พูดถึงมหาอำนาจหลายคนอาจจะนึกภาพของชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ หรือประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่เอาเข้าจริงยังมีประเทศอีกมากที่ถือว่าแข็งแกร่งไม่น้อยเลย โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องเป็นชาติตะวันตกเสมอไป
“คุณพูดไม่ได้หรอกว่าคุณเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หากคุณยังไม่ได้ฝากรอยเท้าที่ยิ่งใหญ่ไว้ในเอเชีย”
– Parag Khanna ผู้เขียนหนังสือ The Future Is Asian ให้สัมภาษณ์กับ McKinsey & Company
แม้จีนจะเป็นประเทศถัดมาที่หลายคนน่าจะนึกถึง หากเราพูดถึงอำนาจหรือเศรษฐกิจ แต่ Khanna ย้ำว่าเอเชียเป็นทวีปที่กว้างขวางที่สุด และเป็นที่อยู่ของผู้คนเกือบ 3 ใน 5 ของโลก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถึงจีนจะเป็นมหาอำนาจในเอเชีย แต่ทวีปที่กว้างใหญ่แห่งนี้ก็ไม่ได้มีแค่จีน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เอเชียยังมี เกาหลีใต้ เจ้าของบริษัทระดับโลกและมีการส่งออกวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง, ฮ่องกง ศูนย์กลางการเงินที่แม้แต่บริษัทดัง ๆ จากจีนก็ต้องมาจดทะเบียนในตลาดนี้, อินเดีย ที่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแทนจีนและแข็งแกร่งมากในด้าน STEM, อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและในบรรดาประเทศมุสลิมทั้งหมด ไปจนถึงสิงคโปร์ ที่เป็นศูนย์กลางการเงินอีกแห่งในเอเชียและผลิตสตาร์ทอัพออกมามากมาย
โอกาสแห่งอนาคตของเอเชียถูกเน้นย้ำให้ชัดเจนขึ้นไปอีกจากเรื่องราวการเติบโตที่กำลังจะมาถึง เพราะสหรัฐฯ และยุโรปจะโตได้ไม่เกิน 2% ต่อปี ในปี 2023 และ 2024 จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สวนทางจีนและอินเดียที่โตได้มากกว่า 4.5% ต่อปีในช่วง 2 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ ถ้ามองภาพให้ใกล้กับปัจจุบันมากขึ้น เศรษฐกิจในฝั่งตะวันออกเดินหน้าฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังจากที่จีนประกาศเปิดประเทศ ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญต่อการเติบโตของตลาดหุ้นเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในปีนี้ หลังจากได้ปรับฐานลงจากจุดสูงสุดก่อนการระบาดของ Covid-19 จนมีมูลค่าที่น่าสนใจ ในขณะที่ตลาดหุ้นฝั่งตะวันตกยังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อสูง แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง และการเข้าสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรป
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย หรือ B-ASIA เปิดโอกาสการลงทุนในตลาดเอเชียอันร้อนแรงผ่านหน่วยลงทุนของ Invesco Funds – Invesco Asian Equity Fund, Class C (AD) USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุน B-ASIA มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลักที่มีนโยบายการดำเนินงานแบบ Active Management
ทั้งนี้ กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีลักษณะ ดังนี้
กลยุทธ์ของกองทุนหลักซึ่งบริหารจัดการโดย Invesco Management SA คือ การสร้างผลตอบแทนระยะยาวในตลาดเอเชียด้วยการเสาะหาบริษัทที่มีรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน สร้างเงินสดเก่ง มีงบดุลแข็งแกร่ง แต่อาจอยู่นอกความสนใจของตลาดชั่วครั้งชั่วคราว แล้วเข้าซื้อในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงที่สุด
Invesco Asian Equity Fund เป็นกองทุนที่มีผลงานน่าประทับใจ ได้เรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar นอกจากนี้ กองทุนหลักยังสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงกว่าดัชนี MSCI AC Asia ex Japan ซึ่งเป็น benchmark ของกองทุนมาได้อย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 1: Invesco Asian Equity Fund Cumulative Performance, Source: Invesco Asian Equity Fund Factsheet as of 30/4/2023
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รูปที่ 2: Invesco Asian Equity Fund Top 10 Holdings, Source: Invesco Asian Equity Fund Factsheet as of 30/4/2023
การปรับสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนหลักสะท้อนให้เราเห็นได้ชัดเจนว่ากองทุนนี้คือกองทุนที่พร้อมรับทุกโอกาสในเอเชีย ไม่จำกัดอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป อย่างล่าสุด Invesco Asian Equity Fund มีการปรับสัดส่วนหุ้นจีนลงจากเมื่อสิ้นเดือนมกราคม 1.6% และให้น้ำหนักในตลาดอินเดียเพิ่มขึ้นผ่านการลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท Housing Development Finance Corp (HDFC) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อด้านการเคหะของอินเดีย
ในบรรดา 5 บริษัทที่ทางกองทุนหลักถือหุ้นเอาไว้มากที่สุด ก็มีเพียงกองทุนเดียวที่เป็นบริษัทจีน คือ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีทั้งแพลตฟอร์มสื่อสาร (WeChat และ QQ) ดิจิทัลคอนเทนต์ (WeTV) และธุรกิจฟินเทค ส่วนบริษัทอื่น ๆ ได้แก่ TSMC ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน และ Samsung Electronics ของเกาหลีใต้
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทชั้นนำอีกหลายบริษัทที่ทางกองทุนเข้าไปลงทุน เช่น AIA Group บริษัทประกันภัยชั้นนำจากฮ่องกง Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซจากจีนที่ยังมีธุรกิจคลาวด์และมีเดียในมือ Ping An Insurance แบรนด์ประกันจีนที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก NetEase ผู้ผลิตเกมจากจีนเจ้าของเกม Identity V และเกมอื่น ๆ Samsung Fire & Marine Insurance บริษัทประกันอัคคีภัยและประกันทางทะเลของ Samsung บริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ และ ICICI Bank อีกหนึ่งธนาคารชั้นนำจากอินเดีย
รูปที่ 3: เปรียบเทียบการจัดสรรการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนหลัก Invesco Asian Equity Fund เมื่อสิ้นสุดเดือนมกราคมและมีนาคม, Source: หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญกองทุนรวมบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) รอบกุมภาพันธ์ 2566 และรอบเมษายน 2566
กองทุน B-ASIA เป็นกองทุนในกลุ่ม Asia Pacific ex Japan ที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทเอเชีย บริษัทที่มีธุรกิจหลักในเอเชีย หรือบริษัทโฮลดิ้งที่มีการลงทุนหลักในบริษัทเอเชีย ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันอันยั่งยืน เน้นการเติบโตระยะยาวสอดคล้องไปกับโอกาสการเติบโตในอนาคตของภูมิภาค สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/fund-b-asia
แหล่งอ้างอิง
https://www.invesco.ch/en-ch/fund-centre/invesco-asian-equity-fund?audienceType=investor
https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/summary
https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-asia/asia#content
https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2023/04/11/world-economic-outlook-april-2023
https://www.worldometers.info/geography/7-continents/
https://www.mckinsey.com/featured-insights/asia-pacific/why-the-future-is-asian
https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=904&language=ENG
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
เมื่อพูดถึงการลงทุนหลายคนย่อมมองเห็นข้อดีชัดกว่าข้อเสียว่าเป็นวิธีที่ได้มาซึ่งผลกำไรในการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง แต่สิ่งสำคัญที่คนมักมองข้ามไปคือ การระวังตัวและรู้เท่าทันกลโกงการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะมิจฉาชีพในปัจจุบันพยายามคิดแผนการใหม่ ๆ มาอยู่เสมอเพื่อหลอกล่อให้ผู้เริ่มต้นลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์หลงเชื่อ บทความนี้ขอรวบรวมประโยคทองที่มิจฉาชีพชอบใช้ไว้ชวนลงทุน พร้อมคำแนะนำในการหลีกเลี่ยงกลโกงเหล่านี้เพื่อเป็นแนวทางให้คุณเริ่มต้นการลงทุนได้อย่างปลอดภัย
รูปแบบประโยคที่สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูง โดยไม่มีโอกาสที่จะสูญเสียเงินลงทุนเลย แท้จริงแล้วต้องจำไว้ว่าการลงทุนทั้งหมดมีความเสี่ยงในระดับหนึ่งที่ต่ำหรือสูงแตกต่างกันไป และการลงทุนจากบริษัทหรือตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องเปิดเผยเกี่ยวกับความเสี่ยงล่วงหน้าด้วย
ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:
“ลงทุน 1,000 บาทวันนี้ รับผลตอบแทน 10,000 บาทในเวลาเพียง 1 เดือน เรารับประกัน!”
วิธีหลีกเลี่ยง:
เพราะการลงทุนต่ำเพื่อได้ผลตอบแทนสูง ๆ โดยไม่มีความเสี่ยง ไม่มีอยู่จริงในโลกของการลงทุน หากคุณลองหาข้อมูลเกี่ยวกับการเชิญชวนลงทุนของบริษัท/สถาบันที่น่าเชื่อถือ จะเห็นได้ว่ามีการระบุความเสี่ยงมาด้วยทั้งนั้น นอกจากเรื่องประโยคเชิญชวนแล้ว ให้สังเกตดูความน่าเชื่อถือ ความเป็นทางการของผู้เชิญชวนก็จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้
สแกมเมอร์มักจะเล่นกับความต้องการของคนที่อยากจะเป็นคนพิเศษเพื่อมอบสิทธิพิเศษให้ ประโยคแบบนี้จะสร้างความรู้สึกเร่งด่วน เพื่อให้เหยื่อรู้สึกกลัวที่จะพลาดสิทธิพิเศษนี้ไป (FOMO) เพื่อจะได้รีบตอบรับการเชิญชวนโดยไม่ให้มีคำถามหรือข้อสงสัย
ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:
“เราขอมอบโอกาสในการลงทุนให้คุณโดยเฉพาะ จำกัดเพียง 10 รายเท่านั้น เปิดพอร์ตเลยทันที ก่อนที่จะสาย!”
