ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid02u6QbekKfLbMsrDop3taJaExhMWpNpqJKC6u5NWCwduXcsPG4cUzXzbQtSrQRCXoHl
เคยรู้สึกไหมว่าเงินเดือนหมดไปกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างรวดเร็วจนไม่มีเงินเก็บสักที? อยากมีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรืออยากลงทุนเพื่ออนาคต แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี? วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคการจัดการเงินที่ง่ายและได้ผลจริง นั่นคือ “การแบ่งเงิน 4 บัญชี” ที่จะช่วยให้คุณมีวินัยทางการเงินมากขึ้น และสามารถจัดการเงินได้อย่างเป็นระบบ
การแบ่งเงินออกเป็น 4 บัญชีจะช่วยให้คุณเห็นภาพการเงินที่ชัดเจนขึ้น และสามารถจัดสรรเงินไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละบัญชีจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้
ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วนเงิน: บัญชีฉุกเฉิน 20%, บัญชีค่าใช้จ่ายรายเดือน 50%, บัญชีลงทุน 20% และบัญชีซื้อความสุข 10% ทั้งนี้สัดส่วนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละคน
อยากมีตัวช่วยแบ่งเงินให้เป็นระบบ ลองให้ ‘FIN SAVE by KKP’ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่จะเชื่อมต่อโลกการลงทุนในที่เดียวบนแอปพลิเคชัน Finnomena ช่วยคุณจัดการชีวิตการเงินให้ง่ายขึ้น แยกบัญชีเงินลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายประจำวันชัดเจน หมดปัญหาเงินปนกันจนเก็บไม่อยู่ พร้อมให้เงินงอกเงย รับดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี* ระหว่างพักเงินรอลงทุน สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ ดูแลเงินฝากของคุณโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร
*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท)
หากคุณกำลังมองหาบัญชีเงินฝากที่จะทำให้ชีวิตการเงินของคุณสะดวกขึ้น จัดการทั้งเงินฝากและเงินลงทุนได้ครบจบในที่เดียว บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คือคำตอบ! ดาวน์โหลดแอปฯ Finnomena และเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ได้เลย
https://partner.finnomena.com/kkp/landing
พิเศษ! เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP บนแอปฯ Finnomena วันนี้ รับหน่วยลงทุนกองทุนรวม KKP MP ของบลจ. เกียรตินาคินภัทร มูลค่า 100 บาท (ของสมนาคุณเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ย 0.2% ต่อปี) สำหรับลูกค้า 1,000 ท่านแรก ที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ระหว่างวันที่ 22 ส.ค. 2567 – 15 ธ.ค. 2567 ฝากเงินตั้งเเต่ 50,000 บาท ขึ้นไป และคงเงินฝากจนถึงวันที่ 1 ม.ค. 2568
หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเปิดบัญชีไม่สำเร็จหรือบริการทางบัญชีเพิ่มเติม โปรดติดต่อ KKP Contact Center โทร 02-165-5555 กด 5 ต่อจากนั้น กด 1 เวลา 07.00-20.00 ของทุกวัน
หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Finnomena Application โปรดติดต่อ 02-026-5100 เวลา 09.00 – 17:00 ทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
คำเตือน:
วงเงินฝาก | อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) |
ไม่เกิน 500,000 บาท (A) | 0.40% |
ส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท (B) | 1.60% |
ส่วนที่เกิน 2,000,000 (C) | 0.40% |
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (A) = 0.40%, (B) = 0.40%-1.30%, (C) 0.40%-1.30%
กรณีที่ 1: ฝากเงิน 1,500,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
กรณีที่ 2: ฝากเงิน 3,000,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
กระทรวงการคลังเดินหน้าวางแผนปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจโตช้าและลดความเสี่ยงจากหนี้สาธารณะที่ใกล้แตะเพดาน พร้อมเตือนว่าการกู้เงินเพิ่มอาจกระทบเสถียรภาพการเงินของประเทศ แผนนี้รวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 10% ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้อยู่ที่ 15%
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gains Tax) เพื่อเพิ่มรายได้รัฐ ลดความเหลื่อมล้ำ และดูแลผู้มีรายได้น้อย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยอมรับว่าการขึ้น VAT เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ถือเป็นความจำเป็นเพื่อสร้างรายได้สำหรับการลงทุนพัฒนาประเทศ
โดยประเด็นสำคัญของแผนปฏิรูปภาษีประเทศไทยมีดังนี้
แผนปฏิรูปภาษีนี้สะท้อนถึงความพยายามในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและรองรับความท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคต ด้วยเป้าหมายในการสร้างความสมดุลระหว่างการจัดเก็บรายได้ การพัฒนาประเทศ และการดูแลประชาชน
อ้างอิง: ประชาชาติธุรกิจ, The Standard Wealth
หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
ในสัปดาห์แรกของเดือนสุดท้ายในปีนี้ มีตัวชี้วัดด้านแรงงานเป็นหลัก ในส่วนของ JOLTs Job Opening ที่มีแนวโน้มว่าจะลดตัวลง แต่ด้วยการที่ไม่ได้ลดลงเยอะ อาจไม่มีส่วนสำคัญในการมีผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในด้านของ ISM Manufacturing PMI และ ISM Services PMI ทั้งสองตัวนี้ถือว่าแสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต แม้จะไม่ได้เติบโตเร็ว แต่เป็นการเติบโตที่ช้าและมั่นคง และส่วนสุดท้ายคืออัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มที่จะคงที่เท่าเดิม ในด้านของตลาดคริปโทฯ ยังสามารถเปิดความเสี่ยงได้ทั้ง Bitcoin และ Altcoin แต่ด้วยผลตอบแทนของ Bitcoin อาจไม่สูงเท่าตัวอื่น ๆ เนื่องด้วย Bitcoin ได้มีการขยับตัวขึ้นมาเยอะพอสมควร ในขณะที่ Altcoin บางตัวยังไม่ได้มีการปรับตัวขึ้นมาสูงมาก ฉะนั้น ณ ตอนนี้ถือว่าเป็นเวลาที่ดีในการ Risk On และยังมี Upside ที่เป็นที่น่าพอใจ
ISM Manufacturing PMI คือตัวเลขการจัดซื้อและจัดจ้างในภาคการผลิตสินค้าต่าง ๆ จากการจัดทำการสำรวจสอบถามภาคธุรกิจการผลิตต่าง ๆ รวมถึง 300 บริษัททั่วประเทศเพื่อทราบถึงผลกระทบทางบวก และ ลบในภาคเศรษฐกิจ โดยดัชนีนี้จะประกอบไปด้วย คำสั่งซื้อใหม่ 30% การผลิต 25% แรงงาน 20% เวลาส่งมอบของผู้ผลิต 15% และสินค้าคงคลัง10% รวมถึงสินค้าคงคลังที่ซื้อมา 10%
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: ISM Manufacturing PMI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจาก 46.5 เป็น 47.2
การคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของ ISM Manufacturing PMI แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่กำลังโต แต่ไม่ได้เติบโจในอัตราที่รวดเร็ว ในด้านของการลงทุน ตัวชี้วัดนี้จะส่งผลสำคัญต่อหุ้นมากกว่าคริปโทฯ โดยเฉพาะในหุ้นของกลุ่มภาคการผลิตจะได้รับผลกระทบในเชิงบวกไปเต็ม ๆ อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ว่าตัวชี้วัดนี้จะอยู่ที่ 47.2 ซึ่งไม่เกิน 50 การที่จะดีที่สุดสำหรับการลงทุนและเศรษฐกิจคือตัวชี้วัดนี้จะต้องมีค่ามากกว่า 50 นั้นเอง
