แจ้งเตือน

วิธีเลือกหุ้นหนี้สินต่ำ เงินสดในมือสูง

Finspace
วิธีเลือกหุ้นหนี้สินต่ำ เงินสดในมือสูง

นักลงทุนมือใหม่หลายคน คงสงสัยใช่มั้ยครับว่า จะเลือกหุ้นยังไง? ซื้อตัวไหนดี? วันนี้ Finspace มีอีกวิธีการเลือกลงทุนใน “หุ้นหนี้สินต่ำ เงินสดในมือสูง” มาฝากกันครับ

การเลือกหุ้นที่มีหนี้สินต่ำ เงินสดในมือสูง จะช่วยลดความเสี่ยงในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทั้งเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยสูง หรือตลาดหุ้นผันผวน เพราะบริษัทที่มีสภาพคล่อง มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง หากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะมีเงินสดในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้

วิธีเลือกหุ้นหนี้สินต่ำ เงินสดในมือสูง

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/howto-stock-low-debt-and-high-cash/

FundTalk Call: ถึงเวลาของหุ้นโลก และ AI เมื่อ Fed ชัดเจน และราคาน้ำมันไม่ไปต่อ

Jet - The Contrarian Investor
FundTalk Contrarian Portfolio Update

FundTalk Contrarian Portfolio Update แนะนำเข้าลงทุนใน MEGA10-A คาดตลาดสหรัฐฯ กลับมา Outperform และแนะนำกองทุน TISCOAI หลังความกังวลปัญหาเงินเฟ้อคลี่คลาย

มุมมองทิศทางตลาดลงทุนโลก เดือนพฤษภาคม 2567

  • คาดดัชนีหุ้นโลก MSCI ACWI นำโดย S&P 500 กลับมาทำ All-time-high ได้อีกครั้งในไตรมาส 2
  • คาดราคาน้ำมันหยุดเทรนด์ขาขึ้น จากการที่สหรัฐฯกลับมาผลิตน้ำมันได้จำนวนมาก โดยตัวเลข Crude Inventory ประกาศออกมาเพิ่มขึ้น 7.3 ล้านบาร์เรล สูงกว่าที่คาด และโอกาสที่สหรัฐฯจะลงมือ Sanction กีดกันการส่งออกของอิหร่านมีน้อย ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง 
  • คาด Bond Yield สหรัฐฯ ไม่พุ่งขึ้นต่อ หลัง price-in การขึ้นดอกเบี้ยเหลือ 0.25% และ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ชี้ชัดว่าไม่มีแผนที่จะขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการลดขนาด QT
  • คาดค่าเงินดอลลาร์หยุดแนวโน้มแข็งค่า เนื่องจาก Bond Yield ทำจุดสูงสุดแล้ว ส่งผลให้เงินบาทลดแรงกดดันในระยะสั้น 
  • คาดหุ้นโลกสไตล์เติบโตกลับมา Outperform โดยเฉพาะ AI Theme โดยผู้ชนะในอุตสาหกรรมนี้ คือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา, ผู้ผลิตชิป และ Cloud Provider ขณะที่หุ้นพลังงาน และหุ้นสไตล์ Value จะเข้าสู่ช่วง Underperform
  • คาดตลาดหุ้นจีน ทำผลงานดีต่อเนื่อง จากการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงิน การคลัง และการลงทุน
  • คาดตลาดหุ้นไทย Underperform ต่อเนื่อง จากตัวเลขเศรษฐกิจที่แย่ลง และไม่มีปัจจัยกระตุ้นใหม่ 

FundTalk จึงแนะนำปรับพอร์ต ดังนี้

FundTalk Contrarian Portfolio Update

สัดส่วนการลงทุนใหม่ใน FundTalk Contrarian Portfolio
Source: Finnomena Funds as of 03/05/2024

เข้าลงทุน TISCOAI

FundTalk คาดว่าความกังวลปัญหาเงินเฟ้อคลี่คลาย เนื่องจากน้ำมันลง จึงแนะนำลงทุนในกองทุน AI Growth Theme อย่างกองทุน TISCOAI ซึ่งลงทุนในกองทุน Xtrackers AI and Big Data

กองทุนดังกล่าวลงทุนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) และความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) โดยกองทุนได้คัดเลือกหุ้นที่มีสิทธิบัตรด้าน AI ถึง 88 บริษัทจาก 1,853 บริษัทในดัชนี Nasdaq และเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่มากกว่าหุ้น Growth ส่งผลให้ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาโดดเด่น

FundTalk Contrarian Portfolio Update

หุ้น 10 ตัวแรกในพอร์ตการลงทุน Xtrackers AI and Big Data
Source: Xtrackers AI and Big Data Factsheet as of 28/03/2024

หุ้น 10 ตัวแรกในกองทุน Xtrackers AI and Big Data ประกอบไปด้วยหุ้นที่เป็นผู้นำในด้าน AI เช่น NVIDIA, Microsoft และ Samsung Electronics

FundTalk Contrarian Portfolio Update

ผลการดำเนินงานกองทุน Xtrackers AI and Big Data
Source: TradingView, Finnomena Funds as of 03/05/2024

นับตั้งแต่หลังโควิด-19 กองทุนสามารถ Outperform ทั้งดัชนี Nasdaq และ S&P 500 ซึ่งตอนนี้ได้ปรับฐานลงมาในระดับนึง นักลงทุนจึงสามารถลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าว เพื่อให้ได้ประโยชน์จากราคาที่ได้ปรับฐานลงมา และลงทุนในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จาก AI โดยตรง 

เข้าลงทุน MEGA10-A

FundTalk คาดตลาดสหรัฐฯ กลับมา Outperform โดยเฉพาะ Global Brand Mega Cap ที่เป็น Clear Winners จึงแนะนำลงทุนในกองทุน MEGA10-A ซึ่งลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 10 ตัวของสหรัฐฯ ในหลากหลายอุตสาหกรรม

FundTalk Contrarian Portfolio Update

หุ้น 10 ตัวในกองทุน MEGA10-A
Source: Market Think, Finnomena Funds as of 03/05/2024

กองทุนดังกล่าวลงทุนในบริษัทที่เน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) จากการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับตราสินค้า (Brand) ระดับสากล ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และมีสภาพคล่องสูงสุด 10 บริษัทแรก เช่น Microsoft Alphabet และ Amazon ซึ่งถือว่ามีการลงทุนในหุ้นที่เป็นผู้ชนะด้าน AI อย่างชัดเจน

FundTalk Contrarian Portfolio Update

ผลการดำเนินงาน 1 ปีที่ผ่านมาของกองทุน MEGA10-A
Source: Finnomena Funds as of 03/05/2024

ผลการดำเนินงาน 1 ปีที่ผ่านมาของกองทุน MEGA10-A ทำผลตอบแทนได้โดดเด่นอยู่ที่ 39.85% และชนะทั้ง S&P 500 และ NASDAQ 

พร้อมกันนี้ แนะนำให้ Take Profit กองทุน KT-ENERGY เนื่องจากสหรัฐฯ กลับมาผลิตน้ำมันได้ในปริมาณมาก ขณะที่การ sanction อิหร่านมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย ทําให้ราคานํ้ามันหยุดเป็นเทรนด์ขาขึ้น

และสับเปลี่ยน (Switch) กองทุนตราสารหนี้โลกแบบ Unhedged ได้แก่ KFSINCFX-A และ ABGFIX-A ไปยังกองทุนตราสารหนี้ที่ hedged ได้แก่ KF-CSINCOM หรือ UGIS-N เพราะคาดค่าเงินดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า หลัง Fed ชี้ชัดไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า

สรุปการปรับสัดส่วน FundTalk Contrarian Portfolio

FundTalk มีคำแนะนำปรับสัดส่วนใน FundTalk Contrarian Portfolio (FTCP) โดยมีสัดส่วนใหม่ดังนี้

FundTalk Contrarian Portfolio Update

สัดส่วนการลงทุนใหม่ใน FundTalk Contrarian Portfolio
Source: Finnomena Funds as of 03/05/202

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนเดือนพฤษภาคม 2024: เศรษฐกิจโลกขยายตัวเกินคาด ถึงเวลาปรับพอร์ตล็อกกำไร

Finnomena Funds
Finnomena Monthly Investment Outlook

Executive Summary


ภาพรวมตลาดโลก: เศรษฐกิจโลกขยายตัวเกินคาด เอเชียยังโดดเด่น

ดัชนี PMI ภาคการผลิต

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 29/04/2024

ภาคการผลิตทั่วโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเนื่องต่อในเดือนมีนาคม โดยหลัก ๆ มาจากกลุ่มประเทศ EM เช่น จีน และอินเดีย ขณะที่กลุ่มประเทศในภูมิภาคยุโรปยังอยู่ในแดนหดตัว เช่น เยอรมนี และฝรั่งเศส ขณะที่ภาคการผลิตของสหรัฐฯ แม้อยู่ในแดนขยายตัวแต่มีทิศทางชะลอลงในเดือนมีนาคม

US: Citi Economic Surprise Index

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 29/04/2024

ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกยังอยู่ในแดนที่แข็งแกร่งกว่าตลาดคาดในเดือนเมษายน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีทิศทางดีกว่าที่คาดน้อยลงหลังจากรายงาน GDP 1Q24 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาด

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Macrobond, Nation sources as of 29/04/2024

ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นหลังเงินเฟ้อทั่วโลกปรับตัวลดลง เริ่มต้นโดยธนาคารกลางกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแล้ว และตามด้วยธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: เศรษฐกิจแข็งแกร่ง เงินเฟ้อลงต่อ

U.S. Inflation

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 30/04/2024

ตัวเลขเงินเฟ้อ Headline CPI ของสหรัฐฯ ถึงแม้จะยังอยู่ในระดับสูงกว่า 2% แต่ตัวเลข Headline CPI ถูกขับเคลื่อนด้วยเงินเฟ้อฝั่งภาคบริการที่มีความหนืดอย่าง Shelter inflation, Medical care inflation และ Motor insurance inflation อย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยหากหักลบปัจจัยดังกล่าวออก จะเห็นได้ว่าระดับเงินเฟ้อกลับมาทรงตัวอยู่ที่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว และเราเชื่อว่าเงินเฟ้อฝั่งภาคบริการถึงแม้ยังอยู่สูง แต่เงินเฟ้อดังกล่าวจะลดระดับลงเรื่อย ๆ สนันสนุนโดยตัวเลขค่าเช่าบ้านใหม่ที่ประกาศออกมาน้อยลง

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 30/04/2024

ในขณะที่การประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1/2024 ยังออกมาเป็น Positive Surprise โดยเฉพาะในกลุ่มการเงินการธนาคารที่ประกาศออกมาครบแล้ว โดยเรายังคงเฝ้ารอการประกาศงบจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่ม Retail 

S&P500’s Earnings revision

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 30/04/2024

กลุ่มการเงินการธนาคารมีการถูกปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมาจากการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1/2024 ที่ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ดัชนีสามารถปรับตัวขึ้นได้สูงกว่าตลาดในช่วงที่ผ่านมา

Finnomena Funds ยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ผ่านกองทุน AFMOAT-HA ที่ลงทุนในหุ้นที่มีปราการทางธุรกิจแข็งแกร่ง ในระดับ Valuation ที่เหมาะสม

ตลาดหุ้นยุโรป: เศรษฐกิจฟื้นตัว Valuation ถูกเมื่อเทียบกับหุ้นโลก

Germany’s PMI

Finnomena Monthly Investment Outlook
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

เยอรมนีถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป และรัฐบาลเยอรมนีได้ปรับประมาณการเติบโต GDP ปี 2024 จาก 0.2% เป็น 0.3% และคาดว่าจะเติบโต 1% ในปี 2025 เนื่องจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดัชนี PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตเช่นกัน ปัจจัยดังกล่าวจึงสะท้อนว่าเศรษฐกิจยุโรปยังคงฟื้นตัว

STOXX Europe 600’s Valuation and Earnings revision  Finnomena Monthly Investment Outlook
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

ปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปยังถูก โดย P/E (forward 12 m) อยู่ที่ 13.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต Finnomena Funds แนะนำ MEVT Call หุ้นยุโรป โดยแนะนำลงทุนผ่านกองทุน ONE-EUROEQ หลังเห็นสัญญาณบวกฝั่งยุโรปมากขึ้น ทั้งทิศทางเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำที่สุดมาแล้ว รวมถึงทิศทางดอกเบี้ยที่น่าจะลดลงได้เร็วกว่าประเทศอื่น ขณะที่ Valuation ยังถูกโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศ Developed Markets อื่น ๆ

ตลาดหุ้นจีน: โมเมนตัมเริ่มฟื้น หลังรายงาน GDP แกร่งกว่าคาด

China’s GDP

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

จีนรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ 1Q24 ขยายตัว 5.3% YoY ดีกว่าตลาดคาดที่ 4.8% YoY ส่งผลให้ตลาดมีการปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ในปี 2024 และ 2025 ตามมา อย่างไรก็ตาม คาดการณ์การเติบโตในปี 2024 ของตลาดยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่ตั้งเป้าไว้ 5% หากรัฐบาลจีนสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ปี 2024 ที่ 5% จะมี upside จากการปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์อีกครั้ง

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นจีนมากขึ้น ส่งผลให้มีเม็ดเงินจากต่างชาติไหลสู่ตลาดหุ้นจีนอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

Finnomena Funds แนะนำ MEVT Call ทยอยสะสมหุ้นจีน ผ่านกองทุน MEGA10CHINA-A และ B-CHINE-EQ จากแนวโน้มการกระตุ้นของทางการที่เริ่มทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และการปฏิรูปตลาดหุ้นจีนจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนมากขึ้น ขณะที่ Valuation ยังอยู่ในระดับถูกซึ่งได้สะท้อนความกังวลในช่วงที่ผ่านมาไปมากแล้ว

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้: กำไรบริษัทฟื้นตัวตามวัฏจักรอุตสาหกรรม Semiconductor 

Source: Finnomena Funds as of 29/04/2024

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ฟื้นตัวของเกาหลีใต้ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดการส่งออก Semiconductor ของเกาหลีใต้ที่ฟื้นตัว ขณะที่ดัชนีชี้นำอย่าง Business Survey ในกลุ่ม Semiconductor ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใน 2Q24 นับตั้งแต่ปี 2017 และจะชี้นำการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม Semiconductor ในอนาคต

ภาพการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม Semiconductor ได้ส่งผ่านมายังผลประกอบการของบริษัทแล้ว โดย Samsung Electronic ได้รายงานกำไรจากการดำเนิน 1Q24 เติบโต 933% YoY และดีกว่าตลาดคาด ขณะที่ SK Hynix รายงานกำไรจากการดำเนินงาน 1Q24 พลิกกลับมามีกำไรหลังจากขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง

KOSPI’s Valuation and Earnings revision

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

ปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ยังไม่แพง forward 12 m P/E อยู่ที่ 10.02 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย Finnomena Funds ยังคงแนะนำ MEVT Call ทยอยสะสมในหุ้นเกาหลีใต้ผ่านกองทุน SCBKEQTG จากปัจจัยหนุนด้านการฟื้นตัวของวัฏจักรเซมิคอนดักเตอร์และ Valuation ที่ยังไม่แพง รวมถึงยังมี Catalyst จากโครงการ Value-up program

ตลาดหุ้นไทย: ปรับลดคำแนะนำจากการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด กดดันกำไรและ Valuation 

Thailand GDP Forecast in 2024F

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

เศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด โดยปัจจุบันนักวิเคราะห์ได้มีการหั่นประมาณการ GDP ไทยลงจาก 3.8% เหลือเพียง 2.8% สอดคล้องกับการเบิกผ่านงบงบปี 2024 ที่ล่าช้า และนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่ถูกขยับไปเป็นช่วง 4Q2024 ปัจจัยดังกล่าวเป็นประเด็นที่จะกดดันตลาดในมิติของกำไรตลาด และ Valuation ของหุ้นไทย

Finnomena Funds ลดคำแนะนำตลาดหุ้นไทยสู่ระดับ Slightly underweight จาก Neutral

ตลาดหุ้นเวียดนาม: ดาวเด่นแห่ง ASEAN รอวันเข้าดัชนี Emerging Market

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2024 ศาลเวียดนามตัดสินประหารชีวิต เจือง มาย หลั่น เจ้าแม่อสังหาฯ จากการยักยอกทรัพย์ธนาคาร ไซ่ง่อน คอมเมอร์เชียล แบงก์ (SCB) โดยมีมูลค่าความเสียหายมากถึง 4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3% ของ GDP หลังจากนั้นมีรายงานว่าธนาคารกลางเวียดนามได้เพิ่มความช่วยเหลือ โดยอัดเงินกู้พิเศษไปแล้วเป็นจำนวน 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อป้องกันไม่ให้ล้มละลาย ประกอบกับตลาดกังวลกับปัญหาทุจริต และการกวาดล้างคอร์รัปชันในเวียดนาม รวมถึงแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ จึงส่งผลให้เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเวียดนามในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นเวียดนามยังคงแข็งแกร่งในเชิงพื้นฐาน และมีโอกาสถูกเข้าคำนวนในดัชนี FTSE Emerging Market Index ในปีหน้า หลังถูกเข้าใน Watchlist ตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 

VN30’s Valuation and Earnings revision

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

ปัจจุบัน Valuation ของตลาดหุ้นเวียดนามยังถูก P/E (forward 12 m) อยู่ที่ 10.46 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต Finnomena Funds ยังคงแนะนำ MEVT Call ทยอยสะสมในหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A จากปัจจัยหนุนระยะยาวทั้งในเชิงพื้นฐานที่แข็งแกร่ง รวมถึงยังมี Catalyst ระยะยาวจากการ upgrade เข้าสู่การคำนวนในดัชนีตลาดเกิดใหม่

ตราสารหนี้ต่างประเทศ: Yield สูง น่าสนใจ แนะนำลงทุน

US 2 year Bond Yield vs Funds Performance (%YTD)

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

Bond Yield สหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้กองตราสารหนี้ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีกองทุน Active ชนิดไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถทำผลตอบแทนที่เป็นบวกได้เนื่องจากค่าดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตามทิศทาง Bond Yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่กองทุน active ชนิดป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่าง UGIS-N แม้ปรับตัวลดลง แต่ยังสามารถ Outperform กองทุน Passive ได้

Finnomena Funds ยังคงชื่นชอบตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยแนะนำกองทุน KFSINCFX-A (ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน) และกองทุน UGIS-N (ชนิดป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน)

คำแนะนำปรับพอร์ต

แนะนำปรับพอร์ต: หลบหุ้นไทยไปเข้าหุ้นเอเชีย Take profit ตราสารหนี้ต่างประเทศแบบ unhedged ค่าเงิน

Finnomena Monthly Investment Outlook

ในเดือนพฤษภาคม 2024 Finnomena Funds แนะนำปรับทั้งหมด 4 พอร์ต ได้แก่ All Balance, GAR, GCP และ GIF โดยทั้ง 4 พอร์ตจะเป็นการปรับหุ้นไทย ASP-SME-A ออก และแทนด้วยหุ้นเอเชีย UOBSA 

พร้อมสับเปลี่ยนจากตราสารหนี้ต่างประเทศ Class Unhedged ค่าเงิน KFSINCFX-A ไปเป็น Class Hedge ค่าเงินใน KF-CSINCOM 

แต่ในกรณีของพอร์ต GIF จะเป็นการสลับจากหุ้นไทย PRINCIPAL iDIV-R ไปเข้าหุ้นโลก ABGDD-R แทน โดยรายละเอียดการปรับทั้งหมด ดังนี้

พอร์ต All Balance

  • แนะนำ ลดสัดส่วน KFSINCFX-A 30%
  • แนะนำ ลดสัดส่วน ASP-SME-A 5%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KF-CSINCOM 30%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน UOBSA 5%

พอร์ต GAR

  • แนะนำ ลดสัดส่วน KFSINCFX-A 15%
  • แนะนำ ลดสัดส่วน ASP-SME-A 10%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KF-CSINCOM 15%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน UOBSA 10%

พอร์ต GCP

  • แนะนำ ลดสัดส่วน KFSINCFX-A 35%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน KF-CSINCOM 35%

พอร์ต GIF

  • แนะนำ ลดสัดส่วน PRINCIPAL iDIV-R 10%
  • แนะนำ เพิ่มสัดส่วน ABGDD-R 10%

ทำไมเราถึงแนะนำ UOBSA

  • แนะนำกองทุน UOBSA กองหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ผลตอบแทนโดดเด่นจากการเลือกหุ้นและจัดพอร์ตโดยใช้ AI เป็นตัวนำร่วมกับผู้จัดการกองทุนมากประสบการณ์จาก UOBAM Singapore
  • ผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง 24% เทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มกองทุนเดียวกัน 4% (NAV วันที่ 13/3/24)
  • ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ซึ่งช่วยลดผลจากต้นทุนป้องกันความเสี่ยงค่าเงินที่สูง ในขณะที่การกระจายลงทุนในหลากหลายประเทศโดยเฉพาะในฝั่งเอเชียด้วยกัน ช่วยลดความผันผวนจากค่าเงินได้ โดยเฉพาะเมื่อค่าเงินในเอเชียอื่นๆ เคลื่อนไหวไปในทิศทางสอดคล้องกันเมื่อเทียบกับ

UOBSA ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United Asia Fund กองทุนหลักจัดตั้งและบริหารจัดการโดย UOB Asset Management (Singapore) มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรุก (active management) 

กองทุน UOBSA เป็นกองทุนความเสี่ยงสูงระดับ 6 ปัจจุบันป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedge ration) ที่ 0.00% มีดัชนีชี้วัดเป็น ดัชนี MSCI AC Asia (ex Japan) net TR USD

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: uobam.co.th as of 19/03/2024
Source: Finnomena Funds, Morningstar as of 13/03/2024

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Morningstar as of 13/03/2024

UOBSA ลงทุนในกองทุนหลัก United Asia Fund ซึ่งที่ผ่านมากองทุน UOBSA สามารถสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่ากองทุนในกลุ่มเดียวกันมาก และที่มาของผลตอบแทนที่โดดเด่น มาจากการกลยุทธ์การเลือกหุ้นด้วย Artificial Intelligence (AI) ซึ่ง United Asia Fund เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2021 ทำให้ผลตอบแทนหลังจากนั้นมีความโดดเด่นมาก 

โดย AI มีบทบาทอย่างมากในการคัดเลือกหุ้น เพราะจากเดิมที่ต้องใช้นักวิเคราะห์กว่า 50 คน ในการวิเคราะห์หุ้น 250 ตัว (ซึ่งเท่ากับเพียง 1% ของตลาด) AI สามารถวิเคราะห์หุ้นในเอเชียได้มากกว่า 25,000 ตัว (100% ของตลาด) เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการลงทุนในหุ้นใหม่ๆ ที่ถึงแม้ยังไม่ได้รับความสนใจจากตลาดมาก แต่มีศักยภาพสูง

ในรายละเอียดกระบวนการการคัดเลือก AI จะแสกนหุ้นที่มีพื้นฐานดีที่สุด 100 ตัว โดยใช้ตัวแปรในการวิเคราะห์มากกว่า 33,000 ตัวแปร โดยหุ้นทั้ง 100 ตัวจะเป็นหุ้นที่มี Upside Potential สูงที่สุด จากนั้นนักวิเคราะห์จะคัดเลือกให้เหลือเพียง 50 ตัว และนำมาจัดพอร์ต โดย AI จะช่วยในการจัดส่วนการลงทุน ให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่เหมาะสมที่สุด โดยกระบวนการทั้งหมดจะทำทุกเดือน เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความเหมาะสมกับสถานการ์ณปัจจุบันมากที่สุด

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Morningstar as of 13/03/2024

โดยจาก Track Record ที่ผ่านมา AI มีการจัดสัดส่วนได้อย่างแม่นยำ โดยมีการแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในประเทศจีนในช่วงปี 2021 และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในประเทศอินเดียเข้ามาแทน ส่งผลให้ United Asia Fund สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การปรับสัดส่วนรายเดือนยังสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเมื่อเที่ยบกับกองทุนที่ไม่ใช่ AI

ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การลงทุนที่กล่าวมาเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่มีโอกาสสูงที่จะทำซ้ำต่อได้ในอนาคต

ทำไมเราถึงแนะนำ KF-CSINCOM

  • แนะนำ Take profit กองทุนตราสารหนี้แบบ unhedged ค่าเงิน หลังเงินบาทอ่อนตัวมากว่า 6% 
  • แนะนำกองทุน KF-CSINCOM ที่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน 95% ซึ่งจะช่วยลดโอกาสขาดทุนได้ในกรณีที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น
  • KF-CSINCOM ลงทุนในกองหลัก เดียวกับ KFSINCFX-A และการสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน จะไม่ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

KF-CSINCOM ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PIMCO GIS Income Fund (Class I-Acc)  โดยบริษัทที่บริหารจัดการกองทุนหลัก คือ PIMCO Funds: Global Investors Series plc ซึ่งกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรุก (active management) 

กองทุน KF-CSINCOM เป็นกองทุนความเสี่ยงสูงระดับ 5 ปัจจุบันป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Fx Hedge ratio) ที่ 95% มีดัชนีชี้วัดเป็น ดัชนี Bloomberg U.S. Aggregate Index

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: krungsriasset.com as of 29/03/2024
Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Bloomberg, as of 29/04/2024

จากที่ Finnomena Funds ได้มี คำแนะนำปรับพอร์ตครั้งใหญ่ รับมุมมองการลงทุนปี 2024 โดยมีคำแนะนำปรับเข้ากองทุน Unhedged อย่าง KFSINCFX-A เพื่อเป้าหมายในการทำกำไรจากการที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนตัวลง และค่า Hedging cost อยู่ในระดับสูง โดยการปรับเข้า KFSINCFX-A ช่วงที่ผ่านมาสามารถสร้างผลตอบแทนได้กว่า 4% จากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมามากกว่า 6% ทำให้ผลตอบแทนจาก PIMCO GIS Income Fund มีมูลค่ามากขึ้นเมื่อถูกเปลี่ยนกลับมาในสกุลเงินบาท 

Finnomena Monthly Investment Outlook

Source: Finnomena Funds, Morningstar Direct, as of 29/04/2024

โดยในปัจจุบันค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับอ่อนมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยการประมาณการของนักวิเคราะห์ในตลาด ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 34.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (เงินบาทแข็งค่าขึ้น 6.2%) ทำให้การกลับมาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นการปิด Downside risk ที่จะเกิดขึ้นหากเงินบาทแข็งค่าตามที่นักวิเคราะห์คาด Finnomena Funds แนะนำให้ย้ายมาลงทุนใน KF-CSINCOM ที่ลงทุนในกองหลักเดียวกัน แต่มีการป้องกันอัตราแลกเปลี่ยน 95% ทั้งนี้การสับเปลี่ยนระหว่าง KFSINCFX-A และ KF-CSINCOM จะไม่ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนเข้า

Finnomena Monthly Investment Outlook

โดยหากเปรียบเทียบผลตอบแทนพอร์ต GAR GCP และ All Balance ในปี 2024 ทั้ง 3 พอร์ตยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยกองทุนที่ลงทุนในลักษณะใกล้เคียงกัน 

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่างๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

[สรุป LIVE] เรื่องไหนคือลมหนุน เรื่องไหนคือแรงต้าน ในโลกการลงทุนช่วงนี้ พร้อมวิธีปรับพอร์ตสไตล์ TISCO Omakase Extra Fund

Finnomena Editor

รู้จัก TISCO Omakase Extra Fund

– พอร์ตการลงทุน TISCO Omakase Extra Fund ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายเพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ 

– เปิดต่อสินทรัพย์หลากหลาย ทั้งกองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนทางเลือก ทั้งในประเทศและ/หรือ ต่างประเทศ

– วิเคราะห์ลงทุนตามภาวะเศรษฐกิจมหภาค ผลประกอบการ การเคลื่อนไหวของ fund flow

– ติดตามการเคลื่อนไหวพอร์ตลงทุนในทุกๆ สัปดาห์ หรือกรณีมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางด้านพื้นฐาน โดยจะปรับตามปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนแปลง หรือ Valuation สินทรัพย์สูงหรือต่ำเกินไป

– หลักเกณฑ์การลงทุน คือ ต้องมีอัตราผลตอบแทนคาดหวังเมื่อเทียบกับความเสี่ยงไม่สูงเกินไป (risk-adjusted return)

มุมมองการลงทุนล่าสุดจาก TISCO ASSET MANAGEMENT (4/2024)

ลมหนุนการลงทุน

– เศรษฐกิจโลกยังโต จีนเริ่มฟื้นตัว

– ดอกเบี้ยขาลง (ยกเว้นญี่ปุ่น)

– Fed ชะลอการปรับลดงบดุล QT 

– AI ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ

– ผลดำเนินงานบริษัทขยายตัวดี

– นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย

แรงต้านการลงทุน

– เงินเฟ้อปลายปีคาดสูงกว่าเป้าหมายธนาคารกลาง

– Fed ลดดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง หรือ คงดอกเบี้ยนานกว่าคาด

– Valuation บางตลาดยังคงตึงตัว

– ความเสี่ยงสงคราม

– ประเด็นการหาเสียงเลือกตั้งสหรัฐฯ 

– ราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูง

– ค่าเงิน USD ที่แข็งค่าเป็นผลลบต่อตลาด EM

จากมุมมองนี้ มีกลยุทธ์อย่างไร?

– ล่าสุด หุ้นโลกเผชิญกับแรงเทขายจากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และเงินเฟ้อสหรัฐฯ ทำให้ ตลาดเข้าสู่สภาวะ Risk-Off อีกครั้ง

– ทว่า การปรับฐานของหุ้นโลก ถือเป็นปัจจัยระยะสั้น พอร์ตยังมีมุมมองเชิงบวกกับตราสารหนี้ภาคเอกชนและสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม AI จากการเติบโตที่แกร่งต่อเนื่อง

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนเมษายน 2024

– ปรับลดน้ำหนัก TCHCON (TISCO China Consumer Fund) ไปยัง TCLOUD (TISCO Cloud Computing Equity Fund)

– โดยมองว่า กลุ่ม Consumer Discretionary ในจีน กำลังเผชิญกับความท้าทายจากสงครามราคารถยนต์ EV ในจีน 

– ขณะที่ความต้องการใช้ Cloud Computing สูงขึ้นจากเทคโนโลยี AI ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาระบบ Cloud จากการขยายฐานข้อมูล 

– นอกจากนี้ กองทุนหลักของ TCLOUD มีกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นที่ นอกเหนือจาก Cloud – Storage อย่างเช่นกลุ่ม Application Software และ System Software เป็นต้น

– ทำให้สัดส่วนการลงทุนปัจจุบันของพอร์ตการลงทุน TISCO Omakase Extra Fund เป็นดังภาพ

หากสนใจพอร์ต TISCO Omakase Extra Fund สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://finno.me/port-tiscoasset 


นักลงทุนสายจัดพอร์ต สามารถติดตามรายการใหม่ “Portfolio Mastery – รีวิวทุกข้อมูลพอร์ตการลงทุนที่คุณถือ” ได้ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 1 ทุ่มตรง!

‍‍‍‍รายการที่จะนำทุกพอร์ตการลงทุนของ FINNOMENA มาทำการ review เชิงลึกให้นักลงทุนได้ติดตามความเคลื่อนไหวและมุมมองการลงทุน พร้อมกลยุทธ์ที่ใช้ในอนาคต รวมถึงแนะนำพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วง

โดยคุณกิ๊ก กสิณ สุธรรมมนัส หรือ Coach Gigs – The Global Allocation และคุณหยง วศิน ปริธัญ – The Long-term Growth

‍‍‍‍‍‍สำหรับ EP. ล่าสุดเรื่อง TISCO Omakase Extra Fund รับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/live/CanAj1hju-g?si=6OownwSmA82s0Z8A


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

วิถี Satya Nadella เด็กหนุ่มอินเดีย คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่กรุงเทพฯ สู่ซีอีโอร่างทองแห่ง Microsoft

Park Kathawut
ประวัติ Satya Nadella

Highlight


ว่ากันด้วยซีอีโอบริษัทระดับโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งยุคนี้ เชื่อว่าต้องมีชื่อของ Satya Nadella (สัตยา นาเดลลา) เป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน

ผู้ที่ฉุด Microsoft หลุดพ้นจากศตวรรษที่ยากลำบากให้กลับขึ้นสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง ประสบความสำเร็จทั้งในเหลี่ยมของโมเดลทางธุรกิจ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งราคาหุ้น MSFT ที่สูงขึ้นเกือบ 10 เท่าตลอดระยะ 10 ปีที่เข้ามารับตำแหน่งผู้นำของ Microsoft

เด็กหนุ่มชาวอินเดียที่หลงใหลในคอมพิวเตอร์

จุดเริ่มต้นของ Satya Nadella เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1967 ที่เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางที่ให้คุณค่ากับการศึกษา โดยมีพ่อเป็นข้าราชการด้านเศรษฐศาสตร์ และแม่เป็นอาจารย์สอนภาษาสันสกฤตโบราณ

ช่วงวัยเด็กเขามีความชัดเจนว่าชื่นชอบเกี่ยวกับการประดิษฐ์ และต้องการสร้างสิ่งใหม่ ๆ จึงเริ่มมีความสนใจในคอมพิวเตอร์ 

เกร็ดน่ารู้ คือคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในชีวิตของ Satya Nadella เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 1981  เนื่องจากพ่อของเขาเดินทางมาทำงานที่ประเทศไทย และได้ซื้อชุดคอมพิวเตอร์ Sinclair ZX Spectrum มาจากสิงคโปร์ 

ซึ่งนั่นได้จุดประกายความหลงใหลในคอมพิวเตอร์ เขาค้นพบว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ มากมาย ด้วยรหัสเพียงไม่กี่บรรทัด! จึงได้ตัดสินเข้าเรียนปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Manipal Institute of Technology (MIT) ในอินเดีย และเรียนต่อปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ University of Wisconsin-Milwaukee ที่สหรัฐอเมริกา

เส้นทางสายอาชีพเทคโนโลยีของ Satya Nadella

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ปี 1990 Satya Nadella เข้าสู่สายงานเทคโนโลยีครั้งแรก กับ Sun Microsystems บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ใน Silicon Valley

ก่อนที่ในปี 1992 จะย้ายเข้ามาทำงานกับ Microsoft โดยรับตำแหน่งนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในยุคการบริหารของ Bill Gates (บิล เกตส์)

Satya Nadella ค่อย ๆ เติบโตในองค์กร กระทั่งปี 2001 จึงขยับขึ้นมาทำงานบริหารในฝ่าย Business Solution ซึ่งต้องดูแลเทคโนโลยีให้กับภาคธุรกิจ เช่น การสร้างระบบ CRM ที่ใช้ฐานข้อมูลบน Cloud 

ปี 2007 เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองประธานอาวุโสของ Microsoft Online Services ที่ดูแลการพัฒนาและการให้บริการออนไลน์ เช่น Bing, Microsoft Office Online, Xbox Live เป็นต้น

ปี 2011 ดำรงตำแหน่งประธานแผนก Server and Tools ดูแลธุรกิจศูนย์ข้อมูลซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ทำเงินให้กับ Microsoft ในเวลานั้นทั้ง Windows Server, ระบบฐานข้อมูล SQL Server รวมถึง Cloud Platform อย่าง Microsoft Azure ที่เพิ่งเปิดตัว

จุดสูงสุดในชีวิตการทำงานกับ Microsoft ของ Satya Nadella มาถึงเมื่อปี 2014 ด้วยการขึ้นมานั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนที่ 3 ต่อจาก Bill Gates และ Steve Ballmer ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือการพาบริษัทเทคโนโลยีที่กำลังตกขบวน พลิกกลับมาเป็นผู้ชนะอีกครั้ง

