แจ้งเตือน

5 FAQ ที่ถูกถามบ่อยที่สุด สำหรับการลงทุนระยะยาว

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
5 FAQ ที่ถูกถามบ่อยที่สุด สำหรับการลงทุนระยะยาว

ด้วยอาชีพนักลกยุทธ์การลงทุน ผมจะได้รับคำถามที่ท้าทายจากนักลงทุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระยะยาวที่เกิดขึ้นในโลกการเงินเสมอ

เช่น จะลงทุน Active ไปทำไมเมื่อจ่ายแพงกว่าและไม่ชนะ Passive หรือถ้าคิดว่าหุ้นบริษัทนี้ดีที่สุด ทำไมไม่ใส่เต็ม 100% ไปเลย หรือเงินเย็นรอได้ 20-30ปี แต่ต้องการผลตอบแทนเกิน 20% ต่อปีต้องสินทรัพย์ไหน

ผมมองว่าคำตอบของคำถามเหล่านี้ไม่ตายตัว และนักลงทุนส่วนมากอยากได้ความเห็น ผมจึงเลือก 5 คำถามท้าทายทฤษฎีการลงทุน มาตอบในบริบทของทศวรรษ 2020s ให้ทุกท่านได้คิดไปพร้อมกัน

1. ธีมแห่งอนาคตที่เค้าว่ามาแน่ ลงทุนตอนนี้ดีอยู่ไหม

คำถามสำคัญของยุคนี้ไม่พ้นเรื่องการลงทุนธีมเปลี่ยนโลก มีทั้งด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และสังคม บางการลงทุนก็ขึ้นแล้ว ลงแล้ว แพงเกินไปแล้ว หรือยังไม่กลับมา

คำตอบ ลงทุนได้ แต่ไม่ใช่เมื่อไหร่ก็ได้ เพราะแม้จะเป็นธีมที่ดี มีอนาคต ก็อาจไม่ใช่การลงทุนที่ดี ถ้าราคาหรือจังหวะไม่เหมาะสม

แทบทุกยุคสมัยการลงทุนแนว Mega Trends ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหุ้นขนาดเล็กที่มีโอกาสในการเป็น Innovator หรือ Disruptor จึงมักมี Beta สูงและเริ่มด้วย Profitability ต่ำ เหมาะกับการลงทุนช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว เช่นช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ

ส่วน Alpha หรือกำไรเหนือตลาด มักเป็นสิ่งที่ “ต้องเกิดขึ้นก่อนจึงจะรู้” ดังนั้นแทนที่จะเลือกว่าเป็นธีมแห่งอนาคต ธีมไหน เมื่อไหร่ การเลือกธีมจากแนวโน้น Alpha และกำไรของบริษัทจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่าเมื่อมองในระยะยาว

2. สินทรัพย์นอกตลาดมีผลตอบแทนมากกว่าสินทรัพย์ในตลาดจริงไหม

เป็นคำถามหลักของตลาดช่วงนี้ที่มีการนำเสนอการลงทุนแนว Private Asset ไม่ติดลบจากการตีมูลค่า หรือ Private Equity มีโอกาสลงทุนตั้งแต่ก่อนเข้าตลาด

คำตอบ ไม่เสมอไป อยู่ที่โครงสร้างการทำกำไรของสินทรัพย์และการบริหาร

แม้ในทางทฤษฎี ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องหรือ Liquidity risk จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้การลงทุนได้ แต่มักเกิดขึ้นเฉพาะกับสินทรัพย์ที่ไม่ควรมี Market risk เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้น เช่นอสังหาริมทรัพย์ที่รายได้ไม่แปรผันตามตลาด

นอกจากนั้น Private Investment ในปัจจุบันมักมีความเสี่ยง Manager selection risk และ Tracking error risk เพิ่มเข้ามาโดนไม่ทันระวัง ดังนั้น ถ้าเราไม่มั่นใจว่าผู้จัดการการลงทุนเก่งจริง หรือมีขั้นตอนการลงทุนที่สามารถทำกำไรตามเป้าหมายได้จริงก็อาจไม่ใช่การลงทุนที่ดีกว่าสินทรัพย์ปรกติ

3. Passive ดีกว่า Active ใช่ไหม

ตลาด ETF พัฒนามาก ปัจจุบันแทบจะมี Passive ตาม Invest ทุกสไตล์ ทุกสินทรัพย์ แถม Active ส่วนใหญ่ก็ทำผลงานแพ้ดัชนีมาหลายทศวรรษ

คำตอบ ไม่เกี่ยวกัน การบอกว่า Active ทำผลงานแย่กว่าตลาดนั้น ที่จริงถือเป็นปรกติที่ตลาดต้องมีผู้แพ้มากกว่าผู้ชนะ

ส่วน Passive ที่หลายท่านหมายถึง จริงแล้วก็คือ Active ที่ตั้งเป้าทำผลตอบแทนเท่ากับดัชนี เรียกให้ถูก กลุ่มนี้คือ Index Investing

สำหรับการลงทุนสาย Index ได้รับความนิยมมากขึ้นต่อเนื่องในปัจจุบันนั้น ความแตกต่างจากสมัยก่อนชัดเจนเรื่องต้นทุนการบริหารและต้นทุนการเข้าถึงของนักลงทุนที่ต่ำลงจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เห็นได้ชัดในฝั่งสหรัฐที่เทรนด์ใหญ่ของทศวรรษ คือการเปลี่ยนกองทุนรวมไปเป็น ETF

ส่วนผลตอบแทนดีกว่าหรือคุ้มค่าบริหารกว่าหรือไม่นั้น กลยุทธ์และผลตอบแทนจะเป็นเครื่องตัดสินไม่ใช่แค่เพราะว่าเป็น Index หรือ Active

4. การกระจายการลงทุนยังสำคัญอยู่ไหม

เมื่อหุ้นใหญ่ของโลกมีสัดส่วน Market Cap สูงมากแต่ก็เป็นกลุ่มที่ทำกำไรได้ดีมากด้วย

สุดยอดนักลงทุนแห่งศตวรรษอย่าง Warren Buffett เคยกล่าวว่า “การกระจายความเสี่ยง คือเครื่องป้องกันความไม่รู้ ไม่มีเหตุผล ถ้าคุณรู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่

คำตอบ สำคัญ ยิ่งสำหรับนักลงทุนทั่วไปที่ไม่ได้เก่งเท่า Buffett เพราะ Diversification ที่ถูกต้องสามารถลดความผันผวน โดยคงผลตอบแทนคาดหวังเท่าเดิม และลดความกังวลจากความไม่รู้ของหุ้นรายตัวลงได้

นอกจากนั้น Berkshire Hathaway ของ Buffett เองก็ถือเงินสดเกิน 15.5% และเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2011 มองในมุมทฤษฎี ถือเป็น Asset Allocation หรือการกระจายการลงทุนพื้นฐานรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

5. หุ้นโลกยังเป็นคำตอบของการลงทุนระยะยาวไหม

เมื่อหุ้นทำผลตอบแทนได้ดีในอดีต แต่อดีตไม่ได้ยืนยันอนาคต แถมในปัจจุบัน สินทรัพย์ปลอดภัยก็ยีลด์สูง สินทรัพย์เสี่ยงสูงก็มีให้เลือกมากขึ้น

คำตอบ หุ้นโลกเป็นคำตอบหลักของการลงทุนระยะยาว

เพราะหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่มีองค์ประกอบในการสร้างผลตอบแทนครบทั้ง ยีลด์ Valuation และการเติบโตของรายได้ เป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากสินทรัพย์ทั่วไป

แม้ในระยะสั้น 1-5 ปี หุ้นโลกอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะผลตอบแทนเกิดขึ้นได้จาก sentiment ของตลาด momentum และการเปรียบเทียบ

หรือระยะกลาง 5-10 ปี วัฏจักรเศรษฐกิจ เป็นเครื่องกำหนดผลตอบแทนการลงทุน ยีลด์และ Valuation จึงเป็นสิ่งที่ต้องดูประกอบ ซื้อหุ้นแพงเกินไปก็อาจไม่ได้ยีลด์ตามหวัง

แต่ระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป การเติบโตของผลตอบแทน มักเป็นเครื่องตัดสินผลตอบแทน การลงทุนในสินทรัพย์ที่รายได้มีโอกาสเติบโตอย่างหุ้น จึงเป็นคำตอบที่ยังหาสินทรัพย์อื่นทดแทนได้ยาก

โดยสรุป ผมมองว่า “การลงทุนเป็นสังคมศาสตร์” แม้คำถามจะถูกถามซ้ำทุกยุค แต่ข้อจำกัดและบริบทของตลาดการเงินก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ไม่มีคำตอบที่ตายตัว จึงควรวิเคราะห์หาคำตอบ ตามช่วงเวลาการลงทุนที่เราสนใจครับ

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา โอกาสขาดทุนในเดือนพ.ค. เหลือแค่ 1 ใน 4 Finnomena Funds เข้าสู่โหมด Risk-On แนะสะสมหุ้น 80% เข้าพอร์ต

Finnomena Funds
Finnomena Funds เข้าสู่โหมด Risk-On

Finnomena Funds (ฟินโนมีนา ฟันด์) วิเคราะห์แนวโน้มตลาดการลงทุนโลก ในเดือนพฤษภาคม 2567 คาดเข้าสู่โหมด Risk-On หนุนหุ้นโลกกลับสู่ขาขึ้น มีโอกาสลุ้นทำ All-Time High อีกครั้ง โดยมองเป็นโอกาสของการสะสมกองทุนหุ้นเข้าพอร์ต เน้นหุ้นโลกสไตล์เติบโตและธีมเด่น AI

นายเจษฎา สุขทิศ CEO & Co-founder Finnomena Group เปิดเผยว่า “สถิติในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสเกิด Sell in May แค่ 25% เท่านั้น หรือเฉลี่ยแล้ว 4 ปีจะเกิดสักครั้ง และสิ่งที่น่าสนใจคือหากเข้าลงทุน S&P 500 ในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นโดยเฉลี่ยแล้ว 1 ปี จะสร้างผลตอบแทนประมาณ 10% แปลว่านี้เป็นโอกาสของการ Buy in May กลยุทธ์ที่สำคัญตอนนี้คือมองหาจังหวะสะสมหุ้นเข้าพอร์ต โดยเราแนะนำเพิ่มน้ำหนักหุ้นไปอยู่ที่แถว 80% ของพอร์ตเลย”

“ขณะเดียวกันบรรยากาศการลงทุนต่าง ๆ ในภาพรวม เริ่มผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และกำลังเข้าสู่ Risk-On Mode หรือภาวะที่ตลาดกลับเข้าสู่ขาขึ้นรอบใหม่ ซึ่งหนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังการประชุม Fed ครั้งล่าสุดชี้ชัดว่าไม่มีแผนจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ทำให้ตลาดคาดหวังถึงการลดดอกเบี้ยกลับมาอีกครั้ง”

นายเจษฎา สุขทิศ CEO & Co-founder Finnomena Group

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกสำคัญจากแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง หลังราคาน้ำมันหยุดเทรนด์ขาขึ้น จากการที่สหรัฐอเมริกากลับมาผลิตน้ำมันได้เป็นจำนวนมาก และโอกาสที่จะลงมือคว่ำบาตรอิหร่านเกิดขึ้นยากแล้ว ในขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ยังคงดีต่อเนื่อง หลังการประกาศผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 ส่วนใหญ่ออกมาเป็น Positive Surprise โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่

ดังนั้น มุมมองของ FundTalk The Contrarian Style ที่เน้นกลยุทธ์สวนตลาด ด้วยการเฟ้นหาสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล จึงคาดว่าดัชนีหุ้นโลกที่นำโดยหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 จะวิ่งกลับมาทำ All-Time High ได้อีกครั้งในไตรมาส 2 นี้ คาดหุ้นโลกสไตล์เติบโต โดยเฉพาะธีม AI จะโดดเด่นที่สุด

นายเจษฎา กล่าวปิดท้ายว่า “แนะนำ 2 กองทุนเด่นสุดเพื่อรับโอกาสตลาด Risk-On คือ กองทุน TISCOAI ซึ่งจะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยี AI และ Big Data ในตลาด Nasdaq และกองทุน MEGA10-A ซึ่งเน้นลงทุนใน 10 บริษัทแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ และมีสภาพคล่องสูง เพื่อรับโอกาสในจังหวะตลาดขาขึ้น ด้วยการลงทุนกับหุ้นผู้ชนะที่แท้จริง”

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


หมายเหตุ: อ้างอิงผลตอบแทนย้อนหลังของดัชนี S&P 500 ระหว่างปี 1983-2023

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลา

ไหวทุกคลื่นลม พร้อมชนทุกอากาศ! กับพอร์ตการลงทุน All Weather Strategy

Finnomena Funds

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย … ตลาดก็เช่นกัน 

ปี 2024 น่าจะเป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของโลกการลงทุนไม่น้อย เพราะถ้าย้อนไปต้นปี นักลงทุนต่างคาดว่าปัจจัยใหญ่อย่างอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงน่าจะลดลง แต่ผ่านไปไม่ถึง 5 เดือน เงินเฟ้อก็ยังลดไม่เยอะ ทำให้ท่าทีของ Fed กลับมาเข้มงวดขึ้น แถมความขัดแย้งในตะวันออกกลางอยู่ ๆ ก็มาปะทุขึ้น 

ถ้ามองในมุมของการลงทุน ก็ถือว่าตลาดเปลี่ยนแปลงบ่อยจริง ๆ และสิ่งที่นักลงทุนทำได้คือการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจคือการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่มีการจัดพอร์ตเพื่อเอาชนะตลาดทุกสภาวะ อย่างพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy 


กลุยุทธ์การลงทุนของ A.Stotz All Weather Strategy

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework หรือการวิเคราะห์รอบด้านทั้ง Fundamental, Valuation, Momentum และ Risk ในการวิเคราะห์การลงทุน โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลงทุนแบบ Passive เพื่อเน้นสะท้อนผลตอบแทนเมื่อเทียบกับตลาด มีการปรับพอร์ตปีละ 2-4 ครั้ง

หัวใจการลงทุนของพอร์ต คือ G-L-D

  • Global – ลงทุนทั่วโลกเพื่อแสวงหาโอกาสและลดความเสี่ยง ไม่กระจุกแค่ในไทย
  • Long-term – สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว และจำกัดความเสี่ยงในช่วงขาลง
  • Diversified – กระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนใน 4 สินทรัพย์

 


รู้จัก Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทย

Andrew Stotz เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง A.Stotz Investment Research ทำงานด้านการลงทุนในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 1992 ในฐานะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และอาจารย์มหาวิทยาลัย 

โดยในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง Head of Research ที่ CLSA ได้รับการโหวตจากผลสำรวจของ Asiamoney Brokers ให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของประเทศไทยประจำปี 2008 และ 2009 รวมถึงได้รับการโหวตให้เป็นนักวิเคราะห์อันดับหนึ่งของเมืองไทยจากรายงานของ All-Asia Research Team ซึ่งจัดทำโดยนิตยสาร Institutional Investor เช่นกัน


สินทรัพย์ที่ A.Stotz All Weather Strategy ลงทุน

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz อาจเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามแต่ละภาวะตลาด ดังนี้

  • หุ้น – มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลและการปรับขึ้นของราคาหุ้น
  • ตราสารหนี้ – มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและการปรับขึ้นของราคาตราสารหนี้
  • สินค้าโภคภัณฑ์ – หมายถึงวัตถุดิบต่างๆ เช่น พลังงาน อาหาร โลหะ มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา
  • ทองคำ – เป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนจากการปรับขึ้นของราคา

 

นอกจากนี้ A.Stotz All Weather Strategy ยังพิจารณาลงทุนใน 5 ภูมิภาค ตามสภาวะตลาด คือ สหรัฐฯ ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป ตลาดเกิดใหม่ เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และญี่ปุ่น


ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ A.Stotz All Weather Strategy

ปกติแล้วในการจัดพอร์ตการลงทุน จะมีสัดส่วนที่คนนิยมคือแบบ 60/40 หรือการลงทุนในหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว ที่ผ่านมา A.Stotz All Weather Strategy สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า การกระจายการลงทุนแบบดังกล่าวภายใต้ความผันผวนที่ต่ำกว่า*

ถ้านับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ต A.Stotz All Weather Strategy ปรับขึ้นกว่า 42.7% ขณะที่ พอร์ต 60/40 ปรับตัวขึ้นเพียง 21.1% 

*ผลงานของพอร์ต 60/40 คำนวนจาก NAV 60% ของ MSCI AC World & KKP PGE-H และ NAV 40%  ของ SCBGLOB โดยจัดเป็นดัชนีชี้วัดของพอร์ตการลงทุนนี้

ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 3/5/2024
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

นอกจากนี้ หากมองย้อนกลับไป A.Stotz All Weather Strategy ยังมีความผันผวนต่ำกว่า ปรับตัวลงน้อยกว่าในวันที่ตลาดแย่กว่า และทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่าถึง 60% เทียบกับพอร์ตแบบ 60/40

A.Stotz All Weather Strategy มีความผันผวนต่ำกว่า เมื่อเทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 3/5/2024
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

A.Stotz All Weather Strategy ปรับตัวลงน้อยกว่า พอร์ตการลงทุน 60/40 ในวันที่ตลาดแย่กว่า | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 3/5/2024
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

A.Stotz All Weather Strategy ทำผลงานในแต่ละเดือนได้ดีกว่าถึง 60% เทียบกับพอร์ตแบบ 60/40 | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 3/5/2024
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

ผลตอบแทนของ A.Stotz All Weather Strategy เทียบกับพอร์ตการลงทุน 60/40 ในทุกช่วงเวลา | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 3/5/2024
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต


สัดส่วนการลงทุนของ A.Stotz All Weather Strategy

มุมมองการลงทุนล่าสุด (3/5/2024)

  • เงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ สูงเกินคาด
  • ทองทำจุดสูงสุดใหม่
  • คาด Fed ลดดอกเบี้ยครั้งเดียวในปีนี้
  • เงินเยนอ่อนค่าสุดในรอบ 34 ปี เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ทำให้ A.Stotz All Weather Strategy มีการลดสัดส่วนหุ้นในพอร์ตลงเหลือ 65% และเพิ่มทองเป็น 25% เพื่อทำให้พอร์ตการลงทุนยืดหยุ่นมากขึ้น

สัดส่วนการลงทุนล่าสุด (3/5/2024)

สัดส่วนการลงทุนล่าสุด | Source: A. Stotz All Weather Strategy Presentation as of 3/5/2024

จากมุมมองการลงทุนดังกล่าว พอร์ตการลงทุนมีการปรับสัดส่วนหลัก ๆ คือ

  • ลดสัดส่วน หุ้นสหรัฐฯ เหลือ 5% (จาก 25%)
  • ลดสัดส่วน หุ้นญี่ปุ่น เหลือ 5% (จาก 25%)
  • เพิ่มสัดส่วน หุ้นเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นและจีน เป็น 25% (จาก 0%)
  • เพิ่มสัดส่วน ทอง เป็น 25% (จาก 5%)

สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/


สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://port.finnomena.com/plan-select/plans/guruport-aws  หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

 

รีวิวกองทุน AFMOAT-HA: ปราการหุ้นสหรัฐฯ สุดแกร่ง แข็งแรงทุกภาวะตลาด

fruhling

สารบัญ


คูเมือง/ปราการ (Moat) ทางธุรกิจ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?

เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน Bill Gates มหาเศรษฐีผู้ปลุกปั้น Microsoft เคยยอมรับผ่านปลายปากกาในนิตยสาร Harvard Business Review ว่า สิ่งหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้จาก Warren Buffett คือ การมองธุรกิจเป็นเหมือนปราสาท

และสิ่งที่ธุรกิจดี ๆ ทำกันคือ หมั่นตรวจว่าผู้บริหารได้ลงแรงขยับขยายคูเมือง (Moat) หรือปราการที่คอยโอบล้อมธุรกิจจากคู่แข่งและการแข่งขันอันดุเดือดหรือไม่ และแค่มีปราการยังไม่พอ คุณต้องขยับขยายมันด้วย

“ผมมองหาปราการธุรกิจซึ่งโอบล้อมด้วยคูเมือง
ที่ไม่อาจทะลวงฟันเข้ามาได้

– Warren Buffett

อันที่จริง ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะมีปราการล้อมกันไปหมด Bill Gates อธิบายต่อว่า การหาข้อได้เปรียบของธุรกิจที่สามารถกำบังตัวเองจากคู่แข่งเป็นเรื่องยาก บ่อยครั้งคูเมืองที่แน่นหนาเกิดจากปัจจัยไม่ธรรมดาหลายข้อหลอมรวมกัน (เช่น แบรนด์ สิทธิบัตร จำนวนผู้ใช้มหาศาล หรือ ความใหญ่โตของธุรกิจ) อันจะนำมาซึ่งการเติบโตที่ยั่งยืน

5 รูปแบบของคูเมือง

คำถามสำคัญก็คือ มีข้อได้เปรียบแบบไหนบ้างที่เป็นเหมือนคูเมืองคอยป้องกันธุรกิจที่เราลงทุนจากคู่แข่ง นิยามของเรื่องนี้อาจจะหลากหลายกันไป แต่เราขอหยิบยกคูเมืองในนิยามของ Morningstar มาให้ดูกัน ดังนี้

  1. Switching Cost (ต้นทุนในการเปลี่ยนใจ) ที่ผู้บริโภคต้องเจอเมื่อตัดสินใจไปใช้เจ้าอื่น
  2. Intangible Assets (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน) สินทรัพย์ต่าง ๆ ที่อาจจะจับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิบัตร (Patent) แบรนด์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ใบอนุญาตพิเศษ และอื่น ๆ
  3. Network Effect (ผลจากความเชื่อมโยง) เกิดจากการที่มูลค่าของสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหากจำนวนผู้ใช้งาน (Users) เติบโตขึ้นไปด้วย
  4. Cost Advantage (ความได้เปรียบทางราคา) ข้อได้เปรียบทางด้านราคาผ่านต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
  5. Efficient Scale Leads to Natural Monopoly (การประหยัดต่อขนาดซึ่งนำไปสู่การผูกขาดโดยธรรมชาติ) หรือการอยู่ในวงการที่เข้ามาแข่งขันได้ยาก (เช่น สายการบิน) เพราะถ้าเข้ามาแข่งแล้วอาจจะสู้เรื่องต้นทุนไม่ได้

 

และกองทุน AFMOAT-HA ที่กำลังจะรีวิวต่อจากนี้ก็เป็นช่องทางในการลงทุนในธุรกิจที่พรั่งพร้อมไปด้วยคูเมืองโอบล้อม เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในทุกภาวะตลาด

กองทุน AFMOAT-HA ลงทุนในธุรกิจปราการแกร่ง

AFMOAT-HA หรือ กองทุนเปิด เอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ ชนิดสะสมมูลค่า คือ

  • กองทุนหุ้นสหรัฐฯ แบบ Passive
  • เน้นเคลื่อนไหวตามดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index 
  • ดัชนีนี้เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง (ปราการ) เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว
  • มีกองทุนหลักคือ VanEck Morningstar Wide Moat ETF

 

กองทุน AFMOAT-HA ได้รับเรตติ้งระดับ 5 ดาวจาก Morningstar ทั้งในส่วนของภาพรวม การดำเนินงาน 3 ปี และการดำเนินงาน 5 ปี

เรตติ้งของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF โดย Morningstar | Source: vaneck.com as of 10/2023

สัดส่วนการลงทุนของ AFMOAT-HA

ถ้ากางข้อมูลกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกมาดู โดยทั่วไปเรามักจะเห็นหุ้นอย่าง Tesla หรือ Microsoft แวะเวียนกันมาอยู่บนหน้า Top Holdings อยู่เสมอ 

แต่ข้อแตกต่างของกองทุน AFMOAT-HA ที่เลือกลงทุนในหุ้นปราการแกร่งโดยเฉพาะ ทำให้เราได้เห็นการลงทุนในบริษัท เช่น Salesforce ผู้ให้บริการระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ผ่านระบบคลาวด์ซึ่งต้องใช้เวลาในการวางระบบทำให้มี Switching Cost สูงมาก

ทรัพย์สินที่กองทุนหลักของ AFMOAT-HA ลงทุน 10 อันดับแรก | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 10/2023

สัดส่วนการลงทุนตามอุตสาหกรรมของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 10/2023

เจาะลึกนโยบายการลงทุน: AFMOAT-HA มีจุดเด่นอย่างไร?

  1. ลงทุนในธุรกิจที่มีปราการแน่นหนา

คัดเลือกเฉพาะบริษัทที่มีปราการอย่างน้อย 1 ใน 5 แบบ ตามที่เคยกล่าวไปข้างต้น คือ ต้นทุนการเปลี่ยนใจ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ผลจากความเชื่อมโยง ความได้เปรียบทางราคา หรือความได้เปรียบจากขนาด เพื่อรับประกันว่าบริษัทนั้น ๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนได้อย่างแท้จริง

  1. ลงทุนแบบมองกันยาว ๆ

กองทุนแบ่งบริษัทออกเป็น 3 แบบ คือ ไร้ปราการ (none) ปราการเปราะบาง (narrow moat) และ ปราการแน่นหนา (wide moat) และธุรกิจแบบสุดท้ายคือธุรกิจที่กองทุนนี้ให้ความสนใจโดยประเมินแล้วว่าด้วยความแข็งแกร่งของปราการที่บริษัท wide moat มี จะทำให้บริษัทสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน (ปราการ) ไปได้ยาวนานถึง 20 ปี ซึ่งจะสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ในระยะยาว โดยบริษัทแบบนี้คิดเป็นเพียง 10-15% เท่านั้นในจักรวาลหุ้นของ Morningstar

  1. ลงทุนหุ้นแกร่งในเวลาที่ใช่

กองทุนลงทุนก็ต่อเมื่อธุรกิจนั้นอยู่ในราคาที่น่าดึงดูด โดยจะมองไปที่ธุรกิจที่มีมูลค่าต่ำกว่าตามการประมาณการของดัชนีจาก Morningstar พูดง่าย ๆ คือลงทุนใน fair value

  1. ลงทุนแบบไม่ยึดติด

ที่ผ่านมากองทุนปรับเปลี่ยนคาแรกเตอร์หุ้นที่ลงทุนระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่าอยู่เสมอ โดยเป็นผลมาจากวิธีการคัดหุ้นโดยมองที่ปราการเป็นหลักมากกว่าการมองสไตล์ของหุ้น การไม่ยึดติดตรงนี้ทำให้กองทุนสามารถเลือกธุรกิจที่น่าสนใจโดยไม่โดนจำกัดความเป็นไปได้

ผลตอบแทนย้อนหลังของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF | Source: Fund Factsheet ของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF as of 10/2023

กองทุนนี้เหมาะกับใคร?

  • นักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว สอดคล้องนโยบายการลงทุนในหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันอันยั่งยืน
  • นักลงทุนที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดสหรัฐฯ
  • นักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่มีความผันผวนในการขึ้นลงของราคา

รายละเอียดอื่น ๆ ของกองทุน AFMOAT-HA (ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 28/12/2023

  • เป็นกองทุนรวมตราสารทุน ในกลุ่ม US Equity
  • กองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว 
  • มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90%
  • มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (Passive management strategy)
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล
  • ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.0% ของมูลค่าที่ซื้อ
  • ค่าธรรมเนียมขาย ยกเว้น
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 1,000 บาท
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป 1 บาท

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/

FINNOMENA FUNDS ให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำของประเทศไทยจากหลากหลาย บลจ.
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไม่ว่าจะลงกองเดี่ยว จัดพอร์ต วางแผนลงทุน หรือลดหย่อนภาษี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/get-started-ws?ct_id=afmoat-ha-2023 


อ้างอิง

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

รู้จัก Bond Index: เข็มทิศนำทางตลาดตราสารหนี้

Finnomena
รู้จัก Bond Index: เข็มทิศนำทางตลาดตราสารหนี้

หากลงทุนในหุ้นก็มีดัชนีอย่าง SET Index เป็นเครื่องมือช่วยสะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้นไทย แต่ถ้าลงทุนใน “ตราสารหนี้” จะมีเครื่องมืออะไรที่สามารถสะท้อนภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ได้?

บทความนี้ Finnomena จะพาคุณไปรู้จักกับ “Bond Index” หรือ “ดัชนีตราสารหนี้” ซึ่งเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะช่วยให้คุณวิเคราะห์แนวโน้มและเลือกลงทุนตราสารหนี้ได้อย่างเหมาะสม มารู้จัก Bond Index ไปพร้อมกันได้เลย!

รู้จัก Bond Index: เข็มทิศนำทางตลาดตราสารหนี้

ดัชนีตราสารหนี้ (Bond Index) คืออะไร?

ดัชนีตราสารหนี้ (Bond Index) เป็นเครื่องมือที่นักลงทุนไว้ใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้โดยรวม ซึ่งสะท้อนถึงภาวะของอัตราดอกเบี้ยในตลาดว่านักลงทุนมีมุมมองต่อตราสารหนี้อย่างไรในช่วงเวลานั้น ๆ

ราคาตราสารหนี้มีความสัมพันธ์อย่างแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีตราสารหนี้ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง ส่งผลให้ดัชนีตราสารหนี้ปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ ดัชนีตราสารหนี้ไม่ได้แสดงถึงผลตอบแทนของตราสารหนี้ทุกตัว แต่จะสะท้อนเพียงรวมของตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ความผันผวนของดัชนีตราสารหนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อีกด้วย เช่น นโยบายการเงิน ภาวะเศรษฐกิจ และความเสี่ยงของตราสารหนี้ เป็นต้น

ประเภทของดัชนีตราสารหนี้

ดัชนีตราสารหนี้มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือผลตอบแทนที่ต้องการจะวัดจากการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้นั้น ๆ สำหรับบทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ 4 ประเภทหลัก ๆ ของดัชนีตราสารหนี้ ได้แก่

1. ดัชนีตราสารหนี้ไทย (Composite Bond Index)

คือ ดัชนีที่วัดการลงทุนตราสารหนี้ทุกประเภทในตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความเคลื่อนไหวของการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งตลาด

2. ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Index)

คือ ดัชนีวัดที่ใช้วัดความเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมทั้งหมด ปัจจุบันดัชนีพันธบัตรรัฐบาลที่ ThaiBMA เผยแพร่อยู่มี 2 ประเภท คือ ThaiBMA Government Bond Index และ ThaiBMA MTM Government Bond Index โดยแต่ละประเภทแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 5 กลุ่ม เพื่อความละเอียดที่มากขึ้น

3. ดัชนีพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprise Bond Index)

คือ ดัชนีที่ใช้วัดผลการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ คำนวณมาจากพันธบัตรรัฐวิสาหกิจค้ำประกันโดยกระทรวงการคลังและไม่ค้ำประกัน

4. ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชน (Corporate Bond Index)

คือ ดัชนีที่ใช้ติดตามสภาวะตลาดตราสารหนี้โดยรวมนอกเหนือจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้นักลงทุนใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินการของพอร์ตการลงทุนหรือกองทุนต่าง ๆ ได้ละเอียดมากขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกู้มีลักษณะเฉพาะ ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ทาง ThaiBMA จัดทำปัจจุบันมีทั้งหมด 2 ดัชนี โดยจะแบ่งกลุ่มตามอันดับเครดิตที่กำหนดโดยบริษัท Credit Rating Agency ได้แก่ TRIS และ FITCH (Thailand) ได้แก่

  1. ดัชนีหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับน่าลงทุน (ThaiBMA Investment Grade Corporate Bond Index) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ดัชนีหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไปและ BBB+ ขึ้นไป
  2. ดัชนีหุ้นกู้ที่คิดคำนวณจากข้อมูล Mark-to-Market (Mark-to-Market Corporate Bond Index) ดัชนีนี้จะมีความละเอียดมากกว่า Investment Grade Corporate Bond Index แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย คือ ตามอันดับเครดิตตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป, ตั้งแต่ BBB ขึ้น ไป, ตั้งแต่ BBB+ ขึ้นไป และตั้งแต่ A- ขึ้นไป

ประโยชน์ของดัชนีตราสารหนี้

  1. เป็นเครื่องมือดัชนีที่ใช้ติดตามความเคลื่อนไหวตราสารหนี้ทุกประเภทในตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทย ครอบคลุมทั้งพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน ช่วยให้นักลงทุนติดตามภาพรวมของตลาด วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาและอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงแนวโน้มของตลาดในอนาคต
  2. ใช้ดัชนีตราสารหนี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ของตนเองกับผลตอบแทนของตลาดโดยรวม ช่วยให้นักลงทุนประเมินประสิทธิภาพของพอร์ตการลงทุน และตัดสินใจว่าควรปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร
  3. ช่วยให้นักลงทุนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดตราสารหนี้กับตลาดอื่น ๆ เช่น ตลาดหุ้น ตลาดเงิน ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจภาพรวมของเศรษฐกิจ และตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. นำไปใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ เช่น สัญญาฟิวเจอร์ส ออปชัน และ ETF (Exchange Traded Fund) ช่วยให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไร ป้องกันความเสี่ยง หรือกระจายความเสี่ยงการลงทุนได้

