็ก ไม่กระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่

ด้านตลาดหุ้นยุโรปและตลาดหุ้นญี่ปุ่น มีมุมมอง Slightly Negative เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า โดยฝั่งยุโรปอาจจะได้รับผลกระทบของนโยบาย Trump 2.0 เช่น กำแพงภาษี และสงคราม ส่วนฝั่งญี่ปุ่นก็มีความเปราะบางจากเงินเฟ้อสูง รวมทั้งเงินเยนมีโอกาสแข็งค่านั้นเป็นผลเสียต่อตลาดหุ้น

ตลาดหุ้น Emerging Markets มีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นอินเดีย และเวียดนาม สำหรับอินเดียเศรษฐกิจยังเติบโตระดับสูงในระยะยาว จากโครงสร้างประชากรและได้ประโยชน์จาก China+1 ขณะที่เวียดนามก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ภาครัฐบาลมีท่าทีสนับสนุนภาคเอกชนเต็มที่

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปรับลดมุมมองเป็น Neutral หลัง Value-Up Program ต้องใช้เวลาให้บริษัทปรับตัวกว่าจะเริ่มเห็นผล อีกทั้งต้องติดตามประเด็น Chip HBM3E ของ Samsung ในการส่งมอบ Nvidia อย่างไรก็ดี Valuation อยู่ในระดับต่ำมาก ยังไม่ใช่จังหวะขาย  

ตลาดหุ้นไทย ปีหน้าจะถูกกดดันจากแรงเทขาย LTF ที่ครบกำหนดอายุกว่า 2.4 แสนล้านบาท และบริษัทจดทะเบียนยังถูกปรับประมาณการกำไรลงต่อเนื่อง แต่มีแรงหนุนจากแผนออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม การเบิกจ่ายภาครัฐฟื้นตัว และได้ประโยชน์จาก China+1 

ตลาดหุ้นจีน มองเป็น Slightly Negative เนื่องจากไร้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม ส่วนภาคอสังหาฯ ก็ยังต้องใช้เวลากว่าความเชื่อมันจะฟื้น ประกอบกับความไม่แน่นอนด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena 


มุมมองการลงทุน FundTalk Call

โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล

สรุปกองทุนแนะนำ: รอรับ Santa Claus Rally

1.) ASP-USSMALL-A

กองทุนหุ้นขาดกลาง-เล็กในสหรัฐฯ เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ธุรกิจการเงิน ทำให้จะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Trumponomics ที่เตรียมลดภาษีนิติบุคคล หนุนบริษัทเอกชนในประเทศ 

2.) TISCOINA-A

กองทุนหุ้นอินเดีย เป็นโอกาสในการเข้าสะสมหลังราคาย่อลงมา ก่อนที่จะสามารถราคารีบาวด์ยืนเหนือแนวรับสำคัญ โดยตลาดหุ้นอินเดียยังมีปัจจัยหนุน ได้แก่ ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่เริ่มอ่อนลง และศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว 

3.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม พลิกฟื้นยืนเหนือแนวรับสำคัญ ตามทิศทาง Dollar Index ที่อ่อนค่า ส่งผลให้ตลาดหุ้นในเอเชียกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะเวียดนามที่เตรียมรับอานิสงส์เม็ดเงินนักลงทุนต่างชาติไหลเข้า   

มุมมองการลงทุน Mr.Messenger Call

โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม

สรุปกองทุนแนะนำ: รอรับ Santa Claus Rally

1.) ASP-DIGIBLOC

กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีแนวโน้มทะยานต่อได้จากนโยบายสนับสนุนของ Trump ที่เตรียมนำคริปโตมาเป็นเงินทุนสำรอง ทำให้ราคา Bitcoin มีโอกาสยืนแกร่งที่ 100,000 เหรียญ ในไตรมาส 1 ปีหน้า

2.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม เชื่อว่ารอบของการปรับฐานจบลงแล้ว หลังดัชนี VN30 ปรับตัวลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน อีกทั้งก็มีปัจจัยหนุนเชิงพื้นฐานเรื่องการได้ประโยชน์ China+1 จึงเตรียมเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง

3.) SCBSEMI(A)

องทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมรับแนวโน้มเชิงบวกจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally และ January Effect  

มุมมองการลงทุน MEVT Call

คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis

สรุปกองทุนแนะนำ: รอรับ Santa Claus Rally

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ  เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม

2.) B-INNOTECH

กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ขณะเดียวกันปัจจัยเชิงพื้นฐานเฉพาะตัวยังคงดี เพราะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือว่าเติบโตในระดับ 2 หลัก 

3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A

กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมหลังเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบ กดให้ Bond Yield ปรับตัวลดลง จึงเป็นผลบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่บริหารแบบ Active มีการปรับ Duration ยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ตลาด

ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

จีนหรืออินเดีย 2025 ปีทองของใคร?

Finnomena Editor

Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนและอินเดียเป็น 2 ประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้ที่ติดตามเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด จากขนาดเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วและมีศักยภาพต่อการพัฒนาในอนาคต 

แต่เมื่อพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน สถานการณ์ของแต่ละประเทศกลับมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คำถามที่หลายคนสงสัยคือ “จีนหรืออินเดีย 2025 จะเป็นปีทองของใคร?” 

บทความนี้ Finnomena Funds จะเปิดมุมมองที่น่าสนใจของหุ้นจีนและอินเดีย ด้วยการเปรียบเทียบแบบหมัดต่อหมัด ล้วงลึกถึงปัจจัยที่อาจกำหนดทิศทางของตลาดในอนาคต

สงครามการค้า

ประเทศไหนส่งออกไปอเมริกาสูง

สัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ต่อ GDP | Source: Finnomena Funds as of 2/12/24

จากการที่สหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้า (Tariff) ทำให้ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากสงครามการค้าคือประเทศพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงผ่านสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ของประเทศ

กราฟแสดงสัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อ GDP ของประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ สะท้อนถึงแนวโน้มผลกระทบได้ชัดเจน ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนสูง เช่น เวียดนาม ไต้หวัน และเม็กซิโก จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้า 

ในทางกลับกัน ประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ต่ำ เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ และเยอรมนี จะมีความเสี่ยงจากผลกระทบน้อยกว่า

โอกาสและผลกระทบของ Tariff

โอกาสและผลกระทบของ Tariff | Source: Finnomena Funds, Bloomberg  as of 2/12/2024

กราฟนี้แสดงผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า (Tariff) โดยวัดจากระดับการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ (สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อ GDP) และความเปราะบางต่อมาตรการทางการค้า ซึ่งแบ่งประเทศออกเป็นกลุ่มที่ได้รับโอกาสและผลกระทบ 

จะเห็นว่าประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าสูง มีโอกาสได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษีสูงกว่าประเทศที่มีการขาดดุลการค้าต่ำ โดยอินเดียถือเป็นประเทศที่สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้าต่ำ ขณะที่จีนกลับเป็นหนึ่งในประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าสูงที่สุด

ใครได้ ใครเสีย

ผลกระทบสงครามการค้า

ผลกระทบจากสงครามการค้า | Source: Finnomena Funds, Bloomberg  as of 2/12/2024

อินเดียถูกมองว่ามีโอกาสได้รับประโยชน์จากการไหลเข้าของเงินทุนเพื่อสนับสนุนการตั้งฐานการผลิต (Investment Flows) และโอกาสในอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยี (China+1) แต่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านค่าเงินรูปีที่ผันผวน กระทบต่อต้นทุนการนำเข้า เช่น น้ำมัน 

ขณะที่จีนเน้นพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีและซัพพลายเชน (Self-Reliance) แต่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีที่กดดันการผลิตและการส่งออก รวมถึงค่าเงินหยวนอ่อนค่าใกล้เคียงภาวะวิกฤต ซึ่งต้องใช้นโยบายช่วยพยุงเศรษฐกิจในประเทศ