วิธีหลีกเลี่ยง:
หากเจอประโยคเหล่านี้ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าเป็นประโยคจากมิจฉาชีพ เพราะโดยทั่วไปแล้วโอกาสในการลงทุนที่ถูกต้องตามกฎหมายจะมีเวลาให้นักลงทุนได้ศึกษา หรือเปิดเผยรายละเอียดให้เราได้หาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะตามกฏหมายผู้เชิญชวนจะไม่สามารถเร่งให้ลงทุนทันทีได้
เทคนิคนี้มิจฉาชีพพยายามใช้การโฆษณาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับธุรกิจใหม่ เทคโนโลโยีใหม่หรือแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน หรือเคยอาจได้ยินชื่อมาบ้าง และมีการสัญญาว่าจะได้ผลตอบแทนมหาศาลจากการลงทุนเพราะเป็นกลุ่มแรก ๆ
ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:
“มาเป็นคนแรกที่ร่วมลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ ใช้ Super AI จัดการ พร้อมรอรับผลตอบแทนมหาศาล”
วิธีหลีกเลี่ยง:
จากรูปแบบดังกล่าว เห็นได้ว่ามิจฉาชีพจะใช้ความไม่รู้ของคนเป็นช่องทางในการเชิญชวน หากเราสงสัยสิ่งที่ควรทำคือหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เพิ่มเติม ว่ามีธุรกิจหรือเทคโนโลยีแบบนั้นจริงหรือไม่ รวมถึงการค้นหาข้อมูลของผู้เชิญชวนหรือบริษัทที่ถูกอ้างถึงด้วย เพราะส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะอาจอ้างถึงสถาบันการเงินหรือบริษัทลงทุนที่มีชื่อเสียงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
อีกหนึ่งวิธีสุดแยบยลของมิจฉาชีพคือจะหาจุดเชื่อมโยงกับบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่คนคุ้นหน้า เพื่อเป็นสะพานไปสู่ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ รูปแบบที่พบบ่อยคือ แบนเนอร์โฆษณาที่มีประโยคเชิญชวนการันตี พร้อมกับภาพตัดต่อของผู้ที่มีชื่อเสียงเข้าไปอยู่ในนั้น ให้เหมือนกับว่าเป็นพรีเซนเตอร์เชิญชวนคนมาลงทุน
ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:
“ลงทุนกับเรา การันตีโดย (ชื่อคนที่มีชื่อเสียง) รับผลตอบแทนหลายเท่าตัว”
วิธีหลีกเลี่ยง:
ตรวจสอบจากช่องทางหลักอย่างเป็นทางการของผู้มีชื่อเสียงคนดังกล่าวว่ามีการเชิญชวนให้ลงทุนนี้หรือไม่ และสอบถามไปยังบริษัทที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์การลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
เทคนิคนี้สแกมเมอร์มุ่งเป้าไปที่ผู้เริ่มต้นที่อาจมีความรู้สึกหนักใจกับความซับซ้อนและข้อมูลที่มากมายประกอบการลงทุน โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีเชิญชวนพร้อมประโยคที่ทำให้รู้สึกว่าเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและจะจัดการทุกอย่างให้ โดยอ้างว่าเขาหรือบริษัทที่แอบอ้างมีความรู้และมีประสบการณ์มากมาย
ตัวอย่างประโยคของมิจฉาชีพ:
“เรามีทีมที่เชี่ยวชาญจัดการพอร์ตให้ รับผลตอบแทนได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องพยายาม!”
วิธีหลีกเลี่ยง:
วิธีการนี้มิจฉาชีพจะใช้ความง่ายเข้ามาจัดการในสิ่งที่คุณคิดว่ามันยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในโลกขอวการลงทุนนั้น การหาความรู้ให้ตัวคุณเองนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ และควรหลีกเลี่ยงการพึ่งพาผู้อื่นในการจัดการการลงทุนให้ ไม่ควรมอบสิทธิ์หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นมาควบคุมการเงินของคุณด้วย
บทสรุป
เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการได้รับข้อความเชิญชวนดังที่กล่าวมาได้ แต่กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณเลี่ยงจากการสูญเสียทรัพย์สินเงินลงทุนได้นั้นคือ การหาข้อมูลและทำความเข้าใจข้อเท็จจริง ดูข้อมูลลงทุนต่าง ๆ จากแหล่งที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยใช้เวลาในการศึกษา เปรียบเทียบ และประเมินความเป็นไปได้ หากคุณรู้จักที่ปรึกษาทางการเงินก็ขอคำแนะนำได้โดยตรง อย่าปล่อยให้ความโลภหรือความกลัวที่จะพลาด มาทำให้คุณต้องตัดสินใจผิดพลาด ควรตระหนักรู้ว่าประโยคหลอกลวงมีอยู่ทั่วไปและทุกวันนี้ก็เข้าถึงตัวเราได้ง่ายขึ้น หากมีความระมัดระวังอยู่เสมอก็จะสามารถปกป้องตัวเองและทรัพย์สินให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพได้
อ้างอิง: Bitkub Blog, Investright.org
บทความโดย Bitkub.com
ติดตามบทความและข่าวสารที่น่าสนใจในวงการคริปโตฯ ได้ที่ Bitkub Blog
คำเตือน
วันนี้ (31 พฤษภาคม 2023) ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI) ปรับตัวลง 2.3% และตลาดหุ้นจีน (CSI300) ปรับตัวลง 1% หลังจีนรายงานดัชนี PMI ต่ำกว่าคาด โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมของจีนอยู่ในโซนหดตัวที่ 48.8 แย่กว่าตลาดคาดที่ 51.4 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 49.2 ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการบริการอยู่ที่ 54.5 ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 54.9 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 56.4 โดยภาคการผลิตจีนได้รับปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศยังอ่อนแอเนื่องจากสหรัฐฯซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนี้บรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงยังถูกกดดันจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลังสหรัฐฯกล่าวหาจีนว่าได้มีการซ้อมอย่างแข็งกร้าวโดยไม่จำเป็น รวมถึงจีนปฏิเสธคำเชิญจากสหรัฐฯสำหรับเข้าร่วมประชุมของฝ่ายกลาโหม ซึ่งจะมีตัวแทนจากปลายประเทศเข้าร่วมประชุมในสัปดาห์นี้
FINNOMENA Investment Team มองว่าในช่วงสั้นแนวโน้มเศรษฐกิจจีนเริ่มสะดุดจากการฟื้นตัวไม่เต็มของภาคการบริโภค ซึ่งสะท้อนจากความมั่นใจผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากจากระดับหนี้ของจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่เราคาดว่าในระยะถัดไปเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวได้ต่อหลังจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางฟื้นตัวมากขึ้นหลังยกเลิกมาตรการ Zero Covid
ตลาดหุ้น All China มี Valuation ลดลงมาใกล้จุด -1 S.D. เมื่อเทียบกับหุ้นโลก เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน เนื่องจากราคาลงมาในจุดที่ Valuation น่าสนใจ อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมี Upside ให้ฟื้นตัว
——————-
บริษัทผลิตชิปคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐฯ อินวีเดีย (Nvidia Corp) กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าถึงหนึ่งล้านล้านดอลลาร์รายล่าสุดในวันอังคาร ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ในปัจจุบัน
ทำให้มูลค่าหุ้นของ Nvidia พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว 25% เมื่อสัปดาห์ที่แล้วจนแตะระดับ 411 ดอลลาร์ต่อหุ้นในขณะนี้ และทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งขึ้นไปแตะระดับ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งพอๆ กับบริษัทเทคโนโลยี อัลฟาเบ็ต (Alphabet) เจ้าของกูเกิล (Google)
Nvidia ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งที่ 5 ที่มีมูลค่าแตะระดับหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ ต่อจาก แอปเปิล (Apple), อัลฟาเบ็ต (Alphabet), ไมโครซอฟต์ (Microsoft) และ แอมะซอน (Amazon)