ตัวเลขการสำรวจการจ้างงานทุกตำแหน่ง (ที่ยังว่างอยู่) ในทุกวันสุดท้ายของเดือน เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ “Job Openings and Labor Turnover Survey (JOLTS)” การสำรวจนี้จะรวบรวมข้อมูลจาก 16,400 หน่วยงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงร้านค้า และ โรงงาน รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลระดับกลาง ภาครัฐ และท้องถิ่นใน 50 รัฐ และ ดิสทริคต์ออฟคอลัมเบีย
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: JOLTs Job Opening มีแนวโน้มที่จะลดลงจาก 7.443M เป็น 7.38M
การคาดการณ์ในการลดตัวลงของ JOLTs Job Opening แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวหรือขยับตัวช้าลง การลดตัวลงของตัวชี้วัดนี้ยังมีผลต่อการตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED อีกด้วย ในฝั่งของตลาดคริปโทฯ ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน นักลงทุนระยะสั้นอาจขายสินทรัพย์เสี่ยงสูงเพื่อไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยกว่านั้นเอง อีกทั้งเศรษฐกิจที่มีโอกาสชะลออาจทำให้เกิดการไม่มั่นใจในสินทรัพย์เสี่ยง
Unemployment rate คือ อัตราการว่างงานเป็นสัดส่วนจากประชาการที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพตลาดแรงงาน และสะท้องถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม อัตราว่างงานที่สูงบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่จะลอตัวลงหรือแม้กระทั้งหดตัวลง
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Unemployment Rate มีแนวโน้มที่จะคงที่ที่ 4.1%
การคาดการณ์การคงที่ของ Unemployment Rate ที่ 4.1% แสดงให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและที่ความมั่นคง สามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนแก่นักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม Consumer Spending หรือการบริโภคของคนได้อีกด้วย และยังสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจในการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ได้อีกด้วย ในส่วนของตลาดคริปโทฯ อาจมีการเพิ่มอุปสงค์ในการซื้อเหรียญ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในตลาดคริปโทฯ ได้มากขึ้นอีกด้วย
Credit from LayerGG
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
1 ธันวาคม
2 ธันวาคม
3 ธันวาคม
7 ธันวาคม
ในส่วนของ Funding Rate สำหรับอาทิตย์นี้ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ แสดงถึงความ Bullish ของนักลงทุนในตลาด เนื่องจากมีการเปิดสถานะ Long มากกว่า Short หากเปรียบเทียบกับการวิ่งขึ้นของตลาดในเดือนมีนาคมที่ Funding Rate สูงกว่านี้มาก จะพบว่า Upside ในความร้อนแรงของตลาดยังมีอีกมาก
ในฝั่งของ Bitcoin Futures Open Interest มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนทะลุ All Time High อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงการเก็งกำไรของนักลงทุนผ่านสัญญา Futures ที่เพิ่มขึ้น ตลาดมีความร้อนแรงหลังจากข่าวดีเรื่องการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่การใช้ Leverage ของตลาดในปริมาณมาก ก็อาจจะทำให้เกิดความผันผวนที่ตามมาเช่นกัน
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 135.1 ล้านเหรียญ อาจจะมาจากการทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น้อยหากเทียบกับ Inflow ช่วงที่ผ่านมา และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาของ Bitcoin อย่างรุนแรง
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกระแสเงินไหลเข้าทั้งสิ้น 466.5 ล้านเหรียญ โดยแรงซื้อส่วนใหญ่มาจาก Blackrock ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นโมเมนตัมการเริ่มเข้ามาลงทุนใน Ethereum ของนักลงทุนสถาบันที่ดี อาจจะด้วย Upside ที่มากกว่า Bitcoin ส่งผลให้ราคาของ Ethereum ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีความแข็งแกร่งกว่าเหรียญอื่น ๆ
ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ Bitcoin ได้ทำจุดสูงสุดใหม่ นักลงทุนระยะยาวที่มีต้นทุนต่ำก็ได้ทำการทยอยขายออกเพื่อทำกำไร ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม แต่ครั้งนี้มีปริมาณที่มากกว่า โดยปัจจุบัน นักลงทุนระยะยาวมีการขายเพื่อทำกำไรสูงถึง 2 พันล้านเหรียญต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นสถิติสูงสุดตั้งแต่ Bitcoin มีมา
อย่างไรก็ตาม ความกังวลในเรื่องของ Drawdown ที่อาจจะเกิดขึ้นจากแรงขายของนักลงทุนระยะยาวครั้งนี้ ถูกบรรเทาลงด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันผ่าน Spot Bitcoin ETFs ที่หลัง ๆ มานี้ ได้มีการเข้าซื้อกันอย่างล้นหลาม จุดที่นักลงทุนควรจับตามอง คือ แรงซื้อเหล่านี้จะยังคงสามารถเข้ามาแทนที่แรงเทขายได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าแรงซื้อดังกล่าว เริ่มแสดงสัญญาณของการปรับตัวลดลง ก็อาจจะเป็น Trigger ที่ทำให้เกิดการปรับฐานของ Bitcoin นั่นเอง
หากพิจารณาต้นทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดจากกราฟด้านล่าง จะพบว่าบริเวณ $54,000 – $73,000 มีการเก็บสะสม Bitcoin กันอย่างหนาแน่น เนื่องจากช่วงนั้น Bitcoin มีการเคลื่อนที่อยู่ในกรอบมากกว่า 7 เดือน กลับกัน ช่วงราคา $73,000 – $88,000 มีปริมาณการซื้อที่ค่อนข้างเบาบาง จากการที่ราคาพุ่งไปอย่างรวดเร็ว ทำให้หากเกิดการปรับฐานครั้งต่อไป อาจจะทำให้ราคาปรับลงมาต่ำกว่า $88,000 ได้
by Cryptomind Advisory
ในมุมมองระยะสั้น $BTC นั้น Sideway อยู่บริเวณ $93,000 – $99,000 โดยเป็นการพักตัวจากการขึ้นรุนแรงในช่วงเดือนที่ผ่านมา ในระยะข้างหน้าก็อาจจะสร้างชุดสะสมในบริเวณนี้ก่อนที่จะมีการ Breakout ออกไป แนวต้านสำคัญในบริเวณนี้นั้นคือราคา $100,000 ที่ถ้าหาก $BTC นั้นสามารถยืนเหนือแนวดังกล่าวได้ ก็อาจจะสามารถทำราคาขึ้นต่อไปได้
แนวต้าน : $100,000 | $120,000 | $150,000
แนวรับ : $91,500 | $86,000 | $83,000
ในมุมมองระยะสั้น $ETH นั้นได้ขึ้นผ่านแนวต้าน $3,400 มาได้ซึ่งเป็น Momentum ขาขึ้นที่ดี ในส่วนของ RSI นั้นเริ่มมีการสร้าง Bearish Divergence ให้เห็นแล้ว โดยอาจส่งผลให้ราคาในระยะสั้นเกิดการย่อตัวได้ซึ่งมีแนวรับบริเวณ $3,500 ในกรณีที่ราคายืนอยู่ได้ก็มีโอกาสที่จะไปต่อได้ ยิ่งหากราคายืนแนว $3,700 ได้จะเป็นมุมมองที่ Bullish อย่างมาก
แนวต้าน : $3,700 | $4,000 | $4,800
แนวรับ : $3,450 | $3,000 | $2,870
by Cryptomind Advisory