กำไรต่อหุ้น

EPS หุ้นจีน หุ้นอินเดีย

เปรียบเทียบอัตราการเติบโตของ EPS | Source: Finnomena Funds, Bloomberg  as of 2/12/2024

ในด้านของประมาณการกำไรต่อหุ้นนั้นเห็นได้ชัดว่าตลาดหุ้นอินเดียสามารถทำผลงานได้ดีกว่า โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป

จากกราฟแสดงการคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของดัชนีตลาดหลัก 3 ดัชนี ได้แก่ Nifty (อินเดีย), CSI300 (จีนแผ่นดินใหญ่) และ H-Shares (จีนฮ่องกง) ในช่วงปี 2017 ถึง 2026 โดยภาพรวม EPS Growth ของตลาดหุ้นอินเดียมีแนวโน้มดูดีกว่าตลาดหุ้นจีน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2024 – 2026 คาดว่าจะสามารถทำกำไรต่อหุ้นได้ในระดับ 2 หลัก (Double-Digit) ขณะที่ตลาดหุ้นจีนทั้ง CSI300 และ H-Shares คาดจะสามารถทำกำไรได้เพียงหลักเดียว (Single-Digit) เท่านั้น

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

ภูมิรัฐศาสตร์จีน อินเดีย

ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ | Source: Finnomena Funds, Macrobond, Matteo Iacoviello 

as of 26/11/24

จากกราฟ Geopolitical Risks (GPR) แสดงระดับความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ของแต่ละประเทศ ซึ่งวัดจากการปรากฏของคำที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางการเมืองและความมั่นคงในบทความข่าวทั่วโลก

โดยระดับความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ของอินเดียมีความผันผวนน้อยกว่าจีนอย่างเห็นได้ชัด ตลอดช่วงปี 1986 – 2024

ทั้งนี้ อินเดียเคยพลาดโอกาสในการพัฒนาประเทศในช่วงสงครามเย็น ปัจจุบันจึงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้ก้าวข้ามความยากจน

ในขณะที่จีนเผชิญกับประเด็นภูมิรัฐศาสตร์หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ความขัดแย้งทางการค้าและเทคโนโลยีกับสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์กับไต้หวันที่ยังเป็นประเด็นอ่อนไหวทั้งในด้านการทูตและความมั่นคง

เงินทุนจากต่างประเทศ

Net Foreign Direct Investment (FDI)

ความเคลื่อนไหวของเงินทุนจากต่างประเทศ | Source: Finnomena Funds, Macrobond, SAFE, RBI

as of 26/11/24

จากกราฟ Net Foreign Direct Investment (FDI) แสดงถึงความเคลื่อนไหวของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลเข้าและออกจากประเทศจีนและอินเดียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ข้อมูลในกราฟแสดงให้เห็นว่าจีนเผชิญความผันผวนของ Net FDI อย่างมาก ทั้งในด้านการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในปี 2023 และ 2024 ที่ Net FDI ของจีนลดลงจนติดลบถึง -14,600 และ -21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ สะท้อนถึงการไหลออกของเงินทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่อินเดียกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 แสดงถึงเสถียรภาพและความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของอินเดีย

ภาพเศรษฐกิจระยะยาว

คาดการณ์ประชากรอินเดียและจีน

คาดการณ์ประชากรอินเดียและจีน | Source: Finnomena Funds, Macrobond, Wordl Bank, MoS&PI, NBS as of 26/11/24

กราฟแสดงการคาดการณ์ประชากรของอินเดียและจีนในระยะยาว พบว่าทั้งสองประเทศมีแนวโน้มการเติบโตของประชากรรวมเพิ่มขึ้น โดยจีนมีขนาดประชากรมากกว่าอินเดียมาโดยตลอด 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะประชากรวัยทำงาน (15 – 64 ปี) ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทางเศรษฐกิจ อินเดียมีสัดส่วนประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ขณะที่จีนกลับลดลง โดยตามการคาดการณ์ของธนาคารโลก อินเดียจะมีประชากรวัยทำงานอยู่ที่ 67% ขณะที่ประชากรวัยทำงานของจีนอยู่ที่ 58.5% สะท้อนถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่น่าสนใจของอินเดีย

Valuation

PE Valuation

PE Valuation | Source: Finnomena Funds 28/11/24

จากภาพแสดงการเปรียบเทียบ PE Valuation ระหว่างตลาดหุ้นจีนและอินเดีย โดยตลาดหุ้น CSI 300 ของจีนมีค่า PE ที่ 12.8 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเล็กน้อย

ขณะที่ตลาดหุ้น NIFTY 50 ของอินเดีย PE อยู่ที่ 19.9 เท่า นับว่าสูงมากหากเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงความคาดหวังในการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) ในอนาคตที่สูงเช่นกัน

โดยภาพรวมตลาดหุ้นจีนและอินเดียต่างอยู่ในระดับที่ไม่สามารถเรียกได้ว่า “ราคาถูก” (Undervalued) เนื่องจากค่า PE Valuation ของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต 

สำหรับตลาดหุ้นจีน แม้ว่าค่า PE จะต่ำกว่าของอินเดีย แต่ยังถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของตัวเอง ซึ่งอาจหมายถึงความคาดหวังในศักยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต 

ขณะที่ตลาดหุ้นอินเดีย ค่า PE สูงถึงระดับที่สะท้อนความเชื่อมั่นในโอกาสการเติบโตระยะยาว แต่ในขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเสี่ยงหากผลกำไรจริงไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาด

Forward PE vs EPS Growth

Forward PE vs EPS Growth | Source: Finnomena Funds 28/11/24

ต่อมาเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Forward PE และการเติบโตของ EPS ของตลาดหุ้นในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นอินเดีย (NIFTY 50 และ SENSEX) และตลาดหุ้นจีน (MSCI China และ HSI)

จะเห็นว่าตลาดหุ้นอินเดียมีระดับ Forward PE อยู่ในระดับ +1 Standard Deviation (SD) แต่มีการเติบโตของ EPS ในอัตราที่ค่อนข้างสูงประมาณ 15 – 20%

ส่วน MSCI China และ HSI มี Forward PE อยู่ในระดับ -1 SD ขณะที่การเติบโตของ EPS อยู่ในอัตรา 5 – 10% เพียงเท่านั้น

สรุปมุมมองตลาดหุ้น Emerging Markets

จีน

เศรษฐกิจจีนยังคงเผชิญความท้าทาย โดยไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุมของ Fed 

แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวในด้านปริมาณธุรกรรม แต่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง

ความไม่แน่นอนในความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น 

การเติบโตของกำไรตลาดหุ้นจีนคาดว่าจะเป็นลักษณะ K-shape โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มการเติบโตต่ำ 

ในขณะที่กลุ่มเทคโนโลยีมีศักยภาพในการเติบโตโดดเด่น เนื่องจากการลดต้นทุนของบริษัทเป็นปัจจัยสนับสนุน อย่างไรก็ตาม Valuation ของตลาดหุ้นจีนยังอยู่ในระดับที่ถูก

คำแนะนำ “ทยอยลดสัดส่วน”

อินเดีย

เศรษฐกิจอินเดียในระยะยาว ยังคงมีแนวโน้มเติบโตในระดับสูงจากปัจจัยสนับสนุนเชิงโครงสร้าง เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากรวัยทำงานและการขยายตัวของชนชั้นกลาง 

อินเดียยังได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์ China+1 ซึ่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ในระยะสั้นเศรษฐกิจจะได้รับแรงกดดันจากการใช้จ่ายภาครัฐและการบริโภคในเขตเมืองที่ยังคงอ่อนแอ

การเติบโตของกำไรตลาดหุ้น คาดว่าจะชะลอตัวลงในปี 2025 โดยเฉพาะในกลุ่มการเงินที่เผชิญกับการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

ทั้งนี้ Valuation ของตลาดหุ้นอินเดียยังคงอยู่ในระดับสูง โดยแนวโน้มทางเทคนิคระบุว่าดัชนีตลาดหุ้นอินเดียสามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งในเชิงเทคนิค