ขณะที่ Cathie Wood ซีอีโอของ Ark Invest มองว่า หุ้น Nvidia ที่เป็นลูกรักของนักลงทุนตอนนี้มูลค่า ‘แพง’ เกินแล้ว
Cathie Wood กล่าวใน Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 พ.ค.) ว่า บริษัทชิปที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกมีราคาแพงเกินไปแล้ว หลังกองทุน ARKK ของบริษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นเมื่อต้นเดือน ม.ค. ก่อนที่ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จนมีมูลค่าตลาด 1 ล้านล้านดอลลาร์
ที่มา: https://www.voathai.com/a/nvidia-joins-trillion-dollar-club-on-booming-ai-demand/7115458.html
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
รู้หรือไม่ว่าสิ่งสำคัญของการออมเงิน นอกจากวินัยการออมก่อนใช้แล้ว ก็ควรแยกบัญชีเงินออมออกจากบัญชีเงินเดือนหรือบัญชีทั่วไป เพื่อจัดสรรเงินให้เป็นสัดส่วน รู้ว่าเงินส่วนไหนใช้ทำอะไรบ้าง โดยเราควรแบ่งเงินออมออกเป็น 3 ส่วนตามเป้าหมายทางการเงิน ดังนี้
จะเห็นได้ว่านอกจากจะแบ่งเงินออมตามเป้าหมายของการลงทุนแล้ว ยังต้องจับคู่สินทรัพย์ให้เหมาะสมอีกด้วย เพราะถ้าเราจับคู่ไม่ถูก อย่างเช่น เก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ในบัญชีหุ้น เพราะมีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่า หากเกิดเหตุที่จำเป็นต้องรีบใช้เงินขึ้นมา จะไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที หรือถ้าตอนนั้นพอร์ตยังแดงอยู่ก็จะทำให้เราขาดทุนได้ หรืออยากซื้อบ้านด้วยเงินสดภายใน 1 ปี เลยนำเงินทั้งหมดที่มีไปลงทุนในคริปโตฯ เพื่อหวังรวยทางลัด จะได้มีเงินมาซื้อบ้านเร็ว ๆ แต่อยู่ดี ๆ โดนเจ้าทุบตลาดร่วง ขาดทุนหนักมาก บ้านที่เราฝันเอาไว้ก็คงเหลือแต่เสา
ซึ่งใครจะจัดสรรเงินออมเข้าบัญชีไหน เท่าไหร่บ้างนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับความความสำคัญ, จุดประสงค์ และเงื่อนไขทางการเงินของแต่ละคน แต่จะขอยกตัวอย่างให้ดูง่าย ๆ ตามตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง หากเงินเดือน 30,000 บาท แบ่งออม 20% (6,000 บาท) ตามเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น กลาง ยาว จะสามารถแบ่งเงินออมออกเป็น 3 ส่วน ได้ดังนี้
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าคนเราต่างมีเป้าหมายทางการเงินที่หลากหลาย ถ้าสามารถรวมทุก ๆ เป้าหมายให้อยู่ในที่เดียวกันหรือบัญชีเดียวกันได้ก็คงจะสะดวกดีไม่น้อย ดังนั้นทาง FINNOMENA ขอแนะนำ “Goals Navigator” นวัตกรรมที่สามารถวางแผนทุกช่วงชีวิตให้ครบจบในที่เดียว รวมทั้งสามารถคาดการณ์ผลตอบแทน เพื่อจัดสรรเงินลงทุนตามลำดับความสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพได้สูงสุด
“FINNOMENA Goals Navigator™” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก >> https://finno.me/gnavi-web
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
30 พฤษภาคม 2023 ถือเป็นวันที่เศร้าวันหนึ่งของโลกการลงทุน หลังเราได้สูญเสียนักลงทุนระดับตำนาน William O’Neil ไปในวัย 90 ปี
ตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ William O’Neil ได้ฝากมรดกแก่นักลงทุนรุ่นหลังไว้มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือแนวคิดการลงทุนแบบผสมผสาน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CAN SLIM ซึ่งอยู่ในหนังสือ How to Make Money in Stocks
นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่เป็นองค์ความรู้ต่อการลงทุนอีกหลายเล่ม เช่น How to Make Money Selling Stocks Short, The Successful Investor, 24 essential lessons for investment success และ Comment gagner avec les actions เป็นต้น
William O’Neil ยังได้สร้างคุณูปการต่อสังคมการลงทุน ด้วยการก่อตั้ง Investor’s Business Daily หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ด้านการลงทุน เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักลงทุนทั่วโลก
ในพาร์ทของอาชีพการลงทุนเอง William O’Neil ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง และทำกำไรได้มหาศาล โดยเริ่มต้นจากการเป็นโบรกเกอร์ให้กับ Hayden, Stone and Company
เขาเป็นคนแรก ๆ ที่พัฒนาโมเดลการลงทุนโดยใช้คอมพิวเตอร์ จนสามารถสร้างกลยุทธ์ CAN SLIM และประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงปี 1962 – 1963 ที่สามารถทำกำไรได้ถึง 40 เท่า เปลี่ยนเงินทุนเริ่มต้น 5,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปเป็น 200,000 ดอลลาร์ ภายในเวลาเพียง 1 ปี
หลังจากนั้นจึงได้ออกมาก่อตั้ง William O’Neil and Co. บริษัทโบรกเกอร์ที่มุ่งเน้นการทำงานวิจัยและนำเสนอข้อมูลตลาดหุ้นให้แก่นักลงทุนสถาบัน
CAN SLIM คือ สูตรคัดเลือกหุ้นแบบผสมผสานระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) กับ การวิเคราะห์กราฟเทคนิค (Technical)
ประกอบด้วยหลัก 7 ข้อตามตัวอักษร แบ่งเป็นปัจจัยเชิงพื้นฐาน ได้แก่ C-A-N และเชิงเทคนิค ได้แก่ S-L-I-M ดังนี้
ประโยชน์ของการค้นหาหุ้นด้วย CAN SLIM ทำให้เรามีสามารถพบเจอหุ้นดีที่สร้างการเติบโตต่อเนื่อง ในราคาที่เหมาะสม และมีโอกาสที่จะเติบโตได้ต่อไปในอนาคต
นอกจากจะสร้างไอเดียการลงทุนระดับโลกแล้ว William O’Neil ยังคอยฝากแนวคิดให้แก่นักลงทุนรุ่นหลังอยู่เสมอ ๆ ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในแนวคิดที่มีชื่อเสียง โดยนิยามสิ่งที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นนักลงทุนที่ดียิ่งขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ William O’Neil ได้ฝากความรู้ด้านการลงทุนเอาไว้แก่โลกใบนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเป็นรากฐานสำคัญให้สังคมการลงทุนเติบโตดียิ่งขึ้นต่อไป
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม – ลงทุนแบบ William O’Neil คว้าหุ้นโตทะยานฟ้า ด้วย 7 เคล็ดวิชาพื้นฐานผสานเทคนิค
“หลายปีที่ผ่านมา ผมทำผิดพลาดไปหลายครั้ง”
วอร์เรน บัฟเฟตต์ อุทิศเนื้อที่ส่วนแรก ๆ บนจดหมายให้กับความถ่อมตัวของเขา
“เราจึงมีธุรกิจที่มีผลงานน่าอัศจรรย์ใจจริง ๆ อยู่ในมือน้อยตัวนัก” เขาอธิบายต่อ “หลาย ๆ ธุรกิจในมือก็มีผลงานที่ดีใช้ได้ แต่กลุ่มใหญ่ ๆ เลยกลับร่อแร่จนเกือบขาดทุน”
แทบจะเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วที่เราจะได้เห็นหัวเรือใหญ่ของ Berkshire Hathaway เริ่มต้นจดหมายจากปลายปากกาของเขาด้วยความผิดพลาดของเขาเอง ทั้งนี้ ‘จดหมายจากบัฟเฟตต์’ คือส่วนหนึ่งในรายงานประจำปีของบริษัทและเป็นเหมือนคัมภีร์ไบเบิลฉบับรายปีที่นักลงทุนทั่วโลกตั้งตารอคอย
‘การยอมรับความผิดพลาด’ ซึ่งเป็นเรื่องแรก ๆ ที่เขาสื่อสารออกมาในข้อเขียนถึงนักลงทุนทั่วโลก จึงเป็นคำสำคัญที่นักลงทุนน่าหยิบไปคิดต่อ เพราะจากเนื้อความที่เขาจะอธิบายต่อจากนี้ จะเห็นได้ชัดว่า การพูดถึงก้าวที่พลาดพลั้ง ไม่ใช่การถ่อมตนจนเกินเลยของพ่อมดแห่งโอมาฮา แต่กลับเป็นแก่นสารของการสร้างพอร์ตการลงทุนระยะยาวที่ดลบันดาลผลตอบแทนให้เขาได้ราวกับเวทมนตร์ในอัตราทบต้น 19.8% ต่อปี ติดต่อกัน 58 ปี
