ปธน.ปูติน ดีใจที่แบรนด์ต่างประเทศออกจากประเทศ มองเป็นโอกาสของธุรกิจรัสเซีย เตือนตะวันตกว่า รัสเซียจะทำทุกทางเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงและสินค้าหรูหราแม้จะถูกกีดกันก็ตาม
นับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน บริษัทระดับโลกตั้งแต่ BP ไปจนถึง McDonald แห่ออกจากรัสเซีย ขณะที่เศรษฐกิจของรัสเซียหดตัวครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991
“โชคดีจริงที่พวกเขาออกไป เพราะธุรกิจและการผลิตของรัสเซียจะได้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับพันธมิตรของเรา” ปูตินกล่าวในวันพฤหัสบดี (26 พ.ค.)
ปูตินกล่าวว่า สินค้าหรูหราอย่าง Mercedes จะยังคงมีอยู่ แต่ยอมรับว่าอาจมีราคาแพงกว่าเดิมเล็กน้อย
สำหรับเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศพัฒนาแล้ว ปูตินกล่าวว่า หลายชาติต้องการกีดกันรัสเซียออก แต่ในโลกสมัยใหม่มันแทบเป็นไปไม่ได้
ปูตินย้ำว่า การบุกรุกยูเครนคือจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์รัสเซียนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ขณะที่ยูเครนกำลังต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด
นอกจากชีวิตที่สูญเสียไปจากสงครามแล้ว การพยายามคว่ำบาตรรัสเซียของชาติตะวันตกกำลังบีบคั้นเศรษฐกิจทั่วโลกและทำให้เงินเฟ้อยิ่งแย่ลง
ปูตินเตือนว่าความพยายามของตะวันตกจะล้มเหลว เพราะเศรษฐกิจพัฒนาแล้วกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ซัพพลายเชน และวิกฤติด้านอาหาร ในขณะที่รัสเซียเตรียมรับมือไว้อย่างดี โดยพร้อมหันหลังให้ตะวันตก แล้วไปหาจีน อินเดีย และมหาอำนาจอื่นๆ แทน
ปูตินยอมรับว่าตัวแทนธุรกิจของรัสเซียกำลังเผชิญปัญหา แต่ทุกอย่างสามารถปรับเปลี่ยนและสามารถสร้างขึ้นได้ในแนวทางใหม่
“ไม่ใช่ว่ารัสเซียไม่สูญเสีย แต่นี่ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น รัสเซียกำลังได้รับความสามารถใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การเงิน และการบริหาร” ปธน.ของรัสเซียกล่าว
อ้างอิง: https://www.reuters.com/world/europe/putin-says-west-wont-succeed-cutting-russia-off-2022-05-26/
——————-
รับชมบน YouTube: https://youtu.be/X1xMiwRUNlo
หากมีใครติดตามราคาทองคำอยู่บ้าง ก็อาจจะแอบสังเกตได้ว่า หลายครั้งจะมีการแสดงข้อมูลราคาแยกกัน ระหว่างราคาทองคำไทย และราคาทองคำโลก ทำให้สงสัยว่า แล้วทองคำไทย กับทองคำโลกไม่ใช่ทองคำเดียวกันหรืออย่างไร ทำไมราคาถึงไม่เท่ากัน มาหาคำตอบกันได้เลยในคลิปนี้
อ่านเพิ่มเติม “ทองไทย vs. ทองโลก ทำไมราคาไม่เท่ากัน?”
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website
หุ้น Alibaba พุ่งแรงกว่า 12% หลังรายได้บริษัทโตดีกว่าคาด +9% ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานในจีนเกิน 1 พันล้านคนแล้ว บรรเทาความกังวลของนักลงทุนจากการล็อกดาวน์และปัญหาด้านกฎระเบียบ
วันนี้ (27 พ.ค.) ดัชนี Hang Seng Tech ของฮ่องกงเพิ่มขึ้นมากถึง 4.9% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ นำโดย Alibaba และ Baidu ที่ประกาศงบออกมาดีกว่าคาด ส่งสัญญาณบวกว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีค้นพบวิธีลุยผ่านข้อจำกัดที่เข้มงวดของนโยบายภาครัฐแล้ว
Alibaba รายงานรายได้ไตรมาสเดือน มี.ค. อยู่ที่ 30,300 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9% จากปีที่แล้ว แต่ยังคงขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 2,800 ล้านดอลลาร์ โดยการขาดทุนมาจากการลงทุนบริษัทต่างๆ ที่ราคาหุ้นปรับลงมาอย่างมาก แต่หากเป็นบัญชี Non-GAAP จะมีกำไรอยู่ที่ 3,123 ล้านดอลลาร์
➢ รายได้จากธุรกิจ e-commerce: 22,137 ล้านดอลลาร์ (+8%)
➢ รายได้จากบริการต่างๆ ในท้องถิ่น: 1,647 ล้านดอลลาร์ (+29%)
➢ รายได้จากธุรกิจ Cloud: 2,993 ล้านดอลลาร์ (+12%)
สำหรับธุรกิจ e-commerce ในต่างประเทศ มีจำนวนคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 7% จาก Lazada และ Trendyol แต่มีคำสั่งซื้อลดลงใน AliExpress ขณะที่จำนวนลูกค้าที่ใช้งานเป็นประจำในจีนเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านคน
Daniel Zhang ซีอีโอของบริษัทกล่าวว่า บริษัทเตรียมขยายธุรกิจด้วยการพัฒนาคุณภาพ การควบคุมต้นทุน รวมถึงขยายโครงสร้างพื้นฐานในระบบคลาวด์และดิจิทัลสำหรับลูกค้าต่อไป แต่ยังคงกังวลในผลกระทบที่คาดเดาไม่ได้ของนโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ส่งผลให้ราคาหุ้น Alibaba ในตลาดหุ้นฮ่องกงพุ่งแรงกว่า 12% ขณะที่หุ้น SoftBank Group ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Alibaba เพิ่มขึ้น 4.5% ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น
Alibaba เป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวจีน เพราะบริษัทครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตอนนี้ Alibaba เผชิญกับทั้งการแข่งขันและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในประเทศของตัวเอง
Zhang กล่าวว่า Alibaba จะมีบทบาทในการช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยในปีงบประมาณใหม่ บริษัทจะเน้นไปที่การควบคุมต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
https://www.blognone.com/node/128690
——————-
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 21 – 27 พ.ค. 2565 มีกองทุนไหนทำผลตอบแทนได้โดดเด่น และเป็นกองทุนยอดนิยมที่มีผู้ค้นหามากที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน FINNOMENA บทความนี้จะขอพาผู้อ่านไปดูกันครับ
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 27 พ.ค. 2565)
1. WE-TENERGY – กองทุนเปิด วี นิว ทรานซิชั่น เอนเนอร์จี
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +8.81%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -28.35%
2. ASP-POWER – กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ฟิวเจอริสติก พาวเวอร์ ซัพพลาย แอนด์ โมบิลิตี้
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +6.58%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -23.05%
3. KT-PRECIOUS – กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ โกลด์ แอนด์ เพรเชียส เอคควิตี้
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +4.51%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -3.69%
ดูรายละเอียดกองทุนทั้ง 5 อันดับเพิ่มเติม: WE-TENERGY, ASP-POWER, KT-PRECIOUS, M-EUBANK, ASP-IHEALTH
หมายเหตุ: ข้อมูลหน่วยราคากองทุน อัปเดตล่าสุด เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 ข้อมูลผลตอบแทนบางกองทุนในหน้าจัดอันดับกองทุน อาจมีการแสดงผลตอบแทนที่แตกต่างจากแต่ละหน้ากองทุน เนื่องจากการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (ซึ่งนับวันที่ในรอบสัปดาห์แตกต่างกัน)
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
(ข้อมูลจาก FINNOMENA Fund Filter ณ วันที่ 27 พ.ค. 2565)
1. ONE-UGG-RA : กองทุนเปิด วรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: -8.28%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -45.64%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต
2. TMBGQG : กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +1.64%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD): -21.19%
3. PRINCIPAL VNEQ-A : กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า
ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 สัปดาห์: +0.64%
ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD) -15.15%
อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว!