ตลาดกำลังมองเห็นโอกาสของเกิด Soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากการลดดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดเริ่มเปิดความเสี่ยงมากขึ้น ขณะที่ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% ผนวกกับการมาของ Ethereum และ Bitcoin spot ETF / Options และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทฯ โดยโดนัลด์ ทรัมป์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE LARGE MARKET CAP (30-35%)
SELECTIVE SMALL-MID MARKET CAP ALTCOINS (10-15%)
STABLECOINS 15%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-2nd-6th-December-2024
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
มีเงิน 1,000,000 บาท ฝากไว้ที่ไหนดี? การออมเงินเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเลือกที่ฝากเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับในอนาคตด้วย ในยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปค่อนข้างต่ำเช่นนี้ การหาบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงจึงเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ
วันนี้เราจึงมัดรวม “บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง” มาฝากกัน แนะนำพร้อมเปรียบเทียบให้ดูกันแบบชัด ๆ ว่าแต่ละที่ให้อัตราดอกเบี้ยเท่าไร มีเงื่อนไขการฝากอย่างไรบ้าง มาดูไปพร้อมกันได้เลย!
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2.22% ต่อปี สำหรับการฝากเงินในเดือน 19-24 และยอดเงินฝากไม่เกิน 5,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ย 1.60% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากมากกว่า 200,000 – 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.55% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (ดอกเบี้ยปกติ 1.00% และดอกเบี้ยโบนัส 0.50% เมื่อมียอดเงินฝากเฉลี่ยของเดือนปัจจุบันมากกว่า/เท่ากับยอดเงินฝากเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว)
จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 1.50% ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่แต่ละธนาคารประกาศกำหนด ข้อมูลจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2567
อยากออมเงินให้คุ้ม มาฝากเงินไว้กับ ‘FIN SAVE by KKP’ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่จะเชื่อมต่อโลกการลงทุนในที่เดียวบนแอปพลิเคชัน Finnomena ช่วยคุณจัดการชีวิตการเงินให้ง่ายขึ้น แยกบัญชีเงินลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายประจำวันชัดเจน พร้อมรับดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี* ระหว่างพักเงินรอลงทุน สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ ดูแลเงินฝากของคุณโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร
*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำหนด (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.60% ต่อปี สำหรับยอดฝากส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท)
หากคุณกำลังมองหาบัญชีเงินฝากที่จะทำให้ชีวิตการเงินของคุณสะดวกขึ้น จัดการทั้งเงินฝากและเงินลงทุนได้ครบจบในที่เดียว บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP คือคำตอบ! ดาวน์โหลดแอปฯ Finnomena และเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ได้เลย
https://partner.finnomena.com/kkp/landing
พิเศษ! เปิดบัญชี FIN SAVE by KKP บนแอปฯ Finnomena วันนี้ รับหน่วยลงทุนกองทุนรวม KKP MP ของบลจ. เกียรตินาคินภัทร มูลค่า 100 บาท (ของสมนาคุณเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ย 0.2% ต่อปี) สำหรับลูกค้า 1,000 ท่านแรก ที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP ระหว่างวันที่ 22 ส.ค. 2567 – 15 ธ.ค. 2567 ฝากเงินตั้งเเต่ 50,000 บาท ขึ้นไป และคงเงินฝากจนถึงวันที่ 1 ม.ค. 2568
หากพบปัญหาเกี่ยวกับการเปิดบัญชีไม่สำเร็จหรือบริการทางบัญชีเพิ่มเติม โปรดติดต่อ KKP Contact Center โทร 02-165-5555 กด 5 ต่อจากนั้น กด 1 เวลา 07.00-20.00 ของทุกวัน
หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Finnomena Application โปรดติดต่อ 02-026-5100 เวลา 09.00 – 17:00 ทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
คำเตือน:
วงเงินฝาก | อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) |
ไม่เกิน 500,000 บาท (A) | 0.40% |
ส่วนที่เกิน 500,000 – 2,000,000 บาท (B) | 1.60% |
ส่วนที่เกิน 2,000,000 (C) | 0.40% |
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (A) = 0.40%, (B) = 0.40%-1.30%, (C) 0.40%-1.30%
กรณีที่ 1: ฝากเงิน 1,500,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
กรณีที่ 2: ฝากเงิน 3,000,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ FIN SAVE by KKP
เช้าวันนี้ (4 ธันวาคม 2024) ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ปรับตัวลงราว 2% หลังยุน ซอก ยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ประกาศใช้กฎอัยการศึกฉุกเฉินเมื่อคืนวันที่ 3 ธันวาคม 2024 ซึ่งนับเป็นการประกาศใช้กฎอัยการศึกครั้งแรกในรอบ 44 ปี โดยกล่าวหาว่าพรรคฝ่ายค้านจะควบคุมรัฐสภาและเอนเอียงหาเกาหลีเหนือจึงได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศไม่นาน ประธานสภาฯ ได้มีประกาศฉุกเฉิน เพื่อเรียกให้สมาชิกสภาฯ เข้าประชุม และลงมติที่รัฐสภาเพื่อยกเลิกกฎดังกล่าว พร้อมถ่ายทอดสดทางยูทูป โดย ส.ส. ผู้ร่วมประชุม 190 คน ได้ลงมติให้ยกเลิกกฎอัยการศึกทันที ขณะที่ประธานาธิบดียุน ซอก ยอล ยอมยกเลิกกฎอัยการศึกในเช้าวันที่ 4 ธันวาคม
นอกจากนี้ หลังจากการประกาศกฎอัยการศึก ค่าเงินวอนได้อ่อนค่าลงอย่างรุนแรงในรอบกว่า 2 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และได้มีรายงานจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BoK) โดยระบุว่าทางธนาคารกลางพร้อมที่จะแทรกแซงค่าเงิน และรักษาเสถียรภาพของตลาดปริวรรตเงินตราหากมีความจำเป็น
Finnomena Funds มองว่าการปรับตัวลงของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ครั้งนี้เป็นความผันผวนในระยะสั้น หากอิงกับเหตุการณ์รัฐประหารของประเทศไทยพบว่าตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลงในช่วงสั้นเท่านั้น รวมถึงสถานการณ์ของเกาหลีมีความชัดเจนได้อย่างรวดหลังยกเลิกกฎอัยการศึกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา
เรายังคงแนะนำถือกองทุน SCBKEQTG และ DAOL-KOREAEQ ซึ่งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากหุ้นกลุ่มชิปที่ได้ยังอานิสงส์จากการใช้งานด้าน AI รวมถึงจับตาความคืบหน้าชิป HBM3E ของ Samsung
จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
ชมรมหุ้นกู้ – รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลินิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!