บัฟเฟตต์พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่หลายปีว่า หุ้นเพียงไม่กี่ตัวก็สามารถพลิกการลงทุนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ดังนั้น การยอมให้กับการลงทุนที่ผิดพลาดบ้างในบางครั้งจึงเป็นเรื่องที่ทำได้
เขายกตัวอย่างการลงทุนของตัวเองเพื่อเน้นย้ำถึงเรื่องสำคัญเรื่องนี้ในจดหมายฉบับล่าสุดว่า “การบริหารงานของผมตลอด 58 ปี ที่ Berkshire การตัดสินใจส่วนใหญ่เข้าข่ายธรรมดา ๆ” บัฟเฟตต์ยืนยันว่า ผลลัพธ์อันน่าประทับใจของเรา “มาจากการตัดสินใจที่ดีเยี่ยมจริง ๆ ซึ่ง 5 ปี จะมีมาให้เห็นสักครั้ง”
เพื่ออธิบายเรื่องนี้ให้เห็นภาพชัด ๆ บัฟเฟตต์พาเราไปยังเมืองโอมาฮา ในปี 1994 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของมหากาพย์ 7 ปีของ Berkshire Hathaway ในการทุ่มซื้อหุ้น Coca-Cola จำนวน 400 ล้านหุ้น ที่มูลค่ารวม 1,300 ล้านเหรียญ และต่อมาเพียงหนึ่งปี พวกเขาก็ทุ่มซื้อหุ้น American Express ในมูลค่าเท่ากัน
กลับมายังปัจจุบัน การลงทุนในหุ้นน้ำอัดลมของเขาทะยานขึ้นมามีมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญ ส่วนหุ้นบัตรเครดิตก็เติบโตไม่แพ้กัน โดยมีมูลค่าปัจจุบัน 22,000 ล้านเหรียญ ซึ่งรวม ๆ หุ้นทั้งสองจะมูลค่ารวมกันราว 1 ใน 10 ของการลงทุนทั้งหมดที่ Berkshire ปี 2022
บัฟเฟตต์สมมติขึ้นมาว่า ถ้าบังเอิญในทศวรรษ 1990 เขาได้ตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวที่ 3 ในมูลค่า 1,300 ล้านเหรียญ เท่ากับ Coca-Cola และ American Express แต่การลงทุนเจ้ากรรมตัวนี้ดัน ‘ผิดพลาด’ และราคาไม่เพิ่มเลยในเวลา 30 ปี ซึ่งทำให้มูลค่าปัจจุบันของหุ้นนี้อยู่ที่ 1,300 ล้านเหรียญเท่าเดิม
ความผิดพลาดก้อนนี้ก็จะเป็นเศษเสี้ยวเพียง 0.03 ใน 10 ของการลงทุนทั้งหมด (เทียบกับ Coca-Cola บวกกับ American Express ที่มีมูลค่า 1 ใน 10) เพราะการตัดสินใจดี ๆ บางตัว (บวกกับการลงทุนระยะยาว) เข้ามาชดเชยการลงทุนแย่ ๆ นิทานของบัฟเฟตต์เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “วัชพืชจะเฉาตายเมื่อมวลไม้ใหญ่ผลิบาน”
“ชาร์ลีและผมไม่ใช่นักเลือกหุ้น เราเป็นนักเลือกธุรกิจต่างหาก”
บัฟเฟตต์อธิบายถึงสิ่งที่ตัวเขา ชาร์ลี มังเกอร์ คู่หูของเขา รวมถึงทีมงานทุกคน ทำกันที่ Berkshire นี่คือประโยคที่อธิบายปรัชญาการลงทุนของเขาได้ดีที่สุด และยังเป็นเรื่องราวอันดับหนึ่งที่เขาย้ำนักย้ำหนากับนักลงทุน
เรื่องนี้ช่วยเติมเต็มเรื่องราวที่เล่าไปก่อนหน้าได้เป็นอย่างดีว่าเราจะหา ‘การลงทุนที่ดี’ เพื่อลบล้างการตัดสินใจแย่ ๆ ได้อย่างไรในระยะยาว ซึ่งบัฟเฟตต์อธิบายว่าเราจะต้องหา “ธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตที่ยั่งยืนและทีมบริหารที่วางใจได้” และลงทุนในธุรกิจเหล่านั้น
เป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าการลงทุนที่ดีต้องมีศักยภาพเติบโต แต่อีกคำที่น่าสนใจในคำพูดของบัฟเฟตต์คือการมองหาผู้บริหารที่ดี และเขาก็พูดเอาไว้ชัดเจนว่า “ถ้าธุรกิจจะผิดพลาดบ้างเราเข้าใจ แต่ถ้าผู้บริหารประพฤติไม่เหมาะสมเรื่องนี้เราจะไม่ทนเด็ดขาด”
คำพูดนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนอย่างยิ่งว่า เมื่อ Berkshire จะลงทุน พวกเขาลงทุนไปกับ ‘ธุรกิจทั้งกระบวน’ ไล่ไปตั้งแต่ทีมผู้บริหารไปจนถึงพนักงานที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจขึ้น ไม่ใช่ลงทุนในหุ้นและอาศัยการขึ้นลงของราคาหลักทรัพย์ตามความคาดหวังตลาดเพื่อสร้างผลตอบแทน
จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบัฟเฟตต์ถึงให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อของทีมบริหารในระดับที่ตัวเขาเองก็ยอมรับว่า “อาจสุดโต่งไปด้วยซ้ำหากมองจากมุมของคนอื่น”
ถ้าจะมีที่ไหนสักที่ที่จะมอบโอกาสอันหอมหวาน (และบางครั้งก็ขื่นขม) ในการเป็นเจ้าของธุรกิจสักตัวหนึ่ง บัฟเฟตต์บอกว่าที่แห่งนั้นก็คือ ตลาดหุ้น
“เรื่องนี้สำคัญมาก คุณต้องเข้าใจว่าหุ้นมักถูกซื้อขายในราคาแสนโง่งมอยู่บ่อยครั้ง บ้างก็แพงหูฉี่ บ้างก็ถูกเหลือเชื่อ” เขาอธิบาย “ทั้งหุ้นและพันธบัตรต่างก็ยุ่งเหยิงไปหมด พฤติกรรมในราคาของสิ่งเหล่านี้จะเป็นที่เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเรากลับมามองย้อนทีหลังเท่านั้นแหละ”
บัฟเฟตต์กล่าวถึงชาร์ลี มังเกอร์ คู่หูผู้เต็มไปด้วยวาจาโผงผางดุดัน ว่าครั้งหนึ่งชายผู้นี้เคยอธิบายถึงโลกการลงทุนเอาไว้ว่า “เต็มไปด้วยนักพนันจอมทึ่ม และคนเหล่านี้จะไม่มีวันทำได้ดีเท่านักลงทุนผู้อดทน”
“แต่เรื่องแบบนี้ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง” บัฟเฟตต์พูดถึงข้อดีของตลาดหุ้นที่นักลงทุนเน้นคุณค่าสามารถฉกฉวยได้ “เพราะบางครั้ง มันก็เปิดโอกาสให้เราได้มีส่วนร่วมในธุรกิจแสนอัศจรรย์ในราคาอันน่าทึ่ง”
แล้วจะทำอย่างไรต่อกับธุรกิจแสนอัศจรรย์นั้น? คำตอบไม่ยาก ครั้งหนึ่ง มังเกอร์เคยกล่าวประโยคที่สะท้อนถึงแนวทางการลงทุนในแบบของ Berkshire เอาไว้ว่า “วอร์เรนกับผมขอเพิกเฉยกับตลาดที่ฟูฟ่อง สิ่งที่เรามองหาคือการลงทุนที่ดี และจะกอดมันเอาไว้อย่างดื้อดึงเป็นเวลานาน”
“ความอดทนฝึกกันได้ สมาธิที่มั่นคงและความสามารถที่จะจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างยาวนานถือเป็นข้อได้เปรียบอันใหญ่หลวง” – ชาร์ลี มังเกอร์
นี่คือคำตอบของคำถามว่าควรทำอะไรเมื่อต้องเผชิญยามยากในโลกแห่งการลงทุน เพราะบัฟเฟตต์เชื่ออย่างแรงกล้าว่า “การคาดเดาเศรษฐกิจและตลาดในอนาคตอันใกล้เป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าไร้ประโยชน์”
เขาอธิบายวิธีการที่ทำให้ Berkshire สามารถถือบริษัทที่ดีในตลาดที่แย่ได้ด้วยจิตใจที่ไม่สั่นไหวว่า “เราถือเงินสดแบบเต็มกระบุงพร้อมด้วยพันธบัตรรัฐบาลอีกไม่น้อย และเราจะเลี่ยงทุกพฤติกรรมที่ทำให้เงินสดขาดมือในยามยาก เช่น เมื่อตลาดตื่นตกใจ” เขาอธิบายต่อ “หน้าที่ของเราคือสร้างผลลัพธ์ที่น่าพอใจเมื่อเวลาผ่านไป”
หลายปีที่ผ่านมา Berkshire เติบโตได้กลาง ๆ เมื่อเทียบกับตลาด แต่ที่น่าสนใจก็คือ ในเวลาที่ผันผวนอย่างปี 2022 กลับเป็นเวลาที่หุ้นของ Berkshire เปล่งประกาย เพราะถูกซื้อขายอยู่ในจุดที่เกือบจะแตะจุดสูงสุดใหม่ สวนทางกับหุ้นร้อนแรงอย่างหุ้นเทคฯ ที่ทำผลงานได้ย่ำแย่
เมื่อสิ้นปี 2022 บริษัท Berkshire Hathaway นั่งตำแหน่งผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดใน 8 บริษัทชั้นนำ ได้แก่ American Express, Bank of America, Chevron, Coca-Cola, HP Inc., Moody’s, Occidental Petroleum และ Paramount Global
นอกเหนือจากรายงานประจำปีที่ Berkshire จะส่งถึงนักลงทุนเป็นประจำทุก ๆ ต้นปี แล้ว ในไตรมาส 2 ซึ่งในปีนี้คือวันที่ 5-6 พฤษภาคม Berkshire ก็จะมีอีกหนึ่งอีเวนต์สำคัญซึ่งก็คืองานประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ เมืองโอมาฮา และนี่จะเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญที่นักลงทุนตั้งตารอ
อ้างอิง
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/warren-buffett-letter-2023/
เคยไหม? ลงทุนมาก็นาน แต่ทำไมไม่ประสบความสำเร็จสักที น้อยใจตัวเอง พูดแล้วก็ท้อ ไม่อยากลงทุนต่อแล้ว
แต่ช้าก่อน.. อย่าเพิ่งถอดใจกันไป เพราะวันนี้เราได้รวบรวม 5 พฤติกรรม ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุนมาฝากนักลงทุนทุกท่านกันแล้ว หากทำตามได้ครบทั้ง 5 อย่างนี้รับรองว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน!