ซื้อกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A คลิก
ดูรายละเอียดกองทุนยอดนิยมเพิ่มเติม : ONE-UGG-RA, TMBGQG, PRINCIPAL VNEQ-A, K-VIETNAM, B-INNOTECH, SCBS&P500, K-CASH, TMBAGLF, K-USA-A(A), K-CHANGE-A(A)
ลงทุนกองไหนดี ? อ่านโพยกองทุน แนะนำกองทุนสำหรับลงทุนระยะยาว 3-5 ปี คลิก: https://finno.me/cheat-sheet-update
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones ปิดที่ 32,637.19 จุด +516.91 จุด (+1.61%) S&P 500 ปิดที่ 4,057.84 จุด +79.11 จุด (+1.99%) Nasdaq ปิดที่ 11,740.65 จุด +305.91 จุด (+2.68%) Small Cap 2000 ปิดที่ 1,838.24 จุด +39.07 จุด (+2.17%) VIX Index อยู่ที่ 27.5 จุด -0.87 จุด (-3.07%)
ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3,740.31 จุด +92.75 จุด (+2.54%) Dax เยอรมัน ปิดที่ 14,231.29 จุด +223.36 จุด (+1.59%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 6,410.58 จุด +111.94 จุด (+1.78%) FTSE 100 อังกฤษ ปิดที่ 7,564.92 จุด +42.17 จุด (+0.56%)
ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) Nikkei 225 ญี่ปุ่น ปิดที่ 26,604.84 จุด -72.96 จุด (-0.27%) CSI 300 จีน ปิดที่ 3,993.04 จุด 9.86 จุด (+0.25%) Hang Seng ฮ่องกง ปิดที่ 20,116.20 จุด -55.07 จุด (-0.27%) SET Index ไทย ปิดที่ 1,633.73 จุด +8.55 จุด (+0.53%) VN30 เวียดนาม ปิดที่ 1,309.5 จุด -1.2 จุด (-0.09%)
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ) ราคาทองคำ 1,848.91 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาแร่เงิน 21.997 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 114.4 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ Brent 114.75 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ) Bitcoin 2,9037 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 1,759.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.0777 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Binance 301.7 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
สกุลเงินรูเบิลอ่อนค่าลงราวๆ 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ หลังจากธนาคารกลาางรัสเซียเคลื่อนไหวปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 11% และบ่งชี้ว่าอาจปรับลดอีก เนื่องจากความเสี่ยงเงินเฟ้อลดน้อยลง โดยธนาคารกลาางรัสเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3% เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน
สหรัฐฯ ประกาศ GDP ไตรมาส 1 หดตัว 1.5% มากกว่าคาดที่ 1.4% เหตุนำเข้าพุ่ง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ประเมินว่า การหดตัวครั้งล่าสุดนี้ไม่ได้ส่งสัญญาณของการถดถอยทางเศรษฐกิจรอบใหม่ เนื่องจากสาเหตุของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือช่องว่างทางการค้าที่ถ่างขึ้น โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาและขยายตัวอีกครั้งในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้แล้ว โดยภาวะเงินเฟ้อพุ่งยังคงเป็นปัญหาหลักของสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เผยยุทธศาสตร์ใหม่ “ไม่ต้องการทำสงครามเย็นรอบใหม่” เเต่จะเอาชนะจีนในการแข่งขันในช่วง 10 ปีข้างหน้า ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำงานร่วมกับชาติพันธมิตรเพื่อเสริมความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทาน ควบคู่ไปกับการป้องกันวิกฤติต่าง ๆ
รัฐบาลอังกฤษ เก็บ “ภาษีลาภลอย” – Windfall Tax บริษัทน้ำมัน โดยจะเก็บภาษีในกลุ่มธุรกิจพลังงานเป็นระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้าส่งผลให้บริษัทน้ำมันอาจถูกเก็บภาษีสูงสุด 25% โดยที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นจากภาวะสงคราม ทำให้บริษัทพลังงานต่างๆ มีกำไรสูงขึ้นอย่างมาก โดยไม่ได้เพิ่มผลิตภาพมวลรวม รวมถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อประเทศ เเต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเป็นหลัก
จีนจัดประชุมฉุกเฉินเรื่องเศรษฐกิจ ‘หลี่ เค่อเฉียง’ ส่งสัญญาณ GDP พลาดเป้าที่ 5.5% เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด19 ที่ฉุดเศรษฐกิจ และล่าสุดที่กรุงปักกิ่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านนักวิเคราะห์เดินหน้าหั่นเป้า GDP จีนเหลือ 4.5%
Alibaba รายงาน รายได้โตเกินคาดจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซในจีน ไตรมาส 1/2022 เติบโต 9% อยู่ที่ $30.35 พันล้าน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาด และขาดทุนสุทธิ $2,896 ล้าน ซึ่ง Alibaba บอกว่าสาเหตุหลักมาจากขาดทุนในการลงทุนบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหุ้น เนื่องจากราคาหุ้นปรับลดลงมาก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน และการซื้อของลูกค้า
Baidu ยอดขายเติบโต 1% ในไตรมาส 1 ที่ระดับ 28.41 พันล้านหยวน จากบริการ AI และ Cloud Services มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาด เเต่ยังขาดทุนสุทธิที่ 885 ล้านหยวน โดยธุรกิจ AI เติบโต 4% รายได้โฆษณาออนไลน์ หดตัว 4%