ติดตามรายการชมรมหุ้นกู้ได้ทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Youtube & Facebook Finnomena
วันนี้ (3 ธันวาคม 2024) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้สามารถดำเนินโครงการสลากออมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือ “หวยเกษียณ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะออกสลากขูดแบบดิจิทัล ใบละ 50 บาท เพื่อขายให้กับสมาชิกกอช. ซึ่งเป็นผู้ประกันตน ม.40 และแรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก
2. ซื้อได้คนละไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และสามารถซื้อสลากได้ทุกวัน
3. ออกรางวัลทุกวันศุกร์เวลา 17:00 น.
4. ผู้ถูกรางวัลจะได้เงินรางวัลทันทีผ่านพร้อมเพย์ (PromptPay) ส่วนเงินค่าซื้อสลากจะถูกเก็บไว้เป็นเงินออมทรัพย์เข้าบัญชีเงินออมรายบุคคลกับกอช. แม้ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ก็ตาม
5. เงินออมจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน โดยการบริหารจัดการของกอช. ในอัตราความเสี่ยงที่ต่ำ ในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market)
6. เงินออมทรัพย์ดังกล่าว สามารถถอนได้เมื่อผู้ซื้อสลากอายุครบ 60 ปี โดยถอนเงินได้ทั้งหมดทุกบาททุกสตางค์
7. ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ก็สามารถซื้อหวยเกษียณได้เช่นกัน แต่ต้องออมไว้ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อวันแรก จึงจะสามารถถอนเงินออกมาได้ เช่น ซื้อตอนอายุ 60 ถอนได้ตอนอายุ 70 ปี
8. นโยบายหวยเกษียณ เป็นกลไกสร้างแรงจูงใจในการออม โดยรัฐช่วยใส่เงินสมทบในการออกรางวัล
9. ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจทานร่างกฎหมายโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนนำเข้าสู่กระบวนการรัฐสภา คาดจะเริ่มขายภายในไตรมาสแรก ปี 2568
10. อาจจะมีการขยายผลโครงการเฟสต่อไป ให้แรงงานในระบบสามารถซื้อ (มนุษย์เงินเดือน) จากการประเมินผลลัพธ์ในเฟสแรกก่อน
Bottomliner เลือกปรับพอร์ตกลยุทธ์ OMO ย้ายจากกองทุน REIT เข้าสู่กอง Blockchain ASP-DIGIBLOC 15% โดยเรามีมุมมองว่า Digital Asset กลับมามีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจาก Donald Trump ชนะเลือกตั้ง และมีนโยบายสำหรับการผลักดัน Bitcoin
เริ่มต้นจาก Trump ประกาศว่าจะปลด Gary Gensler ประธาน SEC ที่มักเป็นคนออกกฎระเบียบสำหรับตลาด Crypto บ่อย ๆ ซึ่งทาง Gary Gensler ได้ออกมาบอกว่าจะลงจากตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมนี้
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายที่ทาง Trump ตั้งใจจะให้ Bitcoin เป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศ จากก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะเป็น ทองคำ สกุลเงินต่างประเทศ และพันธบัตรรัฐบาล
ในขณะเดียวกันทาง Bottomliner ได้นำ REIT ออกจากกลยุทธ์เนื่องจากแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ Fed นั้นเริ่มชะลอตัวลง จากก่อนหน้าเลือกตั้ง ตลาดคาดการณ์กันว่าจะลดดอกเบี้ยทุกการเลือกตั้ง 25 bps แต่ปัจจุบัน ตลาดหันมามองว่าจะลดเป็นไตรมาสละครั้ง ครั้งละ 25 bps แทนเนื่องจากรอดูท่าทีของนโยบายจาก Trump ที่อาจทำให้เงินเฟ้อกลับขึ้นมาได้
พร้อมทั้งทาง Jerome Powell มองว่าตอนนี้ Fed สนใจแต่ตลาดแรงงานมากเกินไป และอยากให้กลับไปสนใจเรื่องเงินเฟ้อเป็นอันดับแรกก่อนเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งจะช่วยให้ปรับนโยบายได้ทันเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งทาง Fed จะมีการประชุมกันเพื่อหารือเรื่องนี้ต่อ
สัดส่วนน้ำหนักการลงทุนพอร์ต OMO โดย BottomLiner ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2024
Optimal Megatrend Opportunities Portfolio กลยุทธ์การลงทุนที่ผสมผสาน การเลือก Megatrend และแบ่งน้ำหนักการลงทุนด้วย Risk Budgeting มาช่วยในการจัดพอร์ตการลงทุน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-omo
บทความโดย BottomLiner สำหรับพอร์ต Optimal Megatrend Opportunities (OMO) ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2024
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 6/12/2024
จากการปรับพอร์ตทำให้หุ้น 85% เหลือ 70% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ยังเป็น Aggressive Portfolio อยู่
โดยสัดส่วนของ Core ยังเหมือนเดิมคือ 30%
แต่ลด Satellite แบบ Sector เหลือ 35%
ที่เหลือจะเป็นทองคำและ Market Neutral ซึ่งใช้จัดการความเสี่ยงอีก 30%
ทำให้ Growth Investment Style เหลือสัดส่วน 30%
แต่ทำให้ Defensive Investment Style และ Hedging เพิ่มเป็น 55%
Global Aggressive Hybrid Portfolio พอร์ตการลงทุนที่ผสมผสานกองทุนแบบ Active และ Passive กระจายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb
บทความโดย WealthGuru สำหรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid ที่ Finnomena Funds เท่านั้น ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2024
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
คุณกำลังมองหาวิธีจัดพอร์ตที่จะช่วยให้ผ่านพ้นทุกสภาวะตลาดได้อย่างมั่นใจอยู่หรือเปล่า? หากใช่บทความนี้ถูกสร้างมาเพื่อคุณ! เพราะเราจะมาเผยเคล็ดลับการจัดพอร์ตที่ไม่ว่าตลาดจะผันผวนแค่ไหนก็ช่วยให้พอร์ตของคุณเอาชนะตลาดได้มาฝากกัน รายละเอียดพอร์ตจะเป็นอย่างไร? ติดตามไปพร้อมกันได้ในบทความนี้
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว’ หากพูดในความหมายของโลกการลงทุน ประโยคนี้ก็หมายความว่า ‘การกระจายความเสี่ยง’ นั่นเอง คงไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในทุกช่วงเวลา และเราก็ไม่อาจรู้อนาคตแน่นอนได้ว่าโลกจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนพอร์ตมีแต่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นอยู่เต็มพอร์ต แต่พอเกิดขึ้นสถานการณ์ที่ทำให้หุ้นปรับตัวลดลงกลายเป็นว่าเปิดพอร์ตมาแดงแจ๋ติดดอย หรือบางคนพอร์ตมีแต่สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ในช่วงที่ตลาดขึ้นก็อาจจะเสียโอกาสที่จะทำให้พอร์ตของเราเติบโตไปได้อีก