คำแนะนำ “ทยอยสะสมกองทุน B-BHARATA, TISCOINA-A


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

บทเรียนจากปีแห่งการเลือกตั้ง 2024

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
บทเรียนจากปีแห่งการเลือกตั้ง 2024

หนึ่งในธีมหลักของเศรษฐกิจและตลาดการเงินในปี 2024 คือ “การเลือกตั้ง” ที่จัดขึ้นในกว่า 70 ประเทศ คิดเป็นประชากรรวมกว่าครึ่งหนึ่งของโลก

ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งสะท้อนแนวคิดทางการเมือง โอกาส และความเสี่ยงของตลาดการเงินที่หลากหลาย บางประเทศการเมืองแข็งแกร่งอยู่แล้วการเลือกตั้งช่วยสร้างความต่อเนื่อง บางประเทศได้โอกาสเปลี่ยนแปลงจากผลการเลือกตั้ง บางประเทศยังคงหาจุดเปลี่ยนไม่ได้

นักลงทุนไทยควรทำความเข้าใจ เพื่อให้พร้อมรับกับโอกาสการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2025

กลุ่มที่การเลือกตั้งสร้างความต่อเนื่องเช่นอินโดนีเซียและเม็กซิโก

ทั้งสองประเทศได้ผู้นำคนใหม่ที่สืบทอดนโยบายต่อจากรัฐบาลเดิม ช่วยให้เศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมืองคงแข็งแกร่ง

ตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับชาวเอเชียคืออินโดนีเซีย

ภายใต้ทศวรรษการบริหารของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด (หรือ “โจโกวี”) เศรษฐกิจมั่นคง GDP เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4% และเงินเฟ้อต่ำ ปราโบโว ซูเบียนโต รัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาลโจโกวี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย พร้อมคำมั่นสัญญาที่จะสานต่อนโยบายเดิม

Jakata Composite Index (JCI) สร้างผลตอบแทนกว่า 1100% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นผลตอบแทนระดับ 13% CAGR โดยที่ NTM P/E แกว่งตัวอยู่ในกรอบ 12-16 เท่า (ปัจจุบันอยู่ที่ 12.3เท่า) ความต่อเนื่องจากการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่ตลาดมองเป็นบวกอย่างไม่ต้องสงสัย

กลุ่มที่ได้โอกาสเปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้งคือสหรัฐ สหราชอาณาจักร และแอฟริกาใต้

พรรคแรงงานในสหราชอาณาจักร ได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997 แต่ที่เด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ในสหรัฐ

แม้ในช่วงรัฐบาลไบเดน เศรษฐกิจจะขยายตัวดี แต่ก็แลกมาด้วยการขาดดุลทางการคลังที่สูงมาก ขณะที่รายได้ครัวเรือนของชาวอเมริกันส่วนใหญ่กลับไม่ไปไหน เป็นที่มาของความต้องการการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ดี หนทางของทรัมป์มีความท้าทายรออยู่หลายเรื่อง เช่นการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง การยุติสงครามยูเครน และหนี้สาธารณะที่สูง

สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐ ผมมองว่าการเปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้งมาในจังหวะที่ซับซ้อน ดัชนี S&P500 ล่าสุดปรับตัวขึ้นไปแล้วถึงกว่า 33% ในปีนี้ ส่วนระดับ P/E ปัจจุบันสูงถึง 25เท่าเป็นรองเพียงช่วง Dot Com และ Covid Lockdown

แม้ดอกเบี้ยสหรัฐจะเป็นขาลงและบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐกำลังเติบโตก้าวกระโดด แต่สิ่งที่ต้องจับตาไม่กระพริบคือการเมืองจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องไหนก่อน สำหรับตลาดหุ้น การเติบโตของรายได้อาจเป็นเครื่องตัดสินที่ดีกว่าผลเลือกตั้ง ว่า S&P500 จะทำจุดสูงสุดได้ต่อเนื่องนานแค่ไหน

สุดท้าย กลุ่มที่ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้งได้เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส

ทั้งหมดพบกับปัญหาการเมืองที่ไม่มีเอกภาพ รัฐบาลไม่มีเสียงข้างมากในรัฐสภา ทำให้การออกนโยบายใหม่ ๆ เป็นไปได้ยาก

ตัวอย่างสำคัญคือฝรั่งเศส หลังการเลือกตั้งในเดือน ก.ค. ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง สูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภา

การเมืองฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ฝ่ายซ้ายจัดที่เรียกร้องนโยบายรัฐสวัสดิการและการกระจายรายได้ ฝ่ายขวาจัดที่ต่อต้านการอพยพ และฝ่ายกลางที่นำโดยมาครง ถูกวิจารณ์ว่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายใดได้เลย

สถานการณ์นี้ส่งผลให้ฝรั่งเศสอยู่ในภาวะสุญญากาศทางการเมือง และอาจต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจหากไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองได้

ดัชนี CAC40 ของฝรั่งเศสบวกเพียง 2% ในปีนี้ นับย้อนกลับไปตั้งแต่มาครงเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2017 ดัชนีทำผลตอบแทนได้ราว 7.5% CAGR ใกล้เคียงกับดัชนีหุ้นยุโรปทั่วไป โดยที่ NTM P/E ปัจจุบันอยู่ที่ 14.5 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี มีความเสี่ยงที่ประเด็นการเมืองอาจกดดันตลาดต่อเนื่องในปี 2025

สรุปปีแห่งการเลือกตั้ง 2024 และมองไปข้างหน้าปี 2025 ผมมองว่านักลงทุนจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์หลายอย่าง

1. การเมืองที่ดีมักส่งผลให้ค่าเงินมีเสถียรภาพเป็นบวกกับการลงทุน

ปี 2024 สะท้อนให้เห็นว่าเอเชียเหนือและยุโรป อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม นักลงทุนที่สนใจอาจต้องเพิ่มความระวังเป็นพิเศษ

2. 2024 เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่

นโยบายการค้า ภาษี และหนี้สาธารณะอาจต้องมองไปพร้อมกัน เพราะผลการเลือกตั้งเกิดขึ้นจากความต้องการเปลี่ยนแปลงในบริบทที่เปลี่ยนไป อาจหวังผลแบบเดิมไม่ได้

3. การกระจายการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญเสมอ

การเมืองที่ดีจะทำให้ตลาดหุ้นเติบโตได้เต็มศักยภาพ แม้เราจะไม่สามารถเปลี่ยนการเมืองในประเทศใดได้ แต่จำไว้เสมอว่าเราสามารถเลือกลงทุนในประเทศที่การเมืองดีได้

วินสตัน เชอร์ชิลล์กล่าวไว้ว่า “ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้เราสร้างการเปลี่ยนแปลง แม้ในยามวิกฤต”

ทั่วโลกกำลังจะพบกับการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายแน่นอนในปี 2025 ครับ

บทเรียนจากปีแห่งการเลือกตั้ง 2024

การเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินประเทศที่มีการเลือกตั้งปี 2024 เทียบกับเงินบาท (%YTD)
ที่มา: Bloomberg และ FSS

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

เงินซื้อความสุข (ไม่) ได้

Dr.Niwes Hemvachiravarakorn
เงินซื้อความสุข (ไม่) ได้

สังคมไทยในปัจจุบันนั้นคนค่อนข้างจะเน้นเรื่องการมีเงินสูงมาก คนคิดว่าถ้ามีเงิน เขาคงมีความสุขมาก ยิ่งมีเงินมากเท่าใด ความสุขก็คงมีมากขึ้นเท่านั้น เขาคิดว่าเงินซื้อความสุขได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือไม่? ผมจะตอบในฐานะของคนที่เคยแทบจะไม่มีเงินเลยเป็นเวลาหลายสิบปีตั้งแต่เกิด และต่อมาก็มีเงินมากพอที่จะใช้ซื้อความสุขได้แทบทุกอย่างที่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน

แต่ก่อนที่จะพูดถึงว่าเงินสามารถซื้อความสุขได้หรือไม่นั้น เราจำเป็นต้องนิยามเสียก่อนว่าอะไรคือความสุข? เพราะความสุขนั้น ไม่มีตัวตน มันคือความรู้สึกของคนแต่ละคน ผมยังจำได้ว่าท่านพุทธทาสภิกขุ พระนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากสมัยที่ผมบวชเมื่อประมาณ 50 มาแล้ว

เคยบอกว่า ความสุขก็คือ อารมณ์ความรู้สึกที่เราอยากให้เป็นอยู่อย่างนั้น ส่วนความทุกข์ก็คือสิ่งที่เราอยากจะหนีไปให้พ้น ซึ่งผมก็รู้สึกว่าเป็นคำนิยามที่ง่ายดี ตรงไปตรงมา ไม่ต้องถกเถียงว่าเป็นความสุขหรือความทุกข์แบบไหนหรือของใคร

ถึงยุคสมัยนี้ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สูงมาก เราก็รู้ว่าความสุขนั้นมีหลายแบบ แต่ละแบบจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์ที่แตกต่างกัน และสามารถ “วัดได้” ด้วยปริมาณของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายเวลาที่เรา “มีความสุข”

ความสุขแบบแรกก็คือความสุขแบบ Serotonin ซึ่งเป็น “ความสุขทางร่างกาย” เป็นหลัก ตัวอย่างความสุขแบบนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องของการมีความสุขเมื่อได้กินอาหารอร่อย นอนหลับพอเพียง การมีอารมณ์ที่ดีเมื่ออยู่ในบรรยากาศที่ดี การที่ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย การปราศจากความเครียดและความกังวล เหล่านี้เราก็จะ “มีความสุข” ซึ่งร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนเซโรโทนินและทำให้เรารู้สึก “สบายและมีความสุข”

ประเด็นก็คือ การที่จะมีความสุขแบบเซโรโทนินนั้น เราสามารถจะใช้เงินซื้อหรือไม่ คำตอบก็คือ ถ้าจนมากจนไม่สามารถที่จะซื้ออาหารที่มีคุณภาพดี หรือเวลาเจ็บป่วยไม่สามารถใช้บริการการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอ ความสุขก็คงจะหายไปมาก และความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นก็คงทำลายความสุขส่วนนี้ไปมาก อย่างไรก็ตาม ในสังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่น่าจะมีเงินเพียงพอที่จะ “ดูแลความสุขทางร่ายกาย” ได้ ไม่จำเป็นต้องมีเงินมาก

ตรงกันข้าม คนที่มีเงินมากเกินและพยายามที่จะหาหรือซื้อความสุข เช่น การกินอาหารราคาแพง กินอาหารที่อร่อยแต่ไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อร่างกาย การใช้เงินซื้อความสะดวกและไม่ออกกำลัง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะไม่ได้ช่วยเพิ่มความสุขกับตนเองเลย

ดังนั้น ในกรณีของความสุขแบบเซโรโทนิน เงินซื้อความสุขได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เงินที่มากกว่านั้นแทบจะซื้อความสุขเพิ่มไม่ได้ วิธีที่จะมีความสุขจริง ๆ น่าจะอยู่ที่การดูแลรักษาสุขภาพให้ดีตลอดเวลา เช่น การกินอาหารที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ความสุขแบบที่สองนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกับความสุขแบบเซโรโทนิน และเรียกว่าเป็นความรู้สึกแบบ Oxytocin จะเป็นความสุขที่เกิดจาก “ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น” เช่น ความสัมพันธ์กับคนรักและครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงหรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดี ร่างกายก็ผลิตฮอร์โมนออกซิโทซินมากขึ้นซึ่งก็จะทำให้เรามีความสุข บางคนเรียกฮอร์โมนนี้ว่าเป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก”

ตรงกันข้าม หากความสัมพันธ์ไม่ดี เช่น มีปัญหากับคนรักหรือมีปัญหาครอบครัว หรือเป็นคนที่ไม่มีเพื่อนหรืออาจจะมีเพื่อนร่วมงานที่ไม่ชอบกัน แบบนี้เราก็จะไม่มีความสุข อยากจะหนีไปให้พ้นถ้าทำได้ ฮอร์โมนออกซิโทซินก็จะถูกผลิตน้อย อารมณ์เราไม่ดีแน่นอน

เงินนั้น ผมคิดว่าน่าจะต้องพอมีระดับหนึ่งที่จะทำให้ความสัมพันธ์ราบรื่นโดยเฉพาะกับครอบครัวหรือคนรัก เช่นเดียวกับเพื่อนฝูงก็คงต้องมีการใช้เงินเพื่อเข้าสังคมด้วย

อย่างไรก็ตาม เงินที่มากเหลือล้นนั้นก็มักจะไม่สามารถทำให้ความสัมพันธ์นั้นดีสุดยอดได้ พูดง่าย ๆ เงินไม่สามารถซื้อเพื่อนแท้ที่จริงใจได้ เช่นเดียวกับครอบครัวหรือคนรักที่มักจะ “ต้องการเวลา” มากกว่า

และนั่นก็คงเป็นเหตุผลว่ามหาเศรษฐีจำนวนไม่น้อย ไม่มีความสุขแบบ Oxytocin เพราะเกิดความแตกแยกของครอบครัว หรือไม่มี “เพื่อนแท้” ที่ไว้วางใจและปรึกษาปัญหาได้ อาจจะเพราะไม่มีเวลาและอาจจะคิดว่าเงินที่เขาใช้จ่ายให้นั้นสามารถ “ซื้อความสัมพันธ์” จากคนรอบตัวได้

ความสุขแบบสุดท้ายก็คือ ความสุขแบบ Dopamine หรือความสุขที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประสบความสำเร็จหรือ Achievement ในเรื่องต่าง ๆ ของชีวิต เช่น เป็นนักการเมืองหรือข้าราชการที่ได้รับตำแหน่งสูง เป็นนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน เป็นนักร้องหรือดาราดัง เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียง เป็นคนที่ได้รับการยอมรับในสังคมในเรื่องต่าง ๆ และที่สำคัญมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเป็น “คนรวย”

ความสุขแบบโดปามีนนั้นจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เรารู้สึกว่าประสบความสำเร็จจากการทำอะไรบางอย่างและเป็นที่รับรู้และยอมรับจากคนอื่น ซึ่งร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนออกมาทำให้เรารู้สึกว่ามีความสุข และโดปามีนนั้นน่าจะให้ความสุขที่แตกต่างและรุนแรงกว่าฮอร์โมนความสุขอีก 2 ตัว คนที่ได้ฮอร์โมนโดปามีนจะมีความรู้สึกว่าอยากจะ “เอาอีก เอาอีก เอาอีก” และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่ประสบความสำเร็จแล้วก็อยากจะสำเร็จเพิ่มขึ้นไปอีก และคนที่รวยแล้วก็ยังอยากจะรวยเพิ่มขึ้นไปไม่พอเสียที

คำถามก็คือ เงินซื้อความสุขแบบโดปามีนได้ไหม? ผมคิดว่านี่คือความสุขที่คนใช้เงินซื้อมากที่สุด และสิ่งที่ทำก็คือ การซื้อสิ่งของหรือบริการที่หรูหราฟุ่มเฟือย เช่น การมีบ้านหรู การซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับแบรนด์เนม การเดินทางด้วยที่นั่งชั้นหนึ่ง การชมมโหรสพระดับสุดยอดการกินอาหารในภัตตาคารหรู ทั้งหมดนั้นเป็นการแสดงฐานะว่าเป็นคนที่ “รวย” และคนที่รวยนั้น ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ยิ่งรวยมากก็ยิ่งประสบความสำเร็จสูงมาก

แต่ความสำเร็จที่เกิดจากการ “ซื้อ” นั้น ผมคิดว่าไม่เท่ากับความสำเร็จที่เกิดจากการทำด้วยตนเอง และคนที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ ในเรื่องหรือกิจกรรมต่าง ๆ นั้น จะมีความรู้สึกถึงความภูมิใจและมีความสุขที่ลึกซึ้งและอยู่นานกว่าคนที่ใช้เงิน “ซื้อ” ความสำเร็จเพื่อให้คนยอมรับ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยพูดถึงเรื่องนี้หลายครั้งคือเรื่องของ “Inner Score Card” กับ “Outer Score Card” ซึ่งก็คือการวัดความสามารถหรือความสำเร็จ “ภายในใจ” หรือ “การแสดงให้คนอื่น” เห็น หรือ “ให้คนอื่นคิดว่าคุณเป็น” แต่มันไม่จริง คุณคิดว่าคุณอยากเป็นแบบไหน สำหรับเขาแล้ว เขาบอกว่าเขาชอบอย่างแรก และยกตัวอย่างว่า คุณอยากเป็น “นักรัก” โดยแท้จริง หรือคุณอยากจะให้คนอื่น “เข้าใจว่าคุณเป็นนักรัก” แต่แท้ที่จริงแล้วคุณ “บ่มิไก้” เวลามีรักกับสาว?