ดัชนี Hang Seng บวกกว่า 3% นำโดยสองหุ้นเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ประกาศผลการดำเนินงานออกมาดีกว่าที่คาด หุ้น Alibaba ปรับตัวขึ้น 12.7% ประกาศรายได้อยู่ที่ 2.04 แสนล้านหยวน สูงกว่าคาดที่ 1.99 แสนล้านหยวน และหุ้น Baidu ปรับตัวขึ้น 14.1% มีรายได้อยู่ที่ 2.84 หมื่นล้านหยวน มากกว่าคาดที่ 2.79 หมื่นล้านหยวน นำโดยธุรกิจ AI Cloud ที่เติบโต 45% แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการ Lock Down ก็ตาม ซึ่งทำให้นักลงทุนคลายความกังวลลงเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการที่จีนใช้นโยบาย Covid Zero
FINNOMENA Investment Team มองว่าระยะสั้นตลาดหุ้นจีนยังต้องติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่อาจทำให้ทางการจีนกลับมาใช้นโยบายควบคุมอย่างเข้มงวดอีกครั้ง รวมถึงติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และติดตามข่าวการควบคุมบริษัทเทคโลยีของจีนที่เริ่มมีแนวโน้มเริ่มจะผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งด้วยระดับ Valuation และการเติบโตของ EPS ยังมีความน่าสนใจสะสม เมื่อมาตรการ COVID Zero คลี่คลาย
——————-
‘แอนโทนี บลิงเคน’ รมว.ต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่า จีนคือความท้าทายระยะยาวที่ร้ายแรงที่สุดต่อระเบียบโลก สหรัฐฯ พร้อมเอาชนะจีนด้วยเศรษฐกิจ แต่ “ไม่ต้องการทำสงครามเย็น”
เมื่อวันพฤหัสบดี (26 พ.ค.) บลิงเคน กล่าวว่า จีนเป็นประเทศเดียวที่ต้องการสร้างระเบียบโลกขึ้นมาใหม่ โดยการเพิ่มทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจ การทูต การทหารและเทคโนโลยี ซึ่งนั่นจะไปทำลายค่านิยมสากลที่รักษาความก้าวหน้าของโลกไว้ตลอด 75 ปี
ดังนั้นนโยบายสำคัญของสหรัฐฯ คือ การเอาชนะจีนด้วยการแข่งขันในช่วง 10 ปีข้างหน้า จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำงานร่วมกับชาติพันธมิตรเพื่อเสริมความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทาน ควบคู่ไปกับการป้องกันวิกฤติต่างๆ
“ลงทุน เข้าร่วม และแข่งขัน” คือ 3 หัวข้อหลักที่สหรัฐฯ มุ่งเน้น
บลิงเคนย้ำว่า สหรัฐฯ ไม่ต้องการแตกแยกกับจีนในด้านเศรษฐกิจและการค้า แต่ต้องการปกป้องกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง โดยจะทำให้ทั้งสองประเทศอยู่ร่วมกันได้
การแข่งขันระหว่างจีนและสหรัฐฯ ไม่ใช่ทั้งสงครามเย็นยุคใหม่หรือการแบ่งแยกโลกออกเป็นสองขั้ว แต่เป็นการฟื้นฟูระเบียบโลก ซึ่งสหรัฐฯ ยินดีทำการค้าและการลงทุนกับจีน ถ้ามีความโปร่งใส ยุติธรรม และมั่นคงปลอดภัย
ก่อนหน้านี้ ปธน. โจ ไบเดน กล่าวว่า สหรัฐฯ จะแทรกแซงทางทหารเพื่อปกป้องไต้หวันหากจีนใช้กำลังรุกราน แต่ รมว.ต่างประเทศของสหรัฐฯ ย้ำว่า สหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นใน “นโยบายจีนเดียว” และไม่สนับสนุนการมีเอกราชของไต้หวัน แต่ต้องการให้ปัญหาดังกล่าวถูกแก้ไขด้วยสันติวิธี
สหรัฐฯ ได้เปิดช่องทางการสื่อสารกับจีนเพื่อลดการตีความผิด และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีแผนจัดการประชุมระดับผู้นำระหว่างไบเดน และสี จิ้นผิง ในช่วงนี้
อ้างอิง:
——————-
การบุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในจีนอาจไม่ง่ายอย่างที่คิดถ้าไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค แม้จะเป็นบริษัทระดับโลกก็ตาม
ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าใหญ่อย่าง General Motors และ Volkswagen เร่งขยายตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในจีนที่กำลังเฟื่องฟู แต่ยังคงตามหลังแบรนด์ในประเทศ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนครองใจผู้บริโภคได้มากกว่าคือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต
Tianna Cheng พนักงานออฟฟิศในกรุงปักกิ่งที่เลือกซื้อรถ Crossover ไฟฟ้าจากแบรนด์ Xpeng บอกว่าตอนนั้นเธอลังเลระหว่าง BYD, Nio และ Xpeng โดยไม่ได้พิจารณาแบรนด์จากต่างประเทศเลย
ถ้า Cheng ต้องเลือกรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เธออาจจะพิจารณาแบรนด์ต่างประเทศ แต่เธอต้องการรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งนอกจาก Tesla ก็มีแบรนด์ต่างประเทศเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะขั้นสูงอย่างเหมาะสม
Cheng ยังบอกอีกว่าไม่ว่าจะเป็น Velite 7 หรือ ID ของ Volkswagen ก็ไม่สามารถให้ในสิ่งที่เธอหาได้ นั่นคือ “ความสบายและความง่ายเหมือนกับการใช้สมาร์ทโฟน”
รถยนต์ไฟฟ้าของจีนสามารถเชื่อมต่อกับแอป Alipay และ Taobao และสามารถทำได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เปิดหน้าต่างไปจนถึงเปิดเพลง และซอฟต์แวร์ของเครื่องสามารถอัปเดตบนตัวเครื่องโดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์ใด (OTA)
จากความต้องการของผู้บริโภคอย่าง Cheng ทำให้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของจีนพุ่งสูงขึ้น โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบแบตเตอรี่และไฮบริด เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้าสู่ 1.49 ล้านคัน
ตอนนี้รถยนต์พลังงานสะอาดคิดเป็น 23% ของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในจีน ยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ลดลง 12% สะท้อนว่า ความต้องการรถยนต์เบนซินลดลงอย่างมาก
ข้อมูลจากสมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งประเทศจีน ระบุว่า นอกจาก Tesla แล้ว ก็ไม่มีแบรนด์ต่างประเทศที่ติด 10 อันดับกลุ่มยานยนต์พลังงานใหม่ (NEV) ของจีน โดยในปีนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ในจีนอย่าง BYD มียอดขายในจีนประมาณ 390,000 คัน มากกว่า Tesla 3 เท่า
ก่อนหน้านี้แบรนด์ระดับโลกเป็นผู้นำในจีนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 และครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวมที่ 60-70% อย่างไรก็ตาม Makoto Uchida ซีอีโอของนิสสัน เตือนว่า อาจได้เห็นบางแบรนด์หายไปเลยจากจีนภายใน 3-5 ปี