ประวัติ Satya NadellaSource: geekwire as of 08/10/2014

ซีอีโอผู้รีเฟรช Microsoft ให้ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าเคย

Bill Gates พูดว่าในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของ Microsoft คงไม่มีใครเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำบริษัทมากไปกว่า Satya แล้ว เขามีทักษะด้านวิศวกรรมเต็มร้อย มีมุมมองด้านธุรกิจ สามารถรวมใจพนักงานได้ และที่สำคัญคือการมีวิสัยทัศน์ต่อเทคโนโลยีในโลกอนาคต

Steve Ballmer เองก็ยืนยันจากการร่วมงานกับ Satya มานานกว่า 20 ปี และคิดว่าเขานั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำของบริษัทแล้วในห้วงเวลานี้

วันแรกที่ Satya Nadella คุมบังเหียน (4 กุมภาพันธ์ 2014) หุ้น Microsoft (MSFT) มีมูลค่า $36.35 เหรียญต่อหุ้น Market Cap. อยู่ที่ประมาณ $3 แสนล้านเท่านั้น 

จากวันนั้นถึงวันนี้ 10 ปีเต็ม มูลค่า Microsoft ขึ้นไปแตะระดับ $3 ล้านล้านได้สำเร็จ และพลิกกลับมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกได้อีกครั้ง สามารถเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสีกับ Apple Google และ Amazon

Source: companiesmarketcap as of 02/05/2014

คำถามคือเขาทำได้อย่างไร? เพราะหากย้อนมองในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ภาพจำของ Microsoft คือเสือหลับในยุคสมาร์ทโฟน โดยเจอความท้าทายทางธุรกิจรอบด้าน อาทิ

  • ธุรกิจเสิร์ชเอนจิน Bing ที่แพ้ให้กับ Google ราบคาบ
  • ธุรกิจสมาร์ทโฟน ที่บริษัทไปซื้อกิจการ Nokia มาใส่ระบบปฏิบัติการ Windows ก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนคู่แข่งอย่าง Apple ที่มี iPhone และ iOS รวมถึง Google ที่มี Android
  • ธุรกิจคลาวด์ Azure ก็เจอคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Amazon AWS
  • ธุรกิจโซเชียลมีเดีย MSN หรือ Spaces นั้นโดนตีตลาดกระจุยจาก Facebook และ WhatsApp

 

ประวัติ Satya NadellaSource: geekwire as of 01/02/2014

พูดตามตรงเป็นยุคที่ Microsoft มือตกจริง ๆ แม้แต่ระบบปฏิบัติการ Windows 8 ก็ไม่สามารถชนะใจผู้ใช้งานได้เหมือนเดิม

ทว่าสิ่งแรก ๆ ที่ Satya Nadella เข้ามาจัดการ ก็คือการเปลี่ยน Vision ของ Microsoft จาก “a computer on every desk and in every home.” มาเป็น “empower every person and every organization on the planet to achieve more.”

เพื่อต้องการบอกให้ทุกคนเลิกยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ และเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเขาคิดถูก และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จริง ๆ 

จากนั้นเขาจึงเริ่มพลิกธุรกิจในแง่มุมต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เปิดตัว Windows 10 ที่เอื้อต่อการใช้งานทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน

หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจคลาวด์ Azure เป็นแกนหลัก และกระโดดเข้าสู่โมเดลลสมัครสมาชิก (Subscription) ของ Window และ Office 365 

พร้อมกันนี้ก็ได้ขายธุรกิจมือถือของ Nokia ออกไป และเข้าซื้อกิจการที่มีอนาคตอย่าง LinkedIn, GitHub, Activision Blizzard และล่าสุดกับการลงทุนใน ChatGPT ของ Open AI 

นอกจากนั้น Microsoft ยังพยายามขยายธุรกิจแบบข้ามแพลตฟอร์ม ด้วยการร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ เช่น Salesforce, IBM, Dropbox และหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญก็คือการเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร โดยการนำผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองไปเปิดตัวบน iPhone และ Android ถือเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน

ผลประกอบการและโครงสร้างรายได้ของ Microsoft 

ผลประกอบการและโครงสร้างรายได้ของ Microsoft Source: App Economy Insights as of 26/04/2024

จะเห็นว่าปัจจุบัน รายได้ส่วนใหญ่ของ Microsoft มาจากธุรกิจคลาวด์ Azure ซึ่งแซงหน้า Office และ Window ไปแล้ว

กองทุนที่ลงทุนในหุ้น Microsoft 

สุดท้ายนี้ ถ้าอยากซื้อกองทุนที่มีหุ้น Microsoft ในสัดส่วนเยอะ ๆ มีกองทุนไหนให้เลือกบ้าง เอาเป็นว่าเรารวบรวมมาฝากด้วยกัน 5 กองทุนเน้น ๆ ดังนี้

ES-USTECH

สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 23.44%
นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่จากดัชนี S&P 500 ของสหรัฐฯ

TUSTECH-A TUSTECH-SSF

สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 22.93%
นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

MEGA10-A MEGA10-SSF MEGA10RMF

สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 9.31%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในหุ้นที่ทรงอิทธิพลที่สุด 10 อันดับแรกในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

B-USALPHA

สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 9.15%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนแบบ Growth Style ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

KFGTECH-A KFGTECHRMF

สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 8.30%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี


แหล่งข้อมูล: news.microsoft.com, The StandardTechsauce

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น 2% หลัง Fed คงดอกเบี้ยตามคาด

Finnomena Funds

วันนี้ (2 พฤษภาคม 2024) ดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) และดัชนี HSCEI หรือหุ้นจีน H-Share ปรับตัวขึ้นกว่า 2% หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% ถึง 5.50% เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับภาคแรงงานที่ยังคงมีความแข็งแกร่ง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้เฟดได้มีการผ่อนคลายการลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening) ลง โดยเฟดจะลดวงเงินพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะปล่อยให้ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม จากเดิมที่ระดับ 6 หมื่นล้านดอลลาร์  เหลือ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นสัญญาณการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้ออกมาบอกว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้าที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ถึง 12 มิถุนายนนี้ 

Finnomena Funds มองว่าความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกงจะเริ่มดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นและความพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงระดับ valuation ของดัชนี CSI 300 ที่มี 12-m forward PE ที่ 11.06  เท่า หรือ -0.8 S.D. ขณะที่ดัชนี Hang Seng มี 12-m forward  PE ที่ 7.98 เท่า หรือ -2 S.D. เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และมีการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 5 ปีและ 10 ปีตามลำดับ เรายังแนะนำทยอยสะสมในกองทุน MEGA10CHINA-A และ B-CHINE-EQ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและยังมีสัดส่วนหุ้นจีนในพอร์ตไม่มาก

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

ปรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid เมษายน 2024: จังหวะหุ้นปรับฐาน เพิ่มกลุ่ม Technology Cyclical

WealthGuru
ปรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid เมษายน 2024

Global Aggressive Hybrid Performance Review ไตรมาส 2 ปี 2023

ปรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid เมษายน 2024

Source: Finnomena Funds, Morningstar as of 08/04/2024

ผลตอบแทนจนกระทั่งถึงวันที่ 8 เมษายน 2024 อยู่ที่ 9.1% ตามรูป

1.) Global Sector Performance

ปรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid เมษายน 2024

Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio, Seeking Alpha as of 24/04/2024

กลุ่ม Outperform จะเป็นกลุ่ม Value เช่น Energy, Industrial และ Financial Services โดยกลุ่ม Underperform คือ Consumer Staples, Consumer Discretionary และ Utilities

2.) สลับน้ำหนักกลุ่ม Cyclical

ปรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid เมษายน 2024

Source: Global Aggressive Hybrid Portfolio as of 24/04/2024

  • ลดน้ำหนัก Consumer Cyclical จาก 10% เป็น 5%
  • เพิ่มน้ำหนัก Technology จาก 10% เป็น 15% ใช้โอกาสตอนปรับฐานะสะสมเพิ่ม

ความต้องการด้าน Semiconductor และ AI ยังคงเพิ่มสู้ต่อเนื่อง ใช้จังหวะที่ตลาดปรับฐานสะสมเพิ่ม 5%

Global semiconductor industry sales for February 2024 jumped 16.3% year-over-year to $46.2 billion, according to data from The Semiconductor Industry Association 

Global Aggressive Hybrid Portfolio พอร์ตการลงทุนที่ผสมผสานกองทุนแบบ Active และ Passive กระจายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-hyb

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

บทความโดย WealthGuru สำหรับพอร์ต Global Aggressive Hybrid ที่ Finnomena Funds เท่านั้น
ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2024


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทําให้ผู้ลงทุน ขาดทุนหรือได้รับกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | บางกองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Mr.Messenger Call: Take Profit ตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์ พร้อมหมุนเงินเข้าลงทุนต่อในหุ้นจีนและยุโรป

Bank - The Trend Follower Investor
Mr.Messenger Call Take Profit ตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์

แนะนำล็อกกำไรกองทุนตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์ TUSFIX และ ABGFIX-A พร้อมหาโอกาสการลงทุนใหม่ในตลาดขาขึ้นอื่น ๆ เช่น หุ้นจีน และหุ้นยุโรป

Mr.Messenger ได้ออกคำแนะนำ Tactical Call: USDTHB ยืนเหนือแนวรับสำคัญ จังหวะซื้อกองทุนตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา โดยหลังจากแนะนำ USDTHB ปรับตัวขึ้น 3.3% (ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2024) ขณะที่กองทุนที่แนะนำอย่าง TUSFIX และ ABGFIX-A ปรับตัวขึ้น 6.11% และ 6.06% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2024) 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม USDTHB ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 37.20 ซึ่งเป็นระดับ Take Profit ที่เคยให้ไว้ และมีการปรับตัวลดลง Mr.Messenger Call จึงแนะนำ Take Profit กองทุน TUSFIX และ ABGFIX-A เพื่อล็อกกำไร สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำ โดยแนะนำพักเงินไว้ที่กองทุน Money Market Fund อย่างกองทุน KKP MP หรืออาจพิจารณาเข้าลงทุนใหม่ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call ดังนี้

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สรุปผลการประชุม Fed คงดอกเบี้ยครั้งที่ 6 พร้อมปิดประตูขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ไม่รู้จะลดดอกเบี้ยตอนไหน

Finnomena Editor
Jerome Powell คงดอกเบี้ย

ผลประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2024 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50%

เป็นการตรึงดอกเบี้ยติดต่อกัน 6 ครั้ง และเป็นระดับอัตราสูงสุดในรอบ 23 ปี

ในถ้อยแถลงการณ์ยังคงเน้นย้ำถึงการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ โดยครั้งนี้ระบุว่ายังขาดความคืบหน้าเพิ่มเติมที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2%

ภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงไม่แน่นอน คณะกรรมาธิการยังคงระมัดระวังต่อความเสี่ยงของเงินเฟ้อ

Jerome Powell กล่าวว่าในการประชุมครั้งถัดไปยังไม่มีแผนที่จะขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนเช่นกัน กว่าที่จะมั่นใจในการลดดอกเบี้ย ซึ่งเราสามารถอดทนได้

เท่ากับว่าเป็นการปิดประตูการขึ้นและลดดอกเบี้ยไปพร้อมกันในเวลาอันใกล้นี้ แต่ถือว่าออกมาในโทน Hawkish อ่อน ๆ

Fed ยังประกาศลดขนาดการทำ QT (Quantitative Tightening) จาก $60,000 ล้าน เหลือ $25,000 ล้านต่อเดือน ซึ่งหมายถึงหนุนการพยายามผ่อนคลายนโยบายการเงิน

การสำรวจ FedWatch Tool ในการประชุมครั้งถัดไป 12 มิถุนายน ตลาดให้ความเป็นไปได้ 90.8% ที่จะยังคงดอกเบี้ย 5.25-5.50% และมองว่าจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงเดือนกันยายน 2024 ซึ่งเกิดข้นเพียงครั้งเดียว

มุมมองการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ Finnomena Funds แนะนำหลีกเลี่ยงกลุ่ม Growth แต่ยังคงมุมมองเชิงบวกกับหุ้นสหรัฐฯ ในกลุ่มอื่น ๆ แนะนำกองทุน AFMOAT-HA

แหล่งอ้างอิง: Federal Reserve issues FOMC statement, CME FedWatch Tool

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สูตรแบ่งเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี?

