- วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
- หามูลค่าที่เหมาะสม
- จับจังหวะเข้าลงทุน
- อ่านบทวิเคราะห์อย่างเข้าใจ
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0oC6bYcfJhqQMU58SvqNNk5q9bHgrbd61AHAa8PM3vJcqTeFYrPAJT8kh6bNfpWFYl
This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid0oC6bYcfJhqQMU58SvqNNk5q9bHgrbd61AHAa8PM3vJcqTeFYrPAJT8kh6bNfpWFYl
ความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากร “คนอายุยืน เด็กเกิดใหม่น้อย” กลายเป็นปัญหาหนักอึ้งของหลายประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และระบบบำนาญวัยเกษียณ
จีนก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เจอกับความท้าทายเรื่องนี้ ทำให้ล่าสุด Bloomberg รายงานว่า สภานิติบัญญัติของจีน ได้อนุมัติข้อเสนอการปรับเพิ่มอายุเกษียณของชาวจีน เป็นครั้งแรกในรอบ 46 ปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2025 แต่จะเป็นการปรับอายุขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะใช้เวลา 15 ปี จึงจะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ
จะเห็นว่าอายุขัยเฉลี่ยของประชากรจีน สูงถึง 78 ปี และคาดว่าจะมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของประชากรทั้งหมด หรือมากกว่า 400 ล้านคน ภายในปี 2035
ขณะเดียวกันคนจีนยังมีอัตราการเกิดที่ลดลง โดยในปี 2022 นับเป็นครั้งแรกที่จีนมีประชากรลดลง ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศแห่งการเติบโตนี้
ความน่ากังวลก็คือตอนนี้ คนวัยทำงานประมาณ 5 คน จะต้องเลี้ยงดูผู้เกษียณอายุ 1 คน และมีแนวโน้มที่จะแบกภาระมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่จึงเป็นเหตุผลให้ทางการจีน ตัดสินใจขยายอายุเกษียณ เพื่อไม่ให้ระบบบำนาญของประเทศเกิดปัญหาในอนาคต
อ้างอิง: Bloomberg
สัญญาทองคำในตลาดนิวยอร์กปิดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า หลังจากที่สหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลที่ชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 38.20 ดอลลาร์ หรือ 1.50% ปิดที่ 2,580.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 1.179 ดอลลาร์ หรือ 4.08% ปิดที่ 30.107 ดอลลาร์/ออนซ์
ในส่วนของสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 26 ดอลลาร์ หรือ 2.72% ปิดที่ 982.20 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 41.80 ดอลลาร์ หรือ 4.15% ปิดที่ 1,048.80 ดอลลาร์/ออนซ์
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 2,000 ราย สู่ระดับ 230,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งตรงตามการคาดการณ์
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ยังเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนสิงหาคม เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2%
อเล็กซ์ เอบคาเรียน ผู้บริหารของบริษัท Allegiance Gold กล่าวว่า “ดัชนี PPI ที่ออกมาสูงกว่าคาดการณ์เพียงเล็กน้อยสะท้อนให้เห็นว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในทิศทางชะลอตัว ซึ่งอาจสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด และทำให้ทองคำมีความน่าดึงดูดมากขึ้น เราคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหลายครั้งในอนาคต”
เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group ระบุว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 73% ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 กันยายน และให้น้ำหนัก 27% ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในวันดังกล่าว
ที่มา: https://infoquest.co.th/2024/429215
อ่านคำแนะนำ MEVT Call เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/finnomenafunds/mevt-call-gold-jul-2024/
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”
ทั่วโลกกำลังจับตาการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะมีขึ้นในช่วงค่ำวันนี้ (12 กันยายน 2567) โดยคาดการณ์ว่า ECB จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ซึ่งจะเป็นการปรับลดครั้งที่สองในปีนี้ หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
การตัดสินใจของ ECB ครั้งนี้ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมลดลงเหลือ 2.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของยุโรปจะยังคงแข็งแกร่ง แต่เศรษฐกิจเยอรมันซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของยุโรปกลับหดตัวลง
แม้ว่าตลาดจะคาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ภายในคณะกรรมการของ ECB บางส่วนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
การเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการลดอัตราเงินเฟ้อ และอาจทำให้ ECB ต้องระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
การตัดสินใจของ ECB จะมีส่วนกำหนดทิศทางนโยบายการเงินโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาร่วมกับการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า (17-18 กันยายน) ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB จะส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเงินยูโรซึ่งคาดว่าจะอ่อนค่าลง
Holger Schmieding นักเศรษฐศาสตร์หัวหน้าของ Berenberg Bank มั่นใจว่า การประชุมของ ECB ในคืนนี้จะลงมติลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยสังเกตว่าแม้แต่ Joachim Nagel ประธานธนาคารกลางเยอรมนี ซึ่งมักมีท่าทีแข็งกร้าว ก็แสดงท่าทีเปิดไฟเขียวให้ลดดอกเบี้ยครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า ในเดือนตุลาคม ECB อาจตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่ Philip Lane หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ECB ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อต่ำเกินไปในระยะยาว หากยังคงอัตราดอกเบี้ยสูงอยู่ ซึ่งอาจเปิดทางให้มีการปรับลดดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด
การตัดสินใจของ ECB ในครั้งนี้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุมของ Fed ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกจับตามองการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางทั้งสองแห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจและการเงินโลกในอนาคต
เรายังคงมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยในระยะสั้นยังขาด Positive Catalyst
เราเปลี่ยนคำแนะนำจาก “สะสม” เป็น “ถือ” เพื่อรอดูมาตรการกระตุ้นช่วง Golden Week
เรายังคงคำแนะนำทยอยสะสมกองทุน B-BHARATA
เรายังคงคำแนะนำทยอยขายหุ้นไทย และ REITs ไทย
เรายังคงแนะนำลงทุนกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A และ KKP VGF-UI*
*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
เรายังคงแนะนำทยอยสะสมกองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ
เรายังคงแนะนำลงทุนกองทุน UGIS-N และ MUBOND-A สำหรับกองทุนแบบไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินแนะนำกองทุน UGISFX-N และ MUBONDUH-A
เรายังคงแนะนำสะสมผ่านกองทุน KT-GOLDUH-A
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