Makoto Uchida กล่าวว่า แบรนด์จีนแข็งแกร่งขึ้นอย่างมาก เห็นได้จากคุณภาพของรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในจีน ดังนั้น ต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างรอบคอบ เพราะถ้าเราช้า เราอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
——————-
รู้จัก ‘Alexandr Wang’ มหาเศรษฐีพันล้านที่มีอายุน้อยที่สุดในโลกวัย 25 ปี ที่ลาออกจาก MIT ตอนอายุ 17 ปี เพื่อมาตั้งบริษัท Scale AI ช่วยโลกปลดล็อกศักยภาพข้อมูล
Wang เติบโตภายใต้เงามืดของโครงการอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐฯ พ่อแม่ของเขาเป็นนักฟิสิกส์ที่ Los Alamos National Lab ในรัฐนิวเม็กซิโก สถานที่ลับสุดยอดที่สหรัฐฯ ใช้พัฒนาระเบิดปรมาณูลูกแรกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
Wang ในวัยเด็กเข้าแข่งขันณิตศาสตร์และการเขียนโปรแกรมระดับประเทศ ต่อมาตอนอายุ 17 ปี เขาได้ทำงานเขียนโค้ดฟูลไทม์ที่ Quora และพบกับ Lucy Guo ผู้ร่วมก่อตั้งของ Scale ที่นั่น
Wang และ Guo เริ่มธุรกิจ ‘Scale AI’ ในช่วงฤดูร้อนหลังจบปี 1 ด้วยเงินทุนจาก Y Combinator
“ตอนนั้นผมบอกพ่อกับแม่ว่าจะทำ Scale แค่ในช่วงฤดูร้อน และอย่างที่เห็นผมไม่ได้กลับไปเรียน MIT ต่อ” Wang กล่าว
Wang ตามรอยพ่อแม่ที่ทำงานด้านการทหารให้กองทัพ Scale AI บริษัทอายุ 6 ขวบของ Wang ตั้งอยู่ในซานฟรานซิสโก โดยมีส่วนช่วยกองทัพอากาศและกองทัพบกของอเมริกาใช้ AI
ในการวิเคราะห์ว่าระเบิดของรัสเซียสร้างความเสียหายมากน้อยเพียงใดในยูเครน เทคโนโลยีของ Scale พิสูจน์แล้วว่าวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมได้เร็วกว่ามนุษย์
เทคโนโลยีของ Scale ไม่ได้มีประโยชน์แค่ทางการทหารเท่านั้น บริษัทมากกว่า 300 แห่ง รวมทั้ง General Motors และ Flexport ก็ใช้ Scale เช่นกัน
สิ่งที่ Scale ทำคือ คัดแยก ‘ข้อมูลล้ำค่า’ ออกจากข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างทั้งเอกสารการขนส่ง คำพูด ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายจากรถยนต์ไร้คนขับ
“ทุกอุตสาหกรรมใช้ข้อมูลอย่างมหาศาล เป้าหมายของเราคือ ช่วยปลดล็อกศักยภาพของข้อมูลและขับเคลื่อนธุรกิจด้วย AI” Wang กล่าว
ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 15% นั่นแปลว่า Wang มีทรัพย์สินแล้ว 1 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 34,000 ล้านบาท) ทำให้เขากลายมหาเศรษฐีพันล้านที่สร้างตัวเองด้วยอายุน้อยที่สุดในโลก
——————-
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดค่อนข้างผันผวน ถึงแม้ความตกใจของนักลงทุนอาจยังไม่เท่าในปี 2020 ที่เกิดการระบาดของโควิด 19 แต่ถือว่าความผันผวนไม่ได้น้อยไปกว่าปี 2018 ที่เกิด Trade War หรือ ปี 2015 ที่เกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นจีนเลย
แต่ทั้งหมดทั้งมวลจุดเริ่มต้นของความผันผวนในรอบนี้ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าสาเหตุคือ Fed Behind the Curve หรือพูดง่ายๆ คือ ธนาคารกลางสหรัฐฯอ่านเกมส์ผิด ตั้งแต่ปลายปี 2021 จนถึงต้นปี 2022 ที่สัญญาณของ Pent Up Demand ที่เพิ่มขึ้นหลังเปิดเมือง เฟดมองว่าเงินเฟ้อนั้นเอาอยู่ จนถึงช่วงต้นปี 2022 เฟดถึงออกมายอมรับว่าเงินเฟ้ออาจสูงต่อเนื่อง และ่นั่นเองทำให้เฟดต้องรีบแตะเบรคเงินเฟ้อด้วยการขึ้นดอกเบี้ย และ ยูเทิร์นกลับลำ ทำให้ท่าทีของ Fed (เฟด) มีความ Hawkish ขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีประเด็นเรื่องของการล็อคดาวน์ในจีน และ ประเด็นอียูกับรัสเซียเข้ามาซ้ำตลาด
คำถามสำคัญที่ยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามของนักลงทุนทั่วโลกคือ Soft Landing ที่เฟดบอกไว้ ทำได้จริงหรอ เพราะหากนับตั้งแต่ปี 1960 ถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐฯ เกิดขึ้นทั้งหมด 11 ครั้ง ใน 8 ครั้งเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รอดจากภาวะนี้เพียง 3 ครั้งหรือเท่ากับ 27% เท่านั้นเอง ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่แน่นอนอื่นๆที่จะเป็นตัวเร่งในเกิดความผันผวนกับตลาดมากขึ้น ทำให้เฟดถูกตั้งคำถามว่า Don’t Fight or Must Fight the Fed (จะอยู่หรือจะสู้กับเฟด) เพราะที่ผ่านมา
ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ที่ถาโถมเข้ามาใน 3 ประเด็นสำคัญ ทำให้โจทย์ของเฟดหินขึ้นไปอีกมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก รวมถึงประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนอาจต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ประเด็นแรก ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และตลาดยังประเมินว่าโจทย์ที่เฟดเผชิญนั้นไม่ง่าย นอกจากจะทำให้เงินเฟ้อลดลงมาแล้วต้องไม่ทำให้เศรษฐกิจถดถอยด้วย
ประเด็นที่สอง ความเสี่ยงด้าน Supply Shock หลังจากที่นโยบาย Covid Zero ของจีนที่ทำให้เกิดการล็อคดาวน์ในจีนอีกครั้ง โดยเริ่มมีคำถามกันว่า GDP ที่จีนตั้งเป้าไว้ 5.5% นั้นจะเป็นไปได้มั้ย เพราะล่าสุดทาง Bloomberg Economics ปรับลดคาดการณ์ GDP จีนลงมาจาก5.1% เหลือ3.6% และล่าสุดทาง Bloomberg ได้ปรับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนลงอีกครั้งเหลือเพียงโต 2.0% นอกจากนั้นการล็อคดาวน์ในจีนแต่กลับไม่ได้กระทบแค่จีน เพราะกระทบถึง Supply Chain ทั่วโลกที่ต่างพึ่งพาโรงงานในจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนตัวเชื่อว่าความกังวลด้าน Supply Shock จะเริ่มส่งสัญญาณอีกครั้ง