ดังนั้น ‘Asset Allocation’ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการลงทุน หากคุณกำลังมองหาพอร์ตการลงทุนที่จะช่วยให้คุณสามารถเอาชนะได้ในทุกสภาวะตลาดได้ วันนี้เราขอแนะนำให้ได้รู้จักกับพอร์ต ‘All Weather Strategy (AWS)’ ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนที่ทางทีมงานของ ดร. Andrew Stotz จับมือร่วมกับทีมงาน Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้นมา โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาวให้ได้มากที่สุด สัดส่วนหุ้นในพอร์ตสามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 25-85% ตามสถานการณ์ พร้อมลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นด้วยการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยปกป้องพอร์ตในสภาวะตลาดผันผวน นอกจากนี้ ยังเน้นลงทุนในกองทุน Passive Index ที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำและสมเหตุสมผล ไม่ฉุดรั้งผลตอบแทนระยะยาวของนักลงทุน
อย่างที่บอกไปว่าพอร์ต ‘All Weather Strategy’ จะเน้นกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้น ด้วยสัดส่วน 65% ผ่านกองทุน K-US500X-A(A) เป็นตัวแทนหุ้นสหรัฐฯ ในสัดส่วน 25% กองทุน SCBCHAA เป็นตัวแทนหุ้นจีนในสัดส่วน 25% กองทุน K-EUX เป็นตัวแทนหุ้นยุโรปในสัดส่วน 5% กองทุน ASP-NGF เป็นตัวแทนหุ้นญี่ปุ่นในสัดส่วน 5% และกองทุน TLFVMR-ASIAX เป็นตัวแทนกองทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นและจีนในสัดส่วน 5%
สำหรับตราสารหนี้ พอร์ต AWS ลงทุนด้วยสัดส่วน 5% โดยเลือกใช้กองทุน SCBGLOB เป็นตัวแทนตราสารหนี้ทั่วโลก และสัดส่วนที่เหลืออีก 30% จะกระจายการลงทุนไปในสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำ โดยลงทุนในทองคำด้วยสัดส่วน 25% ผ่านกองทุน ES-GOLDS และลงทุนในกองทุน SCBCOMP ที่เป็นตัวแทนสินค้าโภคภัณฑ์ในสัดส่วน 5%
สัดส่วนการลงทุน 25%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-US500X-A(A) จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักเป็นกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น NYSE Arca และมีนโยบายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของดัชนี S&P 500
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 25%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ ChinaAMC CSI 300 Index ETF (กองทุนหลัก) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน SCBCHAA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี CSI 300 เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี CSI 300
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน iShares EURO STOXX 50 UCITS ETF (DE) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน K-EUX จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักเป็นกองทุน ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นเยอรมัน XETRA ซึ่งมีนโยบายการลงทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุด 50 ตัวแรกในกลุ่มประเทศ Eurozone หรือดัชนี EURO STOXX 50
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Nippon Growth (UCITS) Fund ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน ASP-NGF จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตไปกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นระยะยาว
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน (ซึ่งรวมถึงเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยกองทุน TLFVMR-ASIAX จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท (ครั้งถัดไป 1 บาท)
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน T. Rowe Price Funds SICAV -Global Aggregate Bond Fund (กองทุนหลัก) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน SCBGLOB จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 4
กองทุนหลักมีนโยบายเน้นสร้างมูลค่าหน่วยลงทุนให้มีมูลค่าสูงสุด ทั้งจากการเติบโตด้านมูลค่าของการลงทุนและรายได้จากการลงทุน โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารหนี้ต่าง ๆ จากผู้ออกตราสารทั่วโลกเป็นหลัก และจะลงทุนอย่างน้อยสองในสามของทรัพย์สินทั้งหมดในตราสารหนี้ซึ่งออกโดยรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ บริษัทเอกชน และธนาคาร
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 25%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง (Gold Bullion) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน โดยกองทุน ES-GOLDS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน PIMCO Commodity Real Return Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBCOMP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8
กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารอนุพันธ์ รวมถึงสัญญาแลกเปลี่ยนตราสาร (swap agreement) ต่าง ๆ สัญญาฟิวเจอร์ สัญญาออปชั่น ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และ/หรือ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ จึงเพิ่มศักยภาพในการที่จะลงทุนได้ตามดัชนี รวมถึงดัชนีย่อยต่าง ๆ ที่อ้างอิงกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (ซึ่งอาจไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงดัชนีใดดัชนีหนึ่งภายใต้ตระกูลดัชนีของ Bloomberg Commodity) ตราสารเหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนของการลงทุนในการตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่จำเป็นที่จะลงทุนโดยตรงในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
.
สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
Finnomena Funds เฟ้นกองทุนเด่นเข้าโค้งสุดท้ายปลายปี 2024 พร้อมเปิดกลยุทธ์มุมมองการลงทุนปีหน้า 2025 ปีทองของประเทศไหน?
อัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2024 โดย Finnomena Funds
ตลาดหุ้น Developed Markets สหรัฐอเมริกายังดูดีสุด จากภาพเศรษฐกิจที่โตต่อได้ ไม่เกิด Recession แนวโน้มเงินเฟ้อเป็นขาลง ส่วน Dollar Index ก็มีโอกาสกลับตัวอ่อนค่า แต่ที่ต้องระวังคือ Valuation ตึงมาก จึงควร Selective ไปที่หุ้นขนาดกลาง-ขนาดเล็ก ไม่กระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่
ด้านตลาดหุ้นยุโรปและตลาดหุ้นญี่ปุ่น มีมุมมอง Slightly Negative เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า โดยฝั่งยุโรปอาจจะได้รับผลกระทบของนโยบาย Trump 2.0 เช่น กำแพงภาษี และสงคราม ส่วนฝั่งญี่ปุ่นก็มีความเปราะบางจากเงินเฟ้อสูง รวมทั้งเงินเยนมีโอกาสแข็งค่านั้นเป็นผลเสียต่อตลาดหุ้น
ตลาดหุ้น Emerging Markets มีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นอินเดีย และเวียดนาม สำหรับอินเดียเศรษฐกิจยังเติบโตระดับสูงในระยะยาว จากโครงสร้างประชากรและได้ประโยชน์จาก China+1 ขณะที่เวียดนามก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ภาครัฐบาลมีท่าทีสนับสนุนภาคเอกชนเต็มที่
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปรับลดมุมมองเป็น Neutral หลัง Value-Up Program ต้องใช้เวลาให้บริษัทปรับตัวกว่าจะเริ่มเห็นผล อีกทั้งต้องติดตามประเด็น Chip HBM3E ของ Samsung ในการส่งมอบ Nvidia อย่างไรก็ดี Valuation อยู่ในระดับต่ำมาก ยังไม่ใช่จังหวะขาย
ตลาดหุ้นไทย ปีหน้าจะถูกกดดันจากแรงเทขาย LTF ที่ครบกำหนดอายุกว่า 2.4 แสนล้านบาท และบริษัทจดทะเบียนยังถูกปรับประมาณการกำไรลงต่อเนื่อง แต่มีแรงหนุนจากแผนออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม การเบิกจ่ายภาครัฐฟื้นตัว และได้ประโยชน์จาก China+1
ตลาดหุ้นจีน มองเป็น Slightly Negative เนื่องจากไร้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม ส่วนภาคอสังหาฯ ก็ยังต้องใช้เวลากว่าความเชื่อมันจะฟื้น ประกอบกับความไม่แน่นอนด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น
สรุป Forward PE vs. EPS Growth ในอีก 1 ข้างหน้าของดัชนีหุ้นทั่วโลก
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
1.) ASP-USSMALL-A
กองทุนหุ้นขาดกลาง-เล็กในสหรัฐฯ เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ธุรกิจการเงิน ทำให้จะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Trumponomics ที่เตรียมลดภาษีนิติบุคคล หนุนบริษัทเอกชนในประเทศ
2.) TISCOINA-A
กองทุนหุ้นอินเดีย เป็นโอกาสในการเข้าสะสมหลังราคาย่อลงมา ก่อนที่จะสามารถราคารีบาวด์ยืนเหนือแนวรับสำคัญ โดยตลาดหุ้นอินเดียยังมีปัจจัยหนุน ได้แก่ ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่เริ่มอ่อนลง และศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
3.) PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนหุ้นเวียดนาม พลิกฟื้นยืนเหนือแนวรับสำคัญ ตามทิศทาง Dollar Index ที่อ่อนค่า ส่งผลให้ตลาดหุ้นในเอเชียกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะเวียดนามที่เตรียมรับอานิสงส์เม็ดเงินนักลงทุนต่างชาติไหลเข้า
โดย Bank – The Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง เน้นใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
1.) ASP-DIGIBLOC
กองทุนหุ้นเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีแนวโน้มทะยานต่อได้จากนโยบายสนับสนุนของ Trump ที่เตรียมนำคริปโตมาเป็นเงินทุนสำรอง ทำให้ราคา Bitcoin มีโอกาสถึง 100,000 เหรียญ ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า
2.) PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนหุ้นเวียดนาม เชื่อว่ารอบของการปรับฐานจบลงแล้ว หลังดัชนี VN30 ปรับตัวลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน อีกทั้งก็มีปัจจัยหนุนเชิงพื้นฐานเรื่องการได้ประโยชน์ China+1 จึงเตรียมเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้ง
3.) SCBSEMI(A)
องทุนหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เป็นธีม Growth Stock ที่มีโอกาสทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ พร้อมรับแนวโน้มเชิงบวกจากปรากฏการณ์ Santa Claus Rally และ January Effect
คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Long-Term Growth เพื่อสร้างโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Fund Flow, Sentiment, Seasonal Statistic และ Technical Analysis
1.) PRINCIPAL VNEQ-A
กองทุนหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ รวมทั้งยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม
2.) B-INNOTECH
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี เน้นคัดเลือกหุ้น Value Play โดยการเข้าซื้อหุ้นเติบโตในราคาไม่แพง ขณะเดียวกันปัจจัยเชิงพื้นฐานเฉพาะตัวยังคงดี เพราะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถือว่าเติบโตในระดับ 2 หลัก
3.) UGIS-N และ KFSINCFX-A
กองทุนตราสารหนี้โลก เป็นจังหวะเก็บสะสมหลังเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบ กดให้ Bond Yield ปรับตัวลดลง จึงเป็นผลบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่บริหารแบบ Active มีการปรับ Duration ยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ตลาด
ดูคำแนะนำทั้งหมดได้ที่ 👉 Opportunity Hub แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
กองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายน 2567 จะมีกองทุนไหนบ้าง? ใช่กองทุนที่คุณมีอยู่รึเปล่า? ลองมาดูกัน
.
อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 25 พ.ย. 2567: LHGBLOCK-A, LHGBLOCK-D, ASP-DIGIBLOC, SCBUSAA, SCBFINTECH(A), ES-FINTECH, PRINCIPAL GCLOUD-A, SCBBLOC(A), MFTECH, TCLOUD
*หมายเหตุ: ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือน จาก Finnomena Funds จัดอันดับ ณ วันที่ 27 พ.ย. 2567 ทั้งนี้ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน สามารถดูรายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ finnomena.com/fund
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
นายกรัฐมนตรีของเวียดนาม Pham Minh Chinh กล่าวว่ารัฐบาลจะมุ่งมั่นให้เศรษฐกิจเติบโตประมาณ 8% ในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐสภากำหนดไว้สำหรับปี 2025 อย่างมาก
แม้ว่าสภาแห่งชาติของเวียดนามจะกำหนดเป้าหมายการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สำหรับปีหน้าไว้ที่ 6.5 – 7% แต่ Pham Minh Chinh ระบุว่ารัฐบาลมองปี 2025 เป็น “ปีแห่งการเร่งเครื่อง” และจะพยายามผลักดันการเติบโตให้ถึงประมาณ 8% โดยเน้นส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคุมเงินเฟ้อ และรักษาการขาดดุลงบประมาณกับหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
Pham Minh Chinh คาดว่า GDP ของเวียดนามในปี 2024 จะเติบโตมากกว่า 7% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายอย่างเป็นทางการของรัฐบาลที่ 6.5% และตั้งเป้าเงินเฟ้อไว้ไม่เกิน 4% ตามข้อมูลในแถลงการณ์
นอกจากนี้ รัฐบาลยังคาดว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมทั้งสินค้าและบริการในปีนี้จะสูงถึง 807,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 27,800 ล้านล้านบาท) ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่
รัฐบาลเวียดนามระบุว่าปีหน้าจะสร้างแรงผลักดันเพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจแตะระดับสองหลัก (Double-Digit Growth) ในช่วงปี 2026 – 2030 พร้อมมุ่งมั่นดำเนินโปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้เสร็จ เช่น การก่อสร้างทางด่วนยาว 3,000 กิโลเมตร และการสร้างสนามบินนานาชาติลองแถ่ง (Long Thanh International Airport) ในเฟสแรกให้เสร็จในระดับ “พื้นฐาน”