 

กล่าวโดยสรุป ดัชนีตราสารหนี้ หรือ Bond Index เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ช่วยให้นักลงทุนติดตามและคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ภาพรวมได้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชน สามารถดู Bond Index แบบ Real-Time ได้ที่นี่


อ้างอิง

 

Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2024: เพิ่มสัดส่วนหุ้น Growth ผสม Value เข้าด้วยกัน

Eastspring Thailand
Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO)

TMBAM Quality Mega Theme เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) 

มุมมองการลงทุน

เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีทิศทางสนับสนุนการคงดอกเบี้ย ถึงแม้ตัวเลข GDP ที่แม้จะอ่อนแอกว่าคาดที่ 1.6% จากการคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% แต่เกิดจากส่วนประกอบที่ผันผวนอย่างสินค้าคงคลัง  และตัวเลขเงินเฟ้อที่หยุดการชะลอตัวลงโดย Core PCE(YoY) ออกมาอยู่ที่ 2.8% สูงกว่าคาดที่ 2.6%  ขณะที่การประชุม FOMC ล่าสุดช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่ง Fed จะคงดอกเบี้ยตามคาดแต่มีสัญญาณที่ค่อนข้างชัดถึงการปิดประตูการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ และยังคงประเมินว่ายังอาจจะต้องมีการลดดอกเบี้ย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งเราคาดการณ์ว่า Fed อย่างมากอาจจะมีการลดดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคม

อย่างไรก็ตามกำไรบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งต่อเนื่องของสหรัฐฯและยุโรปยังเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นโลกและประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรป โดยในเดือน พ.ค. เราแนะนำเลือกลงทุนกองทุนที่มีการ Blended ทั้งหุ้น Growth ซึ่งกำไรเติบโตดี และ Value ที่รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ขณะที่กองทุนสไตล์ Growth ยังสามารถลงทุนได้โดยเราแนะนำเลือกกองทุนที่มีการกระจายการลงทุนหลาย Sector หรือ ลงทุนทั่วโลก

ในฝั่งของเอเชียเราเริ่มเห็นสัญญาณที่น่าสนใจมากขึ้นจากทั้งอินเดีย และ จีน โดยการลงทุนในเอเชียยังต้องเน้นเป็นรายประเทศ หลังแนวโน้มการเริ่มลดดอกเบี้ยของสหรัฐฯถูกเลื่อนออกไป ทำให้หลายประเทศที่สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอ ไม่สามารถผ่อนคลายนโยบายการเงิน ทำให้การเลือกลงทุนรายประเทศที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม โดยเราชอบอินเดียและเวียดนามที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังแข็งแกร่งและได้ปัจจัยหนุนเฉพาะตัวอย่างการเลือกตั้งในอินเดีย ขณะที่เศรษฐกิจอินเดียยังถูกคาดหมายว่าจะโต 7.6% ในปีนี้ ขณะที่ ESP ปีนี้จะโตประมาณ 18% และปี 2025 โต 15%

ทางด้านของตลาดหุ้นจีนได้รับปัจจัยเชิงบวกใหม่จากตัวเลขเศรษฐกิจบางส่วนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวทั้งในส่วน GDP ที่ออกมาดีกว่าคาดอยู่ที่ 5.3% เงินเฟ้อทั้ง CPI และ PPI เริ่มกลับมาเป็นบวก ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นโดยสะท้อนจาก Financing Aggregate และ PMI ภาคการผลิตที่ปรับตัวขึ้น ทำให้เริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าสะสมหุ้นในฝั่ง H-share ซึ่งน่าสนใจในระยะสั้น แต่ระยะกลางถึงยาวยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ทั้งในเรื่องของภาคอสังหาฯ ที่ยังมีความเปราะบาง และกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังถูกปรับลดลง

ในส่วนของเศรษฐกิจไทย ตัวเลขส่งออกไทยล่าสุดติดลบ 10.9% ซึ่งเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 8 เดือน  ขณะที่เงินเฟ้อของไทยสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ 0.19% ซึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานหมดลง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทาง กนง. อาจมีการคงดอกเบี้ยยาวตลอดทั้งปี

ขณะที่ในส่วนของตราสารหนี้โลก มีความเป็นไปได้ที่ ทางธนาคารกลางหลักทั่วโลก รวมถึงของไทย อาจมีการตรึงดอกเบี้ยนานกว่าที่คาดส่งผลให้ตราสารหนี้ทรงตัวในช่วงนี้ โดยรวมเรายังคงชื่นชอบกลุ่มตราสารทุนประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะหุ้นโลก หุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ขณะเดียวกันในฝั่งเอเชียเราประเมินว่าอินเดียและจีนมีความน่าสนใจเนื่องจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงนี้

สัดส่วนการลงทุน และการปรับพอร์ต

Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO)

ตารางแสดงสัดส่วนการลงทุนพอร์ต Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) ที่มา: บลจ.อีสท์สปริง วันที่ 15 พฤษภาคม 2024

  1. เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน TMBGQG เนื่องจากมีการ Balance ทั้ง Growth และ Cyclical ซึ่งไส้ในมีทั้งตัว IT ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของ AI และ Financial ที่ได้ประโยชน์จาก Higher for longer, เศรษฐกิจสหรัฐฯ และการบริโภคที่ยังแข็งแกร่ง
  2. เอาออกจาก TMBUS500 เปลี่ยนเป็น TMBUSBLUECHIP และเพิ่มสัดส่วนเป็น 15% เนื่องจากงบล่าสุดที่ออกมารวมถึง Guideline ของ กลุ่ม S&P500 Growth ค่อนข้างออกมาดีมาก ทั้งตัว Earning Growth และ Earning Surprise นำโดยกลุ่ม Com Service , Cons Dis , IT ซึ่งเราค่อนข้างมองบวกกับกลุ่ม US Growth ในปีนี้
  3. เพิ่มสัดส่วน ES-USTECH โดยมุมมองดอกเบี้ยถึงแม้จะลงช้า และลงน้อยกว่าที่คาด แต่เชื่อว่าปลายปี หรืออาจต้นปีดอกเบี้ยยังประเมินว่าอาจจะต้องลด ซึ่งเราประเมินว่ากลุ่มเทคฯได้ประโยชน์จาก AI และนักลงทุนมองว่า Earning driven มากกว่า Rate cut expectation ทำให้กลุ่มนี้ไปต่อ
  4. ออกจาก TMBGINNO-A  ถึงแม้ Earning Growth จะออกมาดี แต่แนวโน้มกำไรเติบโตลดลง ช่วงเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน หุ้นตัวเล็ก และกลางเติบโตน้อยกว่ากลุ่ม Mega Cap
  5. เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในอินเดีย TMBINDAE เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง กำไรยังถูกปรับขึ้น Forward PE กลับมาใกล้เคียงค่าเฉลี่ย รอผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ น่าจะเห็น Flow เข้าอินเดียชัดขึ้น
  6. เพิ่มการลงทุนในยุโรป TMBEG เศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ระดับราคาถูกกว่าค่าเฉลี่ย 10 ย้อนหลัง 0.5 S.D. และ ECB มีมุมมองการเริ่มลดดอกเบี้ยที่อาจจะมาก่อน Fed คือ ช่วงกลางปี หรืออาจจะไตรมาส 3 ขอปีนี้ ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อหุ้นยุโรป
  7. ออกจากหุ้นไทยและ TMBPIPF เนื่องจากเราคาดว่า เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากการถูกปรับคาดการณ์เศรษฐกิจลดลง ความไม่มั่นใจต่อนโยบายการเงินและการคลัง การเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียน และ EPS ยังคงถูกปรับลดลง ขณะที่ TMBPIPF คาดว่าจะถูกกดดันจาก Supply ที่จะออกมาในปีนี้ขณะที่ กนง.น่าจะยังคงดอกเบี้ยยาวในครึ่งปีแรก และอาจถึงปลายปี ถึงแม้ Dividend Yield Gap จะดูน่าสนใจ แต่ Price Risk ยังถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่า

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า


สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA

ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA

สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Eastspring Dynamic Opportunities (ES-DO) คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น

2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนการลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Mr.Messenger Call: ได้เวลา Take Profit หุ้น EM แล้วหมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นญี่ปุ่น และหุ้นเติบโต

Bank - The Trend Follower Investor
Mr.Messenger Call ได้เวลา Take Profit หุ้น EM

แนะนำขายทำกำไรกองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ (EM) TMBEMEQ และ K-SEMQ พร้อมหมุนเงินหาโอกาสการลงทุนใหม่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นและหุ้นเติบโต

Finnomena Funds ได้ออกคำแนะนำ Tactical Call: Dollar Index อ่อนค่าหนุน EM ทะยาน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา โดยหลังจากออกคำแนะนำ กองทุนที่แนะนำอย่าง TMBEMEQ และ K-SEMQ ปรับตัวขึ้น 17.45% และ 14.94% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 และ 13 พฤษภาคม 2024 ตามลำดับ)

ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม NAV ของ iShares MSCI Emerging Markets ETF (EEM) (ซึ่งใช้อ้างอิงคำแนะนำ) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ $43.5 ซึ่งเป็นระดับ Take Profit ที่เคยให้ไว้ Mr.Messenger Call จึงแนะนำ Take Profit กองทุน TMBEMEQ และ K-SEMQ เพื่อล็อกกำไร สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำ Tactical Call ไปก่อนหน้านี้

โดยนักลงทุนอาจพิจารณาเข้าลงทุนใหม่ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call ดังนี้ 

 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนกองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ ตามคำแนะนำ MEVT Call และ FundTalk Call ดูรายละเอียดคำแนะนำที่ 👉 https://www.finnomena.com/opphub/

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TISCO Omakase Extra Fund ปรับพอร์ตเดือนพฤษภาคม 2024: ปรับพอร์ตกองทุนรับดอกเบี้ย Higher for Longer

บลจ.ทิสโก้
TISCO Omakase Extra Fund

TISCO Omakase Extra Fund


ที่มา: บลจ. ทิสโก้ วันที่ 8 พฤษภาคม  2024

Economy and Market

  • เดือน เม.ย. รายงานอัตราเงินเฟ้อ ด้ชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สูงกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์และบริการ แม้ว่าดัชนีรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในเดือนมีนาคมจะสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ แต่ภาพรวมยัง ถือว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯยังทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในส่วนของภาคแรงงานพบว่า รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน เม.ย. กลับน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และเริ่มเห็นการจ้างงานในภาคบริการเพิ่มขึ้นช้าลง – ทำให้เรามองว่า ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯจะมีโอกาสลดลงเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นในปีนี้ 2024 และ มีความเสี่ยงที่จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงอีกระยะ (higher for longer)
  • สำหรับในส่วนของผลดำเนินงานบริษัทจดทะเบียน ในไตรมาสแรกโดยทั่วไปสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะผลดำเนินงานในหุ่นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มการเติบโตด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะยังมีโมเมนตัมที่ดีต่อเนื่องสำหรับมุมมองระยะกลาง 3-6 เดือน
  • เศษฐกิจโลกยังเติบโต ขณะที่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ขณะที่วัฎจักรดอกเบี้ยภาพรวมเชื่อว่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่อาจทรงตัวในระดับสูงไปอีกระยะ ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นที่มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย, ขณะที่การชะลอการปรับลดงบดุลของ Fed จะช่วยลดความเสี่ยงสภาพคล่องตึงตัว ซึ่งเคยเกิดขึ้นในปลายปี 2019
  • คาดว่าการใช้งานของ AI จะเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพ หนุนผลดำเนินงานให้กับบริษัทจดทะเบียน
  • เรามีมุมมองที่ดีขึ้นต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว, งบประมาณภาครัฐ นอกจากนี้การออกกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. จะชวยลดความเสี่ยงการทำธุรกรรม short sell ราคาหุ้นจะมีเสถียรภาพมากขึ้น
  • สำหรับความเสี่ยง ด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical risks) เริ่มผ่อนคลายลงบ้าง แต่มองว่าความขัดแย้งจะยังเกิดขึ้นในตะวันออกกลางเป็นระยะ ขณะที่ประเด็นการเมืองการเลือกตั้งสหรัฐฯจะถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2024 อาจเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นจีน ขณะที่นโยบายของอดีตปธน.ทรัมป์ซึ่งมีคะแนนนิยมสูงขึ้น อาจใช้แนวนโยบายหาเสียงโดยต้องกรให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่า นำไปสู่การเปลี่ยนกลุ่มการลงทุนในอนาคต

Strategy

  • ปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มกองทุนเน้นไปยังหุ้นในกลุ่ม Quality ในระยะนี้ที่ยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยแม้จะปรับลงแต่ยังทรงตัวสูง และ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการใช้งานของ AI
  • ปรับลงทุน (switch) TISCO China Clean Energy TCHCLEAN ไปยัง TISCO China H-Shares TISCOCH เพื่อสะท้อนการฟื้นตัวของหุ้นขนาดใหญ่ก่อนกลุ่มอื่นๆ
  • มีมุมมองเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย จาก valuation อาทิ P/E และ P/Book value ต่ำใกล้เคียงกับในช่วง COVID ระบาด ขณะที่งบประมาณภาครัฐที่กลับมาเบิกจ่ายตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นไป
  • ในกลุ่มของสินทรัพย์ทางเลือก ยังเน้นกระจายไปยัง REITs และ ทองคำ
  • ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า TISCOCH

Portfolio Action

  • ปรับลดน้ำหนัก TISCO Global Income Plus TGINC-A โดยเรายังมีมุมมองบวกต่อกองทุน แต่เนื่องจากกองทุนดังกล่าว เน้นกลยุทธ์การลงทุนในหลายกองทุน (Fund of Fund) ซึ่งกระจายการลงทุนไปยัง ตราสารหนี้, ตราสารทุน และ REITs เพื่อให้ง่ายต่อนักลงทุนในการติดตามราคาในรายสินทรัพย์ จึงกระจายสัดส่วนดังกล่าวไปยังกองทุน ดังนี้
    • TISCO Global Bond  TGBOND-A – กองทุนตราสารหนี้เอกชนทั่วโลก
    • TISCO Global Quality  TGQUALITY-A  – กองทุนตราสารทุนทั่วโลก
    • TISCO Global REIT  TGREIT  – กองทุน REITs ทั่วโลก
  • นอกจากนิ้ เพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองที่เน้นลงทุนไปยังหุ้นกลุ่ม Quality ที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง, มีสัดส่วนหนี้ไม่สูง และ กำไรมีเสถียรภาพ (Stable Earning) ในช่วงที่ดอกเบี้ยอาจทรงตัวสูงในระยะข้างหน้า จึงเน้นสัดส่วนกองทุนตราสารทุนไปยังกองทุน TGQUALITY-A
  • เพิ่มสัดส่วนลงทุนในตลาดหุ้นไทยผ่านกองทุน TSF-A
  • ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า TSF-A และ TGQUALITY-A

Performance Review

ผลตอบแทนพอร์ตกองทุนในรอบ 1 เดือน ระหว่างวันที่ 8 เม.ย. – 8 พ.ค. ปรับตัวลง -1.5% หลังจากในเดือน เม.ย.ตลาดความกังวล ภาวะสงครามในตะนออกกลาง และ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯดีกว่าคาด ส่งผลให้ yield ในตลาดพันธบัตรทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นลบต่อภาวะการลงทุนโดยรวม

ㆍDetractor:

  • สำหรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา TISCO Global Income Plus TGINC-A เป็นตัวฉุด รองลงมา คือ TISCO Global REITs TGREIT จากผลของ yield พันธบัตรทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้น

ㆍ Contributor:

  • ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา TISCO Gold Fund TGOLD เป็นกองทุนที่หนุนพอร์ตกองทุนมากที่สุด เนื่องจาก นลท.กลับเข้าลงทุนในทองคำในฐานะ safe haven ในช่วงที่กังวลภาระสงคราม

บลจ. ทิสโก้


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Mr.Messenger Call: โอกาสเก็งกำไรใน ARKW กลับมาอีกครั้ง ก่อนทะยานขึ้นรอบใหม่

Bank - The Trend Follower Investor
Mr.Messenger Call โอกาสเก็งกำไรใน ARKW

แนะนำเข้าซื้อกองทุนหุ้นเทคโนโลยี SCBNEXT(A) ที่ลงทุนผ่าน ARK Next Generation Internet ETF (ARKW) ที่ระดับ NAV ของ ARKW ไม่เกิน $80.4 เพื่อรับโอกาสเก็งกำไรในจังหวะที่ทะยานขึ้นรอบใหม่