ประเด็นสุดท้าย มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากยุโรป เพราะยังมีกลุ่มประเทศ ที่ยังพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียอย่าง ฮังการี บัลแกเรีย สโลวาเกีย และสาธารณรัฐเช็ค ที่ยังคงไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังล่าว และขอยืดระยะเวลาออกไปขณะที่รัสเซียก็พร้อมจะตอบโต้อีกฝ่ายด้วยการตัดการส่งพลังงานไปยังประเทศที่ไม่จ่ายค่าพลังงานเป็นเงินรูเบิ้ล รวมถึงล่าสุดที่ทางรัสเซียจะไม่ส่งก๊าซไปยังฟินแลนด์เพื่อตอบโต้ที่ฟินแลนด์แสดงความจำนงเข้าร่วมกลุ่มนาโต้ ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์เกิดขึ้นอีกครั้ง และจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในยุโรปเร่งตัวขึ้นอีก และเชื่อว่าอาจเป็นอีกแรงกดดันต่อการดำนโยบายการเงินของ ECB ที่เป็นอีกแรงที่ทำให้สภาวะการเงินโลกตึงตัวมากขึ้น
ในครึ่งปีแรกเฟดอาจยังมีท่าที Hawkish เพื่อลดเงินเฟ้อลงมา แต่ครึ่งปีหลังเราอาจจะเห็นเฟด Dovish มากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าเพราะการขึ้นดอกเบี้ยที่เฟดสามารถเอาเงินเฟ้ออยู่ แต่อาจเป็นเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อลดลงจากกำลังซื้อที่ลดลง จนทำให้สหรัฐและอีกหลายประเทศเข้าใกล้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และสุดท้ายมาตรการทุกอย่างกลับไป Set Zero เริ่มต้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกันใหม่อีกที
แนะนำปรับกลยุทธ์การลงทุนให้อยู่ในโหมดเชิงรับกับกลุ่มที่มีความ Defensive เพื่อรับสถานการณ์ที่อาจตึงตัวเพิ่มขึ้น
Fund Flow ทั่วโลก ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมากำลังเข้าสู่กลุ่มที่มีความผันผวนต่ำ เช่น กลุ่มสินค้าจำเป็น โรงไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน สะท้อนมุมมองว่าเศรษฐกิจโลกอาจเริ่มจะชะลอตัว แนะนำลงทุนกลุ่ม REITs/ Infra ที่มีพื้นฐานดี มีความผันผวนต่ำต่อภาวะเศรษฐกิจ
Source : Bloomberg as of 25 May 2022
ในช่วงนี้เราได้ประเมินว่าหลายปัจจัยที่เป็นในส่วนของปัจจัยพื้นฐานเริ่มน่าสนใจมากขึ้นทั้ง EPS Growth ของหุ้นสหรัฐฯและหุ้นโลกยังโตได้ในระดับมากกว่า 10% ,ระดับราคา Valuation ลงมาเทรดกันในระดับ -0.5 SD เทียบค่าเฉลี่ย 10 ปี ขณะที่กำไรคาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นในช่วงไตรมาสที่ 3
แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงระมัดระวังต่อความผันผวนและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทำให้เราเพิ่มน้ำหนักกลุ่มที่เป็น Defensive อย่าง TMBGINFRA อย่างมีนัยสำคัญ โดยความน่าสนใจของกองทุน TMBGINFRA เป็นกองทุนที่มีความเป็น Low Beta คือ มีความผันผวนต่ำและเคลื่อนไหวตามตลาดไม่มาก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีค่าความสัมพันธ์ (Correlation) กับตลาดหุ้นโลกไม่สูง รวมถึงมีค่าความผันผวนไปกับหุ้นต่ำ (Beta) ทำให้เวลาตลาดหุ้นโลกผันผวนกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ทำให้ในภาวะตลาดขาลงหรือมีความผันผวน กลุ่มนี้ถือว่าน่าสนใจมาก และส่งผลให้กองทุนนี้มีผลตอบแทนเป็นบวกสวนตลาดในช่วงนี้ได้
ขณะที่จุดเด่นของสินทรัพย์ในกองทุนเป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอ มีความสามารถในการทำกำไรที่ดี และมีอายุการใช้งานของสินทรัพย์ยาว และที่สำคัญรายได้ของโครงสร้างพื้นฐานหลายบริษัท เป็น Inflation Linked คือปรับขึ้นตามเงินเฟ้อ
Source: TMBAM as of 25 May 2022
Source : Bloomberg as of 25 May 2022
และเราเริ่มเห็น Global Fund Flow ที่ไหลเข้า ARK Innovation มากที่สุดในบรรดา Thematic ETF Fund ท่ามกลางราคาที่ปรับตัวลง สะท้อนการที่นักลงทุนกำลังประเมินมูลค่าบริษัทที่อยู่ในพอร์ต ARK ต่ำไป ขณะที่ยอดขายในหลายๆบริษัทในพอร์ตยังเติบโตได้และมีนักลงทุนเริ่มเข้ามาทยอยเก็บสะสม ส่งผลให้จำนวนหน่วยกลับมาเข้าใกล้จุดสูงสุดที่เคยทำไว้ในปี 2021
Source : Bloomberg as of 25 May 2022
ขณะที่กองทุน TMBGQG เรายังประเมินว่ายังเป็นกองทุนที่ All Weather คือลงทุนและถือเป็น Core Port ได้ทุกช่วง และในภาวะที่อาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนักลงทุนจะลดความเป็น Growth หรือ Value ลง แต่จะเพิ่มความเป็น Quality มากขึ้น
บลจ. ทหารไทย
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Quality Mega Theme สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Quality Mega Theme คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก
1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น 2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่ได้รับเอกสาร: 24 พฤษภาคม 2022
บลจ. ทิสโก้
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones ปิดที่ 32,120.28 จุด +191.66 จุด (+0.6%) S&P500 ปิดที่ 3,978.73 จุด +37.25 จุด (+0.95%) Nasdaq ปิดที่ 11,434.74 จุด +170.29 จุด (+1.51%) Small Cap 2000 ปิดที่ 1,799.16 จุด +34.34 จุด (+1.95%) VIX index ปิดที่ 28.37 จุด (-3.67%)
ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3,677.1 จุด +29.54 จุด (+0.81%) Dax เยอรมัน ปิดที่ 14,007.93 จุด +88.18 จุด (+0.63%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 6,298.54 จุด +45.5 จุด (0.73%)
ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) ดัชนี Nikkei 225 ปิดที่ 26,677.73 จุด -70.34 จุด (-0.26%) ดัชนี CSI 300 ปิดที่ 3,983.17 จุด +24.02 จุด (+0.61%) ดัชนี Hang Seng ปิดที่ 20,171.26 จุด +59.15 จุด (+0.29%) และ SET Index ปิดที่ 1,625.18 จุด -99.35 จุด (-0.62%)
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 26 พ.ค. 2565) ทองคำ 1,848.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ Silver 21.853 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 110.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 110.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 25 พ.ค. 2565) Bitcoin 29,668.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 1,946.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.083078 ดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 327.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในรายใหม่ไทยอยู่ที่ 4,924 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 37 ราย หายป่วยกลับบ้าน 5,560 ราย ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 2,206,239 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 2,184,704 ราย
รายงายการประชุม Fed เผยพร้อมจะให้นโยบายการเงินเข้มงวดมีการขึ้นดอกเบี้ย 50 bps ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. พร้อมทั้งลด QT ขนาด $47,500 ล้านในเดือนมิ.ย. เพื่อรับมือเงินเฟ้อ คณะกรรมการ Fed เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งพอที่จะไม่เกิด Regression เมื่อ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าในไตรมาส 1 GDP จะออกมา -1.4%
ECB เตือนเสถียรภาพการเงินยุโรปแย่ลง เนื่องจากภาคธุรกิจอ่อนแอ หลังสงครามทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ราคาพุ่งสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6% ในแต่ละประเทศ
Bloomberg consensus คาดการณ์ GDP ปี 65 ดังนี้ GDP World 3.3% GDP Europe 3.1% GDP UK 3.8% Thailand 3.5% GDP Japan 1.9% GDP Vietnam 6.8% และ GDP India 8.8%
ครั้งแรกในรอบเกือบ 50 ปี GDP จีนอาจโตน้อยกว่าสหรัฐฯ จากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ มีการปิดเมืองสำคัญๆ เพื่อรับมือโควิด Bloomberg consensus คาดการณ์ GDP จีนเติบโตเพียง 2% โดยด้าน GDP สหรัฐฯ จะเติบโตได้ถึง 2.8%
Nvidia รายได้โตเกินคาดในไตรมาสนี้อยู่ที่ $82,090 ล้าน เติบโตถึง 46% จากปีก่อนหน้า Eps อยู่ที่ $1.36 สูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ $1.29 แต่ด้านผู้บริหารปรับประมาณการณ์รายได้จะเติบโตลดลงในไตรมาสหน้า มีปัจจัยกดดันจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก ส่งสัญญาณรัดเข็มขัด ชะลอการจ้างงาน ทำให้ Nvidia ปิดตลาดติดลบกว่า 6%
4 ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ในรายงานการประชุม Fed เดือน พ.ค.
1️⃣ ขึ้นดอกเบี้ย 50 bps ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค.
คณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่ต้องการปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. แต่จะปรับตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจและความเสี่ยง โดยตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ประมาณ 2.5%-2.75% ภายในสิ้นปีนี้
2️⃣ เงินเฟ้อ คือ ปัญหาที่ต้องหารืออย่างชัดเจน
มีการพูดถึง ‘เงินเฟ้อ’ ทั้งหมด 60 ครั้งในรายงานการประชุม คณะกรรมการ Fed แสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และยังเห็นความเสี่ยงที่ราคาจะสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย Fed ยังคงมั่นใจว่า นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นจะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ได้ แต่สงครามยูเครนและการล็อกดาวน์ในจีนจะทำให้เงินเฟ้อรุนแรงขึ้น
3️⃣ ลดขนาดงบดุลกลับไปสู่ระดับปกติ
Fed เตรียมลดขนาดงบดุลโดยปล่อยให้หลักทรัพย์ครบกำหนดอายุ เตรียมแผนลดขนาดงบดุลเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน โดยคาดว่าตัวเลขน่าจะถึง 95,000 ล้านดอลลาร์ในเดือน ส.ค. ขณะที่ เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งสนับสนุนให้ขาย MBS เพิ่มเติม โดยแจ้งให้ตลาดรับรู้ล่วงหน้าก่อน
4️⃣ ช่องโหว่ในตลาดพันธบัตรและสินค้าโภคภัณฑ์
คณะกรรมการ Fed 2 คน สังเกตเห็นว่า หน่วยงานกำกับดูแลไม่สามารถมองเห็นการค้าขายและการบริหารความเสี่ยงของผู้เข้าร่วมหลักในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่ นี่อาจนำไปสู่ความต้องการสภาพคล่องจำนวนมากของธนาคารขนาดใหญ่ โบรกเกอร์-ดีลเลอร์ และลูกค้า
อ้างอิง:
https://www.cnbc.com/2022/05/25/fed-minutes-may-2022.html
——————-
ทุกข้อสงสัยของการลงทุนว่าควรจะ ซื้อ ถือ หรือขาย
เราพร้อมที่จะให้คำตอบและแก้พอร์ตไปพร้อมกัน
กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve) ระยะยาว 10 ปี กับระยะสั้น 2 ปี กลับทิศชั่วคราว (แสดงถึงผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปี สูงกว่าพันธบัตร 10 ปี) ซึ่งการกลับทิศ (inverted yield curve) มักจะส่งสัญญาณเชิงลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง และเศรษฐกิจในภาพกว้าง อย่างไรก็ดี เรามองว่าการตีความดังกล่าวยังต้องอาศัยข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ ซึ่งในบทความนี้ เราสรุปความเห็นของเรา และประเมินความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอย แนวโน้มการเติบโตในอนาคต และผลตอบแทนของหุ้น ดังนี้