และนั่นก็กลับมายังเรื่องของเงินและการลงทุน คุณอยากจะเป็นนักลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีเยี่ยมปีแล้วปีเล่า พอร์ตเติบโตขึ้นตลอดจนคุณมีอิสรภาพทางการเงินและเปลี่ยนชีวิตคุณไปอย่างสิ้นเชิง แต่คนก็อาจจะไม่รู้ หรือคุณอยากจะโชว์พอร์ตว่ามีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริงให้คนเห็นเพื่อที่จะแสดงว่าคุณประสบความสำเร็จจากการลงทุนสูง เป็นเศรษฐีและเป็น “เซียน” ทั้ง ๆ ที่ผลตอบแทนการลงทุนก็งั้น ๆ แต่เพราะคุณมีเงินเริ่มต้นลงทุนสูงมากอยู่แล้ว?

บัฟเฟตต์บอกว่าเขาสนใจแต่ “Inner Score Card” วัดผลงานความสำเร็จกับตนเองที่ตั้งเป้าหมายไว้ ความสุขของเขาอยู่ที่นั่น และถ้าประสบความสำเร็จสูงมากและต่อเนื่องยาวนาน ในที่สุดคนก็จะเห็นเอง อย่างไรก็ตาม ในสังคมยุคใหม่ที่คนต่างก็เฝ้ามองคนอื่นทุกคนตลอดเวลาผ่านสื่อสังคม การที่จะพอใจกับเฉพาะ Inner Score Card อย่างเดียวคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

ดังนั้น การใช้เงินเพื่อสร้างความสุขแบบโดปามีนโดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหม่จึงเป็นเรื่องปกติมาก และผมก็คิดว่าถ้าอยากทำก็ทำไป แต่สำหรับผมเองนั้น ผมยังเชื่อแนวของบัฟเฟตต์และก็คิดว่าส่วนตัวก็มี “Achievement” เพียงพอที่สร้างความสุขแบบโดปามีนมาตลอดแบบช้า ๆ แต่ต่อเนื่องมายาวนานโดยที่ไม่ต้องใช้เงิน

สรุปใจความสำคัญของบทความนี้ก็คือ ผมคิดว่าคนที่จะมีความสุขได้เพียงพอในชีวิตนั้น จำเป็นต้องมีเงินและใช้เงินในระดับหนึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละคน คนที่เกิดมาในระดับคนชั้นที่มีรายได้น้อยอาจจะต้องการเงินแค่เดือนละ 3-40,000 บาท ก็สามารถหาความสุขได้แล้วถึง 80-90% ในความสุขทั้ง 3 แบบนั้น

เงินที่มากขึ้นกว่าขั้นต่ำที่ต้องการไม่สามารถซื้อความสุขได้มากมายอะไรนักโดยเฉพาะความสุขแบบที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำเพิ่มขึ้นได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้เงินมากนัก ส่วนความสุขแบบโดปามีน นั้น สามารถใช้เงินซื้อได้ แต่ถึงจุดหนึ่งก็จะ “มีลิมิต” และความสุขที่ได้รับเพิ่มก็จะไม่สูงขึ้นไปมากเท่ากับการทำด้วยตนเองหรือการรับรู้ด้วยตนเองผ่าน “Inner Score Card” ของตนเองที่บอกว่า เราสำเร็จแล้ว เราพอใจ และ เรามีความสุข

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

เทคนิคเทรดหุ้น จาก Trader ประสบการณ์ 30 ปี

Finspace
เทคนิคเทรดหุ้น จาก Trader ประสบการณ์ 30 ปี
แชร์เทคนิคเทรดหุ้น โดยใช้ indicator จากประสบการณ์เทรดเกือบ 30 ปี แต่สรุปมาให้เพียง 1 หน้ากระดาษเท่านั้น ซึ่งเป็นกระทู้ที่เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่สนใจในการเทรดหุ้นสไตล์นี้ ลองศึกษากันดูครับ

เก็บเงินได้จริง! ด้วยเทคนิคแบ่งเงิน 4 บัญชี ที่ใคร ๆ ก็ทำตามได้

Finnomena
เก็บเงินได้จริง! ด้วยเทคนิคแบ่งเงิน 4 บัญชี ที่ใคร ๆ ก็ทำตามได้

เคยรู้สึกไหมว่าเงินเดือนหมดไปกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างรวดเร็วจนไม่มีเงินเก็บสักที? อยากมีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรืออยากลงทุนเพื่ออนาคต แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี? วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคการจัดการเงินที่ง่ายและได้ผลจริง นั่นคือ “การแบ่งเงิน 4 บัญชี” ที่จะช่วยให้คุณมีวินัยทางการเงินมากขึ้น และสามารถจัดการเงินได้อย่างเป็นระบบ

การแบ่งเงินออกเป็น 4 บัญชีจะช่วยให้คุณเห็นภาพการเงินที่ชัดเจนขึ้น และสามารถจัดสรรเงินไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละบัญชีจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้

เก็บเงินได้จริง! ด้วยเทคนิคแบ่งเงิน 4 บัญชี ที่ใคร ๆ ก็ทำตามได้

  1. บัญชีฉุกเฉิน: บัญชีนี้ใช้สำหรับรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เช่น รถเสีย ตกงาน หรือค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน ควรมีเงินเก็บในบัญชีนี้ประมาณ 6-12 เดือนของค่าใช้จ่ายประจำ
  2. บัญชีค่าใช้จ่ายรายเดือน: บัญชีนี้ใช้สำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ควรโอนเงินเข้าบัญชีนี้ทุกเดือนเพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย
  3. บัญชีลงทุน: บัญชีนี้ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว เพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต เช่น หุ้น กองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์
  4. บัญชีซื้อความสุข: บัญชีนี้ใช้สำหรับซื้อของที่อยากได้ หรือใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง ควรตั้งงบประมาณให้ชัดเจน และไม่เกินงบที่กำหนดไว้

 

ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วนเงิน: บัญชีฉุกเฉิน 20%, บัญชีค่าใช้จ่ายรายเดือน 50%, บัญชีลงทุน 20% และบัญชีซื้อความสุข 10% ทั้งนี้สัดส่วนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละคน

อยากมีตัวช่วยแบ่งเงินให้เป็นระบบ ลองให้ ‘FIN SAVE by KKP’ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่จะเชื่อมต่อโลกการลงทุนในที่เดียวบนแอปพลิเคชัน Finnomena ช่วยคุณจัดการชีวิตการเงินให้ง่ายขึ้น แยกบัญชีเงินลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายประจำวันชัดเจน หมดปัญหาเงินปนกันจนเก็บไม่อยู่ พร้อมให้เงินงอกเงย รับดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี* ระหว่างพักเงินรอลงทุน สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ ดูแลเงินฝากของคุณโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร

*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท)