กราฟราคาของ ARKW 

Mr.Messenger Call โอกาสเก็งกำไรใน ARKW

Source: Tradingview as of 15/05/2024 (คลิกเพื่อดูกราฟ)

ช่วงกลางเดือนเมษายน 2024 NAV ของ ARK Next Generation Internet (ARKW) ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดลงสู่บริเวณ Fibonacci 50 และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 วัน (100-d MA) แต่ล่าสุดได้เกิด Buy Signal จาก MACD รวมถึง NAV ของ ARKW ปรับตัวขึ้นเหนือ Fibonacci Projection ที่ 61.8% และเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน (20-day MA) ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มเชิงบวกของ ARKW

Mr.Messenger จึงแนะนำลงทุนภายใต้คำแนะนำ Mr.Messenger Call ในกองทุน SCBNEXT(A) ซึ่งมีค่า Correlation เทียบกับ ARKW ที่ 0.95 โดยมีคำแนะนำดังนี้

1. แนะนำเข้าลงทุนที่ NAV ของ ARKW ไม่เกินระดับ $80.4 (+3% จากระดับราคาวันที่ 15/05/2024) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Mr.Messenger Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1

2. แนะนำ Take Profit หรือขายทำกำไร เมื่อ NAV ถึง $94 (Upside 17% จากจุดหยุดเข้าซื้อ, Upside +20.8% จากราคาปิดวันที่ 15/05/2024) ซึ่งเป็นระดับ 100 ของ Fibonacci Projection

3. แนะนำ Limit Loss หรือขายขาดทุนทันที เมื่อ NAV ปิดตลาดต่ำกว่า $66.7 อย่างมีนัยยะ ซึ่งเป็นระดับ Fibonacci 38.2 (Downside 17% จากจุดหยุดเข้าซื้อ, Downside -14% จากราคาปิดวันที่ 15/05/2024) เราอาจพิจารณาแนะนำ Trailing Stop โดยจะประเมินสถานการณ์และแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

SCBNEXT(A)

กองทุนรวมหุ้นทั่วโลก ที่เน้นลงทุนหุ้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ผ่านกองทุน ARK Next Generation Internet ETF ซึ่งเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคต เช่น 5G เทคโนโลยีเสมือนจริง และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในทุกอุปกรณ์

SCBNEXT(A) Top Holding

Mr.Messenger Call โอกาสเก็งกำไรใน ARKW

Source: ark-funds.com as of 10/05/2024

ค่า Correlation ช่วงเวลา 2 ปี ของกองทุน SCBNEXT(A) เทียบกับดัชนี ARKW

Mr.Messenger Call โอกาสเก็งกำไรใน ARKW

Source: Bloomberg as of 09/05/2024

นักลงทุนที่เหมาะกับคำแนะนำนี้ ระยะสั้นนี้ควร…

  1. เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง
  2. ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
  3. นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Mr.Messenger Call: ถึงจุด Take Profit หุ้นจีน หมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นญี่ปุ่น

Bank - The Trend Follower Investor
Mr. Messenger Call Take Profit หุ้นจีน

แนะนำล็อกกำไรกองทุนหุ้นจีน All-China B-CHINE-EQ และ K-CHINA-A(A) พร้อมแนะนำโอกาสการลงทุนใหม่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้ Mr. Messenger ได้ออกคำแนะนำ หุ้นจีนเกิดสัญญาณกลับตัว ทะยานเหนือแนวต้านสำคัญ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2024 โดยหลังจากออกคำแนะนำ กองทุนที่แนะนำอย่าง B-CHINE-EQ และ K-CHINA-A(A) ปรับตัวขึ้น 11.13% และ 13.93% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 และ 13 พฤษภาคม 2024 ตามลำดับ) 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม NAV ของ iShares MSCI China ETF (MCHI) (ซึ่งใช้อ้างอิงคำแนะนำ) ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ $45.3 ซึ่งเป็นระดับ Take Profit ที่เคยให้ไว้ Mr. Messenger จึงแนะนำ Take Profit กองทุน B-CHINE-EQ และ K-CHINA-A(A) เพื่อล็อกกำไร สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำ Mr. Messenger Call 

ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถพิจารณาเข้าลงทุนใหม่ตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call ดังนี้

 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนหุ้นจีน ตามคำแนะนำ MEVT Call และ FundTalk Contrarian Call ดูรายละเอียดคำแนะนำที่ 👉 https://www.finnomena.com/opphub/

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

มีเงิน 500,000 บาทแล้ว DCA อีกกี่ปีถึงจะมีเงินล้าน?

planet 46
มีเงิน 500,000 บาทแล้ว DCA อีกกี่ปีถึงจะมีเงินล้าน?

หากคุณเป็นชาวมนุษย์เงินเดือนที่อยากมุ่งสู่เป้าหมายการมีล้านแรกในชีวิต และตอนนี้เก็บเงินมาได้ครึ่งทางแล้ว (500,000 บาท) แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อดี บทความนี้ถูกสร้างมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ เพราะเราจะพามาดูว่าคุณต้องลงทุนแบบ DCA ด้วยเงินเท่าไร และใช้ระยะเวลากี่ปีจึงจะมีเงินล้านแรก พร้อมนำทริคดี ๆ ที่จะทำให้คุณเดินทางไปถึงเส้นชัยล้านแรกได้เร็วขึ้นมาฝากด้วย

DCA นั้นสำคัญไฉน?

DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นรูปแบบการลงทุนอย่างหนึ่งที่มีหัวใจสำคัญคือ ‘ความสม่ำเสมอ’ ด้วยการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่ากันแต่ละงวด โดยไม่คำนึงถึงราคาของสินทรัพย์ ดังนั้นต้นทุนจะถูกถัวเฉลี่ยในทุกงวดที่ลงทุน

ข้อดีของ DCA คือเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินลงทุนไม่สูงมาก ไม่ต้องคอยจับจังหวะตลาด (ซึ่งบางทีการจับจังหวะตลาดก็สร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าการ DCA ด้วย) เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนด้วยการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย รวมทั้งเป็นการสร้างวินัยการออมด้วยการลงทุนแบบสม่ำเสมอ 

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DCA ได้ที่

 

เราก็ได้รู้ความสำคัญของการ DCA ไปแล้ว ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าด้วยเงินลงทุนตั้งต้น 500,000 บาท ที่คุณมีอยู่ตอนนี้ จะต้อง DCA ด้วยเงินลงทุนต่อปีเท่าไร และกี่ปีจึงจะถึงเส้นชัยของเป้าหมายการมีล้านแรก

มีเงิน 500,000 บาทแล้ว DCA อีกกี่ปีถึงจะมีเงินล้าน?

ตารางด้านบนเป็นแบบจำลองการลงทุนด้วย “แผนการลงทุน 1st Million” ของ Finnomena Funds แผนการลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความต้องการเก็บเงินล้านแรกในชีวิต และสร้างวินัยในการออมไปพร้อมกัน โดยแผนนี้เริ่มลงทุนเพียงเดือนละ 2,500 บาท (รวมปีละ 30,000 บาท) มีการกระจายพอร์ตการลงทุนในสัดส่วนสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ตั้งแต่ระดับ 4 เสี่ยงต่ำ ไปจนถึงระดับ 7 เสี่ยงสูง (สำหรับในตารางจะคำนวณจากความเสี่ยงระดับ 7) โดยแผนนี้คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนแบบทบต้นที่ปีละ 8%

จากตารางจะเห็นได้ชัดเลยว่ายิ่งเพิ่มจำนวนเงินลงทุนต่อปีมากขึ้นก็จะช่วยลดระยะเวลาลงทุนให้ถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นตามไปด้วย และยิ่งเราเริ่มลงทุนเร็ว เราก็จะยิ่งได้เปรียบเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้จะได้เปรียบอย่างไร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ไม่รู้ไม่ไหว! 5 เหตุผล ทำไมเรื่องลงทุน “เริ่มเร็ว” ชนะ “เงินเยอะ”

สำหรับผู้ที่อยากมีแผนล้านแรกเป็นของตัวเอง สามารถ สมัครสมาชิก Finnomena เพื่อทดลอง สร้างแผน 1st Million ได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลองสร้างแผนดูจะได้เห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า ด้วยเงื่อนไขการลงทุนต่าง ๆ ของเราจะสามารถพาเราไปสู่เป้าหมายล้านแรกได้ในระยะเวลากี่ปี

ส่วนใครที่รู้สึกว่าระยะเวลาลงทุนที่ยกตัวอย่างมายังดูใช้เวลานานไป อยากเก็บเงินล้านแรกได้เร็วขึ้นกว่านี้ ลองให้ ‘Finnomena Exclusive’ บริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว เป็นตัวช่วยให้คุณถึงเป้าหมายล้านแรกได้อย่างมั่นใจ ด้วยที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวมากประสบการณ์ที่จะให้คำแนะนำการลงทุนแบบเป็นกลาง ช่วยติดตามสถานะการลงทุน และอัปเดตข่าวสารให้คุณทราบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมแจ้งทันทีหากต้องมีการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดเพื่อให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน รับบริการได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท  ใครสนใจรับบริการสุด Exclusive แบบนี้ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อขอรับบริการได้เลยที่

https://finno.me/500k-dca-web


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

เปิดบัญชีซื้อ Tax Saving Fund กับ Finnomena Funds โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี ลงทุนได้ถึง 21 บลจ. ในประเทศไทย

Finnomena Funds
เปิดบัญชีซื้อ Tax Saving Fund กับ Finnomena Funds โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี ลงทุนได้ถึง 21 บลจ. ในประเทศไทย

สารบัญ

  1. ปัญหาปวดใจของคนซื้อกองทุนประหยัดภาษี
  2. วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้จาก Finnomena Funds
  3. Segregated Account คืออะไร? ทำไมต้องมี?
  4. ใครควรซื้อกองทุนรวมประหยัดภาษี
  5. แผน Tax Saving Fund ของ Finnomena Funds ลงทุนอะไรบ้าง
  6. ขั้นตอนการเปิดบัญชี Tax Saving Fund
        – เปิดบัญชีผ่าน Application
        – เปิดบัญชีผ่าน Website
        – เปิดบัญชีผ่านการส่งเอกสาร
        – สำหรับลูกค้า Finnomena Funds ที่ใช้บัญชีของ Nomura
  7. วิธี ซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยน กองทุนประหยัดภาษี
  8. สรุป

ปัญหาปวดใจของคนซื้อกองทุนประหยัดภาษี

ถ้ายังไม่ถึงวัยทำงาน ไม่ค่อยมีใครนึกถึงเรื่องเสียภาษีกันหรอกครับ แต่พอมีรายได้และเริ่มมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย จังหวะนั้นแหละที่เราจะเริ่มมองหาช่องทางการลดหย่อนภาษี เพื่อลดทอนภาระการเสียภาษีที่เราโดนหักจากรายได้ไป

ทำให้หลายคนรีบเร่งเข้ามาซื้อกองทุนประหยัดภาษี โดยที่ไม่ได้ทำการศึกษาให้ดีก่อน ถึงจะเป็นการซื้อกองทุนเพื่อเอาไปลดหย่อนภาษี มันก็เป็น “การลงทุน” ประเภทหนึ่งอยู่ดี ซึ่งต้องมีเรื่องของ “ความเสี่ยง” ตามมาแน่นอน

จุดนี้เป็นเรื่องอันตราย เพราะถ้าเราเข้ามาลงทุนทั้ง ๆ ที่ความรู้ยังไม่พร้อม บางทีเงินที่เราขาดทุนจากกองทุนประหยัดภาษี อาจจะเยอะกว่าเงินที่เราต้องควักไปจ่ายภาษีก็ได้ ขาดทุนแถมยังถอนออกมาก่อนไม่ได้ ไม่มีอะไรจะเสียสุขภาพจิตไปมากกว่านี้แล้วจริงไหมครับ

วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้จาก Finnomena Funds

ปัญหาการขาดทุนจากกองทุนประหยัดภาษีเป็นปัญหาที่ Finnomena Funds อยากแก้ไข จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวระบบใหม่ “Segregated Account” ซึ่งสามารถซื้อขายกองทุนประหยัดภาษีทั้ง SSF, RMF และ Thai ESG จากหลากหลาย บลจ. ได้ในที่เดียว มีความเป็นกลางในการคัดสรรกองทุนมาแนะนำให้กับนักลงทุน สรุปสิ่งที่นักลงทุนจะได้เมื่อลงทุนกับ Finnomena Funds ก็คือ

  • พอร์ตกองทุนประหยัดภาษีแนะนำที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว แบ่งตามระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ เพิ่มโอกาสในการทำกำไรไปพร้อมกับการลดหย่อนภาษี 
  • ระบบการเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน ไม่ต้องใช้เอกสาร ไม่ต้องเปิดบัญชีหลายรอบ
  • ซื้อขายกองทุนได้พร้อมกันหลาย บลจ. เพิ่มความเป็นกลางในการเลือกกองทุนที่ดีที่สุด
  • เช็กพอร์ตได้ตลอดเวลาทั้งบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน หน้าจอแสดงผลสวยงาม เข้าใจง่าย
  • ความปลอดภัยของเงินลงทุนระดับเดียวกันกับธนาคาร

สิทธิประโยชน์แต่ละข้อจะอธิบายอย่างละเอียดในส่วนต่อ ๆ ไปของบทความ แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ระบบ Segregated Account คืออะไร? ทำไมถึงต้องใช้ระบบนี้?

Segregated Account คืออะไร? ทำไมต้องมี?

Segregated Account คือ บัญชีที่แยกทรัพย์สินของผู้ลงทุนออกจากทรัพย์สินของบริษัท ทำให้เงินลงทุนไม่สามารถถูกแทรกแซงได้ เช่นเดียวกันกับระบบบัญชีประเภท Omnibus Account ที่ Finnomena Funds ใช้ในการซื้อขายกองทุนทั่วไป

บัญชีทั้ง 2 ประเภทผู้ลงทุนจะทำรายการผ่านคนกลาง (ในที่นี้คือ Finnomena Funds) คนกลางมีหน้าที่แค่ส่งรายการคำสั่งและเงินลงทุนต่อให้ บลจ. โดยไม่มีสิทธิ์ไปยุ่งอะไรกับเงินและคำสั่งนั้น

จุดที่แตกต่างคือ Omnibus Account เป็นบัญชีที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน การดำเนินการซื้อขายจะใช้เป็นเลขประจำตัวผู้ถือหน่วย แต่ Segregated Account เป็นบัญชีที่ระบุชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนในการซื้อขาย ซึ่งตรงนี้ทำให้บัญชีแบบ Segregated Account สามารถใช้ซื้อขายกองทุนประหยัดภาษี เช่น SSF, RMF และ Thai ESG ได้ และสามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย เพราะมีการระบุชื่อผู้ถือหน่วยไว้ชัดเจน

โดยสรุป ในการซื้อขายกองทุนทั่วไป ใช้แค่บัญชีแบบ Omnibus Account ก็เพียงพอ แต่ในกรณีกองทุนประหยัดภาษีที่ต้องออกเอกสารไปยื่นลดหย่อน ต้องใช้บัญชีแบบ Segregated Account ที่มีการระบุชื่อผู้ลงทุนนั่นเอง

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนกองประหยัดภาษีแล้ว ข้ามไปดูขั้นตอนการเปิดบัญชีด้านล่างบทความได้เลย ส่วนคนที่ยังไม่แน่ใจว่ากองภาษีเหมาะกับเราหรือเปล่า ลองอ่านไปเรื่อย ๆ ก่อนนะครับ

ใครควรซื้อกองทุนประหยัดภาษี

ไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องซื้อ SSF, RMF และ Thai ESG ถึงมันจะใช้ลดหย่อนภาษีได้เยอะก็จริง แต่ก็มีเงื่อนไขที่จำกัดเราอยู่พอสมควร เงื่อนไขสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนลงทุนพวกกอง SSF, RMF และ Thai ESG ได้แก่

เงื่อนไขของ SSF

  • ต้องถือเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป (นับจากวันที่ซื้อ) ถ้าขายออกก่อนต้องคืนเงินภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนของปีนั้น และต้องจ่ายค่าเสียภาษีล่าช้าเพิ่มด้วย
  • ใช้ลดหย่อนภาษีได้ในปีภาษี 2563-2567 หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะมีการต่ออายุหรือไม่
  • ลงทุนปีไหน ได้ลดหย่อนปีนั้น และไม่มีเงื่อนไขลงทุนต่อเนื่อง
  • ไม่สามารถขายคืนก่อนกำหนดได้ แต่สามารถสับเปลี่ยนได้ในกอง SSF ด้วยกันได้