Yield curve พันธบัตร 10 ปี และ 2 ปี กลับทิศชั่วคราวในวันที่ 31 มีนาคม 2022 แต่ถ้าเราพิจารณาในเชิงลึก และเจาะจงพันธบัตรระยะสั้นกว่าเดิม จะเห็นว่า yield curve พันธบัตร 2 ปี และ 3 เดือน ยังอยู่ในระดับปกติ (ชันขึ้น และไม่กลับทิศ) โดยเรามองว่าพันธบัตร 3 เดือน 2 ปี และ 10 ปี ส่งสัญญาณต่าง ๆ กัน โดย
ซึ่งโดยปกติ yield curve จะมีความชันเพิ่มขึ้นในพันธบัตรที่มีระยะเวลาถือครองนานกว่า (คล้ายกับว่าการถือครองพันธบัตรระยะยาว ย่อมได้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรระยะสั้น)
อย่างไรก็ดี เมื่อ yield curve พันธบัตร 3 เดือน อยู่ในระดับสูงกว่า yield curve พันธบัตร 2 ปี แสดงให้เห็นว่า ตลาดคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายใน 2 ปี ซึ่งมักส่งสัญญาณถึงเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และถ้า yield curve พันธบัตร 2 ปี อยู่ในระดับสูงกว่า yield curve พันธบัตร 10 ปี มักจะแสดงว่านโยบายการเงินระยะสั้นจะค่อนข้างเข้มงวด และตึงตัว โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงกว่าอัตราที่ควรจะเป็น (long-term equilibrium) ชั่วคราว
Figure 1 กราฟแสดงตัวอย่าง yield curve สำหรับพันธบัตรที่มีช่วงเวลาถือครองต่าง ๆปัจจุบัน ความชันของ yield curve พันธบัตร 3 เดือน และพันธบัตร 2 ปี ส่งสัญญาณว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วง 2 ปีนี้ และ inverted yield curve แสดงให้เห็นว่า FED จะแตะเบรกการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อให้กลับมาอยู่ที่ระดับ 2% ซึ่งเป็นระดับเป้าหมาย
Figure 2 กราฟแสดงให้เห็นว่า yield curve ของพันธบัตร 3 เดือน และพันธบัตร 2 ปี ยังชันอยู่
แต่ว่า yield curve พันธบัตร 2 ปี และพันธบัตร 10 ปี เริ่มกลับทิศให้เห็นแล้ว
จากสถิติที่ผ่านมา inverted yield curve ของพันธบัตร 10 ปี และพันธบัตร 2 ปี มักเป็นเครื่องมือในการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเบื้องต้นเท่านั้น (too early) โดยเรามองว่า inverted yield curve ของพันธบัตร 2 ปี และพันธบัตร 3 เดือนน่าจะส่งสัญญาณที่เที่ยงตรงกว่า โดยถ้าเกิด inverted yield curve ของพันธบัตร 10 ปี และพันธบัตร 2 ปีเพียงอย่างเดียว ยังเร็วไปที่จะสรุปว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของ FED ที่จะพุ่งเป้าไปที่ inverted yield curve ของพันธบัตรระยะสั้นมากกว่า และเนื่องจากยังไม่เกิด inverted yield curve ที่พันธบัตรระยะสั้น เราจึงมองว่ายังไม่น่าเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ และปีหน้า แม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้น
Figure 3 Yield curve พันธบัตรระยะสั้นเหมาะกับการคาดการณ์ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจมากกว่าพันธบัตรระยะยาว
เศรษฐกิจมักจะชะลอตัวหลังจากเกิด Inverted yield curve พันธบัตร 10 ปี และพันธบัตร 2 ปี โดยเราสังเกตจากดัชนีคำสั่งผลิตใหม่ (manufacturing new orders) ที่มักจะปรับตัวลงหลังเกิด inverted yield curve และจะปรับตัวลงต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เราเชื่อว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะกลับมาอยู่ในแนวโน้มเดิมก่อนเกิด COVID-19 โดยตัวเลขล่าสุดของดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ 53.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 ซึ่งหากตัวเลขต่ำกว่า 50 จะแสดงถึงการหดตัวของเศรษฐกิจ โดยเรามองว่ามีความเสี่ยงที่ตัวเลขดังกล่าวจะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตที่จะเริ่มชะลอตัวลง
Figure 4 ตารางแสดงการหดตัวของดัชนีคำสั่งผลิตใหม่ ซึ่งหลังจากเกิด inverted yield curve เราพบว่าเศรษฐกิจในปีถัดไปมักจะชะลอตัวลง
Inverted yield curve พันธบัตร 10 ปี และพันธบัตร 2 ปี ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าผลตอบแทนของหุ้นจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะใน 35 ปีล่าสุด บางครั้งการเกิด inverted yield curve ตลาดหุ้นก็ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวก ยกเว้น ในช่วงปี 1965-1982 ที่ดอกเบี้ยพุ่งขึ้นไปถึง 15% ในปี 1980 และกดดันผลตอบแทนของหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เราเชื่อว่ายังค่อนข้างมีความเปราะบาง และมูลค่าหุ้นอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนแท้จริง (real yield) ของพันธบัตรรัฐบาลยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้หุ้นยังเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า TINA (There is No Alternative) หมายความว่า นักลงทุนยังไม่เห็นทางเลือกอื่นนอกจากการลงทุนในหุ้นเท่าไรนัก ทำให้ความสนใจในตลาดหุ้นยังคงมีอยู่
Figure 5 Inverted yield curve ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าผลตอบแทนของหุ้นจะเป็นอย่างไร
Figure 6 Inverted yield curve หากเกิดคู่กับภาวะเงินเฟ้อสูงอาจกดดันผลตอบแทนจากหุ้นได้
เรามองว่า inverted yield curve ยังไม่ได้ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยชัดเจน แต่ก็สร้างความกังวลให้เราเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี อีก 12 เดือนข้างหน้า เรายังเชื่อว่าสหรัฐฯ จะไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เรายังไม่ได้วางแผนการลงทุนแบบตั้งรับ (defensive) ทั้งนี้ เราลดระดับความชอบในการลงทุนหุ้นลงมาอยู่ในระดับเดียวกับการลงทุนในตราสารหนี้ โดยขอให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นในระยะถัดไป ดังนี้
ข้อสงวนสิทธิ์
แหล่งข้อมูล
https://www.