สินทรัพย์ทางการเงินมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ คริปโตเคอร์เรนซี ฯลฯ โดยสินทรัพย์แต่ละประเภทก็มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ตาม ควรทำความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น ๆ พร้อมทำความเข้าใจกับตลาดที่เราจะเข้าไปลงทุนด้วย เช่น หากลงทุนในหุ้น ก็ควรรู้จักหุ้นตัวนั้นว่าบริษัททำธุรกิจอะไร งบการเงินเป็นอย่างไร มีโอกาสเติบโตมากน้อยเพียงใดหากเทียบกับบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม Asset Class คืออะไร?: คำศัพท์การลงทุนที่นักลงทุนต้องทำความรู้จัก
ก่อนที่จะเริ่มลงทุน เราควรวางแผนการลงทุนเสมอ เริ่มด้วยการกำหนดเป้าหมายการลงทุน เพราะหากรู้ว่าเป้าหมายการลงทุนของเราคืออะไรแล้ว ก็จะช่วยให้วางแผนการลงทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงพิจารณาลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ในระยะยาว
เช่น นาย A อายุ 25 ปี ตั้งเป้าหมายไว้ว่า อยากมีเงิน 20 ล้านในวัยเกษียณอายุ 60 ปี แบบนี้ก็จะทำให้ นาย A ทราบได้ว่าเหลือเวลาอีกกี่ปีในการลงทุน ต้องลงทุนในสินทรัพย์อะไร สัดส่วนเท่าไรตามความเสี่ยงที่นาย A รับได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนเกษียณ 20 ล้าน
ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มวางแผนการลงทุนอย่างไร หรืออยากมีตัวช่วยทำให้การวางแผนการลงทุนเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ลองให้ “FINNOMENA Goals Navigator™” ช่วยคุณกับนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทาง FINNOMENA และ Franklin Templeton ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/gnavi-web
หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” กันมาบ้าง สำหรับประโยคนี้ในโลกการลงทุนนั้นหมายถึงการกระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ หรือที่เรียกกันว่า “Asset Allocation” นั่นเอง อย่างที่ทราบกันดีว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนได้ดีในทุกช่วงเวลา เราจึงต้องกระจายลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง สร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุน ลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในช่วงตลาดขาลง พร้อมสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Asset Allocation
ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก๋าในโลกการลงทุน ก็ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนอยู่เสมอ ติดตามสภาวะตลาดและเศรษฐกิจโลกเป็นประจำ เพราะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่นักลงทุนอย่างเรา ๆ ต้องรู้เท่าทันตลาด ยิ่งศึกษามากเพียงใด ก็ยิ่งมีโอกาสชนะตลาดได้มากขึ้น และจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุนได้ง่ายขึ้น
จิตวิทยากับการลงทุนเป็นของคู่กัน สภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอาจทำให้บางครั้งเรานำอารมณ์มาใช้ในการลงทุน ซึ่งการลงทุนที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล อาจทำให้ตัดสินใจพลาดได้ เหมือนคำพูดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณใช้อารมณ์กับการลงทุน คุณจะไม่มีวันทำมันได้ดีเลย” ดังนั้นนักลงทุนที่อยากประสบความสำเร็จต้องรู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ในการลงทุน
— planet 46.
อ้างอิง
https://www.johnhancock.com/ideas-insights/how-to-be-a-good-investor.html
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Cathie Wood ออกมาบอกว่าที่ Ark Invest ตัดสินใจขายหุ้น Nvidia ก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้น 160% เป็นเพราะวัฏจักรที่เฟื่องฟูของอุตสาหกรรมนั้นมี ‘ความเสี่ยง’
ก่อนหน้านี้ กองทุนเรือธงของ Ark Invest อย่าง ARK Innovation ETF หรือ ARKK ได้ ‘ลดสัดส่วน’ หุ้น Nvidia ออกมาในเดือน ม.ค. ทำให้ ‘พลาด’ การทำกำไรในบริษัทที่มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นมามากกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์
ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (25 พ.ค.) เพียงวันเดียว ราคาหุ้น Nvidia เพิ่มขึ้นมา 24% หลังจากออกมาคาดการณ์ว่ายอดขายในไตรมาสนี้จะอยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ถึง 53%
Cathie Wood ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV ว่า ยิ่งราคาหุ้น Nvidia วิ่งไปเท่าไร ยิ่งทำให้ Ark ต้องลดสัดส่วนการลงทุนลงชั่วคราว และเมื่อได้ยินคำว่า ‘ขาดแคลน’ ซ้ำๆ เกี่ยวกับการ์ดจอ (GPU) หรืออะไรก็ตาม มันทำให้ Cathie Wood เริ่มคิดว่าถึงเวลาวัฏจักรของหุ้นกลุ่มนี้แล้ว
Cathie Wood อธิบายต่อว่า Nvidia ยังเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในการผลิตชิปสำหรับโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ที่อยู่เบื้องหลัง AI อย่างเช่น Tesla, Meta และ Alphabet ที่กำลังพัฒนาชิปของตนเอง
ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา กองทุน ARKK ของ Cathie Wood เพิ่มขึ้น 25% แซงหน้า S&P 500 ที่ +9.4% แต่ยังน้อยกว่าดัชนี Nasdaq 100 ที่พุ่งขึ้นมากกว่า 30%
นอกจากนี้ Cathie Wood ยังบอกว่า Ark กำลังเปลี่ยนไปลงทุนหุ้นกลุ่มอื่นที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยค้นพบ เหมือนที่ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า Nvidia คือหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก AI แต่เพิ่งจะมาสนใจกันเมื่อไม่นานมานี้
Cathie Wood กล่าวว่า กลยุทธ์ของ Meta ในการเน้นไปที่ AI นั้น ‘น่าสนใจ’ เพราะโมเดลภาษา LLaMA AI ของ Meta สามารถนำเสนอโมเดลที่ดีกว่า โดยใช้พลังการประมวลผลที่น้อยลงและข้อมูลที่มากขึ้น
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน
ช่วงที่ความไม่แน่นอนมีมากมายในตลาดแต่ราคาสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่กลับไม่เปลี่ยนแปลง ความผันผวนปรับตัวลดลง มักเป็นเวลาเหมาะสมที่นักลงทุนจะตั้งคำถามว่านี่คือ “คลื่นลมสงบก่อนเกิดพายุใหญ่” หรือ “แค่คลื่นรบกวนแต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญ”
สำหรับตลาดการเงิน ความแน่นอนมีอยู่เรื่องเดียวคือไม่มีใครที่จะหยั่งรู้อนาคต
แต่ถ้าอดีตสามารถบอกอะไรเราได้บ้าง การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้มักเกิดจาก “กฎหรือความสัมพันธ์” ของเศรษฐกิจและตลาดการเงินกำลังผิดไปจากประวัติศาสตร์
กฎข้อแรก “บอนด์ยีลด์กลับทิศ” จะตามมาด้วยเศรษฐกิจถดถอยในไม่เกิน 18 เดือน
กลับทิศในที่นี้ผมหมายถึงการที่ยีลด์ระยะสั้นสูงกว่ายีลด์ระยะยาวหรือ Inverted Yield Curve (IYC)
ตั้งแต่ปี 1950 กฎข้อนี้ทำนายเศรษฐกิจถดถอยถูกทุกครั้ง โดยเฉลี่ยเศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยภายใน 17-19 เดือนจากการกลับทิศเดือนแรก
รอบนี้ยีลด์ระยะยาว (10ปี) ต่ำกว่าระยะสั้น (2ปี) ตั้งแต่มีนาคม 2022 ดังนั้นเดือนสิงหาคมถึงกันยายนจึงเป็นช่วงที่ต้องจับตามากที่สุด
อย่างไรก็ดี การทำนายเศรษฐกิจถดถอยนั้นมักถูกต้องเสมอถ้าตลาดรอได้นานพอ เช่นในปี 1965 เศรษฐกิจถดถอยเกิดหลังยีลด์กลับทิศนานถึง 48 เดือน!
สำหรับครั้งนี้ผมมองว่า IYC เกิดด้วยเหตุผลอื่นไม่ใช่ภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นไปได้สูงที่กฎข้อนี้อาจไม่จริงเป็นอย่างแรก
กฎข้อสอง ดอกเบี้ยขาขึ้นจะจบด้วยวิกฤติทางการเงิน
ย้อนกลับไปในอดีตที่ใกล้ที่สุด 40 ปี กฎข้อนี้เป็นจริงเสมอ เพราะมีทั้ง Great Financial Crisis ปี 2008 Dot Com ปี 2000 Asian Crisis ปี 1997 ไปจนถึง S&L Crisis ปี 1986 ทั้งหมดล้วนมีดอกเบี้ยขาขึ้นที่สูงเกินกว่า 5% เป็นองค์ประกอบของวิกฤติ
ครั้งนี้เริ่มเห็นวิกฤติภาคการธนาคารจากการไหลออกของเงินฝาก แต่ปัญหานี้อาจไม่ลามไปเป็นวิกฤติเพราะความแตกต่างเรื่องการใช้ตราสารทางการเงินที่น้อย โครงสร้างเศรษฐกิจอยู่บนธุรกิจที่ไม่ต้องพึ่งการกู้ยืม ขณะที่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real residential investment) ต่อจีดีพีก็เหลือเพียง 2-3% จากในอดีตก่อน GFC ที่ราว 5-8% นี่เป็นกฏที่อาจแตกเป็นข้อสอง
กฎข้อสาม ธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ลดดอกเบี้ยในช่วงที่การว่างงานต่ำและเงินเฟ้อสูง
ย้อนกลับไปในอดีต ช่วงการลดดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงที่สุดคือปี 2019 และ 2001 อัตราการว่างงานต่ำราว 4% แต่ต้องเงินเฟ้อต่ำติดเป้าหมายที่ 2% ด้วย หรือการลดดอกเบี้ยปี 1970 และ 1987-89 เงินเฟ้อสูง 6-7% เท่าปัจจุบัน แต่การว่างงานก็ต้องสูงเกิน 5%
ครั้งนี้ความแตกต่างอยู่ที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ถ้าไม่นับราคาที่อยู่อาศัยและรถมือสอง ล่าสุดปรับตัวลงและคาดว่าจะกลับมาที่เป้าหมายได้แล้ว ขณะที่รายงานใน Beige Book ก็ชี้เช่นกันว่าการว่างงานที่ต่ำไม่ได้เกิดจากเศรษฐกิจดี แต่มาจากความกังวลกับการหาแรงงานใหม่จนไม่กล้าปลดคนงานต่างหาก
กฎข้อสี่ เพดานหนี้มีไว้ต่อรองแต่จะผ่านได้ด้วยการเพิ่มหนี้ทุกครั้ง
แม้ครั้งที่แย่ที่สุดในปี 2011 จะนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ แต่ในทุกครั้งนักการเมืองก็ตกลงกันได้เสมอ
ผมเชื่อว่าครั้งนี้แม้อาจหาทางออกได้ แต่จุดเริ่มต้นมาจากระดับหนี้ต่อจีดีพีที่สูงสุดในประวัติศาสตร์และแทบไม่มีทีท่าที่จะหาทางหยุดการขาดดุลการคลังได้อาจทำให้ปัญหาไม่จบ
เพดานหนี้อาจพัฒนาไปเป็นเกมส์การเมืองเพื่อกดดันพรรค Democrats สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2024 ปัญหานี้จึงอาจจบไม่สนิท และเลื่อนข้อตกลงจนเศรษฐกิจสหรัฐต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยระยะสั้น เป้าหมายไปจบที่กฎการเมืองอีกข้อว่า ประธานาธิบดีที่บริหารเศรษฐกิจจนถดถอยจะแพ้เลือกตั้งในสมัยหน้า
กฎข้อห้า ตลาดหุ้นจะปรับฐานก่อนเศรษฐกิจถดถอยและจะฟื้นตัวเมื่อเศรษฐกิจแตะจุดต่ำสุด
ในอดีต S&P500 มักทำจุดต่ำสุดก่อนเศรษฐกิจถดถอย การปรับตัวลงมักเกิดขึ้นใกล้กับการเกิด Recession ราว 30-50 วัน โดยเฉลี่ยนจะปรับตัวลงราว 15-20%
แต่ครั้งนี้ ผมมองว่าเป็นไปได้สองกรณี แบบแรกคือไม่สนใจเศรษฐกิจเลยเพราะ หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ทำให้ตลาดหุ้นไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐเหมือนทุกครั้ง ความต่างนี้อาจทำให้การปรับตัวลงดูเบา และไม่รุนแรงถึงกับเป็นจุดต่ำสุดใหม่