วันนี้ (12 กันยายน 2024) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวขึ้น นำโดย ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) +2.5% ตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) +1.9% ดัชนีหุ้นจีน H-Share (HSCEI) +0.8% และตลาดหุ้นไทย (SET Index) +0.6 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในคืนวันอังคารที่ 11 กันยายน 2024 โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้น +1.07% และดัชนี NASDAQ 100 ปรับตัวขึ้น +2.17% โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวเพิ่มขึ้น นำโดยหุ้น Nvidia ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 8% หลังจากมีรายงานจากเว็บไซต์เซมาฟอร์ (Semafor) ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเปิดทางให้บริษัท Nvidia ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ สามารถส่งออกชิปที่ทันสมัยไปให้กับประเทศซาอุดิอาระเบียได้ จึงส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเอเชียปรับตัวขึ้นแรงตามทิศทางหุ้นสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ ชะลอตัวลงจาก 2.9% YoY ในเดือนกรกฎาคม สู่ระดับ 2.5% YoY ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์
Finnomena Funds มองว่าการฟื้นตัวของหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ จะช่วยลด Sentiment ลบต่อตลาดหุ้นเอเชียในช่วงระยะสั้น หลังจากตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังชะลอตัว จากตัวเลขการจ้างงานที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับเหตุการณ์สำคัญถัดไปที่ต้องจับตามอง คือการประชุม Fed ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 17-18 กันยายน 2024 โดยตลาดคาดว่า Fed จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงจะมีการเปิดเผยการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และ Dot plot ในการประชุมครั้งนี้
เรายังคงแนะนำทยอยสะสมกองทุนหุ้นเอเชียอย่าง UOBSA ที่ใช้ AI ร่วมกับผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น สร้างผลตอบแทนโดดเด่นกว่ากองเอเชียอื่น ๆ อย่างชัดเจน นอกจากนี้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุน SCBKEQTG ตามมุมมองของ Finnomena Funds หรือ DAOL-KOREAEQ ตามคำแนะนำ FundTalk Call
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
เพิ่งอัปเดตกันไปสด ๆ ร้อน ๆ กับแอปฯ Finnomena เวอร์ชั่นใหม่ ซึ่งมีการแปลงโฉมหน้า Home ให้มีลูกเล่นมากขึ้น รวมข้อมูลการลงทุนหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือกสรรรับชมแถมยังมีของใหม่มาเสิร์ฟ ไม่ว่าจะเป็น AI Market Daily Summary ที่ทำการสรุปสถานการณ์ตลาดและการลงทุนทุกวันโดย AI, คลิปวิดีโอสั้นสไตล์ Reels รวมถึงการโชว์สินทรัพย์ผลงานเด่นประจำสัปดาห์
เพื่อให้เห็นเบื้องลึกเบื้องหลังของการอัปเดตแอปฯ ครั้งนี้มากขึ้น วันนี้จะมาพูดคุยกับคุณเบน Senior UX/UI Designer ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบหน้า Home โฉมใหม่กันหน่อย ว่ามีอะไรใหม่ ๆ รอคอยทุกคนอยู่บ้าง
ส่วนหนึ่งของหน้า Home แบบใหม่บนแอปฯ Finnomena
มันเริ่มต้นจากตอนที่เรากำลังจะ rebranding ครับ
Finnomena เรามีการปรับวิสัยทัศน์ใหม่ที่มองไปไกลมากขึ้น ให้ตอบโจทย์เรื่องการลงทุนของคนไทยมากกว่าเดิมและมี product ที่หลากหลายมากกว่าเดิมให้นักลงทุนของเราเลือกลงทุนได้ตามสไตล์ของตัวเองอย่างอิสระ
คอนเซ็ปต์ของหน้า Home ใหม่นี้เลยเป็นการหยิบจับ feature และ product ทั้งหมดของเรามาเสนอให้กับนักลงทุนในที่เดียว นักลงทุนจะได้ไม่ต้องไปตามหาเพื่อไล่กดดูรายละเอียดของแต่ละอันเอาเอง คล้าย ๆ ว่าเป็น snapshot ให้กับนักลงทุนได้เห็นง่าย ๆ ว่า Finnomena มีผลิตภัณฑ์อะไรนำเสนอให้บ้างครับ
หวังว่าหน้า Home ใหม่นี้จะทำให้นักลงทุนได้ค้นพบว่าตัวเองมีสไตล์การลงทุนแบบไหน สามารถมองเห็นโอกาสในการลงทุนมากขึ้น และมีความมั่นใจที่จะลงทุนมากขึ้นครับ
จุดเด่นของหน้า Home ใหม่คือเรื่องของความครบจบในที่เดียว เป็นประตูทางเข้าไปสู่แต่ละ feature แต่ละ product ซึ่งเราตั้งใจและพยายามให้มีการอัปเดตทุกวัน เพราะฉะนั้นนักลงทุนที่เข้ามาดูในแอปฯ Finnomena จะเจอคอนเทนต์ที่สดใหม่ในทุก ๆ วัน ไม่ใช่เฉพาะแค่บทความให้ความรู้ที่เป็นจุดแข็งของเราอยู่แล้ว แต่เรายังมีส่วนของวิดีโอสั้นสำหรับคนที่ไม่ชอบอ่านบทความยาว ๆ ก็ยังสามารถตามทันเหตุการณ์ได้ไม่พลาดโอกาสในการลงทุนครับ
และแน่นอนเพื่อให้นักลงทุนของ Finnomena มีความเป็น Ahead of the Game ตัวจริง เรามีส่วนของ “สินทรัพย์อื่น ๆ” ที่ผ่านการคัดสรรมาจากทีม Investment ให้เป็นอีกทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจมาเสนอให้กับนักลงทุนในหน้านี้ด้วยเช่นเดียวกัน เรียกว่าแค่กดเข้าแอปฯ เราวันละครั้ง ก็ไม่มีทางตกรถแน่นอน
นอกจากนี้เรามีเรื่อง AI ที่เราซุ่มพัฒนากันอย่างเงียบ ๆ และถึงเวลาที่จะเอามาโชว์ให้ทุกคนดูแล้ว นั่นก็คือ AI Market Daily Summary นั่นเอง เป็น generative AI เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนที่ต้องรู้ในวันนี้ แค่กดเข้าไป AI ก็จะสรุปข่าวสารประจำวันให้กับนักลงทุนได้เลย แอบกระซิบว่ายังมีโปรเจกต์เกี่ยวกับ AI อีกหลายอันที่อยู่ในขั้นพัฒนา อยากให้รอติดตามกันเร็ว ๆ นี้ครับ
สรุปข่าวประจำวันโดย AI Market Daily Summary
จริงๆ โปรเจกต์ redesign หน้า home ทีมเราพยายามที่จะผลักดันมานานแล้วครับ มีการคิดคอนเซ็ปต์กันมาหลายรูปแบบก่อนหน้า พอได้จังหวะเราก็เลยมีโอกาสได้หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่
ขั้นตอนการทำงานเราใช้กระบวนการ user-centered design ครับ คือเราได้ทำ research เพื่อเก็บ insights แล้วพบว่า pain point ที่นักลงทุนของเรามีคือ ไม่ค่อยรู้ว่าเรามีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อะไรเข้าไปบ้าง หาทางเข้าไปอ่านรายละเอียดไม่เจอ ทำให้เราได้ข้อสรุปว่าหน้า Home ใหม่นี้ควรจะเป็นการหยิบของที่เรามีทั้งหมดมาบอกกับนักลงทุนให้เห็นชัด ๆ กันไปเลย เราได้ลองพัฒนาการออกแบบมาหลายรูปแบบมาก ๆ กว่าที่จะเป็นหน้า Home ปัจจุบันให้ทุกคนได้เห็นกัน ผ่านการคิดและพิจารณาแต่ละส่วนกันอย่างดุเดือด เพราะว่าปัจจุบันเรามีของเยอะแยะมากที่อยากจะเสนอให้กับนักลงทุนครับ
ซึ่งจริง ๆ ไอเดียตั้งต้นเราอยากที่จะทำให้หน้า Home นี้ personalize ตามสไตล์การลงทุนของผู้ใช้งานแต่ละคนได้เลย เพราะทุกคนก็มีการเสพข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะชอบอ่านบทความเยอะ ๆ หรือบางคนก็จะชอบที่ให้ Finnomena บอกโอกาสในการลงทุนมาให้เลยมากกว่า เราเลยกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อจะทำ A/B testing เพื่อทดสอบคอนเซ็ปต์นี้ในอนาคตว่าจะเหมาะกับผู้ใช้งานของเราจริงหรือเปล่า ฝากติดตามกันด้วยครับ
พอถึงขั้นตอนการเขียนโค้ดของ developer ทั้งหลายก็ไม่ง่าย เพราะอย่างที่เล่าไปว่าเราอยากให้หน้านี้เป็นประตูทางเข้าไปสู่หน้าอื่น ๆในแอปฯ ทำให้จะต้องมีการดึงข้อมูลจากหลายส่วนมาก ๆ และมีการออกแบบ UI ที่ใช้ parallax interaction ด้วย เป็นเทคนิคการเปลี่ยนหน้าตา user interface (UI) หรือก็คือดีไซน์หน้าจอของผู้ใช้งาน ตามการเคลื่อนไหวด้วยนิ้วหรือเม้าส์ เช่น การปัดหน้าจอขึ้นหรือลงบนแอปฯ ทำให้หน้าตา UI เปลี่ยนไป เลยทำให้ยิ่งท้าทายในการเขียนโค้ดมากขึ้นอีก ต้องขอบคุณทีม developer มาก ๆ ที่พยายามกันอย่างหนักเพื่อให้ได้ UI หน้าตาสวย ๆ แบบนี้ออกมาด้วยครับ
ก็จะเป็นเรื่องการออกแบบ user interface นี่แหละครับ อย่างที่บอกว่าเราต้องการที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของเราให้กับนักลงทุน การที่จะออกแบบ UI ให้ดูไม่เยอะจนล้นและยังสวยงามสบายตา เราใช้เวลาทำงานกันประมาณ 3-4 เดือน กว่าที่จะพัฒนา UI ออกมาสวยงามให้ทุกคนได้เห็นกัน หวังว่าทุกคนคงชอบกันนะครับ 🙂
มีอีกหลายอย่างเลยครับที่จะทยอยออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานก่อนสิ้นปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น Port Outstanding ให้ดูยอดเงินลงทุนรวมได้ง่ายๆ, Opportunity Hub ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปบนเว็บไซต์ ก็จะมีมาในรูปแบบของแอปพลิเคชันด้วยครับ หรือ รายการบทความแบบใหม่ที่จะทำให้ทุกคนค้นหาบทความได้ง่ายมากขึ้น อ่านง่ายมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีรายการวิดีโอต่าง ๆ ของ Finnomena ที่จะมาอยู่ในแอปฯ เราเหมือนกัน และจะไม่ใช่แค่วิดีโอธรรมดา เราจะมี live session ด้วย! ตื่นเต้นมาก ๆ รอติดตามชมพร้อมกันบนแอปพลิเคชัน Finnomena นะครับ