Finspace
สูตรแบ่งเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี?

ถ้าหากเรามีเงินเดือนเท่านี้ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี ? วันนี้ FinSpace มีแนวทางการแบ่งบัญชีมาฝากทุกคนกัน โดยแบ่งบัญชีออกเป็น 4 บัญชี ดังนี้

สูตรแบ่งเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี?

1. บัญชีเงินเดือนและเงินใช้ประจำวัน

เป็นบัญชีไว้รับเงินเดือนและเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หลังจากหักเงินออมและค่าใช้จ่ายออกแล้ว เช่น ค่ากิน, ค่าเดินทาง

2. บัญชีเงินออม

แบ่งออมขั้นต่ำ 10% ของรายได้ เพื่อวางแผนการเงิน เช่น ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อกรณีที่เราอาจจะตกงาน ทำให้ไม่มีรายได้เข้ามา แต่รายจ่ายยังมีเหมือนเดิม จึงควรแบ่งมาออมในบัญชีที่มีสภาพคล่องอย่าง บัญชีออมทรัพย์

3. บัญชีลงทุน

แบ่งเงินจากบัญชีเงินออมมาลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ชีวิต ตามความเสี่ยงที่เรารับได้ เพื่อสร้าง passive income ให้เงินทำงานแทนเรา เพราะเราไม่สามารถทำงานไปได้ตลอด เช่น สลากออมทรัพย์, กองทุนรวม, หุ้น แต่ก่อนจะลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสินทรัพย์ที่เราจะลงทุนด้วย เพราะการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยง

4. บัญชีค่าใช้จ่าย

เป็นค่าใช้จ่ายที่เรารู้อยู่แล้วว่าต้องจ่ายในทุก ๆ เดือน เช่น ค่าบ้าน, ค่ารถ

ตัวอย่างเช่น เงินเดือน 20,000 บาท แบ่งมาออม (20%) 4,000 บาท ให้ตั้งเป้าหมายการลงทุนเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะสั้น 20% (800 บาท) ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน หรือจะแบ่งมาออมเพื่อโอนย้ายความเสี่ยงอย่างการซื้อประกันสุขภาพ ก็ได้เช่นกัน
  2. ระยะกลาง 50% (2,000 บาท) ไว้ซื้อบ้าน แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น ฝากประจำ, กองทุนรวมหุ้น หรือกองทุนรวมผสม
  3. ระยะยาว 30% (1,200 บาท) ไว้ใช้ยามเกษียณอายุ แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใน RMF, ประกันบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

จากที่กล่าวมา เราสามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของรายได้ และรายจ่ายของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องทำตามนี้เป๊ะ เลยก็ได้ เพราะเป้าหมายชีวิตแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/

Finnomena Funds Market Alert : หุ้นญี่ปุ่นทะยาน 2% หลังตลาดคาดญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินแล้ว

Finnomena Funds

เช้าวันนี้ (30 เมษายน 2024) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ปรับตัวขึ้น 2% หลังมีการคาดการณ์ว่าทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดเงิน เนื่องจากเงินเยนได้แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 156 เยนต่อเหรียญสหรัฐฯ หลังค่าเงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับ 160 เยนต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องของเงินเยนเกิดขึ้นหลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 เม.ย.) และส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินจะยังเป็นไปในลักษณะผ่อนคลาย ประกอบกับเงินเยนยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นปรับตัวกว้างขึ้น เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินที่สวนทางกันระหว่างธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังฝ่ายต่างประเทศของญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

นอกจากนี้มีการประกาศตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งประกาศออกมาขยายตัวกว่าที่นักวิเคราะห์คาด โดยตัวเลขดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ระดับ 3.8% ในเดือนมีนาคม 

Finnomena Funds มองว่าความพยายามในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินและความกังวลต่อค่าเงินเยนที่อ่อนมาอย่างรวดเร็วจะกดดันให้ BoJ ต้องพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต ทั้งนี้ Finnomena Funds ยังคงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง? สรุปสถิติตลาดหุ้นเดือนพฤษภาคม ย้อนหลัง 20 ปี

Finnomena Editor
Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

“Sell in May and go away” เป็นหนึ่งในแนวคิดการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งหมายถึงการขายหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงเดือนพฤษภาคม แล้วรอจนถึงเดือนตุลาคมก่อนจะกลับมาลงทุนอีกครั้ง

เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมา ตลาดหุ้นมักจะผันผวนและให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหลังเข้าสู่เดือนพฤษภาคม ซึ่งก็มาจากหลากหลายเหตุผลแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม Sell in May ถือเป็นเพียงแนวคิดการลงทุนแบบหนึ่งเท่านั้น และไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ เราจึงได้สรุปผลตอบแทนตลาดหุ้นในเดือนพฤษภาคม 20 ปีย้อนหลัง (2004-2023) มาฝาก สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

หุ้นไทย (SET Index) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.19% มี 11 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นอเมริกา (S&P500) ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.19% มี 5 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นยุโรป (EURO STOXX 600) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.40% มี 10 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นจีน (CSI300) ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.02% มี 9 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นฮ่องกง (HSI) ผลตอบแทนเฉลี่ย -1.33% มี 13 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.20% มี 8 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.12% มี 10 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นเวียดนาม (VNI) ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.11% มี 11 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

สรุปแล้วจากข้อมูลสถิติ 20 ปี พบว่าเดือนพฤษภาคม หุ้นไม่ได้ลงทุกประเทศ ไม่ได้ลงทุกปี มีขึ้นลงสลับกันไปตามสถานการณ์ตลาดและเศรษฐกิจโดยรวม

โอกาสลงทุนท่ามกลางสงครามไปกับ “ธีมอากาศยานและการป้องกันประเทศ”

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
โอกาสลงทุนท่ามกลางสงครามไปกับ “ธีมอากาศยานและการป้องกันประเทศ”

สงครามระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล นอกจากจะสร้างความปั่นป่วนในตลาดการเงินแล้ว ก็เปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วโลกได้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในการรบและธีมป้องกันประเทศ

ความเสี่ยงสงครามที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการทหารเพิ่มเป็นโอกาสของการลงทุนขั้นต้น สำหรับ Thematic Investor Sector ลงทุนที่ตรงกับการทหารมากที่สุดคือ Aerospace and Defense หรือกลุ่มอากาศยานและการป้องกันประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ก็ต้องมีโอกาสของ Disruptor หรือ Innovator เพิ่มขึ้นอีก เราจึงควรทำความเข้าใจเหตุผลและความคาดหวังของธีมป้องกันประเทศกันอีกครั้ง

ประเด็นแรก แม้จะเป็นธีม Defense แต่ไม่ใช่การป้องกันความเสี่ยงสงครามหรือตลาดหุ้นปรับฐานโดยตรง

เหตุผลหลักมาจากความสัมพันธ์กับตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจ

แม้การลงทุนกลุ่ม Defense จะได้รับแรงหนุนด้านรายได้จากสงคราม แต่ทั้งหมดยังเป็นหุ้นจึงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตลาดแม้จะต่ำกว่า Sector อื่นๆ นอกจากนี้ธีม Defense ประกอบด้วยหุ้นกลุ่มการใช้จ่ายเป็นหลัก แม้ในช่วงสงครามสัดส่วนการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศอาจสูงขึ้น แต่ถ้าเศรษฐกิจชะลอตัวจากสงคราม การใช้จ่ายโดยรวมก็จะลดลงอยู่ดี

ประเด็นที่สองคือการเติบโตที่ “สูงขึ้น” แต่อาจไม่สูงถึงขั้นเรียกว่าเป็นหุ้นเติบโตสูง

Stockholm International Peace Research Institute ประเมินว่าค่าใช้จ่ายทางกรทหารทั่วโลกจะเติบโตราว 4% ต่อปีในทศวรรษนี้ หรือแค่ใกล้เคียงกับ World Nominal GDP

เหตุผลหลักเป็นเพราะประเทศที่เกี่ยวข้อง เพิ่มค่าใช้จ่ายทางการทหารไปก่อนแล้ว เช่น สหรัฐที่มีการใช้จ่ายด้านการทหารมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีปริมาณการใช้จ่ายสูงเกิดกว่า 3.5%/GDP ขณะเดียวกันงบประมาณก็ต้องแบ่งเป็นหลายส่วน ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีหรือ R&D ทางการป้องกันอย่างเดียว

นักลงทุนหลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้อาจมองว่าธีม Defense ไม่ตื่นเต้นอย่างที่คิด

ในมุมมองของผม สงครามไม่ใช่แรงกระตุ้นของการลงทุนโดยตรง แต่เป็นพัฒนาการของสงครามต่างหากที่จะหนุนธีมนี้ได้

จุดแข็งของธีม Defense คือ ส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ ความเฉพาะตัวสูง และโอกาสการเติบโตที่มากกว่าสงครามกายภาพ

เช่นห้ายักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอย่าง Lockheed Martin, Raytheon Technologies, Boeing, Northrop Grumman, หรือ BAE Systems บริษัทเหล่านี้ครองส่วนแบ่งการตลาดในผลิตภัณฑ์ด้านการป้องกันประเทศที่ตัวเองถนัดในสัดส่วนที่สูงกว่า 30% ทั้งหมด

นอกจากนั้นก็มีบริษัทอย่าง Norinco Group (CNIG) ของจีนหรือ Israel Aerospace Industries (ARSP) ที่รับหน้าที่ผลิตอาวุธและเครื่องป้องกันรายประเทศ ส่วนแบ่งการตลาดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในประเทศ มีโอกาสน้อยที่จะถูกต่างชิตแย่งไปได้

ส่วนการเติบโตที่คาดว่าจะเป็นตัวเร่งใหม่คือการป้องกันภัยด้าน Cyber

แม้สงครามในปัจจุบันเป็นเพียงทางกายภาพ ผมมองว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะทรัพย์ยากรณ์ในตะวันออกกลางอย่างน้ำมันยังคงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาก แต่ในอนาคตยิ่งโลกเข้าสู่สังคม Digital มากขึ้นเท่าไร ข้อมูลข่าวสาร หรือการติดต่อระดับสูงจะกลางเป็นอีกหนึ่งสนามรบที่ต้องลงทุนป้องกันอย่างมาก

เช่นข้อมูลจาก Statista ที่ชี้ว่าค่าใช้จ่ายด้าน Cyber security ทั่วโลกมีการเติบโตต่อเนื่องมากกว่า 50% ต่อปีมาตั้งแต่ปี 2016 ถึงปัจจุบันและคาดว่าจะเติบโตสูงต่อไป

นอกจากนั้น โอกาสลงทุนจะเพิ่มขึ้นมหาศาล ถ้าสามารถนำเทคโนโลยีด้านการทหารนี้ไปประยุกต์ใช้กับภาคเอกชน

ย้อนกลับไปในอดีต หลากหลายเทคโนโลยีมีจุดเริ่มต้นมาจากการทหาร ก่อนที่จะกลายไปเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกในปัจจุบัน

ไม่ว่าจะเป็น เรดาร์ คอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึง Internet และ GPS ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันก็มีการพัฒนาขึ้นช่วงสงครามเย็น

สงครามครั้งนี้เทคโนโลยีที่มีบทบาทมากที่สุดมีทั้ง Orbital Aerospace อย่างจรวด และ Suborbital Aerospace อย่าง Drones มีโอกาสนำไปสู่ธีมลงทุนแห่งอนาคตหลายประเภท

ตัวอย่างเช่น Electric Vertical Take-off and Landing หรือ eVTOL จากการพัฒนา Drone ที่บรรทุกนำหนักได้มากขึ้น ระบบนำทางที่แม่นยำ Bank of America มองว่า แค่เปลี่ยนจากขนระเบิดไปเป็นขนสินค้า ขนาดตลาด 4พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน อาจขยายไปได้ถึง 2.4 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2035

อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือจรวดความเร็วสูงหรือ Hypersonic Missile ที่ถล่มกลุ่มฮามาส สามารถพัฒนาต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเดินทาง มีโอกาสร่นระยะเวลาการเดินทางไกลได้ถึง 3 เท่า โดย ARK Invest ประเมินว่าจะสร้างตลาดใหม่ด้านการบินที่มาขนาดถึงกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2030

โดยสรุป ผมมองว่าธีม Aerospace and Defense เป็นธีมสาย Defensive ที่แข็งแกร่งอันดับต้น ๆ ระยะสั้นได้แรงหนุนจากสงคราม ส่วนในระยะยาวโอกาสอยู่ที่การพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์

สำหรับนักลงทุนที่สนใจในธีมนี้ ผมขอแนะนำให้รู้จัก 3 US ETF โดดเด่นมีความเฉพาะตัวสูง อย่าง ITA, SHLD, และ ARKX

iShares U.S. Aerospace & Defense ETF ตัวย่อ ITA เป็น ETF หลักของธีมป้องกันประเทศ ขนาด AUM ที่ใหญ่ที่สุดกว่า 6.1 พันล้านดอลลาร์ ประกอบไปด้วยหุ้นสหรัฐทั้งหมด 39 บริษัท เช่น RTX Corp (RTX) Boeing (BA) และ Lockheed Martin Corp (LMT) เป็น ETF ที่มี Beta ต่ำเพียงราว 0.4 เป็นเจ้าตลาดปัจจุบัน และ P/E ไม่แพง 28x จุดอ่อนคือมีการเติบโตของยอดขายเพียงราว 3.8%

Global X Defense Tech ETF ตัวย่อ SHLD เป็น ETF ธีมป้องกันประเทศที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในปีนี้ ความแตกต่างที่ชัดเจนคือเป็น ETF ที่ลงทุนทั่วโลกมีสัดส่วนสหรัฐเพียง 60% และมีกลุ่มเทคโนโลยีนอกสหรัฐเข้ามาผสม เช่น BAE Systems (BA.LN) Rheinmetall AG (RHM.GR) และ Elbit System (ESLT.IT) ทั้งหมดมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้มากกว่าบริษัทในฝั่งสหรัฐ และเมื่อมาจากประเทศนอกสหรัฐเป็นหลัก P/E ก็ถูกลงเหลือเพียง 20x จุดอ่อนสำคัญ คือความผันผวนที่สูงกว่า ETF อื่น ๆ นั่นเอง

ARK Space Exploration & Innovation ETF ตัวย่อ ARKX หนึ่งใน ETF ที้แม้จะทำผลงานไม่ดีในปีนี้ แต่ก็รวมการลงทุนสายจรวดไว้มากที่สุด

ARKX ประกอบด้วยหุ้นที่มีความแตกต่างจากดัชนีมากที่สุด เช่น Kratos Defense and Security Solutions (KTOS) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ AeroVironment (AVAV) ผู้ผลิตเครื่องบินไร้คนขับ หรือบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสำหรับการสำรวจ Trimble (TRMB) โดยมีสัดส่วนการลงทุนในสหรัฐสูงกว่า 80% แต่ P/E ปัจจุบันไม่แพงมากที่ 26x ความเสี่ยงสำคัญคือส่วนผสมของหุ้นเล็กที่สูง จึงมี Beta ถึง 1.5 เมื่อเทียบกับดัชนี S&P 500

แม้ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้สนับสนุนสงครามในทุกรูปแบบ แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งการพัฒนาก็เกิดขึ้นในจุดที่เราไม่ได้คาดคิด

ทั้ง 3 ETF มีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด นักลงทุนที่ต้องการลงทุนรับประโยชน์จากภาวะสงครามช่วงนี้ SHLD ตอบโจทย์มากที่สุด แต่ถ้าต้องการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำหลบสงคราม ITA ถือเป็นหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจ ส่วนใครที่มองหา Innovation จากสงคราม และบริษัทแห่งอนาคต ARKX เป็น ETF ที่ตอบโจทย์ได้ครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

Mr.Messenger Call: หุ้นจีนเตรียมทะยาน Upside ยังเหลือ หลังผ่านอีกแนวต้านสำคัญ

Bank - The Trend Follower Investor
Mr.Messenger Call: หุ้นจีนเตรียมทะยาน upside ยังเหลือ

ยังคงคำแนะนำเข้าซื้อกองทุนหุ้นจีน B-CHINE-EQ และ K-CHINA-A(A) หลังทะยานผ่านอีกแนวต้านสำคัญ แต่ยังเหลือ Upside อีกราว 7% จากระดับปัจจุบัน

กราฟราคา MCHI ETF (Timeframe Day)

Mr.Messenger Call: หุ้นจีนเตรียมทะยาน upside ยังเหลือ

Source: Tradingview as of 29/04/2024

Mr.Messenger ได้ออกคำแนะนำ หุ้นจีนเกิดสัญญาณกลับตัว ทะยานเหนือแนวต้านสำคัญ ผ่านกองทุน B-CHINE-EQ และ K-CHINA-A(A) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมา โดยราคา NAV ของ iShares MSCI China ETF (MCHI) ปรับตัวขึ้นราว 9% นับตั้งแต่เริ่มต้นแนะนำ พร้อมปรับตัวขึ้นทะลุแนวต้าน Downtrend line ตั้งแต่เดือนมกราคม 2023 (เส้นสีน้ำเงิน) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวต้านสำคัญ และบ่งชี้ถึงแนวโน้มการกลับตัวของ MCHI ETF สอดคล้องกันกับ MACD ที่เกิด Buy signal และอยู่เหนือแดน 0 ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงทิศทางของราคาเชิงบวก

หากพิจารณาระดับเป้าหมายในการ Take Profit ที่เคยให้ไว้ที่ระดับ ~$45.3 เท่ากับว่ายังมี Upside อีกราว 7% จากระดับปัจจุบัน สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ได้ลงทุนในหุ้นจีนตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call จึงยังคงสามารถลงทุนได้โดยกำหนดจุด Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อ NAV ของ MCHI ปิดตลาดต่ำกว่า $39.4 อย่างมีนัยยะ ซึ่งเป็นระดับ Fibonacci 38.2 จุดต่ำสุดเดิม โดยมี Downside -7% จากราคาวันที่ 26 เมษายน 2024 และเป็นระดับที่ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1

B-CHINE-EQ

กองทุน B-CHINE-EQ เป็น Fund of Fund ลงทุนในหุ้นที่จัดตั้งในประเทศจีนหรือมีการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่ยอมรับต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ที่กองทุนจะลงทุน ได้แก่ หุ้น A-Share, H-Share, American Deposit Recipient (ADR), B-Share, Red-Chips, P-Chips รวมถึงหลักทรัพย์อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนในอนาคต ทั้งนี้ กองทุน B-CHINE-EQ มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging ratio) USDTHB ที่ 55.7%

B-CHINE-EQ Top Holding

Mr.Messenger Call: หุ้นจีนเตรียมทะยาน upside ยังเหลือ

Source: Fund Fact Sheet ของกองทุน B-CHINE-EQ as of 31/03/2024

K-CHINA-A(A)

กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศที่เน้นลงทุนในบริษัทที่มีการตั้งถิ่นฐานหรือดำเนินธุรกิจในจีน ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds – China Fund โดยคัดเลือกธุรกิจที่จะลงทุนแบบ bottom-up stock และเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตที่เหนือกว่าคู่แข่งอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่ได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจจากรัฐบาลจีน ทั้งนี้ K-CHINA-A(A) เป็นกองทุนความเสี่ยงสูงระดับ 6 ปัจจุบันมี FX hedging ration ที่ 87.63%

K-CHINA-A(A) Top Holding

Mr.Messenger Call: หุ้นจีนเตรียมทะยาน upside ยังเหลือ

Source: Fund Fact Sheet ของกองทุนหลัก K-CHINA-A(A) as of 31/03/2024

นักลงทุนที่เหมาะกับคำแนะนำนี้ ระยะสั้นนี้ควร…

  1. เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง
  2. ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
  3. นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงทะยานทั้งสัปดาห์ เมื่ออสังหาฯ ดูดี ราคาขึ้นในรอบเกือบปี

Finnomena Funds

วันนี้ (26 เมษายน 2024) ดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) และดัชนี HSCEI หรือหุ้นจีน H-Share ปรับตัวขึ้นกว่า 2% หลังจากราคาบ้านในฮ่องกงเพิ่มขึ้นในรอบ 11 เดือน โดยดัชนีราคาสำหรับบ้านส่วนตัวในประเทศ ได้เพิ่มขึ้น 1.06% จากเดือนกุมภาพันธ์ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงผลการดำเนินงานของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น นับตั้งแต่รัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการควบคุมด้วยการลดภาษีการซื้อบ้านใหม่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 

นอกจากนี้มีรายงานว่า บริษัทจีนทุ่มเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี เป็นจำนวนเงินกว่า 2.43 แสนล้านหยวน (3.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) นำโดยบริษัทในภาคอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า และพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งผลให้ช่วยบรรเทาความตึงเครียดทางการค้า ผ่านการสร้างงาน และส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจในตลาดต่างประเทศมากขึ้น 

Finnomena Funds มองว่าความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกงจะเริ่มดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นและความพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงระดับ valuation ของดัชนี CSI 300 ที่มี 12-m forward PE ที่ 11.06  เท่า หรือ -0.8 S.D. ขณะที่ดัชนี Hang Seng มี 12-m forward  PE ที่ 7.98 เท่า หรือ -2 S.D. เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และมีการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 5 ปีและ 10 ปีตามลำดับ เรายังแนะนำทยอยสะสมในกองทุน K-CHINA-A และ ABCA-A สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและยังมีสัดส่วนหุ้นจีนในพอร์ตไม่มาก

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

[สรุป LIVE] รับมือโลกการลงทุนไตรมาส 2 ปี 2024 ท่ามกลางความขัดแย้งอย่างไร? ส่องตัวอย่างการปรับพอร์ตของ KAsset Global Perspective Portfolio

Finnomena Editor

KAsset Global Perspective ปรับพอร์ตไตรมาส 2 ปี 2024 รับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยล่าสุดสถานการณ์การลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงคือ

– ต้องจับตาเรื่องเงินเฟ้อโดยเฉพาะในฝั่ง Service โดยตลาดเริ่มมองว่า Fed อาจยังไม่ลดดอกเบี้ยปีนี้

– กำไรบริษัทจดทะเบียน มีแนวโน้มกระจายไป sector อื่น นอกจาก Tech มากขึ้น

– ยุโรปน่าสนใจเพราะ PMI ผ่าน Bottom ไปแล้ว ประกอบกับเงินเฟ้อที่ลดลง และ ECB พร้อมลดดออกเบี้ย แถมยังได้อัปเกรด EPS ของบริษัทต่าง ๆ ขึ้น

– ขณะที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มนโยบายการเงินผ่อนคลายน้อยลง ส่วนอินเดียยังโตแกร่งแต่ระดับราคาค่อนข้างสูง

สรุปออกมาเป็นมุมมองการลงทุนคือ

– ในระยะสั้น ระมัดระวังขึ้นจากเรื่องสงคราม ราคาน้ำมัน และ Yield พันธบัตร ตลอดจนท่าทีของ Fed

– ในระยะยาว Geopolitical risk ไม่ส่งผลต่อผลตอบแทนแบบมีนัยยะ

– แต่ Geopolitical risk ที่เกิดบ่อยและถี่ ก็ทำให้กระจายความเสี่ยงสำคัญมาก

– ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเทคฯ อเมริกา และเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น

– มีมุมมองเชิงบวกต่อยุโรปมากขึ้น

ส่องการปรับพอร์ตช่วงไตรมาส 2 ของ KAsset Global Perspective

1. กลยุทธ์ในส่วนของ Core Port เพื่อลงทุนระยะยาว

Overweight ตราสารหนี้ 

  • กรอบตราสารหนี้ไทย สิบปี พันธบัตรรัฐบาล อยู่ที่ 2.30 – 2.70% คาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในครึ่งปีหลัง
  • สําหรับตราสารหนี้ไทย ระยะยาว แนะนําสะสม K-FIXEDPLUS
  • กรอบตราสารหนี้สหรัฐฯ สิบปีพันธบัตรรัฐบาล อยู่ที่ 3.5 -4.25% แนะนําทยอยสะสมกอง K-GDBOND