หรือแบบที่สองคือผลพวงจากเศรษฐกิจถดถอย ถึงจะทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาเช่นวิกฤติภาคการธนาคาร นั่นหมายความว่า Recession อาจเกิดขึ้นก่อน Market Bottom ไม่ใช่ที่ตลาดจะปรับฐานก่อนเหมือนทุกครั้ง
ผมมองว่าความ “คิดต่าง” เหล่านี้เป็นแรงต้านที่ทำให้ตลาดไม่ปรับตัวลงทันที หรือความเสี่ยงอาจถูกเลื่อนออกไปไกลว่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพราะตลาดการเงินก็ไม่ต่างจากสังคมที่ “กฎมีไว้แหก” และ “ความสัมพันธ์มีไว้ทำลาย”
ความเชื่อของตลาดและการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และเราจะได้เห็นพร้อมกันจากนี้เป็นต้นไปครับ
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
การเมืองล่าสุดที่พรรค “ฝ่ายซ้าย” กำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาล นี่ก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยยังไม่เคยเจอ ในมุมมองคิดว่าตลาดหุ้นนั้น ชอบความเป็น “ทุนนิยมเสรี” มากกว่าการเป็น “สังคมนิยม”
ในช่วงที่กำลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และดัชนีตลาดหุ้นก็ตกลงมาพร้อม ๆ กันจนดูเหมือนว่าการจัดตั้งและการมีรัฐบาลที่มีนโยบายหรือมีแนวความคิดทางการปกครองและการบริหารงาน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ อาจจะมีผลต่อตลาดหุ้น นั่นก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “รัฐบาล” ว่าที่จริง ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอย่างในสหรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทุก 4 ปี ก็มีการศึกษาว่าระหว่างรัฐบาลที่มาจากพรรคเดโมแครทซึ่งเป็นพรรคที่อยู่ทาง “ซ้าย” ที่เป็นเสรีนิยม กับพรรครีพับลิกัน ที่อยู่ทาง “ขวา” ที่อนุรักษ์นิยมกว่านั้น ตลาดหรือดัชนีหุ้นฝั่งไหนจะดีกว่า ซึ่งผลก็ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างกันนัก หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ รัฐบาลจากทั้ง 2 พรรคไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นนัก เลือกตั้งประธานาธิบดีไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นแม้ว่าผู้ชนะจะเปลี่ยนไปจากเดิม แต่เรามาดูตลาดหุ้นไทยบ้าง โดยผมจะเลือกเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่อยู่เกิน 2 ปีขึ้นไป
รัฐบาลแรกก็คือ รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบกภายหลังจากการรัฐประหารและความวุ่นวายทางการเมือง (กรณี 6 ตุลาคม 2519) ในปี 2523 หรือหลังจากตลาดหลักทรัพย์ก่อตั้งมา 5 ปีในปี 2518 และการเกิดวิกฤติตลาดหุ้นกรณีราชาเงินทุนในปี 2522
วันแรกที่พลเอกเปรมเป็นนายกนั้น ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 138 จุด ซึ่งก็เป็นระดับที่ต่ำจากที่เคยสูงถึง 258 จุด หรือตกลงมาถึง 47% หลังวิกฤติในปี 2522 ภายใต้การบริหารงานของพลเอกเปรมนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นแนวอนุรักษ์นิยมและส่วนใหญ่ก็อิงกับระบบราชการ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยที่พรรคการเมืองที่หนุนหลังนั้นก็กระจัดกระจายและไม่ได้มียุทธศาสตร์อะไรในการชี้นำประเทศ
ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้น “นิ่ง” ไปนานถึง 6 ปีจนถึงปี 2529 ที่ดัชนีก็ยังอยู่ที่ประมาณ 130 จุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยและอนุรักษ์นิยมนั้น ไม่ดีต่อตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีสุดท้ายของระยะเวลา 8 ปี ครึ่งของพลเอกเปรม ดัชนีตลาดหุ้นก็วิ่งขึ้นไปแรงถึง 437 จุด แต่นั่นก็น่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั้งต่างประเทศและของไทยที่กำลังเริ่มบูมมากกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาล
รัฐบาลที่ 2 ก็คือ รัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเข้าเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคการเมืองคือพรรคชาติไทย หลังจากที่พลเอกเปรมปฏิเสธที่จะเป็นต่อหลังการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2531 นโยบาย “ทำสนามรบให้เป็นสนามการค้า” และการ “สนับสนุนธุรกิจเอกชน” ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นในช่วง 2 ปี ครึ่ง ปรับตัวขึ้นช่วงหนึ่งจาก 320 จุด เป็น 1,100 จุดหรือเพิ่มขึ้นถึง 250% ตามภาวะการณ์เติบโตอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจและการเปิดเสรีทางการเงินของประเทศ และนี่ก็คือสิ่งที่ “ตลาดหุ้นชอบ” นั่นก็คือ “ทุนนิยมเสรี”
รัฐบาลที่ 3 ก็คือ รัฐบาล ชวน หลีกภัย 1 ระหว่างปี 2535 ถึง 2538 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี นี่คือช่วงเวลาหลังรัฐประหารรัฐบาลชาติชายและต่อมานำไปสู่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในปี 2535 ซึ่งประเทศไทยดูเหมือนจะ เข้าสู่ “ยุคใหม่” ของการปกครองที่พลเรือนที่เป็นนักการเมืองเป็นผู้นำแทนทหารและข้าราชการระดับสูง ดัชนีตลาดหุ้นไทยเพิ่มจากประมาณ 800 จุด ขึ้นไปถึง 1,754 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่ไม่ถูกทำลายต่อมาอีกกว่า 20 ปี เป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีหุ้นกว่า 100% ในเวลาเพียงปี 1 ปี 4 เดือน
รัฐบาลนายชวน หลีกภัย 2 เริ่มในช่วงปลายปี 2540 หลังเกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ในช่วงกลางปี และอยู่ถึงต้นปี 2544 เป็นเวลา 3 ปี 2 เดือน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ตกลงมา 55% ในปี 2540 เหลือเพียง 370 จุด ตอนสิ้นปี พยายามประคองตัวและปรับขึ้นบ้างแต่เมื่อประสบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายและการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจและประเทศ แบบ “อนุรักษ์นิยม” และตามการชี้นำของ IMF ที่เข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของรัฐบาล ดัชนีตลาดหุ้นก็ปรับตัวลงเหลือเพียงประมาณ 300 จุด กลายเป็น 3 ปีที่หายไป ส่วนหนึ่งจากวิกฤติไฮเทคของอเมริกาที่กำลังมาด้วย ซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นไทยตกลงมาถึง 44% ในปี 2544
รัฐบาลที่ 4 คือ รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ที่ชนะเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ด้วย “ความคิดใหม่” และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในยุคใหม่ของการสื่อสารฉายา “อัศวินคลื่นลูกที่สาม” ภายในช่วง 3 ปีแรกจาก 5 ปี 7 เดือนในตำแหน่ง ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้นไปจาก 300 จุดเป็น 772 จุดหรือเพิ่มขึ้น 157% ประเทศไทยจากสถานะเกือบล้มละลายได้รับการปรับอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือและสามารถใช้หนี้ IMF ได้หมดก่อนครบกำหนดเวลา
รัฐบาลที่ 5 คือ รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2551 – 2554 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนหลังจากการรัฐประหารและความวุ่นวายทางการเมืองที่มีการประท้วงและต่อสู้ระหว่างคน 2 กลุ่มหรือคนเสื้อเหลือง-แดง อย่างไรก็ตาม ดัชนีตอนที่รัฐบาลเข้ามาบริหารงานนั้นอยู่ในช่วงที่ตกต่ำที่สุดหลังวิกฤติซับไพร์มในปี 2008 ที่ 450 จุด ซึ่งเป็นการตกลงมาถึงประมาณ 48% ในเวลา 1 ปี และกำลังเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็น “ยุคทอง” ของการลงทุน ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 1,070 จุด หรือ 138% ในเวลา 2 ปี 8 เดือน ทั้ง ๆ ที่การเมืองกำลังวุ่นวาย แต่ก็ไม่มีสัญญาณว่าทหารจะเข้ามาเกี่ยวข้องอีก
รัฐบาลที่ 6 คือรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งจากปี 2554 -2557 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน จากการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคเพื่อไทยได้ชัยชนะเด็ดขาด ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างมั่นคงจากประมาณ 1,070 จุด เป็น 1,416 จุด หรือเพิ่มขึ้น 32% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 10.7% ต่อปี ทั้ง ๆ ที่ปัญหาการเมืองก็ยังคงรุนแรงและในที่สุดก็นำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง
รัฐบาลสุดท้ายก็คือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 จนถึงปัจจุบัน คิดเป็นระยะเวลายาวนานถึง 8 ปี 9 เดือน เป็นรองเฉพาะจอมพล ป. พิบูลสงครามและจอมพลถนอม กิตติขจร เท่านั้น ช่วงตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจจนถึงวันนี้ที่ 27 พฤษภาคม 2566 ดัชนีตลาดลดลงจาก 1,562 จุดเป็น 1,531 จุด หรือลดลงประมาณ 2% หรือพูดง่าย ๆ นี่เป็นช่วง “ทศวรรษที่หายไป” ตลาดหุ้นแทบจะไม่ให้ผลตอบแทนเลยเป็นเวลาถึง 10 ปี และนี่ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับช่วงรัฐบาลพลเอกเปรม ที่หุ้นไม่ไปไหนยาวนาน และในระหว่างนั้นก็ไม่ขึ้นแรงหรือตกแรง
ข้อสรุปของผมจากข้อมูลที่เห็นก็คือ ข้อแรก ตลาดหุ้นจะไม่ชอบการรัฐประหารและการใช้ระบบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาก ยิ่งรัฐบาลอยู่นานตลาดก็ยิ่งแย่หรือไม่โตเลย ข้อสอง แม้ว่าการเมืองจะมีความวุ่นวายและมีการประท้วงรุนแรง แต่ถ้าภาพใหญ่ยังปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นก็มักจะยังพอไปได้ ถ้าหุ้นตกลงมาต่ำมากจนเป็นวิกฤติ โอกาสที่ตลาดจะฟื้นตัวกลับตามภาวะตลาดโลกอย่างในกรณีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังเป็นไปได้ หรือแม้แต่ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลาดหุ้นก็ยังพอไปได้แม้ว่าการเมืองจะวุ่นวายมาก
ตลาดหุ้นมักจะดีเมื่อมีรัฐบาลที่เกื้อหนุนธุรกิจ เน้นทุนนิยมเสรี เน้นการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เช่น การมีสัญญาการค้าและการเมืองกับนานาชาติ เช่นสมัยชาติชาย ชุณหะวัน หรือมีการลดภาษีต่าง ๆ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือธุรกิจมาก ๆ อย่างกรณีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่มีนโยบายรถคันแรกหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554
การนำประเทศเข้าสู่ “ยุคใหม่” หรือผู้นำที่จะนำพาประเทศสู่ความรุ่งเรืองใหม่หลัง “วิกฤติ” ต่าง ๆ อย่างในกรณีทักษิณ ชินวัตรก็มักจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรง เช่นเดียวกับกรณีของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน และอาจจะรวมถึง ชวน หลีกภัย สมัยแรก ที่เปลี่ยนผู้นำจากทหารและข้าราชการเป็นรัฐบาลพลเรือน