เงื่อนไขของ RMF

  • ต้องถือเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป (นับจากวันที่ซื้อ) และขายได้หลังอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ถ้าขายออกก่อนต้องคืนเงินภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนในปีนั้น และต้องจ่ายค่าเสียภาษีล่าช้าเพิ่มด้วย
  • ลงทุนปีไหน ได้ลดหย่อนปีนั้น และต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี (ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน) หากผิดเงื่อนไขลงทุนต่อเนื่อง ต้องคืนภาษีที่ได้รับยกเว้น 5 ปีย้อนหลัง
  • ไม่สามารถขายคืนก่อนกำหนดได้ แต่สามารถสับเปลี่ยนได้ในกอง RMF ด้วยกันได้

เงื่อนไขของ Thai ESG

  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ
  • วงเงินลงทุนของ Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ที่ปัจจุบันกำหนดเพดานลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ต้องถือเป็นเวลา 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ (นับแบบวันชนวัน ไม่ใช่นับแบบปีปฏิทิน) ซื้อปีไหน ลดหย่อนปีนั้น และไม่บังคับว่าต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

 

พอรู้เงื่อนไขแล้ว แล้วใครบ้างที่เหมาะกับการซื้อกองประหยัดภาษี ลองเช็กตัวเองเบื้องต้นกันก่อน

ใครควรซื้อ

  • ถ้าเกิดคำนวณเงินได้ของตนเองที่หักลบกับค่าลดหย่อนแล้วมากกว่า 150,000 บาท เราจะต้องเสียภาษี ถ้าไม่อยากเสียส่วนนี้สามารถซื้อกองทุนประหยัดภาษี เป็นวิธีในการลดหย่อนภาษีได้
  • คนที่มีฐานภาษีสูง ๆ เช่น 20% ขึ้นไป เหมาะกับการซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เพราะสามารถลดได้เยอะ ซึ่งกองทุนประหยัดภาษีสามารถซื้อรวมกันและลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 600,000 บาท
  • คนที่ต้องการออมเงินให้เติบโตในระยะยาว ซึ่งตรงตาม Concept ของ SSF, RMF และ Thai ESG ที่อยากให้คนไทยออมเงิน

ใครไม่ควรซื้อ

  • คนที่มีปัญหาสภาพคล่องยังไม่มั่นคง ไม่ควรซื้อกองทุนประหยัดภาษีเพราะมีเงื่อนไขที่จำกัดการถอนเงินออกมาใช้อยู่ กรณีควรยอมจ่ายภาษีหรือเลือกลดหย่อนด้วยวิธีอื่นไปก่อน
  • คนที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้เลย ถ้าซื้อแล้วก็เกิดขาดทุนจะเครียด นอนไม่หลับ แบบนี้ไม่ควรซื้อกองทุนประหยัดภาษี
  • คนที่ฐานภาษียังต่ำ เช่น 5% หรือ 10% เพราะเมื่อเทียบเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามกับเงินที่จะได้ลดหย่อน อาจไม่คุ้มกัน

แผน Tax Saving Fund ของ Finnomena Funds ลงทุนอะไรบ้าง

ถ้าสำรวจตัวเองตามหัวข้อข้างบนแล้วคิดว่าเราเหมาะกับการซื้อกองทุนประหยัดภาษี ขั้นต่อไปก็คือการเลือกว่าเราจะลงทุนกองไหนดี

Finnomena Funds เปิดให้ซื้อกองทุนประหยัดภาษี ทั้งแบบซื้อรายกองและแบบซื้อเป็นชุดกองทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง สามารถเลือกซื้อกองทุนได้พร้อมกัน 21 บลจ. รายชื่อ บลจ. ที่ Finnomena Funds เปิดให้บริการตอนนี้ ได้แก่

  1. บลจ. กรุงศรี (KSAM)
  2. บลจ. กรุงไทย (KTAM)
  3. บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LHFUND)
  4. บลจ. คิง ไว (KWIAM)
  5. บลจ. เอ็มเอฟซี (MFC)
  6. บลจ. วรรณ (ONEAM)
  7. บลจ. เกียรตินาคินภัทร (KKPAM)
  8. บลจ. ไทยพาณิชย์ (SCBAM)
  9. บลจ. ทาลิส (TALISAM)
  10. บลจ. อีสท์สปริง (EASTSPRING)
  11. บลจ. ทิสโก้ (TISCOAM)
  12. บลจ. ยูโอบี (UOBAM)
  13. บลจ. ดาโอ จำกัด (DAOLINV)
  14. บลจ. อเบอร์ดีน (ABERDEEN)
  15. บลจ. แอสเซท พลัส (ASSETFUND)
  16. บลจ. บัวหลวง จำกัด (BBLAM)
  17. บลจ. พรินซิเพิล (PRINCIPAL)
  18. บลจ. กสิกรไทย (KAsset)
  19. บลจ. ฟิลลิป (PAMC)
  20. บลจ. เอ็กซ์สปริง (XSpring AM)
  21. บลจ. บางกอกแคปปิตอล (BCAP)

 

หมายเหตุ: การทำรายการซื้อ/ขายคืน/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของ บลจ. บางกอกแคปปิตอล (BCAP) จะต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น ที่หมายเลข 02-026-5100 โดยสามารถทำรายการได้ทุกวันทำการ ตามเวลาและเงื่อนไขในการทำรายการ ตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุน

รายชื่อกองทุนที่ Finnomena Funds แนะนำ

สำหรับการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี แนะนำให้ลงทุนเป็นชุดกองทุนแบบกระจายความเสี่ยง เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาว การลงทุนกองเดียวจะเสี่ยงเกินไป เพราะถ้าได้ก็ได้ไปเลย ถ้าเสียก็เสียไปเลย ถ้าลงทุนหลาย ๆ กองเพื่อกระจายความเสี่ยงไว้จะมีโอกาสกำไรในระยะยาวมากกว่า

กองทุนที่ Finnomena Funds แนะนำจะแบ่งตามระดับความเสี่ยง โดยจะไม่มีการปรับพอร์ตเหมือนแผนการลงทุนทั่วไปเนื่องจากต้องถือยาว ทุกกองเลยต้องมีศักยภาพที่จะเติบโตในระยะยาวได้ ซึ่ง Finnomena Funds ได้ทำการคัดสรรกองทุนที่ดีที่สุดมาแล้ว รายชื่อชุดกองทุนแนะนำมีอยู่ 8 แผนด้วยกัน โดยสามารถอ่านรายละเอียดของแต่ละแผนได้ที่ โพยกองทุนจัดชุด SSF & RMF จัดเต็มสำหรับนักลงทุนทุกประเภท

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนที่สนใจกองทุนบางตัวโดยเฉพาะ ก็สามารถเลือกลงทุนเองได้เช่นกันครับ ไม่จำกัดว่าต้องลงทุนเป็นชุดกองทุนเท่านั้น โดยสามารถอ่านรายละเอียดโพย SSF และ RMF รายกองได้ที่ คัดเน้นที่เดียวจบ! รวมโพย SSF RMF รายกอง

และสำหรับนักลงทุนที่อยากลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมด้วยกองทุน Thai ESG สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Thai ESG Hub – ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Thai ESG

หรือจะลองใช้งาน Finnomena Funds Tax Saving Guru ดูก็ได้ เป็นโปรแกรมคำนวณมูลค่ากองทุนที่ซื้อได้ พร้อมกองทุนและสัดส่วนแนะนำ คำนวณมาให้เสร็จสรรพว่าซื้อ SSF, RMF และ Thai ESG เท่าไรจะคุ้มที่สุด

ขั้นตอนการเปิดบัญชี Tax Saving Fund

1. เปิดบัญชีผ่าน Application (เปิดบัญชีแบบไม่ใช้เอกสาร) → Recommended !!

ลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds

ลูกค้าที่เปิดบัญชีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป หากเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds ระบบจะทำการเปิดบัญชี Tax Saving Fund ให้โดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องกดเปิดบัญชีเพิ่ม

สามารถศึกษาขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds เพิ่มเติมได้ที่ วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

ลูกค้าเก่าที่มีบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds อยู่แล้ว

ลูกค้าเก่าที่เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds ก่อนวันที่ 15 พ.ค. 2567 สามารถเปิดบัญชี Tax Saving Fund ได้โดยการเข้าไปที่หน้าพอร์ตในแอปพลิเคชัน Finnomena แล้วกดปุ่ม “เปิดบัญชี Tax Saving” และทำตามขั้นตอนตามภาพด้านล่าง

เปิดบัญชีซื้อ Tax Saving Fund กับ Finnomena Funds โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี ลงทุนได้ถึง 21 บลจ. ในประเทศไทย

หากข้อมูลที่กรอกตอนเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนเพียงพอสำหรับการเปิดบัญชี Tax Saving Fund แล้ว ระบบจะพาท่านเข้าสู่หน้ายืนยันการทำรายการและรับรหัส OTP แต่หากข้อมูลที่กรอกตอนเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนไม่เพียงพอสำหรับการเปิดบัญชี Tax Saving Fund ระบบจะให้ท่านกรอกข้อมูลบางส่วนเพิ่มเล็กน้อย ได้แก่ ข้อมูลประเทศที่มาของรายได้และข้อมูลคู่สมรส, FATCA, ข้อมูลบัตรประชาชนเพิ่มเติม และแบบประเมินความเสี่ยง (ทั้งนี้ แต่ละท่านอาจจะกรอกเพิ่มไม่เท่ากัน แล้วแต่ความสมบูรณ์ของข้อมูลเดิม)

2. เปิดบัญชีผ่าน Website

ณ ตอนนี้การเปิดบัญชีกองทุนรวม และบัญชี Tax Saving Fund ยังไม่สามารถเปิดผ่าน Website ได้ ทั้งนี้แนะนำให้นักลงทุนเปิดบัญชีผ่าน Application แทน

3. เปิดบัญชีผ่านการส่งเอกสาร

ขณะนี้การเปิดบัญชี Tax Saving Fund ผ่านการส่งเอกสาร ปิดระบบชั่วคราว หากมีการเปิดระบบจะมีการแจ้งให้ทราบอีกครั้ง โปรดติดตามข่าวสารอัปเดตทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ทั้งนี้แนะนำให้นักลงทุนเปิดบัญชีผ่าน Application เพื่อความรวดเร็วในการเปิดบัญชี

4. สำหรับลูกค้า Finnomena Funds ที่ใช้บัญชีของ Nomura

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนผ่านบัญชีของ Nomura ดูขั้นตอนการเปิดบัญชีได้ ที่นี่

วิธี ซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยน กองทุนประหยัดภาษี

ซื้อ

นักลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อได้ทุกช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โทรศัพท์ และช่องทางเอกสาร การหักเงินจะหักผ่านช่องทางบัญชีธนาคารที่ผูก ATS ไว้ (ณ ปัจจุบันสังไม่สามารถซื้อผ่านบัตรเครดิตได้)

ขาย

ขั้นตอนการขายจะมีความซับซ้อนกว่าตอนซื้อ เพราะมีเรื่องเงื่อนไขระยะเวลาในการถือ และหลักการ FIFO (First in First out: ซื้อตัวไหนก่อน ตัวนั้นจะถูกขายออกไปก่อน)

อธิบายคือ ถ้าหากเราอยากขายกองทุนส่วนที่เผลอซื้อเกินและยังไม่ได้ใช้ลดหย่อนภาษี ส่วนที่ขายจะไม่ใช่ส่วนล่าสุดที่ซื้อ แต่เป็นส่วนแรกสุดที่เราซื้อไว้ ซึ่งถ้าส่วนแรกสุดยังถือไม่ครบเวลาตามเงื่อนไข เราจะถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ด้วยเหตุผลนี้จึงต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องก่อนการขายกองทุนประหยัดภาษีทุกครั้ง

ดังนั้นการขายกองทุนประหยัดภาษีจึงไม่เปิดให้ลูกค้าทำรายการด้วยตัวเองผ่านแอปฯ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการขายสามารถติดต่อทาง Finnomena Funds ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 026 5100 เพื่อส่งคำสั่งขาย หรือทำการขอเลข Unitholder เพื่อใช้ส่งคำสั่งขายกับ บลจ. ต้นทางโดยตรง

สับเปลี่ยน

สามารถสับเปลี่ยนกองภาษีได้ภายใน บลจ. เดียวกัน และต้องเป็นกองประเภทเดียวกัน เช่น กอง SSF สับเปลี่ยนได้เฉพาะกอง SSF ด้วยกัน กอง RMF สับเปลี่ยนได้เฉพาะกอง RMF ด้วยกัน

สรุป

ถ้าอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่า กองทุนประหยัดภาษีเป็นทางเลือกการลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับเรา และเรามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะทำตามเงื่อนไขของกองทุนประหยัดภาษีได้อย่างครบถ้วน ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ทันที โดยอิงจากพอร์ตกองทุนแนะนำที่ Finnomena Funds แนะนำให้ก็ได้ หรือจะเลือกลงทุนเองเป็นรายตัวก็ทำได้เช่นกัน

ถ้ายังอ่านบทความยังไม่ละเอียด อยากให้อ่านและศึกษาให้ดีก่อนครับ โดยเฉพาะเงื่อนไขต่าง ๆ เพราะการซื้อกองทุนประหยัดภาษีเป็นการตัดสินใจในระยะยาว กรอบเวลา 10 ปีขึ้นไป หากตัดสินใจพลาดมันจะกวนใจเราไปตลอด การลงทุนพร้อมกับความรู้จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ส่วนการลงทุนพร้อมกับความไม่รู้จะทำให้ชีวิตเราลำบากขึ้นอีกเยอะ

หากพร้อมแล้วก็สามารถเปิดบัญชีลงทุนกองทุนประหยัดภาษี กับ Finnomena Funds ได้เลย


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

เช็กให้ชัวร์! คุณควรยืนยันตัวตนผ่านช่องทางไหนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

Finnomena Funds
เช็กให้ชัวร์! คุณควรยืนยันตัวตนผ่านช่องทางไหนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ขั้นตอน ‘การยืนยันตัวตน’ หรือ ‘eKYC’ เพื่อเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวมกับ Finnomena Funds สามารถทำได้ 2 ช่องทางด้วยกัน คือ

  1. ยืนยันตัวตนผ่าน NDID (National Digital ID) ที่แอปพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID
  2. ยืนยืนตัวตนผ่าน Counter Service ที่ 7-Eleven

 

แต่ด้วยความที่เราต้องเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ทำให้หลายคนคงยังมีความสับสนและลังเลว่า “แล้วเราจะเลือกยืนยันตัวตนช่องทางไหนดี?” ใครที่กำลังมีคำถามนี้เกิดขึ้นแล้วละก็ต้องอ่านบทความนี้เลย เพราะ Finnomena Admin จะพาทุกคนมาเช็กให้ชัวร์ด้วย Checklist 3 ข้อว่าคุณควรยืนยันตัวตน (eKYC) ผ่านช่องทางไหน

(ทั้งนี้ ในกรณีที่เลือกช่องทางการยืนยันตัวตนแล้วแต่ทำรายการไม่สำเร็จ สามารถเปลี่ยนไปยืนยันตัวตนอีกช่องทางหนึ่งได้นะครับ)

เช็กให้ชัวร์! คุณควรยืนยันตัวตนผ่านช่องทางไหนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ถ้าคุณ…

  • เคยสมัครรับบริการ NDID ผ่านสาขาธนาคารที่ต้องการใช้บริการ NDID
  • มีและใช้งาน Mobile Banking บนอุปกรณ์ของคุณเป็นประจำ
  • ไม่สะดวกเดินทางออกจากบ้าน ขออยู่บ้านแบบชิลล์ ๆ ดีกว่า

แสดงว่าคุณควรยืนยันตัวตนผ่าน NDID ที่แอปพลิเคชันของธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID

ถ้าคุณ…

  • ไม่เคย หรือจำไม่ได้ว่าเคยสมัครรับบริการ NDID ผ่านสาขาธนาคารที่ต้องการใช้บริการ NDID
  • ไม่ค่อยได้ใช้ หรือไม่มี Mobile Banking บนอุปกรณ์ที่คุณใช้งาน
  • สะดวกเดินไป 7-Eleven เพราะอยู่ใกล้บ้านมาก

แสดงว่าคุณควรยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service ในร้าน 7-Eleven

หากสำรวจตัวเองแล้วว่าเรามีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 3 ข้อ สำหรับช่องทางไหน ก็เลือกทำรายการยืนยันตัวตนผ่านทางช่องทางนั้นได้เลยครับ