Overweight ตราสารทุน 

  • แนะนําทยอยลงทุนในประเทศที่การเติบโตแข็งแกร่ง K-USA, K-INDIA
  • ทยอยเข้าลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยงใน K-JPX, K-EUX
  • Downside risk จํากัด แนะนํากองทุน K-CHX, K-STAR, K-VALUE

Neutral สินทรัพย์ทางเลือก 

  • แนะนําลงทุนใน K-GOLD 3% ในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง
  • มีมุมมองเชิงบวกต่อ REITS แนะนํา K-PROPI

2. กลยุทธ์ในส่วนของ Satellite Port ปรับพอร์ตในไตรมาสสอง

Return Seeking Satellite เพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมในระยะสั้น

  • มีการปรับขาย K-GTECH เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีมาตั้งแต่ต้นปี มองว่าจะเข้ารอบย่อ จากการที่ตลาด repricing ใหม่ เรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด
  • ซื้อ K-SF เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น มองว่าบอนด์ยิลด์ไทย น่าจะยังเป็นขาลง และจะให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อ ธปท. ลดดอกเบี้ย

Diversifier Satellite เพื่อกระจายความเสี่ยงจาก Core Portfolio

  • K-GHEALTH คงเดิม แนะนําเข้าลงทุน หรือทยอยสะสม เพื่อกระจายความเสี่ยงได้
  • K-HIT คงเดิม แนะนําเข้าลงทุน หรือทยอยสะสม เพื่อกระจายความเสี่ยงได้

แนะนำ Global Perspective Portfolio by KAsset

หากใครสนใจการลงทุนในพอร์ตที่มีนโยบายแบบ Multi Asset วันนี้ FINNOMENA FUNDS ขอแนะนำ Global Perspective Portfolio by KAsset ช่วยสร้างผลตอบแทนระยะยาวผ่านพอร์ตการลงทุนที่มีการกระจายลงทุนเป็นอย่างดี

Global Perspective Portfolio by KAsset ใช้แนวคิด Core-Satellite portfolio คือ

มี Core Portfolio (80%) เป็นพอร์ตหลักที่ถือไปยาว ๆ 

มี Satellite Portfolio (20%) เป็นพอร์ตที่ช่วยสร้างโอกาสผลตอบแทนในระยะสั้นกว่า

 

ความพิเศษคือในส่วนของ Satellite Portfolio จะมีการแบ่งย่อยเป็น 2 ส่วนอีก คือ 

– Return-seeking Satellite (10%) ช่วยหาโอกาสผลตอบแทนเพิ่มเติม

– Diversifying Satellite (10%) ช่วยกระจายความเสี่ยง มี correlation กับ Core Port ต่ำ

 

นอกจากนี้ Global Perspective Portfolio by KAsset ยังมีการผสานมุมมองการลงทุนจาก J.P. Morgan Asset Management ซึ่งเป็นบลจ. ระดับโลกเข้ามาอีกด้วย

อ่านข้อมูลของ Global Perspective Portfolio by KAsset เพิ่มเติม : https://finno.me/global-perspective-port 


นักลงทุนสายจัดพอร์ต สามารถติดตามรายการใหม่ “Portfolio Mastery – รีวิวทุกข้อมูลพอร์ตการลงทุนที่คุณถือ” ได้ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 1 ทุ่มตรง!

‍‍‍‍รายการที่จะนำทุกพอร์ตการลงทุนของ FINNOMENA มาทำการ review เชิงลึกให้นักลงทุนได้ติดตามความเคลื่อนไหวและมุมมองการลงทุน พร้อมกลยุทธ์ที่ใช้ในอนาคต รวมถึงแนะนำพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วง

โดยคุณกิ๊ก กสิณ สุธรรมมนัส หรือ Coach Gigs – The Global Allocation และคุณหยง วศิน ปริธัญ – The Long-term Growth

‍‍‍‍‍‍สำหรับ EP. ล่าสุดเรื่อง Global Perspective Portfolio by KAsset รับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/live/OYIfxtk8s6E?si=cFPwrUsQBU9xiEfB 


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในกรอบระยะเวลาตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่แตกต่างกันตามคำแนะนำ | บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by Krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ชี้เป้ากองทุนแนะนำ มองขาดทุกโอกาสการลงทุน: สงครามผ่อนคลาย จังหวะ Buy the Dip [อัปเดตมุมมอง 25 เม.ย. 2024]

FINNOMENA FUNDS Investment Team
กองทุนแนะนำ Finnomena Funds

กองทุนไหนดี? ในภาวะที่ตลาดกลับมาผ่อนคลายความกังวลในเรื่องสงคราม Finnomena Funds มองว่าปัจจัยลบต่าง ๆ นั้นสร้างความผันผวนในระยะสั้นเท่านั้น และเป็นโอกาสเข้าลงทุนมากกว่าตื่นกลัว 

อ่านมุมมองการลงทุน – สงครามแค่ชั่วคราว ตลาดผ่อนคลาย ได้เวลา Buy the Dip

บทความนี้ จึงสรุปมาให้แล้วแบบเน้น ๆ กับคำแนะนำลงทุนรับโอกาส Buy the Dip ด้วยมุมมองการลงทุนหลากหลายสไตล์ ได้แก่  

  • FundTalk Call โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
  • Mr.Messenger Call โดย Bank – Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง โดยเน้นการใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
  • MEVT Call คำแนะนำการลงทุนในกองทุนเด่นที่มีโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis

 

กองทุนแะนำ Buy the Dipอัปเดตมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 25 เมษายน 2024 โดย Finnomena Funds

กองทุนแนะนำ MEVT Call

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” จากศักยภาพการเติบโตสูง และระยะยาวได้รับอานิสงส์จาก China+1 และโอกาสการถูกยกระดับเข้าสู่ดัชนี FTSE Emerging Market Index

2.) UOBSA

กองทุนหุ้น Asia ex Japan (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” พร้อมรับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว และมีอัพไซด์จากดอลลาร์ใกล้อ่อนค่า เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียชัดเจนมากขึ้น

3.) ONE-EUROEQ

กองทุนหุ้นยุโรป (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” หลังเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวดีต่อเนื่อง และผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับหุ้นโลก หนุนโดยกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโต

4.) SCBKEQTG

กองทุนหุ้นเกาหลีใต้ (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” เป็นจังหวะฟื้นตัวตามวัฏจักร Semiconductor และยังมีปัจจัยหนุนจากโครงการ Value-up program เพื่อส่งเสริมมูลค่าตลาดหุ้น โดย Valuation ก็ยังไม่แพง เป็นโอกาส Buy the Dip

กองทุนแนะนำ Mr.Messenger Call

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม (ความเสี่ยงระดับ 6) ถึงเวลากลับเข้า “เก็งกำไร” หลังจากที่เริ่มย่อตัวลงมา และดัชนีทำสัญญาณกลับตัวอีกครั้ง โดยแนะนำเข้าลงทุนที่ดัชนี VN30 ไม่เกินระดับ 1,222 จุด 

2.) ASP-DIGIBLOC

กองทุนหุ้นเทคโนโลยี Blockchain (ความเสี่ยงระดับ 6) มองเป็นจังหวะกลับมา Follow Buy หลังผ่านช่วง Bitcoin Halving 

3.) ABEG / ONE-EUROEQ

กองทุนหุ้นยุโรป (ความเสี่ยงระดับ 6) “ซื้อ” ตามเทรนด์ที่ตลาดหุ้นยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ และเกิดสัญญาณ Golden Cross จึงแนะนำเข้าลงทุนที่ NAV ของ STOXX EURO 600 ไม่เกิน 514 จุด

กองทุนแนะนำ FundTalk Call

1.) MEGA10CHINA-A

กองทุนหุ้นจีน (ความเสี่ยงระดับ 6) ที่ลงทุนแบรนด์ระดับโลก 10 ตัว แนะนำ “ซื้อ” โดยจะได้รับประโยชน์จากท่าทีของรัฐบาลที่หันกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจเต็มสูบ

2.) KT-ENERGY

กองทุนหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทั่วโลก (ความเสี่ยงระดับ 7) แนะนำ “ซื้อ” เพราะยังคงได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำมันโลกที่มีโอกาสขาดแคลน

3.) K-SEMQ

กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่  (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ซื้อ”  โดยมองเห็นโอกาสครั้งใหม่ของการเติบโตที่มีอัพไซด์ค่อนข้างสูง หนุนโดยประเทศจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และบราซิล

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

หุ้นจีน Hang Seng ทำจุดสูงสุดในรอบปี “ของจริง” หรือ “เด้งหลอก”

Finnomena Editor
หุ้นจีน Hang Seng ทำจุดสูงสุดในรอบปี

ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีหุ้นจีนฮ่องกง Hang Seng ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทุกวัน และล่าสุดในเช้าวันนี้ (25/04/2024) ก็ขึ้นไปทะลุ 17331 จุด ผ่านเส้นค่าเฉลี่ย (MA) 200 วัน และทำจุดสูงสูงตั้งแต่ปี 2024

ก่อนหน้านี้ ดัชนี Hang Seng ลงไปทำจุดต่ำสุดของปี เมื่อวันที่ 22 มกราคม แต่ก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมาดีขึ้น และบวกมาแล้วกว่า +16 เมื่อเทียบจากวันนั้น กำลังจะ break down trend channel ไปแล้ว

ประเด็นที่เป็นปัจจัยบวกมาอย่างต่อเนื่อง คือท่าทีกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนของรัฐบาลจีน แถมล่าสุุด (22/04/2024) ก็มีข่าวกระตุ้นตลาดหุ้น H-Share โดย ก.ล.ต. จีนจะดันให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับนานาชาติ ประกาศสนับสนุนการจดทะเบียนของบริษัทชั้นนำของจีนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง พร้อมปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับธุรกิจเทคโนโลยีในการเสนอขายหุ้น IPO

หุ้นจีน Hang Seng ทำจุดสูงสุดในรอบปี

Source: Trading View as of 24/04/2024

MEGA10CHINA-A

หุ้นจีน Hang Seng ทำจุดสูงสุดในรอบปี

Source: Finnomena Funds as of 24/04/2024

กองทุนหุ้นจีนหลาย ๆ กองในไทย ก็วิ่งทำราคาขาขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ MEGA10CHINA-A ที่ลงทุนใน 10 บริษัทที่ทรงอิทธิพลในจีน ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง

มูลค่า NAV ของ MEGA10CHINA-A ปรับเพิ่มขึ้น +11.72% นับตั้งแต่ต้นปี ชนะดัชนี Hang Seng Index และ MSCI All China Index

ความน่าสนในของหุ้น 10 ตัวในพอร์ต MEGA10CHINA-A

Source: investing as of 24/04/2024

  1. Alibaba (HKG: 9988) อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ระดับโลก
  2. Ping An Insurance (HKG: 2318) บริษัทประกันภัยและการเงินแบบครบวงจรชั้นนำของจีน
  3. BYD (HKG: 1211) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สัญชาติจีน โดยเป็นหนึ่งบริษัทที่มียอดขายมากที่สุดในโลก
  4. NetEase (HKG: 9999) บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีน ที่มีทั้งธุรกิจเกม เพลงสตรีมมิ่ง อีคอมเมิร์ซ และมีเดียแพลตฟอร์ม
  5. Baidu (HKG: 9888) เสิร์ชเอนจินรายใหญ่ของจีน พร้อมทั้งบริการแผนที่ออนไลน์ และมีการพัฒนา AI ครบวงจร
  6. Nongfu Spring (HKG: 9633) บริษัทน้ำดื่มบรรจุขวดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองจีน อาทิ น้ำแร่ น้ำเปล่า และน้ำชา
  7. Tencent (HKG: 0700) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจไปทั่วโลก เช่น โซเชียลมีเดีย เกมออนไลน์ บริการชำระเงิน เป็นต้น
  8. Meituan (HKG: 3690) ผู้นำแพลตฟอร์มการจัดส่งอาหารออนไลน์และสินค้า
  9. JD (HKG: 9618) อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน มีจุดเด่นที่การนำเสนอสินค้าหลากหลายประเภท เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน
  10. Xiaomi (HKG: 1810) ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าไอทีสัญชาติจีนที่ส่งออกไปทั่วโลก