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลย้ำว่าจะผลักดันการเติบโตอย่างจริงจังให้ถึง 7% ในปี 2024 และเร่งการเบิกจ่ายงบลงทุนสาธารณะที่ยังล่าช้ากว่าเป้าหมายปีนี้ โดยยอดการใช้จ่ายในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2024 อยู่ที่เพียง 52.29% ของแผนการลงทุนทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เวียดนามเตรียมพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท) เชื่อมระหว่างฮานอยและโฮจิมินห์ ระยะทางกว่า 1,500 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดเวลาการเดินทางจาก 30 ชั่วโมงเหลือเพียง 5 ชั่วโมง ถือเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพการขนส่ง ลดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติอีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญมองว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเวียดนาม โดยเพิ่ม GDP เฉลี่ย 0.97% ต่อปี และเสริมบทบาทในห่วงโซ่อุปทานโลก แม้โครงการนี้จะเคยถูกยกเลิกในปี 2010 เนื่องจากต้นทุนสูง แต่ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคืบหน้าในโครงการลักษณะนี้มากขึ้น ทั้งนี้ โครงการจะเริ่มในปี 2027 และคาดเสร็จในปี 2035
เวียดนามเป็นตลาดที่ถูกและดี ประกอบกับการมาของ Trump เร่งให้เกิด China+1 ในการย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีนเร็วขึ้น ซึ่งเวียดนามคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ ที่สำคัญก็ยังมีปัจจัยหนุนอื่น ๆ เช่น ความคืบหน้าเตรียมเข้าสู่ EM Market ของดัชนี FTSE ในปี 2025 และการถูกปรับประมาณกำไรเพิ่มเติม
สำหรับการลงทุนในหุ้นเวียดนาม Finnomena Funds แนะนำ 2 กองทุนดังนี้
กองทุนหุ้นเวียดนามที่เน้นการลงทุนระยะยาวในกลุ่มที่มีการเติบโตสูง ตามการพัฒนาของประเทศ ใช้กลยุทธ์ Core-Satellite Port เน้นผลตอบแทนระยะยาว และมีการสับเปลี่ยนหุ้นบางส่วนตามสภาวะตลาดเพื่อเพิ่มผลตอบแทนระยะสั้น
กองทุนหลักจดทะเบียนในประเทศเวียดนาม และมีการบริหารแบบ Active Management ซึ่งสามารถลงทุนในหุ้นรายตัวโดยไม่มีข้อจำกัด Foreign Ownership Limit (FOL) นอกจากนี้ทีมบริหารกองทุนยังเป็นชาวเวียดนาม ช่วยทลายข้อจำกัดด้านภาษาทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น
อ่านคำแนะนำการลงทุนเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.finnomena.com/opportunity-hub/investment-call
อ้างอิง: Bloomberg, The Jakarta Post
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
พลาดไม่ได้! โพยจัดชุด SSF 200,000 บาท สำหรับนักลงทุนสายประหยัดภาษี ทุกประเภท ทุกสาย จัดชุด SSF ให้ตัวเองตามความเสี่ยงตามรูปแบบที่ชื่นชอบ มาดูกันเลยว่า Finnomena Fund แนะนำกองไหน สำหรับชุดไหนบ้าง ที่สำคัญ! สามารถซื้อ SSF แต่ละชุดได้ผ่าน Finnomena Fund แล้วครับ
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
รายละเอียดกองทุน: กองทุนหุ้นโลก คัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up เพื่อสร้าง Alpha ในระยะยาว พร้อมกับรักษาความผันผวนของพอร์ตให้ไม่สูงเกินไป
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Capital Group New Perspective Fund (Master Fund) ในหน่วยลงทุนชนิด Class P (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 6
ลงทุนขั้นต่ำ: 100 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี คัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up เน้นหุ้นเติบโต มูลค่าไม่แพง และมีความผันผวนน้อยกว่ากองทุนหุ้นเทคโนโลยีอื่น ๆ
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds – Global Technology Fund, Class YACC-USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 7
ลงทุนขั้นต่ำ: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนหุ้นเวียดนามที่บริหารโดยตรงจากทีมผู้จัดการกองทุนชาวไทยที่มีประสบการณ์ ช่วยลดการเสียค่าธรรมเนียมหลายต่อจากการลงทุนผ่าน Feeder Fund
นโยบายลงทุน: ลงทุนในกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (กองทุนหลัก) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเวียดนามและ/หรือที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 6
ลงทุนขั้นต่ำ: 500 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง คาดหวังผลตอบที่ดีในระยะยาวจากตลาดหุ้นที่มีโอกาสเติบโต
รายละเอียดกองทุน: กองทุนตราสารหนี้โลก มีจุดเด่นที่การลงทุนแบบเชิงรุก ปรับสัดส่วนตราสารหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 5
ลงทุนขั้นต่ำ: 1 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนหุ้นโลก คัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up เพื่อสร้าง Alpha ในระยะยาว พร้อมกับรักษาความผันผวนของพอร์ตให้ไม่สูงเกินไป
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Capital Group New Perspective Fund (Master Fund) ในหน่วยลงทุนชนิด Class P (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 6
ลงทุนขั้นต่ำ: 100 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี คัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up เน้นหุ้นเติบโต มูลค่าไม่แพง และมีความผันผวนน้อยกว่ากองทุนหุ้นเทคโนโลยีอื่น ๆ
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds – Global Technology Fund, Class YACC-USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 7
ลงทุนขั้นต่ำ: 500 บาท (ครั้งแรกและครั้งถัดไป)
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงระดับปานกลางขึ้นไป ต้องการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนผสมหุ้นทั่วโลก 50% และตราสารหนี้ทั่วโลก 50% บริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ สามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว
นโยบายลงทุน: ลงทุนในกองทุน JPMorgan Investment Funds – Global Balanced Fund class: JPM Global Balanced C (acc) – USD (hedged) โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 5
ลงทุนขั้นต่ำ: 1 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนตราสารหนี้โลก มีจุดเด่นที่การลงทุนแบบเชิงรุก ปรับสัดส่วนตราสารหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 5
ลงทุนขั้นต่ำ: 1 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนทั้งในประเทศไทย ทั้งเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้ภาคเอกชน
นโยบายลงทุน: ลงทุนในตราสารภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเอกชน และ/หรือ เงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุน จะลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 79 ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 4
ลงทุนขั้นต่ำ: 1,000 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก เพื่อสร้างผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ
รายละเอียดกองทุน: กองทุนตราสารหนี้โลก มีจุดเด่นที่การลงทุนแบบเชิงรุก ปรับสัดส่วนตราสารหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ ภายใต้ความผันผวนที่ต่ำ
นโยบายลงทุน: ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 5
ลงทุนขั้นต่ำ: 1 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
รายละเอียดกองทุน: กองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนทั้งในประเทศไทย ทั้งเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้ภาคเอกชน
นโยบายลงทุน: ลงทุนในตราสารภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเอกชน และ/หรือ เงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุน จะลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 79 ของ NAV
ความเสี่ยงกองทุน: ระดับ 4
ลงทุนขั้นต่ำ: 1,000 บาท
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม คลิก
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่ชอบความผันผวน เน้นผลตอบแทนชนะเงินฝาก
.
นักรบ DIY ห้ามพลาด!! ดูโพยกองทุนประหยัดภาษีแนะนำรายกองสำหรับสายพึ่งพาตนเอง ได้ที่ลิ้งก์
https://www.finnomena.com/z-admin/ssf-rmf-for-diy/
ลดหย่อนภาษีปี 2567 ปีนี้ กับของดีฟินโนมีนา!
ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี พร้อมโพยดีดี ซื้อที่ ฟินโนมีนาฟันด์ ซื้อได้ครบทั้ง 21 บลจ.
ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF RMF และ Thai ESG👍 ดูกองทุนแนะนำ คลิก https://finno.me/tax-saving-fund-ws
พอร์ตการลงทุนที่แนะนำในบทความนี้เป็นพอร์ตการลงทุนแบบทั่วไป ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับทุกท่าน การลงทุนมีความเสี่ยง และผลตอบแทนอาจมีความผันผวนตามสภาวะตลาด ขอให้ท่านพิจารณาความเสี่ยงจากระดับที่ท่านสามารถยอมรับได้ และปรึกษาผู้แนะนำการลงทุนของท่านเพื่อให้มั่นใจว่าพอร์ตการลงทุนนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และระดับความเสี่ยงของท่าน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF และ Thai ESG กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | บางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”| สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นโดนเด่นหลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เนื่องจากนโยบายของนายทรัมป์สนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจสหรัฐ เช่น มาตรการลดภาษีให้แก่ภาคธุรกิจ การผ่อนคลายกฏระเบียบต่างๆเพื่อเอื้อต่อการทำธุรกิจ การกีดกันการแข่งขันจากต่างประเทศ การสนับสนุนธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็นต้น ในขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศอื่น ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีน จากความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีของว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ สำหรับตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยเป็นผลจากการที่นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นอินเดียกลับมาทยอยฟื้นตัวในช่วงปลายเดือน เนื่องจากเศรษฐกิจโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง และคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายของนายทรัมป์ไม่มาก เพราะเศรษฐกิจอินเดียเติบโตมาจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก
สำหรับตลาดหุ้นไทย การปรับตัวของตลาดส่วนใหญ่เป็นผลจากการปรับตัวของหุ้น DELTA ซึ่งมี market cap ใหญ่ที่สุดในตลาด ในขณะที่หุ้นกลุ่มอื่นๆ ปิดแกว่งตัวตามปัจจัยเฉพาะตัว โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น DELTA ปรับตัวขึ้นกว่า 36% ก่อนที่ปรับลดลงเหลือ +20% หลังจากติด cash balance ระดับ 1 ดังนั้น หากไม่รวมหุ้น DELTA ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 3% ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงแกว่งตัวในกรอบจำกัด โดยอาจได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี และแรงซื้อของกองทุนประหยัดภาษี
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ นักลงทุนลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด เนื่องจากนโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของนายทรัมป์อาจส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอลงช้ากว่าที่คาด หรืออาจส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และอาจส่งผลต่อทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐ อย่างไรก็ดี ทิศทางดอกเบี้ยในระยะยาวยังคงเป็นขาลง การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางและระยะยาวที่บริหารแบบเชิงรุก (active management) จึงน่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ทรัมป์ทยอยเลือกรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอให้วุฒิสภาอนุมัติ กระทรวงที่สำคัญและมีส่วนช่วยกำหนดกลยุทธ์ลงทุน เช่น “พลังงาน” น่าจะได้ Chris Wright ซีอีโอบริษัท Liberty Energy ผู้ประกอบการขุดเจาะน้ำมันแบบ fracking กฎระเบียบด้านพลังงานฟอสซิลของสหรัฐจึงมีแนวโน้มผ่อนคลาย เป็นปัจจัยบวกสำหรับผลประกอบการบริษัทในอุตสาหกรรม oil & gas ซึ่งกองทุนหลักในต่างประเทศของ KT-ENERGY มีนโยบายเน้นลงทุน นอกจากนี้ ทรัมป์เสนอชื่อผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ Scott Bessent เป็นรัฐมนตรีคลัง ตลาดตอบสนองเชิงบวกเพราะมองว่า Bessent มาจาก wall street เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเงิน ช่วยลดความเสี่ยงที่จะดำเนินนโยบายผิดพลาด (policy mistakes) เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนโดยภาพรวม
ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 10% มุ่งกดดันให้ช่วยสกัดกั้นการแพร่ระบาดของ Fentanyl นอกจากนี้ทรัมป์ยังขู่อีกว่าจะใช้ executive orders ตั้งกำแพงภาษี 25% บนสินค้านำเข้าทุกรายการจากเม็กซิโกและแคนาดา เพื่อบีบให้ช่วยแก้ปัญหาผู้อพยพ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งสัญญาณชัดเจนว่าทรัมป์ตั้งใจใช้ tariffs เป็น “เครื่องมือต่อรอง” ในการเจรจาระหว่างประเทศ (แปลว่า “ถอยได้” ถ้าบรรลุข้อตกลง) นอกจากนี้ การเปิดเผยตัวเลขช่วยเพิ่ม “ความชัดเจน” ถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับนักลงทุน เราจึงยืนยันมุ่งมั่นลงทุนระยะยาวในกองทุนหุ้นจีนทั้ง KT-ASHARES และ KT-CHINA
***ปรับพอร์ต***
สับเปลี่ยนออก KT-VIETNAM-A 5% (สัดส่วนใหม่ 10%)
สับเปลี่ยนเข้า KT-ASHARES-A 5% (สัดส่วนใหม่ 20%)
สับเปลี่ยนออก KT-MINING 10% (สัดส่วนใหม่ 0%)
สับเปลี่ยนเข้า KT-ENERGY 10% (สัดส่วนใหม่ 10%)
ที่มา: บลจ. กรุงไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 28 พฤศจิกายน 2024
คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
This Issue
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Eye On This Week
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้
Market
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
Finnomena Port Performance
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
ทั้งนี้ Asset Allocation ไม่ใช่แค่การแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางแผนอย่างรอบคอบตามเป้าหมายการลงทุน ระยะเวลา และความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ การจัดสรรที่เหมาะสมสามารถช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนในตลาด และทำให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพมากขึ้น
หมายเหตุ: เป็นเพียงแนวทางการจัดพอร์ตคร่าว ๆ ตามความเสี่ยงและผลตอบแทน ควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนอีกครั้ง
FinSpace
ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/asset-allocation-create/