สุดท้ายก็คือ เรื่องของการเมืองล่าสุดที่พรรค “ฝ่ายซ้าย” กำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาล นี่ก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยยังไม่เคยเจอ ผมเองคิดว่าตลาดหุ้นนั้น ชอบความเป็นทุนนิยมเสรีมากกว่าการเป็น “สังคมนิยม” ที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้นผ่านระบบการเก็บภาษีมากขึ้น เรายังไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นจนกว่ารัฐบาลจะเข้ามาบริหารและผลกระทบส่งถึงตลาดหุ้นเมื่อเวลาผ่านไป
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนนี้ได้สะท้อนเข้าในตลาดหุ้นบ้างแล้ว เพราะหลังการเลือกตั้งไม่กี่วันหุ้นก็ตกลงมาอย่างชัดเจนโดยที่ไม่มีเหตุผลอื่น
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 20 – 26 พ.ค. 2566 กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) กองไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่นชนะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง? บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
1. TCMFENJOY – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ เอ็นจอย
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.50%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.38%
2. TCMF – กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ ชนิดเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.46%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.33%
3. T-CASH – กองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.44%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.32%
4. TMBMF – กองทุนเปิดทหารไทยธนบดี
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.43%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.31%
5. LHMM-A – กองทุนเปิด แอล เอช ตลาดเงิน ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์ (เฉลี่ยต่อปี): +1.42%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน (เฉลี่ยต่อปี): +1.25%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: TCMFENJOY, T-CASH, T-CASH, TMBMF, LHMM-A
หมายเหตุ: ข้อมูลมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 25 พ.ค. 2566 จาก Morningstar ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน) สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
S&P500 คือ ดัชนีหุ้นสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่ง ทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ
หุ้นที่จะผ่านเกณฑ์การพิจารณาของดัชนี S&P500 ต้องมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) สูง และมีสภาพคล่องการซื้อขายที่สูง จัดอันดับโดยผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำของโลกอย่าง Standard & Poor’s ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนหุ้นเข้าดัชนีทุกไตรมาสในเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ของทุกปี
ทำให้ดัชนี S&P500 ถูกยอมรับว่าเป็นตัวสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงนั้นได้ และเป็นดัชนีที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจติดตามกันเป็นอนย่างมาก ด้วยมูลค่าของหุ้นใน S&P500 ที่คิดเป็นกว่า 80% ของมูลค่าตลาดหุ้นทั้งหมดในสหรัฐฯ
เอาเป็นว่า… หากใครที่กำลังสนใจการลงทุนในดัชนี S&P500 บทความนี้ได้สรุปข้อมูลผลตอบแทนของหุ้นที่มีราคาขึ้นลงมากที่สุด ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2023 มาฝาก
*ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกองทุนที่ลงทุนล้อตามดัชนี S&P500 เช่น ASP-S&P500 SCBS&P500 TMBUS500 AIA-US500 K-US500X-A(A) KFUSINDX-A TISCOUS-A TUSEQ-UH เป็นต้น
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA >>> https://finno.me/register-website
แหล่งข้อมูล
ผลการประชุม Fed เมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. มีมติขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 5.00-5.25% ตามคาด แต่เริ่มมีสัญญาณเตรียมหยุดขึ้นดอกเบี้ย (Pause) ในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า Fed น่าจะยังไม่รีบเร่งปรับลดดอกเบี้ยลงมาเหมือนที่ตลาดคาดไว้ เพราะ Fed น่าจะรอดูทิศทางเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงตามเป้าหมายที่วางไว้ก่อน (Higher for Longer)
เราประเมินว่า ตลาดหุ้นโลก น่าจะเผชิญความผันผวนมากขึ้นในระยะ 1 เดือนข้างหน้า เนื่องจากขาดปัจจัยบวกใหม่ ประกอบกับ มีความเสี่ยงเรื่องเพดานหนี้สหรัฐฯ เข้ามารบกวนบรรยากาศการลงทุน ทำให้ภาพรวมของ Asset Allocation รอบนี้ เราลดน้ำหนักหุ้น (Equity) ลงเล็กน้อยจาก 80% เป็น 75% ส่วนน้ำหนักอีก 25% คือ ตราสารหนี้ต่างประเทศ (SCBINCA)
เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวตลาดหุ้นเอเชียและธีม China Reopening แต่มีการเปลี่ยนจากกองทุน Active Fund คือ SCBAEM เป็นกองทุน Passive Fund คือ SCBAXJ(A) ด้านกองทุนหุ้นไทย เปลี่ยนกองจาก SCBDA เป็น SCBTHAICGA ซึ่งมี Performance ดีกว่าในช่วงหลัง ส่วนการปรับน้ำหนักของแต่ละกองทุนเป็นไปตามรายละเอียดข้างล่างนี้
ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 19 พฤษภาคม 2023
ภาพแสดงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 19 พฤษภาคม 2023
เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ปี 2022 ที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง และหนึ่งในความท้าทายทางเศรษฐกิจที่หลายประเทศต้องเผชิญก็คงจะหนีไม่พ้น “เงินเฟ้อ” ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานพบจุดสูงสุดในช่วงเดือนกรกฏาคมปี 2022 ที่ผ่านมา ส่งผลให้โอกาสปรับตัวลงของ “ตราสารหนี้” อยู่ในระดับต่ำ และตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่อผลตอบแทนอยู่ในระดับน่าสนใจลงทุนมากขึ้น โดยจากข้อมูลทางสถิตินับตั้งแต่ปี 1990 พบว่าตราสารหนี้ทั่วโลก มักให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีในระดับมากกว่า 10% หลังจากอัตราเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดมาแล้วประมาณ 3 เดือน จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน “กองทุนตราสารหนี้”
บทความนี้จึงขอมาแนะนำกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ทาง FINNOMENA Investment Team คัดมาให้แล้วจากการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative) และในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ว่าเป็นกองทุนที่น่าสนใจลงทุนในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เหมาะสำหรับการพักเงิน และขึ้นแท่นเป็นกองทุน FINNOMENA Fick (F Pick) ทั้งหมด 3 กองทุนด้วยกัน ได้แก่ KKP MP, KKP PLUS และ KKP S-PLUS โดยมีรายละเอียดของแต่ละกองทุนดังนี้
นโยบายกองทุน: ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้ค้ำประกัน พันธบัตรและตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล ผู้ค้ำประกัน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น รวมถึงการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน กลต. กําหนด
ระดับความเสี่ยง: 1 (เสี่ยงต่ำ)
อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 1 เดือน 5 วัน
อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (Yield to Maturity: YTM): 1.64%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 100 บาท
ข้อมูลจาก KKP MP Fund Factsheet ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566
ศึกษาข้อมูลกองทุน KKP MP เพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet)
https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20MP.pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี โดยตราสารหนี้เอกชนนั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับตั้งแต่ BBB+ ขึ้นไป ทั้งนี้กองทุนจะดำรงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Portfolio Duration) ไม่เกิน 1.5 ปี โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีและจะดำรงสัดส่วนการลงทุนตามที่สำนักงาน กลต. กำหนด
ระดับความเสี่ยง: 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)
อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 3 เดือน 17 วัน
อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (Yield to Maturity: YTM): 1.76%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ข้อมูลจาก KKP PLUS Fund Factsheet ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566
ศึกษาข้อมูลกองทุน KKP PLUS เพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet)
https://media.kkpfg.com/document/2020/Nov/AM%20FFS%20KKP%20PLUS.pdf
นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เงินฝาก และตราสารเทียบเท่าเงินฝาก โดยอาจพิจารณาลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
ระดับความเสี่ยง: 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)
อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 9 เดือน 5 วัน
อัตราผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ (Yield to Maturity: YTM): 2.09%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ข้อมูลจาก KKP S-PLUS Fund Factsheet ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566
ศึกษาข้อมูลกองทุน KKP S-PLUS เพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวน (Fund Factsheet)
https://media.kkpfg.com/document/2022/Apr/AM%20Sum%20KKP%20S-PLUS.pdf
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
จากภาพด้านบนเป็นตารางการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุน KKP MP, KKP PLUS และ KKP S-PLUS กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 6 ธนาคารใหญ่ในไทย จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นทั้ง 3 กองทุน ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 6 ธนาคารใหญ่ในไทย โดยกองทุน KKP MP สร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ได้อยู่ที่ 0.73%, กองทุน KKP PLUS อยู่ที่ 1.14% และกองทุน KKP S-PLUS อยู่ที่ 1.59% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 6 ธนาคารใหญ่อยู่ที่ 0.13% – 0.55% เท่านั้น
— planet 46.