มุมมองการลงทุน FundTalk Call

ยังคงชอบกองทุนหุ้นจีน MEGA10CHINA-A ที่ได้ให้คำแนะนำเข้าลงทุนไว้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2024 โดยมองว่าความเชื่อมั่นต่าง ๆ จะจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดหุ้นจีน รวมทั้งนักวิเคราะห์คาดการณ์กำไรของตลาดหุ้นจีนจะเติบโตประมาณ 15–20% ในปีนี้และปีหน้า ทำให้ระดับ P/E ที่ระดับ 7 เท่า ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโต

ควรซื้อเพิ่ม ถือ หรือขายทำกำไร ณ จุดนี้ FundTalk มองว่าดัชนีหุ้นจีนน่าจะยังไปต่อ และเป็นหนึ่งในตลาดที่ทำผลตอบแทนได้ดีอันดับต้น ๆ ของปีนี้ หลังจากทำผลงานแย่มาหลายปี

ดังนั้นใครมีอยู่แล้ว แนะนำ “ถือ” ส่วนใครยังไม่มี อาจจะรอให้ Hang Seng ยืนระยะเหนือเส้น 200 วัน แล้วจึงพิจารณาเข้าลงทุนอีกครั้ง


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ชี้เป้ากองทุนแนะนำ มองขาดทุกโอกาสการลงทุน: สงครามผ่อนคลาย จังหวะ Buy the Dip [อัปเดตมุมมอง 25 เม.ย. 2024]

Finnomena Funds
กองทุนแนะนำ Finnomena Funds

กองทุนไหนดี? ในภาวะที่ตลาดกลับมาผ่อนคลายความกังวลในเรื่องสงคราม Finnomena Funds มองว่าปัจจัยลบต่าง ๆ นั้นสร้างความผันผวนในระยะสั้นเท่านั้น และเป็นโอกาสเข้าลงทุนมากกว่าตื่นกลัว 

อ่านมุมมองการลงทุน – สงครามแค่ชั่วคราว ตลาดผ่อนคลาย ได้เวลา Buy the Dip

บทความนี้ จึงสรุปมาให้แล้วแบบเน้น ๆ กับคำแนะนำลงทุนรับโอกาส Buy the Dip ด้วยมุมมองการลงทุนหลากหลายสไตล์ ได้แก่  

  • FundTalk Call โดย Jet – The Contrarian คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ The Contrarian Investor เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่หาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพการเติบโตยังดี ประกอบกับมีลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสได้เข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
  • Mr.Messenger Call โดย Bank – Trend Follower คำแนะนำการลงทุนในรูปแบบ Trend Follower Investor มุ่งสร้างโอกาสทำกำไรในระยะสั้น-กลาง โดยเน้นการใช้ปัจจัยทางเทคนิคจับจังหวะตลาด ศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์ในอดีต โดยใช้หลักสถิติเพื่อนำมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในอนาคต และช่วยให้หาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม
  • MEVT Call คำแนะนำการลงทุนในกองทุนเด่นที่มีโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีในระยะกลาง-ยาว โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้านตาม MEVT Framework ได้แก่ Macro ปัจจัยเชิงมหภาค, Earnings วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, Valuation การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน และ Technical ปัจจัยอื่น ๆ เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis

 

กองทุนแะนำ Buy the Dip

อัปเดทมุมมองการลงทุนล่าสุด ณ วันที่ 25 เมษายน 2024 โดย Finnomena Funds

กองทุนแนะนำ MEVT Call

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” จากศักยภาพการเติบโตสูง และระยะยาวได้รับอานิสงส์จาก China+1 และโอกาสการถูกยกระดับเข้าสู่ดัชนี FTSE Emerging Market Index

2.) UOBSA

กองทุนหุ้น Asia ex Japan (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” พร้อมรับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว และมีอัพไซด์จากดอลลาร์ใกล้อ่อนค่า เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียชัดเจนมากขึ้น

3.) ONE-EUROEQ

กองทุนหุ้นยุโรป (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” หลังเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวดีต่อเนื่อง และผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับหุ้นโลก หนุนโดยกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโต

4.) SCBKEQTG

กองทุนหุ้นเกาหลีใต้ (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ทยอยสะสม” เป็นจังหวะฟื้นตัวตามวัฏจักร Semiconductor และยังมีปัจจัยหนุนจากโครงการ Value-up program เพื่อส่งเสริมมูลค่าตลาดหุ้น โดย Valuation ก็ยังไม่แพง เป็นโอกาส Buy the Dip

กองทุนแนะนำ Mr.Messenger Call

1.) PRINCIPAL VNEQ-A

กองทุนหุ้นเวียดนาม (ความเสี่ยงระดับ 6) ถึงเวลากลับเข้า “เก็งกำไร” หลังจากที่เริ่มย่อตัวลงมา และดัชนีทำสัญญาณกลับตัวอีกครั้ง โดยแนะนำเข้าลงทุนที่ดัชนี VN30 ไม่เกินระดับ 1,222 จุด 

2.) ASP-DIGIBLOC

กองทุนหุ้นเทคโนโลยี Blockchain (ความเสี่ยงระดับ 6) มองเป็นจังหวะกลับมา Follow Buy หลังผ่านช่วง Bitcoin Halving 

3.) ABEG / ONE-EUROEQ

กองทุนหุ้นยุโรป (ความเสี่ยงระดับ 6) “ซื้อ” ตามเทรนด์ที่ตลาดหุ้นยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ และเกิดสัญญาณ Golden Cross จึงแนะนำเข้าลงทุนที่ NAV ของ STOXX EURO 600 ไม่เกิน 514 จุด

กองทุนแนะนำ FundTalk Call

1.) MEGA10CHINA-A

กองทุนหุ้นจีน (ความเสี่ยงระดับ 6) ที่ลงทุนแบรนด์ระดับโลก 10 ตัว แนะนำ “ซื้อ” โดยจะได้รับประโยชน์จากท่าทีของรัฐบาลที่หันกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจเต็มสูบ

2.) KT-ENERGY

กองทุนหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทั่วโลก (ความเสี่ยงระดับ 7) แนะนำ “ซื้อ” เพราะยังคงได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำมันโลกที่มีโอกาสขาดแคลน

3.) K-SEMQ

กองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่  (ความเสี่ยงระดับ 6) แนะนำ “ซื้อ”  โดยมองเห็นโอกาสครั้งใหม่ของการเติบโตที่มีอัพไซด์ค่อนข้างสูง หนุนโดยประเทศจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย และบราซิล

กองทุนไหนดี ดูคำแนะนำทั้งหมด คลิกเลย

ไหน ๆ จะลงทุนทั้งที การไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเต็มเนี่ย ออกจะฟินสุด ๆ ทีมงานมัดรวม FINT Cashback ตามลิงก์ข้างล่างเลย 👇🏻👇🏻👇🏻

1️⃣ อยากใช้ FINT Cashback ต้องเข้าตรงไหน?
💡 Link : https://www.finnomena.com/fint/cashback

2️⃣ สอนใช้ FINT Cashback แบบจับมือทำ
💡 Link : https://youtu.be/Zsrs7URDUwM?si=uROVCvLFIvA_Au0f

3️⃣ กองทุนที่เราจะลงทุน เข้าร่วม Cashback ไหม?
💡 Link : https://www.finnomena.com/fint/cashback/fund-list

4️⃣ อยากรู้ลึกๆ ว่า FINT Cashback คืออะไร?
💡 Link : https://docs.fint.finance/fint-token/use-fint-fint/cashback-from-fee

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนเมษายน 2024: เบนเข็มเข้าหา Cloud Computing

บลจ.ทิสโก้
TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนเมษายน 2024

 

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนเมษายน 2024


ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่: 18 เมษายน  2024

Outlook

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯได้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1 เริ่มจากกลุ่มการเงิน ที่เริ่มประกาศตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. โดยพบว่าบริษัทส่วนใหญ่มีกำไรออกมาดีกว่าคาด และยังคงได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยที่อยู่ระดับสูง โดยเรามองว่า แม้โอกาสการลดดอกเบี้ยของ Fed จะลดลงเมื่อเทียบกับตลาดประเมินในช่วงก่อนหน้า แต่ตลาดหุ้นยังได้รับปัจจัยบวกหนุนจากผลประกอบการ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Technology ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI จะยังเติบโตอย่างโดดเด่น
  • เชื่อว่าตลาดหุ้นจีนเริ่มมี Sentiment เชิงบวกมากขึ้น หลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ด้านตัวเลข GDP จีนในไตรมาส1/2024 เติบโตมากกว่าคาดการณ์ จากการผลิตที่ออกมาแข็งแกร่ง ขณะที่ภาคบริโภคยังคงอ่อนแอ สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศษฐกิจจีนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • แม้เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวช้า โดยล่าสุด IMF ได้ปรับลดการคาดการณ์ GDP ไทย ในปี 2024 จากภาคการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวช้า อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวมีสัญญาณฟื้นตัวดีต่อเนื่อง และยังได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ และคาดว่าเศษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของกนง.ในช่วงครึ่งปีหลัง

Strategy

  • ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญกับแรงเทขายในช่วงกลางเดือน เม.ย. กดดันจากประเด็นความขัดแย้งในตะวันออกกลาง หลังอิหร่านเปิดจากโจมตีอิสราเอล และ กังวลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ล่าสุด มี.ค.ที่ 3.5% และ ภาคแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง อาจทำให้ Fed ลดดอกเบี้ยน้อยกว่า 3 ครั้ง ส่งผลให้ ตลาดเข้าสู่สภาวะ Risk-Off อีกครั้ง
  • อย่างไรก็ดี การปรับฐานของตลาดหุ้นทั่วโลก ถือเป็นการสะท้อนปัจจัยกดดันระยะสั้น ซึ่งเรายังมีมุมมองเชิงบวกกับตราสารหนี้ภาคเอกชนและสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม AI จากการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง

Portfolio Action

  • ปรับลดน้ำหนัก TISCO China Consumer Fund TCHCON ไปยัง TISCO Cloud Computing Equity Fund TCLOUD โดยเรามองว่า กลุ่ม Consumer Discretionary ในจีน กำลังเผชิญกับความท้าทายจากสงครามราคารถยนต์ EV ในจีน ขณะที่ความต้องการใช้ Cloud Computing สูงขึ้นจากเทคโนโลยี AI ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาระบบ Cloud จากการขยายฐานข้อมูล นอกจากนี้ กองทุนหลักมีกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นที่ นอกเหนือจาก Cloud Storage อย่างเช่นกลุ่ม Application Software และ System Software เป็นต้น
  • ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า TCLOUD

Performance Review

ผลตอบแทนพอร์ตกองทุนนับจากวันที่ 19 มี.ค.จนถึง 18 เม.ย. 2024 ปรับเพิ่มขึ้น +0.01% และสำหรับผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี +1.73%

ㆍDetractor:

  • สำหรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุน TISCO China Clean Energy Fund TCHCLEAN ปรับลงมากที่สุด หลังจากที่นาง Janet Yellen รมว.กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนประเทศจีน และสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลจีน ให้เร่งแก้ไขมาตรการควบคุมอุปทานของผลิตภัณฑ์พลังงานสะอาดในจีนที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั่วโลก อาทิ การบิดเบือนราคาในตลาดโลก

ㆍ Contributor:

  • ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา TISCO Gold Fund TGOLD เป็นกองทุนที่หนุนพอร์ตกองทุนมากที่สุด โดยอันดับที่ 2 คือ กองทุนจีน TCHCON (TISCO China Consumer Fund) และ อันดับที่ 3 คือ กองทุนเวียดนาม TVIETNAM (TISCO Vietnam Equity)

บลจ. ทิสโก้


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299