จริง ๆ ก็จะชอบส่วนที่เป็น Opportunity Hub ครับ เพราะในฐานะนักลงทุนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง ที่เจอปัญหากับตัวเองเลยว่าไม่รู้ว่าจะลงทุนกองทุนอะไร ไม่ค่อยมีเวลามานั่งติดตามสถานการณ์ตลอด Opportunity Hub เลยเป็นอะไรที่ตอบโจทย์มาก มีพี่เจท พี่แบงค์ และพี่หยง คอยมาชี้เป้ากองทุนให้เรา แต่ละคนก็มีสไตล์การลงทุนที่ต่างกัน เราก็เลือกได้เลยว่าชอบการลงทุนรูปแบบไหน ก็ซื้อตามที่พี่เขาชี้เป้าให้เราได้เลย แถมมีการอธิบายถึงเหตุผลที่เขาเลือกกองทุนมาให้ด้วย ทำให้เราลงทุนได้ง่ายขึ้น ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และส่วนตัวก็เชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถของพี่ ๆ อยู่แล้วด้วย เลยจะชอบส่วนนี้เป็นพิเศษครับ
Opportunity Hub บนหน้า Home
อ่านเพิ่มเติม เผยเบื้องหลัง “Opportunity Hub” แหล่งมัดรวมโอกาสการลงทุนแบบตัวจบ
ก็อยากให้ทุกคนคอยติดตามการพัฒนาของพวกเรา Finnomena นะครับ อย่างที่แอบบอกไปว่าเรายังมีอีกหลายอย่างมากที่กำลังเตรียมทำออกมาให้ทุกคนได้เห็นกัน สามารถเข้ามาติชมกันได้ ชอบส่วนไหน ไม่ชอบส่วนไหน เรา “ต้องการ” ความคิดเห็นของทุกคนมาก ๆ เลยครับ เราจะได้พัฒนาและปรับปรุงแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้นและตอบสนองกับความต้องการของทุกคนได้มากขึ้นครับ ขอบคุณมากครับ
แล้วเจอกันที่แอปฯ Finnomena หรือ ดาวน์โหลดได้ที่ https://finno.me/download-app-ws นะครับ
สำนักข่าว CNN รายงานว่า ผลการสำรวจคะแนนจากการดีเบตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รอบแรก ระหว่างนางคามาลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน พบว่าแฮร์ริสได้รับคะแนนสนับสนุนสูงถึง 63% ขณะที่ทรัมป์ได้ 37% ด้าน The Washington Post ระบุว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนในรัฐสมรภูมิส่วนใหญ่เห็นว่าแฮร์ริสทำผลงานได้ดีกว่าในการดีเบตครั้งนี้ ขณะเดียวกัน ยอดผู้ชมการดีเบตในสหรัฐฯ สูงถึง 67 ล้านคน ซึ่งมากกว่าการดีเบตระหว่างทรัมป์และไบเดน
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ลงทะเบียนรับชมการดีเบตที่จัดโดยสำนักข่าว ABC News ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าแฮร์ริสทำผลงานได้ดีกว่าทรัมป์ตามผลสำรวจของ SSRS ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแฮร์ริสทำผลงานได้ดีกว่าที่คาดหวังไว้
ผู้ชมการดีเบตให้คะแนนแฮร์ริส 63% ต่อทรัมป์ 37% โดย 96% ของผู้สนับสนุนแฮร์ริสกล่าวว่าเธอทำได้ดีกว่า ขณะที่ 69% ของผู้สนับสนุนทรัมป์คิดว่าทรัมป์ทำได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ชมส่วนใหญ่กล่าวว่าการดีเบตครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกประธานาธิบดีของพวกเขา แม้ว่าผู้สนับสนุนทรัมป์มีแนวโน้มที่จะทบทวนการตัดสินใจเลือกผู้นำมากกว่าผู้สนับสนุนแฮร์ริส ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาผู้ชมเมื่อเปรียบเทียบกับการดีเบตในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ในการดีเบตระหว่างทรัมป์และไบเดน ผู้ชมให้คะแนนทรัมป์ทำผลงานได้ดีกว่าไบเดน 67% ต่อ 33% ซึ่งถือเป็นชัยชนะของทรัมป์ในการดีเบตครั้งแรกหลังการดีเบตในปี 2016 และ 2020 ที่ผู้ชมมองว่าฮิลลารี คลินตันทำผลงานได้ดีกว่าทรัมป์ทั้งหมด
สำหรับการดีเบตครั้งแรกของปี 2024 ระหว่างแฮร์ริสและทรัมป์ มีผู้ชมสูงถึง 67.1 ล้านคน ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ 17 แห่งตามข้อมูลของ Nielsen ซึ่งมากกว่าการดีเบตระหว่างไบเดนและทรัมป์ในเดือนมิถุนายนที่มีผู้ชม 51 ล้านคน และเป็นการดีเบตที่มีผู้ชมมากที่สุดในปี 2024 สำหรับรายการที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬา แต่จำนวนผู้ชมยังน้อยกว่าการดีเบตปี 2020 ที่มีผู้ชมมากกว่า 73 ล้านคน และปี 2016 ซึ่งเป็นการดีเบตครั้งแรกระหว่างฮิลลารี คลินตันและทรัมป์ ที่มียอดผู้ชมสูงสุด 84 ล้านคน
ที่มา: https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=FR&id=aUdLekp5VFc0b3M9
TMBAM Quality Mega Theme เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO)
ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตในอัตราที่แข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของ GDP สหรัฐฯไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับที่รายงานในตอนแรกขยายตัวในอัตรา 3% (YoY) เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งแรกที่ 2.8% โดยแรงหนุนหลักมาจากการใช้จ่ายส่วนบุคคล ที่ขยายตัว 2.9% สูงกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ 2.3% ขณะที่ดัชนีราคา PCE ทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนกรกฎาคมเท่ากับการคาดการณ์ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานรายเดือนอยู่ที่ 0.16% เท่ากับเดือนมิถุนายน ขณะที่สัญญาณจากการประชุม Jackson Hole ค่อนข้างชัดเจนว่าสหรัฐฯเตรียมลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายน โดย J.Powell ผู้ว่าฯ Fed กล่าวในแถลงการณ์หลังการประชุม Jackson Hole ว่าถึงเวลาที่ Fed จะต้องลดดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อมีทิศทางกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมาย 2% อย่างชัดเจนซึ่งปริมาณและความเร็วในการลดดอกเบี้ยจะขึ้นกับข้อมูลหลังจากนี้ ซึ่งเรามองว่าถ้อยแถลงของนาย Powell แสดงถึงความกังวล Recession และหมายถึงการลดดอกเบี้ยอย่างแน่นอนในเดือน ก.ย. โดยเรามองไว้ที่ 0.25% และเชื่อว่า Fed จะยังคง behind the curve หรือค่อยๆลดดอกเบี้ยอย่างช้าๆตามหลังข้อมูล ซึ่งหมายถึงโอกาสที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยมากกว่าที่คาดจะยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตา อย่างไรก็ตามเรายังคงชื่นชอบตลาดหุ้นสหรัฐฯจากมุมมองต่อการลดดอกเบี้ยของ Fed และตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้
ในฝั่งของญี่ปุ่น นายอูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ได้กล่าวในการปราศรัยว่า ธนาคารกลางยังคงเดินหน้าสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้อย่างไรก็ตาม นายอูเอดะได้ส่งสัญญาณว่าเขาไม่มีแผนที่จะรีบดำเนินการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป โดยย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องจับตาดูผลกระทบของตลาดการเงินที่ไม่มั่นคงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในขณะนี้ โดยรวมเราประเมินว่าคำพูดของผู้ว่าการ BOJ แสดงถึงท่าทีที่ค่อนข้าง hawkish (ตึงตัว) ส่วนนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่าธนาคารจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนธันวาคม โดยรวมเรายังคงระมัดระวังการลงทุนในญี่ปุ่น เนื่องจากมีแนวโน้มที่ดอกเบี้ยจะตึงตัว และค่าเงินเยนอาจแข็งค่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว
ในด้านเศรษฐกิจของไทยขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 5 ไตรมาส โดยได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและการส่งออก แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนายกฯและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายดิจิตอลวอลเล็ตจะทำให้อนาคตไม่แน่นอนก็ตาม โดยสภาพัฒน์ฯรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วงสามเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 2.3% จากปีก่อนหน้า สู่กว่าคาดการณ์ที่ 2.2% ขณะที่ตัวเลข GDP ไตรมาส 1/24 ปรับขึ้นเป็น 1.6% ขณะที่เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เศรษฐกิจขยายตัว 0.8% ต่ำกว่าคาดที่ 1% และ ส่วนในไตรมาสแรกมีการปรับเพิ่มเป็น 1.2% ขณะที่การคาดการณ์ของสภาพัฒน์ฯคาดว่ายอดนักท่องเที่ยวขาเข้าจะอยู่ 36.5 ล้านคนในปีนี้ และปรับเพิ่มคาดการณ์ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1.48 ล้านล้านบาทอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเฉลี่ยระหว่าง 0.4%-0.9% ต่ํากว่าเป้าหมายของ ธปท. โดยรวมไทยมีโมเมนตั้มที่เริ่มดูดีขึ้นจากตัวเลขเศรษบกิจและการได้นายกฯคนใหม่ที่เร็วกว่าที่คาด แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงเป็นกลางสำหรับตลาดหุ้นไทย
ขณะที่ตราสารหนี้เราค่อนข้างมีมุมมองเชิงบวกต่อสินทรัพย์นี้ทั้งนี้เราคาดว่าช่วงเดือนกันยายน Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก โดยคาดว่าจะลดดอกเบี้ยประมาณ 0.25% และเป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงรวมถึงอาจส่งผลให้ธนาคารกลางอื่นทั่วโลกเริ่มมีการลดดอกเบี้ยฯตาม ซึ่งตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาลจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้ ขณะที่ตราสารหนี้ภาคเอกชนในระดับที่ลงทุนได้ (IG) ก็ได้รับอานิสงค์นี้ตามไปด้วย
ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 4 กันยายน 2024
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน Finnomena Port และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notificationในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญของสัปดาห์นี้อย่าง Core CPI และ Core PPI ส่งสัญญาณให้ตลาดคงท่าทีระมัดระวัง แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ Core CPI ชี้ให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ ซึ่งทำให้การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขณะที่ Core PPI ที่คงที่แสดงว่าเงินเฟ้อด้านการผลิตยังคงอยู่ในระดับคงตัว ด้วยสัญญาณที่ผสมกันเช่นนี้ นักลงทุนจึงมีแนวโน้มที่จะรอดูสถานการณ์ก่อนตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ จนกว่าจะมีข้อมูลชัดเจนเพิ่มเติมจากธนาคารกลางหรือดัชนีเศรษฐกิจอื่น ๆ
Core CPI หรือ Core Consumer Price Index จะสามารถใช้ชื่อเรียกอีกอย่างได้คือ Core Inflation Rate หรือแปลว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core CPI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 0.2% เป็น 0.3%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-inflation-rate-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นของ Core CPI หมายความว่า ราคาสินค้าและบริการโดยรวมยกเว้นอาหารและพลังงานมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นปัญหาอย่างมากต่อ FED ในการตัดสินใจในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มของ Core CPI ยังส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจต่ออัตราดอกเบี้ยของ FED นั้นยังต้องคำนวณกับตัวชี้วัดอื่น ๆ อีกด้วย
Core PPI หรือ Core Producer Price Index คือ ดัชนีวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาขายสำหรับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตได้ขายโดยที่ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตจะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาจากมุมองของผู้ขาย เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการนั้นก็น่าจะเป็นไปได้มากว่าผู้ผลิตจะให้ผู้บริโภคแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นแทน ดังนั้นดัชนีราคาผู้ผลิตนี้จึงเชื่อว่าเป็นดัชนีสำคัญที่จะชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของผู้บริโภค
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core PPI MoM นั้นมีแนวโน้มที่จะคงตัวอยู่ที่ 0.1%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/producer-price-inflation-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ที่คงที่บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่เสถียร โดยมีความผันผวนของต้นทุนการผลิตที่น้อย ซึ่งสื่อถึงการที่ปัญหาในห่วงโซ่อุปทานอยู่ในระดับที่จัดการได้และต้นทุนการผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ได้เป็นปัจจัยกดดันให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยทันที
Credit from Layergg and Coindar
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
9 กันยายน
10 กันยายน
11 กันยายน
12 กันยายน
13 กันยายน
Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการปรับตัวลงเล็กน้อย หลายเหรียญมี Funding rate ติดลบ แสดงถึงตลาดที่เป็นภาพของปรับตัวลง นักลงทุนมีมุมมองเชิงลบต่อตลาด และทำการเปิดสถานะชอร์ตมากกว่าสถานะลอง โดยรวมแล้ว บ่งบอกถึง Sentiment ของตลาดที่ไม่ค่อยดี
Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest มีการปรับตัวลดลง บ่งบอกถึงการลดความเสี่ยงของนักลงทุนในระยะสั้น ทั้งนี้ อาจจะมาจากเหตุผลเรื่องความไม่แน่นอนทาง Macroeonomics และทำให้นักลงทุนจับตามองการประกาศของ Fed กลางเดือนนี้ ว่าจะมีการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยอย่างไร
Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 706.1 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันปริมาณมาก โดยไม่มีแรงซื้อจาก IBIT และมีแรงเทขายสุทธิจากเกือบทุกเจ้า บ่งบอกถึงการ Risk-off ของนักลงทุนสถาบันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนนึงมาจากปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนของ Macroeconomics และความกังวลเรื่องการ Unwind Yen Carry trade อีกรอบ
Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 91.1 ล้านเหรียญ ซึ่งยังคงเป็นแรงเทขายจาก ETHE เป็นหลัก และมีแนวโน้มที่จะเทขายมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก Ethereum ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงกว่า Bitcoin ทำให้โอกาสที่จะมีเม็ดเงินใหม่ ๆ ไหลเข้ามามีน้อยในระยะสั้น
ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในปัจจุบันขึ้นอยู่กับข้อมูล Macroeconomics มากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเรื่อง Recession ทำให้การจับตามองการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยปัจจุบัน ตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในวันที่ 19 กันยายนนี้
เนื่องจากตลาดรอทั้งการประกาศตัวเลข CPI, PPI, และนโยบายอัตราดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนมีการ Risk-off อย่างเห็นได้ชัด สังเกตจากตัวเลขการซื้อขายของ Spot Bitcoin ETF และ Spot Ethereum ETF ที่มีการเทขายของนักลงทุนสถาบันอย่างต่อเนื่องทุกวัน นอกจากนี้ Volume การซื้อขายบน DEX ทั้งบน Ethereum และ Solana ก็มีการตกลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการย่อตัวกว่า 30% และ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเทรด 4 เดือนก่อนตามลำดับ
Source : https://www.coinbase.com/institutional/research-insights
การ Risk-off ของนักลงทุนที่แสดงผ่านกิจกรรมการเทรดที่ลดลง ส่งผลให้ราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีหลาย ๆ เหรียญมีลักษณะ Sideways down หากพิจารณาดัชนี Sell-side Risk Ratio ซึ่งเป็นการนำ Realized profit and loss มาเทียบกับขนาดตลาด โดยสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้
ปัจจุบัน ดัชนีนี้มีค่าที่ค่อนข้างต่ำ บ่งบอกว่าตลาดได้เจอจุดสมดุลแล้ว และอาจจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้น เมื่อดัชนีมีการกลับตัว ทั้งนี้ นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการประกาศค่า Macroeconomics ที่กำลังจะมาถึงและสังเกต Reaction ที่ตลาดตอบรับ
Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-36-2024/
by Cryptomind Advisory
$BTC มีการปรับตัวย่อลงมาอีกครั้งหนึ่งในวีคนี้ ราคานั้นเคลื่อนตัวอยู่บริเวณแนวรับในกรอบขาลงบริเวณ $53,500 ในระยะยาวแล้วการเคลื่อนที่ของราคาที่จะเป็นสัญญาณขาขึ้นได้ต้องมีการปิดแท่งเทียนเหนือบริเวณ $61,000 ในระยะสั้นหากราคาไม่ได้มีการตกลงต่ำกว่าแนวรับ $52,500 ก็มีโอกาสที่ $BTC จะสร้างชุดสะสม Sideway ออกไปก่อนในระยะข้างหน้าในกรอบ $52,500 และ $56,000 จากการลงที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมาควรระมัดระวังความผันผวนรุนแรงในช่วงสัปดาห์นี้
แนวต้าน : $56,000 | $61,000 | $67,000
แนวรับ : $52,500 | $48,000 | $44,000
ETH ในภาพใหญ่ยังคงเป็นขาลง ทำ Lower Low ต่อเนื่อง ในระยะสั้นแล้วการปิดตัวต่ำกว่า $2,400 นั้นเป็นการสร้าง Momentum ขาลง ทำให้ในระยะข้างหน้ามีโอกาสที่ $ETH จะ Sideway Down ออกไปก่อน แนวราคาสำคัญที่ต้องดูของ $ETH อยู่ที่ $2,100 ซึ่งหากรับอยู่ก็มีโอกาสกลับตัวได้และอาจมาพร้อมกับ Divergence ในตัว RSI แต่หากลงต่ำกว่านั้นก็อาจมองได้ว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในอีกมุมหนึ่งหาก $ETH สามารถกลับไปยืนเหนือ $2,400 ได้ก็จะเป็นการทรงตัวของราคาที่ดีและทำให้ Momentum กลับมาเป็นการสร้างชุดสะสมเพื่อลุ้นโอกาสขึ้นต่อได้เช่นกัน
แนวต้าน : $2,400 | $2,870 | $3,350
แนวรับ : $2,125 | $1,870 | $1,550
by Cryptomind Advisory
“มีความเป็นไปได้สูง” ของการลดดอกเบี้ยของ FED จะมาถึงในเดือนกันยายน และ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และการมาของ Ethereum spot ETF และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ ในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE ALTCOINS (ETH, LAYER 2 ,LSD) 40%
STABLECOIN 20%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-9th-13th-September-2024
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
ในที่สุดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็มีสัญญาณชะลอตัวชัดเจนให้เห็น ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ร้อนไปถึงดอกเบี้ยนโยบาย ล่าสุดในการสัมมนาประจำปีที่ Jackson Hole ประธานเฟด นาย Jerome Powell ประกาศว่า “ถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินแล้ว”
ทิศทางของดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ มีความสำคัญกับทั้งเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และการลงทุน คำถามสำคัญว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯ เข้าสู่ขาลงแล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องรู้คำตอบ
คำตอบ ไม่ ครั้งนี้เป้าหมายสำคัญเป็นแค่การประคองเศรษฐกิจสหรัฐให้ Soft Landing
ดอกเบี้ยขาลงมี 4 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย ลดเพราะถดถอย (Recessionary Cuts) ลดเพื่อปรับสมดุลเศรษฐกิจ (Mid-Cycle Adjustment) ลดเพื่อประกันความเสี่ยง (Insurance Cuts) และลดเพื่อเพิ่มระยะเวลาการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Easing Cuts)
การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ เกิดในช่วงที่เงินเฟ้อ และตลาดแรงงานชะลอตัวลง แต่ไม่ถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอย ความเป็นไปได้จึงอยู่ระหว่าง Mid-Cycle Adjustment และ Insurance Cuts
ตัวอย่างในอดีตของ Mid-Cycle Adjustment เช่นปี 2019 เฟดลดดอกเบี้ยเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูง หรือ Insurance Cuts ปี 1998 เฟดลดดอกเบี้ยเพื่อประกันความเสี่ยงจากวิกฤติ LTCM
กรณีดังกล่าวมักส่งผลบวกกับเศรษฐกิจและตลาดไม่มากเนื่องจากความเสี่ยงยังคงอยู่ ต่างจาก Recessionary Cuts ที่มักสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจกลับมาได้ เพราะผลกระทบด้านลบผ่านไปหมดแล้ว
คำตอบ ไม่เสมอไป เหตุผลหลักคือธนาคารกลางอื่นสามารถลดดอกเบี้ยได้เช่นกัน
แม้ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เงินดอลลาร์จะอ่อนค่าเร็วมาก โดยเฉพาะกับสกุลเงินที่ธนาคารกลางเลือกขึ้นดอกเบี้ยอย่างเยนญี่ปุ่น หรือเงินบาทที่ธปท.ยังไม่มีแนวคิดที่จะลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุผลของการลดดอกเบี้ยครั้งนี้คือเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว ผมเชื่อว่าทิศทางเศรษฐกิจจะถูกส่งต่อไปสู่เศรษฐกิจโลก ผ่านทั้งแนวโน้มเงินเฟ้อและการเติบโต มีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางหลักอื่น ๆ จะเข้าสู่โหมดผ่อนคลายนโยบายการเงินพร้อมกัน ส่วนต่างของดอกเบี้ยจึงอาจไม่ลดลงมาก
ในทางกลับกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจเป็นแรงส่งให้ดอลลาร์แข็งค่ากลับจากภาพรวมตลาดที่ปิดรับความเสี่ยง (Risk Off)
ต่อจากนี้ดอลลาร์จะแข็งหรือจะอ่อน ผมเชื่อว่าจะเกิดจากทิศทางของตลาดทุนสหรัฐฯ มากกว่าดอกเบี้ย ตัวแปรสำคัญคือหุ้นเทคโนโลยี ที่เป็นศูนย์รวมหนึ่งเดียวของการเติบโต หนุนให้เงินลงทุนทั่วโลกไหลมารวมกันที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ถ้าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้สามารถช่วยให้หุ้นเทคโนโลยีฟื้นเป็นขาขึ้นได้ต่อ ดอลลาร์ก็จะแข็งค่ากลับ แต่ในทางกลับกัน ถ้าการลดดอกเบี้ยกลับเป็นชนวนให้เกิดการเปลี่ยนกลุ่ม หรือนักลงทุนเริ่มมองหาการเติบโตใหม่นอกสหรัฐฯ เงินดอลลาร์จะมีโอกาสอ่อนค่าต่อได้อีก 5-10% ในช่วง 12เดือนข้างหน้า
คำตอบ ไม่ใช่ขาลงหรือตลาดหมี แต่อาจไม่ถึงกับเป็นตลาดกระทิง
ทิศทางของตลาดหุ้นกับนโยบายการเงินเป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจมากที่สุดเสมอ
มองย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่ปี 1929 มีดอกเบี้ยขาลงเกิดขึ้นในสหรัฐแล้วกว่า 14 รอบ และ 12 ใน 14 ครั้ง ดัชนี S&P 500 ทำผลตอบแทนเป็นบวกได้ในช่วง 12 เดือนหลังจากการลดดอกเบี้ยครั้งแรก หรือเป็นไปได้น้อยที่เราจะพบกับตลาดหมี (ปรับตัวลง 20%) หลังการลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี ถ้าเรามองให้ลึกเข้าไปว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้อาจเกิดจาก การปรับสมดุลเศรษฐกิจ หรือเพื่อประกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนของหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยจะต่ำกว่าช่วงดอกเบี้ยขาลงอื่นราว 5% เนื่องจากความเสี่ยงยังอยู่กับตลาด
นอกจากนั้น ช่วงที่หุ้นมี Valuation แพงอยู่แล้วเช่นปี 2001 หรือปี 2007 แม้เฟดจะลดดอกเบี้ย ผลตอบแทนของการลงทุนก็ติดลบได้
มุมมองของผม หุ้นสหรัฐฯ ครั้งนี้อาจไม่ใช่ตลาดกระทิงหลังการลดดอกเบี้ย แต่คาดว่าจะเป็น “ตลาดกระบือ” มากกว่า
แม้สภาพแวดล้อมจะสนับสนุนให้หุ้นเป็นขาขึ้น แต่การที่ตลาดปรับตัวขึ้นมาก่อน และ Valuation แพงขึ้นจากกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทำให้ผลของดอกเบี้ยขาลงที่เป็นบวกในวงกว้าง มีผลกับตลาดน้อย
ตลาดรอบนี้จึงไม่มีแรงส่งให้พุ่งไปข้างหน้าทางเดียวเหมือนตลาดกระทิง แต่จะเดินเตร่และยุ่งเหยิงเหมือนกระบือ
โดยสรุป ผมมองว่าดอกเบี้ยขาลงทุกครั้งแตกต่างกัน
ในปี 2024 นักลงทุนควรเข้าใจว่าดอกเบี้ยขาลงอาจไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจกลับมาสดใสทันทีได้ ตลาดเงินมีความผันผวนสูง ตลาดทุนรับข่าวไปแล้ว แม้ดอกเบี้ยขาลงจะเป็นแรงหนุน แต่การที่หุ้นสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ภายในปีนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายครับ
ผลตอบแทนหนึ่งปีนับจากการลดดอกเบี้ยครั้งแรกของ S&P500
ที่มา: Fed, Bloomberg, FSS
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์
ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!
ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena
ในยุคเศรษฐกิจที่ผันผวน หลายคนคงมองหาโอกาสการลงทุนที่มีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว บทความนี้จึงขอพาทุกท่านมาเฟ้นหาพอร์ตที่เปี่ยมไปด้วยโอกาส ผ่านกลยุทธ์การลงทุนสไตล์ Finnomena Funds
อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 11 กันยายน 2024 โดย Finnomena Funds
พอร์ตกองทุนพร้อมลุยทุกสภาวะตลาด (All Weather) จากทีมงานคุณ Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยร่วมกับ Finnomena จัดพอร์ตโดยใช้ FVMR Framework คือด้าน Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลงทุนแบบ Passive เพื่อเน้นสะท้อนผลตอนแทนเมื่อเทียบกับตลาด มีการปรับพอร์ตปีละ 2-4 ครั้ง
อ่านคำแนะนำพอร์ต All Weather Strategy ล่าสุด คลิก
พอร์ต Asset Allocation เสี่ยงกลาง ผสานแนวคิดจัดพอร์ตระยะยาวในแนวทาง Black-Litterman เพื่อทำ Strategic Asset Allocation และเสริมการปรัพพอร์ตระยะสั้นแบบ Tactical เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน
อ่านคำแนะนำพอร์ต All Balance ล่าสุด คลิก
พอร์ต Asset Allocation เน้นกองทุนหุ้นเป็นส่วนใหญ่ ผสานแนวคิดจัดพอร์ตระยะยาวในแนวทาง Black-Litterman เพื่อทำ Strategic Asset Allocation และเสริมการปรัพพอร์ตระยะสั้นแบบ Tactical เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน
อ่านคำแนะนำพอร์ต All Star ล่าสุด คลิก
วางแผนลงทุนเพื่อคุณโดยเฉพาะ หลายเป้าหมายในแผนเดียว ติดตามผลง่าย ปรับได้ตามสถานการณ์ แนะนำพอร์ตที่เหมาะสมจากงานวิจัยรางวัลระดับโลก ด้วยความร่วมมือกับองค์กรด้านการจัดการสินทรัพย์ระดับโลกอย่าง Franklin Templeton
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
พอร์ตการลงทุนแบบทยอยสะสมมูลค่า (DCA) ที่นักลงทุนทุกคนสามารถกำหนดเป้าหมายการลงทุนได้ด้วยตัวคุณเอง มาพร้อมด้วยคำแนะนำการลงทุนอย่างละเอียดจาก Investment Team ในการปรับน้ำหนักการลงทุนเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อปี เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการเก็บออมให้ไปถึงเป้าหมาย
อ่านคำแนะนำพอร์ต Goal ล่าสุด คลิก
พอร์ตการลงทุนแบบทยอยสะสมมูลค่า (DCA) ที่เน้นการกระจายการลงทุน เพื่อบรรลุเป้าหมายสร้างเงินล้านแรกด้วยตัวท่านเอง มาพร้อมด้วยคำแนะนำการลงทุนอย่างละเอียดจาก Investment Team ในการปรับน้ำหนักการลงทุนเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อปี เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสคว้าล้านแรกของคุณ
อ่านคำแนะนำพอร์ต 1st Million ล่าสุด คลิก
ดูพอร์ตการลงทุนทั้งหมดได้ที่ 👉 https://finno.me/planselect
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena Group บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนชั้นนำของไทย ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ได้รับรางวัล The Sauciest Founder ในงาน Techsauce Global Summit 2024 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ 7-9 สิงหาคม 2024 ที่ผ่านมา
หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงานนี้คือการประกาศผลรางวัล Techsauce Awards 2024 ซึ่งเป็นการยกย่องบุคคล องค์กร และสตาร์ตอัปที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยรางวัล The Sauciest Founder มอบให้แก่ผู้ก่อตั้งหรือผู้ร่วมก่อตั้งที่โดดเด่นในด้านการเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง การปรับตัวที่ยืดหยุ่น และการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตในยุคที่เต็มไปด้วยความผันผวน พิจารณาจากวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ผลประกอบการที่ยอดเยี่ยม คุณธรรม จริยธรรม และผลกระทบเชิงบวกที่ส่งผลต่อระบบนิเวศทางเทคโนโลยีของไทย
การได้รับรางวัลในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จและความมุ่งมั่นของนายเจษฎา สุขทิศ ในการพัฒนา Finnomena ให้เป็นผู้นำด้านการลงทุนในประเทศไทย และเป็นการตอกย้ำถึงความโดดเด่นของ Finnomena ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล The Sauciest Founder ในปีนี้” นายเจษฎา กล่าว “รางวัลนี้เป็นกำลังใจให้ผมและทีมงาน Finnomena ในการเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและสร้างสรรค์ประสบการณ์การลงทุนที่ดีที่สุดให้กับคนไทย ซึ่ง Finnomena มุ่งมั่นที่จะทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ด้วยเครื่องมือและข้อมูลที่ครบครัน ผู้ใช้งานสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายและตรงตามเป้าหมายทางการเงินของตนเองได้อย่างสะดวกสบาย”
โดยงาน Techsauce Global Summit 2024 เป็นเวทีประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งมั่นในการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของภูมิภาค หรือ Tech Gateway งานนี้เป็นเวทีสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และไอเดีย รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทั่วโลก ภายใต้ธีมหลัก “The World of Tomorrow with AI” ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีล่าสุด รวมถึงการสัมมนาและการอภิปรายจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา
นับถอยหลังการประชุม Fed ครั้งสำคัญ ในวันที่ 18 กันยายนนี้ พร้อมจับตาสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะลงจอดแบบไหน? Recession หรือ Soft Landing
อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 10 กันยายน 2024 โดย Finnomena Funds
ตลาดหุ้นในเดือนกันยายน เจอผลกระทบเชิงจิตวิทยาจาก September Effect แม้การประกาศตัวเลข Unemployment Rate จะออกมาดีกว่าคาดที่ 4.2% แต่ตัวเลขการจ้างงานอื่น ๆ อย่าง Nonfarm Payrolls นั้นต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ส่งผลต่อความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้ง
ทำให้การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 18 กันยายน 2024 ถูกจับตามองมากยิ่งขึ้น ทั้งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก และถ้อยคำแถลงในการเรียกความเชื่อมั่นอีกครั้ง
Finnomena Funds จึง Tone Down แนวโน้มการลงทุนช่วงนี้จาก Bullish เป็น Neutral โดยแนะนำลงทุนอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น หรือ Wait & See เพื่อประเมินสถานการณ์ตลาดที่ยังไม่ชัดเจน
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) B-INNOTECH
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี เน้นคัดกลุ่ม High Quality Growth ที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง และราคาไม่แพง โดยยึดหลักการลงทุนสไตล์ Contrarian เชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ถดถอย ตัวเลขต่าง ๆ ยังชี้ไปที่ Soft Landing
2.) MEGA10AI-A
กองทุนที่ลงทุนใน 10 หุ้น Big Tech AI เน้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งแนวโน้มกำไรยังคงแข็งแกร่ง พร้อมทั้งยังเชื่อมั่นว่าจะมีการปรับขึ้นอีกรอบก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ
3.) DAOL-KOREAEQ