หากคุณกำลังมองหาบัญชีเงินฝากที่จะทำให้ชีวิตการเงินของคุณสะดวกขึ้น จัดการทั้งเงินฝากและเงินลงทุนได้ครบจบในที่เดียว บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คือคำตอบ! ดาวน์โหลดแอปฯ Finnomena และเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ได้เลย

https://partner.finnomena.com/kkp/landing

พิเศษ! เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP บนแอปฯ Finnomena วันนี้ รับหน่วยลงทุนกองทุนรวม KKP MP ของบลจ. เกียรตินาคินภัทร มูลค่า 100 บาท (ของสมนาคุณเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ย 0.2% ต่อปี) สำหรับลูกค้า 1,000 ท่านแรก ที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ระหว่างวันที่ 22 ส.ค. 2567 – 15 ธ.ค. 2567 ฝากเงินตั้งเเต่ 50,000 บาท ขึ้นไป และคงเงินฝากจนถึงวันที่ 1 ม.ค. 2568

หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเปิดบัญชีไม่สำเร็จหรือบริการทางบัญชีเพิ่มเติม โปรดติดต่อ KKP Contact Center โทร 02-165-5555 กด 5 ต่อจากนั้น กด 1 เวลา 07.00-20.00 ของทุกวัน

หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Finnomena Application โปรดติดต่อ 02-026-5100 เวลา 09.00 – 17:00 ทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP


คำเตือน: 

  • อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด
  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP เป็นผลิตภัณฑ์ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร
  • เงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ให้บริการเฉพาะประเภทลูกค้า (1) บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป มีบัตรประชาชนแบบ Smart Card
  • ผู้ฝากสามารถขอเปิดบัญชีได้เฉพาะบัญชีที่มีชื่อบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของบัญชี และผู้ฝาก 1 ราย เปิดได้ 1 บัญชี โดยไม่จำกัดรายการฝา
  • ผู้ฝากสามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตนเองผ่านแอปฯ Finnomena ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. โดยทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านบริการ NDID
  • การคำนวณดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คิดแบบขั้นบันได (Step Up) ตามอัตราที่กำหนดในแต่ละวงเงิน ธนาคารจะคำนวณจากยอดเงินคงเหลือ ณ สิ้นวัน โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินฝากของลูกค้า อัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP มีรายละเอียดดังนี้
    • ธนาคารจะคำนวณและหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยเงินฝากตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
    • ตัวอย่างการคิดอัตราดอกเบี้ย
วงเงินฝาก อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)
ไม่เกิน 500,000 บาท (A) 0.40%
ส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท (B) 1.60%
ส่วนที่เกิน 2,000,000 (C) 0.40%

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (A) = 0.40%, (B) = 0.40%-1.30%, (C) 0.40%-1.30%

กรณีที่ 1: ฝากเงิน 1,500,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP 

  • 500,000 บาทแรก รับอัตราดอกเบี้ย 0.40%
  • 1,000,000 บาทต่อมา รับอัตราดอกเบี้ย 1.60%

 

กรณีที่ 2: ฝากเงิน 3,000,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP

  • 500,000 บาทแรก รับอัตราดอกเบี้ย 0.40%
  • 1,500,000 บาท ต่อมา รับอัตราดอกเบี้ย 1.60%
  • และ 1,000,000 บาท ต่อมา รับอัตราดอกเบี้ย 0.40%

 

สรุปประเด็น ‘ปฏิรูปภาษี’ ขึ้น VAT 10% มีอะไรอีก?

Finnomena Editor
ขึ้น VAT 10%

กระทรวงการคลังเดินหน้าวางแผนปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจโตช้าและลดความเสี่ยงจากหนี้สาธารณะที่ใกล้แตะเพดาน พร้อมเตือนว่าการกู้เงินเพิ่มอาจกระทบเสถียรภาพการเงินของประเทศ แผนนี้รวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 10% ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้อยู่ที่ 15%

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gains Tax) เพื่อเพิ่มรายได้รัฐ ลดความเหลื่อมล้ำ และดูแลผู้มีรายได้น้อย 

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยอมรับว่าการขึ้น VAT เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ถือเป็นความจำเป็นเพื่อสร้างรายได้สำหรับการลงทุนพัฒนาประเทศ 

โดยประเด็นสำคัญของแผนปฏิรูปภาษีประเทศไทยมีดังนี้

1. เพิ่มรายได้รัฐผ่านการปรับโครงสร้างภาษี

  • พิจารณาขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 10% ตามเพดานกฎหมาย เพื่อเพิ่มงบประมาณสำหรับการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เปลี่ยนระบบอัตราขั้นบันไดเป็นอัตราเดียว โดยลดภาษีนิติบุคคลจาก 20% เหลือ 15% เพื่อดึงดูดการลงทุนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

2. จัดเก็บภาษีทรัพย์สินและความมั่งคั่ง

  • พิจารณาเลิกเก็บภาษีแบบขั้นบันได เนื่องจากใช้มานานแต่ความเหลื่อมล้ำกลับไม่ลดลง
  • วางแผนเก็บภาษีจากทรัพย์สินที่มีทะเบียน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ และเงินฝาก
  • เริ่มจัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gains Tax) โดยอนุญาตให้หักขาดทุนก่อนคำนวณกำไรสุทธิ

3. ลดช่องโหว่และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

  • ใช้เทคโนโลยี AI ในการตรวจสอบภาษีและวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการหลบเลี่ยงภาษี
  • ขยายฐานข้อมูล “อารีย์ สกอร์” เพื่อบูรณาการข้อมูลด้านรายได้ หนี้สิน และการรับสวัสดิการของประชาชน

4. ดูแลผู้มีรายได้น้อย

  • ออกมาตรการคืนภาษีให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้น VAT
  • ใช้เงินกองกลางจากภาษีเพื่อพัฒนาสวัสดิการ เช่น สาธารณสุข การศึกษา และโครงการที่อยู่อาศัย

5. ส่งเสริมเศรษฐกิจระยะยาว

  • วางเป้าหมายให้รายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นจาก 14% เป็น 18% ของ GDP
  • ผลักดันให้เศรษฐกิจใต้ดินเข้าสู่ระบบ เพื่อเพิ่มรายได้ใหม่ เช่น การพิจารณาคาสิโนถูกกฎหมาย 

 

แผนปฏิรูปภาษีนี้สะท้อนถึงความพยายามในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและรองรับความท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคต ด้วยเป้าหมายในการสร้างความสมดุลระหว่างการจัดเก็บรายได้ การพัฒนาประเทศ และการดูแลประชาชน


อ้างอิง: ประชาชาติธุรกิจ, The Standard Wealth

Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 2 – 6 December 2024

Merkle Capital
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 2 - 6 December 2024

หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

MACROECONOMICS

Key Takeaways

  • ISM Manufacturing PMI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะลดลง
  • ISM Services PMI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • Non Farm Payrolls มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม

WEEKLY TONE: BUY WEEK

ในสัปดาห์แรกของเดือนสุดท้ายในปีนี้ มีตัวชี้วัดด้านแรงงานเป็นหลัก ในส่วนของ JOLTs Job Opening ที่มีแนวโน้มว่าจะลดตัวลง แต่ด้วยการที่ไม่ได้ลดลงเยอะ อาจไม่มีส่วนสำคัญในการมีผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในด้านของ ISM Manufacturing PMI และ ISM Services PMI ทั้งสองตัวนี้ถือว่าแสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต แม้จะไม่ได้เติบโตเร็ว แต่เป็นการเติบโตที่ช้าและมั่นคง และส่วนสุดท้ายคืออัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม ในด้านของตลาดคริปโทฯ ยังสามารถเปิดความเสี่ยงได้ทั้ง Bitcoin และ Altcoin แต่ด้วยผลตอบแทนของ Bitcoin อาจไม่สูงเท่าตัวอื่น ๆ เนื่องด้วย Bitcoin ได้มีการขยับตัวขึ้นมาเยอะพอสมควร ในขณะที่ Altcoin บางตัวยังไม่ได้มีการปรับตัวขึ้นมาสูงมาก ฉะนั้น ณ ตอนนี้ถือว่าเป็นเวลาที่ดีในการ Risk On และยังมี Upside ที่เป็นที่น่าพอใจ


Important Economic Data this week

1. ISM Manufacturing PMI

ISM Manufacturing PMI คือตัวเลขการจัดซื้อและจัดจ้างในภาคการผลิตสินค้าต่าง ๆ จากการจัดทำการสำรวจสอบถามภาคธุรกิจการผลิตต่าง ๆ รวมถึง 300 บริษัททั่วประเทศเพื่อทราบถึงผลกระทบทางบวก และ ลบในภาคเศรษฐกิจ โดยดัชนีนี้จะประกอบไปด้วย คำสั่งซื้อใหม่ 30% การผลิต 25% แรงงาน 20% เวลาส่งมอบของผู้ผลิต 15% และสินค้าคงคลัง10% รวมถึงสินค้าคงคลังที่ซื้อมา 10%

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: ISM Manufacturing PMI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจาก 46.5 เป็น 47.2

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/business-confidence
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ ISM Manufacturing PMI แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่กำลังโต แต่ไม่ได้เติบโจในอัตราที่รวดเร็ว ในด้านของการลงทุน ตัวชี้วัดนี้จะส่งผลสำคัญต่อหุ้นมากกว่าคริปโทฯ โดยเฉพาะในหุ้นของกลุ่มภาคการผลิตจะได้รับผลกระทบในเชิงบวกไปเต็ม ๆ อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ว่าตัวชี้วัดนี้จะอยู่ที่ 47.2 ซึ่งไม่เกิน 50 การที่จะดีที่สุดสำหรับการลงทุนและเศรษฐกิจคือตัวชี้วัดนี้จะต้องมีค่ามากกว่า 50 นั้นเอง

2. JOLTs Job Opening

ตัวเลขการสำรวจการจ้างงานทุกตำแหน่ง (ที่ยังว่างอยู่) ในทุกวันสุดท้ายของเดือน เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “Job Openings and Labor Turnover Survey (JOLTS)” การสำรวจนี้จะรวบรวมข้อมูลจาก 16,400 หน่วยงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงร้านค้า และ โรงงาน รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลระดับกลาง ภาครัฐ และท้องถิ่นใน 50 รัฐ และ ดิสทริคต์ออฟคอลัมเบีย

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 7.443M เป็น 7.38M

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/job-offers
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์ในการลดตัวลงของ JOLTs Job Opening แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวหรือขยับตัวช้าลง การลดตัวลงของตัวชี้วัดนี้ยังมีผลต่อการตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED อีกด้วย ในฝั่งของตลาดคริปโทฯ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน นักลงทุนระยะสั้นอาจขายสินทรัพย์เสี่ยงสูงเพื่อไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยกว่านั้นเอง อีกทั้งเศรษฐกิจที่มีโอกาสชะลออาจทำให้เกิดการไม่มั่นใจในสินทรัพย์เสี่ยง

3. Unemployment Rate

Unemployment rate คือ อัตราการว่างงานเป็นสัดส่วนจากประชาการที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพตลาดแรงงาน และสะท้องถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม อัตราว่างงานที่สูงบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่จะลอตัวลงหรือแม้กระทั้งหดตัวลง

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 4.1%

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
ตีความอย่างไรต่อตลาด

การคาดการณ์การคงที่ของ Unemployment Rate ที่ 4.1% แสดงให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและที่ความมั่นคง สามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนแก่นักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม Consumer Spending หรือการบริโภคของคนได้อีกด้วย และยังสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ได้อีกด้วย ในส่วนของตลาดคริปโทฯ อาจมีการเพิ่มอุปสงค์ในการซื้อเหรียญ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในตลาดคริปโทฯ ได้มากขึ้นอีกด้วย


CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK

Credit from LayerGG

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

1 ธันวาคม

  • $SUI – ปลดล็อกเหรียญ $210M
  • $SUI – ปลดล็อกเหรียญ $210M

2 ธันวาคม

  • $MOVE – MoveDrop เดดไลน์

3 ธันวาคม

  • $XAI – Airdrop Season

7 ธันวาคม

  • $JTO – ปลดล็อกเหรียญ 105.5% ของอุปทานหมุนเวียน

Weekly Crypto Must Watch

Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
 

ในส่วนของ Funding Rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ แสดงถึงความ Bullish ของนักลงทุนในตลาด เนื่องจากมีการเปิดสถานะ Long มากกว่า Short หากเปรียบเทียบกับการวิ่งขึ้นของตลาดในเดือนมีนาคมที่ Funding Rate สูงกว่านี้มาก จะพบว่า Upside ในความร้อนแรงของตลาดยังมีอีกมาก

Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
 

ในฝั่งของ Bitcoin Futures Open Interest มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนทะลุ All Time High อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงการเก็งกำไรของนักลงทุนผ่านสัญญา Futures ที่เพิ่มขึ้น ตลาดมีความร้อนแรงหลังจากข่าวดีเรื่องการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่การใช้ Leverage ของตลาดในปริมาณมาก ก็อาจจะทำให้เกิดความผันผวนที่ตามมาเช่นกัน

Source : https://farside.co.uk/?p=997
 

ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 135.1 ล้านเหรียญ อาจจะมาจากการทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น้อยหากเทียบกับ Inflow ช่วงที่ผ่านมา และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาของ Bitcoin อย่างรุนแรง

Source : https://farside.co.uk/?p=1518
 

ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลเข้าทั้งสิ้น 466.5 ล้านเหรียญ โดยแรงซื้อส่วนใหญ่มาจาก Blackrock ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นโมเมนตัมการเริ่มเข้ามาลงทุนใน Ethereum ของนักลงทุนสถาบันที่ดี อาจจะด้วย Upside ที่มากกว่า Bitcoin ส่งผลให้ราคาของ Ethereum ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีความแข็งแกร่งกว่าเหรียญอื่น ๆ

Long-Term Holder Distribution

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ Bitcoin ได้ทำจุดสูงสุดใหม่ นักลงทุนระยะยาวที่มีต้นทุนต่ำก็ได้ทำการทยอยขายออกเพื่อทำกำไร ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม แต่ครั้งนี้มีปริมาณที่มากกว่า โดยปัจจุบัน นักลงทุนระยะยาวมีการขายเพื่อทำกำไรสูงถึง 2 พันล้านเหรียญต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นสถิติสูงสุดตั้งแต่ Bitcoin มีมา

 

อย่างไรก็ตาม ความกังวลในเรื่องของ Drawdown ที่อาจจะเกิดขึ้นจากแรงขายของนักลงทุนระยะยาวครั้งนี้ ถูกบรรเทาลงด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันผ่าน Spot Bitcoin ETFs ที่หลัง ๆ มานี้ ได้มีการเข้าซื้อกันอย่างล้นหลาม จุดที่นักลงทุนควรจับตามอง คือ แรงซื้อเหล่านี้จะยังคงสามารถเข้ามาแทนที่แรงเทขายได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าแรงซื้อดังกล่าว เริ่มแสดงสัญญาณของการปรับตัวลดลง ก็อาจจะเป็น Trigger ที่ทำให้เกิดการปรับฐานของ Bitcoin นั่นเอง

หากพิจารณาต้นทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดจากกราฟด้านล่าง จะพบว่าบริเวณ $54,000 – $73,000 มีการเก็บสะสม Bitcoin กันอย่างหนาแน่น เนื่องจากช่วงนั้น Bitcoin มีการเคลื่อนที่อยู่ในกรอบมากกว่า 7 เดือน กลับกัน ช่วงราคา $73,000 – $88,000 มีปริมาณการซื้อที่ค่อนข้างเบาบาง จากการที่ราคาพุ่งไปอย่างรวดเร็ว ทำให้หากเกิดการปรับฐานครั้งต่อไป อาจจะทำให้ราคาปรับลงมาต่ำกว่า $88,000 ได้


WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS

by Cryptomind Advisory

BTC/USDT

 

ในมุมมองระยะสั้น $BTC นั้น Sideway อยู่บริเวณ $93,000 – $99,000 โดยเป็นการพักตัวจากการขึ้นรุนแรงในช่วงเดือนที่ผ่านมา ในระยะข้างหน้าก็อาจจะสร้างชุดสะสมในบริเวณนี้ก่อนที่จะมีการ Breakout ออกไป แนวต้านสำคัญในบริเวณนี้นั้นคือราคา $100,000 ที่ถ้าหาก $BTC นั้นสามารถยืนเหนือแนวดังกล่าวได้ ก็อาจจะสามารถทำราคาขึ้นต่อไปได้

แนวต้าน : $100,000 | $120,000 | $150,000

แนวรับ : $91,500 | $86,000 | $83,000

ETH/USDT

 

ในมุมมองระยะสั้น $ETH นั้นได้ขึ้นผ่านแนวต้าน $3,400 มาได้ซึ่งเป็น Momentum ขาขึ้นที่ดี ในส่วนของ RSI นั้นเริ่มมีการสร้าง Bearish Divergence ให้เห็นแล้ว โดยอาจส่งผลให้ราคาในระยะสั้นเกิดการย่อตัวได้ซึ่งมีแนวรับบริเวณ $3,500 ในกรณีที่ราคายืนอยู่ได้ก็มีโอกาสที่จะไปต่อได้ ยิ่งหากราคายืนแนว $3,700 ได้จะเป็นมุมมองที่ Bullish อย่างมาก

แนวต้าน : $3,700 | $4,000 | $4,800

แนวรับ : $3,450 | $3,000 | $2,870


ASSET ALLOCATION

by Cryptomind Advisory

ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ โดยโดนัลด์ ทรัมป์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%

Merkle Capital

ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-2nd-6th-December-2024


คำเตือน

สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

มีเงิน 1,000,000 บาท ฝากไว้ที่ไหนดี? มัดรวมบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง 2567

Finnomena
มีเงิน 1,000,000 บาท ฝากไว้ที่ไหนดี? มัดรวมบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง 2567

มีเงิน 1,000,000 บาท ฝากไว้ที่ไหนดี? การออมเงินเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเลือกที่ฝากเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับในอนาคตด้วย ในยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปค่อนข้างต่ำเช่นนี้ การหาบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงจึงเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ

วันนี้เราจึงมัดรวม “บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง” มาฝากกัน แนะนำพร้อมเปรียบเทียบให้ดูกันแบบชัด ๆ ว่าแต่ละที่ให้อัตราดอกเบี้ยเท่าไร มีเงื่อนไขการฝากอย่างไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันได้เลย!

มัดรวมบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง 2567

มีเงิน 1,000,000 บาท ฝากไว้ที่ไหนดี? มัดรวมบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง 2567

1. Kept by Krungsri จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2.22% ต่อปี สำหรับการฝากเงินในเดือน 19-24 และยอดเงินฝากไม่เกิน 5,000,000 บาท

2. FIN SAVE by KKP จากธนาคารเกียรตินาคินภัทร

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท

3. KKP SAVVY จากธนาคารเกียรตินาคินภัทร

จ่ายดอกเบี้ย 1.60% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากมากกว่า 200,000 – 2,000,000 บาท

4. TISCO e-Savings จากธนาคารทิสโก้

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.55% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท

5. EZ Savings จากธนาคารไทยพาณิชย์

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท

6. NEXT Savings จากธนาคารกรุงไทย

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท

7. BBL e-Savings จากธนาคารกรุงเทพ

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท

8. TMRW Savings จากธนาคารยูโอบี

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (ดอกเบี้ยปกติ 1.00% และดอกเบี้ยโบนัส 0.50% เมื่อมียอดเงินฝากเฉลี่ยของเดือนปัจจุบันมากกว่า/เท่ากับยอดเงินฝากเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว)

9. มีแต่ได้ ออนไลน์ จากธนาคารกรุงศรี

จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท

หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่แต่ละธนาคารประกาศกำหนด ข้อมูลจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2567

อยากออมเงินให้คุ้ม มาฝากเงินไว้กับ ‘FIN SAVE by KKP’ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่จะเชื่อมต่อโลกการลงทุนในที่เดียวบนแอปพลิเคชัน Finnomena ช่วยคุณจัดการชีวิตการเงินให้ง่ายขึ้น แยกบัญชีเงินลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายประจำวันชัดเจน พร้อมรับดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี* ระหว่างพักเงินรอลงทุน สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ ดูแลเงินฝากของคุณโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร

*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท)

หากคุณกำลังมองหาบัญชีเงินฝากที่จะทำให้ชีวิตการเงินของคุณสะดวกขึ้น จัดการทั้งเงินฝากและเงินลงทุนได้ครบจบในที่เดียว บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คือคำตอบ! ดาวน์โหลดแอปฯ Finnomena และเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ได้เลย

https://partner.finnomena.com/kkp/landing

พิเศษ! เปิดบัญชี FIN SAVE by KKP บนแอปฯ Finnomena วันนี้ รับหน่วยลงทุนกองทุนรวม KKP MP ของบลจ. เกียรตินาคินภัทร มูลค่า 100 บาท (ของสมนาคุณเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ย 0.2% ต่อปี) สำหรับลูกค้า 1,000 ท่านแรก ที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ระหว่างวันที่ 22 ส.ค. 2567 – 15 ธ.ค. 2567 ฝากเงินตั้งเเต่ 50,000 บาท ขึ้นไป และคงเงินฝากจนถึงวันที่ 1 ม.ค. 2568

หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเปิดบัญชีไม่สำเร็จหรือบริการทางบัญชีเพิ่มเติม โปรดติดต่อ KKP Contact Center โทร 02-165-5555 กด 5 ต่อจากนั้น กด 1 เวลา 07.00-20.00 ของทุกวัน

หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Finnomena Application โปรดติดต่อ 02-026-5100 เวลา 09.00 – 17:00 ทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP


คำเตือน: 

  • อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด
  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP เป็นผลิตภัณฑ์ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร
  • เงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ให้บริการเฉพาะประเภทลูกค้า (1) บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป มีบัตรประชาชนแบบ Smart Card
  • ผู้ฝากสามารถขอเปิดบัญชีได้เฉพาะบัญชีที่มีชื่อบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของบัญชี และผู้ฝาก 1 ราย เปิดได้ 1 บัญชี โดยไม่จำกัดรายการฝา
  • ผู้ฝากสามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตนเองผ่านแอปฯ Finnomena ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. โดยทำการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านบริการ NDID
  • การคำนวณดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คิดแบบขั้นบันได (Step Up) ตามอัตราที่กำหนดในแต่ละวงเงิน ธนาคารจะคำนวณจากยอดเงินคงเหลือ ณ สิ้นวัน โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินฝากของลูกค้า อัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP มีรายละเอียดดังนี้
    • ธนาคารจะคำนวณและหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยเงินฝากตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
    • ตัวอย่างการคิดอัตราดอกเบี้ย
วงเงินฝาก อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)
ไม่เกิน 500,000 บาท (A) 0.40%
ส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท (B) 1.60%
ส่วนที่เกิน 2,000,000 (C) 0.40%

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (A) = 0.40%, (B) = 0.40%-1.30%, (C) 0.40%-1.30%

กรณีที่ 1: ฝากเงิน 1,500,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP 

  • 500,000 บาทแรก รับอัตราดอกเบี้ย 0.40%
  • 1,000,000 บาทต่อมา รับอัตราดอกเบี้ย 1.60%

 

กรณีที่ 2: ฝากเงิน 3,000,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP

  • 500,000 บาทแรก รับอัตราดอกเบี้ย 0.40%
  • 1,500,000 บาท ต่อมา รับอัตราดอกเบี้ย 1.60%
  • และ 1,000,000 บาท ต่อมา รับอัตราดอกเบี้ย 0.40%