หวังว่า Checklist ที่ Finnomena Admin ตั้งใจทำมานี้จะช่วยให้ทุกท่านสามารถตัดสินเลือกช่องทางการยืนยันตัวตนได้ง่ายมากขึ้นนะครับ ส่วนใครที่เลือกได้แล้วว่าตัวเองเหมาะกับช่องทางไหนก็สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละช่องทางได้ที่

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

หรือใครที่ยังไม่แน่ใจว่า มี NDID กับธนาคารใด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

วิธีตรวจสอบว่ามี NDID กับธนาคารใด


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ผ่านทางช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชัน Finnomena หรือ LINE “@FINNOMENAPORT” หรือโทร 02 026 5100

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

Finnomena Funds
ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ในบทความนี้ ขอพาสอนวิธีการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds แบบ step by step

การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service ที่ 7-Eleven
  2. ยืนยืนตัวตนผ่าน NDID ที่แอปพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID

 

ซึ่งจะเลือกยืนยันผ่านช่องทางไหนก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคนเลย แต่ขอเน้นไว้ว่าให้ เลือกทำเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น นะ ซึ่งในบทความนี้ จะพาไปยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena ส่วนใครที่สะดวกช่องทาง NDID ก็สามารถศึกษาขั้นตอนได้โดยการคลิกที่ลิงก์ด้านล่างเลย

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds มีเพียงแค่บัตรประชาชนใบเดียวก็สามารถเดินเข้า 7-Eleven ไปยืนยันตัวตนได้เลย โดยการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

  1. เลือกช่องทางการยืนยันตัวตนผ่าน “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” พร้อมอ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการเปิดบัญชี
  2. นำ QR Code ไปสแกนที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-Eleven และยอมรับข้อตกลงหน้าเคาน์เตอร์ (หลังจากสแกน QR Code เสร็จ ต้องทำรายการต่อเนื่องให้สำเร็จภายใน 15 นาที)
  3. เสียบบัตรประชาชนของท่านกับเครื่อง EDC ที่หน้าเคาน์เตอร์
  4. ถ่ายรูปเพื่อยืนยันตัวตน
  5. รับใบเสร็จจากเคาน์เตอร์เซอร์วิส และกลับมาทำรายการเปิดบัญชีต่อที่แอปพลิเคชัน Finnomena

 

คำถามที่พบบ่อย

  • Q: การยืนยันตัวตนผ่าน NDID และ Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?
    • A: ไม่มีค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ช่องทาง
  • Q: สามารถยืนยันตัวตนผ่านทั้ง NDID และ Counter Service 2 ช่องทางเลยได้หรือไม่?
    • A: ไม่ได้ ต้องเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่ง 
  • Q: QR Code ที่ใช้ยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service จำเป็นต้องไปสร้างหน้าเคาน์เตอร์หรือไม่ และ QR Code มีเวลาหมดอายุหรือไม่?
    • A: ไม่จำเป็น สามารถสร้าง QR Code จากที่ใดก็ได้ และไม่มีเวลาหมดอายุ แต่หลังจากสแกน QR Code แล้วต้องทำรายการให้สำเร็จภายใน 15 นาที
  • Q: สามารถยืนยันตัวตนผ่าน NDID หรือ Counter Service ก่อนการเปิดบัญชีได้หรือไม่?
    • A: ไม่ได้
  • Q: หากยืนยันตัวตนผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งไม่ผ่าน สามารถยืนยันตัวตนผ่านอีกช่องทางหนึ่งได้หรือไม่?
    • A: สามารถทำได้ เช่น ในกรณีที่ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ไม่ผ่าน สามารถเปลี่ยนไปยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service ได้
  • Q: ได้รับใบเสร็จจาก Counter Service แล้ว ต้องกลับมาทำรายการเปิดบัญชีต่อที่แอปพลิเคชัน Finnomena ภายในกี่นาที?
    • A: ไม่จำกัดเวลา แต่แนะนำให้ทำรายการต่อทันทีเพื่อความต่อเนื่องของการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds

 


สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ผ่านทางช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชัน Finnomena หรือ LINE “@FinnomenaPort” หรือโทร 02 026 5100

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

Finnomena Funds
ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ในบทความนี้ ขอพาไปทำรู้จักกับ “บริการ NDID” บริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัลที่จะทำให้ชีวิตของทุกคนสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมวิธีการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

สารบัญ

NDID คืออะไร?

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

National Digital ID (NDID) Platform คือ Platform กลางของประเทศไทยในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน

เป็นระบบกลางสำหรับบริหารจัดการ Digital ID เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น การตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (e KYC) การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (e Signature) การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e Consent) เป็นการสร้างมาตรฐานและยกระดับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบ Data Sharing โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการ Data Sharing ดังกล่าวต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้

หลักการออกแบบระบบ NDID เป็นแบบ Data Security and Privacy by Design เป็นบริการที่มีความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการรับส่งข้อมูล และระบบไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูล เพราะฉะนั้นข้อมูลจะยังคงอยู่กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า โดยระบบถูกออกแบบภายใต้แนวคิด Decentralized ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด จะไม่สามารถเห็นข้อมูลใด ๆ ของลูกค้า 

ทั้งนี้ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเลกทรอนิกส์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย รวมมากกว่า 60 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับ จึงมั่นใจได้ว่าหน่วยงานที่กำกับและบริษัทเหล่านั้นต้องปฏิบัติตามกฏหมายและกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นอน

โดย NDID Platform มีสมาชิกอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

  1. RP (Relying Party): หน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า และต้องการระบบยืนยันตัวตน โดยให้บริการลูกค้าได้ทั้ง F2F (Face to Face) และ NonF2F ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องการรับบริการรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถหาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น พร้อมทั้งช่วยในการลดต้นทุนการบริการ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ เป็นต้น
  2. IdP (Identity Provider): หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ขอใช้บริการ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) โดยสามารถออกสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนได้ เช่น Mobile Banking หน่วยงานเหล่านี้ได้แก่ ธนาคาร และบริษัทโทรคมนาคม
  3. AS (Authoritative Source): หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ขอใช้บริการ เช่น ธนาคาร บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NDB) และหน่วยงานรัฐ

จุดเด่นของ NDID

  • ลดความยุ่งยาก ซับซ้อนในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่เปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลาและแรงงาน
  • ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และไม่ต้องมีหลาย ID
  • ยกระดับการทำธุรกรรมของประเทศไทยให้มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล โดยมีความปลอดภัยสูงกว่าการทำธุรกรรมที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยสำเนาบัตรประชาชน

ข้อควรทราบเกี่ยวกับ NDID Platform

  • NDID Platform ไม่ใช่ระบบเก็บข้อมูลรวมศูนย์ ข้อมูลส่วนบุคคลยังคงเก็บอยู่ที่สมาชิกทั้ง 3 ประเภท คือ RP, IdP และ AS ดังนั้น NDID จึงไม่เห็นข้อมูลการทำธุรกรรม
  • NDID เก็บแค่ข้อมูล Timestamp บนระบบ Blockchain ว่าสมาชิกมีการร้องขอการพิสูจน์และยืนยันตัวตนไปที่ IdP ใด ณ เวลาใด และ AS ใด มีการส่งข้อมูลกลับไปยัง RP เวลาใดเช่นกัน
  • การส่งข้อมูลจาก AS กลับมายัง RP เป็นการส่งนอก NDID Platform แต่รับส่งกันด้วยมาตรฐานที่ NDID เป็นผู้ออกแบบให้ จึงมั่นใจได้ว่า NDID จะไม่เห็นข้อมูลใด ๆ ของลูกค้า

ขั้นตอนการลงทะเบียนรับบริการ NDID

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามีบัญชีธนาคารแล้วจะสามารถใช้ NDID ได้เลย เพราะเราต้องผ่านลงทะเบียน NDID กับธนาคารเพื่อรับบริการ NDID ก่อน ซึ่งเราได้รวบรวมวิธีการลงทะเบียนรับบริการ NDID ของแต่ละธนาคารมาไว้ให้แล้ว

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คลิก
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) คลิก
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) คลิก
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คลิก
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คลิก
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) คลิก
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) คลิก
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB) คลิก

วิธีตรวจสอบว่ามี NDID กับธนาคารใด

อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะมีคำถามว่า “แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามี NDID กับธนาคารไหนบ้าง?” ใครที่มีคำถามนี้อยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะเราได้รวบรวมวิธีการตรวจสอบว่าเรามี NDID กับธนาคารใดมาไว้ให้แล้ว คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลย

วิธีตรวจสอบว่ามี NDID กับธนาคารใด

การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ที่แอปพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID
  2. ยืนยืนตัวตนผ่าน Counter Service ที่ 7-Eleven

 

ซึ่งจะเลือกยืนยันผ่านช่องทางไหนก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคนเลย แต่ขอเน้นไว้ว่าให้ เลือกทำเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น นะ ซึ่งในบทความนี้จะพาไปยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds ส่วนใครที่สะดวกช่องทาง Counter Service ก็สามารถศึกษาขั้นตอนได้โดยการคลิกที่ลิงก์ด้านล่างเลย

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ก่อนที่จะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds แล้วก็ขอพาทุกคนมาตรวจสอบตัวเองให้พร้อมก่อนด้วย Checklist ทั้ง 5 ข้อ ซึ่งได้แก่

1. มีบัญชีธนาคาร (ไม่ใช่บัญชีออนไลน์) กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ

    • สำหรับ SCB ต้องเป็นบัญชีที่เปิดตั้งแต่ ก.ย. 62 เป็นต้นไป

2. เคยเสียบบัตรประชาชนที่สาขาของธนาคารที่ต้องการใช้บริการ

    • สำหรับ KBANK สามารถเสียบบัตรที่ตู้ K-Check ID ได้

3. เคยถ่ายรูปยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารที่ต้องการใช้บริการ

    • สำหรับ KBANK ต้องถ่ายรูปยืนยันตัวตนที่แอปฯ K PLUS
    • สำหรับ BBL สามารถถ่ายรูปยืนยันตัวตนได้ทั้งที่แอปฯ Bualuang mBanking หรือที่สาขาธนาคาร

4. มีแอปพลิเคชันธนาคารที่ต้องการใช้บริการซึ่งพร้อมใช้งาน

5. เคยลงทะเบียน NDID กับธนาคารที่ต้องการใช้บริการ

ถ้าตรวจสอบตัวเองแล้วมีครบถ้วนทั้ง 5 ข้อก็สามารถยืนยันตัวตนผ่าน NDID เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds ได้แล้ว โดยการยืนยันตัวตนผ่าน NDID ของธนาคารต่าง ๆ เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds มีขั้นตอนดังนี้

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ขั้นตอนการใช้บริการ NDID

ไม่ว่าจะคุณจะใช้งานแอปพลิเคชันของธนาคารใดอยู่ เราก็ได้รวบรวมขั้นตอนการใช้บริการ NDID ของแต่ละธนาคารมาไว้ให้แล้ว

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คลิก
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) คลิก
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คลิก
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คลิก
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKPB) คลิก
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) คลิก
  • ธนาคารออมสิน (GSB) คลิก
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB) คลิก
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) คลิก

คำถามที่พบบ่อย

  • Q: การยืนยันตัวตนผ่าน NDID และ Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?
    • A: ไม่มีค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ช่องทาง
  • Q: สามารถมี NDID หลายธนาคารได้หรือไม่?
    • A: มีหลายธนาคารได้
  • Q: ธนาคารที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตนผ่าน NDID กับธนาคารที่ใช้สำหรับอนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) ต้องเป็นธนาคารเดียวกันหรือไม่?
    • A: ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารเดียวกัน
  • Q: สามารถยืนยันตัวตนผ่านทั้ง NDID และ Counter Service 2 ช่องทางเลยได้หรือไม่?
    • A: ไม่ได้ ต้องเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่ง 
  • Q: หลังจากที่ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคารเสร็จ ระบบจะสลับเข้าแอปพลิเคชัน Finnomena เพื่อทำรายการต่อโดยอัตโนมัติหรือไม่?
    • A: ไม่ ต้องทำการกดเข้าแอปพลิเคชัน Finnomena อีกครั้งเพื่อทำรายการต่อ
  • Q: สามารถยืนยันตัวตนผ่าน NDID หรือ Counter Service ก่อนการเปิดบัญชีได้หรือไม่?
    • A: ไม่ได้
  • Q: หากยืนยันตัวตนผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งไม่ผ่าน สามารถยืนยันตัวตนผ่านอีกช่องทางหนึ่งได้หรือไม่?
    • A: สามารถทำได้ เช่น ในกรณีที่ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ไม่ผ่าน สามารถเปลี่ยนไปยืนยันตัวตนผ่าน Counter Services ได้

 


สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ผ่านทางช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชัน Finnomena หรือ LINE“@FinnomenaPort” หรือโทร 02 026 5100

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

Finnomena Funds
วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

สำหรับการเปิดบัญชีแบบใหม่กับ Finnomena Funds ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป

บทความนี้ ขอพาเพื่อน ๆ ไปสร้างแผนการลงทุนกองทุนรวม พร้อมสอนขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

สารบัญ

มาสร้างแผนการลงทุนกองทุนรวมกับ Finnomena Funds กัน!

ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างแผนการลงทุน ขอพาทุกคนมาสมัครสมาชิกกับ Finnomena กันก่อนนะครับ

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

การสมัครสมาชิกผ่าน Website ให้เข้าไปที่ finno.me/web-register ลิงก์นี้ก็จะพาทุกคนไปยังหน้าสมัครสมาชิกโดยตรงเลย หรือมองไปที่ด้านบนขวาจะเห็นปุ่ม “สมัครสมาชิก” สีเหลืองให้กดเข้าไปได้เลย ก็จะนำเราเข้าสู่หน้าสำหรับสมัครสมาชิกได้เช่นกัน และสำหรับการสมัครสมาชิกผ่าน Application หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาแล้วให้กดไปที่ไอคอนรูปคนด้านซ้ายบน กด “สมัครสมาชิก” และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ส่วนใครที่เป็นสมาชิกกับ Finnomena แล้วก็สามารถลงชื่อเข้าใช้ได้เลย

หลังจากสมัครสมาชิกหรือลงชื่อเข้าใช้เรียบร้อยแล้วก็มาเริ่มสร้างแผนการลงทุนกัน สำหรับการสร้างแผนการลงทุนกองทุนรวมกับ Finnomena Funds สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ 

  1. สร้างแผนการลงทุนผ่าน Website ที่ finnomena.com/port/ โดยการกดที่ “ลองใช้งาน PORT”
  2. สร้างแผนการลงทุนผ่าน Application โดยการเลือกเมนู Port และกด “เริ่มใช้งาน”

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

หลังจากนั้นให้กดที่ “เลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับคุณ” เพื่อดูแผนการลงทุนและคำแนะนำกองทุนที่เหมาะกับคุณ ทั้งด้านกลยุทธ์ เงินลงทุน และความเสี่ยง

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

ในขั้นตอนต่อมา Finnomena Funds ก็จะนำทุกคนเข้าสู่การเลือกแผนการลงทุน ซึ่งตรงนี้ก็จะมีแผนการลงทุนมากมายให้ได้เลือกกันตามความเหมาะสม โดยสามารถกดเข้าไปดูได้ว่าแต่ละแผนนั้นมีรายละเอียดอย่างไร ถ้าหากเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของคุณได้แล้วก็กด “เริ่มสร้างแผน” ได้เลย 

หลังจากนั้นจะเป็นการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ระยะเวลาที่ต้องการลงทุน เงินลงทุนที่พร้อมลงทุนครั้งแรก เงินลงทุนที่พร้อมลงทุนทุกเดือน ความเสี่ยงที่รับได้ รวมไปถึงการตั้งชื่อแผนการลงทุน

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

เมื่อเรากรอกรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนแล้วระบบก็จะคำนวณค่าประมาณการมาให้ว่าจากข้อมูลที่เรากรอกมานั้นจะสามารถพาเราไปถึงเป้าหมายการลงทุนที่เราตั้งไว้ได้รึเปล่า ซึ่งจะมีทั้ง Wealth Path (สำหรับพอร์ต Goal และ 1stM) พอร์ตกองทุนรวมแนะนำ รวมถึงผลตอบแทนในอดีต ให้ทุกคนได้ดูข้อมูลแบบจุก ๆ กันเลย

หลังจากสร้างแผนการลงทุนแล้วก็ทำการ “ยืนยันการสร้างแผน” ของคุณได้เลย ในส่วนนี้ก็จะให้กรอก ชื่อ-สกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วก็กด “บันทึกข้อมูล” เป็นอันเรียบร้อย

ขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds

หลังจากที่เราสร้างแผนการลงทุนที่ตรงกับเป้าหมายของเราเรียบร้อยแล้วต่อจากนี้ก็ถึงเวลาเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนจริง ๆ สักที สำหรับขั้นตอนนั้นจะขอไล่ไปทีละ Step ให้ทุกคนทำตามได้แบบง่าย ๆ กัน

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

สำหรับใครที่สร้างแผนการลงทุนผ่านทาง Website ก็จะขึ้น Pop-up ให้โหลด Application มาเพื่อกรอกข้อมูลเปิดบัญชี โดยสามารถ Scan QR Code ที่หน้าจอ หรือเข้าไปค้นหาแอปฯ “Finnomena” ผ่าน App Store หรือ Play Store ได้เลย ซึ่งตรงนี้ใครที่กำลังกังวลว่าแผนการลงทุนจะหายไปหากสลับจากเว็บไปใช้บนแอปฯ ก็ต้องขอบอกว่าระบบจะบันทึกแผนการลงทุนของเราให้อัตโนมัติ สามารถกลับไปดูได้ทั้งใน Website และ Application ส่วนใครที่ใช้งานผ่าน Application อยู่แล้วก็สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดบัญชีได้เลยไม่ต้องสลับอุปกรณ์หรือ Application ให้วุ่นวาย

ก่อนทำการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds ข้อมูลที่ต้องเตรียมหลัก ๆ มี 2 อย่างคือ ข้อมูลบัตรประชาชน และยืนยันตัวตนผ่านแอปฯ ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั้งนี้เพื่อความราบรื่นในการเปิดบัญชี หากเตรียมข้อมูลทั้ง 2 อย่างเรียบร้อยแล้ว กด “เริ่มเปิดบัญชีลงทุนเลย”

1. ยืนยันอีเมล

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

เริ่มกันที่การยืนยันอีเมล ระบบจะขึ้นข้อมูลอีเมลมาให้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง โดยอีเมลนี้จะเป็นอีเมลสำหรับลงชื่อเข้าใช้และสื่อสารกับทาง Finnomena Funds หากตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็กด “ส่งอีเมลยืนยัน” หลังจากนั้นจะมี OTP ส่งไปที่อีเมล ให้นำรหัส OTP 6 หลัก ที่ได้รับมากรอกลงไปเป็นอันเสร็จขั้นตอนการยืนยันอีเมล

2. ยืนยันหมายเลขโทรศัพท์

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

ต่อมาเป็นการยืนยันหมายเลขโทรศัพท์ ตรงนี้สามารถกรอกเลขโทรศัพท์ของทุกคนได้เลย หลังจากนั้นจะมีรหัส OTP ส่งไปทาง SMS ที่โทรศัพท์มือถือของเรา ให้นำรหัส OTP 6 หลัก ที่ได้รับมากรอกลงไปเป็นอันเสร็จขั้นตอนนี้

3. ยืนยันตัวตน

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

มาต่อกันที่การยืนยันตัวตน สำหรับขั้นตอนการยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ที่แอปพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID
  2. ยืนยืนตัวตนผ่าน Counter Service ที่ 7-Eleven

 

ซึ่งจะยืนยันผ่านช่องทางไหนก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคนเลย แต่ขอเน้นไว้ว่าให้ เลือกทำเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น นะ ส่วนขั้นตอนการยืนยันตัวตนทั้ง 2 ช่องทางนั้นสามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิงก์ด้านล่างเลย

ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds

4. ตั้งรหัส PIN

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

หลังจากยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาเป็นการตั้งรหัส PIN 6 หลักสำหรับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งการซื้อและขายกองทุน ซึ่งตรงนี้สามารถตั้งรหัสได้ตามใจชอบเลย แต่ตั้งแล้วต้องจำให้ได้ด้วยนะ

5. กรอกข้อมูลเปิดบัญชี

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

หลังจากตั้งรหัส PIN เสร็จเรียบร้อยแล้วจะเป็นการกรอกข้อมูลทั่วไปที่จำเป็นสำหรับการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds เช่น ข้อมูลการทำงาน เลขหลังบัตรประชาชน ข้อมูลอื่น ๆ การตรวจสอบคุณสมบัติ และการตรวจสอบการเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา ในส่วนของข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อสกุล เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด จะถูกกรอกโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งเพื่อความถูกต้องของการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนด้วย

6. กรอกข้อมูลที่อยู่

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

ต่อมาจะเป็นการกรอกข้อมูลที่อยู่ ได้แก่ ที่อยู่ตามบัตรประชาชน ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ที่อยู่ที่ทำงาน และที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร ในส่วนนี้ระบบจะกรอกข้อมูลมาให้แล้วบางส่วน ให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง หากไม่ถูกต้องสามารถแก้ไขได้

7. ทำแบบประเมินก่อนเริ่มลงทุน

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

ขั้นตอนต่อมาทำแบบประเมินก่อนเริ่มลงทุน ได้แก่ วัตถุประสงค์และประวัติการลงทุน ความรู้การลงทุน แบบประเมินความเสี่ยง (Suitability Test) ในการทำแบบประเมินให้ตอบให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อที่จะได้รับคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้

8. ยืนยันการส่งข้อมูลเปิดบัญชี

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

เมื่อกรอกข้อมูลเปิดบัญชีครบทั้ง 3 ข้อแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนยืนยันการส่งข้อมูลเปิดบัญชี ให้กดรับรหัส OTP และนำรหัส 6 หลักที่ได้รับทาง SMS มากรอกลงไป

9. เชื่อมบัญชีธนาคาร

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

และแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds นั่นก็คือ เชื่อมบัญชีธนาคาร หรือการขออนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) เพื่อเป็นการแจ้งความยินยอมต่อธนาคารในการอนุมัติหักเงินจากบัญชีในกรณีที่เรามีการซื้อกองทุนรวม ตรงนี้ก็เช่นเคย ไม่ต้องส่งเอกสาร หรือเดินทางไปธนาคาร เราสามารถสมัคร ATS ผ่าน แอปพลิเคชัน Mobile Banking ได้เลย ส่วนใครที่ไม่สะดวกทำผ่านแอปฯ ก็สามารถสมัครผ่าน ATM หรือ Internet Banking ได้เหมือนกัน แต่ระยะเวลาการอนุมัติก็จะแตกต่างกันไป สำหรับการสมัคร ATS ผ่านช่องทาง Mobile Banking จะอนุมัติทันที พร้อมลงทุนภายใน 1 วัน ส่วนช่องทาง Internet Banking จะใช้เวลาอนุมัติ 1-2 วันทำการ และช่องทาง ATM จะใช้เวลาอนุมัติ 2-3 วันทำการ

สำหรับตัวอย่างเชื่อมบัญชีธนาคารตามรูปด้านบนจะเป็นของธนาคารกสิกรไทย หลังจากกรอกข้อมูลหมายเลขบัญชีธนาคารและสาขาธนาคารเรียบร้อยแล้ว กด “เชื่อมบัญชีธนาคาร” และกด “ยืนยันการใช้ข้อมูลบัญชีนี้” พร้อมเลือกช่องทางการเชื่อมบัญชีธนาคาร ในที่นี้เลือกเป็นช่องทาง Mobile Banking ผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS จากนั้นเข้าไปทำรายการเชื่อมบัญชีธนาคารต่อในแอปพลิเคชันธนาคาร

ซึ่งใครที่สมัคร ATS ผ่าน Mobile Banking ของธนาคารอื่น หรือสมัครผ่านช่องทาง ATM และ Internet Banking ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะในแอปพลิเคชัน Finnomena ของเรามีขั้นตอนบอกไว้ครบทุกช่องทางแล้ว สามารถทำตามขั้นตอนบนแอปฯ ผ่านช่องทางที่สะดวกได้เลย

เท่านี้ก็เป็นการเสร็จสมบูรณ์สำหรับขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds หลังจากนี้ก็รออนุมัติเปิดบัญชี และเริ่มซื้อขายกองทุนได้เลย

ไม่สะดวกเปิดบัญชีผ่านช่องทาง Application ทำอย่างไรดี?

วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ Finnomena Funds แบบ Step by Step

สำหรับใครที่ไม่สะดวกเปิดบัญชีผ่านช่องทาง Application ก็สามารถส่งเอกสารเพื่อเปิดบัญชีได้เช่นกัน โดยหากเลือกเปิดบัญชีแบบส่งเอกสารจะเจอช่องให้กรอกอีเมลสำหรับใช้รับเอกสารเปิดบัญชี จากนั้นให้พิมพ์เอกสารที่ได้รับทางอีเมลมากรอกข้อมูลเปิดบัญชีให้ครบถ้วน และอย่าลืมแนบเอกสารประกอบพร้อมเซ็นกำกับ จากนั้นแพ็คเอกสารทั้งหมดใส่ซองส่งมาตามที่อยู่ในอีเมลได้เลย ซึ่งหลังจากที่ทาง Finnomena Funds ได้รับเอกสารแล้วก็จะมีทีมงานโทรไปแจ้งให้ยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service อีกที แต่ตรงนี้ต้องบอกไว้ก่อนว่าระยะเวลาที่ใช้ในการเปิดบัญชีสำหรับช่องทาง Application และแบบเอกสารก็จะมีความแตกต่างกันไป

สำหรับการเปิดบัญชีผ่าน Application จะใช้เวลาในการอนุมัติเปิดบัญชีเพียง 1 วันทำการเท่านั้น (ในกรณีที่กรอกข้อมูลเปิดบัญชี พร้อมสมัคร ATS และยืนยันตัวตนภายในวันเดียวกัน) ส่วนการเปิดบัญชีแบบเอกสารใช้เวลาในการอนุมัติเปิดบัญชี 1 สัปดาห์ (ในกรณีที่ทำการยืนยันตัวตนหลังส่งเอกสารเรียบร้อย) เพราะมีเรื่องของระยะเวลาในการส่งเอกสารเข้ามาด้วย

ด้วยระยะเวลาการอนุมัติเปิดบัญชีที่ค่อนข้างต่างกันมาก จึงขอแนะนำให้เพื่อน ๆ เปิดบัญชีผ่านช่องทาง Application เพื่อความรวดเร็วในการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุน แต่ถ้าใครไม่สะดวกจริง ๆ ถนัดเปิดบัญชีผ่านช่องทางเอกสารมากกว่า ก็พิมพ์เอกสารกรอกข้อมูลให้เรียบร้อยแล้วส่งมาได้เลย หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของ Finnomena Funds ได้รับเอกสารเปิดบัญชีแล้วจะดำเนินการอนุมัติเปิดบัญชีให้เร็วที่สุดครับ

ดูหัวข้อต่อไป “เช็กให้ชัวร์! คุณควรยืนยันตัวตนผ่านช่องทางไหนเพื่อเปิดบัญชีกับ Finnomena Funds”


หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดบัญชีสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ผ่านทางช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชัน FINNOMENA หรือ LINE “@FinnomenaPort” หรือโทร 02 026 5100

รู้จัก Credit Rating: กุญแจสำคัญก่อนลงทุนหุ้นกู้

Finnomena
รู้จัก Credit Rating: กุญแจสำคัญก่อนลงทุนหุ้นกู้

“หุ้นกู้” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนสม่ำเสมอและช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุน แต่ก่อนตัดสินใจลงทุนหุ้นกู้ เคยสงสัยกันไหมว่า “ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาคืออะไร?”

บทความนี้ Finnomena จะพาคุณไปรู้จักกับ “Credit Rating” ว่ามันคืออะไร และทำไมถึงสำคัญกับการลงทุนหุ้นกู้ เพื่อให้คุณสามารถเลือกลงทุนหุ้นกู้ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงได้ มารู้จัก Credit Rating ไปพร้อมกันในบทความนี้!

รู้จัก Credit Rating: กุญแจสำคัญก่อนลงทุนหุ้นกู้

อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) คืออะไร?

อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) คือการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ในประเทศไทย สถาบันจัดอันดับเครดิตมี 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) บอกอะไร?

อันดับความน่าเชื่อถือบ่งบอกได้ว่าผู้ออกหุ้นกู้มีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใด ยิ่งหุ้นกู้มีอันดับเครดิตสูง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ก็ยิ่งต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนหุ้นกู้นั้น ๆ

เกณฑ์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)

  1. ลักษณะของบริษัทที่ออกหุ้น
  2. ผลประกอบการของบริษัทที่ออกหุ้นกู้
  3. การมีหลักทรัพย์ค้ำประกันของบริษัทที่ออกหุ้นกู้
  4. ข้อตกลงและสัญญาที่ต้องปฏิบัติตาม
  5. ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของตราสารหนี้

1. Investment Grade

เป็นหุ้นกู้กลุ่มที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับน่าลงทุน โดยมีอันดับเครดิตตั้งแต่ AAA คืออันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด AA+ AA AA- A+ A A- BBB+ BBB ไปจนถึง BBB- เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำถึงปานกลาง

2. Non-Investment Grade หรือ Speculative Grade

เป็นหุ้นกู้กลุ่มที่ลงทุนเพื่อเก็งกำไร มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่ากลุ่ม Investment Grade แต่ก็จ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าเช่นกัน โดยมีอันดับเครดิตตั้งแต่ BB+ ลงมา เรียงจาก BB+ BB BB- B+ B B- CCC+ CCC CC C โดย C มีความเสี่ยงที่สูงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข และต่ำสุดคือ D เป็นหุ้นกู้ที่อยู่ในสถานะผิดนัดชำระหนี้ ไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามเงื่อนไข

3. Unrated Bond

เป็นหุ้นกู้กลุ่มที่ไม่มีการจัดอันดับเครดิต เนื่องจากเป็นหุ้นกู้ที่ไม่ได้ส่งไปจัดอันดับ หรือเป็นหุ้นกู้ที่ขอให้จัดอันดับแล้วแต่ไม่ได้รับการพิจารณา หุ้นกู้กลุ่มนี้มักจ่ายดอกเบี้ยให้สูงกว่ากลุ่มอื่น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงมากเช่นกัน

แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating Outlook) คืออะไร?

แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือช่วยบอกได้ว่าอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้นมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยวิเคราะห์จากบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น ๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวม แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. Positive = มุมมองเป็นบวก = Credit Rating อาจปรับขึ้นได้
  2. Stable = มุมมองคงที่ = Credit Rating อาจไม่เปลี่ยนแปลง
  3. Negative = มุมมองเป็นลบ = Credit Rating อาจปรับลงได้
  4. Developing = มุมมองไม่แน่นอน = Credit Rating อาจปรับในทิศทางใดก็ได้

 

กล่าวโดยสรุป อันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit Rating เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวิเคราะห์บริษัทที่ออกหุ้นกู้ว่ามีโอกาสหรือความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนหุ้นกู้ ทั้งนี้อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะเศรษฐกิจและพื้นฐานของบริษัทนั้น ๆ ดังนั้นนักลงทุนควรติดตามข้อมูลข่าวสารเสมอ และเลือกลงทุนในหุ้นกู้ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

อ่านบทความเกี่ยวกับหุ้นกู้เพิ่มเติม


อ้างอิง

 

กองทุนหุ้นจีน Hedged กับ Unhedged ค่าเงิน มีผลกระทบมากแค่ไหน?

Finnomena Editor
กองทุนจีน Hedged vs Unhedged

ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวแรง แต่ทำไมบางกองทุนยังไม่ค่อยขึ้นตาม ประเด็นเรื่องนโยบายค่าเงิน Hedged vs Unhedged จริง ๆ แล้วมีผลมากแค่ไหน?

ทั้งนี้ กองทุนหุ้นจีนในไทยนั้นมีหลายตลาด และมีหลากนโยบายค่าเงิน ดังนี้

กองทุนจีน Hedged vs Unhedged

Source: Finnomena Funds as of 13/05/2024

จีน A-Share

  • Master Fund เป็น CNY ▶ หุ้นที่ลงทุนเป็น CNY ▶ Hedged CNYTHB 👉 ตัวอย่างกองทุน เช่น SCBCHA
  • Master Fund เป็น USD ▶ หุ้นที่ลงทุนเป็น CNY ▶ Hedged USDTHB 👉 ตัวอย่างกองทุน เช่น KT-ASHARES-A

จีน All China

  • Master Fund เป็น USD ▶ หุ้นที่ลงทุนเป็น HKD CNY USD ▶ Hedged USDTHB > 80% 👉 ตัวอย่างกองทุน เช่น K-CHINA-A(A)
  • Master Fund เป็น USD ▶ หุ้นที่ลงทุนเป็น HKD CNY USD ▶ Hedged USDTHB 50% 👉 ตัวอย่างกองทุน เช่น B-CHINE-EQ

จีน H-Shares

  • Master Fund เป็น HKD ▶ หุ้นที่ลงทุนเป็น HKD ▶ Hedged 👉 ตัวอย่างกองทุน เช่น ASP-HSI
  • Master Fund เป็น HKD ▶ หุ้นที่ลงทุนเป็น HKD ▶ Unhedged 👉 ตัวอย่างกองทุน เช่น MEGA10CHINA-A

 

กองทุนจีน Hedged vs Unhedged

Source: Finnomena Funds as of 13/05/2024

โดยสรุปแล้ว กองทุนหุ้น A-Share จะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมา กองที่มีนโยบาย Hedged USDTHB ผลตอบแทนโดนกดดันมากทีเดียว เพราะการที่ USD แข็งค่าเทียบกับ CNY และ THB ทำให้ได้รับผลกระทบทั้งฝั่งกองหลักที่ Long CNY against USD (หยวนอ่อน) และเสียค่าธรรมเนียม Hedged USDTHB อีกราว 3%

ดังนั้น A-Share เราจึงแนะนำย้ายมากองทุนที่ Hedge CNYTHB แทน เพื่อจะไม่โดนผลกระทบของฝั่ง USD และยังเสียค่า Hedged ต่ำกว่าอีกด้วย

แต่หากสนใจ All China แนะนำกองทุนที่ Hedge แค่ครึ่งนึง เช่น B-CHINE-EQ เป็นต้น

ขณะที่ H-Share นั้นสกุลเงิน HKD วิ่งตาม USD อยู่แล้ว จึงพิจารณาเพียงต้นทุนป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีกองทุนที่ Unhedged ให้เลือกอย่าง MEGA10CHINA-A


คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

Xiaomi ผู้ผลิตสากกระเบือยันเรือรบ กับธุรกิจลับที่หลายคนคาดไม่ถึง

fruhling

Highlight ของบทความนี้ (คลิกอ่านส่วนที่สนใจได้เลย)


รู้จัก Xiaomi บริษัทสมาร์ตโฟนเบอร์ 3 ของโลก และผู้ผลิตสินค้ามากมายหลากหลายชนิด จนช่วงนึงเคยมีคนแซวว่า … 

พระเจ้าสร้างโลก ที่เหลือ Xiaomi สร้าง

ถ้าพูดถึงจุดเด่นของ Xiaomi (เสียวหมี่) คิดว่าเราน่าจะนึกถึง 2 เรื่อง นั่นคือ

  1. การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกอย่าง ตอบโจทย์ทุกความต้องการ จนตอนนี้เป็นเจ้าของไอเท็มเกือบ 740 ล้านชิ้นทั่วโลก
  2. การเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์คุณภาพดีราคาย่อมเยา จนตอนนี้ครองตลาดสมาร์ทโฟนโลกได้ 1 ใน 8

 

แถมล่าสุด Xiaomi ก็เปิดให้จอง EV ภายใต้แบรนด์ของตัวเองแล้ว แต่ยังมีอีกหลายแง่มุมทีเดียว ที่คนนึกไม่ถึงเวลาพูดถึงชื่อ Xiaomi วันนี้เราเลยจะไปล้วงลึกธุรกิจรายนี้กันให้ถึงกึ๋น ทั้งความเป็นมา แหล่งรายได้สำคัญ รวมถึงวิชั่นต่อไปของ Xiaomi


จุดเริ่มต้นของ Xiaomi 

Xiaomi เริ่มต้นจาก Lei Jun (เหลย จุน) และดรีมทีมอีก 7 คน ที่มีดีกรีไม่ธรรมดา 

  • บางคนเป็นอดีตขุนพลระดับท็อปจากบริษัทเทคอย่าง Google และ Microsoft 
  • บางคนเป็นผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 
  • แถมหลาย ๆ คนก็เป็นบุคคลกรแนวหน้าในแวดวง IT

 

ถ้าเปรียบเป็นวงดนตรี ผู้ก่อตั้ง Xiaomi คงเป็นเหมือนร็อกสตาร์แถวหน้าของวงการ

ด้วยภูมิหลังที่ถนัดด้าน Software ผลิตภัณฑ์แรกที่ได้สร้างออกมาในปี 2010 ของ Xiaomi จึงไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นเฟิร์มแวร์สำหรับโทรศัพท์แอนดรอยด์ ที่เรียกว่า MIUI (Me You I) 

หลายคนได้ลองใช้ MIUI แล้วรู้สึกติดใจ แต่บางคนก็ยังเข้าไม่ถึงเพราะสมาร์ตโฟนค่ายอื่น ๆ ยังแพงเกินไป

ปี 2011 Xiaomi จึงเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นแรกออกมา คือ Xiaomi Mi1 ภายใต้วิชั่นว่า “เรือธงไม่จำเป็นต้องแพง” ทำให้ยอดขายโทรศัพท์รุ่นแรกทะลุ 7 ล้านเครื่องจากเป้าหมายที่วางไว้ 1 แสนเครื่องเท่านั้น

ต่อมา Xiaomi ออกรุ่นใหม่แบบปีต่อปี มีการออกสินค้าใหม่ ๆ เช่น Smart TV และยังได้ขยายตลาดไปไกลถึงยุโรปในปี 2016

จนในปี 2018 Xiaomi ก็เข้า IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกงได้สำเร็จ ถือเป็นหนึ่งในการ IPO ที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ Alibaba เข้า IPO ในตลาดนิวยอร์กในปี 2014 เลยทีเดียว


ธุรกิจของ Xiaomi

ปัจจุบัน Xiaomi ได้ขยายตลาดออกไปทั่วโลกแล้ว ผ่านการทำธุรกิจ 3 อย่าง คือ

  1. สมาร์ทโฟน (คิดเป็น 60% ของรายได้ทั้งหมด)
    โดย Xiaomi ครองตลาดโลกได้ 12.8% เป็นรองแค่ Apple และ Samsung
  2. สินค้า AIoT หรือสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (คิดเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด)
    ตัวอย่างสินค้าในหมวดนี้ เช่น Smart Watch, Smart TV, ลำโพงอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ หรือ เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ
  3. Internet Services (คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมด)
    ธุรกิจนี้คนอาจจะรู้จักน้อยที่สุด แต่ก็มี Product หลายอย่างที่ใกล้ตัว เช่น บริการสตรีมเพลง, เกม, คลาวด์, MIUI, แอป Mi Store ไปจนถึงโฆษณา โดยพ่วงไปกับฮาร์ดแวร์ที่ Xiaomi ขาย

 


วิเคราะห์รายได้ของ Xiaomi

ดูเผิน ๆ ในแง่รายได้แล้ว เราอาจคิดไปว่าธุรกิจ สมาร์ตโฟน และ AIoT คือธุรกิจสำคัญของ Xiaomi แต่ถ้าวัดกันจริง ๆ ที่ ‘กำไร’ จะเห็นว่า Internet Services นี่แหละคืออาวุธลับของ Xiaomi 


ธุรกิจ รายได้ (ล้านหยวน) กำไรขั้นต้น (ล้านหยวน) อัตรากำไรขั้นต้น (GPM)
Internet Services 30,000 22,000 74%
Smart Phone 160,000 23,000 15%
AIoT 80,000 13,000 16%

ข้อสังเกตคือ

  • Internet Services สร้างรายได้ได้แค่ 30,000 ล้านหยวนก็จริง แต่พอหักสิ่งต่าง ๆ ก็ยังเหลือกำไรขั้นต้น ถึง 22,000 ล้านหยวน
  • ขณะที่รายได้จาก Smart Phone อยู่ที่ 160,000 ล้านหยวน แต่มีกำไรขั้นต้นแค่ 23,000 หมื่นล้านหยวน (ซึ่งพอ ๆ กับ Services เลย)

 

จะเห็นว่า Services มีความสำคัญมาก ถึงขั้นที่สื่อหลายเจ้าวิเคราะห์ว่าสาเหตุที่ Xiaomi ขายของได้ถูก …

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Xiaomi มีธุรกิจ Services ช่วยอยู่นั่นเอง


Xiaomi กับธุรกิจ EV

ปีที่ผ่านมา กำไรของ Xiaomi โตได้เกินเท่าตัว ความน่าสนใจคือ กำไรของ Xiaomi โตได้แรง แม้มีการใช้เงินลงทุนไปเกือบ 7,000 ล้านหยวน และหนึ่งในโปรเจ็กต์สำคัญที่ลงทุนไป คือ การผลิต EV 

เรื่องราวการผลิต EV ถือเป็นหนึ่งในเรื่องน่าทึ่งของ Xiaomi เหมือนกัน เพราะเกิดขึ้นได้จริงในเวลาไม่นาน

  • ย้อนกลับไปต้นปี 2021 Xiaomi ประกาศว่าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาให้ได้ในปี 2023 
  • ในเวลานั้นนี่คือเรื่องฮือฮามาก เพราะแม้คนจะแซวว่า Xiaomi จะผลิตได้ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ แต่มีน้อยคนที่คาดว่า Xiaomi กระโดดไปเล่นในอุตสาหกรรมยานยนต์แบบนี้

 

ผ่านไปแค่ครึ่งปี Xiaomi ก็จดทะเบียนบริษัทลูกในชื่อ Xiaomi EV สำหรับทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ ถือเป็นการส่งสัญญาณจริงจังของ Xiaomi 

พอถึงปลายปี 2023 Xiaomi ก็ประกาศเปิดตัว EV ของตัวเองในชื่อ ก่อนจะเปิดให้จับจองในช่วงต้นปี 2024 ในราคาและสเป็กที่เรียกได้ว่าออกมาเพื่อชน Tesla Model 3 อย่างจริงจัง คือสเป็กเหนือกว่า Model 3 บางด้านในราคาเพียง 1.1 ล้านบาท

นี่คือก้าวสำคัญมาก ๆ ของ Xiaomi ที่ช่วยเติมเต็ม Vision ในการสร้าง Ecosystem คน-รถ-บ้าน

สรุปแล้ว Xiaomi เป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ Apple และ Samsung และยังเป็นเจ้าของ Ecosystem ที่ครอบคลุมชีวิตตั้งแต่ตื่นยันนอน ผ่านอุปกรณ์อัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันผ่านระบบ AIoT ไม่ว่าจะเป็น Smart Watch โทรศัพท์ เครื่องใช้ไฟฟ้าสมาร์ตโฮม ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า


แนะนำกองทุน ที่มีการลงทุนใน Xiaomi

สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนใน Xiaomi อีกหนึ่งบริษัทจีนที่น่าจับตา Finnomena ขอแนะนำกองทุน MEGA10CHINA-A สำหรับการลงทุนในจีน โดยกองทุนนี้มีหุ้น Xiaomi อยู่ในพอร์ตการลงทุนด้วย

Source: Fund Fact Sheet as of 28/3/2024

MEGA10CHINA-A เป็นกองทุนรวมหุ้นจีน ที่ลงทุนใน 10 บริษัททรงอิทธิพลในจีน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยจะต้องเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสูง และเน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 และเป็นกองทุนที่ Finnomena คัดเลือกสำหรับการลงทุนในจีน

👇 รู้จัก MEGA10CHINA-A ให้มากขึ้น คลิกที่รูปได้เลย! 👇

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


อ้างอิง

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

เก็บเงินลงทุนวันละ 100 บาท ก็มีเงินล้านได้ !?

planet 46
เก็บเงินลงทุนวันละ 100 บาท ก็มีเงินล้านได้ !?

“ล้านแรกมักหายากที่สุด แต่หากหาได้แล้ว ล้านต่อไปก็จะง่ายขึ้น” เป็นประโยคที่เรามักจะเห็นหรือได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคนี้มันเป็นจริงหรือเปล่า?

วันนี้จึงขอพาทุกคนมาดูวิธีสร้างเงินล้านแรกด้วยการเก็บเงินลงทุนเพียงวันละ 100 บาท เท่านั้น!! จะต้องทำอย่างไรบ้าง และจะใช้ระยะเวลากี่ปีถึงจะมีเงินล้านแรก ติดตามไปพร้อมกันผ่านบทความนี้ได้เลย แล้วจะรู้ว่า “ล้านแรกไม่ยากอย่างที่คิด”

สร้างล้านแรกไม่ยาก มาวางแผนเก็บเงิน 1 ล้านแรกไปด้วยกัน
👉  สร้างแผนเก็บเงินล้านแรกได้ที่ https://finno.me/first-million-plan

เก็บเงินลงทุนวันละ 100 บาท ก็มีเงินล้านได้ !?

ตารางด้านบนเป็นแบบจำลองการลงทุนด้วย “แผนการลงทุน 1st Million” ของ Finnomena Funds แผนการลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความต้องการเก็บเงินล้านแรกในชีวิต และสร้างวินัยในการออมไปพร้อมกัน โดยแผนนี้ใช้เงินลงทุนตั้งต้นที่ 5,000 บาท และใช้เงินลงทุนต่อเดือนเริ่มต้นเพียงเดือนละ 2,500 บาท มีการกระจายพอร์ตการลงทุนในสัดส่วนสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ตั้งแต่ระดับ 4 (เสี่ยงต่ำ) ไปจนถึงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) โดยแผนนี้คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 5-8% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี) ซึ่งในตารางจะคำนวณจากผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นที่ 8% ต่อปี (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ส.ค. 2565) ทั้งนี้จะไม่นับรวมปัจจัยอื่นที่อาจทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาของการคำนวณผ่านระบบสร้างแผนของ Finnomena Funds ผลตอบแทนคาดการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้

โดยในตารางจะเป็นการเก็บเงินวันละ 100 บาท เพื่อมาลงทุนในแผน 1st Million จะเท่ากับว่าเราลงทุนเดือนละ 3,000 บาท (100 บาท x 30 วัน) หรือปีละ 36,000 บาท โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 5,000 บาท ด้วยเงินลงทุนจำนวนนี้จะทำให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายการมีล้านแรกได้ภายในระยะเวลา 15 ปี

หรือใครคิดว่า 15 ปี ดูนานไปหน่อยสำหรับการเก็บเงินล้านแรก ก็อาจจะลองเพิ่มจำนวนเงินลงทุนดูก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากเรามีรายได้เยอะขึ้น เราก็อาจจะเก็บเงินเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย เป็นวันละ 200 บาท จะเท่ากับว่าเราลงทุนเดือนละ 6,000 บาท (200 บาท x 30 วัน) หรือปีละ 72,000 บาท ก็จะทำให้สามารถไปถึงเป้าหมายการมีล้านแรกเร็วขึ้นอีก จะเห็นได้ว่ายิ่งเพิ่มจำนวนเงินลงทุนมากขึ้น ก็จะช่วยลดระยะเวลาลงทุนให้ถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นตามไปด้วย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ยิ่งเพิ่มเงินลงทุน ยิ่งมีล้านแรกเร็ว และยิ่งเราเริ่มลงทุนเร็ว เราก็จะยิ่งได้เปรียบเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้จะได้เปรียบอย่างไร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ไม่รู้ไม่ไหว! 5 เหตุผล ทำไมเรื่องลงทุน “เริ่มเร็ว” ชนะ “เงินเยอะ” สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีวินัยในการลงทุน ลงทุนไปเรื่อย ๆ เน้นความสม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ หนทางสู่การมีล้านแรกไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน

สำหรับผู้ที่อยากมีแผนล้านแรกเป็นของตัวเอง สามารถสมัครสมาชิก Finnomena เพื่อทดลอง สร้างแผน 1st Million ได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลองสร้างแผนดูจะได้เห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า ด้วยเงื่อนไขการลงทุนต่าง ๆ ของเราจะสามารถพาเราไปสู่เป้าหมายล้านแรกได้ในระยะเวลากี่ปี มาวางแผนเก็บเงิน 1 ล้านแรกไปด้วยกันได้เลย!

หรือใครที่เก็บเงินล้านมาได้ครึ่งทาง (500,000 บาท) แล้ว และอยากไปถึงเป้าหมายล้านแรกให้เร็วขึ้น ลองให้ ‘Finnomena Funds Exclusive’ บริการผู้แนะนำการลงทุนส่วนตัว เป็นตัวช่วยให้คุณถึงเป้าหมายล้านแรกได้อย่างมั่นใจ ด้วยผู้แนะนำการลงทุนส่วนตัวมากประสบการณ์ที่จะให้คำแนะนำการลงทุนแบบเป็นกลาง ช่วยติดตามสถานะการลงทุน และอัปเดตข่าวสารให้คุณทราบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมแจ้งทันทีหากต้องมีการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดเพื่อให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน รับบริการได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท  ใครสนใจรับบริการสุด Exclusive แบบนี้ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อขอรับบริการได้เลยที่ 

https://finno.me/finnomena-x-service

— planet 46.


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”