กองทุนหุ้นเกาหลีใต้แบบ Active Fund ซึ่งปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง ในขณะที่ราคาของดัชนี KOSPI ปรับตัวลดลงแรงเกินไป จึงทำให้ P/E อยู่ที่ประมาณ 9.2 เท่า ถูกกว่าค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) SCBSEMI(A)
กองทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มองเป็นจังหวะถัวเพิ่ม แม้ราคาจะปรับฐานลงมาเยอะ แต่หากเชื่อว่าจะไม่เกิด Recession ก็มีโอกาสที่หุ้นกลุ่มนี้จะรีบาวด์ได้แรงกว่ากลุ่มอื่น ๆ
2.) ASP-DIGIBLOC
กองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบล็อกเชนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นช่วงที่ราคาปรับฐานลงมาแรงจากปัจจัยฤดูกาลอย่าง September Effect แต่ยังไม่เท่ากับจุดต่ำสุดเดิม จึงยังไม่คอมเฟิร์มสัญญาณขาลง สามารถถือรอหรือถัวเพิ่มได้
3.) UOBSC
กองทุนตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเน้นลงทุนในทองคำ น้ำมัน และสินค้าทางการเกษตร โดยเกิดสัญญาณซื้อทางเทคนิค ราคารีบาวด์ทะลุแนวต้าน พร้อมทั้งราคามีโมเมนตัมเชิงบวก
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนหุ้นเวียดนาม Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจ และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและโดดเด่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
2. UOBSA
กองทุนหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) เหมาะกับการลงทุนกระจายความเสี่ยงในภูมิภาคเอเชีย ด้วยกลยุทธ์การลงทุนที่มีความยืดหยุ่น และปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาด
3.) SCBKEQTG
กองทุนหุ้นเกาหลีใต้ ยังเป็นโอกาสทยอยสะสม โดยมองว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ในจังหวะสองของกระแส AI อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากพัฒนาการที่ชัดเจนของโครงการ Value-up Program เพื่อส่งเสริมมูลค่าตลาดหุ้น
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
กว่าจะเป็น iPhone หนึ่งเครื่อง รู้ไหมมีหุ้นอะไรซ่อนอยู่ในนั้นบ้าง สรุปมาให้แบบเห็นภาพ ตั้งแต่หุ้นผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ หน้าจอ กล้องถ่ายรูป แบตเตอร์รี่ จนไปถึงโรงงานประกอบ
ย้อนกลับไปเดือนมกราคมปี 2007 ‘Steve Jobs’ เปิดตัว iPhone เครื่องแรก ในงาน Macworld Conference & Expo ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลกเทคโนโลยีจนถึงทุกวันนี้
ทำให้หุ้น Apple (AAPL) เติบโตแบบ Exponential ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา จากจำนวน iPhone ที่ทยอยเปิดขายมากกว่า 40 รุ่น ขณะเดียวกันก็ยังมีหุ้นอีกจำนวนมากที่ได้ประโยชน์จากการมาของ iPhone เนื่องจากโมเดลธุรกิจของ Apple พึ่งพาซัพพลายเออร์กว่า 90%
โพยกองทุนหุ้น Apple ลงทุนกับบริษัทนวัตกรรมเปลี่ยนโลก คลิกเลย
รวบรวมข้อมูลจาก: Quartr, TopForeignStocks, Prachachat, Droidsans, longtunman
กรมสรรพากรเตรียมแก้ไขกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจากผู้มีรายได้จากต่างประเทศที่พำนักในไทยเกิน 180 วัน แม้ไม่ได้นำเงินเข้าประเทศ โดยมุ่งสร้างความเป็นธรรมตามหลัก World Wide Income
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังอยู่ระหว่างการปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อให้บุคคลที่มีรายได้จากต่างประเทศและพำนักอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 180 วัน มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่คำนึงว่าจะนำเงินเข้ามาในประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่ผู้มีรายได้จากต่างประเทศจะเสียภาษีก็ต่อเมื่อนำเงินเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น
“ตามหลักของ World Wide Income เมื่อมีรายได้ และอยู่เกิน 180 วัน มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งในปัจจุบันหากยังไม่นำเงินเข้ามาก็จะยังไม่ถูกเก็บภาษี แต่เรากำลังจะแก้กฎหมายเป็นว่า ไม่จำเป็นต้องนำเงินเข้ามา แต่ก็ต้องเสียภาษี หากมีเงินได้จากต่างประเทศ และอยู่ในไทยเกินกว่า 180 วัน ตอนนี้กำลังร่างกฎหมาย และจะเร่งเสนอกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรม จะพยายามให้เริ่มใช้ในปี 68” อธิบดีกรมสรรพากร ระบุ
ทั้งนี้ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นไปตามหลัก Pillar 2 ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ที่กำหนดให้กลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่ เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีที่แท้จริงไม่น้อยกว่า 15% โดยกรมสรรพากรกำลังเร่งดำเนินการร่างกฎหมายและจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้จากต่างประเทศที่พำนักอยู่ในไทย โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศโดยตรง หรือมีธุรกิจในต่างประเทศ โดยจะต้องเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศแม้ยังไม่ได้นำเงินกลับเข้ามาในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือผู้ที่ลงทุนผ่าน DR (Depositary Receipt) และได้เสียภาษีในประเทศต้นทางไปแล้ว โดยที่ประเทศนั้นมีอัตราภาษีสูงกว่าไทยและมีสนธิสัญญาภาษีซ้อนกับไทย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนในประเทศไทย
ที่มา: Infoquest, SET Investnow, Krungsri
วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตกลงมาต่ำมากที่ 1,291 จุด และเป็นการตกลงมาจากต้นปีถึง 8.8% ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นตลาดหุ้นที่ “แย่ที่สุดในโลก” ในขณะนั้น แต่หลังจากนั้น ดัชนีตลาดก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 4 กันยายน ดัชนีอยู่ที่ 1,365 จุด วันที่ 5 กันยายน ดัชนีปรับตัวขึ้นไปถึง 39 จุด และวันที่ 6 กันยายน ปรับตัวขึ้นต่ออีก 23 จุด เป็น 1,428 จุด
ทำให้ตั้งแต่ต้นปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวขึ้นเป็นบวกแล้วประมาณเกือบ 1% และเพียง 1 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นมาถึง 11% กลายเป็นตลาดหุ้นที่แสดงผลงานได้ “ดีที่สุดในโลก” ในช่วง 1 เดือนผ่านมา เพราะตลาดหุ้นโลก “ปรับตัวลงกันทั่วหน้า”
เหตุผลที่ชัดเจนก็คือ ประเทศไทยกำลังได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนที่คนเดิมที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง คือคุณแพทองธาร ชินวัตร ซึ่งเป็นนายกที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย และก็ไม่เคยมีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เธอเป็นลูกสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยมีผลงานโดดเด่นในการบริหารประเทศในช่วงปี 2544 จนถึงปี 2549 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากความตกต่ำอย่างแรงต่อเนื่องจากวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540
นายทักษิณได้แสดงตัวอย่างชัดเจนว่าจะเข้ามาช่วยกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารประเทศทางด้านเศรษฐกิจที่จะฟื้นฟูประเทศไทยจากการ “ถดถอยหรือแน่นิ่ง” มานานเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเซียในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลดลงจากระดับประมาณ 4-5% ต่อปีเหลือเพียงประมาณ 2% ต่อปีในช่วงหลัง ๆ