ครั้งแรกในรอบเกือบครึ่งศตวรรษที่สหรัฐฯ จะกลับมาแซงหน้าจีนอีกครั้ง เหตุเศรษฐกิจจีนอ่วมหนักจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์
Bloomberg Economics คาดการณ์ในแง่ร้ายกว่าความเห็นส่วนใหญ่ว่า ปีนี้ GDP จีน จะโตเพียง 2% ขณะที่ GDP สหรัฐฯ จะโตอยู่ที่ 2.8% ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ‘เติ้ง เสี่ยวผิง’ ปฏิรูปในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ที่จีนโตน้อยกว่าสหรัฐฯ
แนวโน้มที่หยุดชะงักลงของเศรษฐกิจจีนเป็นสิ่งที่โลกไม่ได้เตรียมรับมือไว้ ก่อนหน้านี้คงไม่มีใครคิดว่าเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมั่นคงจะเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้ แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากการเข้าร่วม WTO ในปี 2001 แต่ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง เศรษฐกิจจีนเคยพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนเหมือนจะมาแทนที่สหรัฐฯ
การหดตัวของเศรษฐกิจในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ในปี 2020 เป็นเรื่องเข้าใจได้เพราะทั้งโลกเผชิญกันหมด แต่แนวโน้มที่แย่ลงในตอนนี้คงดีขึ้นได้ยาก ตราบใดที่รัฐบาลจีนยังคงยึดติดกับนโยบายโควิดเป็นศูนย์
เศรษฐกิจที่หยุดชะงักเป็นครั้งที่ 2 ในเวลาไม่ถึง 2 ปี ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นว่า มีปัญหาอะไรนอกเหนือกจากโควิดหรือไม่?
ตอนนี้จีนเผชิญกับทั้งยอดค้าปลีก ความต้องการสินเชื่อ การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง ขณะที่การว่างงานเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการว่างงานในกลุ่มผู้มีอายุน้อยที่พุ่งทำสถิติสูงสุด
ก่อนหน้านี้ในปี 2018 ที่ OECD ออกรายงานว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะแซงหน้าจีนในปี 2060 ทุกคนต่างคิดว่าเป็นไปไม่ได้ โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า ระหว่างปี 2030 ถึง 2060 จีนจะขยายตัวเฉลี่ย 1.8% ต่อปี ขณะที่ สหรัฐฯ จะอยู่ที่ประมาณ 2% ต่อปี
อย่างไรก็ตาม รายงานตอนนั้นไม่ได้รู้ว่าจะมีโควิดเกิดขึ้น แค่เป็นการสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่โหดร้าย จากนโยบายลูกคนเดียวของเติ้งเสี่ยวผิงเท่านั้น
สิ่งที่เห็นได้ชัดตอนนี้คือ รัฐบาลจีนเริ่มกระวนกระวายใจ และได้เตรียมอัดฉีดเงิน 5.3 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตลอดปีนี้ ซึ่งคิดเป็นกว่า 1 ใน 3 เท่าของเศรษฐกิจจีนที่มีขนาด 17 ล้านล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ยังประกาศลดภาษี รวมถึงลดดอกเบี้ย LPR 5 ปี ลง 15 bps เหลือ 4.45% แต่การผ่อนคลายนโยบายการเงินทำได้แค่บรรเทาภาคอสังหาฯ ที่ซบเซา เพราะยังคงมีข้อจำกัดทางธุรกิจและสังคมอยู่มากมาย
ครั้งสุดท้ายที่จีนโตกว่าช้ากว่าสหรัฐฯ คือในปี 1976 แต่ตอนนั้นเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศต่างกันมาก ทั้งในแง่ของขนาด ความสามารถ การเปิดกว้างต่อการลงทุน การศึกษา หรือแทบเรียกได้ว่าทุกอย่าง ในตอนนั้นบริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ ยังไม่เฉียดเข้าไปใกล้จีนเลยด้วยซ้ำ
ต้องมาดูกันว่ารัฐบาลจีนจะทำอย่างไรเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ชัดเจนมากขึ้นก็คือ เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอย่างจีนไม่ได้เป็นทางเลือกที่วางใจได้อีกต่อไป
——————-
ดัชนี VNI ปรับตัวบวก 2.6% มีแรงซื้อกลับเข้ามาในกลุ่มการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยทางรัฐบาลเวียดนามประกาศสนับสนุนดอกเบี้ยในการกู้ยืมที่อัตราดอกเบี้ย 2% มูลค่ารวมกว่า 40 ล้านล้านดอง (1,750 ล้านดอลลาร์) ให้กับภาคธุรกิจและรัฐวิสาหกิจเวียดนาม ไปจนถึงสิ้นปี 2023 ซึ่งการสนับสนุนนี้เป็นหนี่งในนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจเวียดนาม
FINNOMENA Investment Team มองว่า ตลาดหุ้นเวียดนามในระยะสั้นยังอาจมีความผันผวนได้ แต่เศรษฐกิจเชิงโครงสร้างยังคงแข็งแกร่ง และเริ่มเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นจากทางฝั่งจีนที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้เริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ และลดการควบคุมมากขึ้นในเดือนหน้า ขณะที่ตลาดหุ้นเวียดนามรับข่าวการทุจริตไปแล้ว ซึ่งผู้อำนวยการตลาดโฮจิมินห์ และประธาน ก.ล.ต. เวียดนาม โดนปลด จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อกฏเกณฑ์ของตลาดหุ้นเวียดนามมากขึ้น รวมถึง Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับหุ้นโลก ซึ่งสะท้อนมุมมองเชิงบวกระยะต่อไป จึงแนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาว
——————-
Tesla ตั้งบริษัทลูกในไทย เปิดทางธุรกิจขายรถยนต์ไฟฟ้า พบชื่อผู้บริหารระดับสูงนั่งเป็นกรรมการบริษัท
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยข้อมูลผ่านเวบไซต์ (www.dbd.go.th) ระบุว่า Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2565 ด้วยทุนจดทะเบียน 3,000,000 บาท ตั้งชื่อว่า “บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด”
วัตถุประสงค์การจดทะเบียน เพื่อประกอบกิจการขายรถยนต์ไฟฟ้า ระบบเก็บพลังงานแบบติดตั้งและอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบเก็บพลังงานแบบติดตั้ง
คณะผู้บริหารของเทสลา ประกอบด้วย นายเดวิด จอน ไฟน์สไตน์ (David Jon Feinstein) นายไวภา ตเนชา (Vaibhav Taneja) และนายยารอน ไคลน์ (Yaron Klein) ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้บริหารระดับสูงของ Tesla ทั้งสิ้น
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทดังกล่าว เป็นการเปิดทางให้ Tesla เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยได้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนในครั้งในวัตถุประสงค์ระบุเพียงแค่ ‘ขาย’ รถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ได้มีการจัดตั้งโรงงานการผลิตในประเทศไทยแต่อย่างใด
อ้างอิง: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
——————-