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ทาง BBLAM ยังมองว่าปีนี้จะเป็นปีที่น่าสนใจในการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย มองว่าสถานการณ์ในอนาคตน่าจะส่งเสริมการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นเอเชีย โดยเฉพาะปัจจัยเฉพาะตัวที่ตลาดยังไม่ได้นำเข้าไปรวมในราคาปัจจุบัน (ปัจจัยที่ตลาดยังไม่ได้ priced-in) ซึ่งน่าสังเกตว่า ตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจกับตลาดหุ้นเอเชียมากนัก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ เช่น หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปที่เริ่มปรับตัวขึ้นบ้างแล้ว ทำให้มองว่าครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของตลาดหุ้นเอเชีย
เหตุผลที่ทาง BBLAM ชอบตลาดหุ้นเอเชีย ประกอบด้วย วัฏจักรสินเชื่อที่ฟื้นตัวได้ดี สภาพคล่องที่ยังค่อนข้างผ่อนคลาย ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น (เช่น ธนาคารกลางเวียดนามลดดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 2 ครั้ง) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น (GDP ของหลายประเทศยังเติบโตมากกว่า 5%) ท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อที่ไม่รุนแรง มูลค่าหุ้นไม่แพง และมีกำไรต่อหุ้นที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุด และฟื้นตัวได้ดีในครึ่งปีหลัง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นเอเชีย
ในตลาดหุ้นเอเชีย ทาง BBLAM ชอบหุ้นเกาหลี และหุ้นไต้หวัน โดยมองว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของทั้งสองประเทศ การปรับประมาณการณ์กำไรลง น่าจะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และรายได้ของบริษัทกลุ่มนี้ น่าจะฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง
นอกจากนี้ BBLAM ยังเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนจะฟื้นตัวได้ดี หลังจากการเปิดประเทศ โดยในช่วงวันหยุดยาวของจีน พบยอดจองโรงแรมเพิ่มขึ้นถึงกว่า 700% ซึ่งธนาคารกลางจีนยังมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป และหุ้นจีนถือว่ามีราคาไม่แพง
อินเดียก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีความน่าสนใจ โดยแต่เดิมตลาดหุ้นอินเดียก็มีความน่าสนใจสูงอยู่แล้ว แต่ว่ามูลค่าหุ้นค่อนข้างแพง ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียก็มีนโยบายส่งเสริมตลาดหุ้นอินเดีย เช่น การสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินผ่านการลงทุนในตลาดหุ้นโดยอัตโนมัติ ตลอดจนประชาชนอินเดียมีอัตราการออมสูง และมีการให้ความรู้ด้านการลงทุนต่อเนื่อง ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียได้รับความสนใจจากคนอินเดียเองสูง
เวียดนามมีความน่าสนใจมากขึ้น ในขณะที่มูลค่าหุ้นถูกกว่า โดยล่าสุดอัตรากำไรต่อหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงประมาณ 13.6% ในไตรมาสหนึ่ง แต่น่าจะฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2024 และธนาคารกลางยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและช่วยผลักดันตลาดหุ้นได้ ทำให้มองว่าเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน
ตลาดหุ้นอินโดนีเซียก็มีแนวโน้มที่ดี จากปัจจัยด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ และจำนวนประชากร ซึ่ง BBLAM มองว่าการที่อินโดนีเซียมีแหล่งแร่ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะทำให้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมีความเป็นตลาดหุ้นของหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับหนึ่ง แต่ในระยะถัดไปน่าจะสามารถพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระดับสูงได้ และมีหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยปัจจุบันมูลค่าหุ้นอินโดนีเซียก็ยังถือว่าไม่แพง
BBLAM แนะนำการลงทุนในกองทุน B-ASIA ซึ่งเข้าลงทุนใน Invesco Asian Equity Fund ซึ่งคาดหวังผลตอบแทนมากกว่า 10% ต่อปีในระยะกลาง และระยะยาว โดยเน้นไปที่การซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และเป็นหุ้นที่ตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก แต่ว่าเป็นบริษัทที่มีงบดุลแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนนี้จะเลือกหุ้นที่น่าสนใจในช่วงเวลาที่ตลาดมีความกังวลเพื่อสร้างผลตอบแทน และขายทำกำไรในช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้น
B-ASIA เน้นไปที่การลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เกม (gaming) ผู้ผลิตที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (แต่ไม่ใช่ตัวยานยนต์ไฟฟ้า) ธนาคารและประกัน โดยจะเน้นไปที่กลุ่มประเทศ จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน และให้น้ำหนักไปที่กลุ่มการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งปัจจุบัน B-ASIA ถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ เช่น Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC), Samsung, Tencent, Alibaba, HDFC (ธนาคารในอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดี จากการขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย), Gree Electric (บริษัทแอร์ในอินเดีย เกาหลี และไต้หวัน), QBE Insurance (บริษัทประกันในออสเตรเลีย) และ Largen Precision (บริษัททำเลนส์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ smartphones เช่น iPhone)
ผลการดำเนินงานของ B-ASIA ที่ผ่านมาถือว่าให้ผลตอบแทนโดดเด่น เมื่อเทียบกับกองทุนอื่น ๆ และเมื่อปรับตัวลงก็ปรับตัวลงน้อยกว่ากองทุนอื่น ๆ เช่นกัน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน มองว่าสำหรับนักลงทุนที่มีกองทุน B-ASIA อยู่แล้วช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองนี้ ซึ่งอาจจะค่อย ๆ ทยอยสะสมได้ แต่สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มี สามารถทยอยซื้อได้เลย ซึ่งข้อดีของการลงทุนในตลาดเอเชียจะสามารถลดความผันผวน และช่วยเพิ่มการกระจายตัวของการลงทุนจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปได้ดี
สูง (ระดับความเสี่ยง 6)
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00 – 17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บัวหลวง จำกัด ติดต่อบริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ 02 645 5555 E-mail: info@bangkokbank.com
คำเตือน
ข้อมูลที่รวบรวมโดย Goldman Sachs ระบุว่า เหล่าเฮดจ์ฟันด์ที่ทั้ง Bull และ Bear ในหุ้นได้ทำการ ‘ซื้อ’ หุ้นสหรัฐฯ ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ติดต่อกัน และเป็นอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ ต.ค. ปีที่แล้ว หลังจากกก่อนหน้านี้ ‘ขาย’ หุ้นสหรัฐฯ มา 5 สัปดาห์ติด
ส่วนที่ Morgan Stanley เหล่าลูกค้าได้เพิ่มเลเวอเรจทั้งในสถานะ Long และ Short ไปสู่ระดับสูงสุดในปี 2023
สอดคล้องกับข้อมูลของ JPMorgan ที่ระบุว่า บรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ ทั่วโลก มีระดับเลเวอเรจสุทธิแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.
ตอนนี้มุมมองตลาดขาลงเริ่มลดลงเรื่อยๆ หลังจากตลาดหุ้นพุ่งขึ้น 3 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ ถือเป็นการท้าทายหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งความวุ่นวายในภาคธนาคาร ผลกำไรที่ลดลงของบริษัทจดทะเบียน และความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ
Quincy Krosby หัวหน้านักกลยุทธ์ทั่วโลกที่ LPL Financial มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ เหล่าผู้จัดการความเสี่ยงของสถาบันขนาดใหญ่รู้สึกว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้น ไม่สามารถนั่งเฉยๆ ได้ และต้องมีส่วนร่วม เพราะต้นทุนของการ ‘ตกรถ’ อาจสูงเกินไป ตอนนี้มีการคาดเดาว่า Fed สิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะถูกเลื่อนออกไป
นี่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในอเมริกา เพราะที่ญี่ปุ่น ดัชนี Topix ทำจุดสูงสุดตั้งแต่ปี 1990 ส่วนในยุโรป ดัชนี Stoxx Europe 600 อยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน
ดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากดันดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 140 จุด ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถผ่านระดับ 4,200 จุดได้
——————-
👍 อย่าลืมกดไลก์ Page The Opportunity เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสด้านการลงทุน