การแสดงออกของคุณทักษิณโดยการแสดง “วิสัยทัศน์” เมื่อ 3-4 วันก่อนหน้านี้ ได้ “จุดประกาย” ให้นักธุรกิจและนักลงทุนในตลาดหุ้น “เกิดความเชื่อมั่น” ว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเริ่มก้าวเดินไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะต้องดีขึ้นและตลาดหุ้นจะต้องดีขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยตกต่ำนั้น มันอยู่ที่จุดต่ำสุดแล้ว ทุกปัจจัยที่ดีที่ทุกคนต่างก็รอคอยว่าจะมา ถึงตอนนี้ มันกำลังจะมาอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลใหม่นี้พร้อมที่จะทำมันแล้ว
เงินกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะแจกคนละหมื่นบาทกับคนค่อนประเทศที่คนจำนวนมากไม่แน่ใจว่าจะทำได้และทำเมื่อไรเพราะถูก “ต่อต้าน” นั้น บัดนี้ดูเหมือนว่ามันจะเริ่มเกิดขึ้นภายในเวลา “ไม่ถึงเดือน” และเงินนี้ยังไงก็คงทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟูขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะจำนวนเงินหลายแสนล้านบาทที่จะถูกฉีดเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่องหลายเดือนนั้น ยังไงก็คงส่งเสริมให้ภาคการบริโภคเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน อย่างน้อยในช่วงปลายปีนี้และอาจจะส่งผลต่อไปอีกในช่วงต้นปีหน้า
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของประเทศไทย ซึ่งนักธุรกิจและประชาชนต่างก็ “รอ” มานาน ถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการรอน่าจะใกล้สิ้นสุดเต็มที โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่า สหรัฐอเมริกาจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการประชุมคราวหน้าอีกไม่กี่วันที่จะถึง ซึ่งจะทำให้แบ้งค์ชาติไม่มีเหตุผลอีกต่อไปที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม และถ้าดอกเบี้ยลดลง การลงทุนและการบริโภคก็จะดีขึ้น ค่าผ่อนชำระเงินกู้ก็จะต่ำลง เงินที่จะใช้เพื่อการบริโภคก็จะมากขึ้น
เศรษฐกิจโดยรวมของไทยเองนั้น ดูเหมือนว่ากำลังจะดีขึ้นจากภาวะที่ซบเซาก่อนหน้านี้ ตัวเลขการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ติดลบ การท่องเที่ยวก็เช่นกันที่กำลังดีขึ้นและจะทำให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย ว่าที่จริง จำนวนคนที่เดินในซอยรางน้ำที่ผมอยู่นั้น ดูเหมือนจะคึกคักเกือบเท่าสมัยก่อนโควิด-19 แล้ว ซึ่งก็ทำให้ร้านค้าปลอดภาษีและร้านสะดวกซื้อมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไม่ไปไหนมานานก็คือ เม็ดเงินที่มาจากสถาบันที่เข้าสู่ตลาดหุ้น ซึ่งประกอบไปด้วยกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนประหยัดภาษีของคนที่มีรายได้สูงเช่น LTF นั้นหายไปนานแล้ว และกองทุนที่จะมาแทนนั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพพอในการดึงเงินเข้าสู่ตลาดหุ้น หรือไม่ก็เป็นกองทุนที่กำลังคิดหรือกำลังเตรียมการแต่ก็ไม่ออกมาเสียที สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือ รัฐบาลยังมีอาการ “ไม่มั่นคง” เนื่องจากประเด็นทางการเมือง
แต่เมื่อถึงวันนี้ ดูเหมือนว่ากองทุนที่มี “ประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด” คือ “กองทุนวายุภักษ์” ก็ปรากฏตัวขึ้นมา และบอกว่าจะเริ่มดำเนินการระดมเงิน 1 แสนหรือ 1.5 แสนล้านบาท เข้ามาซื้อหุ้นขนาดใหญ่ที่ดี ๆ และราคาถูกในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่จะเป็นกองทุนที่รับประกันกับนักลงทุนว่าจะได้ผลตอบแทนอย่างน้อย 3% ต่อปี ในขณะที่ถ้าหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดีก็อาจจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปสูงสุดถึง 8% ต่อปี ทั้งหมดนี้จะเปิดขายในเร็ววันนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะทำใน “ไตรมาศหน้า” อีกต่อไป
ในส่วนของอายุหรือความมั่นคงของรัฐบาลที่เป็นประเด็นทำให้หลาย ๆ เรื่องต้องชะลอหรืออาจจะไม่เกิดนั้น ดูเหมือนว่ารัฐบาลนี้จะมั่นคงขึ้น มีความรู้สึกว่าทุกอย่างกำลังลงตัว ผู้มีอำนาจ “ตัวจริง” ต่างก็ “ลงมาเล่น” กันหมด แน่นอนว่าจะมีคนเถียงว่ามีการใช้ “นอมินี” หรือตัวแทนกันมากที่สุดเพราะ “ตัวจริง” ขาดคุณสมบัติ แต่ผมมองว่าอาจจะใช่ แต่ตัวจริงนั้นก็ “เปิดตัว” ให้รู้กันชัดเจน เพียงแต่กฎหมายที่ “ไม่เป็นธรรม” อาจจะไม่สามารถเอาผิดได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ “อำนาจนอกระบบ” กับ “อำนาจในระบบ” ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกันมากขึ้น และนี่ก็คือความมั่นคงทางการเมืองแบบ “ไทยๆ”
สรุปก็คือ “Timing” หรือจังหวะเวลาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น สิ่งดี ๆ ต่อตลาดหุ้นทั้งหลายต่างก็เวียนมาบรรจบกันพอดีแล้วก็ถูก “จุดชนวน” โดยคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งก็ทำให้หุ้น “ระเบิด” ราวกับติดจรวด ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปแรงมากพร้อม ๆ กับปริมาณการซื้อขายต่อวันสูงถึงแสนล้านบาท ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่เราไม่ได้เห็นมานาน
ประเด็นสำคัญที่สุดในตอนนี้ก็คือ หุ้นจะขึ้นต่อไปและจะสูงไปถึงแค่ไหน นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น “VI” ที่ไม่เล่นหุ้นเก็งกำไรควรจะซื้อหรือควรจะขาย? แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ผมอยากจะหวนย้อนกลับไปดูดัชนีตลาดหุ้นยุคที่คุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาเกือบ 6 ปี
ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่คุณทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรี ดัชนีตลาดอยู่ที่ประมาณ 330 จุด ดัชนีก็ทรง ๆ อยู่เท่าเดิมเป็นเวลาถึงประมาณ 2 ปี ก่อนที่จะเริ่มวิ่งขึ้นไปแรงมากในช่วงปีที่ 3 คือปี 2546 โดยที่เมื่อสิ้นปี 2546 ดัชนีก็วิ่งขึ้นไปถึง 772 จุด เฉพาะปี 2546 ปีเดียว ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปถึง 117% ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทยหลังปีวิกฤติ 2540 อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มที่และ “สูงที่สุด” ถึง 7.2% สถานะทางการเงินของไทยสูงสุดจากการประกาศคืนเงินที่ต้องกู้ยืมจาก IMF ก่อนกำหนดของคุณทักษิณในช่วงกลางปี 2546
หลังจากการขึ้นสู่ “จุดสูงสุด” รัฐบาลที่นำโดยคุณทักษิณก็ประสบปัญหามากมายจากการประท้วงของกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามจนนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549 โดยที่การเติบโตของ GDP ลดลงเหลือเพียงปีละ 4-5% และดัชนีตลาดหุ้นในช่วง 3 ปีหลังของคุณทักษิณไม่สามารถขึ้นไปเกินจุดสูงสุดที่ 772 จุดอีกเลย
รอบใหม่ที่คุณทักษิณกลับมา “หลังจาก 17 ปี” นี้ ดูเหมือนว่าหุ้นจะต้อนรับ “ตั้งแต่วันแรก” เพราะคนอาจจะคิดถึงอดีตที่หอมหวาน คำถามอยู่ที่ว่า รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงสร้างของประชากรที่แก่ตัวได้ไหม เช่นเดียวกับปัญหาในการบริหารประเทศในระยะยาว ถ้าทำได้ หุ้นก็อาจจะโตต่อไปได้อีกยาวนาน แต่ถ้าหากว่าทำไม่ได้ หุ้นก็คงขึ้นไปได้อีกไม่นาน และถ้าเป็นอย่างนั้น นี่ก็คือโอกาสที่ควรจะขาย เพราะมันอาจจะเป็น “ก๊อกสุดท้าย” ที่เราจะขายหุ้นได้ในราคาที่ดี
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร